|
มะเร็งเต้านม หายได้ ถ้าดูแลเอาใจใส่
คุณผู้หญิงที่ไปรับการตรวจมะเร็งเต้านม บางคนอาจจะพบว่ามีก้อนเนื้อในเต้านม คุณอย่าเพิ่งกังวลใจมากไปจนกว่าจะทราบผลชิ้นเนื้อนั้น เพราะคุณอาจจะไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านมเสมอไป
เพราะส่วนใหญ่พบว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาไม่มีอันตราย อย่างไรก็ตามการจะแน่ใจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องตรวจสอบด้วยวิธีเฉพาะเท่า นั้นได้แก่ การตรวจด้วยวิธี Imaging method แบบนี้สามารถให้ผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง หรืออีกวิธีหนึ่งคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (tissue-biopsy) ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์
หลายทศวรรษที่ผ่านมาบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ต่างพยายามที่จะไขปริศนาเกี่ยวกับกลไกการเกิดของโรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยทำให้สามารถพบวิธีการตรวจและรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรก เริ่มได้ ซึ่งมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นหากวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถ ควบคุมหรือรักษาได้ และผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกตินาน 10-15 ปี แต่ก็น่าเสียดายที่ยังไม่มีวัคซีนหรือยาใดๆ ที่สามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าเราจะทราบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ คุณผู้หญิงทั้งหลายจึงควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุด
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง ในยุโรปผู้หญิง 16 คน เป็นมะเร็งเต้านม 1 คน ส่วนในสิงคโปร์มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ขณะที่ในฟิลิปปินส์ มีรายงานว่าผู้หญิงประมาณ 30 คน จากทั้งหมด 100,000 คน เป็นมะเร็งเต้านม ส่วนรายงานการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ชายพบได้น้อยมาก
ลักษณะของเต้านมปกติ
เต้านมเป็นอวัยวะที่เต็มไปด้วยต่อมและเนื้อเยื่อ ไขมันมากมายระหว่างชั้นของผิวหนังและผนังช่องอก ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันนี่เองที่เป็นตัวกำหนดขนาดและรูปร่างของทรวงอก เมื่อคุณมีลูก ต่อมดังกล่าวจะผลิตน้ำนมส่งผ่านท่อน้ำนม ไปยังหัวนม ดังนั้นช่วงที่ให้นมลูก ต่อมน้ำนมและท่อต่างๆ จะมีขนาดใหญ่ขึ้น
เต้านมยังประกอบด้วยเส้นเลือดและน้ำเหลือง โดยน้ำเหลืองจะนำของเสียที่เต้านมขับออกไปยังเนื้อเยื่อขนาดเล็กเท่าเม็ด ถั่วที่เรียกว่าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองและทำความสะอาดน้ำเหลือง
มะเร็งเต้านั้นเป็นอย่างไร?
มะเร็งเต้านมเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของเต้า นมมีการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ มีการเบียดบังเนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่ขยายไปทั่วร่างกาย โดยเซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนและแบ่งตัวได้ด้วยตนเอง มันจะแย่งสารอาหารจากเซลล์ปกติ และเข้าไปแทนที่เซลล์ปกติของเต้านม หากปล่อยไว้เซลล์ปกติเหล่านี้จะไม่สามารถเติบโตได้ แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี ซึ่งการตรวจแมมโมแกรม (การเอกซเรย์เต้านม) บางครั้งอาจช่วยทำให้ตรวจพบโรคก่อนที่จะรู้สึกหรือเห็นการเปลี่ยนแปลงได้
คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมไหม?
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมต่อไปนี้สามารถแก้ไขได้ เช่น
* ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาภายหลังวัยหมดประจำเดือน * ใช้ยาคุมกำเนิดแบบ รับประทาน (OCPs) เป็นระยะเวลานาน * ไม่เคยให้นมบุตร * ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-5 แก้วต่อวัน * มีน้ำหนักตัวมากเกินไป (โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน) * ขาดการออกกำลังกาย * รับประทาน อาหารพวกไขมันมากเกินไป
การใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุม กำเนิดแบบรับประทานอาจมีความจำเป็นแม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างยาคุมกำเนิดแบบรับประทานกับมะเร็งเต้านมยังคงเป็นที่ ถกเถียงกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ว่ามีทางเลือกอื่นๆ บ้างหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่
* เป็นผู้หญิง * อายุ(ความ เสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น) * มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี * หมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี * การที่ไม่เคยมีบุตร * มีบุตรภายหลังอายุ 30 ปี * มีแม่ พี่น้อง หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งเต้านม * เคยตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือ เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม * มีความผิด ปกติของยีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ * เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (รวมถึงประวัติในครอบครัวเคยมีคนเป็นด้วย)
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และเมื่อพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบไปรับการตรวจเบื้องต้น หรือตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นระยะ ในช่วงที่เหมาะสมกับวัยและประวัติความเสี่ยง จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก
ควรเริ่มตรวจเต้านมเมื่อใด?
สมาคมมะเร็งวิทยาในประเทศ อเมริกาแนะนำว่า
* อายุระหว่าง 20-39 ปี ควรมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในช่วง 1 สัปดาห์ หลังจากหมดประจำเดือนในแต่ละเดือน * อายุระหว่าง 20-39 ปี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุกๆ 3 ปี หรือทุกปีหากต้องมีการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) * อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมและตรวจแมมโมแกรม เป็นประจำทุกปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจแมมโมแกรมตั้งแต่อายุ 35 ปี
ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างไร?
ถ้าคุณมีประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือน ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังจากหมดประจำเดือนในแต่ละเดือน ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่ในวัยหมดประจำเดือน ให้ตรวจในวันแรกของทุกเดือน ส่วนผู้ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ให้ตรวจในวันแรกที่เริ่มรับประทานยาแผงใหม่
การตรวจเต้านมควร ทำระหว่างอาบน้ำในตอนเช้า เพราะก้อนเนื้อจะถูกตรวจพบได้ง่ายหากมือและเต้านมยังเปียกอยู่ โดยใช้ฝ่ามือ 3 นิ้ว (ไม่ใช่ปลายนิ้ว) ของนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำขึ้นลงหรือเป็นวงกลม ให้ทั่วทั้งเต้านม รักแร้ และตรวจหัวนมว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่
จากนั้นให้ตรวจเต้า นมขณะยืนหรือนั่งหน้ากระจก ตรวจทั้งในขณะที่ยกแขนขึ้นและแนบข้างลำตัว มองดูการเปลี่ยนแปลงในขนาดและรูปร่าง ดูรอยบุ๋มและความผิดปกติของหัวนม ต่อจากนั้นให้ตรวจเต้านมขณะที่นอนหงายกับพื้น วางหมอนใบเล็กๆ หรือผ้าเช็ดตัวหนุนไหล่ข้างที่จะตรวจ ใช้มือขวาตรวจเต้านมข้างซ้าย และใช้มือซ้ายตรวจเต้านมข้างขวา ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองควรปรึกษาแพทย์
>> สัญญาณ-อาการ ก่อนที่จะเป็นมะเร็งเต้านม?(mospagebreak)
สัญญาณ-อาการ ก่อนที่จะเป็นมะเร็งเต้านม?
ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง เต้านมนั้นจะไม่มีสัญญาณหรืออาการเตือนใดๆ เลย ดังนั้นการตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยในช่วงที่เซลล์มะเร็งเติบโตจะทำให้มีอาการซึ่งควรรีบพบแพทย์ดังนี้
* มีก้อนเนื้อที่เต้านมหรือใต้วงแขน * ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป * หัวนมมีของเหลวไหลออกมาหรือมีรูปร่างผิดปกติ * มีผื่นแดง หรือตกสะเก็ดของผิวหนังหรือหัวนม * มีรอยขรุขระหรือรอยบุ๋มของผิว หนังเต้านม (คล้ายเปลือกส้ม)
การวินิจฉัยและกำหนดระยะของมะเร็งเต้านม
เมื่อมีการตรวจพบก้อนเนื้อ อาจมีความจำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรม หรืออัลตร้าซาวด์เต้านมหลายครั้ง โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์เหมาะสำหรับการตรวจดูบริเวณพังผืดและในวัยรุ่นที่ เนื้อเยื่อยังหนาอยู่ อาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsy) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกธรรมดา
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมมีหลาย วิธีขึ้นกับความเหมาะสมกับแต่ละคน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเนื้อร้ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ มะเร็งเต้านมในระยะแรกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดและการให้ยา ในระยะต่อมาของโรคอาจจะต้องมีการตัดเต้านมและต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขนออกทั้ง หมด โดยเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุด ร่วมกัน รวมไปถึงข้อดีข้อเสียของการทำเต้านมเทียมด้วย
ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็งเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งที่มีปริมาณน้อยเกินไปที่จะ ใช้วิธีการผ่าตัด โดยยาจะไปขัดขวางกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ปกติในร่างกายด้วย ซึ่งทำให้เกิดอาการข้างเคียง อย่างไรก็ตามการใช้ยาเคมีบำบัดนี้ยังคงมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการ กลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง
รังสีบำบัด (Radiation therapy) คือการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงคล้ายรังสีเอกซเรย์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง วิธีนี้แม้ว่าไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรักษา แต่ว่าทำให้เกิดอาการข้างเคียงพอๆ กับการใช้ยาเคมีบำบัด วิธีนี้เหมาะสำหรับมะเร็งบางชนิดและบางระยะของมะเร็งเต้านมเท่านั้น
ในผู้ที่เซลล์มะเร็งมีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen receptors) อาจให้การรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัด (Hormonal therapy) โดยยาที่ชื่อว่า tamoxifen จะยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ สำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนนั้น อาจรักษาด้วยยาที่ใหม่กว่าและแพงกว่า เช่น aromatase inhibitors
การตรวจพบว่ามียีนมะเร็งเฮอร์ทู (HER-2/neu) ซึ่งเป็นตัวรับของยีน BRCA แสดงถึงโอกาสสูงที่เนื้อร้ายจะเกิดขึ้นได้อีกครั้ง ซึ่งยาที่เรียกว่า trastuzumab จะช่วยยับยั้งการทำงานของตัวรับดังกล่าว และมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมได้
หลากข้อสงสัยกับมะเร็งเต้านม??
เต้านมรู้สึกหนักๆ และเจ็บก่อนที่ประจำเดือนจะมา สังเกตพบว่าเต้านมข้างซ้ายจะใหญ่กว่าข้างขวา แบบนี้ปกติหรือไม่?
เต้านมหรือต่อมน้ำนมจะมีลักษณะ คล้ายกับต่อมเหงื่อ คือมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดเดียวกับที่ควบคุมรอบของการมีประจำเดือน โดยมีผลทำให้เต้านมคัดตึง กดเจ็บก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับมดลูกที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่าง รอบของประจำเดือน
การมีเต้านมขนาดไม่เท่ากันถือเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วเต้านมข้างซ้ายมักจะใหญ่กว่าข้างขวา
ความหนา แน่นของเนื้อเยื่อหรือลักษณะผิวของเต้านมมีความหลากหลาย ปุ่มเล็กๆ อาจพบได้บนเต้านมทั่วไป หรือถุงน้ำ (cysts) ที่ไม่มีอันตรายอาจพบได้ในผู้หญิงอายุระหว่าง 50-60 ปี ช่วงนี้เรียกกันว่า fibrocystic change โดยไม่มีข้อมูลยืนยันว่าถุงน้ำ พังผืด หรือก้อนตะปุ่มตะป่ำเล็กๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
น้ำยาระงับกลิ่นกายมีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ จริงหรือไม่? ไม่ จริง เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันว่า น้ำยาระงับกลิ่นกาย การดื่มกาแฟ การใช้เสื้อชั้นในแบบเสริมโครงเหล็ก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณเต้านม จะมีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งสามารถเช็คข้อมูลจากเว็บไซต์เกี่ยวกับสุขภาพที่เชื่อถือได้เช่น ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ //www.who.int และเว็บไซต์สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (U.S. NIH) ที่ //www.nih.gov
วิตามินเอ และ ไฟเบอร์ สามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ? สมาคม มะเร็งวิทยาในสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและมีไฟเบอร์สูง อาจช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ แต่ยังคงมีหลักฐานไม่มากนักที่กล่าวว่าวิตามินเอ มีผลช่วยป้องกันได้ ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ขณะนี้พอยืนยันได้ว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการปฏิบัติตนอย่าง ถูกสุขลักษณะ สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมและโรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นการรักษาสุขภาพและติดตามข้อมูลอย่างถูกต้องคือการลงทุนที่คุ้มค่าที่ สุด
ที่มา : Health Today
Create Date : 23 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 23 พฤษภาคม 2553 12:26:02 น. |
|
0 comments
|
Counter : 231 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|