ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๒๒๗-ความไม่สมดุล



หนึ่งปีกว่าแล้ว ที่ข้าพเจ้าห่างไกลจากสมาธิ แม้จะทำเสมอแต่ก็น้อยเหลือเกินที่จะได้ผล อย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีต มีคำถามเสมอ ๆ ว่าเราเป็นอะไรไป สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเราไปอย่างนั้นหรือ ทำไมเราจึงหย่อนยานในการปฏิบัติ...ข้าพเจ้าถามตอบ
ถามตอบตัวเองและคิดทบทวนไปมาอยู่เสมอ
บางครั้งก็โทษงานบ้าง เวลาบ้าง...แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุสำคัญแน่ ๆ
แล้วอะไรกันที่ทำให้การปฏิบัติอย่างเราถดถอยลง

"ความไม่สมดุล...?”

พระศาสดาตรัสกล่าวแก่ปัญจัควัคคีย์ไว้แล้วว่า ทางที่เป็นสายเอก ทางดำเนินแห่งการหลุดพ้น คือ ทางสายกลาง ได้แก่ ความไม่เอนเอียงไปในทางทรมาณร่างกาย(อัตตกิลมถานุโยค) และ ทางดำเนินที่ไม่บำรุงกามคุณมากเกินไป(กามสุขัลลิกานุโยค) ทุกอย่างอยู่ในความพอดี ทางดำเนินนั้น เรียกว่า มรรคมีองค์แปด


ทางดำเนินมรรคมีองค์แปดนี้ ตั้งต้นกันที่สัมมาทิฏฐิเป็นลำดับแรก ธรรมดาผู้ที่สนใจหรือออกปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมมีสัมมาทิฏฐิเป็นฐาน ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันในตอนแรก จะไม่ค่อยเข้าใจว่ามรรคแปดนี้ดำเนินกันอย่างไร ข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยเข้าใจ ปฏิบัติตอนแรกก็กระโดดขึ้นมานั่งสมาธิกันเดี๋ยวนั้นเลย ไม่มีทฤษฎี ไม่มีใครมาเกิ่นนำก่อน เรานั่งสมาธิก็ตั้งใจให้เกิดความสงบอย่างเดียว

แต่พอมาปฏิบัติธรรม และศีกษาในภายหลังจึงทราบว่า การดำเนินตามทางมรรคแปดประการนั้น เป็นหนทางที่จะนำเราเข้าไปสู่ขอบเขตแห่งอริยมรรคได้อย่างแท้จริง ต้องมีองค์ประกอบ ซึ่งมีหัวข้อใหญ่ดังนี้

สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ(ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา(การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ(ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ(ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)


ในทางปฏิบัติมรรค ๘ ประการจะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน หรือที่เราเข้าใจกันว่า เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มของมรรค ๘ อีกทีหนึ่ง ในกรณีที่การปฏิบัติเนิ่นช้านานนั้น ยังมีเหตุมีปัจจัยอีกหลายประการ หนึ่งในนั้นการสั่งสมอบรมบารมียังไม่แก่กล้าตามหัวข้อ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แปลง่าย ๆ ต้องมีการสำรวมในอินทรีย์ ทางกาย วาจา ใจ ไม่ถูกอกุศลครอบงำโดยง่าย(อินทรีย์ ๕) มีความเพียร(สัมมัปปธาน ๔) มีธรรมแห่งความสำเร็จ(อิทธิบาท ๔) ไม่หวั่นไหวในอกุศล(พละ ๕) มีธรรมอันเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ (โพชฌงค์ ๗) มีฐานที่มั่นของสติ (สติปัฏฐาน ๔) และ หนทางปฏิบัติแห่งความดับทุกข์ (มรรค ๘)เป็นต้น

หากทุกอย่างพร้อมแล้ว การก้าวย่างเข้าสู่อริยมรรคมีองค์แปด จึงเป็นทางดำเนินที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถทราบได้เอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินเข้าสู่ทางมรรค ผล จะมีเหตุ มีจุดทดสอบกำลังใจอย่างมาก ไม่ใช่นักปฏิบัติเมื่อปฏิบัติแล้ว จะสามารถฝ่าฟันจนเข้าถึงอริยมรรคได้เหมือนกันทุกคน เพราะแต่ละคนนั้นต่างอบรม ศีล ปัญญา สมาธิ มาในอดีตชาตินั้นไม่เท่ากัน

เหตุหนึ่งที่ทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า แม้ขาทั้งสองข้างก้าวหยั่งลงสู่ทางดำเนินแห่งความดับทุกข์แล้ว ข้อสำคัญข้อหนึ่งคือ ความไม่สมดุลกับระหว่างมรรค ๘ ในแต่ละข้อ หรือ แปลให้ง่ายขึ้นคือ ความไม่สมดุลกันของ ศีล สมาธิ ปัญญา

บุคคลผู้มีปัญญามาก แต่มักจะอ่อนแอการปฏิบัติในหัวข้อ ศีล สมาธิ เพราะเข้าใจว่า ปัญญาอย่างเดียวเท่านั้นจะสามารถนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ในที่นี้ไม่ใช่ว่าบุคคลนั้น ๆ จะไม่ปฏิบัติในหัวข้อ ศีล สมาธิ เพราะหากละเลยไปเสียแล้ว แสดงว่าปัญญานั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่ถูกต้อง เป็นปัญญาเทียม

บุคคลผู้เคร่งศีล ปฏิบัติข้อศีลอย่างเคร่งครัด จนขาดความเป็นธรรมชาติ และฝืนต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ (สีลัพพัตตปรามาส) ย่อมไม่อาจจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นอย่างบริบูรณ์ แต่กำลังของอำนาจศีลนี้เป็นเพียงฐาน ๆ หนึ่งของกำลังหนึ่งในสมาธิ และ สมาธิจะต่อยอดไปหาปัญญา แต่จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องใช้เวลาเนิ่นนาน ซึ่งบางครั้งหากแก้ไขไม่ได้ต้องปฏิบัติกันต่อเนื่องข้ามภพ ข้ามชาติไปเลยทีเดียว

บุคคลผู้ติดข้องในสมาธิ คือ การฝึกสมาธิเพียงอย่างเดียวไม่ได้ฝึกการเจริญปัญญา(หรือฝึกบ้างก็น้อยกว่า) หรือ ปฏิบัติในข้อศีลแต่ก็มีกำลังใจในการฝึกน้อยกว่าการปฏิบัติสมาธิ เช่นนี้เห็นปรากฎได้โดยมาก ได้แก่ผู้ที่ติดกับความสงบของสมาธิ การติดข้องในนิมิต ติดข้องในรูปฌาน อรูปฌาน ผู้ฝึกสมาธิที่เน้นความสงบมาก ๆ โดยไม่มีผู้แก้ไขให้ ย่อมอ่อนแอทางด้านปัญญา หากบ่อยไว้เนิ่นนานจะติดข้องอยู่ในสมาธิอย่างนั้น จะแก้ไขโดยยาก ยิ่งผู้ปฏิบัติที่ไม่มีได้ถือ ศีล ควบคู่กันไป แล้ว สมาธินั้นย่อมมีอานิสงส์น้อย มีความเสื่อมถอยได้โดยง่าย

เป็นการสรุปย่อ ๆ ครับ เพราะข้าพเจ้าเองก็กำลังปรับสร้างความสมดุลของมรรค ๘ เช่นกัน ยังทำไม่สำเร็จหรอกครับ เหตุที่เราฝึกปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ก็เพราะไม่มีความสมดุลอย่างที่กล่าวมา

หากปฏิบัติถูกต้องหัวข้อธรรมทุกข้อใน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งทุกหัวข้อธรรมจะเกื้อหนุนกันอย่างน่าประหลาด ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา สมถ วิปัสสนา

สิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนตัวขับเฝืองที่ขนาดต่างกัน ให้หมุนไปในทางทิศเดียวกัน เมื่อหมุนเฟืองทุกตัวสำเร็จ ก็จะมีกำลังส่งเราเข้าสู่เขตพระอริยบุคคลชั้นต้น และหมุนไปจนกระทั่งถึงฝั่งพระนิพพานได้ครับ

ขอขอบคุณรูปภาพงาม ๆ จาก //www.oknation.net มากมายครับ




Create Date : 26 มีนาคม 2553
Last Update : 26 มีนาคม 2553 7:38:50 น. 12 comments
Counter : 511 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะคุณอัส
พี่ก็กำลังเป็นอยู่เหมือนกัน
สิ่งที่เคยทำได้ ตอนนี้ไม่ได้
กำลังคิดว่าเราำกำลังหลงกับอะไรอยู่
จนหลงลืมปฎิบัติไปมั๊ยเนี้ย
กำลังทบทวนค่ะ


โดย: นุ่มณอ่อนนุช วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:7:50:58 น.  

 
ม จริงด้วยค่ะ มันไม่มีความสมดุลจริงๆ

ผู้มีปัญญามักอ่อนแอในการปฏิบัติ....
ผู้เคร่งศีล ปฏิบัติเคร่งครัด จนขาดความเป็นธรรมชาติ

สองอย่างนี้ชัดเจนทีเดียวค่ะคุณอัส คงต้องกลับมาทบทวนตัวเองให้จริงๆจังๆนะคะ

สวัสดีค่ะวันศุกร์แล้ว มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: ขมเตย วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:7:57:15 น.  

 
ศีล สมาธิ ปัญญา
ถ้าเราไม่ไปแยกส่วน
ในการปฏิบัติ
ผมว่าเขาก็มาพร้อมกันทั้งสามตัวเลย
มีหนึ่งก็มีสอง
มีสองก็มีสาม


ปล. งานหนังสือฯ
คงไม่ได้ลงไปแล้วล่ะครับ
งานรัดตัวเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:8:16:15 น.  

 

อ่านแล้วปัญญาบังเกิดกับเรามากขึ้น
ขอบคุณมากๆค่ะ



แวะไปวัดพระแก้วมาค่ะ..
ถ่ายรูปศิลปกรรมยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นสวยๆมาฝาก


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:10:39:48 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

มาอ่านเรื่องราวที่ดี ๆ ครับ

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:14:25:38 น.  

 
อยากแนะนำให้ศึกษา มหาจัตตารีสกสูตร พยายามอ่านให้เข้าใจ
ท่านได้แสดงวิธีปฏิบัติมรรค ๘ โดยละเอียด
และการปฏิบัติสัมมาสมาธิของพุทธด้วย


โดย: วิช IP: 222.123.36.62 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:22:04:06 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มีนาคม 2553 เวลา:7:21:09 น.  

 
เพิ่งกลับมาจากวัดค่ะ เอาบุญมาฝากนะคะ


โดย: ขมเตย วันที่: 27 มีนาคม 2553 เวลา:8:12:12 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 มีนาคม 2553 เวลา:6:57:02 น.  

 
มายิ้มทักเฉยๆ


โดย: ขมเตย วันที่: 28 มีนาคม 2553 เวลา:13:27:45 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:7:08:42 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณอัส


โดย: ขมเตย วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:7:14:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.