ก่อนถึงบทสรุปของวิชาศิลปะภาพพิมพ์ 2/2549



ผ่านมาเกือบถึงปลายเทอม...
ไม่ค่อยมีเวลาเอางานมาลงให้นัก
และอีกอย่างเห็นงานแล้วก็ไม่มีแรงกระตุ้นพอที่จะ แบกกล้องมาถ่าย ไปย่อ อัพลงบล๊อก

พวกเราไม่มีเวลาให้กับงานกัน ส่วนใหญ่เรียกว่า "เผา"

ผลงานข้างล่าง เป็นงานที่เรียกว่า "ไม่เผา"
ซึ่งใช่ว่างานจะดีสมบูรณ์ ยังมีข้อบกพร่องเยอะแยะ

แต่ก็คือพอดูได้ที่สุดในกลุ่มแล้ว




ผลงานชิ้นแรกเป็นของ ชนกกานต์ กุลเสน



ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ของ ชนกกานต์ กุลเสน


ซึ่งที่จริงดูแล้วก็ธรรมดามาก
พวกเราเวลาคิดอะไรไม่ออกก็ทำแมว แล้วต่อด้วยสูตรมาตรฐานคือ เหลือง ส้ม แดง ดำ
ถ้าชิ้นนี้ส่งอยู่ในรุ่นก่อน ๆ จะธรรมดามาก
คิดภาพเอาเองแล้วกันว่ามันหมายความว่าอย่างไร
เมื่องานที่ธรรมดา มากในรุ่นก่อน ๆ กลับเป็นงานที่ดีที่สุดในรุ่นคุณ
งานที่ผ่านมาของชนกกานต์ไม่ค่อยดีนัก แต่ชิ้นนี้ออกมาใช้ได้มันก็เป็นเหตุผลที่ว่า


ถ้ า จ ะ ทำ ก็ ทำ ไ ด้






ชนกกานต์กับผลงาน



***


ผลงานชิ้นที่ 2 เป็นของ ณรงค์เดช จันทร์ดี




ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ณรงค์เดช จันทร์ดี

งานชิ้นนี้เป็บแบบเดียวกับงานชิ้นในเทอมที่แล้วของณรงค์เดช
ซึ่งหมายความว่าเป็นการย่ำอยู่กับที่ ไม่เดินไปไหนนั่นเอง
แต่สิ่งที่เห็นในตัวของ ณรงค์เดช คือ ไม่เผางานคืนสุดท้ายก่อนส่ง
มีบางครั้งเหมือนกัน ที่เห็นเขาทำในคืนก่อนส่ง แต่งานก็ออกมาดี
เพราะเขามีความเชี่ยวชาญในเทคนิคแล้ว
ผิดกับคนอื่น รู้ตัวว่า เทคนิคไม่ดี ยังเผางาน ก็เลยไปกันใหญ่





ณรงค์เดชกับผลงาน


***


ผลงานชิ้นที่ 3 เป็นของธนภัทร ดวงเบ้า



ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำของธนภัทร ดวงเบ้า

สิ่งที่เห็นในธนภัทรคือพัฒนาการ งานชิ้นนี้ไปเอาต้นแบบมาจากไหนก็ไม่รู้
แต่เทคนิคของภาพพิมพ์แกะไม้ด้วยสีน้ำ ในชิ้นนี้ ดูเป็นเนื้อเป็นหนังที่สุด





ธนภัทร กับผลงาน





 

Create Date : 25 สิงหาคม 2549    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2549 8:17:01 น.
Counter : 2431 Pageviews.  

งานชิ้นแรก ศิลปะภาพพิมพ์ 2

เนื้อหาทางภาพพิมพ์ที่จะสอบศุกร์หน้า คลิ๊กที่รูปข้างล่างเลย






การร่างภาพด้วยทฤษฎีความบังเอิญ(serendipity)

เราเคยทราบไหมว่า…มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ได้ถูกทำขึ้นมาโดยผ่าน”การค้นพบโดยบังเอิญ” (serendipity)
หรือการค้นพบบางสิ่งขณะที่กำลังค้นหาบางสิ่งอยู่;

เริ่มต้นจากการสร้างสิ่งที่ไม่มีรูปแบบ

เตรียมอุปกรณ์ในการสร้างโลกไร้รูปแบบให้พร้อม



สบัดสีทุกสี ใช้แปรงทุกขนาด ปาดไปโดยไร้การควบคุม



ที่รุม ๆ กันอยู่นั่นก็มาช่วยกันทำ




จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการค้นหา หาองค์ประกอบที่ชอบ




นี่คือโครงสร้างในงานของเรา ดูว่าสีอย่างนี้ องค์ประกอบอย่างนี้ ควรจะหารูปทรงใดมาใส่ เนื้อเรื่องถึงจะเข้ากับองค์ประกอบ



ภาพที่ 1





ภาพที่ 2





ภาพที่ 3






 

Create Date : 23 มิถุนายน 2549    
Last Update : 24 มิถุนายน 2549 16:01:08 น.
Counter : 906 Pageviews.  

เทคนิคที่ 5 Silk screen

b>เทคนิคแม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS )
เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น

รูปแบบการเรียนการสอนในเทคนิคแม่พิมพ์ตะแกรงไหม

1 การสร้างผลงานโดยใช้เทคนิคการเขียนไขและวานิช
2 การสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้วิธีถ่ายบล๊อกสกรีน


1. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิคการเขียนไขและวานิช

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.ขั้นตอนการสร้างภาพร่าง (Sketh Drawing)

วัสดุอุปกรณ์ในการทำภาพร่าง
กระดาษ 100 ปอนด์
ดินสอ
สีโปสเตอร์
สีน้ำดินสอสี
พู่กัน
ถังใส่น้ำ
ผ้าเช็ดพู่กัน

2.ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน

ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานให้สมบูรณ์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
ผ้าสกรีน ในขั้นตอนการเรียนรู้ ควรใช้ผ้าสกรีนเบอร์ 70 –100 ผ้าสกรีนเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำมาใช้ในกระบวนการพิมพ์สกรีน ผ้าสกรีนจะเป็นตัวแม่พิมพ์ โดยใช้หมึกพิมพ์ที่ผ่านไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนนี้
กรอบสกรีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของงานสกรีนของงานสกรีนรูปแบบและรูปทรงของกรอบสกรีน เป็นส่วนที่จะทำให้งานภาพพิมพ์ออกมามีผลดีหรือไม่อย่างไร กรอบสกรีนที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไปในขณะนี้คือกรอบตรงหรือแบน(Flat Frame)ใช้สำหรับงานภาพพิมพ์ผิวเรียบ กรอบสกรีนสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ไม้, อลูมิเนียม, สะแตน เลศและพลาสติก
ยางปาด อาจจะทำจากวัสดุอะไรก็ได้ที่สามารถทนต่อการทำงาน เช่น ทินเนอร์มีความต้านทานต่อน้ำมันผสม ในหมึกพิมพ์ เนื่องจากน้ำมันผสมในหมึกพิมพ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปยางปาดจึงจำเป็นต้องมาสารถทนต่อน้ำมันผสมชนิดต่างๆ เหล่านี้
หมึกพิมพ์ผ้าธรรมดา(สีจม) เป็นหมึกสำหรับพิมพ์ผ้าฝ้าย ผ้าเตตารอน หรือผ้าฝ้ายผสมเตตารอน เหมาะสำหรับพิมพ์ผ้าที่มีพื้นที่มีสีอ่อนกว่าสีของหมึกเมื่อพิมพ์เสร็จก็จะนำไปผ่านความร้อนโดยเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 140 - 150 องศาประมาณ 3 – 5 นาที หรืออาจจะใช้เตารีดมารีดก็ได้ เพื่อให้หมึกแห้งโดยที่ความร้อนจะไปเร่งปฏิกิริยาของตัว Fixing ทำให้สีเกาะติดแน่น สีไม่ตก และมีการเกาะติดที่ดี
ผ้าสกรีนที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับหมึกพิมพ์ ผ้าธรรมดานี้ คือผ้าสกรีนจากประเทศญี่ปุ่น นัมเบอร์ 135 (135 เส้น/ตารางนิ้ว)หรือประมาณนัมเบอร์ 55 (55เส้น/ตารางเซนติเมตร)เป็นผ้าสกรีนจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งก็อาจจะใช้ นัมเบอร์ที่แตกต่างจากที่กล่าวนี้มาได้โดยการพิจารณาจากแบบที่ต้องการพิมพ์เป็นสำคัญ
มีเดียม (Medium) คือ หมึกที่ไม่มีสี หมึกทุกประเภทจะต้องมีมีเดียมอยู่ในส่วนผสม มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับหมึกนั้นๆ ครบถ้วนทุกประการ เพียงแต่ไม่มีแม่สี (Pigment) อยู่ในนั้น
วานิช(Varnish) คือ หมึกที่สีเช่นเดียวกับมีเดียม แต่จะมีคุณสมบัติที่มันเงา ทนต่อการเสียดสีรอยขูดขัว และสารเคมีได้มากกว่า ใช้ทากันส่วนที่ไม่ต้องการบนแม่พิมพ์
น้ำมันสน, ทินเนอร์ น้ำมันสนสำหรับลางวานิช ดินสอไข ทินเนอร์ สำหรับลางมีเดียมควรใช้ผสมกับผงซักฟอกขจัดคาบสกปก
กระดาษที่ใช้พิมพ์งาน ควรเลือกใช้กระดาษอาร์ตมัน
พู่กัน ใช้ในการทาวานิชควรมีขนาดที่แตกต่างกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ดินสอไข/เทียมไข ใช้ในการกันส่วนที่ต้องการเก็บไว้ ให้เกิดความลงตัวและความรู้สึกที่ไม่เป็นเส้นที่แข็ง

3. วิธีการในการสร้างสรรค์

1. เตรียมอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งหมดที่กล่าวมา
2.นำภาพร่างที่ต้องการนำเสนอ เพื่อเป็นแบบในการทำผลงานสร้างสรรค์
3.นำภาพร่างไปถ่ายเอกสารขยายผลงานสร้างสรรค์ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการจากนั้นจึงนำเอาสีที่มีสีโทนอ่อนมาปาดลงในเฟรมนำบล็อกไปล้างน้ำให้สะอาด พึ่งบล็อกให้แห้ง แล้วจึงนำเอามาทาบที่ตัวถ่ายเอกสารนำเอาดินสอไขมากันส่วนที่ต้องการที่เอาในงาน แล้วจึงนำเอาไปปาดสีต่อไปตามต้องการ ทำอย่างนี้ไปเลื่อยๆจนเปลี่ยนเป็นสีโทนใหม่ในงาน
4 .กันวานิชส่วนที่ต้องการ(ทิ้งไวให้แห้ง) เช่นตรงที่มีดินสอไขอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ดินสอไขหลุดออกจากบล็อกแล้วก็ปาดเป็นโทนสีอื่นต่อไปเลื่อยจนครบน้ำหนักที่ต้องการ

อมรรัตน์






มณฑิชา




สำราญ






 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2549 18:17:34 น.
Counter : 6852 Pageviews.  

woodcut

เทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ สีน้ำมัน




" fishfiting "
นาย เกียรติศักิด์ ทรงกลิ่น





" เพลงผีเสื้อ "
นาย ธนภัทร ดวงเบ้า





" ดอกไม้แห่งความเหงา "
นางสาว เพ็ญประภา ฮวดศรี

ยังมีงานดี ๆ อีกหลายชิ้นนะแต่เดียวอ.แอน จะเอามาให้ดูอีกรอบหน้านะคะ




 

Create Date : 27 มกราคม 2549    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2549 8:17:26 น.
Counter : 2683 Pageviews.  

ห้องภาพเก็บตกเด็กน้อยปี 1

















ยังไงก็ดูแล้วก็แวะมารายงานตัวดัวยนะจ้า เด็กน้อย
ขะเจ้าบอกว่า การเรียนรู้เกิดจากการ......ไดได้บ้างนั้น ก็เช่น
1. การมาเรียนตรงต่อเวลา..ไม่ใช่หายไปเฉย ๆ ใครใหนจะรู้ว่าหนูเป็นนินจา ผลุบ ๆ โผล่ ๆๆๆๆ
2. การส่งงานตามระบบที่อาจารย์กำหนดให้ เนี้ยไม่ใช่การบังคับนะแต่เป็นการจัดระเบียบการทำงานให้ง่ายต่อการเรียนรู้ในแต่ละเทคนิค อย่าลืมว่านี้เป็นงานปฏิบัติ ต้องทำงานถึงจะเสร็จ แต่กลัวว่าหลายคนจะเสร็จ....ก่อนงาน
3. การที่เด็กน้อยมาเรียนก็จะได้เจอ 3 อ.ที่น่ารักและใจดี และยังได้เจอผู้บ่าวผู้สาวร่วมห้อง ทำงานด้วยกันในห้องเรียนโดยมี 3 อ.ดูแลเนี้ยมัน......น่าสนุกนะ

การกระทำต่างๆ ที่สร้างรอยยิ้ม ให้เพื่อน ๆ และอาจารย์นันเป็นบุญนะ.....สาธุ












แบบเนี๊ย น่ารักมักมาก




 

Create Date : 26 มกราคม 2549    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2549 8:17:56 น.
Counter : 838 Pageviews.  

1  2  3  

ท้องฟ้ายามเย็นเห็นแสงรำไร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ท้องฟ้ายามเย็นเห็นแสงรำไร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.