ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๓๓๐ - จิตผูก ผูกจิต




การนำจิตให้คล้อยตามกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เข้ามากระทบโดยความไม่รู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์นั้น ๆ ย่อมเป็นไปในการผูกตัณหา เป็นการนำไฟร้อน ๆ เข้ามาสุมยังบ้านคือเรือนใจให้ได้รับความร้อน ความกระวนกระวาย เมื่อสิ่งที่เคยกระทบนั้นไม่ได้สมดังใจหรือไม่ได้รับการตอบสนองที่ถูกใจ หรือเมื่อสิ่งเหล่านั้นได้พลัดพรากจากไปแล้ว จิตย่อมเกิดความทุกข์ และความเศร้าหมองเข้ามาเยือน เหตุนี้เองเพราะความไม่รู้เท่าทันแห่งการปรุงแต่งของรูปที่เข้ามากระทบ เมื่ออินทรีย์ยังอ่อนล้า พละยังอ่อนแรง การเลี่ยงต่อสิ่งเหล่านี้ได้ย่อมเป็นผลดีต่อการปฏิบัติธรรม

แต่หากเรายังไม่อาจจะมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่ดีพอ และยังต้องเผชิญต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงทางภายนอกและภายในอยู่ตลอดเวลา อย่างการใช้ชีวิตร่วมกับสังคมที่วุ่นวายในปัจจุบันเช่นนี้ ความลุ่มหลง หลงไหล ที่สิ่งที่ปรารถนา และการผลักไสในสิ่งที่ไม่ปรารถนา จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเชื่อขณะ ในช่วงที่กำลังประสบต่อสิ่งที่เข้ามากระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่


จิตที่เข้าไปผูกกับสิ่งที่เข้ามากระทบ เพราะไม่ทราบถึงความเป็นไป และการตอบสนองของกระบวนการที่เกิดขึ้น เหตุนั้นเนื่องจากจิตเกิดดับรับรู้สัมผัสได้อย่างรวดเร็วมากถึงมากที่สุด จนสติ ปัญญาของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลายไม่อาจจะเข้าไปแทรกกั้นระหว่างการสืบต่อได้ทัน นี่จึงเป็นที่มาของตัณหาและความลุ่มหลง เนื่องจากจิตเข้าไปผูกกับสิ่งที่เข้ามากระทบนานเกินไป การสร้างความมีตัวตนจึงเกิดขึ้นมา และค่อย ๆ ฝังแน่นเนื่องจวบจนวันสุดท้ายของชีวิต ตราบนั้นก็ยังไม่สามารถละอุปาทานความยึดมั่นในความเป็นตัวเป็นตนอยู่ สิ่งนี้จึงเป็นแรงดูดสำคัญทำให้สัตว์ทั้งหลายแสวงหาภพใหม่สร้างกระบวนการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในสังสารวัฏอย่างไม่รู้เบื่อ



ตัณหามีทั้งความยินดีในรสของกาม และรูปสัมผัสที่ชอบ และการผลักไสในสิ่งที่ไม่ชอบ มันก็วน ๆ เวียนอยู่อย่างนี้ มีความทุกข์บ้างสุขบ้าง บางครั้งก็เป็นความสุขแบบดิบ ๆ หมายถึง มันไม่ใช่ความสุขที่แท้ เป็นความสุขแบบแห้ง ๆ ไม่ช้าไม่นานก็จะถูกความทุกข์บางอย่างเข้าครอบงำ กลายเป็นความทุกข์ไป เมื่อมีความทุกข์มนุษย์ก็วนเวียนไขว่คว้าหาความสุขอีก เพื่อนำมาบรรเทาความทุกข์ที่เพิ่งเข้ามาเบียดเบียน แต่นั่นเป็นเพียงการบรรเทา แต่ไม่ใช่แนวทางแห่งการดับทุกข์อย่างแท้จริง ไม่ช้าปัญหาเช่นเดิมก็จะวนเกิดอีกครั้งอย่างแน่นอน

ในคราวที่พระพุทธเจ้าท่านไปเรียนวิชา อาฬารดาบส อุทกดาบส ท่านสำเร็จฌาณขั้นสูงสุด มีความสงบเยือกเย็นเหลือประมาณ ความทุกข์ในขณะที่อยู่ในฌาณไม่สามารถเข้ามาเยือนได้เลย แต่นั่นก็ยังไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์เป็นเครื่องบรรเทาชั่วคราวเท่านั้น

และเมื่อจิตของเราเข้าไปผูกกับสิ่งที่นำมากระทบอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวทางที่เราจะสามารถฝึกตัวเองให้ได้ นั่นคือการเรียนรู้การผูกจิต นั่งท่องเอาไว้เสมอ

"เมื่อจิตผูก....ก็ผูกจิต"


อย่าให้มันลุ่มหลงไปกับตัณหามากเกินไป ดั่งเช่น วัวพยศที่ชาวนาผูกไว้ มันย่อมกระวนกระวายในการดิ้นรน เพื่อความต้องการของมัน เช่น มันอยากอาหาร มันอยากไปหาวัวเพศเมีย มันอยากวิ่งเล่นมันอยากได้อิสระภาพ ฯ จิตของเรามันก็มีความอยากประเภทนี้เหมือนกัน แต่เราจะปล่อยวัวพยศนี้ไปโดยไม่ผูกไม่ดึงไว้บ้างไม่ได้ เพราะ เราก็จะไม่มีทางฝึกให้วัวตัวนี้ทำงานไถนาหรือใช้ลากเกวียนได้เลย ฉันใดก็ฉันนั้น จิตเราก็ต้องเรียนรู้ในการผูกไม่ให้หลงไปกับกิเลสไว้บ้าง เพื่อให้เราสามารถฝึกจิตที่กล้าแข็งต่ออกุศลมากขึ้น เมื่อใดที่มีสติระลึกรู้ว่ากำลังจะหลงไปในทางที่ไม่ดี ก็ดึงจิตกลับมาที่หลักคือสติ แรก ๆ เชือกที่ใช้ผูกก็จะมีความยาวหน่อย เพราะหากสั้นเกินไป จะมีความเครียดเกินไป ย่อมเป็นไปด้วยความเบื่อหน่ายสุดท้าย โอกาสที่จะคิดเลิกปฏิบัติจึงมีสูง

การผูกที่ดีคือต้องค่อยเป็นค่อยไป รู้ว่าจิตเรามันหลงอะไร และมันกำลังจะทำอะไรต่อไป ก็ปล่อยไปก่อน เมื่อถึงเวลาก็ดึงมันกลับมายังฐานที่ตั้งแห่งสติ เมื่อเกิดขึ้นมาอีกก็ดึงกลับมาอีก เป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ บางครั้ง เราอาจหลงเพลิดเพลินอยู่กับความคิดนานเป็นชั่วโมง (ปล่อยเชือกยาวไปหน่อย) ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะความกระทบกระทั่งของปุถุชนมีมาก และจัดการได้ยาก ตัวอย่างเช่น ตัวข้าพเจ้าเอง ซึ่งบางครั้งนั่งสมาธิแล้ว หลงอยู่กับความคิด บ้างก็เรื่องที่ชอบและไม่ชอบ มารู้ตัวอีกทีก็ครึ่งชั่วโมงไปแล้วเป็นต้น อย่างนี้เป็นความหลงที่ใช้ไม่ได้ (นักปฏิบัติอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง)

ที่เล่าให้ฟังนี้ก็เป็นแนวทางเล็ก ๆ สำหรับการเรียนรู้กับสิ่งที่เข้ามากกระทบ และไม่ให้จิตเราหลงไหลกับสิ่ง ๆ นั้นมากเกินไปจนเกินความจำเป็น เอาไว้เป็นอุบายในการปฏิบัติ ที่เขียนมานี้ก็เป็นของง่ายต่อการเขียน เป็นทฤษฏี แต่ท่านลองปฏิบัติดูจะรู้ว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายทีเดียว เพราะการวิ่งสังเกตุและไล่จับความคิดตัวเอง แล้วดึงกลับมาได้นี่...มันเหนื่อยไม่ใช่เล่นจริง ๆ

10 ภาพพัฒนาจิต จากเวบ thai.mindcyber.com เข้าไปอ่านแล้วชอบ ๆ และสอดคล้องกับเนื้อหาในบทนี้ เลยเอามา share กัน

และขอขอบคุณ รูปภาพงาม ๆ จาก //www.rayongphotoclub.com มากมายเช่นเคย ครับ
สารบัญ


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2554 21:07:42 น. 5 comments
Counter : 1083 Pageviews.

 


โดย: biocellulose วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:22:37:07 น.  

 
Goodnight ka^^


โดย: Nissan_n วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:23:22:31 น.  

 
แวะมาเยี่ยมชม ขอบคุณค่ะ.....................


โดย: tadatul วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:23:46:28 น.  

 
โหวตให้ในสาขาธรรมะครับน้องอัส
เขียนได้ดีครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา:5:04:41 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 พฤศจิกายน 2554 เวลา:5:29:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.