Group Blog
 
All Blogs
 
เจาะลึกอุปกรณ์



ก่อนจะไปคุยเรื่องวัตถุดิบขอเจาะลึกข้อดีข้อด้อยของอุปกรณ์แต่ละชนิดกันก่อนนะคะเผื่อจะได้เป็นแนวทางว่าควรจะเลือกซื้ออุปกรณ์แบบไหนดี

อันดับแรกว่ากันที่ภาชนะ

1. ภาชนะที่ใช้ส่วนใหญ่นิยมแก้วเหมือนตามห้องปฏิบัติการทั่วไปได้แก่ Beaker ขนาดต่างๆ ควรจะเริ่มที่ขนาดเล็ก 50 ml, 80 ml, 100 ml, 250 ml ต้องมีหลายๆขนาดนะคะเพราะเวลาผสมสาร อาจจะไม่ได้ผสมลงไปพร้อมกันทีเดียว สารบางตัวมีข้อจำกัดต้องผสมกับสารนี้เท่านั้น บางตัวเป็นผงต้องละลายด้วยสารนี้ก่อน และอื่นๆ และควรจะมีเผื่อไว้สักขนาดละ 2 ใบ (เผื่อแตกค่ะ) แต่ถ้าทุนหนาจะมีมากกว่านี้ก็ตามอัธยาศัยค่ะ

2. ภาชนะที่เป็นสแตนเลสไม่ค่อยเหมาะกับการทำปริมาณน้อยๆหรือเริ่มทดลองทำ เพราะเราจะมองไม่เห็นปฏิกิริยาของสารต่างๆขณะผสมได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับใส่ในภาชนะแก้ว ส่วนเหตุผลอื่นๆก็คือภาชนะสแตนเลสไม่ค่อยมีขนาดเล็กๆค่ะ แถมยังราคาแพงกว่าแบบแก้วอีกด้วย

3. ภาชนะพลาสติกควรจะเป็นชนิด Polypropylene ลักษณะสีขาวขุ่น เนื้อเหนียวไม่เปราะ นำมาใช้ได้นะคะหากเป็นการผสมที่ไม่ต้องใช้ความร้อน อันนี้จะมีสำรองไว้ก็ได้ค่ะ ขนาด 500 หรือ 1,000 ml

อันดับที่ 2 อุปกรณ์ตักผสม

อุปกรณ์นี้ได้แก่ ช้อนตักสารจะเป็นพลาสติก สแตนเลส ได้หมดค่ะ ควรจะมีหลายๆขนาด หลายๆแบบ เพราะตักเสร็จก็ใช้กวนได้เลยค่ะหรืออาจจะซื้อพวกแท่งแก้วสำหรับกวนสาร (stirring rod) โดยเฉพาะก็ได้ค่ะ เอาแบบสั้นๆที่เหมาะกับบีคเกอร์ของเรานะคะ และควรจะมีตะกร้อสแตนเลสขนาดเล็กไว้สำหรับผสมสาร โดยเฉพาะพวกอีมัลชั่นที่ต้องใช้ความแรงและเร็วขณะผสม ตัวนี้จะช่วยได้มากเลยค่ะ

อันดับที่ 3 เครื่องชั่ง

อันนี้สำคัญเลยค่ะขอแนะนำว่าถ้าไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงินๆทองๆ ก็กัดฟันซื้อแบบยี่ห้อดีหน่อยสำหรับความละเอียด .1 g. สนนราคาจะอยู่ที่ประมาณสี่-ห้าพัน คิดว่าเพียงพอแล้วนะคะสำหรับการทำไว้ใช้เอง แต่ถ้ายังไม่อยากลงทุนขนาดนั้นจะซื้อหาของจีนมาใช้ก็ไม่ว่ากัน ที่ความละเอียดขนาด .1 g แค่ 5-600 บาทเองแต่ถ้ามั่นใจว่าจะขอยึดมั่นในการทำเองก็ลุยเลยค่ะ

อีกอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือหลอดดูดสาร (Pipette) ประหยัดสุดๆก็ใช้แบบพลาสติกขนาด 1-3 ml. ติดไว้สัก 3-4 อัน สำหรับดูดสารที่ใช้ปริมาณน้อยในส่วนผสมซึ่งไม่สะดวกต่อการชั่งน่ะค่ะ

อันดับ 4 อุปกรณ์ให้ความร้อน

ใช้เตาไฟฟ้าง่ายและประหยัดเงินดีค่ะ แบบเตาแม่เหล็กไฟฟ้าก็ดีค่ะตั้งอุณหภูมิได้แล้วก็ร้อนเร็วทันใจ หรือถ้าใครมีหม้อสุกี้อยู่แล้วก็นำมาใช้ได้เลย ข้อสำคัญเราจะไม่เอาสารใส่ในภาชนะแล้วตั้งไฟโดยตรงนะคะ แต่จะใช้ลักษณะการได้รับความร้อนผ่านน้ำอีกทีค่ะ นั่นก็คือถ้าเป็นเตาธรรมดาจะต้องมีถาดสแตนเลสใส่น้ำเพื่อรองรับภาชนะแก้วของเราอีกที ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทำลายคุณสมบัติของสารสำคัญค่ะ

อันดับสุดท้าย เครื่องวัดอุณหภูมิและความเป็นกรด/ด่าง

ทำไมจึงต้องมีเครื่องวัด 2 ตัวนี้เพราะส่วนผสมที่เราใช้เป็นสารเคมีค่ะ ปฏิกิริยาเคมีมีหลายอย่างเกิดขึ้นโดยที่เราไม่เห็น และสัมผัสไม่ได้ซึ่งถ้าเราไม่สามารถรับรู้เราก็จะควบคุมการทำงานของมันไม่ได้ค่ะ ในการผสมสารต่างๆเพื่อทำเครื่องสำอาง โดยพื้นฐานแล้วต้องเกี่ยวข้องกับ อุณหภูมิและค่ากรด/ด่าง ซึ่งจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อถึงขั้นตอนการเลือกวัตถุดิบ ที่จะนำมาคุยกันในคราวต่อไปค่ะ

สำหรับอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ หรือเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าใช้แบบแท่งแก้วมีปรอทข้างใน ราคาก็ถูกหน่อย อันนึงไม่ถึง 100 บาท แต่ถ้าแบบใช้เลเซอร์วัดและแสดงผลเป็นดิจิตอลก็จะสะดวกกว่ามากคะ เพราะไม่ต้องสัมผัสกับสารโดยตรง ของจีนก็มีนะคะ ราคาไม่ถึงพัน

ส่วนเครื่องวัดค่ากรด/ด่างของจีนก็ถูกและใช้ได้ดีเลยค่ะ ราคาประมาณ 4-500 บาทก็ลองหาซื้อกันนะคะ 





Create Date : 14 กรกฎาคม 2559
Last Update : 14 กรกฎาคม 2559 21:14:33 น. 0 comments
Counter : 582 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1136684
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เชิญเยี่ยมชม http://www.soapchalet.com หรือ http://www.facebook.com/soapchalet
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1136684's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.