Song Code Reads Graphic1 Graphic2 Graphic3

อันตรายและวิธีป้องกัน " เห็บ หมัด และเหา "






อันตรายจาก เห็บ หมัด และเหา

1. ทั้ง 3 ตัว จะดูดเลือดจากสุนัข
ถ้าหากปริมาณมากเกินไป
อาจทำให้สุนัขเสียเลือดจนทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

2. เห็บนั้นจะเป็นตัวกลางแพร่เชื้อพยาธิในเลือดสู่สุนัขได้
ซึ่งส่งผลให้สุนัขถึงตายได้
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

3. หมัดเป็นตัวนำพยาธิตัวตืดมาสู่สุนัข
พยาธิตัวตืดจะคอยแย่งอาหารทำให้สุนัขผอม
และอาจทำให้ลำไส้อุดตัน ส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้

4. ทั้ง 3 ตัว เมื่อมีปริมาณมาก
อาจทำให้สุนัขเกิดอาการแพ้ เป็นแผลและขนร่วงได้




**********************




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 มิถุนายน 2548 1:55:26 น.
Counter : 374 Pageviews.  

ทำความรู้จัก กับโรคขี้เรื้อนให้มากขึ้น







โรคขี้เรื้อน ว่ากันว่าเป็นโรคที่สังคมรังเกียจนัก
ในหมู่นักเลี้ยงสัตว์ทั้งหลาย
มาทำความรู้จักโรคขี้เรื้อนกันว่ามันน่ารังเกียจ จริงหรือไม่?

เมื่อใดก็ตามที่สัตว์เลี้ยงของท่านขนร่วงจนเห็นหนัง
เมื่อนั้นหลายท่านก็มักจะโทษเจ้าไรขี้เรื้อน
ว่ามันเป็นต้นเหตุ
และสัตว์ตัวนั้นก็จะถูกตราหน้าว่าเป็นขี้เรื้อน
จริงๆแล้วโรคขี้เรื้อนนั้นเป็นเพียงแค่สาเหตุหนึ่ง
ในร้อยสาเหตุที่ทำให้ในการทำให้เกิดขนร่วง

โรคขี้เรื้อนเกิดจากไรขี้เรื้อน สองชนิด
ชนิดแรกทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าขี้เรื้อนเปียก
ชนิดหลังทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าขี้เรื้อนแห้ง
ทั้งสองชนิดนี้สามารถรักษาได้
และสามารถติดไปยังคนได้
ถ้าหากมีปริมาณมากพอ และมีการสัมผัสที่ใกล้ชิดมาก
ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง
แต่มันจะไม่สามารถอยู่ในตัวคนได้นานนัก
เพราะไม่ใช่ที่มันควรอยู่

โรคขี้เรื้อนแห้ง
สัตว์จะมีอาการขนร่วง อาจเห็นเป็นจุดแดง คัน
อาจมีหนองเป็นบางจุด และมักเป็นในสุนัขโต
สามารถติดต่อไปยังสุนัขตัวอื่นที่มาสัมผัสได้
และสามารถรักษาให้หายขาดได้

โรคขี้เรื้อนเปียก
สัตว์จะมีอาการขนร่วง ผิวหนังย่น หนา ไม่มีตุ่มแดง
ไม่คัน มีกลิ่นบ้างเล็กน้อย
แต่ไม่สามารถติดไปยังสัตว์อื่นที่มาสัมผัสได้
สามารถรักษาได้ แต่มักไม่หายขาด
จะสามารถกลับมาเป็นอีก
เพราะเข้าใจว่ามันเกิดจากพันธุกรรม
และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

เมื่อสงสัยว่าสุนัขของท่านเป็นขี้เรื้อน
ควรนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์
เพื่อทำการตรวจดูว่าใช่หรือไม่
จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
การรักษาจะมีทั้งการฉีดยา
การอาบยา การกินยา การทายา แล้วแต่หมอจะกำหนด
แต่ตัวเจ้าของไม่ควรจะไปรักษาเอง
เพราะอาจเป็นอันตรายได้
เช่น บางคนใช้ยาฆ่าแมลง ใช้น้ำมันก๊าดอาบ
ตัวขี้เรื้อนน่าจะตายแต่สัตว์ก็อาจจะตายก่อนได้
สำหรับยาพื้นบ้านที่สามารถรักษาขี้เรื้อนได้ทื่แนะนำก็คือ
การใช้ผงกำมะถันละลายในน้ำมันมะกอกมาทาให้สุนัข



************************




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 มิถุนายน 2548 1:53:20 น.
Counter : 487 Pageviews.  

โรคตาสำหรับสัตว์เลี้ยง







ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ มีประโยชน์ในการมองเห็น
และทำให้เพิ่มความสวยงาม แก่สัตว์เลี้ยง
ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับตา
ควรรีบนำสัตว์เลี้ยง มาพบสัตวแพทย์โดยด่วน
เพราะถ้าปล่อยไว้ ก็จะส่งผลต่อการมองเห็น
และความสวยงามของใบหน้า
ดังนั้นเราจึงควรหมั่นตรวจดวงตาของสัตว์เลี้ยงของเรา
โดยโรคตาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงมีดังนี้

1. ตาแดง
--- มักเป็นอาการเริ่มต้นของโรคตาอื่นๆ
หรืออาจจะเกิดร่วมกับโรคตาอื่นๆ
จะสังเกตุเห็นบริเวณตาขาวมีสีแดง
มีขี้ตาเยอะ มักเกิดจากฝุ่นเข้าตา
ขนแทงตา หรือมีสิ่งระคายเคืองเข้าตา
หรือมีการติดเชื้อที่ตา

2. ตาขุ่น
--- คือการอักเสบของกระจกตา
ซึ่งจะ สังเกตเห็นเป็นสีขาวขุ่น หรือสีฟ้า ที่กระจกตา
จะทำให้สัตว์มองไม่ชัด
ถ้าเป็นมากๆ จะไม่สามารถมองเห็นได้เลย
อาจเกิดจากการติดเชื้อที่กระจกตา
การต่อสู้ หรือเกาลูกตา

3. กระจกตาเป็นแผล
--- จะเห็นว่ามีแผลหลุมบนกระจกตา
ถ้าแผลลึกมาก จะมีเยื่อในตาโผล่ออกมาให้เห็นด้วย
สัตว์เลี้ยงที่เป็นมักจะมีขี้ตาเยอะ ไม่ยอมเปิดตา
และไม่ยอมให้จับบริเวณลูกตา เพราะเจ็บมาก
เป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรงต้องรีบทำการรักษา
เพราะมักจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงตามมา
จนถึงขั้นตาบอดได้

4. ต้อกระจก
--- จะมองเห็นว่าที่เลนส์ตามีสีเหลืองขุ่น
อาจเห็นเป็นรอยแตกร้าว ถ้าเป็นมากๆจะทำให้ตาบอดได้
จะทำให้สัตว์มองเห็นไม่ชัด มักเป็นไปตามอายุขัย
ไม่มียารักษาให้หายขาด

5. ต้อหิน
--- จะสังเกตุเห็นลูกตามีขนาดใหญ่ขึ้น จนทะลักออกมา
เกิดจากมีน้ำในลูกตามากเกินไป

6. ตาปิด หรือบวม
--- เกิดจากการอักเสบในลูกตา
หรือมีการอักเสบของหนังตา

7. ตาบอด
--- จะสังเกตุเห็นว่าสัตว์มักจะเดินชน เดินไม่ค่อยตรง
อาจเกิดจากความผิดปกติที่กระจากตา เลนส์ จอตา
หรือประสาทตา

สุนัขที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตานั้น
ได้แก่ พันธุ์ ชิสุห์ ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย
มิเนเจอร์ ปอมเปอเรเนี่ยน ปั๊ก และปักกิ่ง
ผู้ที่เลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ดังกล่าวจึงต้องดูแลกันเป็นพิเศษด้วย





**************************




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 มิถุนายน 2548 1:49:18 น.
Counter : 636 Pageviews.  

ทำอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงกำลังจะอ้วน?







สัตว์เลี้ยงก็เหมือนคน
ที่จะมีโอกาสน้ำหนักเกินตัวกันไปบ้าง
สัตว์เลี้ยงที่ตัวท้วมเกิน มักจะมีปัญหาสุขภาพตามมา
โดยเฉพาะโรคไขข้ออักเสบ โรคหัวใจ
และปัญหาช่องทางเดินหายใจ
และแนวโน้มที่จะมีอายุสั้นลง
จะสังเกตุได้ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราน้ำหนักเกิน
คือเมื่อนำมือลงไปวางบนตัวเค้า
แล้วเราไม่รู้สึกถึงกระดูกสันหลังที่โผล่ขึ้นมาละก็
นั่นแหละโรคอ้วนกำลังมากล้ำกรายเค้าอยู่

การป้องกันอย่าให้เค้าอ้วนจนเกินไป
โดยสามารถทำตามวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. ให้จำนวนอาหารตามที่ระบุไว้ข้างกล่องอาหารเท่านั้น
--- ส่วนใหญ่แล้วอาหารสำเร็จรูปของบริษัทต่าง ๆ
จะมีระบุไว้ข้างกล่องว่า เราควรจะให้ปริมาณอาหารเท่าไหร่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอายุของเค้า ,
กิจกรรมต่าง ๆ , และขนาดของตัว
เราควรจะกะปริมาณให้พอดี

2. พยายามอย่าให้อาหารโดยอิสระ ไม่กำหนดเวลา
--- การให้อาหารบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน
จะเป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกินได้

3. พยายามให้เค้าได้ออกกำลังกายบ่อย ๆ
--- นำเค้าออกไปวิ่งจ๊อกกิ้งบ้าง
หรือไม่ก็ให้เวลากับเค้าสักประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน
ในการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยได้

4. สัตว์เลี้ยงที่มีอายุมาก ๆ และมีน้ำหนักตัวที่หนักเกิน
ควรที่จะเริ่มลดอาหารลงได้แล้ว
--- มีอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงอายุมากที่มีสารอาหารในปริมาณสูง และมีแคลอรี่ต่ำ
เราสามารถซื้อหาอาหารเหล่านี้
มาให้สัตว์เลี้ยงของเราทานได้

เพียงระวังตามข้อที่กล่าว ๆ ข้างต้น
สัตว์เลี้ยงก็จะมีสุขภาพดี
อยู่เป็นเพื่อนเล่นกับเราได้นานแสนนาน



****************************





 

Create Date : 24 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 มิถุนายน 2548 1:45:39 น.
Counter : 374 Pageviews.  

จะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงของคุณอ้วน หรือไม่






ความอ้วนไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ
แต่มันก็ไม่ได้เป็นผลดีแต่สัตว์ต่อสัตว์เลี้ยงของคุณเท่าใดนัก
เรามักจะพบปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมาจากความอ้วน ได้แก่

1. เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ
เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม

2. มีอาการเหนื่อยง่าย และหายใจลำบาก

3. ความดันโลหิตสูง
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ โรคไต และโรคหัวใจ

4. ตับเสื่อมลงเนื่องจากมีการสะสมของไขมันภายในตับ

5. ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง
น้ำเชื้อของตัวผู้มีคุณภาพแย่ขึ้น
น้ำหนักตัวมากกว่าตัวเมียมาก ๆ
ทำให้ไม่สามารถขึ้นผสมได้
อัตราการผสมติดต่ำ จำนวนลูกต่อครอกน้อย

6. คลอดยาก
เนื่องจากมีไขมันไปเกาะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน
ขัดขวางการคลอด ไม่มีแรงแบ่งคลอด

7. อดทนต่ออากาศร้อนได้น้อย
และอาจเกิดภาวะช็อคเนื่องจากความร้อนได้

8. เพิ่มโอกาสของการติดเชื้อบริเวณผิวหนังมากขึ้น

9. มีโอกาสการเกิดโรคเนื้องอกได้ง่ายขึ้น

10. มีความเสี่ยงของปัญหาทิ่เกิดจากการวางยาสลบมากกว่า
เนื่องจากยาสลบหลายชนิดจะไปสะสมอยู่ในเซลล์ไขมัน
ทำให้มีการออกฤทธิ์ยาวนานขึ้น

11. ความต้านทานต่อโรคลดลง

12. เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานมากกว่า

เราสามารถตรวจสอบว่าสัตว์เลี้ยงของเราอ้วนหรือไม่
โดยใช้เกณฑ์รูปร่าง และความสมบูรณ์
แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

1 ผอมมาก - ซี่โครง - พบนูนขึ้นมาเห็นได้ชัด
- ส่วนหาง - พบปุ่มกระดูกนูนขึ้นมาชัด
- ด้านข้าง - เอวคอดกิ่วเห็นได้ชัด
- ด้านบนหลัง - ผอม เอวคอดกิ่วเห็นได้ชัด

2 ผอม - ซี่โครง - คลำพบ จนมองเห็นได้
- ส่วนหาง - พบปุ่มกระดูก
- ด้านข้าง - เอวคอดกิ่ว
- ด้านบนหลัง - ผอม เอวคอด

3 สมบูรณ์ - ซี่โครง - คลำพบได้ ไขมันปกคลุมพอเหมาะ
- ส่วนหาง - เรียบ ไขมันปกคลุมเล็กน้อย
- ด้านข้าง - มีเอว
- ด้านบนหลัง - รูปร่างสมส่วน มีเอว

4 อ้วน - ซี่โครง - คลำพบได้ยาก มีไขมันปกคลุม
- ส่วนหาง - หนากว่าปกติ มีไขมันปกคลุม
- ด้านข้าง - ไม่มีรอยคอด
- ด้านบนหลัง - หลังกว้าง ไม่มีเอว

5 อ้วนมาก - ซี่โครง - คลำไม่พบ มีไขมันปกคลุมหนา
- ส่วนหาง - หนา มีไขมันมาก
- ด้านข้าง - ไม่มีรอยคอด มีไขมันมาก
- ด้านบนหลัง - หลังกว้าง แบน เห็นได้ชัด

สำหรับสาเหตุของความอ้วนนั้น
เกิดมาจากการได้รับอาหารมากเกิน
หมายถึงการได้ปริมาณของอาหารที่มาก
เกินความต้องการปกติของร่างกาย
หรือการได้กินอาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการ

โรคอ้วน

ความอ้วนอาจเกิดจากภาวะของโรคบางอย่างได้
การแก้ไขจำเป็นต้องทำให้ตรงกับสาเหตุที่เกิดขึ้น

ทำหมัน

การทำหมันนั้น เพิ่มความเสี่ยงของความอ้วนในสัตว์เลี้ยง
เนื่องจากเป็นผลจากขบวนการ M
เผาผลาญอาหารในร่างกายนั้นลดลง
และยังเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้วย

อายุมาก (Age)

สัตว์เลี้ยงที่อายุมากขึ้นมักมีกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
พลังงานที่ต้องการจึงลดลงตามมา
หากได้รับพลังงานจากอาหารในปริมาณที่มากอย่างเดิม
สัตว์เลี้ยงจึงมีความเสี่ยงต่อความอ้วนได้

ไม่ได้ออกกำลังกายเพียงพอ

สัตว์เลี้ยงอาจไม่ชอบออกกำลังกายด้วยตัวเองอยู่แล้ว
จึงไม่ต้องการพลังงานมาก
หากได้รับอาหารแม้จะดูเหมือนว่ามีปริมาณปกติก็อาจทำให้อ้วนได้

การแก้ไขภาวะอ้วน

1. หาสาเหตุทีทำให้อ้วน
2. ลดปริมาณอาหาร
หรือคุณค่าอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน ลง
3. ทานอาหารสูตรลดความอ้วน
4. หมั่นพาสัตว์เลี้ยงของท่านไปออกกำลังกายบ้าง

เมื่อสัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักที่เหมาะสม
หรือสามารถลดน้ำหนักลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
อาการผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะลดลง
หรือลดความเสี่ยงของอาการโรคต่าง ๆ เหล่านี้ได้





***************************




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2548    
Last Update : 24 มิถุนายน 2548 1:41:41 น.
Counter : 415 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

black shadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เก็บตกสารพันปัญหาของน้องหมา

จากคอลัมม์ คนรักหมา

โดย ท่านบัญชร ชวาลศิลป์

คอลัมม์ พิชิตปัญหาสัตว์

กับคุณหมอปานเทพ รัตนากร

จากน.ส.พ คม ชัด ลึก

และจากข้อมูล online

เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง "Pets"

กราบขอบพระคุณทุกท่าน

ที่ให้ความรู้ สาระประโยชน์

เพื่อคนรักสัตว์ และเพื่อนรักสี่ขา

ไว้ ณ. ที่นี้อย่างสูงค่ะ


Nome da música - Nome do cantor

" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"" player=player+"

GRAPHIC SITE

visitors currently

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add black shadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.