Song Code Reads Graphic1 Graphic2 Graphic3

เกลือในอาหาร สำคัญกับน้องหมา น้องแมว ?





เกลือในอาหาร

สำคัญกับน้องหมา น้องแมว

ของเราขนาดไหน?

อย่างที่เราได้เรียนหนังสือกันมาตั้งแต่เด็กๆ

ร่างกายของเรา

ต้องการสารอาหารครบทุกหมู่

ตั้งแต่ น้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน

ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน

เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง

ซึ่งสารอาหารต่างๆ เหล่านี้

มีความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยง

ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย

สัตว์เลี้ยงที่สุขภาพดี

ย่อมต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน

ในปริมาณที่เหมาะสม

ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป


เกลือ หรือ Sodium Chloride (NaCl)

ก็เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันมีการกล่าวว่าการบริโภคเกลือ

ให้ผลร้ายต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยง

แต่ความจริงมีได้เป็นเช่นนั้น

กล่าวคือ เกลือ หรือโซเดียม

ก็เป็นสารอาหารที่สำคัญในกลุ่มเดียวกับแร่ธาตุ

ที่ร่างกายต้องการ

เพื่อใช้ในขบวนการต่างๆตลอดเวลา


แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

นั่นคือ แร่ธาตุจำเป็น

ร่างกายต้องการเป็นปริมาณมากกว่า

ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส

โซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม


ส่วนแร่ธาตุรอง

ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย

ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง

แมงกานีส ไอโอดีน และซีลีเนียม


ความสำคัญของแร่ธาตุหลัก

ที่มีต่อร่างกายสัตว์เลี้ยง ได้แก่

1. ช่วยรักษาสมดุลกรด-ด่างภายในร่างกาย

2. มีผลต่อระดับความดันเลือด

ช่วยคงระดับสมดุลของของเหลวในร่างกาย

3. มีส่วนในขบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์ร่างกาย

การส่งกระแสประสาท

และ การบีบตัวของกล้ามเนื้อ

4. เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างแข็งของร่างกาย


แร่ธาตุต่างๆที่ได้รับจากอาหาร

จำเป็นต้องมีความสมดุล

หากมีการเสริม หรือ ได้รับแร่ธาตุ

ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของร่างกาย

ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

เมื่อร่างกายที่ปกติได้รับเกลือหรือโซเดียม

ในปริมาณมากเกินความต้องการ

จะใช้ขบวนการต่างๆทั้งระบบฮอร์โมน ไต ฯลฯ

เพื่อขับเกลือเหล่านั้นออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

เพื่อลดความดันเลือด และทำให้เกิดสมดุล

ของเกลือโซเดียมในร่างกายอีกครั้ง


เมื่อสัตว์เลี้ยงอายุมากขึ้น

หรือสัตว์เลี้ยงมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ

และหลอดเลือด

ซึ่งมีผลต่อความดันเลือดโดยตรง

หรือ อวัยวะที่มีเลือดผ่านปริมาณมาก

เช่น ไตเกิดเสื่อมการทำงานลง

การมีปริมาณของเกลือในอาหาร

มากเกินความจำเป็น จะส่งผลให้ร่างกาย

ไม่สามารถปรับสมดุลของเกลือดังกล่าว

รวมถึงแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องได้


ผลที่ตามมาคือ

สัตว์เลี้ยงจะสูญเสียแต่ธาตุบางชนิด

ออกมากับปัสสาวะ สูญเสียน้ำหรือของเหลว

ออกนอกร่างกาย

เกิดการคั่งของเกลือโซเดียม

และของเสียอื่นๆ ในเลือด

ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น


หลายๆคนที่ให้น้องหมา น้องแมว

กินอาหารสำเร็จรูป

ปริมาณของโซเดียมในอาหาร

จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา

ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่

โดยเจ้าของควรพิจารณา

ปริมาณของเกลือโซเดียม

ตามชนิดของสัตว์เลี้ยง

อายุ และ ความเสี่ยงของโรคต่างๆ

ร่วมด้วยเสมอ


นอกจากอาหารสำเร็จแล้ว

ยังมีเจ้าของอีกหลายคนที่ (แอบ)

ให้น้องหมาน้องแมวกินอาหารคน

เพื่อเสริมรสชาติ

หรือให้เป็นรางวัลกับพวกเค้าบ้าง

หากแต่การให้อาหารสำเร็จรูป

ที่มีปริมาณสารอาหารเพียงพอ

กับความต้องการของสัตว์เลี้ยงแล้วนั้น

การเสริมสารอาหารบางอย่างลงไปอีก

จนเกินระดับที่เหมาะสม

มักจะก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวมากกว่า

หากสุนัขหรือแมวได้รับรู้รสชาติอาหาร

ที่มีทั้งไขมัน และ เกลือในปริมาณสูงๆ

พวกเค้ามักจะเลือกกินอาหารเหล่านั้นมากกว่า

อย่างที่เราพบว่า

สุนัขหากได้ลองกินอาหารคนปรุง

ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก ไก่ย่าง ตับปิ้ง ฯลฯ

มักจะไม่ยอมกลับไปกินอาหารเม็ดอีกนั่นเอง



*****************




 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2549 23:01:36 น.
Counter : 491 Pageviews.  

โรคเบาหวาน



โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่พบได้

เมื่อร่างกายขาดอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมน

ที่ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลในเลือดไปใช้

การมีอินซูลินไม่เพียงพอ

มักเกิดจากการความเสียหายของตับอ่อน

ซึ่งเป็นอวัยวะที่สังเคราะห์อินซูลิน

ในสัตว์เลี้ยงบางตัว

เบาหวานไม่ได้เกิดจากการขาดอินซูลิน

แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

หรือยาซึ่งมีผลลดหน้าที่ของอินซูลิน


สัตว์เลี้ยงที่เป็นเบาหวาน

สามารถแสดงอาการหลากหลาย

และหากทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา

อาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น

เช่น ต้อกระจก เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะไม่มีวิธีการรักษาโรคเบาหวาน

แต่ก็สามารถควบคุมโรคได้

โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย

และการฉีดอินซูลินเช่นเดียวกันกับคน

เบาหวานในสัตว์มีหลายชนิด

และการรักษาก็แตกต่างกัน

ขึ้นกับชนิดของเบาหวาน

การวินิจฉัยพบตั้งแต่เนิ่นๆ

และจัดการกับโรคแต่เนิ่น ๆ

จะช่วยลดการเกิดอาการแทรกซ้อนได้


ปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดเบาหวาน

หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน


สายพันธุ์ :

สุนัขบางพันธุ์ เช่น ซามอยด์ มินิเอเจอร์

ชเนาเซอร์ มินิเอเจอร์ พูเดิล และปั๊ก

มีความเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวาน

ในขณะที่แมว ความเสี่ยงไม่ขึ้นกับสายพันธุ์


เพศ :

โรคเบาหวานในสุนัขเพศเมีย

พบได้เป็นอย่างน้อยสองเท่าของเพศผู้

ในขณะที่แมวเพศผู้ที่ทำหมันแล้ว

มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน


สภาพร่างกาย :

สัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักเกิน

มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคเบาหวาน


อายุ :

สัตว์เลี้ยงสามารถเกิดเบาหวานได้

ในทุกช่วงอายุ

จะพบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 8 ปี


การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน :

การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนระยะสั้น

ในช่วงที่เพศเมียใกล้เป็นสัด

หรือยาบางชนิด

สามารถก่อให้เกิดเบาหวานได้


สัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคเบาหวาน

อาจแสดงอาการดังต่อไปนี้


- อ่อนเพลีย

- กระหายน้ำเพิ่มขึ้น

- ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยขึ้น

- น้ำหนักลด

- ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง

โดยเริ่มจากกินมากขึ้นและลดลงภายหลัง

- เศร้าซึม

- อาเจียน

- ต้อกระจก (ในสุนัข)ทำให้ตาบอด


ความอยากอาหารของสัตว์เลี้ยง

อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้น

อยู่กับระยะของการเป็นโรคเบาหวาน

ดังนั้นหากท่านสงสัยแม้เพียงเล็กน้อย

เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยงของท่าน

กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์

อาจทำการตรวจเลือดและปัสสาวะ

เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่

การตรวจพบแต่เนิ่นๆ

และการดูแลที่เหมาะสมจะ

ทำให้ควบคุมโรคได้

และทำให้สัตว์เลี้ยงของท่าน

มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


เบาหวานมีสองชนิดด้วยกัน

ทั้งสองชนิดสามารถควบคุมได้

โดยการให้อาหารพิเศษ

และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


--->เบาหวานชนิดที่ขึ้นอยู่กับอินชูลิน

เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อย

และต้องมีการฉีดอินซูลินแก่สัตว์เลี้ยงของท่าน


--->เบาหวานชนิดที่ไม่ขึ้นอยู่กับอินซูลิน

ในเบาหวานชนิดนี้

อินซูลินธรรมชาติบางส่วน

ยังถูกสร้างอยู่

และการควบคุมโรคอาจทำได้

โดยไม่ต้องฉีดอินซูลิน

เช่นใช้วิธีการควบคุมน้ำหนัก


สัตวแพทย์อาจแนะนำ

อาหารที่มีแร่ธาตุปานกลาง

และมีสารอาหารคงที่

การกินอาหารที่มีสารอาหาร

ที่จะช่วยให้ปฏิกิริยาทางเคมี

ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงคงที่

ควบคุมระดับของแป้งและน้ำตาล

ในกระแสเลือดได้ดี

และส่งผลให้สุขภาพสัตว์เลี้ยงดีขึ้น

สารอาหารในอาหารสัตว์หลายชนิด

การให้อาหารเปลี่ยนไปมา

หรืออาหารที่เจ้าของปรุงเอง

มักมีสารอาหารที่ไม่คงที่

ซึ่งอาจทำให้โรครุนแรงขึ้นได้


การดูแลสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคเบาหวาน

ขึ้นกับการพัมนาอาการ

และความรุนแรงของโรค

สัตวแพทย์จะแนะนำการรักษา

และวิธีดำรงชีวิตที่เหมาะสม

ให้กับสัตว์เลี้ยงของท่าน

สัตวแทพย์อาจจะแนะนำอาหารพิเศษ

ที่ทำขึ้นมาสำหรับสัตว์เลี้ยง

ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะ


ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

- หมั่นสังเกตอาการป่วย

และไม่รีรอที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

- ให้เฉพาะอาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ

- ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำประจำวันอย่างเคร่งครัด

เช่น ข้อแนะนำเกี่ยวกับจำนวนมื้ออาหารแต่ละวัน

ปริมาณอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- หากต้องมีการให้อินซูลิน ควรให้อย่างสม่ำเสมอ

- จัดหาน้ำสะอาดให้สัตว์เลี้ยงดื่มอย่างเพียงพอ

- สัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคเบาหวาน

จะต้องหมั่นประเมินสภาพ

และตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ กับสัตวแพทย์




*****************




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2549 23:02:57 น.
Counter : 867 Pageviews.  

โรคไต



สุนัขและแมวมีไตสองข้าง

แต่ละข้างประกอบไปด้วย

หน่วยไตหลายพันหน่วย

ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือด

กำจัดสารที่ไม่ต้องการ

และรักษาระดับความเข้มข้น

ของ ของเหลวและแร่ธาตุในร่างกาย

จำนวนของหน่วยไตจะลดลง

เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น

และจะไม่มีการสร้างทดแทน


โรคไตรวมถึงความผิดปกติ

ที่ก่อให้เกิดการทำลายหน่วยไต

ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ มากมาย

รวมถึงการบาดเจ็บการติดเชื้อ

และโรคมะเร็ง

แต่เนื่องจากสัตว์ที่มีสุขภาพดี

จะมีความสามารถชดเชย

การทำงานของไตได้มาก

อาการของโรคจะแสดงออกมา

ก็ต่อเมื่อหน่วยไตได้ถูกทำลายไปแล้ว

มากกว่าสามในสี่ส่วน

หรือที่เรียกว่าภาวะไตวาย

โรคไตพบได้เป็นปกติในสุนัขและแมว

หากตรวจพบโรคแต่เนิ่นๆ

ก็จะสามารถช่วยกำจัด

ความรุนแรงของโรคได้


ปัจจัยที่อาจมีอิทธิพล

ต่อความเสี่ยงของสุนัขและแมว

ในการเกิดภาวะไตวาย ได้แก่



อายุ :

โอกาสการเกิดไตวายเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อสุนัขและแมวมีอายุมากขึ้น

และโอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุระหว่าง 10–15ปี


สายพันธุ์ :

ไตวายพบได้บ่อยในแมวพันธุ์เมนคูน

อบิสซิเนียน แมวไทย รัชเชียนบลู และแมวพม่า

ส่วนในสุนัขพันธุ์ คอคเกอร์สแปเนียล

ลาซา แอปโซซามอยด์

และโดเบอร์แมน พินเชอร์ มีความเสี่ยง

ต่อความผิดปกติบางชนิดของไต


สิ่งแวดล้อม :

สารเคมีบางชนิด

(สารฆ่าเชื้อจำพวกฟีนอล สีที่มีสารตะกั่ว)

และยาบางชนิด เป็นพิษต่อไต


อาหาร :

การควบคุมการบริโภคฟอสฟอรัส

และโปรตีนในอาหาร

จะช่วยชะลอการพัฒนา

ของโรคไตในสุนัขและแมว

ที่ไตทำงานได้น้อยลง


อาการของโรคไต

อาการของโรคไตจะไม่แสดงออกมา

จนกระทั่งไตสูญเสียการทำงาน

ไปมากกว่าสามในสี่ส่วน

สัตว์เลี้ยงที่อายุมากกว่า 6 ปี

ควรได้รับการตรวจหาโรคไต

ก่อนที่อาการของโรคจะแสดงออกมา

ภาวะไตวายเฉียบพลัน

สามารถหยุดลงได้

และสัตว์เลี้ยงจะสามารถหายเป็นปกติ

หากมีการกำจัดสาเหตุของโรคออกไป

ในทางกลับกัน

ในภาวะไตวายเรื้อรัง

จะไม่สามารถกลับไปหายเป็นปกติได้

แต่ก็ยังมีวิธีที่จะชะลอการพัฒนาของโรค

และช่วยยืดอายุของสัตว์เลี้ยง


สิ่งที่ควรสังเกต

- กระหายน้ำมากขึ้นและปัสสาวะมากขึ้น

- ความอยากอาหารลดลง

- น้ำหนักลด

- มีกลิ่นปากเหม็นคล้ายปัสสาวะ

- อาเจียน และอาจพบอาการท้องเสีย

- แผลในช่องปาก

- เชื่องช้า อ่อนแอลง

- เซื่องซึม

- สภาพขนไม่ดี


อาการของไตวายอาจแตกต่างกันไป

แต่ความกระหายน้ำที่เพิ่มมากขึ้น

จะเป็นอาการเตือนที่พบอย่างแรกเสมอ

และไม่ควรมองข้ามอาการนี้

หากสัตว์เลี้ยงของท่านดื่มน้ำมากกว่าปกติ

กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

และมักจะทำการตรวจเลือดและปัสสาวะ

ในบางครั้งอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

เช่น ถ่ายภาพรังสี (เอ็กซ์เรย์)

ตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจเนื้อเยื่อ

หรือผ่าตรจเพื่อวินิจฉัย หลายกรณี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะไตวายเรื้อรัง

การตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก


โรคไตระยะต่างๆ

ไตทำหน้าที่ได้เป็นปกติ (100%)

ถึงแม้ว่าหน่วยไตจะสูญเสียไป

แต่ร่างกายของสัตว์เลี้ยง

มีความสามารถที่จะปรับตัว

และไม่แสดงอาการป่วยออกมา

ในบางกรณีการทำงานของไตจะเริ่มลดลง

ตั้งแต่สุนัขอายุเพียงสองปี


ไตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ (33%)

(ระยะเตือนเริ่มแรก)

สัตว์เลี้ยงจะไม่สามารถควบคุม

ความเข้มข้นของปัสสาวะได้ตามปกติ

และสัตว์เลี้ยงจะกระหายน้ำมากขึ้น


ไตวาย (25%)

สารพิษจะเริ่มสะสมตัว

เนื่องจากไตไม่สามารถขับออกได้

ทำให้เริ่มแสดงอาการป่วย


ไตวายระยะท้าย (10%)

อาการของการป่วยเด่นชัด

ทำให้สัตว์หมดสติและเสียชีวิต


ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

- คอยดูอาการของสัตว์เลี้ยงของท่าน

หากมีอาการป่วย ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

- ให้อาหารที่สัตวแพทย์แนะนำเท่านั้น

- เผ้าดูน้ำหนัก กิจกรรม การกินน้ำ

และสภาพทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ

และแจ้งสัตวแพทย์หากพบการเปลี่ยนแปลง

- ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารปรุงเอง

หรือไวตามินเสริม

- คุยกับสัตวแพทย์ก่อนที่จะเปลี่ยนยาหรืออาหาร



*****************




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2549 22:59:51 น.
Counter : 692 Pageviews.  

โรคตับ



“โรคตับ” ครอบคลุมถึงสภาวะต่างๆ

ที่เกิดจากการที่ตับทำงานด้อยประสิทธิภาพ

ตับจัดเป็นอวัยวะภายใน

ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายสัตว์เลี้ยง

โดยตับทำหน้าที่ต่างๆถึง 1500 อย่าง

ซึ่งรวมถึงการทำหน้าที่หลัก

ในการย่อยอาหาร

และเปลี่ยนแปลงสารอาหาร

การขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

การสังเคราะห์ส่วนประกอบหลักในเลือด

การเก็บสะสมไวตามิน และแร่ธาตุต่างๆ


ความผิดปกติของตับ

เช่นความผิดปกติเนื่องจากติดเชื้อไวรัส

แบคทีเรีย หรือการถูกทำลาย

เนื่องจากยา และสารเคมี

สามารถทำให้เกิดการอักเสบ

หรือที่เรียกว่า ตับอักเสบ

หากอาการอักเสบรุนแรงขึ้น

และเรื้อรังโดยไม่ได้รับการรักษา

เซลล์ตับอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง

กลายเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็นโดยถาวร

นอกจากสาเหตุดังกล่าว

การทำงานของตับอาจบกพร่อง

จากโรคที่เกิดกับส่วนอื่นๆของร่างกาย

ตัวอย่างเช่น

ความผิดปกติของเส้นเลือด โดยกำเหนิด

โดยไม่มีเส้นทางเดินเลือดผ่านตับ

ทำให้ตับขาดสารอาหาร



ปัจจัยที่มีอิทธิพล

ต่อโอกาสการเกิดโรคตับในสุนัข และแมว



--->อายุ

ความผิดปกติทางพันธุกรรม

และความผิดปกติโดยกำเหนิด

มักจะแสดงอาการเมื่อสัตว์อายุน้อยๆ

ในขณะที่เนื้องอกในตับ

พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยงที่มีอายุ 10ปีขึ้นไป


--->สายพันธุ์

สัตว์เลี้ยงบางพันธุ์ เช่น เบดลิงตัน เทอเรียร์

ยอร์คไชร์ เทอเรียร์ คอคเกอร์ สแปเนียล

และแมวไทย มีความเสี่ยง

ที่จะเกิดโรคตับบางชนิด

แตกต่างกันออกไป


--->สิ่งแวดล้อม

การบริโภคสารพิษ

(เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช)

และยาบางชนิด

อาจก่อให้เกิดการทำลายตับ


อาการของโรคตับ

อาจจะเป็นการยากที่จะบ่งชี้

ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านเป็นโรคตับ

เนื่องจากอาการของโรคตับ

มักจะคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่นๆ

อาการที่สามารถพบ ได้แก่

- เบื่ออาหาร

- ซึมเศร้า

- อาเจียนและท้องเสีย

- น้ำหนักลด

- กระหายน้ำเพิ่มขึ้น(ในสุนัข)

- ปัสสาวะสีเข้ม

- เหงือซีด


อาการเฉพาะในกรณีที่เป็นโรครุนแรง

- ดีซ่าน

(เหงือก ผิวหนัง และตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง)

- พฤติกรรมผิดปกติ

(เช่น มีอาการทางประสาท)

- มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง (ท้องมาน)

ซึ่งเจ้าของอาจสับสนกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

โรคตับก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ

มากมายหลากชนิด

การบ่งชี้ว่าเป็นโรคตับ

จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์

ตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงอย่างละเอียด

โดยสัตวแพทย์ สามารถบ่งชี้ได้ว่า

สัตว์เลี้ยงของท่านอาจเกิดโรคตับ

แต่อย่างไรก็ตาม

เนื่องจากอาการของโรคตับ

ไม่ค่อยจำเพาะเจาะจง

สัตวแพทย์อาจต้องตรวจเพิ่มเติม

เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ ดังนี้


การตรวจค่าทางโลหิต

สามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลง

ทางชีวเคมีที่บ่งชี้ถึงการทำลายตับ

หรือความผิดปกติในการทำหน้าที่ของตับ


ภาพตับ

ความเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง

ขนาดของตับ หรือเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตับ

สามารถตรวจพบได้

โดยอัลตราซาวด์

หรือการถ่ายภาพรังสีเอกซ์


การตรวจเนื้อเยื่อตับ

เป็นการเก็บเนื้อเยื่อตับจำนวนเล็กน้อย

ไปตรวจในห้องปฎิบัติการ

เพื่อวินิจฉัยโรคตับ


การดูแลสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคตับ

สัตวแพทย์อาจแนะนำให้สัตว์เลี้ยงกินอาหาร

เฉพาะสำหรับรักษาโรคตับ

ให้ยา หรือในบางกรณีอาจต้องผ่าตัด

ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะ

และความรุนแรงของโรค

ตับมีความสามารถที่จะซ่อมแซมความเสียหาย

และเสริมสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างดีด้วยตัวเอง

หากมีการกำจัดสาเหตุของโรคออกไป

โภชนาการที่เหมาะสม

มีบทบาทสำคัญ

ในการให้สารอาหารที่ตับต้องการ

เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่

และช่วยในการฟื้นตัวของสัตว์ป่วย


ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

- คอยตรวจสอบอาการที่บ่งชี้ว่า

อาจเป็นโรค และปรึกษาสัตวแพทย์

- ให้เฉพาะอาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ

- ให้อาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

โดยให้อาหารมื้อก่อนนอนด้วย

- เฝ้าดูแลน้ำหนัก พฤติกรรม

และสุขภาพทั่วไปของสัตว์เลี้ยงของท่าน

- ควรปรึกษาสัตวแพทย์

ก่อนที่จะเปลี่ยนยาหรืออาหาร



*****************




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2549 22:58:28 น.
Counter : 1024 Pageviews.  

โรคทางเดินอาหาร



โรคทางเดินอาหารรวมถึงการผิดปกติใดๆ

ที่ทำให้การย่อยอาหารการดูดซึม

และการเคลื่อนไหวของอาหาร

ผ่านกระเพาะหรือลำไส้ไม่สมบูรณ์

การย่อยอาหารและดูดซึม

อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็น

ที่จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงของท่าน

สามารถสร้างเสริมเนื้อเยื่อ

ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

ตลอดจนสร้างพลังงานที่จำเป็น

ในการดำรงชีวิต

ในขณะที่อาหาร

เคลื่อนผ่านกระเพาะและลำไส้เล็ก

น้ำย่อยจะย่อยอาหารให้มีขนาดเล็ก

พอที่จะผ่านผนังลำไส้

กระบวนการนี้เรียกว่า การย่อยอาหาร

หลังจากสารอาหารดูดซึมไปแล้ว

สิงที่หลงเหลืออยู่จะผ่านไปยังลำไส้ใหญ่

ซึงเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าไป

และส่วนสุดท้ายที่เหลือ

จะถูกขับออกจากร่างกายในรูปของอุจจาระ


ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยง

ต่อสุนัขและแมวในการเปลี่ยนโรคทางเดินอาหาร

อายุ :

ลำไส้ใหญ่อักเสบ

มักพบในสุนัขอายุต่ำกว่า 15 ปี

ในขณะที่ท้องผูก

มักพบในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ


สายพันธุ์ :

สุนัขบางสายพันธุ์ เช่น เกรท เดน

เยอรมัน เชพเพิร์ด โกลเดน รีทรีเวอร์

และ คอลลี่ มีความเสี่ยง

ต่อการเกิดโรคของทางเดินอาหารบางชนิด


พฤติกรรม :

สุนัขที่ถูกปล่อยให้กินของเหลือหรือขยะ

จะมีความเสี่ยงต่อการกินอาหารที่บูดเน่า

หรือมีสิ่งแปลกปลอม


อาหาร :

การรบกวนทางเดินอาหาร

อาจเกิดจากอาหารที่มีคุณภาพต่ำ

การแพ้อาหาร อาหารที่มีไขมันสูง

การเปลี่ยนอาหารทันทีทันใด

หรือการกินอาหารมากเกินไป


อาการของโรคทางเดินอาหาร

ปรึกษาสัตวแพทย์

หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้

เนื่องจากปัญหาของทางเดินอาหาร

ควรจะรักษาแต่เนิ่น ๆ


อาการของโรคทางเดินอาหาร

อาเจียน

ท้องเสีย

มีเลือดและเมือกออกจากอุจจาระ

แสดงอาการเจ็บปวดเวลาถ่ายหรือถ่ายไม่ออก

อาการไม่จำเพาะอื่น ๆ ได้แก่

น้ำหนักลด

อยากอาหารมากกว่าปกติหรือเบื่ออาหาร

ท้องตึงหรือเจ็บปวดเมื่อสัมผัส

ซึมเศร้า


ข้อควรจำ

ภาวะขาดน้ำเป็นสิ่งอันตราย

ซึ่งเป็นผลจากการท้องเสียและอาเจียน

ควรสังเกต อาการตาและปากแห้ง

การตรวจความยืดหยุ่นของผิวหนัง

กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

ที่ท่านสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของท่านขาดน้ำ

โดยส่วนใหญ่ การแสดงออกของอาการ

มักไม่เด่นชัดทำให้ยากต่อการวินิจฉัย

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี

อาจมีการตรวจเลือดและอุจจาระ

หรือมีการตรวจอื่น ๆ

เช่น การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์

การส่องกล้องตรวจภายในทางเดินอาหาร

หรือการผ่าตัดเพื่อวินิจฉัย

หากสัตวแพทย์สงสัยว่าสัตว์เลี้ยง

อาจมีการแพ้อาหาร

สัตวแพทย์อาจทำการให้อาหารทดลอง

เพื่อวินิจฉัย ความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้


กระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน

เป็นการอักเสบโดยทั่ว

ของระบบทางเดินอาหาร

และมักจะเกิด จากการที่สัตว์เลี้ยง

บริโภคอาหารที่เน่าเสีย

หรือการบริโภคสารพิษ

มักพบอาการอาเจียน

และท้องเสียอย่างทันทีทันใด


ตับอ่อนอักเสบ

การอักเสบแบบเฉียบพลันของตับอ่อน

ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเอนไซม์

สำหรับย่อยอาหาร

ก่อให้เกิดความเจ็บปวด

บริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง

และก่อใก้เกิดการอาเจียน

ตับอ่อนอักเสบ

อาจถูกกระตุ้นให้เกิดโดยการกินอาหาร

ที่มีไขมันสูงมากเกินไป

เช่น อาหารเหลือจากคน

ที่มีไขมันสูง และไส้กรอก


ท้องผูก

มักเกิดขึ้นจากการกินอาหาร

ที่มีโปรตีนและไขมันสูง ไฟเบอร์ต่ำ

สัตว์เลี้ยงจะถ่ายน้อยลง

ถ่ายลำบากอุจจาระมักจะแข็งและแห้ง

ทำให้เจ็บปวดเวลาถ่าย

และถ่ายออกปริมาณน้อย


ลำไส้ใหญ่อักเสบ

การอักเสบของลำไส้ใหญ่

จะทำให้ถ่ายบ่อยและเจ็บปวดเวลาถ่าย

ท้องเสีย อาจพบเมือกและเลือดปน


ท้องเสีย

อาจเกิดจากลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่

อาการท้องเสีย คือการถ่ายมากผิดปกติ

ถ่ายออกมาเป็นน้ำหรือนิ่มกว่าปกติ


ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

หมั่นสังเกตอาการป่วย

และไม่รีรอที่จะปรึกษาสัตวแพทย์

ให้เฉพาะอาหารและยา

ที่แนะนำโดยสัตวแพทย์

ไม่ให้เศษอาหารหรือของเหลือจากคน

แก่สัตว์เลี้ยงของท่าน

คอยระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยง

คุ้ยขยะหรือกินของเน่าเสีย


ข้อแนะนำในการให้อาหาร

การเบื่ออาหารพบได้

หากสัตว์เลี้ยงของท่านป่วย

เป็นโรคทางเดินอาหาร

หากสัตว์เลี้ยงของท่านปฏิเสธ

ที่จะยอมรับการเปลี่ยนอาหาร

ท่านสามารถลองปฏิบัติดังนี้

เปลี่ยนอาหารอย่างช้าๆ

โดยเริ่มจากการผสมอาหารใหม่กับอาหารเก่า

และค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนอาหารใหม่ทุก ๆ

วันจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นอาหารใหม่ 100 %

หากเป็นอาหารกระป๋อง

ก่อนให้อาหาร ท่านสามารถอุ่นอาหาร

ให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิร่างกาย

โดยอย่าอุ่นให้ร้อนเกินไป

หากสัตว์เลี้ยงของท่าน

ไม่ยอมกินอาหารเกินกว่า 48 ชั่วโมง

กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์



*****************




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2549 22:56:53 น.
Counter : 460 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

black shadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เก็บตกสารพันปัญหาของน้องหมา

จากคอลัมม์ คนรักหมา

โดย ท่านบัญชร ชวาลศิลป์

คอลัมม์ พิชิตปัญหาสัตว์

กับคุณหมอปานเทพ รัตนากร

จากน.ส.พ คม ชัด ลึก

และจากข้อมูล online

เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง "Pets"

กราบขอบพระคุณทุกท่าน

ที่ให้ความรู้ สาระประโยชน์

เพื่อคนรักสัตว์ และเพื่อนรักสี่ขา

ไว้ ณ. ที่นี้อย่างสูงค่ะ


Nome da música - Nome do cantor

" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"

GRAPHIC SITE

visitors currently

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add black shadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.