Aui Su Ke' The Weblog you need

Web Accessibility W3C

ความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บเพจ ตามข้อแนะนำของ W3C
Web Content Accessibility Guidelines 2.0, W3C Working Draft 11 December 2007
แนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บ 2.0 นี้จัดทำขึ้นโดย W3C เพื่อให้คำแนะนำในการพัฒนาเว็บเพจและเว็บไซต์ให้สามารถสนับสนุนผู้ใช้งานเว็บ ทั้งที่มีทักษะ และไม่มีทักษะในการใช้งานเว็บไซต์ รวมทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ใช้งานที่มีอุปสรรคการใช้งานทางด้านกายภาพ อาทิ การเคลื่อนไหว สายตา การได้ยิน และความสามารถในการเรียนรู้ และอุปสรรคในด้านอื่นๆ ให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ในเว็บไซต์และเว็บเพจได้อย่างกว้างขวาง ทัดเทียม ครบถ้วนเสมอกัน
ทั้งนี้มาตรฐานในการดำเนินการตามเอกสารนี้ ไม่ถือเป็นข้อกำหนด หรือมาตรฐานทางเทคโนโลยี แต่เป็นเพียงเงื่อนไขในการดำเนินการจัดการ และทดสอบเว็บไซต์ ให้มีความสามารถในการเข้าถึง โดยกว้างขวางจากผู้ใช้งานทุกกลุ่ม

2.3.1 แนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บ 2.0 (Web Content Accessibility Guidelines 2.0: WCAG 2.0)
แนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บ 2.0 อธิบายให้ทราบถึงวิธีการสร้างเนื้อหาของเว็บเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ขาดทักษะ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ อาทิ การมองเห็น การได้ยิน อุปสรรคทางกายภาพ ทางเสียง การรับรู้ ภาษา การเรียนรู้ รวมทั้งปัญหาทางด้านสมองอื่นๆ นอกจากนี้ยังแนะนำการสร้างเนื้อหาที่สามารถทำให้เกิดการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งระดับความต้องการและ การผสมผสานการใช้งานต่างๆ เข้าด้วยกัน และแนะนำถึงวิธีการสร้างเนื้อหาของเว็บที่สามารถเข้าถึงได้ โดยผู้ใช้งานแต่ละรายที่ต้องการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ในรูปแบบทางเลือกอื่น ให้สามารถกำหนดได้ด้วยตนเองให้เพิ่มมากขึ้น
อนึ่งแม้จะอธิบายถึงปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ยังไม่สามารถครอบคลุมความต้องการในการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของเว็บเพจโดยผู้ใช้ได้ทั้งหมด
WCAG 2.0 ถูกพัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการของ W3C อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างมาตรฐานการสร้างเนื้อหาของเว็บที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานจาก ผู้ใช้งานรายบุคคล จากองค์กร หรือจากภาครัฐก็ตาม นอกจากนี้ WCAG 2.0 ถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีเว็บที่หลากหลายในปัจจุบัน และในอนาคต อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ทดสอบด้วยการผสมผสานการทดสอบแบบอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับการใช้งานโดยมนุษย์

ความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไม่ใช่เพียงการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้าถึงเนื้อหาด้วยเว็บเบราเซอร์ และเครื่องมือในการใช้งานเว็บไซต์แบบอื่นๆ อีกด้วย เครื่องมือต่างๆ เหล่านั้นนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บ โดยสามารถศึกษาได้จาก องค์ประกอบที่จำเป็นต่างๆ ในการพัฒนาเว็บเพื่อการทำงานและการปฏิสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

2.3.2 องค์ประกอบที่จำเป็นของการเข้าถึงเว็บ (Essential Components of Web Accessibility)
องค์ประกอบที่จำเป็นเพื่อทำให้การเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ และเว็บเพจเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักคือ
- แนวทางการใช้เครื่องมือตัวแทน (อาทิ เว็บเบราเซอร์) ในการใช้งานเว็บของผู้ใช้งาน (User Agent Accessibility Guidelines (UAAG))
- แนวทางการใช้เครื่องมือในการพัฒนาเว็บ (Authoring Tool Accessibility Guidelines (ATAG))

2.3.3 แนวทางการพัฒนาเว็บตาม WCAG 2.0 (WCAG 2.0 Guidelines)
2.3.3.1 ความสามารถที่ทำให้เป็นที่สังเกตได้ (Perceivable)
1) เนื้อหาใดๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบตัวอักษร(non-text content) ต้องถูกกำกับด้วยตัวอักษรเสมอเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งาน และยังสามารถปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบอื่นตามต้องการ อาทิเช่น เพื่อการพิมพ์ ปรับเปลี่ยนเป็นอักษรเบรล สัญลักษณ์ รวมทั้ง ภาษาอย่างง่ายอื่นๆ
2) สื่อที่ต้องถูกเข้าจังหวะสัญญาณข้อมูล ต้องสามารถรองรับการเข้าจังหวะสัญญาณได้หลากหลายรูปแบบ
3) เนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบ (อาทิเช่น รูปแบบอย่างง่าย) จะต้องไม่สูญเสียข้อมูลสารสนเทศ และโครงสร้างของเนื้อหาเดิมไป เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการนำเสนอ
4) ผู้ใช้ต้องสามารถมองเห็น และได้ยินเนื้อหาต่างๆ ได้โดยง่าย รวมทั้งสามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นเนื้อหา ส่วนใดเป็นฉากหลังได้อย่างชัดเจน
2.3.3.2 ความสารมารถในการทำงาน (Operable)
1) ควรทำให้ความสามารถในการทำงานใดๆ ของเว็บเพจสามารถถูกสั่งการผ่านแป้นพิมพ์ได้
2) ควรทำให้ผู้ใช้งานที่มีเวลาจำกัด สามารถอ่าน และใช้งานเนื้อหาใดๆ ของเว็บเพจได้ในเวลาจำกัด หรือในเวลาอันสั้น
3) ไม่ออกแบบเนื้อหาของเว็บไซต์ และเว็บเพจ ที่ก่อให้เกิดอันตราย ผิดกฎหมาย รวมทั้งผิดต่อศีลธรรมอันดี
4) เว็บเพจควรมีการสนับสนุนความช่วยเหลือให้แก่ผู้ใช้ที่ขาดทักษะ ให้สามารถเข้าถึง ค้นหา ข้อมูล เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้โดยสะดวก โดยสามารถบอกให้ผู้ใช้ทราบว่า สิ่งที่ต้องการค้นหานั้น อยู่ที่ใดในเว็บไซต์
2.3.3.3 ความสามารถในการเข้าใจได้ (Understandable)
1) สร้างเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรให่สามารถอ่าน และเข้าใจได้
2) ทำให้เว็บเพจ แสดงเนื้อหา และการดำเนินการในแนวทางที่ผู้ใช้ สามารถคาดการณ์ได้ หรือสามารถคาดการณ์ได้วาเมื่อเสร็จขั้นตอนหนึ่งแล้ว จะต้องดำเนินการต่อในขั้นตอนใด
3) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และสามารถแก้ไขความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องได้
2.3.3.4 ความเที่ยงตรงในการใช้งาน (Robust)
เพิ่มความสามารถในการใช้งานที่เข้าได้กับเครื่องมือ อาทิ เว็บเบราเซอร์ และเทคโนโลยีช่วยสนุบสนุนการใช้งานต่างๆ เพื่อการใช้งานเว็บทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือเว็บที่พัฒนาขึ้น ต้องสามารถนำเสนอเนื้อหาได้ถูกต้องเที่ยงตรง แม้ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาเหล่านั้นจะถูกพัฒนาไปอย่างไรก็ตาม

แนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บ 2.0 อธิบายให้ทราบถึงวิธีการสร้างเนื้อหาของเว็บเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงจากผู้ใช้ที่ไม่มีทักษะ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ อาทิ การมองเห็น การได้ยิน อุปสรรคทางกายภาพ ทางเสียง การรับรู้ ภาษา การเรียนรู้ รวมทั้งปัญหาทางด้านสมองอื่นๆ นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการสร้างเนื้อหาที่สามารถทำให้เกิดการใช้งานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี แม้จะอธิบายถึงปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ยังไม่สามารถครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ได้ทั้งหมด รวมทั้งระดับความต้องการและ การผสมผสานการใช้งานต่างๆ นอกจากนี้ยังอิบายถึงวิธีการสร้างเนื้อหาของเว็บที่สามารถเข้าถึงได้เพิ่มมากขึ้นจาก ผู้ใช้งานรายบุคคลเดิม ที่ต้องปรับเปลี่ยนการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

WCAG 2.0 ถูกพัฒนาขึ้นด้วยโปรเซสของ W3C ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างมาตรฐานการสร้างเนื้อหาของเว็บที่สามารถเข้าถึงอย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานจาก ผู้ใช้งานรายบุคคล จากองค์กร และจากภาครัฐ นอกจากนี้ WCAG 2.0 ถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีเว็บที่หลากหลายในปัจจุบัน และในอนาคต และเพื่อให้สามารถทดสอบด้วยการผสมผสานการทดสอบแบบอัตโนมัติ และการเปรียบเทียบด้วยมนุษย์

ความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไม่ใช่เพียงขึ้นอยู่กับการเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้าถึงด้วยเว็บเบราเซอร์ และเครื่องมือในการใช้งานเว็บไซต์ชนิดอื่นๆ อีกด้วย เครื่องมือต่างๆ เหล่านั้นนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าถึงเว็บ โดยท่านสามารถดุส่วนประกอบต่างๆ ได้จาก การพัฒนาเว็บและการปฏิสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

- ส่วนประกอบที่จำเป็นของการเข้าถึงเว็บ (Essential Components of Web Accessibility)
- เครื่องมือในการใช้งานเว็บของผู้ใช้งาน (User Agent Accessibility Guidelines (UAAG) Overview)
- แนวทางการใช้เครื่องมือในการเข้าถึงเว็บ (Authoring Tool Accessibility Guidelines (ATAG) Overview)

ลำดับการทำงานของ WCAG 2.0 (WCAG 2.0 Layers of Guidance)
ทั้งการใช้งานระดับองค์กร และส่วนบุคคล ของ WCAG 2.0 มีหลากหลาย ประกอบไปด้วย เว็บมาสเตอร์ ผู้กำหนดนโยบาย ตัวแทนจัดซื้อ ครู นักเรียน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละคน แต่ละระดับการใช้งาน ที่ประกอบไปด้วยการใช้งานพื้นฐานต่างๆ แนวทางการใช้งานทั่วไป ปัจจัยความสำเร็จที่สามารถทดสอบได้ และการใช้งานเชิงเทคนิคต่างๆ เทคนิคในการแนะนำและเอกสารประกอบการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงไปยังแหล่ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ

พื้นฐาน – ณ ระดับบนสุดของปัจจัยพื้นฐานสี่ประการ ที่ทำให้เกิดความสามารถในการเข้าถึงเว็บ ประกอบด้วย ความสามารถที่ทำให้เห้นได้ จัดการได้ เข้าใจได้ และไม่สับสน

แนวปฏิบัติ – จากพื้นฐานซึ่งเป็นแนวปฏิบัติ ทั้ง 12 ข้อ ที่รองรับเป้าหมายหลักที่ผู้พัฒนาควรทำ เพื่อสร้างเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จากผู้ใช้ที่มีอุปสรรคในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยแนวทางในการปฏิบัตินี้ไม่ใช่เพื่อการทดสอบแต่เป็นกรอบปฏิบัติ และวัตถุประสงค์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาเข้าใจถึงปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และเทคนิคการใช้งานที่ดีที่สุด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ – สำเร็จแนวปฏิบัตินี้ เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สามารถทดสอบได้ ที่ทำให้ WCAG 2.0 ถูกใช้งานเมื่อ ความต้องการและความสอดคล้องในการทดสอบ อาทิเช่น ลักษณะรูปแบบในการออกแบบ การจัดซื้อ ข้อบังคับ และ การทำสัญญาข้อตกลงต่างๆ เพื่อให้การดำเนินการตรงตามความต้องการของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน จีงกำหนดแนวทางปฏิบัติออกเป็นสามระดับคือ A (ต่ำสุด), AA และ AAA (สูงสุด) นอกจากนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมของระดับต่างๆ ของ WCAG 2.0 สามารถดูได้จาก

2.3.4 คำสำคัญใน WCAG 2.0
WCAG 2.0 ประกอบด้วยคำสำคัญสามคำที่ต่างจาก WCAG 1.0 โดยสามคำดังกล่าวสามารถให้คำจำกัดความโดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) เว็บเพจ (Web Page) เป็นคำที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมาตรฐานนี้ คำว่าเว็บเพจ มีความหมายมากกว่า เพจแบบ HTML เพจธรรมดาทั่วไป แต่ยังรวมหมายถึงการเพิ่มความเป็นเว็บเพจแบบไดนามิก และรวมถึงเพจที่มีการนำเสนอแบบการปฏิสัมพันธ์ในชุมชนเสมือน อาทิเช่น เว็บเพจที่หมายถึงความชื่นชอบในการค้นหาและชมภาพยนตร์จากเว็บ URL
2) การโปรแกรมได้ (Programmatically Determined) ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่เนื้อหาจำเป็นต้องมีคือสามารถทำการโปรแกรมได้ ซึ่งหมายถึงเนื้อหาเหล่านั้นต้องถูกส่งผ่านเครื่องมือที่ผู้ใช้ ใช้ในการใช้งานเว็บ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการช่วยเหลือในการใช้งาน โดยต้องสามารถเปิดและนำเสนอสารสนเทศเหล่านั้นต่อผู้ใช้ ในรูปแบบที่หลากหลาย
3) สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility Supported) เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อรองรับความสามารถในการเข้าถึง หมายถึงเทคโนโลยีที่คอยให้ความช่วยเหลือ และความสามารถในการเข้าถึงของเบราเซอร์ และเครื่องมืออื่นๆ เพียงเทคโนโลยี (รวมทั้งความสามารถต่างๆ ของเทคโนโลยีนั้นๆ) ที่สามารถ รองรับความสามารถในการเข้าถึง ที่ถูกใช้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเทคโนโลยีที่นำไปสู่ความสำเร็จตาม WCAG 2.0 ที่ไม่ได้รองรับความสามารถในการเข้าถึง สามารถนำมาใช้ได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้กับทุกๆ มาตรฐานสู่ความสำเร็จ

2.3.5 แนวทางปฏิบัติตาม WCAG 2.0 (WCAG 2.0 Guidelines)
หลักการพื้นฐานที่ 1 ความสามารถในการรับรู้ (Perceivable) หมายถึงสารสนเทศและส่วนประกอบต่างๆ ที่ใช้เพื่อการติดต่อกับผู้ใช้ จะต้องสามารถนำเสนอให้กับผู้ใช้ด้วยวิธีที่ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้
แนวทางปฏิบัติที่ 1.1 สนับสนุนทางเลือกแบบตัวอักษร (Text Alternatives) หมายถึงการให้บริการทางเลือกที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรในทุกๆ เนื้อหาที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบตัวอักษร และบริการนั้นจะต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ อาทิเช่นการเพิ่มขนาดตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น การแปลงเป็นตัวอักษรเบลล์สำหรับคนตาบอด เป็นเสียงพูด เป็นสัญลักษณ์ หรือภาษาอย่างง่ายอื่นๆ
1.1.1 เนื้อหาที่ไม่ใช่ตัวอักษร (Non Text Content) เนื้อหาที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ต้องสนับสนุนให้มีทางเลือกเป็นตัวอักษรได้ เพื่อสามารถนำเสนอสารสนเทศที่มีสาระเดียวกัน ยกเว้นสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
- คอนโทรล (Control) และ อินพุท (Input) หากเป็นการรับคำสั่งควบคุมหรือการรับอินพุทจากผู้ใช้ จะต้องมีชื่อหรือข้อความกำกับที่ปุ่ม และคอนโทรลที่ใช้รับอินพุทนั้นๆ เพื่ออธิบายถึงวัตถุประสงค์การใช้งาน
- สื่อ (Media) การทดสอบ (Test) และความรู้สึก (Sensory) หากเป็นเนื้อหาสื่อที่ต้องทำการเข้าจังหวะสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแบบถ่ายทอดสด หรือภาพแบบถ่ายทอดสด และแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดที่ต้องถูกนำเสนอด้วยรูปแบบที่ไม่เป็นตัวอักษร โดยพื้นฐานเนื้อหาเหล่านี้ต้องถูกสร้างขึ้นด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะ และอย่างน้อยต้องสนับสนุนทางเลือกในรูปแบบตัวอักษรอยู่ด้วย เพื่อบอกถึงคุณลักษณะต่างๆ ของเนื้อหาที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบตัวอักษรเหล่านั้น โดยตัวอักษรทางเลือกเหล่านั้นใช้เพื่อบอกชื่อและรายละเอียดอื่นๆ ที่ชัดเจนของเนื้อหาที่ไม่ใช่ตัวอักษร

หมายเหตุ
ก่อนที่จะทำการบันทึกไฟล์เฉพาะข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพ ควรจะอยู่ภายใต้มาตรฐานความสำเร็จ 1.1.1 ที่บ่งว่าจำเป็นต้องมีทางเลือกในรูปแบบตัวอักษร เพื่อนำเสนอสารสนเทศที่มีเนื้อหาเท่ากับข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรที่มันอธิบายอยู่

- CAPTCHA ควรสามารถรับรองได้ว่าเนื้อหาที่กำลังถูกเข้าถึงอยู่โดยบุคคล แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง โดยมีการสนับสนุนทางเลือกในรูปแบบตัวอักษรให้บริการ นอกจากนี้รูปแบบทางเลือกของโหมดการใช้เอ้าท์พุทแบบ CAPTCHA ด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการรับรู้ด้วยความรู้สึก เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ที่ขาดทักษะการใช้ หรือมีทักษะการใช้งานที่แตกต่างกัน สามารถรับรู้ เข้าใจเนื้อหาที่ทัดเทียมกัน
- การตกแต่ง รูปแบบ (Decoration) และสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากเป็นการตกแต่งทั้งหมด หรือเป็นการตกแต่งเพียงเพื่อใช้จัดรูปแบบเสมือน และหากการตกแต่งนั้นไม่ใช่เพื่อการนำเสนอเนื้อหาให้กับผู้ใช้แล้ว เนื้อหาเหล่านั้นก็สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง การใช้เทคโนโลยีในการช่วยเหลือเพื่อการเข้าถึงใดๆ

1.1.2 เนื้อหาเฉพาะเสียงสด (Live Audio-only) ทุกๆ เนื้อหาที่เป็นเฉพาะเสียงสด จะต้องสนับสนุนทางเลือกแบบตัวอักษร (ระดับ AAA)

แนวทางปฏิบัติที่ 1.2 สื่อที่ต้องเข้าจังหวะสัญญาณ (Synchronized Media) หมายถึงเนื้อหาที่จำเป็นต้องทำการเข้าจังหวะ(Synchronize) สัญญาณ ก่อนการเผยแพร่หรือกระจายเนื้อหาเหล่านั้นไปยังผู้รับก่อน
1.2.1 คำบรรยาย ก่อนถูกบันทึก (Prerecorded Captions) ให้ใส่คำบรรยายเนื้อหาลงในสื่อก่อนที่สื่อที่จำเป็นต้องมีการเข้าจังหวะจะถูกบันทึก นอกจากสื่อที่ต้องเข้าจังหวะนั้น จะสนับสนุนทางเลือกในรูปแบบตัวอักษร และป้ายบอกชื่อโดยชัดเจนอยู่ในเนื้อหาอยู่แล้ว
1.2.2 รายละเอียดของเสียง (Audio Description) หรือทางเลือกแบบตัวอักษร (Full Text Alternative) ใดๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดของเสียงในสื่อวิดีโอ หรือทางเลือกเต็มแบบตัวอักษร ของสื่อหรือเนื้อหาที่ต้องทำการเข้าจังหวะสัญญาณ รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ใดๆ จะต้องถูกดำเนินการก่อนที่สื่อหรือเนื้อหานั้นจะถูกบันทึก
1.2.3 คำบรรยายสด (Live Captions) ต้องสนับสนุนคำบรรยายให้กับสื่อหรือเนื้อหาที่ต้องทำการเข้าจังหวะและถ่ายทอดสด (ระดับ AA)
หมายเหตุ: หากสื่อที่ต้องเข้าจังหวะนั้นถูกสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ได้เป็นสื่อที่เกิดขึ้นสดๆ และวัตถุประสงค์การทำสื่อเพื่อทำการเข้าจังหวะก่อนการบันทึกตาม WCAG 2.0
1.2.4 รายละเอียดของเสียง (Audio Description) รายละเอียดของเสียงในวิดีโอ มีขึ้นเพื่อทำการเข้าจังหวะกับสื่อหรือเนื้อหาในรูปแบบเสียงก่อนการบันทึก (ระดับ AA)
1.2.5 ภาษาสัญลักษณ์ (Sign Language) การแปลภาษาสัญลักษณ์ มีเพื่อทำการเข้าจังหวะกับสื่อหรือเนื้อหาก่อนถูกบันทึก (ระดับ AAA)
1.2.6 รายละเอียดของเสียง (Audio Description) (ส่วนขยาย) รายละเอียดของเสียงที่เป็นส่วนขยายของวิดีโอ มีเพื่อสนับสนุนสื่อที่ต้องทำการเข้าจังหวะก่อนถูกบันทึก (ระดับ AAA)
1.2.7 ทางเลือกตัวอักษรแบบเต็ม (Full Text Alternative) ทางเลือกตัวอักษรแบบเต็มสำหรับสื่อที่ต้องเข้าจังหวะสัญญาณ ประกอบด้วยการปฏิสัมพันธ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนสื่อที่ต้องเข้าจังหวะก่อนถูกบันทึก ยกเว้นว่าสื่อที่ต้องเข้าจังหวะนั้น เป็นทางเลือกแบบตัวอักษร และเป็นป้ายบอกชื่อที่ชัดเจน (ระดับ AAA)

แนวทางปฏิบัติที่ 1.3 ความสามารถในการปรับเปลี่ยน (Adaptable) การสร้างเนื้อหาควรจะสามารถถูกนำเสนอได้หลากหลายวิธี อาทิเช่น รูปแบบอย่างง่าย โดยไม่สูญเสียสาระใดๆ ของเนื้อหา และไม่ทำให้โครงสร้างของสื่อหรือสารสนเทศเสียไป
1.3.1 สารสนเทศและ ความสัมพันธ์ (Info and Relationships) สารสนเทศ โครงสร้าง และ ความสัมพันธ์ ของเนื้อหา จะถูกส่งไปยังผู้รับผ่านการนำเสนอ โดยที่สามารถได้รับการอธิบายด้วยการโปรแกรม หรืออยู่ในรูปแบบตัวอักษรเพื่อการใช้งาน (ระดับ A)
1.3.2 การลำดับแบบมีความหมาย (Meaningful Sequence) เมื่อลำดับต่างๆ ในสื่อหรือเนื้อหา ที่นำเสนอจะมีผลกระทบกับความหมายของตัวมันเอง ลำดับในการอ่านที่ถูกต้อง ต้องสามารถอธิบายได้ด้วยการโปรแกรม (ระดับ A)
1.3.3 ลักษณะทางความรู้สึก (Sensory Characteristics) ผู้สร้างสื่อต้องทำให้ความเข้าใจในตัวสื่อหรือเนื้อหา และการดำเนินการใดๆ กับสื่อ ต้องไม่อาศัยลักษณะทางความรู้สึก ของส่วนประกอบต่างๆ อาทิ รูปทรง ขนาด ตำแหน่งในการมองเห็น การกำหนดเป้าหมาย หรือเสียง (ระดับ A)

แนวทางปฏิบัติที่ 1.4 ความสามารถในการจำแนกความแตกต่าง (Distinguishable) ผู้พัฒนาควรสร้างสื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย ทั้งในการมองเห็น และการได้ยิน เนื้อหาต่างๆ รวมทั้งต้องสามารถแบ่งแยกสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าออกจากฉากหลัง
1.4.1 การใช้สี (Use of Color) สีไม่ได้ถูกใช้เพียงเพื่อการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังบอกถึงสารสนเทศต่างๆ การบ่งชี้การกระทำหรือกิจกรรมใดๆ การบอกถึงความพร้อมในการตอบสนอง รวมทั้งเพื่อการแยกแยะองค์ประกอบที่มองเห็นได้ในระดับต่างๆ กัน (ระดับ A)
หมายเหตุ (1) มาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จนี้บอกถึงคุณลักษณะและรูปแบบต่างๆ ของสี
(2) การเข้าถึงสีด้วยการโปรแกรมเสมือนใดๆ ด้วยการโปรแกรม
1.4.2 การควบคุมเสียง (Audio Control) หากเสียงทุกเสียงที่อยู่บนเว็บเพจถูกเล่นโดยอัตโนมัติ เกินกว่าสามวินาที จะต้องมีคำสั่งควบคุมเพื่อการหยุดพักเสียงนั้น หรือมีคำสั่งควบคุมเพื่อควบคุมระดับของเสียงนั้นให้มีความแตกต่างกันได้ (ระดับ A)
หมายเหตุ หากเนื้อหาไม่เป็นตามมาตรฐานนี้ จะทำให้รบกวนความสามารถของผู้ใช้งานเว็บเพจทั้งเพจได้ ทุกๆ เนื้อหาบนเว็บเพจจึงควรเป็นไปตามมาตรฐานความสำเร็จนี้
1.4.3 ความแตกต่าง (Contrast) ขั้นต่ำ เนื้อหาในเว็บเพจ ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ จะต้องมีอัตราของความแตกต่างอย่างน้อย 5:1 ยกเว้นสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ (ระดับ AA)
- การพิมพ์ขนาดใหญ่ (Large Print) ตัวอักษรและภาพที่มีขนาดใหญ่ ขนาดของตัวอักษร ต้องมีอัตราความแตกต่างอย่างน้อย 3:1
- ความเล็ก (Incidental) ตัวอักษรหรือรูปภาพของตัวอักษรที่เป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เฟสในการติดต่อกับผู้ใช้ที่ไม่มีการตอบสนองใดๆ อันเป็นส่วนของการตกแต่งเว็บเพจเท่านั้น และเป็นตัวอักษรขนาดเล็กในรูปภาพ หรือไม่สามารถถูกมองเห็นได้โดยทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีอัตราขนาดของความเล็กจำกัด หรือไม่ต้องคำนึงถึงอัตราความแตกต่าง
1.4.4 การปรับขนาดตัวอักษร (Resize text) ตัวอักษรต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนขนาดได้ (ไม่ได้หมายรวมถึงรูปภาพของตัวอักษร) โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการช่วยเหลือใดๆ ให้ขยายได้ถึง 200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ต้องไม่สูญเสียเนื้อหาหรือหน้าที่ไป (ระดับ AA)
1.4.5 รูปภาพของตัวอักษร (Images of Text) (โดยจำกัด) เมื่อเทคโนโลยีที่รองรับความสามารถในการเข้าถึง ถูกใช้เพื่อให้สามารถรองรับการนำเสนอแบบเสมือนจริง ตัวอักษรจะถูกใช้เพื่อการส่งข้อมูลสารสนเทศ แทนที่จะเป็นรูปภาพของตัวอักษร ยกเว้นสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
- ความสามารถทำตามความต้องการของผู้ใช้ (Customizable) รูปภาพของตัวอักษร ต้องสามารถถูกปรับแต่งให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการมองเห็นได้ของแต่ละคน
- องค์ประกอบสำคัญ ส่วนต่างๆ (Essential)ในการนำเสนอของตัวอักษร มีความจำเป็นต่อสารสนเทศหรือเนื้อหา เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอ
หมายเหตุ ตราสัญลักษณ์ (Logotypes) (ตัวอักษรที่เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์หรือชื่อสินค้า) ก็ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็น
1.4.6 ความคมชัด (Contrast) (ประสิทธิภาพเพิ่มเติม) ตัวอักษรและรูปภาพของตัวอักษร ต้องมีอัตราความคมชัดอย่างน้อย 7:1 ยกเว้นสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ (ระดับ AAA)
- การพิมพ์ขนาดใหญ่ (Large Print) ตัวอักษรที่มีอัตราส่วนขนาดใหญ่ และรูปภาพของตัวอักษรที่มีอัตราส่วนขนาดใหญ่ ต้องมีอัตราส่วนความคมชัดเป็น 5:1
- ความเล็ก (Incidental) ตัวอักษรหรือรูปภาพของตัวอักษรที่เป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เฟสในการติดต่อกับผู้ใช้ที่ไม่มีการตอบสนองใดๆ อันเป็นส่วนของการตกแต่งเว็บเพจเท่านั้น และเป็นตัวอักษรขนาดเล็กในรูปภาพ หรือไม่สามารถถูกมองเห็นได้โดยทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีอัตราขนาดของความเล็กจำกัด หรือไม่ต้องคำนึงถึงอัตราความแตกต่าง
1.4.7 ไม่มีเสียงประกอบหรือมีเสียงประกอบน้อย (Low or No Background Audio) เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบเสียง ที่ไม่เป็นแบบ CAPTCHA และเป็นเนื้อหาที่เป็นเสียงพูดเป็นหลัก ต้องไม่มีเสียงประกอบผสมอยู่ หรือเสียงประกอบสามารถถูกปิดได้ หรือเสียงประกอบต้องมีความดังไม่เกิน 20 เดซิเบล ซึ่งน้อยกว่าเนื้อหาที่เป็นเสียงพูดหลัก ที่ไม่รวมเสียงประกอบ 1.4.8 การนำเสนอแบบเสมือน (Visual Presentation) ในการนำเสนอแบบเสมือนด้วยรูปแบบกรอบของตัวอักษร ควรมีคำสั่งให้ใช้งานดังต่อไปนี้
- สีด้านหน้าและด้านหลังต้องสามารถถูกเลือกโดยผู้ใช้ได้
- มีขนาดตัวอักษรไม่เกิน 80 ตัวอักษร
- ตัวอักษรต้องไม่ถูกจัดไว้ระหว่างซ้ายและขวา
- ระยะห่างระหว่างบรรทัด อย่างน้อยต้องมีขนาดอย่างน้อยหนึ่งบรรทัด กับอีกครึ่งหนึ่งของการเว้นระยะหน้ากระดาษ และการเว้นระยะหน้าต้องมีขนาดกว้างกว่า ระยะห่างระหว่างหนึ่งบรรทัด
- ตัวอักษรต้องสามารถถูกปรับเปลี่ยนขนาดได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้สามารถขยายได้ถึง 200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหมุนลูกกลิ้งเพื่ออ่านตัวอักษรแต่ละบรรทัด
1.4.9 ภาพของตัวอักษรที่จำเป็น (Images of Text) ภาพของตัวอักษร ที่ถูกใช้เพื่อการตกแต่ง หรือถูกใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอของตัวอักษร เป็นสิ่งจำเป็นต่อการใช้เพื่อการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้รับเข้าใจเนื้อหา (ระดับ AAA)
หมายเหตุ
ชนิดตราสัญลักษณ์ (ตัวอักษรที่เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ ชื่อสินค้า) ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น

หลักการพื้นฐานที่ 2 ความสามารถในการจัดการได้ (Operable) หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ในการติดต่อกับผู้ใช้หรืออินเตอร์เฟส และการเนวิเกตหรือการนำไปสู่เนื้อหา ข้อมูลใดๆ ในเว็บพจและเว็บไซต์ ต้องสามารถถูกบริหารจัดการได้
แนวทางปฏิบัติที่ 2.1 ความสามารถในการเข้าถึงด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard Accessible) โดยการทำให้หน้าที่ในการทำงานต่างๆ สามารถพร้อมใช้งานหรือสามารถสั่งการได้จากแป้นพิมพ์ได้
2.1.1 แป้นพิมพ์ (Keyboard) ทุกๆ ความสามารถในการทำงานกับเนื้อหา ต้องสามารถถูกจัดการผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดเวลาในการพิมพ์ ยกเว้นหน้าที่ที่จำเป็นบางอย่างต้องการการอินพุทที่ขึ้นอยู่กับเส้นทางการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ และไม่ใช้เพื่อจุดสิ้นสุดการทำงาน ต้องสามารถสั่งการได้ผ่านคีย์บอร์ด (ระดับ A)
หมายเหตุ
1) เงื่อนไขการยกเว้นนี้ต้องสัมพันธ์กับหน้าที่การทำงานที่กำหนด ไม่ใช่เทคนิคในการอินพุท ตัวอย่างเช่น หากใช้การเขียนมือเพื่อการนำเข้าข้อมูล เทคนิคในการอินพุทข้อมูล (ลายมือ) จำเป็นต้องอาศัยแนวทางในการอินพุท แต่หน้าที่ที่จำเป็นไม่ต้องการ
2) ห้ามซ่อนเม้าส์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำการอินพุทข้อมูลได้ รวมทั้งการอินพุทข้อมูลด้วยวิธีอื่นๆ อาทิ แป้นพิมพ์
2.1.2 ไม่ดักจับโดยแป้นพิมพ์ (No Keyboard Trap) หากสามารถเลื่อนตำแหน่งการทำงานใดๆ ได้โดยการสั่งการผ่านแป้นพิมพ์ การสั่งการใดๆ นั้นก็จะต้องสามารถถูกเลื่อนตำแหน่งได้โดยการใช้แป้นพิมพ์เช่นเดียวกัน และหากการเคลื่อนย้ายการสั่งการเหล่านั้นต้องใช้แป้นคำสั่งนอกเหนือจากแป้นการเคลื่อนย้ายปกติ (แป้นแทบ) แล้ว จะต้องสนับสนุนคำอธิบายในการใช้คำสั่งพิเศษเหล่านั้นให้กับผู้ใช้ทราบและเข้าใจ
2.1.3 แป้นพิมพ์ (ไม่มีข้อยกเว้น) ทุกๆ หน้าที่ของเนื้อหาต้องสามารถถูกจัดการผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดระยะเวลา ของแต่ละลำดับการพิมพ์

แนวทางปฏิบัติที่ 2.2 เวลาที่เพียงพอ (Enough Time) เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีเวลาไม่เพียงพอสามารถอ่านและใช้งานเนื้อหาต่างๆ ได้
2.2.1 ความสามารถในการปรับแต่งเวลา (Timing Adjustable) ในแต่ละช่วงเวลาที่จำกัด ซึ่งถูกกำหนดโดยแต่ละเนื้อหา ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง
- เวลาปิดใช้บริการ (Turn off) ผู้ใช้ต้องได้รับอนุญาตให้ปิดบริการการจำกัดเวลาก่อนการนับเวลาถึงจุดที่กำหนด
- การปรับแต่งเวลา (Adjust) ผู้ใช้ต้องได้รับอนุญาต ในการปรับแต่งเวลาที่จำกัดไว้ ก่อนจะถึงเวลาที่ตั้งไว้ในการกำหนดเวลาอย่างน้อยสิบเท่าของขนาดเวลาที่กำหนดไว้
- การขยายเวลา (Extend) ผู้ใช้ต้องได้รับการเตือน ก่อนที่จะหมดเวลา และอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปอย่างน้อย 20 วินาที จากเวลาที่กำหนดด้วยการสั่งงานที่ง่ายๆ อาทิเช่น กดแป้นเว้นวรรค และผู้ใช้ต้องได้รับอนุญาต ให้สามารถขยายเวลาที่จำกัดไว้ออกไปอย่างน้อยสิบครั้ง
- การยกเว้นแบบเรียลไทม์ (Real-time Exception) การจำกัดเวลาจำเป็นต้องการส่วนหนึ่งส่วนใดของเวลาเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น การประมูล และต้องไม่มีการกำหนดเวลาเป็นทางเลือกอื่นๆ
- การยกเว้นที่จำเป็น (Essential Exception) การกำหนดเวลาจะต้องไม่สามารถถูกขยายออกไปโดยปราศจากการตรวจสอบการกระทำที่ถูกต้อง
- การยกเว้น 20 ชั่วโมง (20 Hour Exception) เวลาที่จำกัดใดๆ ต้องมากกว่า 20 ชั่วโมง
หมายเหตุ การดำเนินการตามมาตรฐานนี้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือบริบท
2.2.2 การพักชั่วคราว (Pausing) การเคลื่อนที่ การกระพริบ การเลื่อนตำแหน่ง หรือการปรับปรุงสารสนเทศใดๆ โดยอัตโนมัติในเว็บเพจเป็นครั้งล่าสุดที่ใช้เวลามากกว่าสามวินาที ต้องสามารถหยุดพักการทำงานชั่วคราวได้โดยผู้ใช้ แม้ว่าการเคลื่อนที่ การกระพริบ การเลื่อนตำแหน่ง หรือการปรับปรุงสารสนเทศโดยอัตโนมัติเหล่านั้น จะเป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นก็ตาม เนื้อหาที่มีการเคลื่อนไหว และกระพริบ ที่เป็นเพียงเพื่อการตกแต่งเว็บ จะต้องสามารถถูกสั่งในหยุดการทำงานหรือซ่อนไว้ไม่ให้ปรากฏได้โดยผู้ใช้ (ระดับ AA)
หมายเหตุ
1) สำหรับความต้องการที่สัมพันธ์กับ เนื้อหาที่มีการเคลื่อนไหว
2) เมื่อเนื้อหาใดๆ ที่ไม่สามารถเป็นไปตามมาตรฐานที่มีผลต่อความสามารถในการใช้งานทั้งเว็บเพจของผู้ใช้ หรือเนื้อหาใดๆ ทั้งเว็บเพจ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3) เนื้อหาใดๆ ที่ถูกปรับปรุงโดยโปรเซส แบบเรียลไทม์หรือรีโมทสตรีมที่ไม่จำเป็นต่อการนำเสนอสารสนเทศ ที่ถูกสร้างหรือได้รับระหว่างจุดเริ่มต้นของการพักการทำงาน และการนำเสนอต่อจากตำแหน่งเดิมที่หยุดพักไว้ ซึ่งอาจไม่เกิดปัญหาทางด้านเทคนิคและสถานะใดๆ ที่นำไปสู่กระบวนการที่ผิดพลาด
2.2.3 ไม่มีการกำหนดระยะเวลา (No Timing) การกำหนดระยะเวลาไม่ใช่ส่วนสำคัญ ของเหตุการณ์ หรือการดำเนินการใดๆ ในการนำเสนอเนื้อหา ยกเว้น สื่อที่มีการเข้าจังหวะสัญญาณแบบไม่มีการตอบสนองกับผู้ใช้ และ เหตุการณ์แบบเรียลไทม์ ไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการนำเสนอ (ระดับ AAA)
2.2.4 การขัดจังหวะ (Interruptions) การขัดจังหวะใดๆ ต้องสามารถถูกเลื่อนออกไปหรือ ถูกหยุดยั้งไว้ได้โดยผู้ใช้ ยกเว้นการเกิดการขัดจังหวะนั้นเพื่อการทำงานฉุกเฉินใดๆ (ระดับ AAA)
2.2.5 การทบทวนการพิสูจน์ตัวตน (Re-authenticating) เมื่อเซชชั่นที่ใช้ในการพิสูจน์ตัวตนหมดอายุหรือหมดเวลาลง ผู้ใช้ต้องสามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ได้โดยต่อเนื่องต่อไป โดยไม่สูญเสียข้อมูล หลังจากการทบทวนการพิสูจน์ตัวตน หรือการตรวจสอบตัวตนอีกครั้ง (ระดับ AAA)

แนวทางปฏิบัติที่ 2.3 การโจมตีการรับรู้ (Seizures) ต้องไม่ออกแบบเนื้อหาใดๆ ที่เป็นหนทางนำไปสู่การโจมตีการรับรู้ของผู้ใช้
2.3.1 สามแฟลช หรือ ต่ำกว่าขีดจำกัด (Three Flashes or Below Threshold) เว็บเพจต้องไม่มีสิ่งใดๆ ที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทันทีทันใดเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น เกินกว่าสามครั้ง ในทุกๆ ชั่วเวลาหนึ่งวินาที หรือสิ่งที่เกิดเพียงชั่วขณะนั้นเกิดขึ้นน้อยกว่า ขั้นต่ำของแฟลชทั่วไป หรือแฟลชสีแดง (ระดับ A)
หมายเหตุ
เมื่อเนื้อหาใดๆ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและมีผลต่อความสามารถในการใช้งานเว็บเพจทั้งเว็บเพจ หรือเนื้อหาใดๆ ในเว็บเพจ จำเป็นต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
2.3.2 สามแฟลช เว็บเพจใดๆ ต้องไม่มีเนื้อหาใดที่มีการแฟลชเกินกว่าสามครั้งในชั่วระยะเวลาหนึ่งวินาที (ระดับ AAA)

แนวทางปฏิบัติที่ 2.4 ความสามารถในการนำทาง (Navigable) ต้องสามารถสนับสนุนการชี้นำทางไปสู่เนื้อหาหรือสารสนเทศใดๆ และสามารถบอกได้ว่าเนื้อหาเหล่านั้นอยู่ที่ใดในเว็บไซต์ให้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีความสามารถหรือมีข้อจำกัด ในการค้นหาหรือไปถึงเนื้อหาต่างๆ เหล่านั้น
2.4.1 การกระโดดข้ามบล็อค (Bypass Blocks) สนับสนุนวิธีการที่สามารถทำให้กระโดดข้ามบล็อคของเนื้อหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในหลายๆ เว็บเพจได้
2.4.2 ชื่อหัวเรื่องของเพจ (Page Titled) เว็บเพจต้องมีชื่อหัวเรื่องบอกที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บเพจนั้น (ระดับ A)
2.4.3 คำนึงถึงลำดับ (Focus Order) หากเว็บเพจสามารถถูกนำร่องแบบเชิงลำดับ และลำดับในการนำไปสู่เนื้อหาต่างๆ มีผลต่อความหมายและการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงลำดับของเนื้อหาเหล่านั้น (ระดับ A)
2.4.4 ประโยชน์ในการเชื่อมโยงในบริบท (Link Purpose) การเชื่อมโยงใดๆ ในบริบทต้องสามาถอธิบายได้ว่าการเชื่อมโยงนั้นเชื่อมโยงไปที่ใด เพื่อวัตถุประสงค์ใดด้วยข้อความเพื่อการเชื่อมโยงนั้นเอง โดยไม่คลุมเครือ เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าใจได้
2.4.5 เส้นทางที่หลากหลาย (Multiple Ways) ต้องมีเส้นทางที่พร้อมใช้งานมากกว่าหนึ่งเส้นทางที่นำไปสู่แต่ละเว็บเพจ ในกลุ่มเดียวกัน ยกเว้นเว็บเพจนั้นเป็นผลจากการดำเนินการ หรือขั้นตอนหนึ่งของโปรเซสใดๆ (ระดับ AA)
2.4.6 ป้ายแสดงคำอธิบาย (Labels Descriptive) ต้องมีเลเบลหรือป้ายแสดงคำอธิบาย และชื่อหัวเรื่อง เพื่อการอธิบายเนื้อหาเสมอ (ระดับ AA)
2.4.7 ความสามารถในการมุ่งเป้า (Focus Visible) การติดต่อกับผู้ใช้ใดๆ ที่กระทำผ่านแป้นพิมพ์ ต้องมีโหมดในการดำเนินการที่บ่งชี้ตำแหน่งที่อยู่ของแป้นพิมพ์ (ระดับ AA)
2.4.8 ตำแหน่ง (Location) ข้อมูลใดๆ ต้องสนับสนุนการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้ ในกลุ่มของเว็บเพจ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่ากำลังทำงานอยู่ ณ ตำแหน่งใดในเว็บเพจ (ระดับ AAA)
2.4.9 วัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยง เฉพาะการเชื่อมโยงเท่านั้น (Link Purpose (Link Only)) เป็นวิธีที่สามารถใช้เพื่อยอมให้วัตถุประสงค์ของแต่ละการเชื่อมโยง ถูกบ่งชี้จากอักษรในการเชื่อมโยงนั้นๆ ยกเว้นวัตถุประสงค์ของการเชื่อมโยงนั้น จะก่อให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้
2.4.10 หัวข้อย่อย (Section Headings) ต้องมีหัวข้อย่อยเพื่อใช้ในการจัดการเนื้อหา (ระดับ AAA)
หมายเหตุ
1) หัวข้อ โดยทั่วไปทราบกันดีว่าใช้เพื่อการเพิ่มหัวข้อให้กับเนื้อหาประเภทต่างๆ และเพื่อการจัดการเนื้อหา
2) มาตรฐานรวมถึงส่วนย่อยใดๆ ในการเขียน ไม่ใช่องค์ประกอบในการติดต่อกับผู้ใช้

หลักการพื้นฐานที่ 3 ความสามารถในการเข้าใจได้ (Understandable) ข้อมูลสารสนเทศ และการดำเนินการใดๆ ของการติดต่อกับผู้ใช้ ต้องสามารถเข้าใจได้
แนวทางปฏิบัติที่ 3.1 ความสามารถในการอ่านเข้าใจได้ (Readable) ต้องทำให้เนื้อหาในรูปแบบตัวอักษร สามารถถูกอ่านและสามารถเข้าใจได้
3.1.1 ภาษาของเพจ (Language of Page) ภาษามนุษย์เพื่อใช้งานโดยทั่วไป ในแต่ละเว็บเพจ ต้องสามารถถูกกำหนดได้ด้วยการโปรแกรม (ระดับ A)
3.1.2 ภาษาของแต่ละส่วน (Language of Parts) ภาษามนุษย์ของแต่ละบทหรือวลี ในเนื้อหาต้องสามารถถูกกำหนดได้ด้วยการโปรแกรม ยกเว้นเพื่อการตั้งชื่อ กรอบทางด้านเทคนิค คำที่นอกเหนือขอบเขตของภาษา และคำหรือวลี ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาษาถิ่น (ระดับ AA)
3.1.3 คำที่ไม่ถูกใช้งานตามปกติ (Unusual Words) ต้องสนับสนุนกรรมวิธีที่ใช้เพื่อบ่งชี้ข้อกำหนดในการใช้คำหรือวลีที่ไม่ถูกใช้งานตามปกติทั่วไป หรือเป็นการใช้งานเฉพาะ (ระดับ AAA)
3.1.4 คำย่อ (Abbreviations) ต้องสนับสนุนกรรมวิธีในการบ่งชี้เพื่อการขยายความหรือความหมายของคำย่อที่ปรากฏอยู่ (ระดับ AAA)
3.1.5 ระดับในการอ่าน (Reading Level) เมื่อตัวอักษรต้องการความสามารถในการอ่านที่สลับซับซ้อนเกินกว่าผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ต้องมีเนื้อหาสำหรับการอ่านที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากกว่ามัธยมศึกษา บรรจุไว้ในภาคผนวก หรือเวอร์ชั่นอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเหล่านั้นสามารถอ่านเข้าใจได้เช่นเดียวกัน (ระดับ AAA)
3.1.6 การออกเสียงคำ (Pronunciation) สนับสนุนให้สามารถใช้กรรมวิธีในการบ่งชี้คุณสมบัติในการออกเสียงของคำ ที่มีความหมายคลุมเคลือ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการอ่านออกเสียง (ระดับ AAA)
แนวทางปฏิบัติที่ 3.2 ความสามารถในการคาดการณ์ได้ (Predictable) ต้องทำให้เว็บเพจแสดงและจัดการ ได้โดยผู้ใช้สามารถคาดการณ์ได้
3.2.1 เมื่อเกิดการโฟกัส (On Focus) เมื่อองค์ประกอบใดๆ ถูกโฟกัส องค์ประกอบนั้นจะต้องไม่เริ่มการเปลี่ยนแปลงบริบทใดๆ (ระดับ A)
3.2.2 เมื่อเกิดการอินพุท (On Input) การเปลี่ยนแปลงการกำหนดองค์ประกอบในการติดต่อกับผู้ใช้ใดๆ ต้องไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติอันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริบท เว้นแต่ว่าผู้ใช้ได้รับคำแนะนำถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้องค์ประกอบนั้นๆ (ระดับ A)
3.2.3 บริการนำร่องโดยสม่ำเสมอ (Consistent Navigation) สนับสนุนกรรมวิธีในการนำร่องที่ต้องเกิดขึ้นซ้ำๆ ในหลายๆ เว็บเพจในกลุ่มของเว็บเพจเดียวกัน ที่เกิดขึ้นในระดับความสัมพันธ์ที่เท่ากัน เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นโดยผู้ใช้ (ระดับ AA)
3.2.4 การบ่งชี้ตัวตนที่สอดคล้องกัน (Consistent Identification) ส่วนประกอบใดๆ ที่มีหน้าที่เช่นเดียวกัน ต้องสามารใช้เพื่อบ่งชี้ตัวตนที่สอดคล้องกันได้ (ระดับ AA)
3.2.5 การเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องการ (Change on Request) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงบริบท ที่เริ่มต้นดำเนินการใดๆ เมื่อผู้ใช้ต้องการ หรือกระบวนการใดๆ ที่ทำให้สามารถปิดบริการการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ (ระดับ AAA)

แนวทางปฏิบัติที่ 3.3 ข้อแนะนำในการการอินพุท (Input Assistance) ต้องช่วยเหลือให้ผู้ใช้งาน หลีกเลี่ยงความผิดพลาด และหากเกิดความผิดพลาดขึ้นให้ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นให้ถูกต้อง
3.3.1 การระบุข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Error Identification) หากตรวจจับได้ว่าเกิดความผิดพลาดใดๆ ในการอินพุท ต้องสามารถระบุสิ่งที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ และต้องสามารถอธิบายความผิดพลาดเหล่านั้นให้กับผู้ใช้งานได้รับทราบในรูปแบบตัวอักษร (ระดับ A)
3.3.2 การแสดงคำสั่งหรือข้อความ (Labels or Instructions) ระบบต้องสามารถแสดงคำสั่งหรือข้อความ เมื่อเนื้อหาเหล่านั้นต้องการให้ผู้ใช้ทำการอินพุท (ระดับ A)
3.3.3 ข้อแนะนำเมื่อเกิดความผิดพลาด (Error Suggestion) หากตรวจพบว่าเกิดความผิดพลาดในการอินพุท ระบบต้องสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้เพื่อแก้ไขความผิดพลาดให้ถูกต้อง (ระดับ AAA)
3.3.4 การป้องกันการเกิดความผิดพลาด (Error Prevention) (กฎหมาย การเงิน และข้อมูล) เว็บเพจใดๆ ที่มีผลต่อความผูกพันทางกฎหมาย หรือธุรกรรมทางการเงินของผู้ใช้งาน ที่ผู้ใช้สามารถทำการปรับเปลี่ยนหรือลบข้อมูลได้ด้วยตนเอง จากระบบฐานข้อมูล หรือทำการทดสอบการตอบสนองการใช้งานโดยผู้ใช้เองในลักษณะใดๆ จะต้องดำเนินการสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งสิ่ง
1. ความสามารถในการย้อนกลับ (Reversible) ต้องสามารถให้ทำการย้อนกลับการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้
2. การตรวจสอบ (Checked) ข้อมูลใดๆ ที่ถูกนำเข้าโดยผู้ใช้ ต้องได้รับการตรวจสอบความผิดพลาดในการอินพุท และผู้ใช้ต้องได้รับสารสนเทศเตือนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นให้ถูกต้อง
3. การรับรอง (Confirmed) ต้องมีกรรมวิธีแจ้งเตือนเพื่อการทบทวน การรับรอง และการแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนสิ้นสุดกระบวนการส่งข้อมูล
3.3.5 สนับสนุนความช่วยเหลือ (Help) เว็บเพจต้องสนับสนุนความช่วยเหลือใดๆ แก่ผู้ใช้แบบอ่อนไหวต่อบริบท
3.3.6 การป้องกันการเกิดความผิดพลาดโดยรวม (Error Prevention) เว็บเพจใดๆ ที่ต้องการให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูล ต้องดำเนินการอย่างน้อยหนึ่งสิ่งต่อไปนี้
1. ความสามารถในการย้อนกลับ (Reversible) ต้องสามารถให้ทำการย้อนกลับการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้
2. การตรวจสอบ (Checked) ข้อมูลใดๆ ที่ถูกนำเข้าโดยผู้ใช้ ต้องได้รับการตรวจสอบความผิดพลาดในการอินพุท และผู้ใช้ต้องได้รับสารสนเทศเตือนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นให้ถูกต้อง
3. การรับรอง (Confirmed) ต้องมีกรรมวิธีแจ้งเตือนเพื่อการทบทวน การรับรอง และการแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนสิ้นสุดกระบวนการส่งข้อมูล

หลักการพื้นฐานที่ 4 ความคงสภาพ (Robust) เนื้อหาต่างๆ ต้องมีความคงสภาพเพียงพอที่จะถูกแปลได้อย่างถูกต้อง จากการแปลโดยเครื่องและเทคโนโลยีใดๆ
แนวทางปฏิบัติที่ 4.1 ความสามารถในการเข้ากันได้ (Compatible) กับหลายระบบและกับเครื่องมือของผู้ใช้ ทั้งปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยในการใช้งานของผู้ใช้
4.1.1 การวิเคราะห์คำ (Parsing) สนับสนุนการวิเคราะห์คำ ข้อความ เนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นโดยภาษามาร์คอัพ ที่ประกอบไปด้วยแท็กเริ่มต้นและแท็กจบ เพื่อสามารถกำหนดคุณสมบัติให้กับตัวอักษร ข้อความ และเนื้อหาเหล่านั้น ทั้งนี้ต้องมี ID ไม่ซ้ำกัน
4.1.2 การกำหนดชื่อ (Name) หน้าที่ (Role) และ คุณสมบัติ (Value) สำหรับทุกองค์ประกอบที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ การกำหนดชื่อและบทบาท ต้องสามารถกำหนดได้ด้วยการโปรแกรมและต้องมีการแจ้งเตือนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้แก่ผู้ใช้งานทราบเสมอ แม้จะใช้เครื่องมือเพื่อช่วยเหลือการใช้งานใดๆ ด้วยก็ตาม
หมายเหตุ
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้พัฒนาเว็บ และเพื่อการสร้างเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ อาทิเช่น เครื่องมือควบคุมมาตรฐาน HTML จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานนี้

2.3.6 ความสอดคล้องในการใช้งาน (Conformance)
ในส่วนนี้จะได้อธิบายถึงกฏเกณฑ์ในการใช้งาน โดยรายการข้อกำหนดต่อไปนี้ เพื่ออธิบายความสอดคล้องในการใช้งาน ตาม WCAG 2.0 เพื่อการสร้างความสอดคล้องในการใช้งาน และอธิบายความหมายเทคโนโลยีการพัฒาเนื้อหาของเว็บ เพื่อรองรับความสามารถในการเข้าถึง ตามที่เทคโนโลยีเพื่อรองรับความสามารถในการเข้าถึงถูกใช้เพื่อความสอดคล้องในการใช้งาน
ข้อกำหนดเพื่อความสอดคล้องในการใช้งาน
เพื่อให้เว็บเพจมีความสอดคล้องในการใช้งานตาม WCAG 2.0 จึงจำเป็นต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้
1) ระดับในความสอดคล้อง (Conformance Level) โดยต้องเป็นไปตามระดับใดระดับหนึ่งดังต่อไปนี้
- ระดับ A ในระดับความสอดคล้องนี้ เป็นระดับต่ำสุด บ่งบอกถึงระดับความพึงพอใจต่ำสุดในการใช้งานเว็บเพจนั้น หรือต้องมีเวอร์ชั่นทางเลือกในการใช้งาน
- ระดับ AA ในระดับนี้ เป็นระดับความพึงพอใจที่อยู่ระหว่างระดับ A กับ AA โดยเป็นระดับที่สนับสนุนทางเลือกในการใช้งานอื่นๆ
- ระดับ AAA ในระดับนี้ เป็นระดับความพึงพอใจทั้งระดับ A และ AA รวมทั้ง AAA ซึ่งเป็นระดับความพึงพอใจสูงสุด สนับสนุนทางเลือกในการใช้งานที่หลากหลาย
2) ตลอดทั้งหน้า (Full pages) ความสอดคล้องในการใช้งาน เว็บแบบตลอดทั้งหน้าเท่านั้น ไม่รวมถึงการใช้งานแบบบางส่วน
3) กระบวนการเสร็จสมบูรณ์ (Complete processes) เมื่อลำดับในการนำเสนอเนื้อหาของเว็บเพจเป็นไปทีละขั้นตอน จำเป็นต้องให้กระบวนการในการทำงานตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้นก่อน
4) เทคโนโลยีสนับสนุนความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility-Supported Technologies Only) เฉพาะเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเข้าถึงเท่านั้นที่เป็นไปตามความพึงพอใจตามมาตรฐาน ทุกๆ ข้อมูลและหน้าที่การทำงานใดๆ ที่ถูกใช้งานด้วยเทคโนโลยี ที่ไม่สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึง ต้องสามารถถูกใช้งานผ่านเทคโนโลยีที่สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึงได้
5) การไม่ถูกแทรก (Non-Interference) หากเทคโนโลยีที่ไม่สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึง ถูกใช้ในเพจ หรือเทคโนโลยีที่สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึงถูกใช้ในแนวทางที่ไม่เหมือนกัน เทคโนโลยีเหล่านี้ต้องไม่ขัดขวางความสามารถในการเข้าถึงเพจต่างๆ ด้วยตัวผู้ใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งเว็บเพจจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1. เมื่อเทคโนโลยีใดๆ ที่ไม่สนับสนุนความสามารถในการเข้าถึง ต้องเปิดบริการให้สามารถใช้งานได้ในเครื่องมือเพื่อการใช้งานของผู้ใช้
2. และเมื่อคุณสมบัตินั้นถูกหยุดการใช้งานในเครื่องมือของผู้ใช้
3. เมื่อไม่รองรับการใช้งานโดยเครื่องมือของผู้ใช้

แปลจาก W3C




Create Date : 30 เมษายน 2552
Last Update : 30 เมษายน 2552 7:04:49 น. 0 comments
Counter : 353 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

auisuke
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add auisuke's blog to your web]