การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง


strok

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดยการค้นหาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยง นั่นคือ ควรวัดความดันโลหิตเป็นระยะ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้รู้ว่ามีความผิดปกติอะไรในร่างกาย ไม่เพียงเท่านี้ ควรปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตสูงให้คงที่ด้วย เช่น ออกกำลังกาย งดกินเค็มเลี่ยงรสจัด กินอาหารไขมันต่ำ ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น แขนอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด รวมทั้งควรตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง เพราะอาจเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้

ขณะที่อีกหนึ่งวิธี คือ การตรวจสอบความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการทำอัลตราซาวด์หลอดเลือดคอ (carotid duplex ultrasound) เพื่อตรวจภาวะการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณคอ ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่สำคัญที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ MRI เป็นการถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยสนามแม่เหล็กที่สามารถให้รายละเอียดของสมองได้ดีและชัดเจนมากยิ่งขึ้น บอกได้ว่าหลอดเลือดอุดตันและเนื้อสมองที่ตายเกิดมานานหรือยัง การรักษาสามารถช่วยให้เนื้อตายกลับฟื้นมาใหม่ได้หรือไม่ แถมยังตรวจสภาพหลอดเลือดได้อย่างดี โดยไม่ต้องฉีดสีเข้าร่างกายด้วย และอีกหนึ่งวิธีคือ การถ่ายภาพสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน มาถึงโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมงแรกที่มีอาการ ว่าสมองมีเลือดออก หรือขาดเลือดไปเลี้ยง

จากข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้น...ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องทุกคนต้องหันมารักตัวเองให้มากขึ้น ด้วยการควบคุมระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ กินอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไปพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติตามลักษณะอาการที่กล่าวไปข้างต้น เช่น แขนขาอ่อนแรง พูดผิดปกติ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ วิงเวียน ยืนไม่อยู่

นอกจากนี้ แม้ว่า โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบ จะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุมากเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับโรคนี้ ถึงไม่แก่ แต่ถ้ามีพฤติกรรมเสี่ยง ก็สามารถเกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นอย่าละเลยอาการวูบโดยเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคหลอดเลือดสมองได้ และถ้าไปพบแพทย์ช้าเกินไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัญหาสุขภาพมีค่าเกินกว่าที่คุณจะมองข้ามไป

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 19 เมษายน 2559
Last Update : 19 เมษายน 2559 13:14:50 น.
Counter : 1083 Pageviews.

1 comment
ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต ในโครงการ พลังเลือดใหม่ เพื่อโลกใบนี้ ปีที่ 8


newblood01

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา  ร่วมกับ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

ขอเชิญทุกท่านร่วมบริจาคโลหิต ในโครงการ “พลังเลือดใหม่ เพื่อโลกใบนี้”  ปีที่ 8

  • ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่  21  เมษายน  2559

เวลา 09.00 – 12.00 น.

ณ  Lobby อาคาร E โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

*ข่าวประชาสัมพันธ์ สภากาชาดไทย

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ  สภากาชาดไทย ระดมขอรับบริจาคหมู่โลหิตหายาก (Rh-negative)  อาทิกรุ๊ป O Rh-,  A Rh- และ B Rh- เพราะผู้ที่มีหมู่โลหิตหายากในประเทศไทยพบจำนวนน้อยมาก [1,000 : 3 คน] และในทะเบียนผู้บริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีผู้ที่มีหมู่โลหิตหายากเหล่านี้เพียง  5,000 คน  เท่านั้น

ขอเชิญผู้ที่มีหมู่โลหิตหายาก มาบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วยได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์  

วันจันทร์,พุธ,ศุกร์         เวลา  08.00-16.30 น.  

วันอังคาร, พฤหัสบดี    เวลา 07.30 - 19.30 น.  

วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์          เวลา 08.30-15.30 น. 

*สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต   โทร. 0 2256 4300

(ประกาศ ณ  วันที่  18 กรกฎาคม 2557)

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

  • อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
  • น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพสมบูรณ์ดี ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
  • ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่างๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
  • ไม่อยู่ในระหว่างทานยาแก้อักเสบในระยะ 7 วันที่ผ่านมา
  • ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ
  • สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

ดูแลตนเองก่อนมาบริจาคโลหิต

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแกอักเสบใดๆ
  • ควรรับประทานอาหารก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ

  • ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
  • เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
  • รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต

  • นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
  • ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
  • ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
  • หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
  • หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบ
  • แพทย์พยาบาล

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 18 เมษายน 2559
Last Update : 18 เมษายน 2559 11:36:38 น.
Counter : 1119 Pageviews.

1 comment
โรคในเด็ก ที่ควรระวังในฤดูร้อน ตอนที่ 2


เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาว และเริ่มเข้าฤดูร้อน ลักษณะภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป โรคที่พบก็เปลี่ยนชนิดไป กลายเป็นโรคฤดูร้อนที่มีปัญหาแตกต่างกันออกไปจากฤดูหนาว โรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคไอ โรคหอบ และหืด ก็มักจะไม่เป็นในช่วงฤดูร้อนนี้ แต่จะพบโรคเหล่านี้แทน

โรคอุจจาระร่วง

 ในฤดูร้อนนี้ต่างจากในฤดูหนาว ซึ่งเกิดจากไวรัสในเด็กต่ำกว่า 2 ปี กลายมาเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจากความไม่สะอาด เนื่องจากไม่มีน้ำ การเตรียมอาหารที่ไม่สะอาด ประกอบกับความร้อนชื้นที่มีมากในฤดูนี้ ทำให้เกิดการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย จึงมักพบโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อต่าง ๆ จากอาหารที่เน่าบูดง่าย และยังพบเชื้ออหิวาตกโรค และโรคบิดที่ติดได้ง่ายในฤดูนี้ ดังนั้นความสะอาดมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเตรียมอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อ และเกิดได้ในทุกช่วงอายุ ถ้าได้รับอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน และหากเกิดอาการอุจจาระร่วงเมื่อไร ก็ควรจะได้รับการรักษาทันที โดยการใช้สารละลายน้ำ และเกลือแร่ ให้อาหารอ่อนกากน้อยที่ย่อยง่าย และหากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้น หรือทรุดหนักลง มีอาการขาดน้ำ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่ริมฝีปากแห้ง ตาลึกโบ๋ หายใจเร็ว ก็ควรต้องพาไปพบแพทย์เพื่อการวินิจ และการรักษาที่ถูกต้องต่อไปทันที

 ที่มา  :  แผ่นพับบริษัท สยาม เมจิ มิลค์ จำกัด

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กุมารเวช

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 14 เมษายน 2559
Last Update : 14 เมษายน 2559 13:42:51 น.
Counter : 1136 Pageviews.

1 comment
โรคในเด็ก ที่ควรระวังในฤดูร้อน



เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาว และเริ่มเข้าฤดูร้อน ลักษณะภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป โรคที่พบก็ เปลี่ยนชนิดไป กลายเป็นโรคฤดูร้อนที่มีปัญหาแตกต่างกันออกไปจากฤดูหนาว โรคทางเดินหายใจเช่น โรคหวัด โรคไอ โรคหอบ และหืด ก็มักจะไม่เป็นในช่วงฤดูร้อนนี้ แต่จะพบโรคเหล่านี้แทน

โรคผิวหนัง

ในฤดูร้อนนี้เกิดจากความอับชื้อตามซอกผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และความร้อนจากอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เกิดโรคผดผื่นร้อนขึ้นได้ง่าย มีอาการผิวพุขึ้น เป็นชนิดที่เรียกว่าผดข้าวสุก ทำให้เกิดอาการคัน บางครั้งก็ลอกออกมา เมื่อประกอบกับมีภาวะแห้งแล้ง มีน้ำในการใช้อุปโภคน้อย และมีการหมักหมม ทำให้เกิดโรคของผิวหนังจากการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อไม่ได้ทำความสะอาดที่ดีมีการเกา นำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผลที่เกาถลอก ก็จะเกิดการติดเชื้อเป็นแผลอักเสบเป็นหนองได้ง่ายในบางครั้งหลังจากหาย หรือแม้กระทั่งไม่หายจากแผลพุพองเป็นหนองก็สามารถรับเชื้อราทำให้เกิดโรคจากรา เป็นกลากเป็นเกลื้อนตามมาได้อีก

ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาด ชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะทำให้ลดการเกิดโรคของผิวหนังได้

ที่มา  :  แผ่นพับบริษัท สยาม เมจิ มิลค์ จำกัด

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กุมารเวช

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 12 เมษายน 2559
Last Update : 12 เมษายน 2559 11:54:48 น.
Counter : 1118 Pageviews.

1 comment
ความดันสูง..ไม่ธรรมดา เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง


แขนขาอ่อนแรง พูดผิดปกติ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ วิงเวียน ยืนไม่อยู่” ใครที่มีอาการเหล่านี้ต้องระวังให้ดี! เพราะมันคือสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าของโรคที่น่ากลัวอย่าง “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่เมื่อเป็นแล้วจะเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในคนไข้เป็นอันดับ 1 มากกว่าโรคหัวใจและมะเร็ง

ปัจจุบันพบว่า คนไทยมีผู้ป่วยโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเครียดจากการทำงาน พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่มีเวลาออกกำลัง รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เหล่านี้ล้วนเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแทบทั้งสิ้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตนั้น คือ ภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีข้อมูลรองรับให้เห็นว่า ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูง อาจมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติถึง 4 เท่า นั่นเพราะความดันโลหิตสูงจะค่อยๆ ทำให้หลอดเลือดภายในร่างกายค่อยๆ เสื่อมไป และตีบลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดสมองนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ถ้าใครมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ย่อมเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย สอดรับกับสถิติที่พบว่า ผู้หญิงมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันถึง 60% ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาส 40%

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยไม่รู้ตัว (silent stroke) โดยจะไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองอย่างชัดเจน แต่จะมีผลกระทบเกี่ยวกับความทรงจำและกระบวนการคิดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีโอกาสที่หลอดเลือดในสมองอาจอุดตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตมีความพิการหรือตายได้

ให้สังเกตอาการเบื้องต้นของโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนมากที่พบบ่อย และสังเกตได้ง่าย คือ แขน ขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยว พูดลำบาก พูดไม่ชัด ฟังไม่เข้าใจ เดินเซ บางครั้งจะปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งอาจแสดงอาการออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะหลายอย่างพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มักเริ่มจากแขนขาอ่อนแรง หรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือ “วูบแบบเฉียบพลัน” หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 11 เมษายน 2559
Last Update : 11 เมษายน 2559 14:31:06 น.
Counter : 1040 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog