วิธีสร้างบุญบารมี ตอนที่ ๓

อรุณสวัสดิ์ค่ะ (อ. ๒๘ ส.ค. ๒๕๕๕)    

             ได้อ่านหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี* พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เห็นว่าเป็นกุศลแก่ชีวิตเป็นอันมาก จึงขออัญเชิญพระนิพนธ์มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ โดยจะคัดลอกเป็นตอน เพื่อให้อ่านได้สะดวกค่ะ  

 ขอให้จิตแจ่มใส

*จัดพิมพ์โดย บริษัท รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์ จำกัด ถ.รามอินทรา ซ.๖๘ กรุงเทพฯ

โทร ๐๒ ๕๑๗-๗๔๔๕

.........................................................................

วิธีสร้างบุญบารมี ตอนที่ ๓  

                                                        วิธีสร้างบุญบารมี 

 องค์ประกอบข้อ ๒. “เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์” 

          การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็พื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ “โลภกิเลส” และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ได้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้วเรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

๑.  ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน   เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุข เพราะทรัพย์สิ่งของของตน      

 ๒.   ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัส ร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังทำให้ผู้อื่น

๓.ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ    

เจตนาบริสุทธิ์ในการให้ทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุข เพราะทานของตนนับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก  เป็นสมบัติกลางไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้  จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่ และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหนคือทรัพย์สมบัติทั้งปวง  

(อ่านต่อ วิธีสร้างบุญบารมี ตอนที่ ๔ )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

 

 

                     

 

 

 




Create Date : 28 สิงหาคม 2555
Last Update : 30 สิงหาคม 2555 7:53:06 น.
Counter : 849 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

abc011
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สวัสดีค่ะ แรมรอนมาจากไหน เชิญนั่งพักก่อน จิบกาแฟอุ่นๆ สักแก้ว หรือชาจีนอุ่นๆ สักถ้วย หายเหนื่อยแล้วค่อยไปต่อ ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ...
New Comments