ความดีไม่จีรัง
มีกะตังค์ ซิยั่งยืน
Group Blog
 
All Blogs
 
พื้นที่น้ำแข็งลดลงกระตุ้นให้โลกร้อนขึ้น

พื้นที่น้ำแข็งลดลงกระตุ้นให้โลกร้อนขึ้น


นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า


“การหดตัวลงของพื้นที่น้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมในแถบอาร์คติค ทำให้การสะท้อนกลับของพลังงานแสงอาทิตย์กลับออกไปยังอวกาศลดลด
น้อยลงมากขึ้น ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น”


รายงานจากข้อมูลดาวเทียมที่รวบรวมระหว่างปี ค.ศ. 1979 - 2008 บ่งชี้ว่าน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง หิมะในแถบอาร์กติก และน้ำแข็ง
ของกรีนแลนด์สะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศได้น้อยลง ซึ่งการลดลงของพื้นที่สีขาวที่ช่วยสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์นี้ได้
เพิ่มพื้นที่ของน้ำและพื้นดินซึ่งทั้งคู่ดูดกลืนความร้อนได้มากกว่าพื้นที่สีขาว จากการศึกษาพบว่าน้ำแข็งและหิมะในซีกโลกเหนือขณะนี้ได้สะท้อน
พลังงานจากดวงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศด้านบนเพียง 3.3 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งลดลงจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ประมาณ 0.45
วัตต์ต่อตารางเมตร


มาร์ก แฟลนเนอร์ (Mark Flanner) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) และทีมคณะนักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาใน
ครั้งนี้ในวารสาร Nature Geoscience ว่าปรากฏการณ์การเย็นตัว (cooling effect) ที่ลดลงนี้ทำให้โลกต้องดูดกลืนปริมาณพลังงานแสง
อาทิตย์มากขึ้น ซึ่งการลดลงของการสะท้อนกลับพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวนี้มีมากกว่าในแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ในปัจจุบัน


ดร.แฟลนเนอร์ได้กล่าวถึงบทสรุปของการศึกษาว่า บริเวณไครโอสเฟียร์ (Cryosphere) หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะนั้นตอบ
สนองรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากกว่าที่คาดคิด ทั้งนี้ยิ่งมีพื้น
ดินและน้ำที่รับแสงแดดมากเท่าไร การดูดซับความร้อนยิ่งเร่งการละลายของหิมะและน้ำแข็งมากขึ้น โดยน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกที่ลดลงในช่วง
ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เป็นไปในทิศทางที่คณะนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของสหประชาชาติกล่าวโทษว่าเป็นผลกระทบหลักๆ จากก๊าซ
เรือนกระจกที่มนุษยชาติได้เผาผลาญพลังงานฟอสซิลในโรงงาน โรงไฟฟ้า และรถยนต์


นอกจากนี้หลาย ๆ การศึกษายังชี้ว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปหมดในช่วงฤดูร้อนของศตวรรษนี้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะทำลาย
วัฒนธรรมการล่าของชนพื้นเมือง และคุกคามหมีขั้วโลกกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ตลอดจนการเพิ่มปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดร.แฟลนเนอร์กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปถึงอัตราการละลายของน้ำแข็งในอนาคตจากการศึกษาในครั้งนี้ เพราะ
เป็นการศึกษาจากข้อมูลย้อนหลังกลับไปเพียง 30 ปีเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจัยอื่นนั้นรวมถึงเมฆที่จะมี
มากขึ้นบนโลกที่ร้อนขึ้นและจะกลายเป็นหลังคาสีขาวที่สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป หรืออาจจะมีไอน้ำที่มากขึ้นซึ่งดักจับความร้อนในชั้น
บรรยากาศ”


การศึกษาในครั้งนี้ประมาณการณ์ว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส หมายถึงน้ำแข็งและหิมะในซีกโลกเหนือลดการสะท้อน
พลังงานแสงอาทิตย์สู่อวกาศลงตารางเมตรละ 0.3 - 1.1 วัตต์ โดยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิในซีกโลกเหนือได้เพิ่มขึ้นแล้ว
ประมาณ 0.75 องศาเซลเซียส แต่ทีมวิจัยไม่ได้ศึกษาในส่วนของซีกโลกใต้ที่ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีปริมาณน้ำแข็งมากกว่า และยังหนาวจัด
กว่า อีกทั้งแสดงสัญญาณของผลกระทบจากโลกร้อนน้อยกว่าด้วย


มาร์ก แฟลนเนอร์ กล่าวปิดท้ายว่า “โดยภาพรวมแล้วโลกของเราดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีในอัตราประมาณ 240 วัตต์ต่อตาราง
เมตร และโลกจะดูดกลืนพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 3.3 วัตต์ เมื่อไม่มีพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะในซีกโลกเหนือ”


ที่มา : //www.manager.co.th


ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา


กรมอุตุนิยมวิทยา


24 ก.พ. 2554


 


 


ภาพแสดงการลดลงของทะเลน้ำแข็งบริเวณ ขั้วโลกแถบอาร์คติค เปรียบเทียบกับปี 1979 (เส้นสีแดง)


ภาพจาก : NASA & Natural Resources Defense Council




Create Date : 16 มีนาคม 2554
Last Update : 16 มีนาคม 2554 14:03:40 น. 0 comments
Counter : 318 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทำดีต่อไปนะคะ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทำดีต่อไปนะคะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.