ใบมีดตัดหญ้ามหัศจรรย์ ฝีมือคนไทย ภูมิปัญญาไทย โทร.089-422-9700
 
ต้น 'พญาคชราช' ที่กำลังบูมกับข้อเท็จจริง...

ต้น 'พญาคชราช' ที่กำลังบูมกับข้อเท็จจริง...
ในช่วงที่ผ่านมามีต้นไม้โตเร็วหลายชนิด ถูกนำมาสร้างกระแสให้โด่งดัง ให้ความหวังกับประชาชนคนทำมาหากินว่าจะสามารถทำรายได้ให้อย่างมากมายมหาศาล ช่วงนี้เองก็มีต้นไม้อีกชนิดหนึ่งที่กำลังเข้ามาอยู่ในความสนใจ นั่นคือ “ต้นพญาคชราช”
null
สำหรับ “ต้นพญาคชราช” กรมป่าไม้ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ ได้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไม้ดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลให้กับประชาชนที่จะนำไปปลูก ดังนี้...

ต้นพญาคชราช มีชื่อสามัญว่า ปออีเก้ง หรือ อ้อยช้าง และยังมีชื่อสามัญที่เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น กาลูแปงบูกง (ปัตตานี มาเลเซีย) คำโรง (เขมร-สุรินทร์) คางฮุ่ง (พิษณุโลก) ปอกะด้าง ปอขี้แฮด (ภาคเหนือ) ปอขี้ไก่ (สุโขทัย) ปอขี้แตก (สระบุรี,นครราชสีมา) ปอขี้ลิ้น (หนองคาย) โปง (ปัตตานี-ยะลา) หมีคำราม อ้อยช้าง (ปราจีนบุรี) เหม่ง (จันทบุรี) เป็นต้น พบมีการกระจายพันธุ์ ตามธรรมชาติ โดยขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบตามบริเวณใกล้ลำห้วยทั่วไป
null
พญาคชราชเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ และผลิใบใหม่พร้อมดอก ลำต้น เปลา ตรง โคนเป็นพูพอน เรือนยอด เป็นพุ่มทรงกลม หรือรูปกรวย ค่อนข้างโปร่ง ตามส่วนต่าง ๆ ที่ยังอ่อนมีขนสีเทาทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอมเขียวอ่อนมีสีเทาแต้มเป็นรอยด่างและมีรอยย่นกระจายทั่วไป เปลือกในเป็นเส้นใยสีน้ำตาลแดง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปหัวใจ โคนหยัก เว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อนข้างหนา และมีขนนุ่มทั่วไป ใบแก่ผิวใบจะเกลี้ยง หน้าใบเขียวเข้มหลังใบเขียวอ่อน ดอกเป็นชนิด ดอกช่อ สีเขียว อ่อน ๆ หรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ เป็นพวง สั้น ๆ ตามง่ามใบตอนปลาย ๆ กิ่ง เป็นชนิดผลเดี่ยว เป็นประเภทผลแห้ง รูปกระสวยเกลี้ยง ๆ เป็นผลชนิดมีปีกเดียว ลักษณะปีกเป็นกาบบางสีแดงเรื่อ ๆ เป็นกระโดงโค้งยาวประมาณ 10 ซม. หุ้มส่วนหนึ่งของผล ดูคล้ายใบเรือ เมล็ดรูปร่าง กลมรี สีเทาอมน้ำตาลมีลายสีน้ำตาล เมื่อแกะเปลือกอุ้มเมล็ดจะมีสีเหลืองรูปร่างคล้ายเงินจีน เนื้อไม้สีขาวสม่ำเสมอ ไม่มีแก่น เสี้ยนตรง เนื้อหยาบแข็งแรงปานกลางคล้ายไม้งิ้ว ถ้าผึ่งไม่ดีราอาจขึ้น ทำให้เกิดสีดำคล้ำ


ทางคุณสมบัติของไม้ เนื้อไม้จัดอยู่ในชั้นไม้คุณภาพต่ำ หรือเกรด C ความหนาแน่นน้อย 430-590 กก.ต่อลูกบาศก์เมตร หากผึ่งไม่ดีหรือการกองไม้ไม่ถูกต้องและไม่ระมัดระวัง จะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เป็นสีเทาหรือสีดำได้ง่าย มีความทนทานตามธรรมชาติเฉลี่ย 1.3 ปี ซึ่งจัดอยู่ในไม้ที่มีความทนทานต่ำ น้อยกว่า 2 ปี ถูกเชื้อราและปลวกเข้าทำลายได้ง่าย ด้านคุณสมบัติการใช้งาน การเลื่อย การไส การกลึง และการขัดเงา ทำได้ง่ายมาก แต่การยึดเหนี่ยวตะปูมีค่าน้อยมาก การใช้ประโยชน์ ใช้ทำหีบใส่ของ ไม้กระดาน หลักเข็ม รองเท้าไม้ แบบรองเท้า ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน ไม้บาง ไม้อัด ส่วนทางอ้อม เปลือกใช้ทำเชือกหยาบ ๆ ได้
ด้านการขยายพันธุ์และการปลูก ปกติใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แต่เนื่องจากปออีเก้งเป็นไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติบริเวณที่ชื้น หรือบริเวณใกล้ลำห้วย จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทั่วไป นอกจากนี้ปออีเก้งเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจต่ำ ไม้เป็นไม้เนื้ออ่อนตามมาตรฐานกรมป่าไม้ คือเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงในการดัด (MOR) ของไม้แห้งต่ำกว่า 600 กม. ต่อตารางเซนติเมตร

และความทนทานตามธรรมชาติต่ำกว่า 2 ปี ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงไม่มีผู้นิยมนำมาปลูก และไม่มีการศึกษาวิจัยเรื่องการปลูกและการขยายพันธุ์
null
โดยสรุปไม้ปออีเก้ง เป็นไม้เบิกนำเช่นเดียวกับไม้ตะกู มักพบขึ้นในพื้นที่มีการเปิดป่าใหม่ เช่น ในพื้นที่ที่มีการสร้างถนนผ่านพื้นที่ป่า ซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารรวมถึงความชื้นสูง เนื่องจากผิวหน้าดินยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงพบว่าไม้ชนิดนี้มีการเจริญเติบโต รวดเร็วในระยะแรกสภาพการขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ คือป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น สูงดังนั้นจึงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ในการปลูก กล่าวคือในพื้นที่ที่ชุ่มชื้นน้อยหรือ แห้งแล้งและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จะมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำและการเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร

ในส่วนของคุณสมบัติของไม้ปออีเก้ง เป็นไม้เนื้ออ่อนมีความแข็งแรงและความทนทานตามธรรมชาติของไม้ต่ำ คือมีค่าเฉลี่ยความทนทานแค่ 1.3 ปี ซึ่งต่ำกว่าไม้ตะกู รวมทั้งมีค่าการยึดเหนี่ยวตะปูมีค่าน้อยมาก จึงมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ประโยชน์ โดนเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการก่อสร้าง หรือทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ

กรมป่าไม้ไม่เคยมีการส่งเสริมให้ปลูกไม้ชนิดนี้

เนื่องจากคุณสมบัติของเนื้อไม้ จัดอยู่ในชั้นคุณภาพต่ำ

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงจำกัด เช่น ทำลังใส่ของ หรือไม้จิ้มฟัน

ซึ่งมี ไม้ชนิดอื่นหลายชนิดสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่มีความหลากหลายของ

คุณภาพพื้นที่ คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน และภูมิอากาศ มากกว่า และ

เนื้อไม้มีคุณภาพดีกว่า เช่น กระถินเทพา หรือ กระถินณรงค์ เป็นต้น

(ที่มา: //www.forest.go.th).
กลับสู่ด้านบน TOP




Create Date : 15 กรกฎาคม 2552
Last Update : 6 สิงหาคม 2552 11:01:25 น. 1 comments
Counter : 842 Pageviews.

 


โดย: izephyr888 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:53:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

louisvp
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add louisvp's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com