ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๔๗๘ - กฎของการกระทำ



โลกล้วนเต็มไปด้วยความทุกข์ หากเรามองเห็นความทุกข์ ย่อมเป็นพื้นฐานในการมองเห็นธรรม ธรรมคือความจริงของสรรพสิ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งภายในและภายนอก การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้มีการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการดับสิ้นไป มันเป็นวัฎจักรอยู่เช่นนี้ พุทธศาสนาสอนหลักการมองการคิดในสมการเหล่านี้ของชีวิต ซึ่งสามารถใช้ได้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วยเช่นกัน

สิ่งทั้งหลายที่มีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อเนื่องให้เกิดสิ่งหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น ความรู้สึกของเรา เรารู้สึกกับธรรมชาติภายนอกอย่างไร เราก็จะตอบสนองต่อธรรมชาติของสิ่งเร้านั้น ๆ ตามประสบการณ์ที่เราเรียนรู้มา ส่งผลให้เกิดการกระทำ มีทั้งดี ทั้งชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว บางอย่างก็ไปกระทบกับคนอื่น หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นภายนอก ก็เกิดเป็นกรรมทางกายภาพ คือ การกระทำ เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ผลของการกระทำมักจะย้อนกลับมาหาเราไม่ว่างทางใดก็ทางหนึ่ง

มันน่าแปลกที่ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทำไมเราจึงต้องรับผลกรรม ผลของการกระทำ

มีมากมายหลายคนที่นับถือศาสนาพุทธแต่ไม่ได้เคารพในการมีอยู่ในกฎของกรรม ที่คนรุ่นก่อนสอนกันต่อ ๆ กันมาว่า “ทำ(ความ)ดีได้ดี ทำ(ความ)ชั่วได้ชั่ว” มันเป็นคำสอนที่คลาสสิคคือ ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ในส่วนลึก ๆ ของคำสอนก็คือ บอกถึงการกระทำและผลของการกระทำในตัว

การแสวงหาที่ไปที่มาของกรรมและวิบากกรรม นั้นเป็นอจินไตย เป็นเรื่องเกินวิสัยของมนุษย์และสัตว์ทั่วไป พระพุทธเจ้าตรัสห้าม เพราะอาจจะทำให้เราฟุ่งซ่าน เสียสติ อาจจะเป็นบ้าไปได้ คำว่าเกินวิสัยก็คือ ญาณ(ปัญญา) ความรู้ อายตนะของสัตว์ทั่วไปมีขอบเขตจำกัด เช่น มนุษย์เราไม่สามารถมองเห็นอะไรในที่มืด เรามองเห็นและได้ยินได้ในระยะจำกัด ความถี่เสียงที่ได้ยินก็อยู่ในช่วงแคบ ๆ เรามองเห็นแสงไม่มีสี แต่ความจริงแสงประกอบด้วยสเปคตรัมของความถี่ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นสีต่าง ๆ มากมาย เราเห็นหลอดไฟนีออนสว่างนิ่ง ทั้งที่จริงมันติดดับสลับกันด้วยความถี่สูงจนตาเราตอบสนองไม่ทัน เป็นต้น

แต่พระพุทธองค์ก็ทรงสอนให้เราปฏิบัติในคำสอนที่ดีงาม และยอมรับในการมีอยู่ของวิบากกรรม ดั่งเช่นเงาที่ติดตามตัว เมื่อมีความเกิดย่อมมีกรรมที่ติดตัวมา และตอบสนองต่อกรรมในชาติภพปัจจุบัน เป็นห่วงโซ่แห่งความทุกข์เช่นนี้ ไม่มีคำว่าจบสิ้น หากเรายังไม่อาจหลุดพ้นได้

ความหลุดพ้นนี้จะหมายถึงนิพพานตามที่บัญญัติของพุทธศาสนาก็ได้ มันอาจจะเป็นการหลุดออกจากกรอบอ้างอิงหนึ่ง(วัฏฏะสงสาร)ซึ่งมีพลังมหาศาลไปยังอีกกรอบอ้างอิงหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การดับสูญอย่างที่ทุกคนเข้าใจแน่นอน ในกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าอ่านจากตำราซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ความหมายของนิพพาน คือ ความดับสิ้นแห่งกิเลส เพราะกิเลสเป็นตัวชักพาให้มีความเกิด เมื่อไม่มีความเกิดก็ย่อมไม่มีความทุกข์

สภาวะนิพพานจึงเป็นสภาวะที่จิตหลุดจากกรอบอ้างอิงหนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่ง แต่ไม่เหมือนกับการย้ายภพ(แดนเกิด) เพราะภพก็ยังเป็นหน่วยย่อยของวัฏฏะ ส่วนกรอบอ้างอิงที่ว่าจะเป็นอย่างไรนั้นก็เกิดวิสัยของข้าพเจ้าจะอธิบายได้ พระพุทธเจ้าเคยเปรียบเทียบนิพพานดังมหาสมุทรใหญ่ ที่แม่น้ำทั้งหลายไหลลงสู่ ไม่มีวันเต็ม วันพร่อง อาจจะพออนุมานได้ว่า สภาวะนิพพานนั้น มีอยู่ แต่มันคงไม่ใช่สถานที่ เป็นภพ ในแบบที่เราคุ้นเคย...แน่แท้


Thank you image from '//hdnaturewall.com/wallpaper
/2015/07/rainbow-wallpaper-border-32-cool-wallpaper.jpg'



Create Date : 08 มกราคม 2559
Last Update : 8 มกราคม 2559 8:05:31 น. 1 comments
Counter : 697 Pageviews.

 
อัสติสะ Dharma Blog ดู Blog
โลกมันเต็มไปด้วยความทุกข์จริงๆขอรับ


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 8 มกราคม 2559 เวลา:9:17:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.