Group Blog
 
All Blogs
 

9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์

ผู้หญิงสมัยนี้ อยากสวย ฉลาด และสุขภาพดี ทุกคนจึงพากันดูแลรูปร่าง ด้วยการออกกำลังกาย เคร่งครัด เรื่องอาหารการกิน แต่ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะดูแลสมองอย่างไรให้มีสุขภาพ ดี ทั้งที่สมอง เป็นอวัยวะที่ตัดสินใจทุกเรื่องของชีวิต เราจึงควรเอกเซอร์ไซส์สมองให้ไบรท์ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ต่อไปนี้

1. จิบน้ำบ่อย ๆ (Drink water very often)

สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่ง ผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

2. กินไขมันดี (Enjoy good Omega 3)

คส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วยปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที (Meditation 12 min a day)

หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุดๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

4. ใส่ความตั้งใจ (Program the brain: have specific intention)

การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิด ขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ (Laugh and Smile)

ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมี สารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้น ให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ

6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน (Learn new thing everyday)

สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็น โดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และ สร้างสรรค์ ไปเรื่อยๆเมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน (Forgive yourself, reduce brain stress)

ขณะที่การไม่ให้ อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

8. เขียนบันทึก Graceful Journal (Write graceful journal, good things inlife every day)

ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะ การเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

9. ฝึกหายใจลึก ๆ (Deep breath)

สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย ใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %การ มีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

โดย : วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 19:05:40 น.
Counter : 306 Pageviews.  

ระวัง!! เบาหวานเล่นงานไต

จากข้อมูลของศูนย์เบาหวานศิริราช ทำให้รู้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตวายในประชากรไทย เกิดจากโรคเบาหวาน ประมาณร้อยละ 20 – 40 พบในเด็กที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 1 และร้อยละ 5 – 16 พบในผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานได้รับ การดูแลอย่างเหมาะสม จะสามารถลดหรือชะลออัตราการเกิดไตวายได้

★ อาการของผู้ป่วยไตวาย

1. ปัสสาวะออกน้อย เนื่องจากขับเกลือและน้ำได้ไม่ดี
2. ของเสียคั่ง ทำให้เบื่ออาหาร
3. ซีด เหนื่อยเพลีย
4. กระดูกพรุน

★ ใครที่มีโอกาสเป็นโรคไตสูง

1. ทางกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวานและไตวาย อย่างไรก็ตาม กรรมพันธุ์ไม่ได้มีผลสำคัญมากเท่าพฤติกรรมการกินและการออกกำลัง กาย

2. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี อันเนื่องมาจากการกินเกินสมดุล โดยเฉพาะอาหารจั๊งค์ฟู้ด แป้งขัดขาว ไข่แดง น้ำมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวาน หรือรสเค็มจัด ควรหันมากินผักให้มากขึ้นและไม่ควรกินจุบกินจิบ

3. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน และเป็นเบาหวาน ไตวายในที่สุด

4. การสูบบุหรี่

★ ระยะของโรค

ระยะ ที่ 1 ภายใน 1 – 3 ปีแรก การทำงานของไตยังปกติ ขนาดของไตโตขึ้น

ระยะ ที่ 2 หลังจากเป็นเบาหวาน 2 -10 ปี เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ ของไต แต่หน้าที่ไตและปริมาณโปรตีนในปัสสาวะยังปกติ

ระยะที่ 3 หลังจากเป็นเบาหวาน 10 -15 ปี มีโปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติ แต่ปริมาณยังไม่มากพอจะ ตรวจพบด้วยแผ่นตรวจปัสสาวะธรรมดา ระยะนี้การทำงานของไตยังอาจปกติ หรือเริ่มทำงานลดลงก็ได้

ระยะที่ 4 หลังจากเป็นเบาหวาน 15 - 25 ปี เป็นระยะที่โปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากพอ จะตรวจพบด้วยแผ่นตรวจปัสสาวะธรรมดา ระยะนี้โปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนการทำงานของไตจะเสื่อมลงช้า ๆ ตามลำดับ

ระยะที่ 5 ไตวาย หลังจากเป็นเบาหวาน 20 - 35 ปี ตรวจเบื้องต้นอย่างไรถึงรู้ว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไต การตรวจที่วินิจฉัยเร็วที่สุว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางไตแล้ว คือ การตรวจ อัลบูมินขนาดน้อย ๆ ที่ เรียกว่า micro albuminuria โดยตรวจโปรตีนด้วยแถบปัสสาวะธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ควรตรวจครั้งแรกหลังจากทราบว่าเป็นเบาหวานอย่างน้อย 5 ปี
2. ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ควรตรวจโปรตีนในปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ไตกำลังมีปัญหา ซึ่งถ้าทราบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การแก้ไขโดยการควบคุมระดับน้ำตาลและการ ให้ยาบางชนิด (ยากลุ่ม ACE inhibitors) จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้

★ ป้องกันและรักษาโรคไตอย่างไร

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ติดตามการรักษาสม่ำเสมอ
2. ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเป็นระยะ และให้การรักษาเมื่อพบความผิดปกติ
3. ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
4. หยุดสูบบุหรี่
5. จำกัดโปรตีนในอาหารสำหรับผู้ที่มีการทำงานของไตผิดปกติ
6. ระวังรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ

★ การปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเกิดไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

1. จำกัดอาหารเค็ม
2. ควบคุมความดันโลหิต
3. กินอาหารที่มีโปรตีนต่ำ เพื่อไม่ให้ระดับของเสียในเลือดเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มผักผลไม้ต่าง ๆ
4. ลดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เพื่อลดการเกิดตะกอนหินปูนที่ไต เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดธัญพืชต่างๆ ได้แก่ เต้าหู้ นมถั่วเหลือง

★ เตรียมตัวเมื่อต้องเดินทาง

1. พกบัตรประจำตัวที่แสดงว่าตนเป็นเบาหวาน เนื่องจาก ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำตาลต่ำ ผู้พบเห็นจะได้สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้อง
2. เตรียมยากิน หรือ ยาฉีดอินซูลินและอุปกรณ์การฉีดยา หรืออุปกรณ์การตรวจเลือด ปัสสาวะ ให้พร้อม และ เก็บไว้ในที่ที่หยิบได้ง่าย
3. พกอาหารติดตัวเสมอ เช่น ผลไม้ แครกเกอร์ น้ำผลไม้ นม
4. หลีกเลี่ยงการเก็บอินซูลินไว้ในที่อากาศร้อน เช่น ท้ายรถ เพราะอาจทำให้อินซูลินเสื่อมได้
5. ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีพอ ไม่ควรเดินทาง หรือถ้าจำเป็นควรปรึกษาแพทย์

ที่มา : //women.thaiza.com




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 12:48:47 น.
Counter : 324 Pageviews.  

ระวัง!! "เตาไมโครเวฟ" ตัวอันตราย

นิวยอร์กไทม์ – เตาอบไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกันแทบทุกครัวเรือน
เพราะความสะดวกรวด เร็ว ประหยัดเวลาในการทำอาหารได้มาก
แต่รู้หรือไม่ว่าเตาไมโครเวฟที่ไม่ ได้มาตรฐาน อาจแผ่รังสีที่เป็นอันตรายออก มาได้ และเราอาจรับไปโดยไม่รู้ตัว

ลองนึกภาพดูว่าเวลาที่เราใช้เตาอบไมโครเวฟ เรายืนอยู่ใกล้ตัวเครื่องมากแค่ไหน?

หลายคนคงนึกในใจ ถ้าไม่ยืนอยู่ใกล้แล้วจะให้ใช้เครื่องได้ยังไงกันหนอ? แล้วควรจะอยู่ห่างสักแค่ไหนจึงจะปลอดภัยไร้กังวล?

แม้เตาไมโครเวฟจะมี การแผ่รังสีออกมาโดยปกติอยู่แล้ว แต่ก็ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

อย่างเช่นที่ศูนย์เครื่องมือและรังสีวิทยา เพื่อสุขภาพ (Center for Devices and Radiological Health) องค์การ อาหารและยา (Food and Drug Administration) สหรัฐฯ ได้กำหนดมาตรฐานความ ปลอดภัยสำหรับเตาอบไมโครเวฟไว้ว่า ตลอดอายุการใช้งานของเตาอบไมโครเวฟ ทุกเครื่องจะมีรังสีรั่วไหลออกมาได้ไม่ เกิน 5 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร หรือ มีระยะห่างจากเตาอบไม่เกิน 2 นิ้ว ซึ่งปริมาณรังสีระดับนี้ ยังต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อยู่มาก และเมื่อเปรียบเทียบกับ โทรศัพท์มือถือที่มีการแผ่รังสีสูงสุดถึง 1.6 วัตต์ แต่ก็ยังไม่มีหลัก ฐานชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อีกทั้งทางศูนย์ดังกล่าวยังเรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตเตาอบไมโครเวฟ หันมาใช้วัสดุ ที่ควบคุมหรือป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่มีประสิทธิภาพ โดยฝาเตา อบต้องมีตาข่ายโลหะป้องกันคลื่นไมโครเวฟหลุดรอดออกมา และเตาอบจะต้องไม่ มีการปล่อยหรือหยุดปล่อยคลื่นไมโครเวฟทันที ที่ฝาเตาอบไม่ ได้ล็อค
ซึ่ง เหล่านี้จะช่วยควบคุมไม่ให้มีรังสีรั่วไหลออกมาได้ดี

อย่างไรก็ตาม เตาอบไมโครเวฟที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

หากแต่เวลาเลือกซื้อก็ควรตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ให้ครบถ้วนเสียก่อนตัดสินใจซื้อ เมื่อซื้อมาแล้วก็ต้องปฏิบัติ ตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด
และแม้รังสีที่รั่วไหลออกมาจะอยู่ใน ระดับที่ไม่เป็นอันตราย ก็ไม่ควรยืนอยู่ใกล้เตาอบเป็นเวลานาน ขณะเครื่อง ทำงาน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุกรณีอื่นได้โดยไม่คาดคิด

ที่สำคัญไม่ ควรใช้เครื่อง เมื่อฝาเตาปิดไม่สนิทหรือตัวเครื่องชำรุดเสียหาย และควร แจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการซ่อมต่อไป

ที่มา : //women.thaiza.com




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 12:39:53 น.
Counter : 311 Pageviews.  

สุขภาพกับการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ทว่าทำให้เรา เกิดโรคใหม่ ที่ไม่มีเชื้อ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่ใช่โรคติดต่อโรค พวกนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วรักษาให้หายยาก ใช้เวลานาน นอกจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองแล้วยังทำลายคุณภาพชีวิตด้วย ทำให้ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดการออกกำลังกาย ขาดโภชนาการที่ดี

นับย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน อเมริกานับเป็นประเทศแรกๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์
สมัย นั้นมีนักวิจัยทำรายงานและเก็บสถิติได้ว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นประสบปัญหาโรคทางสายตา เช่น ต้อกระจก เกิดอาการเครียด ปวดศีรษะมากที่สุด เพราะจอหรือมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ ในยุคแรกๆ นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนา

ข้อมูลจากโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้าโดย พ.อ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รวบรวม เรื่อง ราวรอบโรคนำเสนอ เป็นความรู้ที่น่าสนใจ ถึงกลุ่มอาการที่อาจกล่าวว่าเป็นโรคใหม่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ คือ Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) เป็นอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานๆ ไม่ใช่โรค แต่เป็นปฏิกิริยาจากการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก และโรค ใหม่อีกโรคคือ โรค Hurry Sickness (โรคทนรอไม่ได้) มักเกิดกับผู้ที่ เล่นอินเทอร์เน็ตที่ทำให้มีอาการกระวนกระวาย ซึ่งหากมีอาการมากๆ ก็จะเข้าข่ายเป็นโรคประสาทได้ ซึ่งอาจนำไปถึงการเสียเพื่อนและตกงานได้

รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษาวิจัย ถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยใน กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศ พอสรุปได้ดังนี้คือ

1. ในประเทศสวีเดน พบว่าสารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
สาร นี้มีชื่อทางเคมีว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์

2. ในประเทศญี่ปุ่น มีผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้เวลาทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ สามารถทำให้มีอาการ ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งกลายเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ สำหรับพนักงานที่ใช้เวลาเกินกว่า 5 ชั่วโมง ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในแต่ละวัน

3. ในประเทศไทย โดยกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากหลายๆ หน่วยงาน พบว่าห้องทำงาน ส่วนใหญ่มีสภาพการจัดที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ร้อยละ 62 ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบสายตา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ อันเนื่อง มาจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

โรคและกลุ่มอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์

โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม)
อาการของโรคจะค่อยเป็น ค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือและหลัง
ผู้ที่เป็นมากๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
ระยะสองคือมีอาการต่อ เนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
ระยะสามคือเป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อ ได้พัก

การรักษา

คือต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเอง ก่อน หรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานให้แพทย์ ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเจาะจงเฉพาะที่ได้

โรคนี้มี ความคล้ายกับโรคจากการทำงานซ้ำซาก ซึ่งนักกายภาพบำบัดอธิบายว่า
พบมากใน ผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน มักจะมีอาการชาข้อมือ หรือที่เรียกว่ากลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดเนื่องจากการใช้งานซ้ำๆ ที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบๆ ข้อมือหนาตัวขึ้นแล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้ ซึ่งการรักษานอกจากทางกายภาพโดยใช้ความร้อน ทำให้บริเวณที่จับหนาตัวขึ้นนิ่มลงและยืดมันออก ทำให้อุโมงค์ที่เส้น ประสาทลอดผ่านขยายตัวได้ แต่ถ้าผู้ที่เป็นมากๆ จะมีอาการชาจนกระทั่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไป การผ่าตัดคือวิธีรักษาที่ดี ที่สุด

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)

มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอิน เทอร์เน็ตที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนานๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมากๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ ท่านจึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบ คุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง มิฉะนั้นท่านจะเป็นคนที่เสียทั้งงานและเสียทั้ง เพื่อนได้

โรคภูมิแพ้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ในสวีเดน พบว่าสารเคมีจากจคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์สามารถ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูกและปวดศีรษะผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้น จะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา

โดยเฉพาะ หากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ภัยจากคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์กำลังจะกลายเป็น อุปกรณ์ธรรมดา ๆ ที่จำเป็นต้องมีของทุกหน่วยงาน พนักงานทุกคนต้องใช้ เป็น ความเสี่ยงจึงเกิดกับท่านที่ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น โดยเฉพาะท่านที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน ผลกระทบต่อสุขภาพ เบื้องต้นที่แน่ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่ ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เพราะขณะมองจอนั้นผู้ใช้มักไม่กะพริบตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการที่ตามมา คือตาพร่า และมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย

ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียด กล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตาจนเกิดความเมื่อยล้า จึงมีคำแนะนำว่า ถ้า ต้องใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนานๆ ควรพักสายตาทุกๆ สิบนาที ด้วยการเปลี่ยน ไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยมองจอต่อทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เอง ที่จะต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง เพราะถ้าเกิดปัญหาทางสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก

ข้อเสนอแนะ

การจัดและปรับสภาพโต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์
โดย ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคนควรปรับระดับที่เหมาะสมของตนเอง เพื่อให้ได้ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย
จึงขอเสนอ คำแนะนำในการจัดสัดส่วนงานคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดดังนี้คือ

- จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา
- ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซม.
- เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือโต๊ะปรับระดับความสูงได้
- นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง
- จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับความส่องสว่าง ของแสงประมาณ 300-500 ลักซ์ หรืออย่าให้มีการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบทำ ให้เสมือนมีหมอกมาบดบังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์.

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 12:32:35 น.
Counter : 316 Pageviews.  

9 ปัจจัย สำหรับการมีชีวิตที่น่าพึงพอใจ

มีสุขภาพดีพอเพียง
ที่จะทำให้คุณทำงานได้อย่างรื่นรมย์

มีความมั่งคั่งพอเพียง
ที่จะสนองความต้องการพื้นฐานของคุณ

มีพละกำลังมากพอ
ที่จะต่อสู้และเอาชนะความยากลำบาก

มีคุณธรรมเพียงพอ
ที่จะสารภาพและเลิกทำบาป

มีความอดทนเพียงพอ
ที่จะลงแรง จนทำให้เกิดสิ่งดีๆขึ้น

มีจิตใจเมตตาเพียงพอ
ที่จะเห็นแง่ดีของเพื่อนบ้าน

มีความรักมากเพียงพอ
ที่จะทำ ตัวให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือคนอื่น

มีศรัทธามากเพียงพอ
ที่จะทำให้สิ่งดีงามเป็นจริงขึ้นมา

มีความหวังมากเพียงพอ
ที่จะขจัดความกลัวความกังวลในอนาคต




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 7 พฤษภาคม 2553 16:49:44 น.
Counter : 274 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

DeWalt
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add DeWalt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.