พบกับเสวนา Healthy Lady 2015มหัศจรรย์ของผู้หญิง 7 สิงหาคม นี้ ที่ รพ.กรุงเทพพัทยา

พบกับเสวนาเพื่อสุขภาพสตรีและความงาม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Healthy Lady 2015…มหัศจรรย์ของผู้หญิง

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ณ Lobby อาคาร E โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

เสวนาเรื่อง มหัศจรรย์ของผู้หญิง รวมอ่อนโยน และแข็งแรงไว้ด้วยกัน

 โดย  

  • แพทย์ศูนย์ผิวพรรณ และศัลยกรรมความงาม พญ.สุรีย์รัตน์ ศรีตั้งรัตนกุล
  • แพทย์ศูนย์สุขภาพสตรี   พญ.พรศรี นิรันดร์สุข       

000

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 04 สิงหาคม 2558
Last Update : 4 สิงหาคม 2558 14:05:52 น.
Counter : 1037 Pageviews.

1 comment
ยาที่ใช้รักษาหลังการทำหัตถการขยายหลอดเลือด

หลังจากที่ท่านออกจากโรงพยาบาล แพทย์จะแนะนำให้ท่านรับประทานยาแอสไพรินและยาต้านเกล็ดเลือดชนิดอื่น เช่น Clopidogrel เป็นประจำทุกวัน แพทย์จะบอกท่านเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องรับประทานยา การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญมาก  

- รับประทานยาตามเวลาอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด โปรดอย่าลืมรับประทานยา                                                                                                                      

 - แจ้งให้แพทย์ทราบ หากท่านไม่สามารถรับประทานยาต่อไปได้ เนื่องจากเกิดผลข้างเคียง เช่น มีผื่น มีเลือดออก หรือปวดท้อง

ข้อควรระวัง :         

- อย่าหยุดรับประทานยาจนกว่าแพทย์ของท่านจะสั่งให้หยุด                                                                

- แจ้งแพทย์ประจำตัว หากท่านต้องไปพบทันตแพทย์ในขณะที่ท่านรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดอยู่ ท่านควรแจ้งแพทย์โรคหัวใจเกี่ยวกับข้อแนะนำใดๆ จากทันตแพทย์ที่จะหยุดยาของท่าน                                       

- ก่อนการใส่สเต็นท์แบบเคลือบยา และโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้ หากท่านมีแผนที่จะเข้ารับการผ่าตัดใดๆ ซึ่งอาจทำให้ท่านต้องหยุดใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ท่านควรจะหารือว่าการใส่สเต็นท์ หรือโครงค้ำยันนั้นๆ เหมาะสมหรือไม่

ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการขยายหลอดเลือด

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการถ่างขยายหลอดเลือด เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไป แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่รุกล้ำร่างกาย จึงมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญมาก ซึ่งท่านควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการรักษา

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน                                                                                               

พบได้มากขึ้นในภาวะดังนี้

  • อายุ 75 ปีขึ้นไป
  • เพศหญิง
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ประกอบด้วย                                                                       

(อาจไม่จำกัดเพียงเท่านี้)

  • มีเลือดออกที่เส้นเลือดหรือรอยช้ำตรงบริเวณที่สอดสายสวนหัวใจ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แพ้สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไป
  • ก้อนลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • การกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือดที่ได้รับการถ่างขยาย
  • การทำงานของไตเสื่อมมากขึ้น
  • เส้นเลือดอุดตันที่สมอง ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต

การผ่าตัดต่อเส้นเลือดมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการดมยาสลบ แพทย์จะประเมินความเสี่ยงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/2587-coronary-heart-disease-is-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ศูนย์ ศูนย์หัวใจ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 03 สิงหาคม 2558
Last Update : 3 สิงหาคม 2558 9:48:22 น.
Counter : 1225 Pageviews.

1 comment
โรคตาแดง

ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่โรคตาแดง หรือ โรคตาอักเสบพบบ่อย   ซึ่งมักเกิดการระบาดในชุมชนที่อยู่ร่วมกัน  แล้วโรคตาแดงคืออะไร  และเกิดขึ้นได้อย่างไร  

 “โรคตาแดง”   เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ  เชื้อที่ทำให้เกิดโรคตาแดงที่พบได้บ่อยได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และที่ทำให้เกิดการระบาดที่บ้านและที่โรงเรียน จะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่ 

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  

เป็นโรคระบาดทางตาที่พบได้บ่อย  มักมีการระบาดเป็นช่วงๆ  เป็นประจำทุกปี  ส่วนใหญ่เป็นในช่วงฤดูฝน ติดต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส การใช้ของร่วมกัน  การไอจาม  แม้กระทั่งการหายใจรดกันก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้  หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน  และเมื่อเกิดเป็นตาแดงขึ้น  จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์  โดย ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการตาแดงอย่างเฉียบพลัน  เคืองตามาก เคืองแสง  เจ็บตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  มักไม่มีขี้ตาหรือมีขี้ตาเป็นเมือกใสๆ  เล็กน้อย  ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตามาก  บางคนมีต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโตและเจ็บ  ผู้ที่เป็นตาแดงมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน  ต่อมาอีก 2-3 วัน  อาจลุกลามเป็นกับตาอีกข้างหนึ่งได้  ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน

ในบางรายเมื่ออาการตาแดงดีขึ้น  อาจเกิดมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้  คือ  กระจกตาอักเสบ  (กระจกตา หมายถึง  ส่วนที่เป็นตาดำ  ลักษณะเป็นวงกลมอยู่ตรงกลางลูกตาด้านหน้า)  โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง  และยังเคืองตาอยู่ทั้งๆ ที่อาการดีขึ้นแล้ว  มักเกิดในช่วงวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง  กระจกตาอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นนานเป็นเดือนกว่าจะหาย 

ส่วนการรักษานั้น ยังไม่มียารักษา โดยเฉพาะ    เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส  ดังนั้น  ยาต้านไวรัสต่างๆ  ที่มีอยู่ จึงใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสชนิดนี้  ส่วนใหญ่จึงให้การรักษาตามอาการ  เช่น

  • ถ้าตาอักเสบมาก  แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหยอดลดอาการอักเสบ
  • รับประทานยาแก้ปวด  เช่น  ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา  เคืองตา
  • ถ้ามีขี้ตา  ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด  เช่น  น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด  ใส่แว่นกันแดด  เพื่อลดอาการเคืองแสง  ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น  งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ  พักผ่อนให้เต็มที่และพักการใช้สายตา  ส่วน การป้องกันการติดโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  เป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากติดต่อกันได้ง่ายมาก  และเมื่อเป็นแล้วก็ยังไม่มียาที่รักษาได้โดยตรง  มักติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  การป้องกันไม่ให้มีการระบาดแพร่กระจายโรคสามารถทำได้โดยการแยกผู้ป่วย  เช่นเด็กเล็กที่ยังไม่รู้จักป้องกันการแพร่กระจายโรค  ควรให้หยุดเรียน  และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก  ควรหยุดงาน
  • ผู้ที่เป็นไม่ควรจับต้องบริเวณดวงตา  หรือขยี้ตาเพราะเชื้อโรคอาจติดไปยังสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้และไม่ใช้สิ่งของ  เช่น  ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดมือ  เสื้อผ้าปะปนกับผู้อื่น  ไม่พูดไอจามรดผู้อื่น
  • ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด

โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย 

จะมีการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส ผู้ที่เป็นจะมีอาการตาแดง เคืองตา เจ็บตา มีขี้ตามากลักษณะข้นๆ แบบหนอง ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตามากจนทำให้เปลือกตาติดกัน อาการมักไม่เฉียบพลันและรวดเร็วเท่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อจึงติดต่อไปยังผู้อื่นได้และพบว่าเป็นได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องมีการระบาดเป็นช่วงๆ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาและป้ายตาในช่วงแรก ถ้าเป็นมากแพทย์มักสั่งให้หยอดยาบ่อยๆ เช่นทุก 1-2 ชั่วโมง ถ้าอาการดีขึ้นแล้วให้หยอดยาห่างขึ้นเป็นหยอดทุก 4-6 ชั่วโมง ส่วนยาขี้ผึ้งป้ายตามักให้ป้ายก่อนนอนเพื่อให้ได้รับยาต่อเนื่องไปตลอดทั้งคืน ยาขี้ผึ้งป้ายตาถ้าใช้ในเวลากลางวันจะรบกวนการมองเห็น จึงไม่ค่อยสะดวกในการใช้ ยกเว้นในเด็กเล็ก หลังการใช้ยาอาการมักดีขึ้นภายใน 2-3 วัน และหายภายใน 1 สัปดาห์ การดูแลรักษาอื่นๆ และการป้องกันให้ปฏิบัติในทำนองเดียวกับโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส นอกจากจะเกิดจากโรคตาแดงดังได้กล่าวมาแล้ว ยังสามารถพบอาการนี้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค โดยมีลักษณะของเยื่อบุตาเป็นสีแดงๆ คล้ายคลึงกัน บางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายอาจทำให้เกิดการสูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน กระจกตาติดเชื้อ ม่านตาอักเสบดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 31 กรกฎาคม 2558
Last Update : 31 กรกฎาคม 2558 10:11:12 น.
Counter : 1194 Pageviews.

1 comment
หูอื้อ หูดับ

หูเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้

มารู้จักหูกันดีกว่า ว่าได้ยินและทรงตัวอย่างไร

หูมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะในการฟังเสียงและการทรงตัว ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน

หูชั้นนอก 

เป็นส่วนที่มองเห็นได้ชัด ประกอบด้วยใบหูและช่องหู ทำหน้าที่รวมเสียงและส่งคลื่นเสียงไปยังแก้วหู ซึ่งจะสั่นสะเทือน รวบรวมพลังเสียง ส่งต่อไปยังหูชั้นกลางและหูชั้นใน ในหูชั้นนอกมีต่อมขี้หู และต่อมไขมัน

หูชั้นกลาง

ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ ค้อน ทั่ง โกลน ลอยตัวอยู่ในอากาศทำหน้าที่คล้ายเครื่องทุ่นแรง กระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้ช่วยรับการสั่นสะเทือนจากแก้วหูไปยังหูชั้นในโดยอาศัยพลังกลและด้วยอัตราส่วนต่างระหว่างพื้นที่ของแก้วหู และฐานกระดูกโกลนในอัตรา 20:1 ระดับความดันอากาศในหูชั้นกลางปรับโดยท่อต่อระหว่างหูชั้นกลางและหลังโพรงจมูกให้เท่าบรรยากาศเสมอ

หูชั้นใน

ประกอบด้วยกระดูกรูปหอยโข่ง (Cochlea) ขดกันสองรอบครึ่ง เป็นที่อยู่ของปลายประสาทรับการได้ยิน รับความถี่ของเสียงตั้งแต่เสียงแหลมไปเสียงทุ้ม และติดต่อกับอวัยวะรับรู้การทรงตัวรูปครึ่งวงกลม 3 อัน ตั้งฉากซึ่งกันและกัน รับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะในท่าต่างๆ ปลายประสาทการได้ยินและการทรงตัวส่งกระแสไปตามก้านสมองไปสู่สมองเพื่อรับรู้

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/2601-tinnitus-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 29 กรกฎาคม 2558
Last Update : 29 กรกฎาคม 2558 10:44:30 น.
Counter : 1353 Pageviews.

1 comment
สาเหตุ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)

ทำ ให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แต่ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรก เกิดทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3-5

เมื่อเป็นโรคตับอักเสบบีระยะเฉียบพลันแล้วมีโอกาสจะหายขาดประมาณ ร้อยละ 90 ซึ่งจะกลับเป็นปกติทุกอย่าง ส่วนอีกร้อยละ10 จะไม่หายขาด โดยบางคนอาจจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ หรือบางคนอาจจะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะเป็นโรคตับแข็งตามมา ถ้ายังมีการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักต้องเป็นนานประมาณ 10-20 ปี บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับได้โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค มะเร็งตับ โอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในแต่ละคนไม่เท่ากัน

ความร้ายแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือด และตับ โดยอาจมีอาการของตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ เราเรียกบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ว่าเป็น “พาหะ” หรือตับอักเสบเรื้อรัง ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน ประมาณร้อยละ 10 ของผู้เป็นพาหะจะกลับเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้อีก และบางรายอาจตายด้วยโรคตับแข็ง ตับวาย ท้องมาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ผู้เป็นพาหะมีโอกาสเกิดโรคเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติถึง 100 เท่า โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด โอกาสการเกิดโรคมะเร็งจะมีมากหากผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ติดมาจากมารดาขณะแรกเกิด เป็นต้น

สาเหตุ

1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความคงทนสูง และทำลายได้ยาก การทำลายเชื้อต้องใช้วิธีต้มเดือดนานอย่างน้อย 30 นาที หรือนึ่งภายใต้ความดันสูงนาน 30 นาที หรืออบในตู้อบแห้งที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือโดยการแช่ในสารเคมี เช่น แช่ในโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.5% อย่างน้อย 30 นาที แช่ในฟอร์มาลิน 40% อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือแช่ในแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อย 18 ชั่วโมง

 ไวรัส สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญประการหนึ่งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่บุตรลดลงมาก เพราะบุตรที่คลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100

2. การติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ยังถือเป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญใน ปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์

3. การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับ อักเสบชนิดบี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำเหลือง การติดเชื้อจากการไดรับเลือดพบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการตรวจกรองของธนาคารเลือดดีขึ้นมาก

4. อาจติดต่อได้จากการสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง

- See more at: //www.bangkokhealth.com/bhr/th/content_detail.php?id=756&types=#sthash.RQPAcIoq.dpuf

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ศูนย์ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 28 กรกฎาคม 2558
Last Update : 28 กรกฎาคม 2558 10:57:37 น.
Counter : 1102 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog