A balanced state of mind is YOGA 
 
ในเมื่อโยคะอาสนะไม่ใช่การออกกำลังกาย แล้วอาสนะช่วยให้ผู้ฝึกมีสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร?


จากส่วนหนึ่งของเอกสารเผยแพร่ของสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน



เมื่อดูเพียงผิวเผิน คนทั่วไปจะเข้าใจว่า โยคะ อาสนะ คือการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง คนหลายคนถึงกับทำอาสนะด้วยนิยามของแอโรบิคเลยด้วยซ้ำ คือทำจนหัวใจเต้นแรงขึ้นกว่า 120 ครั้งต่อนาที เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 30 นาที เหงื่อออกโทรมกาย แล้วเกิดความรู้สึกว่า ตนเองได้ “ทำ” โยคะแล้ว
ครั้นเมื่อได้ศึกษาตำราดั้งเดิมของโยคะ ซึ่งระบุไว้เป็นที่ชัดเจนว่า อาสนะนั้น ต้องปฏิบัติด้วยความ นิ่ง สบาย ใช้แรงแต่น้อย ก็เกิดความสงสัยว่า งั้นเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการฝึกอาสนะ? จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สนใจโยคะจริงจัง ต้องมีความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง ถึงธรรมชาติของอาสนะ เข้าใจผลของอาสนะตามที่เป็นจริง ซึ่งจะเอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตน

กระดูกสันหลังที่ยืดหยุ่น 



เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การฝึกชุดท่าอาสนะของโยคะ คือการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังไปในทิศทางต่างๆ เท่าที่จะเคลื่อนได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ทิศทางคือ 1) การแอ่นกระดูกไปด้านหลัง 2) การก้มกระดูกสันหลังไปด้านหน้า 3) การบิดกระดูกสันหลัง และ 4) การเอียงกระดูกสันหลัง เมื่อมนุษย์เคลื่อนไหวกระดูกสันหลังไปในทิศทางที่หลากหลายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ผลก็คือ การมีกระดูกสันหลังที่ยืดหยุ่น ซึ่งหมายถึงการมีกระดูกสันหลังที่ทำงานได้เป็นปกติ
สิ่งสำคัญอีกประการที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลังคือ ระบบประสาท เพราะกระดูกสันหลังถือเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งในการดูแลให้ระบบประสาททำงานได้เป็นปกติ ผู้ที่รักษากระดูกสันหลังของตนเองให้เป็นปกติ ก็คือผู้ที่กำลังดูแลระบบประสาทของตนให้ทำงานได้เป็นปกตินั่นเอง


ระบบไหลเวียนของเลือดที่ทำงานได้เป็นปกติ โดยใช้พลังงานน้อยมาก

ตลอดเวลาของการฝึกท่าอาสนะ ผู้ฝึกจะรับรู้ถึงการไหลเวียนของเลือดได้อย่างชัดเจน เช่น บางขณะ ก็รู้สึกเลือดไปออคั่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง รับรู้ถึงสัญญาณชีพจรที่เต้นจนรู้สึกได้ที่จุดนั้นๆ บางท่าทำแล้วรู้สึกอุ่น หรือรู้สึกชา ทันที อันล้วนเป็นกลไกของระบบไหลเวียนของเลือดทั้งสิ้น นอกจากนั้น เราทำท่าอาสนะสลับการพักโดยตลอด และทุกครั้งที่พัก เราก็จะรับรู้ถึงผลการไหลเวียนของเลือด ที่เกิดขึ้นจากท่าที่เพิ่งทำผ่านไป อย่างชัดเจน จะเห็นได้เลยว่าอาสนะก็เป็นการกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเป็นส่วนๆ ตามแต่ละท่า ผลที่เกิดขึ้นกับระบบไหลเวียนของเลือด จากอาสนะ จึงมิได้ด้อยไปกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (ที่มุ่งเน้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยวทั่วร่างกาย) เลย แต่ที่ต่างกันมากก็คือ การออกกำลังกาย เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ขณะที่อาสนะนั้น เน้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเฉพาะอวัยวะสำคัญๆภายในช่องท้อง ช่องทรวงอก และศีรษะเท่านั้น ไม่เน้นที่กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา หรือเราสามารถกล่าวได้ว่า ท่าอาสนะให้ประโยชน์ต่อระบบไหลเวียนของเลือดได้ไม่แพ้การออกกำลังกาย แต่ใช้แรงน้อยกว่ากันมาก โดยไม่ต้องให้หัวใจรับภาระ ขณะเดียวกัน เพราะอาสนะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อแขน ขา มากมาย จึงไม่เกิดกรดแลคติค ที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าหลังฝึกธรรมชาติของอาสนะข้อนี้ ทำให้โยคะสามารถฝึกได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ต่างไปจากการออกกำลังกาย ที่ผู้ปฏิบัติต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพอสมควรเป็นพื้นฐานเสียก่อนที่สำคัญ เราจะพบว่า ลักษณะของการทำอาสนะคือ การเก็บ การสงวนพลังงาน ไม่ใช่การโหมใช้พลังงานแบบการออกกำลังกาย ผู้ฝึกอาสนะเสร็จ จึงมีความรู้สึกสดชื่น พร้อมที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน ต่างจากผู้ออกกำลังกายเสร็จ ที่เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และต้องการที่จะพัก

การกดนวดอวัยวะสำคัญๆ ภายในช่องลำตัว

ในบรรดาศาสตร์เพื่อการดูแลร่างกายมนุษย์อย่างพึ่งตนเอง ดูก็จะมีเพียงอาสนะเท่านั้น ที่ทำให้เกิดการกดนวด อวัยวะต่างๆภายในช่องท้อง ช่องทรวงอก และศีรษะ การกดนวดอวัยวะภายใน มีแนวโน้มที่จะทำให้กลไกการทำงานของอวัยวะของระบบต่างๆ ทำงานได้ดี ทำงานได้เป็นปกติ เช่น การกดนวดท้องน้อยของท่าตั๊กแตน ที่เอื้อต่อการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ที่ส่งผลให้กลไกระบบขับถ่ายของผู้ฝึกดีขึ้นเป็นที่น่าสังเกตว่า ท่าโยคะมุทรา ซึ่งมีความหมายว่า สัญลักษณ์แห่งโยคะ ทำให้เกิดการกดนวดตามจุดต่างๆ อันเป็นที่ตั้งของต่อมไร้ท่อได้อย่างครบถ้วน กล่าวคือ ลักษณะเด่นมากอันหนึ่งในการทำอาสนะ คือการดูแลกลไกการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ให้เป็นปกตินั่นเอง

จากลักษณะสำคัญ 3 ประการที่ยกมาข้างต้น คือ กระดูกสันหลัง การไหลเวียนของเลือด และ การกดนวดอวัยวะภายใน เมื่อพิจารณาลึกลงไป จะพบว่า ระบบที่ได้รับการดูแลจากท่าอาสนะคือ ระบบประสาท ระบบไหลเวียนของเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน (ซึ่งทำงานควบคู่ไปกับระบบเลือด) และระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ คือองค์ประกอบสำคัญของกลไก โฮมีโอสตาซิส หรือการจัดปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง ยิ่งเมื่อพิจารณาหลักการสำคัญของโยคะคือความสมดุล จึงน่าจะเป็นการเหมาะสมที่จะกล่าวว่า อาสนะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพกายของผู้ฝึก คือ การสร้าง และจัดปรับสมดุล ของการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นการเหมาะสมกว่าที่จะกล่าวว่า กุญแจสำคัญของอาสนะคือ โฮมีโอสตาซิส ข้อสรุปนี้ ดูจะตรงกับลักษณะธรรมชาติของอาสนะมากกว่า ที่จะใช้กรอบของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมาอธิบายอาสนะ


กล้ามเนื้อก็ได้ประโยชน์ แต่เป็นกล้ามเนื้อลึกชั้นใน

รูปธรรมที่สร้างความสับสน ทำให้คนมองอาสนะเป็นการออกกำลังกายก็คือกล้ามเนื้อ เราควรมีทัศนคติต่อเรื่องนี้อย่างไร
โยคะมองความสำคัญของร่างกายที่อวัยวะสำคัญๆ ศัพท์เฉพาะที่ใช้คือ vital organs ซึ่งหมายถึง อวัยวะที่สำคัญถึงชีวิต อวัยวะเหล่านี้ ล้วนอยู่ในช่องท้อง ช่องทรวงอก ศีรษะ ทั้งสิ้น ขณะที่โยคะเรียกแขน ขาว่า แขนง (limps) อันหมายถึงสิ่งที่ ไม่มีก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ หากพิจารณาให้ลึกซึ้ง ท่าอาสนะล้วนมุ่งเน้นที่กล้ามเนื้อที่ประกอบอยู่กับ อวัยวะที่สำคัญถึงชีวิต ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อซี่โครง กระบังลม กล้ามเนื้อลึกชั้นในที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลัง ฯลฯ

ที่สำคัญที่สุด ธรรมชาติของท่าอาสนะ คือนิ่ง นั่นหมายถึงว่า อาสนะไม่ใช่การออกกำลังกายแบบ ไอโซโทนิค ขณะเดียวกัน อาสนะก็เตือนให้เราคอยระลึกถึงการใช้แรงแต่น้อย ซึ่งชี้ว่า อาสนะ ก็ไม่ใช่การออกกำลังกายแบบ ไอโซเมตริกด้วย สำหรับเรื่องกล้ามเนื้อแล้ว ดูเหมือนอาสนะอยากให้เราพัฒนา มัสเซิลโทน มากกว่า คือ ทำอย่างไร ให้เราอยู่ในอิริยาบถหนึ่งๆ ได้นาน โดยใช้แรงน้อยที่สุด ยิ่งเมื่อพิจารณาจากตำราดั้งเดิม ที่ระบุว่า เป้าหมายแห่งอาสนะคืออาสนะชัย คือ “การนั่งนิ่ง หลังตรง เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันโดยไม่เมื่อย” (พูดภาษาไทยก็คือ การนั่งสมาธิให้ได้ 3 ชั่วโมงนั่นเอง) ก็จะยิ่งเห็นความสำคัญของ มัสเซิลโทนในอาสนะมากกว่าตัวอื่นๆ จึงเป็นการเหมาะสมกว่า หากจะสรุปว่า กุญแจสำคัญของกล้ามเนื้อในอาสนะคือ การพัฒนามัสเซิลโทน

ระบบประสาท - กล้ามเนื้อสัมพันธ์
ประโยชน์สำคัญของอาสนะอีกประการหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่ละเลย คือ กลไกประสาท – กล้ามเนื้อสัมพันธ์ หากพิจารณาให้ดี ทุกๆ การกระทำของมนุษย์ เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างสมองที่เป็นศูนย์สั่งการ และ กล้ามเนื้อที่เป็นผู้กระทำ เสมอ เมื่อเราเติบโตขึ้น มีความสามารถกระทำสิ่งต่างๆได้อย่างชำนาญ มีความเคยชินจนกระทั่งละเลยความจริงข้อนี้ไป ปัญหาสุขภาพหลายประการมาจากการละเลยข้อเท็จจริงง่ายๆข้อนี้ เช่น คนตัวสูงที่ยืนก้มคอจนเป็นนิสัย และมีปัญหากระดูกต้นคอในภายหลัง หรือเช่น คนที่ก้มหลังเพื่อยกของหนัก จนทำให้หลังยอก สาระสำคัญในการทำอาสนะคือการเคลื่อนไหวที่ช้า เพื่อให้ผู้ฝึก สามารถสำรวจรู้กลไก ความเป็นไป ระหว่างการทำงานของกล้ามเนื้อ กับ การทำงานของประสาท ผู้ที่ฝึกโยคะจนชำนาญ ก็จะพัฒนาความรู้ตัวต่อกลไกนี้ได้มากขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการมีสุขภาพที่เป็นปกติของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน ไม่ให้โครงสร้างร่างกายของตนเองผิดปกติ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองบาดเจ็บจากอิริยาบถในชีวิตประจำวัน

เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดของโยคะ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มุ่งพัฒนามนุษย์ในทุกๆ มิติอย่างเป็นองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับจิตเป็นหลัก การตีความกุญแจสำคัญของอาสนะ ว่าหมายถึง โฮมีโอสตาซิส ว่าหมายถึง มัสเซิลโทน ดูจะสอดคล้อง ตรงตามตำราดั้งเดิม ตรงตามเป้าประสงค์ของโยคี ผู้คิดค้นและพัฒนาศาสตร์นี้ โดยหวังจะพามนุษย์ไปสู่ ความสมดุลของกาย ความนิ่งของลมหายใจ ความสงบของจิต เพื่ออิสระหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง





Create Date : 02 เมษายน 2554
Last Update : 2 เมษายน 2554 10:20:32 น. 0 comments
Counter : 1018 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

ดอยวาวี
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ชื่อจริง บุษรา รัตนวาวี ชื่อเล่น ลูกหยี ค่ะ เป็นคนเหนือโดยกำเนิด ศึกษาและทำงานที่เชียงใหม่ จนอายุเกือบ 30 ปี จึงได้ตัดสินใจไปศึกษาปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งตอนที่เรียนที่ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสรู้จักโยคะเป็นครั้งแรกและได้ฝึกมาตลอด ถึงแม้ว่าหลังจากสำเร็จการศึกษาและได้งานประจำที่กรุงเทพ แต่ก็ไม่เคยละทิ้งโยคะเลย ได้ศึกษโยคะหลาย ๆ แบบ ได้เข้าฝึกกับผู้ฝึกทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ จนค้นพบว่าโยคะที่เหมาะกับตนเองและคิดว่าจะฝึกไปตลอดชีวิตเลยคือ หะฐะโยคะ ซึ่งถือเป็นโยคะดั้งเดิมจากอินเดีย จึงได้ฝึกเฉพาะหะฐะโยคะตั้งแต่นั้นมา และมีโอกาสที่เข้าฝึกเป็นครูโยคะ ที่สุนีย์โยคะ กรุงเทพ เป็นเวลา 100 ชั่วโมง และได้สอนในโอกาสต่าง ๆ ในวันที่ว่างเว้นจากงานประจำ จนกระทั่งสิ้นปี 2009 จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เดินทางไปศึกษาโยคะและอายุรเวทที่อินเดียอย่างจริงจัง เป็นเวลา 3 เดือน (หลักสูตรครูโยคะ 1000 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นเวลา 3 เดือนที่ได้ใช้โยคะเป็นวิถีแห่งชีวิต ได้มีโอกาสสอนคนทั้งคนแก่ คนท้อง เด็ก ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และรู้สึกถึงความสุขที่แท้จริง จึงได้ตัดสินใจที่จะแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ที่ตนเองได้ประสบมาจากการรู้จักโยคะ และได้ใช้โยคะเป็นวิถึชีวิต กับชาวเชียงใหม่ค่ะ

มารู้จัก บ้านหยีโยคะ ด้วยนะคะ
**ปัจจุบันนี้ ปี 2561 บ้านหยีโยคะ ได้เปิดมาครบ 7 ปีแล้วค่ะ
.....................................................................

บ้านหยีโยคะ ถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่แวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ในเดือนธันวาคม 2553 ด้วยความรักบวกกับความตั้งใจของครูหยีเพื่อโยคะโดยเฉพาะ และเน้นนโยบายของครูหยีเองว่า เพื่อช่วยเหลือคนอื่น โดยใช้ประสบการณ์ ความรู้ของตน พร้อมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชุก ที่สำคัญสุดรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าสมาชิกจะใช้เพื่อการกุศล ตลอดเวลา 1 ปีที่ครูหยีได้เปิดสอนมานั้น ได้รับการต้อนรับจากชาวเชียงใหม่หรือแม้แต่คนต่างจังหวัดเป็นอย่างดีมาก ถึงแม้ครูหยีจะเปิดสอนเพียง 3 วันต่ออาทิตย์ก็ตาม รายได้ได้ถูกนำไปสร้างบุญสร้างกุศลอย่างมากมาย ตั้งแต่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ จนถึงร่วมทำบุญซื้อที่ดินถวายวัด ช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษา ค่าอาหารต่อเด็กยากจน ตลอดจนเป็นปัจจัยสำหรับอาหารสำหรับผู้ปฏิบัตธรรมตามสถานที่ปฏิบัติธรรมต่าง ๆ แต่สิ่งที่ครูหยีประทับใจที่สุดคือสมาชิกหลายท่านมีสุขภาพทั้งกายและใจดีขึ้นมาก มีสติ หันมาศึกษาธรรมะ ดูแลสุขภาพของตนจากภายใน รักตนเองมีความมั่นใจในตนเอง พร้อมสิ่งดี ๆ อีกมากมาย ถึงแม้ว่าสิ่งที่ครูหยีทำอยู่อาจจะไม่ใช่สิ่งยิ่งใหญ่ แต่ตนเองก็ภูมิใจที่ได้ทำและจะทำไปเรื่อย ๆ เท่าที่เหตุปัจจัยจะนำพาไป ครูหยีขอถือโอกาสนี้กราบขอบคุณสมาชิกทุก ๆ ท่าน ที่ได้ให้การสนับสนุนบ้านหยีโยคะ และให้กำลังใจครูหยีในการทำความดีตลอดมา (ไป) ค่ะ
------------------------------------------------------------
update มกราคม 2556

ผ่านไปอีกปีหนึ่งแล้วค่ะ บ้านหยีโยคะก็เปิดมาแล้วครบ 2 ปี และกำลังก้าวย่างสู่ปีที่ 3 ในปีที่สองที่ผานมาบ้านหยีโยคะได้มีกิจกรรมทำร่วมกับสมาชิกมากขึ้น ไม่ว่าจะไปปฏิบัติธรรมร่วมกัน ร่วมออกโรงทาน หรือไปแสวงบุญไกลถึงอินเดียร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมดี ๆ หลายอย่างก็ยังจะทำต่อเนื่องกันไปต่อไปค่ะ และการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างก็คือบ้านหยีโยคะได้เน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนขึ้นคือจะเน้นรับสมาชิกที่เป็นวัยทำงาน ตั้งแต่ 30 ปีขั้นไป และในช่วงเช้าจะเน้นวัยผู้ใหญ่ที่ 40 ปีขึ้นไป เพราะครูหยีเห็นว่าผู้หญิงในแต่ละวัยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจที่ต่างกัน ควรจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง พร้อมกันนี้ ครูหยีได้เพิ่มและเน้นเรื่องของโภชนาการมากขึ้น แบ่งปันความรู้ในด้านของอายุรเวทมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนเลยค่ะ คือให้สมาชิกของเรานั้นได้มีความสมบูรณ์ทั้งกายและใจ ฝึกเป็นหมอของตนเองค่ะ สังเกตุการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ปรับธาตุด้วยอาหาร ด้วยอารมณ์ ซึ่งได้รับความสนใจนำไปปฏิบัติจากสมาชิก เช่น การรับประทานอาหารเช้าที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ลดกินแป้ง ลดน้ำตาล ลดชา ลดกาแฟ ล้างพิษ ดำเนินชีวิตประจำวันอย่างผู้ฉลาด อย่างมีสติเป็นต้น และสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็ได้นำความรู้ด้านอื่น ๆ มาแบ่งปันกันในกลุ่มสมาชิกด้วย ซึ่งครูหยีจะเน้นให้สมาชิกให้ดูแลร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กันอย่างเป็นองค์รวม ให้รักตนเองและดูแลตนเองให้ดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้มัพลัง มีแรงที่จะไปรักและดูแลตนอื่นได้ค่ะ

แน่นอนว่าการที่บ้านหยีโยคะได้อยู่จนครบ 2 ปี และยังก้าวต่อไปพร้อมทั้งกิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นนั้น ได้รับการสนับสนุนและให้กำลังใจจากสมาชิกทุก ๆ ท่านและร่วมถึงครอบครัวของสมาชิกด้วย ครูหยีขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ ขอความดีทั้งหลายที่ท่านทั้งหลายได้ทำและสะสมมาจงคุ้มครองให้ท่านได้พบเจอแต่สิ่งดีงามและพบทางพ้นทุกข์ด้วยเทอญ

สำหรับตัวครูหยีเองก็ยังดำเนินชีวิตตามอุดมการณ์เดิมค่ะ ขอใช้ชีวิตอย่างพอเพียง แบ่งปันให้มากที่สุด มีความสุขกับทุกลมหายใจ ปฏิบัติธรรมเพื่อศึกษาจิตตนให้ละเลิกกิเลสให้มากที่สุดและพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้เห็นทุกข์และมีโอากาสได้ออกจากทุกข์ในเร็ววันค่ะ
--------------------------------------------------------------
update มกราคม 2557

ผ่านไปอีกปีแล้วค่ะ บ้านหยีโยคะได้อยู่ครบ 3 ปีแล้ว และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ตลอด 2556 ที่ผ่านมาบ้านหยีโยคะได้มีโอกาสต้อนรับพี่ ๆ น้อง ๆ อา ๆ ป้า ๆ กว่าร้อยท่าน หลาย ๆ ท่านอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่เปิดครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ได้เห็นถึงสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น ๆ ของสมาชิก เป็นความรู้สึกปลาบปลื้มปิติจริง ๆ ค่ะ ขอขอบคุณที่รักตัวท่านเอง ขอขอบคุณที่ท่านได้ให้โอกาสกับบ้านหยีโยคะได้สร้างสิ่งดี ๆ ร่วมกันกับท่าน การพบแล้วจากเป็นธรรมดาของโลก แต่การเจอของเราในครั้งนี้ ไม่ธรรมดาค่ะ เพราะเราได้สร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันและต่างก็เป็นเนื้อนาบุญของกันและกัน ของบุญรักษาท่านด้วยเทอญ

สำหรับตัวครูหยีเอง เป็นปีที่เดินทางบ่อยถึงบ่อยมาก อย่างที่ครูหยีชอบพูดอยู่เสมอว่าการเดินทางเป็นการเรียนรู้ค่ะ ระหว่างทางเราอาจจะเจอคนมากมาย ได้พบและเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ และที่สำคัญที่สุดคือเรียนรู้ตนเองค่ะ ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดมาพวกเราก็เรียน เรียนกันมาตลอด เราติดตามข่าว รู้เรื่องชาวบ้าน เพื่อนบ้าน แต่คนที่เรารู้จักน้อยที่สุดกลับเป็นตนเราเอง ตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตอย่างสงบ โดยเฉพาะช่วงปีที่ผ่านมาได้เรียนรู้ตนเองมากขึ้นอีกนิดหนึ่งแล้วค่ะ มีชิวิตที่เป็นอิสระ เบา สบายมากขึ้น ทรัพสินภายนอกอาจจะไม่เพิ่ม แต่อริยทรัพย์ภายในเริ่มมีบ้างแล้ว ก็เป็นกำลังใจที่จะเดินเส้นทางนี้ต่อไปอีก ครูหยีซาบซึ้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งดี ๆ ในชีวิตที่เกิดขึ้นกับครูหยีนั้นต้องขอบคุณครอบครัวที่ประกอบด้วยน้องชายทั้งสอง น้องสาว น้องสะใภ้ทั้งสองและหลาน ๆ ที่เป็นกำลังใจและช่วยเหลืออยู่เสมอ สมาชิกบ้านหยีโยคะทุก ๆ ท่าน และกัลยาณมิตรทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้กำลังใจอยู่เสมอมา ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

----------------------------------------------------------------
update เมษายน 2558

ผ่านไปแล้วอีก 1 ปี บ้านหยีโยคะอยู่อย่างมั่นคงครบ 4 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้วค่ะ ตลอดปีที่ผ่านมาบ้านหยีโยคะได้ต้อนรับสมาชิกมากมาย บางท่านอยู่กันหลายเดือน บางท่านก็ฝึกด้วยกันเพียงเดือนเดียว ซึ่งดิฉันเชื่อเสมอค่ะ พวกเราได้มาเจอกันก็ด้วยบุญ -กุศลที่ได้ร่วมสร้างกันมา ทุกคนที่เข้าสู่บ้านหยีโยคะจึงเสมอเหมือนญาติพี่น้องที่ได้กลับมาพบกันอีกครั้ง และพวกเราก็หนี้สัจธรรมไม่พ้นค่ะ ทุกอย่างคือความไม่แน่นอน ทุกอย่างคือการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีพบย่อมมีจากเป็นธรรมดาของโลกจริง ๆ นะคะ อย่างไรก็ตาม ก็ขอขอบพระคุณท่านสมาชิกที่ได้แวะเวียนเข้าสู่ครอบครัวบ้านหยีโยคะ ท่านมาเราดีใจ ท่านจากเราคิดถึงนะคะ

ตลอดปีที่ผ่านมา พวกเราก็ยังมุ่งในการสร้างบุญสร้างกุศลมิได้ขาด โดยเฉพาะช่วงหลัง ๆ มีภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างมากมาย ปัจจัยส่วนหนึ่งก็ได้แบ่งปันไปยังผู้ประสบภัยเหล่านั้นด้วยค่ะ ยิ่งอยู่นาน คงทำให้ประจักษ์ว่า ชีวิตนี้เหลือน้อยแล้ว ก็จำต้องเร่งสร้างบุญสร้างกุศล ฝึกจิตให้สูงขึ้น ลด ละ เลิก ในความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้ได้มากขึ้น

ขอบุญรักษา
----------------------------------------------------------------
ประวัติโดยย่อ ของครูหยี

ปัจจุบัน
เจ้าของและครูสอนโยคะที่บ้านหยีโยคะเชียงใหม่
ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สงบ และมีความสุขกับทุกลมหายใจ
* ศึกษาและปฏิบัติธรรม
* ทำความดี
* นักเดินทาง

**สนใจและศึกษาเกี่ยวกับ

* จิต
* ธรรมชาติบำบัด
* อาหารบำบัดโรด
* สมาธิกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
* เข้าอบรม และศึกษาโยคะอยู่สม่ำเสมอตั้งในประเทศและ
ต่างประทศ


ประวัติด้านโยคะ

- หลักสูตร Yoga Teacher training course จำนวน 1 ,000 ชั่วโมง ณ Yoga Institute, Mumbai อินเดีย (ปี2010)
- หลักสูตร ครูผู้นำโยคะ โดย โรงเรียนสุนีย์ โยคะ กรุงเทพ จำนวน 100 ชั่วโมง
- ฝึกและสอนโยคะมามากกว่า 10 ปี ทั้งในประเทศอินเดีย และไทย

** สำเร็จหลักสูตรครูสมาธิรุ่นที่ 29 กับสถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล ปี 2555

ประวัติการศึกษา
- ปริญญาโท ด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว Bournemouth University ณ ประเทศ อังกฤษ (ปี 2000)
- ปริญญาตรี ด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย พายัพ เชียงใหม่


ประวัติการทำงาน

- ผู้จัดการแผนกการศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ บริษัท Planit Consultants Bangkok กรุงเทพฯ (ปี2001-2009)
- ผู้จัดการฝ่ายการตลาดโรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่
- หัวหน้าแผนกลูกค้าสัมพันธ์โรงพยาบาลราชเวช อุมลราชธานี
- ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย โรงแรมสุริวงค์เชียงใหม่
- ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า เชียงใหม่
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

[Add ดอยวาวี's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com