ร่างรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2549

ร่างรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2549

คำปรารภ

ร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 เป็นการกำหนดกลไกการปกครองไปพลางก่อน โดยจะคำนึงถึงหลักนิติธรรมตามประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่าง กว้างขวางในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามที่ คปค.ได้นำความกราบบังคมทูลฯ

มาตรา 1 ว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์

มาตรา 2 ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล

มาตรา 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีสาระว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคที่ประชาชนเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครอง ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตาม พันธกรณีของระหว่างประเทศย่อมได้รับการคุ้มครอง

มาตรา 4 ว่าด้วย การแต่งตั้งคณะองคมนตรี

มาตรา 5 ว่าด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกิน 250 คน คุณสมบัติมีอายุไม่ต่ำ 35 ปีทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาแล้วแต่กรณี การสรรหาให้คำนึงถึงบุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ เอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการจากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม

มาตรา 6 ว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

มาตรา 7 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองแต่งตั้งสมาชิกสภา ประธาน และรองประธาน

มาตรา 8 ว่าด้วยการถอดถอนสมาชิกสภาที่มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม โดยให้สมาชิกไม่ต่ำกว่า 20 คน เข้าชื่อร้องต่อประธานสภา และที่ประชุมมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้พ้นจากตำแหน่ง

มาตรา 9 ว่าด้วยวิธีการประชุมสภา

มาตรา 10 วิธีการตราพระราชบัญญัติ โดยสมาชิกเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 25 คนหรือคณะรัฐมนตรีเสนอ

มาตรา 11 การตั้งกระทู้ถามในสภานิติบัญญัติ และการขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี แต่ไม่มีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจ

มาตรา 12 ว่าด้วยเรื่องที่คณะรัฐมนตรีรับฟังความเห็นจากสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยขอให้เปิดประชุมสภา

มาตรา 13 ว่าด้วยเอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกในการอภิปรายข้อเท็จจริงในสภา

มาตรา 14 ว่าด้วยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง โดยประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้ กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน

มาตรา 15 ว่าด้วยการตราพระราชกำหนด

มาตรา 16 ว่าด้วยการตราพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 17 การรับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา 18 ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิพากษาคดี

มาตรา 19 สมัชชาแห่งชาติมีไม่เกิน 2,000 คน มีประธานคณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

มาตรา 20 ประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ

มาตรา 21 สมัชชาทำหน้าที่เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องทำให้ เสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก ถ้าครบกำหนดเวลาไม่อาจคัดเลือกได้ให้สมัชชาแห่งชาติสิ้นสุดลง วิธีการคัดเลือก ให้สมาชิกสมัชชาเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ และผู้ได้คะแนนสูงสุด 200 คน

มาตรา 22 นำบัญชีรายชื่อ 200 คน ให้คณะมนตรีเลือกเหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

มาตรา 23 การพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งเพิ่มเติมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 24 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้งประธานสภาร่าง และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 25 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะมนตรีความมั่นคงแต่งตั้ง 10 คน

มาตรา 26 เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้ แจงว่ามีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อย่างไร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

มาตรา 27 การแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา 28 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญนำความเห็นของประชาชนและคำแปรญัตติมาพิจารณา

มาตรา 29 ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่กับประชาชนและจัดให้มีการออกเสียง ลงประชามติไม่เกิน 30 วัน

มาตรา 30 ให้กรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 45 วัน และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ

ห้ามมิให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคง สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องลงสมัครเป็น ส.ส.และ ส.ว. ภายในเวลา 2 ปี

มาตรา 31-32 ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ผ่านความเห็นชอบในการลงประชามติ ให้คณะมนตรีความมั่นคงประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยให้นำรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และประกาศใช้ได้เลย

มาตรา 33 ว่าด้วยค่าตอบแทนของประธาน รองประธานสภานิติบัญญัติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรีความมั่นคง และผู้ดำรงตำแหน่งในตุลาการรัฐธรรมนูญให้ออกเป็นกฤษฎีกา

มาตรา 34 ว่าด้วยองค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีฯอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ ปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา 35 ว่าด้วยอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน และมีผู้พิพากษาหัวหน้าคณะที่ศาลฎีกาเลือก 5 คน และตุลาการศาลปกครองสูงสุดเลือก 2 คน โดยมีอำนาจพิจารณาคดีเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเดิม

มาตรา 36 ให้ประกาศคำสั่งของ คปค. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

มาตรา 37 ให้การกระทำทั้งหลายของ คปค. ในการยึดและควบคุมทางด้านการปกครองแผ่นดิน ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 38 ว่าด้วยการใช้ประเพณีการปกครองแผ่นดินเมื่อไม่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบังคับ

มาตรา 39 ในระหว่างนายกรัฐมนตรียังไม่ได้รับหน้าที่ ให้ประธานคณะมนตรีฯ ทำหน้าที่ไปพลางก่อน

จาก กรุงเทพธุรกิจ
Copyright © 2006 All rights reserved. NKT NEWS CO.,LTD.
Contact us : ktwebeditor@nationgroup.com Thailand Web Stat




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2549   
Last Update : 1 ตุลาคม 2549 1:18:52 น.   
Counter : 506 Pageviews.  


Blaannagnwaeilig
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Blaannagnwaeilig's blog to your web]