งานประชุมวิชาการโรคหัวใจ เรื่อง “Clinical Practice in Cardiology; The next chapt


บรรยากาศงานประชุมวิชาการโรคหัวใจ เรื่อง “Clinical Practice in Cardiology; The next chapter”


ติดตามตัวเต็มได้ที่นี่ //m.bangkokpattayahospital.com/th/bangkok-hospital-pattaya-channel-th/b-event-th/item/1059-clinical-practice-in-cardiology-th.html

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 10 ตุลาคม 2559
Last Update : 10 ตุลาคม 2559 14:03:35 น.
Counter : 763 Pageviews.

1 comment
ความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับเกิด (OSAS)


Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) คือความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับเกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจและระบบการนอนหลับ

อัตราการเกิดพบประมาณ 2% ของประชากร พบในเด็กผู้หญิงพอ ๆ กับเด็กผู้ชายจะเห็นได้ว่าการนอนกรนแบบไม่เป็นอันตรายพบได้บ่อยกว่ามากอย่างไรก็ตามแพทย์มีความจำเป็นจะต้องตรวจวินิจฉัยเด็กที่นอนกรนแบบมีอันตรายหรือมีความผิดปกติของการหายใจ และให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการนอนกรนผิดปกติ (OSAS) ได้แก่

•             มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต

•             เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

•             มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ

•             มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy

•             เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ

•             เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

•             เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง

•             อาการที่น่าสงสัยว่าลูกมีปัญหานอนกรนแบบมีอันตราย

•             มีอาการหายใจติดขัด, หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ร่วมกับการนอนกรนนอนกระสับกระส่าย, เหงื่อออกมากเวลานอน, ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ

•             ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน

•             อ้าปากหายใจ

•             มีปัญหาด้านการเรียน, เรียนได้ไม่ดี

•             มีปัญหาทางพฤติกรรม, สมาธิสั้น, อยู่นิ่งเฉยไม่ได้

•             ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

•             ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน

•             มีความดันโลหิตสูง

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //m.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/1048-obstructive-sleep-apnea-syndrome-th.html

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 07 ตุลาคม 2559
Last Update : 7 ตุลาคม 2559 14:16:37 น.
Counter : 1103 Pageviews.

1 comment
เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)


AED

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เตรียมรณรงค์การใช้ “เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ” (AED) เพื่อ ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ผนึกหน่วยงานเอกชนเตรียมติดตั้งในพื้นที่สาธารณะพร้อมฝึกอบรมประชาชน ชูหลัก 3Hในการช่วยเหลือ ชี้หากผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือเร็ว และมีเครื่อง AED ที่ครอบคลุมจะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้ถึง 45เปอร์เซ็นต์

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของ “ห่วงโซ่การรอดชีวิต” เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน หัวใจ หยุดเต้นฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยสิ่งที่สำคัญของกระบวนการกู้ชีพ คือ การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED

ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยเพราะข้อจำกัดหลายประการ อาทิ อุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาสูง แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่ สพฉ. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนจากหลายองค์กร บริจาคเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ จำนวนหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนต่อไป สพฉ. จะนำเครื่องดังกล่าวไปติดตั้งให้กับหน่วยงานและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เพื่อรณรงค์ให้มีการติดตั้งเครื่องAED ในที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของผู้มาใช้บริการ

ข้อมูลอ้างอิง: กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 06 ตุลาคม 2559
Last Update : 6 ตุลาคม 2559 14:09:12 น.
Counter : 904 Pageviews.

1 comment
การบริหารร่างกายลดอาการปวดหลัง


Gymnastics

การบริหารร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรง ช่วยลดอัตราการเกิดอาการปวดหลังได้อย่างดี

ท่าที่ 1 นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง แขนแนบข้างลำตัว จังหวะที่ 1 เกร็งกล้ามเนื้อท้องเพื่อกดหลังให้แนบกับพื้น นับ 1-3 ช้าๆ จังหวะที่ 2 คลายกล้ามเนื้อปล่อยพักตามสบาย ทำ 5-6 ครั้งในวันแรกแล้วเพิ่มขึ้นในวันต่อไป
ท่าที่ 2 นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง ผงกศีรษะค้างไว้นับ 1-2 แล้วเอาลง เริ่มทำครั้งแรก 10 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มจนถึง 25 ครั้งในวันต่อไป
ท่าที่ 3 นอนหงายเหยียดขาทั้ง 2 ข้าง ยกขาข้างหนึ่งให้ตั้งฉากกับลำตัวโดยเข่าไม่งอ แล้วค่อยๆ เอาลง จากนั้นยกอีกข้างหนึ่งสลับกัน เมื่อเอาลงแล้วยกพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง อีกครั้งหนึ่งเริ่มทำ 3 ครั้งแล้วค่อยเพิ่มให้ถึง 10 ครั้ง
ท่าที่ 4 นอนคว่ำขาเหยียดตรงแล้วยกขาข้างหนึ่งขึ้นค้างไว้ นับ 1-3 จึงวางลงสลับกับยกขาอีกข้างหนึ่ง ทำเหมือนกันโดยที่เข่าไม่งอขณะยกขา ทำ 5 ครั้งต่อไปค่อยเพิ่มขึ้น
ท่าที่ 5 ยืนหลังตรง งอเข่างอสะโพกลงนั่งให้ชิดพื้นมากที่สุดโดยหลังไม่งอเลย เริ่มทำ 3 ครั้ง เพิ่มขึ้นจน 10 ครั้งวันต่อไป
ท่าที่ 6 นั่งหลังตรง ขาข้างหนึ่งเหยียดยาวเข่าตรง ขาอีกข้างงอขึ้นมาตั้งไว้ เริ่มทำโดยเหยียดแขนทั้งคู่ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดจนรู้สึกตึงที่หลังขาข้างที่เหยียด นับ 1-3 จึงค่อยเอนหลังกลับท่าเดิม ทำ 5-6 ครั้ง ต่อไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ท่าที่ 7 นอนหงายงอเข่าขึ้นตั้งไว้ 2 ข้าง มือประสานไว้ตรงเข่า จากนั้นดึงขาเข้ามาชิดอกพร้อมกับยกศีรษะขึ้นด้วย นับ 1-3 แล้วกลับไปอยู่ท่าเดิม
ท่าที่ 8 นอนหงายงอเข่าขึ้นตั้งไว้ จังหวะที่ 1 เกร็งกล้ามเนื้อท้องไว้หลังติดพื้น จังหวะที่สองยกก้นให้ลอดขึ้นพ้นพื้นในเวลาเดียวกัน นับ 1-3 ค่อยกลับมาอยู่ในท่าเดิม
ท่าที่ 9 ยืนตรงมือทั้ง 2 เหยียดยันกำแพงไว้ เท้าทั้ง 2 ห่างจากกำแพงครึ่งเมตร จังหวะที่ 1 โน้มตัวไปข้าหงน้า ขณะที่ตัวตรงอยู่ ส้นเท้ายังคงแตะอยู่ที่พื้นเช่นเดิม นับ 1-3 จากนั้นค่อยดันตัวกลับมายืนท่าเดิม

การบริหารร่างกายต้องทำทุกวัน ถ้าทำบ้างไม่ทำบ้างจะไม่ได้ประโยชน์ อาจเป็นเวลาเช้า หรือก่อนเข้านอน ขณะออกกำลังกาย ถ้ามีอาการปวดหลังมากขึ้น ให้หยุดออกกำลังกายทันที

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 05 ตุลาคม 2559
Last Update : 5 ตุลาคม 2559 14:33:18 น.
Counter : 868 Pageviews.

1 comment
อาหารเพื่อการดูแลหัวใจ


foodheart

ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

พบว่าการมีประวัติผู้ที่อยู่ในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเป็นปัจจัยเสี่นงหนึ่งต่อการเป็นโรคนี้ ถ้าทราบว่าบิดาหรือมารดา หรือญาติสนิทเป็นโรคนี้ควรหันมาสนใจลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ด้วยการปรึกษาแพทย์ ตรวจระดับโคเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต หยุดสูบบุหรี่ เริ่มการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตัวเอง ถึงแม่อายุไม่มากและไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในครอบครัวสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนควรมีความรู้ คือ วิธีปฏิบัติตนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

ข้อปฏิบัติในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

• บริโภคปลาบ่อยขึ้น ปลาเป็นแหล่งของโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ รวมถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
• บริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และ ถั่วเป็นประจำ 
• บริโภคไขมันที่เหมาะสม โดยจำกัดการบริโภคไขมันทุกชนิด
• หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูง 
• เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
• จำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง นอกจากนี้ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงควรจำกัดการบริโภคน้ำตาล ขนมหวาน และ
• บริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ขาว สลับกับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นบางมื้อในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์นมพร่อกหรือขาดไขมัน เนื้อสัตว์และนมเป็นแหล่งของโปรตีนแต่การบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปจะทำให้ได้รับไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์มากด้วย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
• กินอาหารมื้อเล็ก วันละ 5-6 มื้อ การงดอาหารบางมื้อมักทำให้กินมากขึ้นในมื้อถัดไป การกินอาหารมื้อเล็ก วันละ 5-6 มื้อ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยคุมน้ำหนักตั

ที่มา ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเฟิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ดูเว็บไซต์ที่ www.bangkokpattayahospital.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ปรึกษาแพทย์ได้ ที่นี่




Create Date : 04 ตุลาคม 2559
Last Update : 4 ตุลาคม 2559 15:21:03 น.
Counter : 887 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  

pigget mui
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากล JCI สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลโรคที่มีความซับซ้อนได้อย่างครบวงจรและทันสมัยมากที่สุดในภาคตะวันออก
All Blog