Mygazine : เก็บทุกสิ่งที่สนใจ
SME เอเซีย ขุมทรัพย์ใหม่อุตสาหกรรมไอที

ผู้ค้า ผู้ผลิต และบริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไอที เล็งโอกาสงามกระโดดจับตลาดธุรกิจ เอสเอ็มอีเอเซีย หลังสำนักวิจัยชื่อดังฟันธง เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงแห่งปี ด้วยมูลค่าการใช้จ่ายแตะระดับแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

นาย พาเรช ชิวจ์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิโอเจโน พีทีอี จำกัด ธุรกิจให้บริการเอาท์ซอร์สซิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ไอที ) และการรวมระบบขนาดกลางในฮ่องกงมองเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจทันทีหลังจากได้อ่านรายงานไอทีล่าสุด ซึ่งระบุว่า "การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี เอเซีย-แปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นปีนี้ จะมีมูลค่ารวมทั้งหมดมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ" ผมเห็นโอกาสของบริษัทให้บริการเอาท์ซอร์สซิ่ง อย่างพวกเราแทบจะทันทีที่ได้อ่านรายงานการสำรวจด้านไอที ที่ระบุว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเซียส่วนใหญ่ จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของตัวเองมากขึ้นในอีกสองสามปีข้างหน้านี้ นายชิวจ์ กล่าว เขาบอกว่าในปัจจุบันมีการอัพเกรดระบบภายใน ( intemal systems) และฮาร์ดแวร์ไอทีรวมถึงทรัพยากรภายในบริษัทมากขึ้น อีกทั้งยังต้องการเอาท์ซอร์สระบบไอทีหลักๆ ไปให้บริษัทขนาดเล็ก เพื่อลดต้นทุนด้วย

พร้อมเสริมว่า แม้สหรัฐและยุโรป จะเริ่มเห็นข้อเสียของการเอาท์ซอร์สซิ่งกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์, ฮ่องกง, ไทย, และญี่ปุ่น ซึ่งธุรกิจเอาท์ซอร์สซิ่งมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก

ด้านนาย แอนดรูว์ เทย์เลอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท เอ็กเซียม คอนชัลติ้ง อิงค์ ( ฮ่องกง ) เปิดเผยว่า ( ธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก มีแผนจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านไอทีของตัวเอง จาก 84,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ขึ้นอีก 16,000 ล้านดอลลาร์ จากประมาณการด้านการตลาดของหลายสำนักวิจัย ระบุว่า ปัจจุบันธุรกิจ เอสเอ็มอีในเอเซีย-แปซิฟิก มีทั้งสิ้นเกือบ 27 ล้านแห่ง และเพิ่งเปิดใหม่เมื่อปีที่ผ่านมากว่า 500,000 แห่ง นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และการเพิ่มงบประมาณด้านการลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเซีย-แปซิฟิกอีกด้วย

" ธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนมาก ใช้เงินลงทุนหมดไปกับโครงการสนับสนุน ( back-end ) ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เสมือนว่าบริษัทสร้างขึ้นมาเป็นของตัวเอง ( วีพีเอ็น ). ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ( LAN-loclarea networks ). ระบบสืบหา/ตรวจจับการโจมตี ( ไอดีเอส ). ไฟร์วอลล์ รวมถึงแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรธุรกิจที่เน้นให้ความสำคัญกับลูกค้า และการจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย " นายเทย์เลอร์ กล่าว

บริษัท ไอดีซี คอร์ป.ระบุว่า ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปีที่แล้ว บีบให้ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และจำเป็นต้องใช้สินค้าของบริษัทไอทีรายใหญ่ อย่าง ไอบีเอ็ม, ซิสโก้, เอชพี, ซันไมโครซิสเต็มส์, เดลล์, ออราเคิล, แซพ, อีเอ็มซี, และสตอเรจเท็ค ซึ่งล้วนได้พัฒนาสินค้าและโซลูชั่นที่เหมาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี ขณะเดียวกันธุรกิจเอสเอ็มอีเอง ก็ต้องการโซลูชั่นที่จะช่วยเพิ่มความเฉลียวฉลาดให้กับเครือข่ายของพวกเขาได้ในราคาที่สมเหตุสมผลทำนองเดียวกันกับการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่ายในเอเซีย-แปซิฟิกเมื่อปีที่แล้วซึ่งมีมูลค่าทะลุ 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

" เงินทุนส่วนใหญ่ถูกใช้หมดไปกับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ และวีพีเอ็น ในปีที่แล้วการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับแลนไร้สาย เพิ่มขึ้นจากปี 2545 เป็น 49% ขณะที่โซลูชั่นไร้สาย พุ่งขึ้นเป็น 130% นายเทย์เลอร์ กล่าว ( นอกจากนี้ ไอดีซี ยังพบและยืนยันว่าธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ในเอเซีย-แปซิฟิก ยังคงนิยมเลือกใช้บริการดีเอสแอล " digital subscriber line " เป็นวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิงค์โปร์ ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 55% ใช้ดีเอสแอลในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เมื่อเทียบกับ 34% ของตลาดเอเซียที่สำคัญอีก 9 ประเทศ และส่วนใหญ่เป็น เอดีเอสแอล ( Asymmetric DSL ) ซึ่งมีความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูล 512 กิโลบิตต่อวินาที
สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, และฮ่องกงเป็นประเทศในแถบเอเซียบางส่วน ซึ่งนิยมใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และราว 60% ของประชากรชาวเน็ตเป็นลูกค้าของบริการเอดีเอสแอล ด้านมาเลเซีย, ไทย, และอินโดนีเซียนั้น เป้นที่รู้จักกันดีในฐานะประเทศแถวสองซึ่งมีจำนวนสมาชิกบริการเอดีเอสแอลต่ำ แต่ถือว่าเป็นโอกาสดีในการบุกตลาด เมื่อสัดส่วนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของประเทศเหล่านี้คิดเป็น 30% ของจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศเท่านั้น

อีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจของธุรกิจเอสเอ็มอี คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล " ดาต้า สตอเรจ "

เมื่อปีที่แล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคนี้ ใช้เงินกว่า 340 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อโซลูชั่นแซน " storage area networks " และแนส " network attashed storage " ขณะที่ตัวเลขธุรกิจเอสเอ็มอีที่เปลี่ยนไปใช้โซลูชั่นแซนและแนส เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 2 ปีก่อนหน้านี้ โดยเหตุผลหนึ่งก็คือ ราคาลดลง ประกอบกับมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของแชนโดยอิงอยู่กับโครงสร้างพื้นฐาน( ขณะที่ข้อเท็จจริงสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การขยายตัวของอุปกรณ์เครือข่ายแลนไร้สาย ( วีแลน )ในถูมิภาคเอเซีย ยกเว้นญี่ปุ่นเนื่องจากอินเทอร์เน็ตไร้สาย และการเชื่อมต่อเครือข่ายในพื้นที่สาธารณะ และสถานที่ทำงานได้รับความนิยมมากขึ้น ) ซึ่งบริษัทไอดีซีระบุว่าเมื่อปีที่แล้ว เติบโต 67% คิดเป็นมูลค่าราว 250 ลานดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่า จะทะลุ 338 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ " อัตราการเติบโตที่ว่านี้ ได้รับแรงกระตุ้นจากการเพิ่มจำนวนจุดบริการฮอตสปอตสาธารณะ รวมกับความต้องการของผู้บริโภค และองค์กรขนาดเล็ก ส่งผลให้ตัวเลขรายได้รวมของตลาดวีแลนมีมูลค่าเกิน 250 ล้านดอลลาร์ " นายชิวจ์ยืนยัน

และไม่ใช่เฉพาะบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เท่านั้น ที่ได้ประโยชน์จากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมวีแลน องค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็กเอง ก็เล็งเห็นข้อดีของการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีวีแลนที่จะช่วยประหยัดต้นทุนได้เป็นจำนวนมหาศาล

นายพอล เดอ ซิลวา ผู้จัดการฝ่ายเชื่อมต่อเครือข่ายของบริษัท โอเพ่นซอร์ส คอนซัลติ้ง ในออสเตรเลีย บอกว่า บริษัทขนาดกลางที่มีกำไรมากกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนมากตัดสินใจติดตั้งอุปกรณ์วีแลนในสำนักงาน และฝึกอบรมให้พนักงานรู้จักใช้

โดย...อาริยะ ชิตวงศ์ จาก.. Biz Week / คอลัมน์... IT ต่างประเทศ




Create Date : 05 ธันวาคม 2552
Last Update : 5 ธันวาคม 2552 12:57:58 น. 0 comments
Counter : 444 Pageviews.

Never be Afraid to Dream
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]









หมายเหตุ :
1. ขอขอบคุณเจ้าของโค้ด รูป และของแต่งบล็อกที่รวมกันเป็นบล็อกนี้ทุกท่านและขออภัยที่ไม่สามารถเอ่ยชื่อได้ เนื่องจาก จขบ.เซฟมาเยอะจนไม่สามารถจำได้ว่าเอามาจากบล็อกของท่านใดบ้าง

2. ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้า ณ ที่นี้ สำหรับทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม มาแสดงความเห็นค่ะ และขออภัยหากไม่ได้กลับไปเยี่ยม
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Never be Afraid to Dream's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.