Clear For Take Off
Group Blog
 
All Blogs
 

เหตุเกิดที่หนองคาย ( Naka Fireball )

ครั้งแรกที่ได้ไปสัมผัส บั้งไฟพญานาค (หนองคาย)

ได้เวลาออกเดินทางแล้ว
ออกเดินทางจากกรุงเทพ ค่ำวันที่ 25/10/07
ถึงหนองคายตีห้า อากาศก็ใช้ได้ เพราะยังไม่สว่างเลย แต่ถ้ากลางวันจะร้อนอย่างแรง ขอบอก..




อาหารเช้าสำหรับเช้านี้ครับ



หลังจากเดินตลาดเสร็จ แล้วก็ไปไหว้หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ซึ่งอยู่ติดกับตลาดเลย ก็มุ่งหน้าออกจากตัวเมืองไป 20 กิโลไปทางโพนพิสัย อาบน้ำพักผ่อนเอาแรง บ่ายๆก็คงต้องออกไปจับจองที่นั่ง เดี๋ยวไปเย็นๆ รถจะติด (เจ้าถิ่นเค้าบอกมาอย่างงี้)



ทิปนี้พวกเราถือว่าโชคดีมากที่พวกเราได้เห็นบั้งไฟเยอะกว่าที่อื่นๆ ขับผ่านโพนพิสัย(ซึ่งคนเยอะมาก) แล้วก็ผ่านบ้านเปไปอีก จนมาถึงที่นี่ครับ

จุดชมบั้งไฟ บ้านท่าม่วง อำเภอ รัตนวาปี




ไปถึงที่ก็ประมาณบ่ายสองกว่าๆ ก็ไม่รู้จะทำอะไรกัน ก็นั่งๆ นอนๆ รอไปก่อนครับ เย็นๆค่อยตื่น 55+



กางเต๊นท์กันก็มีให้เห็นทั่วไปครับ




นอนไม่หลับขึ้นไปขี่พญานาคเล่นดีกว่า แห่ะ แห่ะ




ห้าโมงกว่าแล้ว ตื่นๆๆๆๆ คนเยอะแล้ว เดี๋ยวไม่ทันดู รีบตื่นแล้วก็เดินไปประจำที่ ( เอาเสื่อไปปูรอตั้งแต่บ่ายสามแล้ว )




จำนวนผู้ชม เท่าที่นับด้วยสายตาอันแม่นยำ ก็น่าจะประมาณ ห้าพันคนได้นะ เต็มทุกที่นั่ง มีที่นั่งเสริมอีกเยอะแยะ





ผู้ชมเยอะจริงๆ หรือว่า เราเพิ่งมาครั้งแรกว่ะ ตื่นเต้นไปหน่อย ไม่เคยเห็น





เริ่มมืดแร่ะ บรรดาเจ้าหน้าที่ก็เตรียมตัวไปเล่นละครต้มคนดูอีกแล้วคร๊าบบท่าน 555+ (ไม่ใช่อย่างงั้ง เค้าแล่นเรือมาดูเหมือนพวกเรานี่แหล่ะ)




จะมาดูพญานาค หรือว่ามาดูงานจุดพลุกันแน่วะเนี้ยย (ครั้งต่อไปเค้าน่าจะห้ามจุดพลุและดอกไม้ไฟนะ)




ช่วงที่ลูกไฟพญานาคขึ้นถ่ายไม่ทันสักกะที ได้แต่ยินเสียงโห่ เหมือนนั่งเชียร์บอลอยู่ในสนามราชมังกีฬาสถานเลย (โห่กันทีนึง ขนก็ลุกทีนึง ตื่นเต้นไม่เคยเห็นบั้งไฟมาก่อน อิอิ ) แล้วก็จะมีการไหลเรือไฟเรือสุวรรณหงส์ด้วย สร้างบรรยากาศ ส่วนเรือไฟที่เห็นไกลๆนั่น น่าจะเป็นพญานาคของฝั่งลาวครับ




ประมาณ 2-3 ทุ่ม ก็เริ่มไม่ขึ้นล่ะ นับได้ถึงตอนนี้ก็น่าจะมีบั้งไฟขึ้น 20 กว่าลูกนะ แล้วพวกเราก็กลับบ้านกันดีกว่า พรุ่งนี้ต้องออกไปเดินทางข้ามโขงไปเวียงจันอีก แต่กว่าจะออกมาจากที่จอดรถได้เกือบครึ่งชั่วโมง รถติดอย่างแรง นั่งๆนอนๆ เล่นกันไปก่อน

ชมพระจันทร์เต็มดวงไปก่อนละกัน






Let's VienTiane โปรดติดตามตอนต่อไป ..





 

Create Date : 29 ตุลาคม 2550    
Last Update : 30 ตุลาคม 2550 11:32:15 น.
Counter : 1562 Pageviews.  

น้ำตกเอราวัณ กาญจนบุรี

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ. กาญจนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 550 ตร.กม. หรือ 343,750 ไร่ นับเป็น
อุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย




สภาพภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชันสลับกับพื้นที่ราบ ภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน โดยเฉพาะบริเวณ
ใกล้น้ำตกเอราวัณมีลักษณะเป็นผา มีลำห้วยที่สำคัญหลายแห่ง สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่ มะกอก ตะแบก ฯลฯ นอกจากนั้นเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งและป่าไผ่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ที่มักจะพบเห็นได้แก่ ช้างป่า ชะนี กระต่ายป่า กระรอกบิน นกแว่น เหยี่ยว งูจงอาง งูหลาม
นอกจากนี้บริเวณน้ำตกยังมีปลาจำนวนมาก เช่น ปลาเวียน ปลาหอกช้างเหยียบและปูน้ำตก เป็นต้น



น้ำตกเอราวัณ เป็นธารน้ำที่สวยงาม เกิดจากลำห้วยม่องไล่ ไหลผ่านเชิงชั้นหน้าผาคล้ายกลีบม่าน มีความยาว 2,200
เมตร แบ่งเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ กล้วยไม้ป่าหลายชนิด สายธารน้ำไหลที่ตก
ลงมากระทบกับโขดหิน ทำให้เกิดลักษณะต่าง ๆ ตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละชั้น
นอกจากนี้แต่ละชั้นยังมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ ส่วนชั้นบนสุดคือชั้นที่ 7 เมื่อมีน้ำไหลบ่าจะมีลักษณะ
คล้ายหัวช้างเอราวัณ และนี่คือที่มาของคำว่า " น้ำตกเอราวัณ" อุทยานแห่งชาติเอราวัณใช้เวลาในการเดินทางจากตัว
จังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 1ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 66 กิโลเมตร อุทยานเอราวัณมีบ้านพักศูนย์บริการและสิ่งอำนวย
ความสะดวกอีกมากมายไว้บริการนักท่องเที่ยว







กว่าจะเดินทางมาถึงจุดตรงนี้ได้ เดินเท้าร่วม 2 กิโลเมตร ขาแข็งเลยยย แต่ก็คุ้ม

ข้างบนไปอีกนิดจะถึงจุดสุดยอด น้ำตกชั้น 7 แต่ไม่ไหวแล้ววว มาคนเดียวด้วย ไม่มีใครฝากของ





 

Create Date : 07 กันยายน 2550    
Last Update : 7 กันยายน 2550 12:13:39 น.
Counter : 1706 Pageviews.  

เสาชิงช้า

ประวัติความเป็นมาของไม้สักทองที่ใช้ปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า



ปี พ.ศ. 2547 กรุงเทพมหานครเตรียมการตกแต่งโบราณสถานในพื้นที่ และได้ตรวจพบเสาชิงช้ามีสภาพชำรุดทรุดโทรดตามอายุ เนื้อไม้ผุกร่อน มีร่องรอยปลวกทำลายโครงสร้างไม้เสาชิงช้า จึงได้ประสานทำงานร่วมกับกรมศิลปากร มีความเห็นตรงกันว่า ความชำรุดครั้งนี้อยู่ในขั้นวิกฤต การซ่อมบูรณะโบราณสถานของชาติจึงเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 – 2549 ปีที่เสาชิงช้าอายุครบ 222 ปี และกรุงเทพมหานครมีอายุ 224 ปี ซึ่งกรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบโบราณสถานทั่วพื้นที่ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา 5 ท่าน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 20 ท่าน รวม 25 ท่าน เพื่อดำเนินการบูรณะเสาชิงช้าให้ถูกต้องตามหลักวิธีปฏิบัติแห่งราชประเพณีนิยม ประวัติและรูปแบบเดิมทุกประการ โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนการบูรณะ ซ่อมแซมและการหาไม้เพื่อนำมาทดแทนเสาเดิมที่ทรุดโทรมและผุพังลงตามกาลเวลาด้วยเทคนิคทางวิศวกรรม

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้รับมอบหมายให้เตรียมซ่อมแซมรอยต่อรอบแตกของไม้ เสา รวมทั้งโครงสร้างเสาชิงช้าทั้งหมด และเมื่อได้เข้าทำงานในสถานที่ตรวจสอบโดยละเอียดพบความเสียหายมากกว่าเมื่อตรวจพบขั้นต้น จึงปรับเปลี่ยนวิธีซ่อมโดยเทคโนโลยีใหม่ใช้วัสดุสังเคราะห์ประเภทคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) และอิพ็อกซี่ (Epoxy) ที่มีความเหนียวและแข็งแรงเพียงพอจะรับน้ำหนักและแรงกระทำต่อโครงสร้างเสาชิงช้า มีการตกแต่งผิวเนื้อไม้ทั้งต้นอย่างพิถีพิถันใช้เวลารวมทั้งสิ้น 60 วัน จึงแล้วเสร็จ เสาชิงช้ามีความมั่นคงแข็งแรงและกรุงเทพมหานครได้จัดพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยพระราชครูวามเทพมุนี เป็นผู้ประกอบพิธีพราหมณ์ ณ บริเวณลานเสาชิงช้า




นอกจากการซ่อมบูรณะ คณะกรรมการอำนวยการบูรณะเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครยังได้เตรียมการจัดหาไม้มาทดแทนเสาชิงช้าตามลักษณะ ขนาด และรูปแบบเดิม โดยหารือกับหน่วยงานที่มีความชำนาญในเรื่องพันธุ์ไม้ ขณะที่สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานครดำเนินการบูรณะเสาชิงช้าอยู่นั้น คณะอนุกรรมการสืบค้นหาไม้ก็เริ่มดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและสถานบันการศึกษาต่าง ๆ ดำเนินงานในภูมิภาคได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกค้นหาต้นสักที่มีลำต้นตรง ไม่มีตำหนิขนาดใช้จริงยาวประมาณ 20 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางปลายเสาประมาณ 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นประมาณ 80 เซนติเมตร เป็นอย่างต่ำ และไม้ก่อนการตัดแต่งสูง 25 เมตร ตามแหล่งไม้สักทั่วภาคเหนือและภาคกลาง เดินทางไปสืบค้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ และจังหวัดแพร่ ฯลฯ โดยมีอาจารย์จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปค้นหาใช้หลักวิชาตรวจสอบต้นสักที่อยู่ในข่ายการคัดเลือกทุกแห่ง จนในที่สุด สามารถพบไม้สักสำคัญทั้ง 6 ต้นตามกำหนด จากป่าภาคเหนือรวม 3 แห่ง ในท้องที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่ยังคงสามารถรักษามรดกธรรมชาติของท้องถิ่นไว้สืบต่อมรดกวัฒนธรรมของชาติโดยรวม นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดแพร่ ธนารักษ์พื้นที่แพร่ แขวงการทางแพร่ กรมทางหลวง ให้ความอนุเคราะห์มอบไม้ให้กรุงเทพมหานครรับไปดำเนินงานทั้ง 6 ต้น




 

Create Date : 07 กันยายน 2550    
Last Update : 7 กันยายน 2550 9:11:25 น.
Counter : 7248 Pageviews.  

12 August 2007

วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหา 07


เหนื่อยๆๆๆ กับการทำงาน ดูสิ คนอื่นเค้าหยุดกันโครมๆ ไอ้เรานี่ต้องมานั่งทำงานอีก เสียไซเรนดังตลอดเลย ออกไปดูสิ มีเหตุการณ์อะไรหรือเปล่า แต่วันนี้รถติดมาก ไปกินข้าวร้านไหนก็เต็ม ขนาดออกไปกินถึง ถนนอักษะ ยังรอคิวนานกว่า ครึ่งชั่วโมง (หายหิวกันพอดี) กลับมาทางสะพานปิ่นเกล้า รถติดมาก กว่าจะถึง Office ใช้เวลานานพอสมควร

ขึ้นไปดาดฟ้าที่ทำงานดีกว่า ..



Zoom Zoom Zomm ..

หันซ้ายไป 9 นาฬิกา



ทำไมมันเอียงครับเนี้ยย ภูเขาทอง (หรือว่าเพราะฤทธิ์ รีเจนชี่ ไม่รู้ 555)

นับ1 ถึง 10 ถ่ายใหม่ ซูมเข้าไปอีก ดูสิว่ามันจะตรงมั้ย ??


ลงไปทำงานต่อดีกว่า ..




 

Create Date : 06 กันยายน 2550    
Last Update : 7 กันยายน 2550 9:38:24 น.
Counter : 428 Pageviews.  

Ayutthaya Temple

อยุธยา เมืองเก่า



วัดไชยวัฒนาราม
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๗๓ โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก(พนมเปญ) โดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด



วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้



ก่อนกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕



ต่อมาเป็นวัดธรรมมิกราช


วิหารพระมงคลบพิตร


อยากขี่บ้างจัง (อิอิ)



ไปวัดใหญ่ชัยมงคลกันบ้างดีกว่านะ


สาธุ .. ขอให้รวยยย




 

Create Date : 06 กันยายน 2550    
Last Update : 7 กันยายน 2550 10:11:24 น.
Counter : 1045 Pageviews.  

1  2  3  

BcOmP
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..i!l|l!i.. โอกาสเกิด ถ้าเปิดมุมมองใหม่ ..i!l|l!i..
Friends' blogs
[Add BcOmP's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.