สู้ สู้ เท่านั้น สู้แล้วรวย
Group Blog
 
All blogs
 

REVIEW GITANE D 500 GYBSY JAZZ GUITAR

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมนะครับเจอกันอีกครั้งในต้นเดือนมิถุนายน อากาศเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่าปวดหัวจริง ๆ คงต้องหลบไปพักร้อนที่ทะเลซักหน่อยแล้ว ในREVIEW & TEST ในตอนนี้อยากแนะนำกีตาร์อคูสติกตัวนึงที่ผมเห็นว่ามันแปลกดี น่าจะมีตัวเดียวในเมืองไทยในตอนนี้ เท่าที่ผมทราบนะ โดยเพื่อนรุ่นพี่ของผมสั่งเข้ามาโดยผ่านร้าน PETERSON ตรงถนนสุขุมวิท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 เดือน เจ้า GITANE D-500 ก็เดินทางจากอเมริกาถึงเมืองไทย รุ่นพี่ของผมคนนี้เป็นคนที่คลั่งไคล้ DJANGO มาก ๆ เขาพยายามใช้กีตาร์ HOLOW BODY เล่นกีตาร์ STYLE GYBSY JAZZ เสียงที่ออกมาก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจเลย จนกระทั่งเจ้า GITANE D-500 เดินทางมาถึงเมืองไทย ก็พบว่าเสียงที่ออกมาจากการสับคอร์ด STYLE GYBSY เหมือนมาก มีลักษณะเฉพาะตัว โดยตัวนี้ส่วนมากจะใช้ในการเล่น CHORD อย่างเดียว โดยSOUND HOLE ของตัวกีตาร์เป็นรูปตัว D ส่วนกีตาร์ GYBSY ที่ใช้ในการ SOLO จะเป็นอีกตัว ซึ่งจะมา REVIEW ในคราวถัดไป เพราะมันกำลังเดินทางมาอีกเช่นเดียวกัน
GITANE D-500 ตัวนี้ไม้ด้านหน้าเป็น SOLID SPRUCE TOP ส่วนไม้ด้านข้างและหลังเป็น LAMINATED ROSEWOOD สเกลของคอยาว 25 ½” คอทำจากมะฮอกกานี ประกบด้วย ไม้ EBONY FINGERBOARD มี 21 เฟร็ต SLOTTED HEADSTOCK เป็นแบบ CLASSICAL STYLE มี BINDING ที่เดินรอบลำตัว ที่ทำจาก EBONY ส่วน NUT ทำจากกระดูก และมีZERO FRET เจ้าGITANE ตัวนี้เชื่อมต่อคอกับ BODY ที่เฟร็ตที่ 12 ตามสไตล์ดั้งเดิม BRIDGE เป็นลักษณะของ FLOATING BRIDGE แบบเดียวกับกีตาร์ HOLLOW BODY ทำให้แตกต่างจากกีตาร์โปร่งทั่วไปที่เป็น FIXED BRIDGE
ผมลองสับคอร์ดดูโดยพยายามใช้คอร์ดประเภท MAJOR 6 MINOR 6 ซึ่งพวก GYBSY ชอบใช้ พบว่าเสียงที่ได้ WARM ดีมาก เสียงที่ออกมามีลักษณะเฉพาะจริง ๆ อยากให้คุณลองไปหาฟังงานของ DJANGO ,ROSENBERG TRIO, ROBIN NOLAN เพราะเสียงของ GITANE D-500 ตัวนี้เหมือนเสียงที่สับ CHORD ใน CD เปี๊ยบเลย
การตีคอร์ดเสียงที่ออกมาชัดเป็นตัวไม่มี OVERTONE การตอบสนองของเสียงเร็วกว่ากีตาร์โปร่งทั่ว ๆ ไป
เหมาะกับการตีคอร์ดแบบเร็ว ๆ ซึ่งเป็นหัวใจของดนตรี STYLE GYBSY JAZZ ยิ่งดีดแรงยิ่งตอบสนองแรง
ZERO FRET จะทำให้เสียงสายเปล่าคมชัดใสขึ้น D HOLE ตรงROSSETE ทำจาก EBONY ส่วนของ BRACING การขึ้นโครงกีตาร์เป็นแบบขนาน แตกต่างจากกีตาร์โปร่งทั่วไปเป็นรูป X ซึ่งของ D-500 เรียกว่า LADDER BRACING ในส่วนของสายกีตาร์ใช้สายยี่ห้อ SAVAREZ ARGENTINE ( .11 - .46) ทำในฝรั่งเศส ลักษณะเป็นสายเหล็กพันด้วยทองแดงเคลือบด้วยเงินบาง ๆ ราคาชุดละ 300 บาท
กีตาร์ GITANE D-500 ตัวนี้ COPY กีตาร์ SELMER MACCAFERI ที่ผลิดโดยบริษัท SELMER ของฝรั่งเศส ระหว่างปี 1932 –1952 ซึ่งมีไม่เกิน 5000 ตัว ซึ่งแต่ละตัวราคาเกิน 50,000 $ ขึ้นไป ซึ่ง DJANGO มือกีตาร์GYBSYชาวเบลเยี่ยมใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้
สำหรับ PICK ตัองมีคุณลักษณะเฉพาะ จะต้องมีรอยบากเพื่อให้กระชับเวลาเล่น CHORD หรือ SOLO ซึ่งรอยบากนี้ถูกทำมาสำหรับคนที่ถนัดขวาเท่านั้น ถ้าคนถนัดซ้ายก็ต้องสั่งทำเฉพาะคนถนัดซ้ายเท่านั้น รอยบากนี้จะทำให้ปิ๊คไม่หลุดออกจากมือง่ายเมื่อจะต้องเล่นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง PICK นี้ต้องแข็งแรงมากเพื่อไม่ให้พังพินาศไปใน 1 ปี ในสมัยก่อนพวกยิปซีจึงนำกระดองเต่ามาทำเป็น PICK แต่ต่อมาพวกอนุรักษ์เต่าทะเลไม่ยอมให้นำมาใช้ จึงมีการคิดวัสดุผสมขึ้นมา

สำหรับ PICK ที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เป็น PICK ที่ทำจากวัสดุผสมยี่ห้อ WEGEN PICK ของนาย MICHAEL WEGEN ชาวฮอลแลนด์ ซึ่งรุ่นพี่ของผมส่งน้ำปลาทิพรส และเครื่องเทศ ส่งข้ามประเทศ แลกมาได้ 2 อัน ซึ่งจริง ๆ แล้วราคาอันละ 900 บาท เจ้า WEGEN PICK นี้มีขนาดหนาประมาณ 3 mm. มองไกล ๆ เหมือนสบู่ ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่าเล่น 1 ปี ไม่สึก (จะสึกได้ยังไง มันหนามาก หนากว่าPICKของพี่กิตติ กีตาร์ปืนอีก) สำหรับคนไทยถ้าหาไม่ได้ก็ให้ใช้ JIM DUNLOP รุ่น BIG STUBBY ก็พอทดแทนได้ สำหรับตัวผมต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวให้เข้ากับ PICK รุ่นนี้ แต่ไม่ต้องรีบร้อนอะไร เพราะกว่าที่คุณจะเล่นได้เหมือนกับ DJANGO คุณอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 30 ปี




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2550    
Last Update : 9 มิถุนายน 2550 8:54:55 น.
Counter : 846 Pageviews.  

คุยกะกอล์ฟ ทีโบน ตอนที่1นะ

สวัสดีครับ เจอกันครั้งนี้เป็นครั้งแรกนะครับสำหรับบล็อคของผม ก็เช่นเดิมผมก็เอาบทสัมพาดที่เคยคุยไว้ก่อนๆมาลงก่อนนะ ไว้รวบรวมข้อมูลได้ใหม่และความขี้เกีบจลดลงจะไปคุยกะคนอื่นๆอีกนะครับ
คนแรกที่จะเอ่ยถึงคือคนนี้ พี่กอล์ฟ นครินทร์ ธีระภินันท์ แห่งวงที-โบน นั่นเอง เป็นผู้ที่มีเครดิต ทางดนตรีมากมายทั้งเป็นคนเบื้องหน้าและเบื้องหลัง พี่กอล์ฟไม่ได้
มีความสามารถแต่ทางกีตาร์เท่านั้นยังมีความสามารถในการแต่งเพลงเรียบเรียง
เพลงและเป็น Producer ให้กับศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย ผมหวังว่าบทสัมภาษณ์นี้จะมีประโยชน์ให้กับมือกีตาร์ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่ารวมถึงผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อยนะครับ


ขอบคุณพี่เป้ (ธาริณี ทิวารี) สำหรับน้ำ และ ขนม ตลอดการสัมภาษณ์ และ ที่ขาดไม่ได้
คือประชาสัมพันธ์ของบ้าน นาย Mojo นาย Boo และ นางสาว Buckley ที่ทำให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้เป็นไปอย่าง
สนุกสนานตลอดเวลา

APPLE : สวัสดีครับ พี่กอล์ฟ
พี่กอล์ฟ : สวัสดีครับ

APPLE : อยากให้พี่ช่วยเล่าประวัติการเริ่มเล่นดนตรีของพี่หน่อยครับ
พี่กอล์ฟ : ผมเริ่มเล่นดนตรีมาตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ โดยแก็ปเป็นคนสอนเล่นกีตาร์ เล่นได้ประมาณ 3 เดือน
กีตาร์ถูกขโมย เลยต้องหยุดเล่นไปประมาณ 1 ปี แล้วก็มาเริ่มเล่นกีตาร์ใหม่แต่ไม่ได้จริงจังอะไรถึงขั้นต้องไปเรียน
จากนั้นรู้จักมือเบสคนนึงที่ชอบเล่นพวก Blues มากเขาต้องการมือกีตาร์มาเล่นกับเขา เขาก็ไปซื้อหนังสือ Blues
Guitar มาให้แล้วเค้าก็ ให้ผมมาหัดตีคอร์ดให้เค้า คือไม่ใช่เราไม่เคยเปิดหนังสือเพลงแล้วตีคอร์ดตามเลยนะ เคย
เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ ไปสนใจทางเพลง ประเภทพวกที่พ่อชอบฟัง พวกผิวดำ ประมาณ
Loius Armstrong อะไรพวกนี้เลยได้รับอิทธพลจากตรงนั้นเยอะมาก แต่เราไม่รู้เลยนะจนกระทั่งโตเนี่ยแหละ
เพราะเราได้ยินเพลงพวกนี้ทุกวัน จนมันเป็นเรื่องธรรมดา มาเริ่มเรียนกีตาร์จริง ก็ตอนที่อยู่ช่างศิลป์อาจารย์
คนแรกที่เรียนกีตาร์คืออาจารย์ เฒ่า(สำราญ ทองตัน) ตอนนี้ท่านอยู่ที่ภูเก็ต เพราะอาจารย์คนนี้นี่แหละที่ทำให้เราไป
ถูกทางเลย วิธีสอนของท่านก็คือ สมมติว่าเรียนเพลง Blue Monk อยู่ท่านจะให้เทปมา 1 ม้วนภายในบรรจุด้วย
เพลง Blue Monk ใน Version ต่างๆ ของหลากหลายศิลปินทำให้เราเข้าใจว่า แค่อาศัย Form ของดนตรีที่
ทำให้ทุกอย่างอยู่ด้วยกัน แต่ Skill การคิดขึ้นอยู่กับคนเล่นของแต่ละคนเราก็ฝึกอย่างนี้มาตลอด คือชอบทางนี้ด้วย
หลังจากนั้นก็ได้เรียนกับอาจารย์ ประทักษ์ ได้พักนึง ก็ไปเรียนกับอาจารย์ สมเจตน์ เรียนได้นิดนึงแกก็ไล่ไมให้มาเรียนเพราะผมฝึกที่แกสอนได้หมดเลยแกก็บอกว่าจะเรียนทำไมเสียตังค์เปล่า ไปฝึกเองที่บ้านดีกว่า จากนั้นก็มาฝึกเองที่บ้าน
โดยข้อมูลที่ได้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Jazz กับ Blues ข่าว, อัลบั้ม, ประวัติ จะได้จากนิตยสาร Down Beat มือกีตาร์ ที่ชอบตอนนั้นก็จะเป็นพวก Mike Stern, Jim HaLL, Pat Metheny พวกนี้เราจะฟังตั้งแต่จบกรุงเทพคริสเตียน สมัยเทปPeacock น่ะ ตอนนั้นในหัวมีแต่ Jazz อย่างเดียวเลยจนกระทั่งมาทำวง T- Bone เนี่ยแหละตอนนั้นเล่นอยู่ตาม
Guest House ฝรั่ง เพื่อนๆจะหาว่าเราเชยมากเลยนะ ที่มาเล่น Jazz ดูว่าเราน่าเบื่อ ไม่เคยสนใจพวกเสียงแตก
เลยนะ Jazz ล้วนแต่กีตาร์กับแอมป์ เราก็รู้สึกว่าแค่นี้มีเสน่ห์แล้ว หลังจากนั้นมาเล่นที่ Saxophone Pub ปีแรกที่เขาเปิด ประมาณ 11 ปีแล้วเขา Audition มือกีตาร์ ผมก็ได้ไปเล่นกับเค้า ซ้อมได้ประมาณซักเดือนได้มั๊ง เค้าไล่ออก
เค้าบอกว่าไม่เห็นจะเป็น Rock เลยคือเราเสียใจมากเลยนะ ประชุมกันเครียดเลยนะ เหตุผลที่ไล่ออก คือเราผมสั้น
ชอบใส่เสื้อ ขาว กางเกงสีกากีรวมแล้วคือเหมือนพวกข้าราชการมาเล่นดนตรี ไม่เข้าถึงพวกเค้า เพราะทุกคนผมยาวหมด แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีนะ ทำให้เรารู้ว่า เนี่ยรึ คือสิ่งที่เขาคิด คือมันจะมีนักดนตรีอยู่ประเภทนึงที่หลงไหลกับสิ่งที่ตัวเองแกะมาและเทิดทูนอยู่กับสิ่งนั้น แต่พอเวลาที่มันเป็น Character ของคนๆนั้นเล่น ออกมาน่ะ เค้ารับไม่ได้
เพราะเป็นสิ่งที่เค้าไม่เคยได้ยิน ซึ่งไอ้ตรงนั้นมันเป็นสิ่งซึ่งผมได้จากการเรียนศิลปะ ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเป็นการภูมิใจมากกว่าถ้าเรามีอะไรๆเป็นของตนเองแต่ไม่ใช่ยืมเลยนะยืมแต่เรามาทำให้เป็นอีกอย่างนึง คือเราทำพวกนี้ก็เป็นแต่ก็พัฒนาตัวเองด้วยเช่นมีเทคนิคบางประเภทที่เล่นไม่ได้ เราก็มาหาวิธีเล่นให้ได้ หลังจากนั้นก็มาทำวง T-Boneทำเพราะจะเอาชนะไอ้คำพูดที่ว่าไอ้เด็กพวกเด็กเรียบร้อยมันเล่นเพลงพวกนี้ไม่ได้ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เราเรียนศิลปะ แต่ไม่ได้สนใจเรียนเท่าไหมุ่งทางกีตาร์ ช่วงระหว่างเลือกเรียนกับเลือกกีตาร์ ตอนนั้นก็ใช้เวลาเลือกเหมือนกันนะเพราะถ้าจะทำให้ดีต้องเลือกเอาอย่างเดียว สุดท้ายก็เลือกดนตรี แล้วก็หาคนมาทำวง T-Bone เล่นเพลง Blue แบบBlue Rock เล่นตามตรอกข้าวสาร งานดนตรีเรียกได้ว่างานไหนมีดนตรีไปเล่นหมด ส่วนใหญ่ไมได้ตังค์ ส่วนใหญ่ได้กินน้ำ ด้วยความที่เล่นบ่อยทำให้กระแสมันดีเฉยเลย ตอนนั้นตื่นเต้นมากเลยมีเสียงแตกตัวแรก กับ Flanger ไม่ได้ซื้อด้วยนะคนที่เล่นด้วยกันเค้าทนไม่ได้เค้าเลยมาให้ใช้ จากนั้นก็ไปเล่นที่ Blue Moon ก็เริ่มคิดที่จะไปเรียนดนตรีที่อเมริกา โดยช่วงนั้นฝึกประมาณ 6-8ชั่วโมง ตื่นมาฝึกเลยเหมือนทหาร พอออกไปเล่น ใครๆว่าอะไรเราก็จดไว้เลยแล้วก็ฝึกไว้ตรงนั้นน่ะ ไอ้ Realbook เนี่ยผมได้มาวันแรกดีใจมากเลยเพลงมันเพราะมากเล่นกับเพื่อน 2 คน คนนึงเล่นคอร์ด คนนึง Improvise สลับกันไปมาก็เริ่มขอข้อมูลจากโรงเรียนดนตรีในอเมริกา คือผมมีครอบครัวอยู่ที่อเมริกาเค้าก็ส่งข้อมูลมาให้ว่าต้องทำยังไงถึงจะได้ไปเรียนที่ รร.ดนตรีในอเมริกา แต่ช่วงนั้นผมก็ไปเรียนกับอ.วิชัย เที่ยงสุรินทร์คนนี้สุดยอดคือสิ่งที่ได้จากอาจารย์ น่ะคือแกทะลุหมดเลยรู้จริงทุกอย่างเป็นครูที่ดีมากต่อมาก่อนที่ ผมจะไปเรียนดนตรีผมก็ไปเรียนภาษาเพิ่มที่แถวๆ Newyork ก่อนเพราะมันยังไม่ถึงเวลาเรียนและบ้านที่ผมอยู่ที่โน่นมันจะเป็นที่รวมของคนหลายเชื้อชาติมากทั้งฃอย พอเดินออกจากซอยก็เป็น Count Basie Hall ครั้งแรกเลยก็ได้ดู Scott Handerson ตอนแรกก็ยังไม่รู้จักว่าเค้าคือใคร แต่เคยเห็นคนคนนี้ใน Guitar World เค้าเขียนคอลัมน์อยู่แต่ไม่เคยฟังงานเค้า พอได้ดูตรงนั้นมันเปลี่ยนทุกอย่างที่เรามองหมดเลย เค้าเก่งมากแล้วสิ่งที่ประทับใจมากคือวิธี Solo คือมันมันส์มาก คือมันเหมือน Rock มันเหมือน Blues Jazz ตอนนั้นเราก็เริ่มเป๋แล้วว่าทำไมเราไม่ไปเรียนกับคนอย่างนี้เลย ได้ดูบ่อย
มากเพราะมีมาเล่นทุกอาทิตย์เลย ก็ดูมาเรื่อยๆ เลยที่ Count Basie Hall จนกระทั่งได้ดูวง All Star ของ
Newengland Consevertary ซึ่งเป็นโรงเรียนดนตรีใน Boston เป็นเด็กปีสุดท้ายที่เก่ง ๆ มารวมกัน มีมือกีตาร์คน
นึงประทับใจมากเล่นได้มันส์มาก มันส์กว่า Scott Handerson เค้าชื่อว่า David Fluczynzki พอเค้าเลิกเล่นก็เลยไปคุยกับเค้าถามว่ารับสอนรึเปล่า เท่านั้นล่ะ ไปเรียนที่ Boston กับเค้าเลยก็เรียนๆ หยุด มีตังค์ก็ไปเรียนกับเค้า ตอนนั้นก็หยุดเรียนที่ โรงเรียนดนตรี ทุกอย่างไปเรียนกับ David ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ ได้ดูดนตรีเยอะมากแต่ตอนนั้นชอบSound ของพวก NEWYORK มัน Dark มากเลยชอบอะไรที่มันอึดอัดน่ะ ไม่ชอบ Bright ทาง LA. เพราะมันจ้าไปหลังจากนั้นก็กลับมาที่เมืองไทยได้ข่าวว่ามีอาจารย์คนนึงสอนกีตาร์ Jazz Style Tradition ได้เจ๋งมาก เล่นเจ๋งมากก็ไปเรียนกับแกมีสิ่งหนึ่งที่ตลกมาเลยคือเวลาที่เรียน Jazz ที่อเมริกาเรานับ 2/4 แต่ตอนเรามาอยู่ประเทศไทยไม่มีใครรู้จัก 2/4 เลยมีอาจารย์น้อยนี่แหละที่รู้จัก 2/4 อาจารย์น้อยเขาก็อยู่เมืองไทยด้วยความอึดอัดน่ะเพราะแกเต็มไปด้วยพลังงาน อยากเล่นแกอยากให้เห็นว่าวิธีเล่นที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แกเก่งมากเป็นพวก Chicago Style ผมก็ไปเรียนกับแกเพราะผมอยากรู้ว่าเค้าเรียนอะไรมา ก็สนุกดีเวลาเราเล่นเราก็อยากจะเป็นเค้าเวลาเราเล่นเค้าก็อยากจะเป็นเราตอนหลังก็หนักไปทาง Jam แต่เรียนกับแกนี่ไม่เคยเสียตังค์เลยนะ เป็นเรื่องมหัศจรรย์มากเค้าให้เรียนฟรี และปัจจุบันก็ยังเรียนอยู่กับ David Fluczynzki

APPLE: วง T-Bone ก่อตั้งมาได้ยังไงครับ?
พี่กอล์ฟ : ผมเองผมเป็นคนรวบรวมสมาชิกทั้งหมด ชื่อวงก็ได้มาโดยความบังเอิญ โดยเมื่อก่อนแก็ปเค้าทำงานเป็น
Designer ร้านเสื้อผ้าแห่งนึงต่อมาเค้าก็ออกมาทำกางเกงเอง ตั้งชื่อยี่ห้อว่า T-Boneคือป้ายกางเกงมันน่าเกลียดมาก
เลยมันติดอยู่แบบติดก้นเลยพอเอาไป Audition เค้าถามว่าชื่อว่าอะไร แก็บเค้าก็ก้งโค้ง แล้วชี้ที่ป้ายกางเกงว่า
T-Bone ตอนหลังเพิ่งมารู้วว่ามันเป็นชื่อมือกีตาร์ด้วยนะ ( 3 ช.ม.ให้หลัง)

APPLE : จนถึงปัจจุบันแล้ว T-Bone ออกงานมาทั้งหมดกี่ชุดแล้วครับอะไรบ้าง
พี่กอล์ฟ : ส่วนใหญ่เป็นอัลบัมหายาก ออกมา 4 ชุด ชุดแรกที่มีเพลงเธอเห็นท้องฟ้าแทบจะไม่มีส่วนร่วมเลยเพราะ
ไม่มีใครเชื่อใจหรอกศิลปินใหม่ทำกับค่ายมูเซอครับ ก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะแยะต่อมาก็ออกอีกชุดนึงชื่อชุดคุณนาย
สะอาด มีพี่ปุ้มตะวัน เป็น Producer ต่อมาก็ออกอีกชื่อ เล็กชิ้นสด , กอด และเบาหวานตามลำดับ และมีชุด
Tokyo Ska Live MBK และกับ Tokyo Ska ที่กำลังจะออกเป็น Live ในญี่ปุ่น หนัาแรกเป็นของเรา 6 เพลงหน้า
สองเป็นของเค้าเค้าเป็นเจ้าภาพก็ประมาณ 10 เพลง T-Bone & Seven Dub ขายที่แถบอังกฤษ ฝรั่งเศส ยุโรป
แล้วก็ล่าสุดออกเป็นรวมเพลง Reggae Ska เป็นของรวมเพลง Ska จากทั่วโลก ออกกับ Putumayo Newyork (U.S.A)

APPLE : งานชุดใหม่ของ T-Bone จะออกเมื่อใหร่เป็นแนวไหน?
พี่กอล์ฟ : เป็นเร็กเก้ Ska Fussion Drum and Bass (ฮ่า ฮ่า 5555) งานต้องสมบูรณ์ก่อนถึงจะออกได้ก็คง
ประมาณ 4 - 5 เดือนน่ะ

APPLE : จะมีงานเดี่ยวบ้างไหมครับ
พี่กอล์ฟ : ไม่มีครับไม่เคยคิดจะทำเพราะไม่ชอบการเล่น Solo Guitar คนเดียวชอบมีการสื่อสารระหว่างบุคคล
ในวงเยอะๆ ไม่ชอบให้เป็นเรื่องของ อีโก้ อยากได้ยินเสียงอีกคนนึงเล่น และผมก็ไม่มีข้อมูลมากในการที่จะเล่น
Solo Guitar คนเดียว (น่าเบื่อ) แล้วจริงๆ คือ ผมเล่นห่วยแตกเอง

APPLE : ทราบว่าพี่เป็นคนที่ชื่นชอบดนตรี Jazz มากทำไมถึงสนใจดนตรีประเภทนี้ครับ
พี่กอล์ฟ : Rock ก็ชอบน่ะพวก Steve VaI อะไรพวกนี้ชอบหมดแต่ฟังแล้วมันท้อน่ะ คือฟังแล้วผมไม่รู้สึกว่าผม
ทำได้เลย (ฮ่า ฮ่า 5555555) ผมเลยไม่ทำ มันเป็นเรื่องที่แย่มากเลยนะ (ผิดกับสันดานตัวเอง)

APPLE : ได้ข่าวว่าพี่เกือบจะได้เป็นมือกีตาร์ของ Tokyo Ska Paradise อยากให้พี่ช่วยเล่าหน่อยครับ
พี่กอล์ฟ : อ๋อ ก็ไปเล่นกับเค้า แต่พอดีมือกีตาร์เค้าออก ทางวงเค้าเลยมาชวนให้ไปเล่นแบบรับจ้างน่ะ ที่เคยรับจ้าง
ก็เป็นวงเร็กเก้ชื่อ Babara Page เป็นวงอเมริกัน ได้ความรู้มากเลยนะสิ่งที่เราเรียนรู้น่ะมันไม่ได้มีอยู่ในตำรา เป็นเรื่องของประเพณีที่เค้าสืบทอดมาในวัฒนธรรมของชาวเร็กเก้เป็นสิ่งที่พวกเค้าโตมา ผมจะรู้สึกว่าถ้าผมไปเล่น Jazz อย่างเดียวผมจะทำไม่ได้ดี แต่ถ้าผมนำเอาเร็กเก้มาผสม Jazz จะทำได้ดีกว่าแต่ส่วนตัวก็ชอบดนตรีเร็กเก้นะมันหนืดดี

APPLE : ทราบว่าตอนนี้พี่ตั้งบริษัท หัวลำโพงขึ้งมามีความเป็นมาอย่างไรครับ ?
พี่กอล์ฟ : แต่ก่อนผมจะทำงานเป็น Producer ให้กับบริษัท Sony Music ผมทำให้ป้าง อัยย์ชุดแรกๆ และอีกหลายคน แต่พอทำๆ ไปผมว่าเวลาคนเราเสียอุดมการณ์ จะขายจิตวิญญานที่ดีๆไปให้กับเงินผมว่ามันไม่คุ้มเลยน่ะ คืออยู่ๆไปสร้างความกดดันให้กับตัวเองทำไม ทำไมเราไม่คิดว่าเราเป็นนายให้กับตัวเองเราจะทำได้ดีกว่าคือลองนึกดูซิคนที่ในหัวไม่ได้มีเพลง POPแต่ต้องทำเพลง POP เพื่อขายน่ะ โอ้โฮมั้นเหมือนกับเอาไม้มาตีหัวเลยน่ะ กดดันมากเลย ทำให้คิดได้ว่าไอ้สิ่งที่เราทำเราคิดน่ะมันก็มีกลุ่มลูกค้าโดยตลอดเพียงแต่เราต้องไม่โลภมากน่ะในสิ่งที่เราทำก็เลยรวบรวมเพื่อนๆ ที่ชอบอะไรที่คล้ายๆกันกับพวกที่มีฝีมือทั้งหลายเข้ามาทำด้วยกัน Concept คือเป็นบริษัทเล็กที่มีความคล่องตัวสูงไม่แบกภาระที่ไม่จำเป็นของสิ่งฟุ่มเฟือยทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่บานปลายทั้งหลาย กลุ่มเป้าหมายของเราคือคนที่ชอบเพลงReggae ,Ska, Dance สมัยใหม่ เพลง Folk โดยหัวลำโพงนี่จะมี Office อยู่ที่สวนจตุจักรทุกเสาร์อาทิตย์ เพื่อขายสินค้าที่ผลิตโดยหัวลำโพง แล้วมีแนวความคิดอีกอย่างนึงว่าทำไมเทปต้องไปขายที่ร้านขายเทปเสมอไป มันน่าเบื่อมาเลย ฃึ่งปกติเทปเราก็ไม่ใช่ขายได้เยอะทำไมเค้าต้องมาวางให้เกะกะแผงเทปเค้าทำไมผมมองว่าการจัดจำหน่ายน่าจะตรงตาม Style กับคน แต่มันเป็นรื่องยากนะ ที่จะทำให้ระบบนี่เกิดขึ้น เพราะทุกอย่างอาศัยสื่อหน้าตา ไม่มีการประเมินคนจากงาน ค่านิยมพวกนี้มันถูกสร้างมาอย่างแข็งแรงมากแล้ว แต่ความรู้สึกผมคิดว่าคนที่เค้าขอบอะไรที่มันเป็นอีกอย่างนึงเราน่าจะมีขยะสำหรับคนที่อยากทำอะไร อยากพูดอะไร อยากฟังอะไร มันน่าสนุกดีนะ และสำหรับกลุ่มคนที่มาทำงานกับ บริษัทหัวลำโพงก็จะมีโหน่ง ที่มาจากละอองฟองแล้วก็มีฝรั่ง Seven Dubเป็นวงฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นแบบ Remix โดย Polygramเป็นผู้จัดจำหน่ายสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มองไว้คือกลุ่มที่ฟังเพลงฝรั่งน่าจะชอบนะสำหรับเพลงที่บริษัทหัวลำโพงจะผลิตออกมา

APPLE : อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้พี่มั่นใจว่าพร้อมจะมาทำบริษัทของตนเองครับ ?
พี่กอล์ฟ : อาจจะเป็นเพราะจาก T-Bone ด้วยนะ เพราะได้ความเป็นบวกมากกว่าความเป็นลบแล้วจำนวนคนฟัง
ประเภทนี้มันมีพอสมควรทีเดียวซึ่งมันไม่ได้อยู่ในกระแสของแฟชั่นนิยมเลย แฟชั่นทางดนตรีมันก็เปลี่ยน
ไปเรื่อยๆ แต่กลุ่มคนที่ฟังเพลงพวกนี้ก็ยังมีอยู่เหมือนเดิมเพราะผมไม่ได้ออกงานแบบ Fast Food น่ะ

APPLE : พี่กอล์ฟมีตารางการฝึกฝนกีตาร์ของตนเองต่อ 1 วันอย่างไรบ้างครับ
พี่กอล์ฟ : พอตื่นขึ้นมาอาบน้ำ ถูบ้าน เสร็จ โกยขี้หมา กินกาแฟเสร็จก็จะเริ่มฝึกกีตาร์โดยปัจจุบัน ตั้ง Warm Up
ประมาณ 20 นาที พวก Chomatic Line มาฝึกแล้วพวก Sweep Picking แต่ความแตกต่างจะเป็นในเรื่องของ
Position ของมือซ้าย จะ Disonance คือผมจะเอา Half Whole มาทำเป็น Pattern นิ้วแล้วก็จะ Sweep เพราะถ้า
Sweep แบบ Gmaj7 เป็นคอร์ดมันจะลื่นไป ก็เลยคิดว่าให้มันเป็นแบบ min2nd, maj3rd, min3rd
แล้วโน้ตมันจะเบียดๆกัน ไอ้ Sound พวกนี้แปลกมันเหมือนมันลอยอยู่บน Form ทุกอย่างเลยเพราะผมชอบสร้าง Tension ในการเล่น (Tension & Release) การฝึกเทคนิคมันเป็นเรื่องความอดทนแต่ในการพัฒนา Melodic
ในการ Solo ถ้าทำได้มันจะคลี่คลายทุกอย่างเลยนะหลังจากนั้นก็จะมาฝึก Apeggio ประเภท Alteration, Half
Whole, Diminished, Whole tone แล้วก็ Cluster คืออะไรก็ได้ที่มัน Sound ไม่ชาวบ้าน คือ Fingering
มันจะมันส์มาก คือมันต้องเล่นจนมัน Get เข้าไปอยู่ในหัวน่ะ มันถึงจะสร้าง Melodic ได้ เพราะมันไม่ได้อยู่ใน
Diatonic ไง แต่เสน่ห์ ของ Sound นี้มันมหัศจรรย์มากเลยนะ ถ้าใช้มันถูกที่เวลา Improviseมันจะไม่ OUT นะ
เหมือนเป็นเวลาเราไล่สเกลโน้ตใน Chord คือจังหวะตก หมด จังหวะยกจะเป็น Tension ทั้งหมดเลย
ถ้าเราไม่คิดที่เอา และมาไว้ตรงจังหวะตกละ ก็เหมือนการสร้าง Substitution ง่ายๆ จาก Basic Scale ที่มีอยู่ล่ะ
หลังจากฝึก Arpegeo พวกนี้ก็จะเอา Melody เพลงมาเล่นอยู่ใน Scale แปลกๆ เช่น เพลง Now's the time
(เพลงของ Charie Parker) มาเล่นอยู่บน Lydian b7 นั่นคือตรงนี้เพื่อให้มันชินแต่ถ้าเราเจอ Scale เราจะไม่พรืดๆ
เราจะนำมันมาแตกเป็น Group ของ Melody แล้วอีกสิ่งหนึ่งทีสำคัญคือ Root มันเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะเริ่มต้นแต่
มันจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้นิสัยเสียมาก เพราะถ้าเวลา Improvise มันจะเริ่มจาก Root ก่อน รวมแล้วจะผึก Arpegioประมาณ ? ชั่วโมง แล้วก็จะฝึกพวก Mode ซึ่งตอนนี้ที่ขอบมากก็คือ Phygian Major เพราะมันเหมือนแขกมากแล้วผมก็พยายามยัดเยียดอันนี้ไปในทุกอย่างที่ผมทำ แกะเพลงก็มีนะเช่นตอนนี้ผมแกะเพลง มหาวิษณุ ออเคสตร้า(Awakening) มันยากมากเอามาฝึกแค่ลองเป็นคนอื่นดู 8 Bar นี่คือสิ่งที่ผมฝึกทั้งหมดประมาณ 4 ชั่วโมงทุกวัน ช่วงบ่ายก็จะแต่งเพลงทำงานอย่างอื่นไป

ยังมีอีกนะครับ ติดตามตอน2นะครับ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550    
Last Update : 9 มิถุนายน 2550 8:56:53 น.
Counter : 472 Pageviews.  

REVIEW BOSS BLUES DRIVER BD-2

สวัสดีครับ Review&test ตอนนี้ผมจะพูดถึง Stompbox ตัวนึงที่ผมรู้สึกดีกับมันมาก นั่นคือเจ้า Blues driver BD-2 ของ Boss ผมรู้จักเจ้า Blues driver เป็นครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อนตอนที่ ธีระมิวสิคได้มีการแสดงสินค้าของทางธีระ และได้มีฝรั่งมาโชว์ ศักยภาพของสินค้าของ Boss และ Roland ฝรั่งคนนั้นก็ได้ทำการสาธิต Effect ทีละตัวทั้งทีเป็น Multieffect และในแบบ Stompbox จนมาถึงเจ้า Blues driver ตัวสีน้ำเงินตัวนี้ เสียงกีตาร์ Strat ผ่าน Blues driver ของฝรั่งคนนั้นโดนใจผมมากๆ เนื้อเสียงดีมากแต่ตอน นั้นผมยังใช้ Ibanez ts-9 อยู่ก็เลยยังไม่ได้ซื้อมาในวันนั้น จนกระทั่งวันนึงผมรู้สึกอยากได้ Effect มาสำรองตัว ts-9 เผื่อมันเกิดมีปัญหาขึ้นมา ทำให้ผมนึกถึงเจ้า Blues driver ขึ้นมาทันที จึงตรงไปที่ ธีระมิวสิค

จ่ายเงินไป สองพันกว่าๆแล้วนำมันกลับบ้าน ลักษณะภายนอกก็เหมือนกับ Effect ของ Boss ทั่วไป มี 3 ปุ่ม control ประกอบด้วย Level,Tone,Gain ปุ่ม Tone ซึ่งใช้ปรับความทุ้มแหลม ตอบสนองความต้องการได้ดีมาก การทดสอบในครั้งนี้ผมใช้ กีตาร์ strat และ amp marshll แบบหลอดในการทดสอบขั้นแรกผมทดลองใช้BD-2 boostเสียงของ Amp ก่อน ผมลอง boost เสียง clean โดยปรับ Level ไว้ที่ 10 นาฬิกา Tone ที่ บ่ายโมงและ Gain ที่ 10 โมงครึ่งโดยลองเล่นเพลง Lenny ของ SRV ก็พบว่ามันยอดมากเสียงกีตาร์คมชัดขึ้นมาก เล่นแล้วเพลินจริงๆ ต่อมาผมเริ่มลองเปิดเสียง Drive มากขึ้นโดยเพ่ม Gain ขึ้นเป็น 12 นาฬิกา ลอง solo ใน style blues ก็พบว่าถ้าคุณต้องการเสียงในแบบ Hendrix ,SRV หรือ Claptonคุณจะไม่ผิดหวังแน่นอน เสียง drive ที่ออกมาเหมือนกับแอมป์หลอดมากๆ ต่อมาผมลองเปลี่ยนกีตาร์เป็น lespaul และลองเพิ่ม Gain เป็น 3 โมงเย็น ลองเล่น Riff พวก Led zepplin , AC/DC ,Deep purple , ผมเทใจให้หมดเลยสำหรับ Blues driver ตัวนี้ มันใช่เลยถ้าคุณชอบเพลง Classic rock มิน่าล่ะ มันถึงเข้าไปอยู่ใน Effect board ของมือกีตาร์ดังๆหลายคน รวมถึงBrent Mason ยอดมือกีตาร์ เค้าใช้มันแสดงสดและในการอัดเสียงอยุ่เสมอ มีขอที่ให้ผมติอยู่ข้อเดียวเลยสำหรับเจ้า Blues Driver ตัวนนี้คือมันไม่ใช่ effect ประเภท True bypass ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลอะไร เพราะเสียงที่ออกมาจาก output มัน drop ลงไปนิดเดียวเอง แทบไม่รู้สึกเลย ถ้าคุณกำลังมองหาเสียงแตกก้อนแบบที่ไม่แตกในแบบ Nu-metal แต่แตกในแบบ แอมป์หลอดที่ดี ในราคาสบายๆก็ตรงไปที่ ตัวแทนจำหน่ายได้เลยครับ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550    
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 12:55:57 น.
Counter : 335 Pageviews.  

REVIEW DAISY ROCK GUITAR

DAISY ROCK คงจะทนเสียงรบเร้าของสาว ๆ ที่มีหัวใจในดนตรี ROCK ไม่ไหว จึงต้องผลิตกีตาร์ที่มีรูปทรงที่ดูแล้วถูกใจสาว ๆ เป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับจะบอกว่างานนี้หนุ่ม ๆ ไม่เกี่ยว ด้วยทั้งรูปทรงในแบบดอก DAISY, แบบรูปหัวใจ , แบบรูปหัวใจที่เพ้นท์เป็นรูป POWER PUFF GIRL และล่าสุดรูปผีเสื้อ รวมทั้งสีสรรที่ชวนให้หามาสะพายคู่กายสาว ๆ ยิ่งนัก แม้กระทั่ง COURTNEY LOVE'S อดีตเมียของ KURT COBAIN ก็ยังมีไว้โชว์ในคอนเสริท์ของเธอด้วย
แต่ทรงที่ผมได้นำมาทดสอบ ก็คือทรงดอก DAISY สีฟ้าสดใส โดย BODY ทำมาจากไม้ BASSWOOD แบบเดียวกับที่ IBANEZ ชอบมาทำ BODY นั่นแหละครับ คอทำจากไม้ MAPLE ฟิงเกอร์บอร์ด ทำจากไม้ ROSE WOOD INLAY ก็ทำได้น่ารักตามตัวคือเป็นรูปดอก DAISY ด้วยเช่นเดียวกัน มี 22 เฟร็ต ซึ่งเป็นลักษณะ MEDIUM FRET สเกลของคอก็ 24 ¾ ตัว BRIDGE ทำเหมือนของ FENDER เป็น HARD TAIL คือเป็นแบบไม่มีสปริง ไม่มีคันโยก พวกที่ชอบคันโยกคงเศร้านิดหน่อย สิ่งที่ผมไม่ชอบและคิดว่าต้องแก้ไขคือ TUNNER( ลูกบิด) มันเพี้ยนง่ายมาก ต้องตั้งสายบ่อย ๆ ทดสอบโดยการไปเล่นกับวงดู เล่นแล้วต้องคอยพะวงว่าดันสายแล้วมันจะเพี้ยนไม๊ มีอีกจุดที่ผมเห็นว่าต้องแก้ไขคือ ความสมดุลย์ของตัวกีตาร์ เมื่อต้องสะพายเล่น รู้สึกว่าหัวมันตกตลอดถ้าปล่อยมือซ้ายและมือขวาพร้อมกัน เมื่อยมือเหมือนกัน เวลาเล่นต้องคอยประคองตลอด

แม้กระทั่งการนั่งเล่น ท่านั่งที่ผมทดลองดูและคิดว่าเหมาะสมคือ เหมือนกับเรานั่งเล่นกีตาร์ FLYING V. กีตาร์ต้องเข้ามาอยู่ตรงหว่างขาตลอด (ไปลองดูได้ที่ MUSIC COLLECTION) แต่สิ่งที่ทำให้ผมประทับใจคือ เสืยงที่มาจาก PICKUPS 2 ตัว 2 แบบ ตัวหน้า ตัวใกล้คอเป็นแบบ LIPSTICK PICKUPS รูปทรงก็เหมือนแท่ง LIPSTICK ที่สาว ๆ ใช้นั่นแหละ ซึ่งสมัยก่อนบริษัทที่ทำ PICKUPS ชนิดนี้ออกมาจำหน่าย ก็ได้สั่งแท่ง LIPSTICK จริง ๆ มาจากผู้ผลิตแท่งชนิดนี้ ส่งให้บริษัทผลิต LIPSTICK สำหรับคุณผู้หญิง ทางผู้ผลิตได้พันขดลวดทองแดง ใส่เข้าไปในแท่งแล้วไปใส่ในกีตาร์ DANELECTRO เสียงที่ออกมาคล้าย PICKUPS ตัวหน้าของ TELE แต่หนากว่า (การทดสอบผมใช้ AMP MESA/BOOGIE SUBWAY ROCKET ให้ความรู้สีกที่ละมุนดีมาก ส่วน PICKUPS ตัวหลังเป็นแบบ HUMBUCKER ในแบบ DUNCAN DESIGN ก็คือ มันถูกออกแบบโดยบริษัท SEYMOUR DUNCAN นั่นเอง เสียงที่ออกมาก็เล่น ROCK ในแบบต่าง ๆ ได้สบาย ทั้ง CLASSIC ROCK และ HARDCORE ต่อมาผมเริ่มลองผสม PICKUPS ทั้ง 2 ตัวเข้าด้วยกัน โดย TOGGLE SWITCH แบบ 3 ทาง โดยเลื่อนมาที่ แก๊กกลาง ก็ OK. ลอง STRUM ใน PATTERN ต่าง ๆ ทั้ง FUNKY BLUES POP ก็รู้สึกพอใจมากกับกีตาร์ที่ทำมาจากเมืองจีนตัวนี้ เจ้า DAISY ROCK ได้แถมกระเป๋าสีชมพูสดใสมาให้คุณได้พกพามันไปยังที่ต่าง ๆ ด้วยรูปทรงที่คนทั่วไปเห็นแล้ว คนนึกว่าคุณเป็นนักเทนนิสมากกว่านักกีตาร์ เพราะฉะนั้นถ้ามีคนมาแซวคุณว่าคุณเป็นภราดรก็ไม่ต้องแปลกใจ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550    
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 12:46:54 น.
Counter : 570 Pageviews.  

REVIEW ROLAND JC120 AMP

สวัสดีครับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมนะครับ ผมก็มานั่งคิดว่าจะเขียนเรื่องไรดี ก็เอาละ เขียนเรื่องที่ตัวเองชอบดีก่า แต่ด้วยความใจร้อน จึงเริ่มจากการนำบทความเก่าๆ ที่เคยเขียนไว้ในwebๆนึงไว้นานแล้วมาลงไปก่อนนะไว้ตอนต่อๆไปจะทยอยบทความใหม่ๆมาเขียนบ้างช่วงนี้ขอสะสมข้อมูลในหัวผมไปก่อนนะครับ
สืบเนื่องจาก REVIEW & TEST ที่ผ่านมามีอยู่ 1 ตอนที่ผมได้นำเอา AMP ROLAND JC 20 มา TEST ผลทดสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง มาในตอนนี้ผมจึงได้นำ AMP ในตำนานอีกหนึ่งตัวมาทดสอบดู ถ้าพูดถึง AMP ที่มือกีตาร์ JAZZ นิยมชมชอบ นอกจาก POLYTONE MINIBRUTE , ACOUSTIC IMAGE หรือ FENDER BLACK FACE DELUXE REVERB ที่ขาดไม่ได้คือ ROLAND JC 120 ตัวนี้นี่เอง กีตาร์ที่ผมใช้ทดสอบในครั้งนี้ ผมใช้ DE’ ANGELICO และFENDER STRAT ผ่านสาย MONSTER CABLE รุ่น JAZZ AMP ตัวนี้มีขนาด 120 WATT พลังขับเหลือเฟือ ด้วยลำโพงขนาก 12 นิ้ว 2 ดอก แอมป์ตัวนี้ทำในประเทศอิตาลี โดย ROLAND EUROPE แต่ถ้าเป็น JC 90 จะทำในอเมริกา ซึ่งตอนแรกที่ผมคิดจะซื้อ AMP ตระกูล JC ผมก็เดินทางไปที่ MUSIC SOLUTION ริมถนนเพรชบุรีตัดใหม่ ผมลองให้พนักงานที่ร้านนำเอาเจ้า JC 90 และJC 120 มาเปรียบเทียบกัน ก็พบว่าขนาดของมันต่างกันพอสมควรทีเดียว ลองยกดู เนื่องจากผมต้องนำ AMP ไปเล่นด้วยทุกอาทิตย์ พบว่า JC 90 น่ะผมยกสบายมาก แต่JC 120 นี้ ทำเอาผมเกือบแย่ ด้วยน้ำหนักขนาก 28 kg ( แต่เดี๋ยวนี้สบายแล้ว ผลพลอยได้คือกล้ามแขนที่โตขึ้น ซึ่งแฟนผมบอกว่าดีมาก ) เล่นเอาแขนสั่นไปหมด จากนั้นผมก็เริ่มลองเสียง AMP ทั้ง 2 ตัว แต่ด้วยความที่ใจผมเอนเอียงไปที่ JC 120 แล้วจึงนำมันกลับบ้านทันที ไม่ใช่ JC 90 ไม่ดีนะ แต่ผมชอบ JC 120 มากกว่า โดยมีพนักงานผู้ใจดีนำมันไปส่งที่รถ ต้องช่วยกัน 2 คน ถึงจะนำมันเข้ากระโปรงหลังรถได้ แต่ด้วยความที่ JC 120 มีลูกล้อเข็นติดมาให้ โดยคุณจะใส่มันก็ได้หรือไม่ใส่ก็ได้ สำหรับผมใส่แน่นอน เพราะผมใช้มันเข็นเข้าร้านที่ผมเล่นดนตรี และทันทีที่ผมเข็นมันเข้าไปก็ได้ยินเสียงแซวจากเพื่อน ๆ ทันทีว่า เป็นตู้แช่ไวน์บ้าง เป็นเตาอบบ้าง ก็มันเหมือนจริง ๆ ยิ่งคลุมด้วยถุงคลุมที่แถมให้มา ก็ยิ่งเหมือน

JC 120 แบ่งออกเป็น 2 CHANNEL โดย CH.1 มีปุ่ม VOLUME TREBLE, MIDDLE และ BASS มี 2 INPUT คือ HIGH และ LOW ส่วน CH.2 ยังคงเหมือนกับใน CH.1 แต่มี DISTORTION เพิ่มเข้ามา โดยใน CH.2 นี้จะมี EFFECT เพิ่มเข้ามา มีทั้ง VIBRATO และ CHORUS โดยมีปุ่ม CONTROL SPEED และ DEPTH โดย EFFECT ทั้งหมดสามารถควบคุมด้วย FS-5L FOOTWSITCH

ที่คุณต้องซื้อเพิ่ม รวมถึง DISTORTION ของตู้ก็ควบคุมได้โดย BOSS FS-1 FOOTSWITCH ผมเริ่มทดสอบเสียงโดยใช้กีตาร์ DE’ANGELICO ก่อนโดยใช้ CH.2เลย ปรับEQ ทุกตัวไว้ที่เลข 5 ทั้งหมด น้ำเสียงที่ได้ออกมาอุ่นดีมาก โดยทดสอบทั้งเล่น CHORD และ SOLO ในสไตล์ JAZZ ก็ประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าคุณเป็นคอ JAZZ ต้องชอบมัน ทีนี้ลองหมุนปุ่ม EQ ทดสอบดูทุกปุ่มตอบสนองดีมาก เล่นไปเล่นมารู้สึกว่าเสียงกีตาร์แห้งไปสักหน่อย ก็เลยหมุนปุ่ม REVERB ขึ้นมาก็ชุ่มฉ่ำดีจริง ๆ เสียงกีตาร์เพราะขึ้น เล่นแล้วเพลินดีจริง ๆ โทนเสียงที่ได้ออกมาก็ออกอคูสติกดีมาก ได้เนื้อเสียงของกีตาร์ HOLLW BODY ออกมาเต็ม ๆ รู้สึกว่าเงินที่จ่ายไปคุ้มค่ามาก

ทีนี้ผมลองเปลี่ยนกีตาร์มาเป็น FENDER STRATOCASTER ดูบ้าง แน่นอนผมปรับ EQ ไว้ที่เลข 5 ลองปรับสวิทช์ 5 ทาง เปลี่ยน PICKUP ไปเรื่อย ๆ ก็ยังคงได้เนื้อเสียงของ STRAT ชัดเจน แต่เสียงของ AMP ที่ออกมา เป็นโทนเสียงของ ROLAND มีความเป็นเฉพาะตัวมาก แตกต่างจาก AMP FENDER หรือ MARSHALL อย่างชัดเจน ความ TWANG ของ FENDER STRAT ก็ยังอยู่ครบ คุณสามารถเล่นเพลง POP JAZZ FUNK ได้สบาย ๆ เรียกว่าทุกแนวเพลงทีเดียว ทีนี้ผมเริ่มเปิด DISTORTION ของตู้เล่นดู พบว่าผมไม่ชอบเสียงแตกของตู้เลย มันบี้ ๆ แต่ไม่เป็นไรเสียง CLEAN มันทดแทน ทำให้ผมลืมถึงเสียงแตกตู้ไปเลย

จากนั้นมาถึงทีเด็ดของตู้นี้คือ EFFECT ที่มีมาให้โดยเริ่มจาก VIBRATO ก่อน เสียงที่ออกมาก็ได้เสียงสั่นตามสไตล์เพลงยุค 70 ได้ดี ลองปรับปุ่ม SPEED กับ DEPTH ดูก็รู้สึกดี ทีนี้มาถึง CHORUS อันเลื่องชื่อ ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวังจริง ๆ ชุ่มฉ่ำมาก ทำให้การเล่น CHORD ทั้ง PICKING และ STRUM มีความไพเราะมาก ผมชอบCHORUS ในแบบ STEREO ของตู้นี้จริง ๆ ให้ 5 ดาวเลย สมคำล่ำลือจริง ๆ สมกับเป็น AMP ในตำนานจริง ๆ ครับ สำหรับ AMP ในตำนานตัวนี้ ถ้ากำลังมองหา AMP ใหม่ที่ใช้งานได้หลากหลาย พลังขับเหลือเฟือ เสียงเยี่ยมยอด อย่าพลาดนะครับ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550    
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 12:27:28 น.
Counter : 405 Pageviews.  


applinho
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับจ้า
Friends' blogs
[Add applinho's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.