ว่าด้วยเรื่องผ่อนบ้าน
จริงๆ เรื่องดอกเบี้ยอย่างนี้คนผ่อนบ้านส่วนมากน่าจะรู้ดีครับ เพราะเป็นผลประโยชน์ของตัวเอง ทุกอย่างก็มีเขียนเอาไว้ในสัญญาอยู่แล้ว แปลกแต่จริงคนส่วนมากคิดไม่ทัน ^^"

เพื่อนผมเพิ่งซื้อบ้าน 1 หลัง กะว่าจะผ่อนสามสิบปี เป็นข้าราชการด้วย ผ่อนร่วมกันกับแฟนเดือนละหมื่นบาท ผมก็บอกเลยว่ามีเงินพิเศษมาเท่าไรให้โปะลดต้นทันทีพอดอกเบี้ยเป็น mlr แล้วจะได้เหนื่อยน้อยหน่อย จะโปะเดือนละกี่รอบก็ได้ ครั้งละพันสองพันก็โปะไปเลยไม่ต้องเกรงใจคนทำเอกสารหรอก

อย่างไรเสีย บ้านก็ยังเป็นทรัพย์ก้อนโตที่สุดในชีวิตเรา ถ้าซื้อแล้วอยู่เอง จะเสียเท่าไรก็ช่างมันเพราะได้ชื่อว่ามีบ้านของตัวเองไม่ได้อาศัยเขาอยู่ แล้วพอเวลาผ่านไปเมื่อผ่อนหมดเราก็ได้บ้านเป๋นกรรมสิทธิ์แถมราคาแพงกว่าตอนซื้อเสียอีกด้วย ถือว่าเป็นการลงทุนที่ดีเหมือนกัน

ถ้าผมเป็นคุณนพพงษ์ผมอาจจะทำอีกอย่าง คือถ้าไม่อาศัยอยู่เอง ผมก็อาจจะหาคนมาเช่าคอนโดโดยที่ค่าเช่าต้องได้มากกว่าค่าผ่อนรายเดือน ทำแบบนี้ได้ผลดีหลายอย่างคือ
- ได้ส่วนต่างของค่าเช่ากับค่าผ่อนเป็นรายได้ของเราเอง
- มีคนมาช่วยผ่อนคอนโดแล้วยังแถมเงินให้เราด้วย พอครบอายุก็เท่ากับเราได้กรรมสิทธิ์คอนโดนั้นมาฟรีๆ
-คอนโด หรือบ้านที่มีคนพักอาศัยไม่ค่อยโทรมเพราะมีคนปัดกวาด เช็ดถูเป็นประจำ
-ผมได้ชื่อว่ามีทรัพย์สินเป็นของส่วนตัวที่ไม่ใช่สินสมรส เมื่อไรทะเลาะกับแม่ยายก็ไม่ต้องไปหาเช่าบ้านยังมีที่หลับนอน ยืดอกพูดได้เต็มปากว่านี่บ้านผมเอง (ฮา)

ความคิดเห็นที่ 22
โดยคุณ : neko
วันที่ : 27 / 11 / 2006 เวลา : 19:55:43
//www.mrpalm.com/board/view_board.php?id=74947



Create Date : 05 มีนาคม 2554
Last Update : 5 มีนาคม 2554 6:12:44 น.
Counter : 619 Pageviews.

5 comments
  
พยายามอย่าคิดมากค่ะ ขนาดเราผ่อนสินค้าราคาเล็กน้อยยังมีดอกเบี้ยนี่ก็กู้เงินผ่อนบ้านเขามาไม่ใช่ปี หรือสองปีนะ เป็น 20 หรือ 30 ปีก็มี ก็ต้องยอมเสียดอกเบี้ยกันหน่อยแหละ อย่าคิดมากถ้าคิดอยากมีบ้านกัน
ถ้าไม่อยากเสียดอกเบี้ยเยอะก็ผ่อนน้อยปี หรือส่งเดือนละเยอะๆ เขาก็ลดต้นลดดอกให้

ความคิดเห็นที่ 27
โดยคุณ : pra
วันที่ : 11 / 08 / 2010 เวลา : 11:02:44
โดย: behindmountain วันที่: 5 มีนาคม 2554 เวลา:6:16:29 น.
  
//changkhui.thaithinkpad.com/index.php?topic=719.0
โดย: behindmountain วันที่: 5 มีนาคม 2554 เวลา:6:21:32 น.
  
หลังจากการโพสไว้ ไม่มีใครมาให้คำแนะนำในการให้ข้อมูลว่าควรจะให้ข้อมูลอย่างไรได้บ้าง ก็ขอเริ่มจากที่นี่ก่อนล่ะกันครับ

ก่อนอื่น ผมต้องขอออกตัวก่อนว่าผมเองก็ไม่ได้เก่งกาจมาจากไหนนัก เพียงแต่ช่วงที่ผ่านมาได้เลือกซื้อบ้านโครงการไป เลยได้พบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนเกี่ยวกับ Personal Finance ในการผ่อนบ้านกันสักเท่าไหร่

โดยส่วนใหญ่ที่ผมพบ คือ จะดูแค่ว่าธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยต่ำที่สุด เช่น 0% 6เดือนแรก หลังจากนั้นก็ MLR-1% หรือ MLR-0.5% ซึ่งจริงๆ แล้ว ธนาคารได้ใช้ 0% เป็นตัวหลอก หรือกระตุ้นให้เราสนใจ จริงแล้วต้องนำดอกเบี้ยของทุกธนาคาร ณ เวลานั้นมาเข้าสูตรคำนวณกันเลยทีเดียวเชียว ถึงจะรู้ว่าธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยถูกที่สุดจริง ซึ่งยังมี Factor เล็กๆ น้อยๆ อีกที่เป็นตัวแปรร่วมในการเลือกอีก เช่น ฟรีค่าธรรมเนียมการจดจำนอง หรือ สามารถโป๊ะได้ไม่จำกัดจำนวน เป็นต้น ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยความสามารถของผู้กู้แต่ละคนด้วย ทำให้ตรงนี้ต้องพิจารณาข้อมูลเป็นรายบุคคลแทน เพื่อประกอบในการตัดสินใจในการเลือกธนาคารไหนที่ควรจะกู้ด้วย

และด้วยความที่ผมดูโปรโมชั่นของธนาคารต่างๆ ที่ให้ดอกเบี้ยในการกู้ซื้อบ้าน ก็พบว่าธนาคารใหญ่ในตลาดจะมีต้นทุนในการกู้สูงกว่าธนาคารขนาดกลางและเล็กบางแห่งด้วยซ้ำครับ

ดังนั้นผมอยากจะช่วยผู้อ่าน หรือผู้ที่กำลังจะทำการกู้ธนาคาร ด้วยการแชร์สูตรคำนวณแบบง่าย ด้วย Excel ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้อง 100% ทีเดียวเนื่องจาก Factor ต่างๆ อาจจะไม่เหมือนกัน แต่อย่างน้อยๆ ก็น่าจะได้ทราบว่าต้นทุนในการกู้ของเรา กับธนาคารไหนที่น่าจะถูกที่สุดได้ระดับนึงครับ โดยสูตรคำนวณนี้ผมได้เจอในเว็ป "pantip.com" ที่อยู่ในห้อง "ชายคา" โดยผู้ทำ Excel นี้ใช้ชื่อในการโพส คือ "The Chopin" สามารถไปดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ //www.prakard.com/default.aspx?g=posts&m=366188

วิธีการใช้ Excel ไฟล์นี้ ทางคุณ "The Chopin" ได้อธิบายไว้ดังนี้ครับ
***********************************************************************
วิธีใช้ (ผม = The Chopin) :

เปลี่ยนค่าเฉพาะ ช่องที่เป็นสีเหลืองนะครับ (ช่องอื่นจะเป็นสูตรทั้งหมด)
A --> จำนวนระยะเวลาที่ต้องการกู้
B --> MLR
C --> ใส่เงินต้นเลยครับฃ
D --> เงื่อนไข promotion ดอกคงที่/ลอยตัวของ bank ที่เสนอให้ แล้วจะแสดงค่างวดที่ต้องชำระ เพื่อให้ cover จำนวนระยะเวลาที่ขอกู้
E --> ตรงนี้เผื่อ ทางเลือกไว้สำหรับ ถ้าเราอยากกลบเงินด้วยจำนวนมากๆ ก่อน จะทำให้เกิดทางเลือกขึ้นสองแบบคือ 1.เดือนต่อๆไปผ่อนน้อยลงแต่จะผ่อนหมดที่เวลาทีตั้งไว้ตอนแรก 2. ผ่อนด้วยเงินตามใจเราที่มากขึ้นเท่าไหร่ก็ได้เผื่อให้ปลดหนี้ได้ไวขึ้น
F --> กรอกจำนวนเงินแบบ manual ที่อัดเข้าไปในแต่ละเดือนเพื่อคำนวณล่วงหน้าได้
ปล. ค่า x คือ ค่าที่เกิดจากการคำนวณเงินต้น,ดอกเบี้ย,เวลาที่เหลือในการผ่อนชำระ(จำนวนเดือน) เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ ถ้าเราผ่อนด้วยจำนวนเท่านั้นจะลดต้นลดดอกไปจนได้ระยะเวลาตามที่เราต้องการ

มี feature น่าสนใจอีกที่คือ ตรง Grand Int. จะบอกว่าถ้าเราผ่อนจะครบงวดตามเงื่อนไขที่เรา simulate ขึ้นจะต้องเสียดอกเบี้ยให้ bank สุทธิเท่าไหร่ครับ ใช้เปรียบเทียบได้ดีเลย

แล้วมี plot กราฟการลดต้นลดดอกหรืออัดเงินให้ดูเผื่อพิจารณาว่า่เป็นอย่างไร ไม่ได้ใช้ความรู้สึกตัดสิน


ถ้าดูจากกราฟจะเห็นว่า step ที่เกิดขึ้น (promotion ดอกคงที่จากทาง bank ในรูปนี้ผมลองสมมติค่าขึ้นมาดูครับ รู้สึกจะใกล้เคียงกับ BBL) จากการลดดอกช่วงแรกจะได้ประโยชน์มากเลยครับ เพราะจะช่วยให้เราไม่รับภาระหนักในช่วงแรกๆ ของการผ่อนที่อาจจะต้องใช้เงินในการซื้อของใช้จำเป็น และจิปาถะอื่นๆ อีกมากมาย
บาง bank ให้ได้หลาย step มากซึ่งจะสอดคล้องกับเงินเดือน(และดอกเบี้ย) ที่อาจจะเพิ่มขึ้นทุกปี อิอิ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เลวครับ
หรือใครจะลองเพิ่ม MLR ให้ถึง 12-15% ดูเลยว่าจะตายมั๊ย หรือ ลองอัดเงิน เข้าระหว่างทางดูว่าจะทำให้ผ่อนหมดเร็วขึ้น ดอกเสียน้อยลง เท่าไหร่ก็ตามสบายครับ

อีกนิด.... ค่า X ที่เกิดขึ้นมาเนี่ย เหมือนกับว่าจะถูก Re-calculate ขึ้นทุกๆเดือนภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นมาครับ (excel ของผมจะรองรับไว้แล้ว) คือแบบว่า...
ถ้าเราเลือกผ่อนชำระ 360 เดือน (30ปี)
เืดือนแรกจะคำนวณค่า X จาก MLR1/เงินต้น1/360 --> X1
(อย่าลืมพื้นฐานของค่า X นะครับ ว่าคืออะไร)
พอมาเดือนที่สองจะคำนวณค่า X ใหม่เป็น MLR2/เงินต้น2/359 --> X2
ถ้าปกติ MLR1=MLR2 แล้วเราชำระเงินตรงกับค่า X1 เดือนที่สองเวลา calculate ค่า X2 ออกมาใหม่ในเงื่อนไขเงินต้นที่ถูกตัดไปแล้วกับค่าเดือนที่ลดไปหนึ่งเดือนเหลือ 359 เืดือน ค่า X2 จะได้เท่ากับ X1 อัตโนมัติเลยครับ
แต่เมื่อใดที่ MLR เปลี่ยน หรือเราเลือกชำระเกิน X1 ค่า X2 ในเดือนถัดไปจะได้ไม่ตรงกันแล้วครับ แต่จะเป็นค่าใหม่ที่ได้เพื่อใช้สำหรับผ่อนเดือนที่เหลือทั้งหมด ซึ่งอาจจะลดลง ในจำนวนเดือน 360เดือน(30ปี)

จากคุณ : The Chopin - [ 16 มี.ค. 49 12:27:59 >
**************************************************************

ซึ่งสูตรที่อยู่ใน Excel นี้มีอยู่ในหนังสือเกี่ยวกับ Financial Management ทั้งนั้นครับ

วันนี้ขอเพิ่มข้อมูลให้แค่นี้ก่อนล่ะกันครับ ไว้มาโพสเพิ่มในโอกาสต่อไป
โดย: behindmountain วันที่: 5 มีนาคม 2554 เวลา:6:25:22 น.
  
โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:12:37:54 น.
  
โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 9 สิงหาคม 2554 เวลา:12:38:54 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

behindmountain
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]