ชีวิตของน้ำเกลือ
Group Blog
 
All Blogs
 

กิ น

กิน

ง่าย ๆ สั้น ๆ เลยนะฮะ กับคำ ๆ นี้ ใครบ้างไม่รู้จักคำ ๆ นี้

กิน


ไม่พูดพร่ำทำเพลงละ มาดูบรรดาปลา ๆ เขากินกันดีกว่า


อันนี้ยังไม่ได้กิน แต่กำลังจ้อง



อันนี้กินแล้ว ไม่ได้จ้อง



อันนี้แค่งับ ไม่ได้กิน



นี่ก็แค่งับ ยังไม่ได้กิน



นี่ก็แค่งับ ยังไม่ได้กิน



อันนี้ก็แค่งับ แต่เข้าใจว่าไม่เหลือแน่ ฮ่า ฮ่า



อันนี้เข้าใจว่าไม่ได้กิน แต่ อือมม เข้าใจว่าคงเป็นการแสดงออกถึงความรัก ฮ่า ฮ่า




แต่ถึงอย่างไร ปลาก็เป็นอาหารของมนุษย์อยู่ดี ปิรันย่า นะฮะ ในจานนั้นอ่ะ




 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2549 9:01:32 น.
Counter : 3193 Pageviews.  

รวมพลปลาแปลก ๆ ที่บ้าน

คือออ ไม่ใช่อะไรหรอกฮะ

ไม่ได้อัพบล็อกซะตั้งนาน คราวนี้ขอกลับมาใหม่


ด้วยการโชว์ออฟ ของดีที่บ้านเลย


เริ่มจากตัวแรกเลยนะฮะ เจ้าตัวนี้เด็ด ปลากรายแพล็ตตินั่ม ฮะ



ถามว่า แพล็ตตินั่ม คืออะไร คำตอบ ก็คือ เป็นการกลายสีชนิดนึงฮะ เหมือนปลาเผือกหรือสัตว์เผือกทั่วไป



เพียงแต่ว่า สีแพล็ตตินั่ม นั้น แตกต่างจากสีที่กลายทั่ว ๆ ไป โดยส่วนมากสีที่กลาย จะเป็นสีขาวเผือก คือ ขาวโพลนทั้งตัว แต่สำหรับแพล็ตตินั่ม นั้น สีจะเงา เนียน วาวแบบที่เห็นนี่หล่ะฮะ ซึ่งตามปกติโอกาสที่จะเกิดเผือกก็หายากแล้ว ประมาณ 1 ในร้อย หรือ 1 ในพันได้ แต่สำหรับโอกาสที่จะเกิดแพล็ตตินั่มนั้นในธรรมชาติ 1 ในแสนนะฮะ ขอย้ำ 1 ในแสน

สำหรับปลาตัวนี้ ไม่ใช่แพล็ตตินั่มธรรมดาด้วยนะ เป็นแพล็ตตินั่ม หน้า เอ็ดดี้ อีกตะหาก ยิ่งหายากขึ้นไปใหญ่ เอ็ดดี้เป็นยังไง เดี๋ยวผมจะบอกให้



หน้าเอ็ดดี้ ก็คือ หน้าผี นั่นเอง ผี นี่ก็ไม่ใช่ผีอะไร เอ็ดดี้ ผีน่ารัก ไง เอ็ดดี้ก็คือ หน้าสั้น ๆ ประหลาด ๆ แตกต่างไปจากปลาทั่วไป อย่างเจ้ากรายแพล็ตตินั่มตัวนั้น หน้าก็สั้น เพราะโดยปกติแล้วปลากรายหน้าจะยื่นยาวกว่านี้ และอย่างเจ้าออสการ์ตัวนี้ ก็เป็นออสการ์หน้าเอ็ดดี้ สังเกตดูได้ว่า ไม่เหมือนปลาออสการ์ทั่วไป



ตัวปะแหลก ๆ ตัวต่อไป ขอนำเสนอ แอ่น แอ่น แอ๊นนนนน ไหลทองคำ ฮะ



จริง ๆ มันก็คือ ปลาไหล ธรรมดา ๆ ทั่วไปอ่ะเนอะ แต่ที่มันแปลกก็คือ สีของมัน ซึ่งกลายเป็นสีทอง ก็คือ อีกรูปแบบนึงของปลาเผือกนั่นเอง ซึ่งเผือกแบบนี้ เราจะเรียกว่า เผือกทอง (Lutino) ซึ่งจะแตกต่างจากเผือกขาว (Albino)



ซึ่งถ้าเป็น เผือกขาว มันต้องเป็นแบบนี้อ่ะเนอะ ปลาดุกเผือก แต่เจ้าตัวนี้ยังไม่ใช่ปลาดุกเผือกธรรมดา ๆ อีก เพราะดุกเผือกมันธรรมดาพบได้ทั่วไป แต่เป็นดุกเผือกหลังคิง คือ หลังยกสูงเหมือนสวมหมวก แถมยังเป็นปลาสั้นอีก เลยดูอ้วนปุ๊กลุ๊กน่ารักไปเลย




ชัดมั่ง ไม่ชัดมั่ง ก็อย่าว่ากันนะฮะ เพราะไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพ
ตัวต่อไป ปลาคาร์ฟสั้น ฮะ



สังเกตได้ว่า ตัวมันจะ สั้น กว่าปลาชนิดเดียวกันทั่ว ๆ ไป ซึ่งปลาสั้น (Short Body) ถ้าจะเปรียบกับมนุษย์ก็คือ แคระ หรือเตี้ยกว่าเขานั่นเอง แต่ปลาเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาว ปลาที่แคระก็เลยออกมารูปร่างแบบนี้



ตัวต่อปายยยยยยยยยย แอ่น แอ๊นนนนน มะนาวต่างดุด อุ๊บ ไม่ช่าย ซัคเกอร์ต่างหากล่ะ ซัคเกอร์สั้น ฮะ



จากภาพนี้ ทำให้เรารู้เนอะว่า ซัคเกอร์ถ้าสั้น ขึ้นมาแล้ว จะเหมือนมนุษย์ต่างดาวมาก ๆ เลย



สถานีต่อไปฮะ ปอมปาดัวร์สั้น




หุ หุ เจ้าตัวเล็กนี่ สั้น ได้ใจเลยไหมฮะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า



เท่านั้นยังไม่พอนะ เรายังมีปอมปะแหลก ๆ ปอมมีเขาตัวนี้อีก




และ... ขอปิดท้ายด้วย อะโรสั้นตัวนี้นะฮะ ไม่ใช่ของผมหรอก ของคนอื่นเขา สนนราคาเขาบอก 6 แสนเเนะ ถูก ๆ เนอะ






ลาไปก่อนนะฮะ ขอบคุณที่เข้ามาชม และถ้าได้ปลาใหม่มาอีก จะเอาลงแน่นอนฮะ




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2549    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2549 13:32:41 น.
Counter : 4507 Pageviews.  

กระเบนแม่กลอง กระเบนน้ำจืดพันธุ์ใหม่ ค้นพบในไทย

เป็นข่าวที่น่ายินดีนะฮะ ของวงการปลาเมืองไทย

ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ฮะ
//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000048550


พบปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกมี่เมืองกาญจน์ ชื่อ “กระเบนแม่กลอง” ผู้เชี่ยวชาญปลาน้ำจืด WWF ระบุ กระเบนเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ ซึ่งประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำค่อนข้างสูง แต่ขาดการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง

นายกิติพงษ์ จารุธานินทร์ นักเลี้ยงปลาสวยงามชื่อดังของประเทศไทย ได้ค้นพบปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2547 และได้มอบปลากระเบนน้ำจืดกับดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญปลาน้ำจืดแห่ง WWF ประเทศไทย และผู้ร่วมงาน ดร.ไทสัน โรเบิร์ต นักวิจัยอาสาสมัครของสถาบันสมิทโซเนียนเพื่อทำการตรวจสอบกับปลากระเบนชนิดอื่นๆ

ดร.ชวลิต กล่าวถึงการค้นพบในครั้งนี้ว่า กระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกนี้ชื่อว่า “กระเบนแม่กลอง Hlmantura Kittipongi” โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายกิติพงษ์ จารุธานินทร์ ผู้ค้นพบ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Natural History Bulletin of Siam Society ฉบับเดือนมีนาคม 2006

ดร.ชวลิต ระบุว่าปลากระเบนแม่กลองอยู่ในวงศ์ของปลากระเบนธง มีลักษณะที่แตกต่างจากปลากระเบนชนิดอื่นๆ ก็คือ ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ ส่วนลำตัวมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 60 ซม.และจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็กๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง 14-15 แถว



ทั้งนี้ตามปกติแล้วปลากระเบนแม่กลองจะไม่อาศัยอยู่ในลำน้ำนิ่งและต้องการแหล่งน้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัย เพื่อคอยดักจับปู ปลา กุ้ง หอยและสัตว์น้ำซึ่งอยู่ตามหน้าดินเป็นอาหาร โดยแทรกตัวอยู่ใต้ผิวดินท้องน้ำโผล่ขึ้นมาเพียงช่องหายใจกับลูกตา แล้วใช้จะงอยตรงปากจับเหยื่อและกดทับไว้ก่อนกินเป็นอาหาร

สำหรับแหล่งอาศัยที่ค้นพบปลากระเบนแม่กลองนี้มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทยคือ แม่น้ำแม่กลองบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ยังไม่ถูกรบกวนจากการทำประมงมากนัก ซึ่งการค้นพบปลากระเบนชนิดใหม่ในลำน้ำสายนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของน้ำได้เป็นอย่างดี



กระเบนแม่กลองด้านบน


ดร.ชวลิต ยังได้ให้ข้อสังเกตต่อปัจจัยแห่งความอยู่รอดของกระเบนชนิดใหม่นี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำค่อนข้างสูง หากแต่ยังขาดการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง อีกทั้งมาตรการการอนุรักษ์และการส่งเสริมด้านการวิจัยทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเลก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมไปถึงโอกาสในการได้รับความสนับสนุนในเชิงนโยบายและการปฏิบัติก็ยังมีไม่มากนัก จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนทางนโยบาย โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ส่วนของสังคม ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไปจนถึงความร่วมมือกันระหว่างประเทศ



ด้านล่าง


“สังเกตได้ว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจล่าปลากระเบนเป็นหลัก ซึ่งหากมีการแบ่งเขตจับสัตว์น้ำที่ชัดเจน หรือมีการจัดการการประมงอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรของปลากระเบนในบริเวณนั้นมากนัก ซึ่งในที่สุดแล้วปลากระเบนอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ก็ได้ว่า มาตรการในการอนุรักษ์ของชุมชนและระดับนโยบายมีประสิทธิภาพเพียงใด” ดร.ชวลิตกล่าวทิ้งท้าย


***

สำหรับปลากระเบนน้ำจืดที่พบในไทย นอกเหนือจาก กระเบนแม่กลอง นี่แล้ว ยังมีด้วยกันอีก 6 ชนิดฮะ ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธงหรือ Dasyatidae ทั้งสิ้น

กระเบนราหูเจ้าพระยา Himantura chaophraya เป็นกระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่มีขนาดได้ถึง 2.5 เมตร ในประเทศไทยพบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง ในต่างประเทศยังพบที่บอร์เนียว อินโดนีเชีย ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ



กระเบนขาว Himantura signifer เป็นกระเบนขนาดเล็ก โตเต็มที่ราว 60 ซ.ม. อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาภาคกลาง



กระเบนบัว Himantura bleekeri เป็นกระเบนน้ำกร่อยที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ หรือที่ทะเลสาบสงขลา รูปร่างเหมือนกระเบนน้ำจืดทั่วไป แต่มีจงอยปากแหลมยาวกว่า

ฝาไล กระเบนลาว กระเบนแม่น้ำโขง Dasyatis laoensis อาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น รูปร่างจะคล้ายทรงห้าเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจนกว่ากระเบนชนิดอื่น (ฝา หมายถึง ปลา ไล หมายถึง เงี่ยงหรือหนาม)



กระเบนลายเสือ Himantura kremfi เป็นกระเบนน้ำกร่อยอีกชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีจุดเด่นคือ มีลวดลายคล้ายเสือดาวจึงเป็นที่มาของชื่อ

และ กระเบนธง กระเบนชายธง Pasinachus sephen ความจริงแล้ว กระเบนชนิดนี้เป็นกระเบนทะเลแต่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ จัดว่าเป็นกระเบนที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง




ส่วนอันนี้ไม่ใช่กระเบนนะ แต่เป็นสะตือ

//www.pantipmarket.com/petplant/topic/P4182131.html




 

Create Date : 12 เมษายน 2549    
Last Update : 12 เมษายน 2549 7:05:13 น.
Counter : 5207 Pageviews.  

Fish in stamp

มาดูน้องปลา ๆ ในรูปแบบดวงตราไปรษณีย์ยากรกันมั่งนะฮะ

เปลี่ยนบรรยายกาศ

เป็นปลาจากอัฟริกาทั้งนั้นเลยนะฮะ

อะโรวาน่าอัฟริกา



ตัวนี้เขาเรียก ' กดยีราฟ ' ฮะ ตัวจริงสวยนะฮะ Auchenoglanis occidentalis



Schilbe mandibularis



ต่อไปจะเป็นปลาในโซนอื่น ๆ มั่งนะ

อัลลิเกเตอร์ การ์ ฮะ




ไอ้ช่อนอเมซอนเนอะ อะราไพม่า ปลายอดนิยมตลอดกาล



อะโรวาน่าอัฟริกาอีก แต่คนละแบบ คนละประเทศด้วย



ตัวนี้เลย ใคร ๆ ก็ถามหา แต่ไม่มี อะโรวาน่าดำ



หุ หุ แสตมป์ดวงนี้ของประเทศบูรุนดี สุดยอดเลย ดีไซน์แปลกดี ปลาผีเสื้อ ฮะ



ฮ่า ฮ่า มาถึงคิวปลาไทยเรามั่ง ปลาไทยแต่อยู่ในแสตมป์นอก ปลากราย ฮะ



ตัวนี้บอกว่าชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chitala lopis ซึ่งจะหมายถึง สะตือ แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่หรอกฮะ ถ้าเป็นสะตือจริง ๆ จะไม่มีจุด แต่นี่มีจุด มันก็คือ ปลากราย ดี ๆ นี่หล่ะฮะ Chitala ornata อันนี้ของเพื่อนบ้านเรามั่ง อินโดนีเชีย



เอาล่ะฮะ ปิดท้ายด้วยรูปนี้ ปลางวงช้าง ของซิมบับเว




จริง ๆ แล้ว Fish in stamp ยังมีอีกเยอะกว่านี้นะฮะ ที่เห็นนี่เป็นแค่น้ำจิ้มเพื่อเรียกน้ำย่อย เอาไว้โอกาสหน้าผมจะอัพมาให้ดูอีกนะฮะ แล้ว สำหรับปลาไทยในแสตมป์ของไทยเราเองก็มี มีหลายชุดด้วย แต่ออกมานานมากแล้วฮะ เป็น 20 กว่าปีแล้ว ซึ่ง ผมยังหาไม่เจอ ถ้าหาเจอเมื่อไหร่จะเอามาลงให้ยลกันนะฮะ

ขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เข้ามาชมฮะ


แล้วนี่ฮะ สะตือ ผมมีขายนะ

//www.pantipmarket.com/petplant/topic/P4182131.html




 

Create Date : 09 เมษายน 2549    
Last Update : 10 เมษายน 2549 8:26:51 น.
Counter : 1008 Pageviews.  

ว่าด้วยเรื่องของการอนุกรมวิธานฮะ เล็ก ๆ

วันนี้ ผมจะให้ความรู้เรื่องการอนุกรมวิธานนะฮะ เล็ก ๆ

เพื่อเป็นความรู้ประกอบสมองว่า เอ... ทำไมสัตว์ตัวนี้หรือพืชชนิดนี้ มันมีชื่ออย่างนี้ มันหมายความว่าไงหว่า มีที่มาที่ไปยังไง


ควรรู้ออกฮะ ตามผมมาเล้ยย

คำว่า อนุกรมวิธาน นั้น หมายถึง การจำลำดับหรือจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่อย่างมีหลักมีเกณฑ์ ภาษาอังกฤษของอนุกรมวิธานใช้คำว่า Taxonomy โดยที่คำว่า Taxis แปลว่า การจัดเรียงลำดับnomos แปลว่า กฏ

การจัดลำดับสิ่งที่ชีวิตมีมานานนับเป็นพัน ๆ ปีแล้ว นับตั้งแต่ยุคกรีกโบราณโดยอริสโตเติ้ล ได้แบ่งแยกสิ่งมีชีวิตเท่าที่วิทยาการสมัยนั้นจะรู้จัก ออกเป็น พืช (ยืนต้น พุ่ม ล้มลุก) และ สัตว์ (ไม่มีกระดูกสันหลัง ไม่มีเลือดสีแดง ออกลูกเป็นไข่ ออกลูกเป็นตัว)

อริสโตเติ้ล






ต่อมา จอห์น เรย์ (John Ray) นักพฤกษ์ศาสตร์ชาวอังกฤษได้แบ่งพืชออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ และเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า Species ด้วย

จากนั้น ในปี ค.ศ. 1753 คาโรลัส ลินเนี่ยส (Carolus Linnaeus) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้จำแนกพืชออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีหลักมีเกณฑ์ และต่อมาในปี 1758 ก็ได้แบ่งแยกสัตว์ออกเป็นกลุ่ม ๆ และมีแบบแผน
ลินเนียส มีผลงานอย่างกว้างขวางในการวางรากฐานศาสตร์แขนงนี้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการอนุกรมวิธาน

ลินเนียส




หนังสือ Systema Naturae ที่ลินเนียส ใช้เป็นการเผยแพร่การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และอนุกรมวิธาน



ลำดับในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต

เพื่อความสะดวกในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต นักอนุกรมวิธานจึงกำหนดชื่อหมวดหมู่ขึ้นเรียงจากหมวดหมู่ใหญ่ที่สุดไปยังหมวดหมู่เล็กที่สุด ดังนี้

Kingdom (อาณาจักร)

Phylum หรือ Division (Divisionนิยมใช้กับพืช)

Class (ชั้น)

Order (อันดับ)

Family (วงศ์)

Genus (สกุล)

Species (ชนิด)


ยิ่งหมวดหมู่ใหญ่เพียงไรย่อมประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่สุดและมีลักษณะแตกต่างกันมากที่สุด ดังนั้น หมวดหมู่ species จึงประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่น้อยที่สุด แต่ลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด เมื่อเทียบกับหมวดหมู่อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม หากลักษณะของสิ่งมีชีวิตใดยังไม่เข้าข่ายที่จะจัดเอาไว้ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วได้เพราะก้ำกึ่งกันอยู่ ก็จะมีศัพท์จำพวกคำว่า Super, Sub, Infra ใส่หน้าชื่อหมวดหมู่ดังกล่าว เป็นต้นว่า Superclass จะเป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่กว่า Class แต่เล็กกว่า Subphylum หรือ Subdivision เป็นต้น

สปีชี่ส์ (Species)

เป็นหมวดหมู่ในการจัดจำแนกของสิ่งมีชีวิตที่เป็นพื้นฐานที่สุด หมายถึง หมวดหมู่ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะผสมพันธุ์กันได้ ลูกเกิดมาไม่เป็นหมัน เนื่องจากมีโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะเป็นแบบเดียวกัน
มนุษย์จัดอยู่ในสปีชี่ส์ Homo sapiens หมายถึงมนุษย์ที่อยู่ทุกมุมโลก ทุกชาติ ทุกภาษา อยู่ในสปีชี่ส์เดียวกันหมด ม้ากับลาอยู่ใน Genus เดียวกัน แต่คนบะสปีชี่ส์ ผสมกันได้แต่ลูกออกมาเป็นหมัน เป็นต้น
ยังมีสัตว์อีกมากมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่คนละสปีชี่ส์กัน เช่น แรดนอเดียว อยู่ในสปีชี่ส์ Rhinoceros ส่วนแรดสองนอ หรือแรดชวาอยู่ในสปีชี่ส์ Rhinoceros sumatrensis

แรดสองนอ




แต่ที่น่าแปลกคือ กล้วยไม้สามารถผสมข้ามสกุลกันได้ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda) สามารถผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลอื่น ๆ เช่น หวายแดง (Renanthera) สกุลช้าง (Saccolabium) ฯลฯ

การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตเป็นชื่อวิทยาศาสตร์

เนื่องจากชื่อสามัญ (Common name) ของสิ่งมีชีวิต บางครั้งเป็นชนิดเดียวกัน แต่เรียกชื่อเพี้ยนไปตามท้องถิ่น เช่น ปลาตะเพียน ภาคอีสานกับเหนือเรียก ปลาปาก ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ นอกจากเรียกเพี้ยนตามภาคแล้ว ยังเรียกแตกต่างกันตามแต่ละภาษา

การเรียกชื่อสามัญต่าง ๆ ไม่ค่อยเป็นปัญหากับคนสมัยก่อนนัก แต่ต่อมาเมื่อวิทยาการเจริญขึ้น การไปมาหาสู่กว้างขวางขึ้น นักชีววิทยาจึงช่วยกันตกลง วางกฎเกณฑ์กำหนดชื่อสิ่งมีชีวิตให้เป็นชื่อสากล มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเพื่อใช้สื่อความหมายได้ทุกประเทศ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาลาตินหรือภาษาอื่นที่แปลงมาจากภาษาลาติน เนื่องจาก ภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้วจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อีก

ปลากระสง ภาคกลางเรียก กระสง ภาคใต้เรียก ช่อนไช แต่ล้วนมีวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ Channa lucius



ระบบการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์

1. Uninomial sytem

เราอาจพบสัตว์บางชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์เพียงใช้ชื่อสกุลเพียงตัวเดียว เช่น ชื่อของ " ซากดึกดำบรรพ์ " บางชนิด ทั้งนี้เป็นเพราะสัตว์เหล่านั้นได้สูญพันธุ์ไปเป็นเวลานานแล้ว และพบซากเพียงชนิดเดียว การตั้งชื่อโดยใช้ชื่อสกุลเพียงอย่างเดียว ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

2. Binomial system

ประกอบด้วย 2 คำ คำแรกเป็นชื่อสกุล (Genus) ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ คำหลังเป็นคำที่ชี้เฉพาะ (Specific epithet) ต้องใช้ตัวเล็กตลอด เวลาเขียนหรือพิมพ์ต้องเป็นอักษรตัวเอน ถ้าพิมพ์หรือเขียนด้วยอักษรตัวตรงต้องขีดเส้นใต้ชื่อของ Genus คำหนึ่งและ Specific epithet อีกคำหนึ่งโดยเส้นจะต้องไม่ต่อเป็นเส้นเดียวกัน เช่น สิงโต มีชื่อวิทยาศาสตร์ Felis leo Felis คือชื่อ Genus leo คือชื่อ Species
นอกจากระบุชื่อ Genus และ Specific epithet แล้ว จะต้องมีชื่อนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เป็นผู้ตั้งชื่อนั้นกำกับท้ายไว้ด้วย เช่น Felis leo Linnaeus (ชื่อนักวิทยาศาสตร์อาจเขียนเป็นอักษรย่อได้ เช่น Linn. หรือ L.) ทั้งนี้เพราะมีนักวิทยาศาสตร์หลายชาติหลายภาษาต่างก็ตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตที่ได้พบเห็น ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันแต่มีหลายชื่อ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องยึดเอาชื่อแรกที่ตั้งก่อนเป็นสำคัญ ซึ่งค้นได้จากหลักฐานที่มีอยู่หรืออาจมีปีคริสต์ศักราชที่ตั้งไว้กำกับท้ายชื่อผู้ก่อตั้งก็ได้ เช่น กระเบนราหูเจ้าพระยา Himantura chophrya Monkolprasit &Robert, 1990 เป็นต้น

หมายเหตุ ทั้ง Secific epithet และ Genus มักลงท้ายด้วย -a, -ea, -i, -is, -um, และ -us ทั้งนี้ตามหลักของภาษาลาติน เช่น

ปลากะแมะ Chaca burmensis แสดงว่า ถิ่นเดิมอยู่พม่า
กุหลาบขาว Rosa alba คำว่า alba แปลว่า สีขาว
ต้นลิ้นจี่ Litchi chinensis แสดงว่า ถิ่นเดิมอยู่ประเทศจีน

และยังเป็นการให้เกียรติผู้ค้นพบหรือศึกษาเป็นคนแรกด้วย เช่น

ปลาหมูอารีย์ Botia sidthimunki เป็นการตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ อ.อารีย์ สิทธิมังค์
ต้นเสี้ยวเครือ Bauhinia sanitwongsei แสดงถึงผู้ค้นพบคือ ม.ร.ว.ใหญ่ สนิทวงศ์ เป็นต้น

ปลาหมูอารีย์



3. Trinomial nomenclature

บางครั้งนักชีววิทยาอาจพบสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาศัยอยู่ในประเทศหรือทวีปที่ห่างกันไกล มีรูปร่างแตกต่างกันไมมากนักจนไม่อาจแยกออกเป็นชนิดใหม่ได้ ก็ต้องตั้งชื่อโดยใช้ชื่อสกุล (Genus) ชื่อที่ชี้เฉพาะ (Specific epithet) และชื่อพันธุ์ (Variety หรือ Subspecies) เช่น เสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti แต่เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris tigris เป็นต้น

เสือโคร่งอินโดจีน (บน) เสือโคร่งเบงกอล (ล่าง)





4. Polynomial nomenclature

ระบบนี้มักจะใช้กันในหมู่พฤกษศาสตร์ เช่น ต้นหลิว Salix pumila angustifolia altera คำแรกหมายถึง Genus คำที่สองหมายถึง Specific epithet คำที่สามหมายถึง Subspecies คำที่สี่หมายถึง Form

กฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์

มีรายละเอียดที่ควรทราบ ดังนี้

1. ชื่อ Genus จะซ้ำกันไม่ได้ และใน Genus เดียวกันจะมีชื่อ Species ซ้ำกันไมได้ หากซ้ำกันจะยึดหลักชื่อที่ตั้งมาก่อนเป็นเกณฑ์
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาลาตินหรือแปลงมาจากภาษาลาติน เวลาเขียนหรือพิมพ์ต้องเป็นอักษรเอน ถ้าเป็นตัวตรงต้องขีดเส้นใต้ให้เห็นชัดเเยกกันเป็น 2 เส้น ใต้ชื่อ Genus เส้นหนึ่ง ใต้ชื่อคำที่ระบุชนิด (Specific epithet) คำหนึ่ง
3. ชื่อ Genus ต้องเป็นคำเดียว เป็นนามเอกพจน์และขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ ส่วนคำที่ระบุชนิด (Specific epithet) ควรเป็นคำเดี่ยวหรือคำผสม และขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ
4. ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ลงในรายงานไว้ในหนังสือวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้

ตัวอย่างชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล เเละสถานที่ที่ค้น
พบ


ปลาบู่มหิดล Mahidolia mystacina เพื่อเป็นเกียรติแด่พระบรมราชชนก พระราชบิดา



ปลาเทพา Pangasius sanitwongsei เพื่อเป็นเกียรติแก่ ม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงศ์



ปักเป้าควาย Tetraodon suvatti เพื่อเป็นเกียรติแก่ อ.โชติ สุวัติถิ



ปลาตูหนา (อุนาหงิ) Anguilla japonica เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศญี่ปุ่น



จระเข้น้ำจืด Crocodylus siamensis เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย



ค้างคาวกิตติ Craseonycteris thonglongyai เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายกิตติ ทองลงยา






จบแล้วฮะ ขอบคุณมากนะฮะ ที่เข้ามาเยี่ยมชมกัน

ลิ๊งค์ที่เกี่ยวข้อง

//www.siamensis.org/article/a010.asp


ซื้ออะไรติดไม้ติดมือกลับไปบ้างไหมฮะ

//www.pantipmarket.com/view.php?id=P4171544




 

Create Date : 07 เมษายน 2549    
Last Update : 8 เมษายน 2549 7:01:04 น.
Counter : 3257 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

น้ำเกลือยอดเยี่ยม
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ทำอพาร์ตเมนต์ ขายปลา ทำปลา เล่นเน็ต ตามการเมือง
Friends' blogs
[Add น้ำเกลือยอดเยี่ยม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.