Micro-controller be advanced for Information Technology !!!

ต้นแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากน้ำฝน

สิ่งประดิษฐ์นี้มีคำขออนุสิทธิบัตรเลขที่ 0803001503



ภาพต้นแบบที่ 1 ขณะทำการทดลอง

ฝนตกไฟดับเนื่องจากสาเหตุใดๆ เราไม่ต้องอยู่ในความมืดอีกต่อไปเนื่องจากได้มีความคิดในการนำฝนที่ตกลงมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยทางทีมงานกำลังเร่งวิจัยและพัฒนา



ภาพต้นแบบรุ่นที่ 2



หลักการทำงานของเครื่องฯคือรวบรวมน้ำฝนจากหลังคาหรือน้ำไหลต่างๆเช่น น้ำทิ้งจากโรงงานหรือบริเวณที่มีน้ำไหลตลอดเวลาเช่น น้ำตก ไหลลงมาผลักกังหันเพื่อให้ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 12Vแล้วจึงแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) 220V ด้วยเครื่อง Inverter ในการแจกไฟฟ้าให้กับเครื่องไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า พัดลม



สูตรพลังงานไฟฟ้า: W = V x I [วัตต์= ความต่างศักดิ์ (volt) x กระแสไฟฟ้า (Amp.)]



ประสิทธิภาพของเครื่องฯ

-น้ำไหลลงจากรางน้ำ้ประมาณ 3400 Liter/Hour เฉลี่ยได้ไฟฟ้า 6 Watt จาก 12 Volt x 0.5 Amp


https://www.youtube.com/watch?v=G4PfCKu7R5c&feature=player_embedded
คลิปบันทึกในรายการ Energy Update เกี่ยวกับการทำงานของเครื่่องฯ ที่ได้นำไปแสดงในงานวันนักประดิษฐ์




 

Create Date : 12 กันยายน 2553   
Last Update : 12 กันยายน 2553 22:55:30 น.   
Counter : 3354 Pageviews.  

แอร์คอนดิชั่นสร้างความเย็นอย่างไร

ทั้งในเรื่องของความจำเป็นใช้งานและระบบการทำงาน นั่นคือการทำอากาศร้อน ๆ ให้กลายเป็นเย็นฉ่ำชื่นใจ เนื้อที่น้อย ๆ เช่นนี้ขอเล่าเรื่องการทำงานของแอร์คอนดิชั่นไว้พอประดับความรู้สึกเล็กน้อย

การทำงานแบบคร่าวๆ ของระบบปรับอากาศในรถยนต์จะมีอุปกรณ์อยู่หลายชิ้นเหมือนกันโดยแต่ละชิ้นส่วนก็มีหน้าที่ดังนี้

คอมเพรสเซอร์ จะอัดสารทำความเย็นในสถานะก๊าซให้มีอุหภูมิและความดันสูง
สารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) เป็นก๊าซที่ถูกอัดให้มีความดันสูงจะไหลไปยังคอนเด็นเซอร์ ภายในคอนเด็นเซอร์ สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซจะควบแน่นเปลี่ยนไปเป็นของเหลว
สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะไหลไปยังรีซีฟเวอร์/ดรายแอร์ซึ่งทำหน้าที่เก็บและกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากสารทำความเย็น

สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวที่ถูกกรองด้วยรีซีฟเวอร์ ดรายแอร์แล้วจะไหลต่อไปยังเอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว และเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วจะทำให้อุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นลดต่ำลง และออกจากเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วในสถานะของเหลวความดันต่ำความดันต่ำจะไหลไปที่อีวาโปเรเตอร์ (หรือที่เรียกกันว่า ตู้แอร์) ความร้อนของอากาศที่อยู่รอบ ๆ จะถูกส่งผ่านไปที่ครีบและท่อของอีวาโปเรเตอร์ และผ่านไปยังสารทำความเย็นเพื่อนำเอาความเย็นจากของเหลวความดันต่ำสู่ห้องโดยสาร ขณะเดียวกันภายในอีวาโปเรเตอร์ของเหลวความดันต่ำก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซอีกครั้งไหลไปยังคอมเพรสเซอร์

อุปกรณ์หลัก ๆ คือ คอมเพรสเซอร์ (คอมแอร์) คอนเด็นเซอร์ (คอยล์ร้อน) รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว อีวาโปเรเตอร์ (คอยล์เย็น) และสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์)

จะขอกล่าวในส่วนของน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ ซึ่งมีคนแปลกใจอยู่บ่อย ๆ ว่า ในคอมเพรสเซอร์นี่ต้องมีน้ำมันด้วยหรือ แล้วมันต้องมีการเปลี่ยนถ่ายด้วยหรือเปล่า ต้องเปลี่ยนที่ระยะเท่าไร

น้ำมันคอมเพรสเซอร์มีความจำเป็นในการหล่อลื่นชิ้นส่วนเคลื่อนที่ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ มันจะรวมตัวกับสารทำความเย็นแล้วไหลเวียนผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบปรับอากาศ น้ำมันคอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับสารทำความเย็น R-12 และ R-134 a ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ หากมีการใช้น้ำมันผิดประเภทจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ เพราะน้ำมันคอมเพรสเซอร์ของสารทำความเย็นทั้งสองตัวจะไม่รวมตัวกัน หากใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้การไหลเวียนของน้ำมันไม่ดีเท่าที่ควร

ระยะเวลาที่แน่นอนของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ไม่เคยมีระบุไว้ นั่นคือต้องอ้างอิงจากการใช้งานจริง หากระบบไม่มีการรั่วซึมและตราบใดที่แอร์ยังเย็นเป็นปกติเรื่องของน้ำมันนี้คงไม่น่าวิตกเพราะเมื่อมีการเติมน้ำมันยาแอร์หรือเมื่อมีการตรวจซ่อมระบบปรับอากาศครั้งใดที่น้ำยาแอร์จะต้องระเหยออกสู่บรรยากาศ ช่างผู้ซ่อมจะต้องตรวจระดับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ให้อยู่แล้ว

เมื่อระบบปรับอากาศถูกเปิดสารทำความเย็นจะระเหย แต่น้ำมันคอมไม่ระเหย ปริมาณเกือบทั้งหมดจะยังอยู่ในระบบ เมื่อซ่อมหรือเปลี่ยนตัวอุปกรณ์เสร็จแล้วจะต้องเติมเพื่อเพิ่มเข้าไปให้อยู่ในปริมาณที่พอดี เช่นถ้ามีการถอดเปลี่ยนดรายแอร์ น้ำมันคอมเพรส เซอร์จะพร่องไปสักประมาณ 10-20 cm คอนเด็นเซอร์จะพร่องประมาณ 40-50 cm เป็นต้น (ถ้าน้ำมันคอมเพรสเซอร์น้อยไปจะไม่เพียงพอต่อการหล่อลื่น และถ้ามากไปจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำความเย็น)

แต่ถ้ารถใครระบบปรับอากาศไม่เคยมีปัญหาใดๆและตั้งแต่ซื้อมาใช้ไปหลายหมื่นหรือเป็นแสนกิโลเมตรแล้ว แม้แต่น้ำยาก็ยังไม่เคยเติมเลยคิดจะทำการเปลี่ยนถ่ายล้างระบบบ้างก็เป็นการดี เป็นการเอาเศษโลหะออกจากระบบก่อนที่มันจะไปสร้างปัญหาในด้านอื่น ๆ ให้ปวดหัว

อ้างอิงจากข้อมูล : นิตยสาร ยานยนต์




 

Create Date : 12 กันยายน 2553   
Last Update : 12 กันยายน 2553 22:43:40 น.   
Counter : 1260 Pageviews.  


artchula66
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีทุกท่านที่หลงเข้ามาดู เหอะ ๆ ถ้าชอบใจบล็อคนี้ ขอคุยหลังไมค์ได้นะ
Since 1998 much more ..
[Add artchula66's blog to your web]