Group Blog
 
All blogs
 

ชุธาตุฉลู





ผลงานชื่อ ชุธาตุฉลู
เทคนิค Screenprint
ขนาด 70 x100 cm
พิมพ์ 35 สี จำนวน 7 edition




คนเกิดปีฉลู ไหว้พระธาตุลำปางหลวงจังหวัดลำปาง


การสร้างสรรค์


ที่อยู่


ภาพร่าง





พระธาตุลำปางหลวง ซุ้มโขง








หม้อน้ำบูรณะคตะ




ดอกบัว








ยังไม่เสร็จ







6 กรกฎาคม 2548

20:00 เดินทางจาก มมส.
00:15 อยู่ที่หล่มสัก นั่งกินกาแฟที่ปั๊ม Esso

7 กรกฎาคม 2548



06:18 ถึงวัดพระธาตุลำปางหลวง 7 กรกฎาคม หาที่จอดรถ








06:46 อยู่ที่หน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง กำลังเก็บข้อมูลในภาพรวมทั้งหมดของพระธาตุ ที่หน้าซุ้มโขง รวมทั้งเก็บ Potrate ของผู้วิจัย เพื่อประกอบเอกสารนิทรรศการ บันทึกภาพ Potrate and Figure กับตัวพระธาตุ เก็บข้อมูลภาพภายนอกวัดพระธาตุลำปาง เก็บรายละเอียดของนาค บันได ทางขึ้นซุ้มประตู ในหลายๆมุมมอง เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังออกมาจ่ายตลาด บันทึกภาพบันไดนาค และรายละเอียดของสิงห์ทั้งสองตัว ใช้เวลานานพอสมควร ใช้กล้องทั้งหมด 6 ตัว VDO 1 ตัว Digital 3 ตัว Manual 2 ตัว



















07:00 ยังคงบันทึกภาพภายนอกอยู่ บันทึกมุมมองของซุ้มประตู ประตูวัดพระธาตุลำปางฯ เปิดลักษณะของสิงห์ได้ผ่านการบูรณะขึ้นใหม่ ลักษณะลวดลายคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน สีของปูนที่บูรณะขึ้นใหม่ จะคนละสีกับของเก่าแบบเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
07:33 นั่งพักที่หน้าตลาด ตรงข้ามกับพระธาตุฯ check รูปที่ถ่ายมา check ระบบการเก็บภาพ ปัญหาในตอนนี้คือ กล้อง VDO file ภาพแตกกล้องถ่ายรูปยังมีปัญหาคือ ถ่ายยังไม่สนุก



07:45 เข้ามาอยู่ภายในวัดลำปางหลวง ก่อนจะเข้ามาก็เก็บภาพแทบจะทุกก้าว

//www.iweb.msu.ac.th/user/mygarden/doc_37_DSC02202.jpg


































08:00 บันทึกภาพบริเวณอุโบสถ คาดว่าคงใช้เวลานาน เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก
08:39 เก็บภาพตามจุดต่างๆ รอบพระธาตุฯ รอบๆรั้วกำแพงแก้ว ถ่ายภาพรวม โดยให้ตากล้องจำเป็นถ่ายให้
08:51 เดินทางออกจากวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่ก่อนจะไปที่พระธาตุหริกุญชัย ต้องหาร้านอาหารที่มีปลั๊กไฟ เพื่อขอชาร์ตแบ็ต “ จบข่าว ”

( กำลังเดินทางสู่ลำพูน ) อันที่จริงรูปที่ถ่ายในพระธาตุลำปางหลวง สามารถ searchใน Internetได้
มีมากมาย หลากหลาย มีทั้งที่เป็นแบบดึงออกมาเป็นภาพลายเส้นเรียบร้อยแล้ว มีทั้งที่เป็นมุมมองของศิลปะภาพถ่าย แต่ที่เรามาตรงนี้ก็เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ตัวเราได้มาสัมผัสเอง และมาในลักษณะของเรา มีความเป็นเฉพาะ สร้างมุมมองของตัวเองขึ้นมา มีการบันทึกเป็นเรื่องราวหลากหลายรูปแบบ ทั้งตัวหนังสือ ภาพถ่าย เป็นภาพเคลื่อนไหว
ความแตกต่างของสิงห์ยืนกับสิงห์นั่ง ที่วัดพระธาตุลำปางเป็นสิงห์ยืน สิงห์ตามวัดทั่วไปจะเป็นสิงห์นั่ง
ถ้าเป็นวัดหลวง ก็คือวัดในราชวงศ์ หรือราชวงศ์อุปถัมภ์ก็จะเป็นสิงค์ยืน
วัดที่ชาวบ้านมีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างจะเป็นสิงค์นั่ง



check น้ำมัน กินน้ำมัน 11 กิโลลิตร ใช้ 4x4 Drive หลายครั้ง น้ำมันค่อนข้างแพง จากโกสุมฯ - ชุมแพ วัดเข็มไมล์ได้ 120 กิโลเมตร เติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท. ชุมแพ 240 บาท เต็มถัง ใช้ระยะ กิโลเมตรละ 2 บาท
“ ไม่เป็นไร กินเหล้าเยอะกว่านี้ ” “ จบข่าว ”
( ถามถึงสิงห์สองตัวที่อยู่บันได หน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง )
สิงห์สองตัว ลายที่ทำใหม่ เป็นลายที่มีเค้าโครงเดิม เป็นลายเดิม เพียงแต่ลายที่เก่ามันผุกร่อนไป ปลายแหลมพลิ้วก็หักหมด เพราะฉะนั้นช่างกรมศิลป์คิดว่า ลายปูนปั้นนี้จะอยู่อีก 40-50 ปีข้างหน้า ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ถ้าจะปล่อยให้ผุกร่อนจนหายไป มันก็จะไม่มีเค้าโครงเดิม เพราะฉะนั้นเขาทำเหมือนเดิม ตั้งแต่สมัยที่เริ่มสร้างขึ้นเลย จะสังเกตว่าลวดลายจะเป็นลวดลายใหม่ทั้งหมด โครงสร้างของลายพันธ์พฤกษา จะมีที่มาจากตัวกลางภายในโบสถ์ ที่เป็นลวดลายสีทอง มีตำนานบันทึกไว้ ปั้นโดยช่างชาวบ้านที่ได้สืบเชื้อสาย ให้หาข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติม
Concept ชุธาตุ เป็น Concept ของครูบาศรีวิชัย กุสโลบาย คนเชียงใหม่ หรือคนทั่วไป จะมาทำบุญที่วัดส่วนกลาง เช่นที่ วัดพระสิงห์ วัดที่อยู่ตามตัวเมืองต่างๆ หรือแม้กระทั้งวัดพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยต้องการให้คนกระจายออกไปทำบุญตามวัดอื่นๆบ้าง ก็เลยตั้งวัดประจำราศีเกิดขึ้นมา
ซึ่งการสร้างวัดตามราศีเกิด ทำให้เกิด Package tour ขึ้นมามากมาย
เช่น Package tour ไหว้พระตามราศีเกิด มีทั้งไหว้ให้ครบครอบครัว
ไหว้เดี่ยว

(ไปรอบสองตอนไปสัมนาเชียงใหม่ ต้นปี 49)







 

Create Date : 21 เมษายน 2549    
Last Update : 14 สิงหาคม 2549 21:16:17 น.
Counter : 536 Pageviews.  

ชุธาตุมะแม






ผลงานชื่อ ชุธาตุมะแม

เทคนิค Screenprint
ขนาด 70 x100 cm
พิมพ์ 31 สี จำนวน 7 edition




คนที่เกิดปีมะแม ไหว้พระธาตุดอยสุเทพเชียงใหม่


ที่อยู่ของชุธาตุมะแม







ภาพร่าง





ปริ้นมาสองขนาด เพื่อเช็คสี ที่ร้าน Double A หลังมอ A 4 แผ่นละ 40 บาท




แหลมลงแป้ง




ลงสีคลุมโทนก่อน




น้ำหนักรวมของภาพ



ปาดสีเหลือง





ได้มาดังนี้







ยังไม่เสร็จ หรือ จะพอแค่นี้หว่า































 

Create Date : 21 เมษายน 2549    
Last Update : 14 สิงหาคม 2549 21:23:19 น.
Counter : 648 Pageviews.  

ชุธาตุวอก





ผลงานชื่อ ชุธาตุวอก
เทคนิค Screenprint
ขนาด 70 x100 cm
พิมพ์ 30 สี จำนวน 7 edition

เกิดปีสัน (ลิง) ไหว้พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม


ที่อยู่ของชุธาตุวอกในผลงานรวม





ลงสีพื้นด้วยโทนเหลือง





บล๊อกกับงาน





ต้องใช้ไดร์เป่าตลอด ไม่งั้นไม่ทันกิน
ไดร์ใหญ่หายไปโดยไร้ร่องรอย เลยได้ยืมของเจ้ารุ่งมาใช้





ต้องใช้แป้งตบเพื่อเพิ่มบอดี้ให้ไข และซับน้ำมันของวานิช





Printer แหลม





เป็นรูปเป็นร่างแล้ว





























 

Create Date : 21 เมษายน 2549    
Last Update : 14 สิงหาคม 2549 21:10:40 น.
Counter : 589 Pageviews.  

เทคนิค

เทคนิคที่ใช้ในงานชุด "ชุธาตุล้านนา"

ในครั้งแรกวางแผนว่าจะใช้เทคนิคภาพพิมพ์ทุกเทคนิค
แต่เพื่อความเป็นเอกภาพของงาน
จึงใช้เทคนิค ภาพพิมพ์ตระแกรงไหม (Screenprint)
เพียงเทคนิคเดียว



สั่งกรอบสกรีนที่สหอุตสาหกรรม 10 กรอบ
กรอบละ สองร้อยกว่า ซื้อผ้าสกรีนอีก 11 เมตร (เผื่อดึง 1 เมตร)
เมตรละ 240 ที่ร้านวัฒนา เป็นของสกาล่า
ถูกหน่อยเพราะใช้เยอะและงานไม่ละเอียด
แต่ไม่ค่อยได้มาตรฐานเท่าชัยบูรณ์


การเตรียมกระดาษ
ใช้ขนาดกระดาษ Fabriarno เต็มแผ่น พิมพ์ตกขอบ
ต้องใช้กระดาษเทาขาวหนารองเพื่อล๊อคคีย์





ใช้ทั้ง Fabriarno ขาว ครีม และ อาร์ตการ์ด
เพื่อให้ได้เอฟเฟคสีที่แตกต่างกันไป

พิมพ์ทั้งหมด 7 edition



Fabriarno ขาว ได้สีที่สดใสแต่จะนุ่มกว่า อาร์ตการ์ด เพราะซับสีได้ดีกว่า

Fabriarno ครีม จะได้สีที่มีการเบรคความสดของสีไม่ให้จัดเกินไป


ใช้ Photoshop ในการร่างภาพ







ต้นแบบใช้ถ่ายเอกสารขยายให้เต็มขนาด Fabriarno
สมัยเรียนใช้ร้านข้างศาลาว่าการ กทม.
มาอยู่บ้านใหม่ ๆ ใช้ศูนย์ Zerox แถวหน้าข้าวต้ม ก๊ก 24 น.ขอนแก่น
เดียวนี้เขาขายเครื่องให้ร้านใน บขส. แล้วก็เลยไปใช้บริการที่นั่น




สี ใช้สีน้ำจม
ใช้ทั้งของชัยบูรณ์ และสกาล่า
แต่สีขาวที่เป็นบอดี้สี เน้นของชัยบูรณ์เป็นหลัก
เพราะเนื้อสีเยอะกว่าสกาล่า ที่ผสมน้ำยาเยอะไปหน่อย




วัสดุกันบล๊อก ใช้ทั้งถ่ายกาวอัด ไวแสง





วานิช และไข วานิชใช้ของ TOA ล้างง่ายและนุ่มสุด
ยี่ห้ออื่นถ้าจะใช้แล้วทิ้งบล๊อกเลยก็ใช้ไป เพราะล้างไม่ออก





ดินสอไข ใช้ทั้งของ Mitsu.แท่งละ 35 บาท และ ตราม้า แท่งละ 15 บาท
อันแพงใช้ตัดเส้น อันถูกใช้ถมพื้น






เทียนไขก็ใช้ได้ดี หลุดยากกว่าดินสอไขด้วยซ้ำ
แต่เกล็นใหญ่ ใช้ในพื้นที่ละเอียดไม่ได้





ห้องทำงาน Studio ภาพพิมพ์ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปิดเทอมใช้พื้นที่ได้เยอะหน่อย
เปิดเทอมต้องแบ่งให้เด็ก ๆ ด้วย คงต้องปรับอีกที

อีกอย่าง อายุเยี่ยงผม ต้องมี Printerแหลม ไว้ล้างบล๊อก ปาดสี ถมดำ เป่าไดร์ ซื้อข้าว ฯลฯ



คนมานั่งกินส้มตำข้าง ๆก็มีไว้ จะได้ไม่เหงา กะ อ.ดวงอีกคน
นี่หลังจากสงกรานต์มานี่ ต่องานยังไม่ติดเลยนะเนี่ย ฮา


ผสมกันไปทั้ง ไข ทั้งวานิช ไขได้นุ่ม วานิชได้เพลน





เทคนิคการแยกสีคงว่าในนี้ไม่ได้ เพราะละเอียดมาก
ให้มองภาพรวมคือใช้มีเดียม(สีใส)ผสมเยอะมาก
เพื่อให้เกิดการทับซ้อนของสี


ทำน้ำหนักรวมของภาพ




ปาดสีเหลืองซึ่งมีมีเดียม(ทำให้สีโปร่งใส)อยู่เยอะ




ได้มาดังนี้










 

Create Date : 21 เมษายน 2549    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 14:48:35 น.
Counter : 2987 Pageviews.  

โครงการ




ชื่อหัวข้อโครงการ

การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ชุด
”แรงบันดาลใจจากกุศโลบายเรื่อง ชุธาตุล้านนา”


1.จุดมุ่งหมายของการสร้างสรรค์
1.1 เพื่อถ่ายทอดความประทับใจที่มีต่อความศรัทธาในพุทธศาสนาของคนไทย
1.2 เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของประเทศ
1.3 เพื่อเผยแพร่ กุศโลบายของคนล้านนาในการไหว้พระให้กระจายไปยังวัดต่าง ๆ
ไม่รวมอยู่แต่วัดใหญ่ ๆ วัดเดียว
1.4 เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางในการคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แก่นิสิตนักศึกษา
และผู้ที่สนใจอย่างมีระบบ
1.5 นำผลที่ได้จากการศึกษาและปฏิบัติเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนด้านทัศนศิลป์
ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสาธารณชน

2. ความเป็นมาและความสำคัญ
การสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้าเป็นการถ่ายทอดความประทับใจจากคุณค่าของวัฒนธรรม
และความงามในธรรมชาติ ด้วยเทคนิคภาพพิมพ์
จากผลงานที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจมาจากการได้สัมผัสความงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติในดินแดนล้านนา
ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งข้าพเจ้าได้ไปเริ่มต้นเรียนรู้ถึงการถ่ายทอดความสุนทรีย์ด้านศิลปะ





สวนของฉัน 2/2533 เทคนิค : Screenprint


หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้าพเจ้าก็ยังได้เดินทางกลับไปเชียงใหม่อย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งทุกครั้งข้าพเจ้าก็ไม่ลืมที่จะไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพ และครูบาศรีวิชัย
และทุกครั้งที่ไปก็ได้พบเห็นนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากที่ขึ้นไปสักการะ
ซึ่งในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลจากนักวิชาการในท้องถิ่นว่า

"ท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระที่คนเหนือนับถือท่านมาก
ท่านชักชวนชาวบ้านให้สร้างวัดทางเหนือได้มากกว่า 40 วัด
รวมทั้งการสร้างทางขึ้น ดอยสุเทพ
ท่านเห็นว่า คนในเมืองก็ทำบุญเฉพาะวัดใกล้บ้าน วัดในเมืองจึงเป็นวัดที่เจริญง่ายว่าวัดมีเงิน
ทำให้วัดที่อยู่ นอกเมืองยากจนต่อไป”


ท่านจึงมีกลอุบาย ให้การบุญเผื่อแผ่กระจายออกไป
จึงกำหนดให้ คนที่เกิด ปีราศีใด ก็ต้องเป็นวัดนั้น
กำหนดลงไปเลย วิธีนี้ อย่างน้อยก็กระจายออกไปได้ 12 วัด ดีกว่ากระจุกที่วัดเดียว

ด้วยความประใจในกุศโลบายนี้
ทำให้ข้าพเจ้ามีแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้




ท่านครูบาศรีวิชัยและลูกศิษย์


ความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิด

ในวัฒนธรรมล้านนามีความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิดว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมามีสถานที่เกิด
แล้วแต่บุญกรรมที่สั่งสมไว้ และเมื่อ สิ้นอายุขัย ดวงวิญญาณที่เป็นกุศลจะไปสถิตอยู่ตามพระธาตุเจดีย์ ต่างๆ ตามปีที่เกิด
และขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ หากไปนมัสการยังพระธาตุประจำปีเกิด ถือว่าได้บุญกุศลเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตทำให้อายุยืนยาว


พระธาตุประจำปีเกิด


ภาพจาก lanna.arc.cmu.ac.th/Lanna/



พระธาตุประจำปีเกิด

เกิดปีใจ้ (หนู) ไหว้พระบรมธาตุจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
เกิดปีเป้า (วัว) ไหว้พระบรมธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.เชียงใหม่
เกิดปียี (เสือ) ไหว้พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ เกิดปีเหม้า (กระต่าย) ไหว้พระธาตุแช่แห้ง อ.เมือง จ.น่าน
เกิดปีสี (งูใหญ่) ไหว้พระธาตวัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เกิดปีใส้ (งูน้อย) ไหว้พระธาตพุทธคยา ประเทศอินเดีย หรือวัดเจ็ดยอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เกิดปีสะง้า (ม้า) ไหว้พระบรมธาตุชะเวดากอง(ตะโก้ง) ประเทศพม่า หรือวัดพระธาตุบ้านตาก จ.ตากเกิดปีเม็ด (แพะ) ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เกิดปีสัน (ลิง) ไหว้พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
เกิดปีเล้า (ไก่) ไหว้พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
เกิดปีเส็ด (หมา) ไหว้พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือไหว้พระธาตุจำลองทีวัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เกิดปีใก๊ (ช้าง หรือ ปีหมูของภาคกลาง) ไหว้พระบรมธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย


หมายเหตุเรื่องภาพประกอบ

ภาพเขียนที่นำมาแสดง เป็นของช่างเขียนชาวล้านนา ใช้เทคนิคเขียนสีน้ำมันบนพื้นกระจกใส
โดยจะเขียนกลับด้าน แต่ให้มองจากด้านหน้าได้
ภาพเขียนประเภทนี้นิยมทำกันทั่วไปในเขตภาคเหนือในช่วง 80-100 ปีที่ผ่านมา
ช่างเขียนจะยึดโครงสี เรื่องราว และองค์ประกอบคล้ายกัน
คือจะมีรูปสัตว์ประจำปีเกิด พระธาตุ และวัด รวมอยู่ในภาพ
จะแตกต่างกันที่เทคนิค และฝีมือของแต่ละท้องที่เท่านั้น ช่างเขียนจะนำภาพกระจกใส่กรอบไม้และขายทั่วไป
ซึ่งราคาอยู่ที่ประมาณภาพละ 3 บาท ชาวบ้านจะซื้อไว้เพื่อประดับหิ้งพระ
และกราบไว้บูชาตามปีเกิดของตน


3.ขอบเขตของการสร้างสรรค์

3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
ในความเชื่อทางล้านนาได้มีข้อมูลในเรื่องคติการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดไว้มากมาย
ทั้งเรื่องปฏิทินของชาวอุษาคเนย์ ,ธัมม์ปีเกิด หรือธรรมทานประจำปีเกิด ,
การสร้างถาวรวัตถุถวาย เป็นต้น ซึ่งในลักษณะการแสดงออกทางศิลปะของข้าพเจ้าต้องการถ่ายทอดให้เห็นถึงความประทับใจในคุณค่าของวัฒนธรรม
ที่เกิดขึ้นจากการเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน

3.2 ขอบเขตด้านรูปแบบ
ลักษณะของการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้าจะเป็นการบันทึกรูปทรงที่ประทับใจ
และมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาหลักโดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่แสดงถึงความสุข
โดยใช้สีสันที่สดใสเป็นสื่อในการแสดงออก
และด้วยเนื้อหาที่พูดถึง ราศีเกิด12 ราศีที่เกี่ยวข้องกัน
ในผลงานทั้ง 12 ชิ้นของข้าพเจ้าจึงต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันในลักษณะผลงานเป็นชุด
ซึ่งข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจทางด้านรูปแบบมาจากผลงานภาพพิมพ์หินของ Jasper John

ชุด 'Color numerals' series 1969




3.3 ขอบเขตด้านเทคนิค
ในลักษณะการนำเสนอผลงานศิลปกรรมที่แสดงออกด้านวัฒนธรรมในประเทศไทย
ส่วนใหญ่จะนำเสนอในรูปแบบของผลงานจิตรกรรม หรือประติมากรรม
ซึ่งศิลปินภาพพิมพ์ของไทยส่วนใหญ่ใช้รูปทรงที่เป็นสากลมานำเสนอ
ข้าพเจ้าจึงต้องการที่จะเติมส่วนขาดตรงนี้ด้วยการนำเสนอผลงานที่มีเนื้อหาทางวัฒนธรรมด้วยเทคนิคทางภาพพิมพ์
และด้วยที่ปัจจุบันข้าพเจ้าเป็นผู้สอนศิลปะภาพพิมพ์ที่ต้องคลุกคลีอยู่กับเทคนิคทางภาพพิมพ์แทบทุกเทคนิค
การนำเสนอผลงานชุดนี้ข้าพเจ้าจะใช้เทคนิคภาพพิมพ์ที่หลากหลายเทคนิค ในการสร้างสรรค์

4. วิธีการดำเนินการสร้างสรรค์

4.1 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลการสร้างสรรค์

4.1.1 การรวบรวมข้อมูลเอกสาร
ข้าพเจ้าได้ใช้สื่อทางอินเตอร์เนตในการค้นหาข้อมูลและเนื้อหาในเรื่องราวของ ชุธาตุ
ทั้งรูปแบบในการสืบค้นด้วยการ Search และ ตั้งกระทู้ถามในเวปบอร์ดต่าง ๆ
ทำให้ได้ทราบข้อมูลที่หลากหลาย อีกทั้งข้าพเจ้ายังได้รู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้ที่ศึกษาข้อมูลเรื่องนี้
คืออาจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์
อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ศึกษาเรื่อง
ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุ ในอนุภูมิภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อ
โดยสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้าพเจ้ารวมทั้งอาจารย์เธียรชาย ได้ร่วมเดินทางทัศนศึกษาวัดทั่วภาคเหนือโดยการนำของอาจารย์วิถี พานิชยพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะวัฒนธรรมล้านนา
(ซึ่งเป็นจุดเริ่มในความสนใจด้านวัฒนธรรมล้านนาของข้าพเจ้า)
ทำให้ข้าพเจ้าได้รับข้อมูลเชิงลึกอย่างมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์



ร่วมเดินทางทัศนศึกษาสถาปัตยกรรมล้านนา 16 จังหวัด
ร่วมกับอาจารย์และนักศึกษาของภาควิชาศิลปะไทย
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2532



4.1.2 การรวบรวมข้อมูลภาคสนาม
อันที่จริงข้าพเจ้าได้รับข้อมูลภาคเอกสารและคำบอกเล่าในเรื่องนี้ละเอียดมาก
อีกทั้งข้าพเจ้ายังเคยไปสักการะมาแล้วเกือบทุกพระธาตุ แต่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
ข้าพเจ้าจึงได้เริ่มเดินทางใหม่อีกครั้งโดยใช้ทุนของตัวเองตั้งแต่ต้นปี 2548 ที่ผ่านมา
ซึ่งในตอนแรกข้าพเจ้ามีโครงการที่จะเดินทางไปยังพระธาตุสองแห่งที่อยู่ต่างประเทศคือพระธาตุประจำปีมะเส็ง ที่พระธาตพุทธคยา ประเทศอินเดีย
และพระธาตุประจำปีมะเมีย พระบรมธาตุชะเวดากอง(ตะโก้ง) ประเทศพม่า
แต่ด้วยเงินทุนที่จำกัด ประกอปกับกุศโลบายนี้ยังหาทางออกไว้ให้ด้วยการสามารถไหว้วัดอื่นแทนได้
ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจไปไหว้ในประเทศที่ทดแทนได้




เดินทางไปนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดในประเทศไทย 12 พระธาตุ

พระธาตุประจำปีเกิดปีชวด
เกิดปีใจ้ (หนู) ไหว้พระบรมธาตุจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีฉลู
เกิดปีเป้า (วัว) ไหว้พระบรมธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีขาล
เกิดปียี (เสือ) ไหว้พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ
เกิดปีเหม้า (กระต่าย) ไหว้พระธาตุแช่แห้ง อ.เมือง จ.น่าน
พระธาตุประจำปีเกิดปีมะโรง
เกิดปีสี (งูใหญ่) ไหว้พระธาตุวัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีมะเส็ง
เกิดปีใส้ (งูน้อย) ไหว้พระธาตพุทธคยา ประเทศอินเดีย หรือไหว้วัดเจดีย์เจ็ดยอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีมะเมีย
เกิดปีสะง้า (ม้า) ไหว้พระบรมธาตุชะเวดากอง(ตะโก้ง) ประเทศพม่า
หรือไหว้ที่พระธาตุบ้านตาก อ.บ้านตาก จ.ตาก
พระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม
เกิดปีเม็ด (แพะ) ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีวอก
เกิดปีสัน (ลิง) ไหว้พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา
เกิดปีเล้า (ไก่) ไหว้พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
พระธาตุประจำปีเกิดปีจอ
เกิดปีเส็ด (หมา) ไหว้พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หรือไหว้พระธาตุจำลองทีวัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุประจำปีเกิดปีกุน
เกิดปีใก๊ (ช้าง หรือ ปีหมูของภาคกลาง) ไหว้พระบรมธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย


4.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล


4.2.1 การวิเคราะห์เพื่อหาแนวเรื่อง
ข้าพเจ้านำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาสรุปแนวความคิดรวบยอดออกมาในรูปแบบของการถ่ายทอดความประทับใจ

4.2.2 การวิเคราะห์เพื่อค้นหาข้อมูลและสัญลักษณ์
ด้วยความประทับใจรูปทรงและลวดลายในสถาปัตยกรรมสีสันที่มีที่มาจากธรรมชาติ ที่ได้มาจากการเดินทาง





4.2.3 การวิเคราะห์เพื่อค้นหาเทคนิคและกลวิธี
ในด้านเทคนิค ด้วยกระบวนการถ่ายทอดความรู้ทางศิลปะภาพพิมพ์สู่นิสิต
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทำให้ข้าพเจ้าได้สัมผัสถึงสเน่ห์ของผลงานภาพพิมพ์ในทุกเทคนิคที่นอกเหนือไปจากเทคนิคภาพพิมพ์ตระแกรงไหมที่ตัวเองถนัด อีกทั้งยังต้องการความหลากหลายในผลงานในครั้งแรกข้าพเจ้าคิดจะใช้เทคนิคหลายเทคนิคในการถ่ายทอดผลงาน
แต่เนื่องจากเหตุผลทางด้านเอกภาพของรูปแบบ
ข้าพเจ้าจึงเลือกใช้เทคนิคเดียวที่ถนัดคือเทคนิคภาพพิมพ์ตระแกรงไหม
(Screenprint)

ในด้านกลวิธีในการนำเสนอ ข้าพเจ้านำเสนอผลงานเป็นชุด จำนวน 12 ชิ้น
จำนวนของราศี โดยทั้ง 12 ชิ้นจะอยู่ในโครงสร้างของสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการบูชาคือดอกบัว






โดยแบ่งรูปทรงหลักออกเป็น 12 ชิ้น
แล้วใช้โครงสร้างที่เกิดขึ้นมาเป็นโครงสร้างหลักในการจัดองค์ประกอบศิลป์
เมื่อผลงานเสร็จทั้ง 12 ชิ้น จะนำมาจัดวางในลักษณะเหมือน”ภาพต่อจิ๊กซอ”
เพื่อแสดงถึงจุดประสงค์หลักในเรื่องกุศโลบายนี้ที่ถึงแม้จะแยกสถานที่กระจายออกไป
แต่ความหมายหลักก็คือความศรัทธา ที่แสดงออกด้วยรูปทรงของดอกบัว


ภาพร่างโครงสร้างการนำเสนอ








ตัวอย่างภาพร่าง ชุธาตุ : ระกา
ที่ได้โครงสร้างขององค์ประกอบมาจากโครงสร้างที่ตัดมาจากรูปทรงดอกบัว
ซึ่งในแต่ละชิ้นก็จะมีองค์ประกอบของตัวเองที่สมบูรณ์


4.3 ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน

4.3.1 ขั้นตอนการทำภาพร่าง ด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ทำให้มีความสะดวกในการสร้างรูปด้วยคอมพิวเตอร์
ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและได้รูปลักษณ์ที่แปลกใหม่




4.3.2 ขั้นตอนการขยายผลงานภาพร่าง
ผลงานแต่ละชิ้นมีขนาด 70X110 เซนติเมตร นอกจากนั้นยังต้องขยายให้ได้สัดส่วนตามภาพร่าง
เพื่อเวลานำมาจัดวางจะได้รูปทรงที่สมบูรณ์จึงใช้การถ่ายเอกสารขยาย
เพื่อความถูกต้องของสัดส่วน



4.3.3 ขั้นตอนการสร้างผลงาน
สร้างผลงานภาพพิมพ์ในเทคนิคต่าง ๆ
ณ ห้องปฏิบัติการภาพพิมพ์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




5. ระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างสรรค์

ใช้เวลาประมาณ 1 ปีเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน

6. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสร้างสรรค์

โดยได้รับทุนสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์
จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และ ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร


คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณดังนี้
6.1 ค่าเดินทางเพื่อเก็บข้อมูลทั้ง 12 พระธาตุ 30,000 บาท
6.2 ค่าใช้จ่ายในการสร้างผลงานภาพพิมพ์ 12 ชิ้น 40,000บาท
6.3 ค่าใช้จ่ายในการใส่กรอบผลงานเพื่อติดตั้ง 12 ชิ้น 20,000บาท
6.4 ค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสารประกอบการสร้างสรรค์ 30,000 บาท

รวมทั้งสิ้น 120,000 บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

7.การเสนอผลงานสร้างสรรค์

7.1 สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์1 ชุด ขนาดรวม 320 x 330 เซนติเมตร โดยประกอบด้วยผลงานชิ้นย่อย 12 ชิ้น ขนาด 70 x 110 เซนติเมตร
7. 2 นำเสนอเอกสารประกอบการสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่วิธีการสร้างสรรค์
7. 3 จัดแสดงผลงานออกเผยแพร่สู่สาธารณชน




 

Create Date : 21 เมษายน 2549    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 13:57:24 น.
Counter : 2309 Pageviews.  

1  2  3  4  

สวนสวรรค์
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ตอนหนุ่ม
ผมสร้างศิลปะ

ตอนนี้(ก็ยังหนุ่มอยู่)
ผมสร้าง"คนศิลปะ"

และคนที่สามารถเอาตัวรอดในสังคมได้



  • บล๊อกผลงานศิลปะของอภิชาติ แสงไกร





  • Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.