บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 

=>ใครยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการออมใด ๆ ทำอย่างไร

เราจะเห็นได้ว่าประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้ว จะมีระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ (Pension System) มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา หรือแถบภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือฮ่องกง ที่มีระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุที่มั่นคงมาก ส่งเสริมให้ผู้คนในประเทศมีมาตรฐานในการดำรงชีวิตยามหลังเกษียณเป็นอย่างดี




ในขณะเดียวกันประเทศที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว จึงได้เร่งให้ความสำคัญของการจัดตั้งระบบการออมเงินระยะยาวของประชาชนวัยทำงานในรูปแบบกองทุนแบบต่าง ๆ ขึ้น เนื่องจากหากยิ่งทำได้มากและครอบคลุมคนทำงานในทุกอาชีพก็จะยิ่งส่งผลดีเพราะจะช่วยทำให้คนสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อม ๆ กับส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพราะชาติอยู่ได้เราก็อยู่ได้นั่นเอง


ดังนั้นใครที่ได้เข้าสู่ระบบการออมเงินดังกล่าวไปแล้ว นับเป็นเรื่องดีมาก ๆ แต่ถ้าใครยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการออมใด ๆ ก็ต้องช่วยเหลือตนเองด้วยการมีวินัยในการออมให้ดีเพื่อให้ชีวิตไม่อับเฉาตอนแก่นั่นเอง




 

Create Date : 30 เมษายน 2553    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 14:22:29 น.
Counter : 816 Pageviews.  

ประเทศที่พัฒนาแล้วประชากรร้อยละ 15 จะเป็นผู้สูงอายุ

ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวนประชากรร้อยละ 15 จะเป็นผู้สูงอายุ ผลจากการคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ.2573 จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 25 และในปี พ.ศ.2593 จะเท่ากับร้อยละ 30


สำหรับประเทศญี่ปุ่นและยุโรปบางประเทศซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าวอย่างมากคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 35 ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาประชากรยังมีอายุไม่สูงมากนัก แต่เชื่อได้ว่าในเวลาเพียง20-30 ปีข้างหน้าสถานะการณ์ก็จะเป็นเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน




ดังนั้นในการปฏิรูประบบบำนาญจึงมีวัตถุประสงค์ทางสังคมเพื่อให้ประชากรมีรายได้จากระบบบำนาญในการใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างเพียงพอ โดยอาศัยเงินออมของแต่ละคนที่ออมจากรายได้ของตนเองในช่วงวัยทำงาน และเป็นการลดภาระของรัฐที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุเนื่องจากระบบบำนาญดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการดูแลให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นมีรายได้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยามชราได้




 

Create Date : 29 เมษายน 2553    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 14:26:52 น.
Counter : 602 Pageviews.  

คนชรามี 5 แบบ

สำหรับคนที่ยังไม่เคยแก่  ก็ควรที่จะรู้ว่าคนชรามี 5 แบบ  จะได้เตรียมตัวไว้ว่า  เราจะเป็นคนแก่แบบไหน  หรือหากเราไปพบคนแก่  ก็จะได้รู้ว่า เขาเป็นอย่างไร  คนชรามี  5 แบบ ดังนี้


1. คนชราปรับตัวเก่ง          เป็นคนแก่ที่รู้โลกว่ามันก็เป็นเช่นนี้  ยามมีอำนาจก็มีคนล้อมหน้าล้อมหลัง  ชิงกันเอาใจ  พอหลังเกษียณก็หายหน้าหายตาไปหมด  รู้และเตรียมตัวอยู่แบบคนแก่แล้วทั้งบ้านพักการกินอยู่  แผนทีหนีทีไล่ยามเจ็บป่วย  เงินก็พอมีพอกินจนตาย


2. คนชราขี้โกรธ       
เป็นคนชราที่รู้สึกว่าสูญเสียอำนาจไปหลายอย่าง  แม้แต่ร่างกายตัวเองก็ไม่ได้ดั่งใจ  บางทีขี้โรคอีกต่างหาก  ขี้หงุดหงิดขี้โกรธ  แล้วจะให้ใครเข้าใกล้ละ  เห็นหน้าทีไรก็ด่าทุกที


3. คนชรารักสนุก          เป็นคนชราที่อารมณ์ดี  ชอบเล่าประสบการณ์และเรื่องสนุกให้เด็กๆ ฟัง  ชอบสอนคน  สุขภาพใจดี  ลูกหลานก็ช่วยตัวเองได้หมด ไม่ต้องเป็นห่วง


4. คนชราเชื่อมั่นตนเองสูง     โดยเฉพาะคนที่เคยใหญ่โต  หรือมีความรู้สูงๆ  คิดว่าของตนเองถูกต้องเสมอ  ก็ปล่อยให้เขาพูดไปเถอะ  อย่าไปขัดคอคนชราแบบนี้


5. คนชราเกลียดตัวเอง          มักเป็นคนชราที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  โทษตัวเอง  ความสามารถน้อย  และคิดว่าต้องพึ่งลูกกิน  ชีวิตเศร้าสร้อยรอวันตาย


เตรียมตัวกันไว้ก่อนว่าจะเป็นคนชราแบบไหนกันดีคะ




 

Create Date : 28 เมษายน 2553    
Last Update : 31 พฤษภาคม 2553 16:37:28 น.
Counter : 1097 Pageviews.  

ในปี 2563 ชีวิตมนุษย์จะต้องเผชิญกับ...?

โครงสร้างทางประชากรของประเทศไทย กำลังจะก้าวไปสู่สังคมผู้สูงวัย (สว) ซึ่งคาดว่าปี 2553 จะมีประชากรอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 11% และเพิ่มเป็น 15% ในปี 2563 ชีวิตมนุษย์จะต้องเผชิญกับสิ่งต่อไปนี้คือ


1.อายุสั้น จากไปก่อนวัยอันควร
2.อายุยืน หลังเกษียณไม่มีรายได้
3.ทุพพลภาพ หรือ เจ็บป่วยในระยะยาว





คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก //www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/99958/Default.aspx




 

Create Date : 27 เมษายน 2553    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 14:39:08 น.
Counter : 369 Pageviews.  

คนเราควรมี"เงินฉุกเฉิน"จำนวนเท่าไหร่ดี

“เงินฉุกเฉิน” ถือเป็นเงินออมส่วนหนึ่งที่เรากันไว้สำหรับการใช้จ่ายกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น ไม่ว่ากรณีที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง เช่น การรักษาพยาบาล การเรียนการศึกษา นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเช่น ความจำเป็นในการการซ่อมบำรุงอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่างๆ หากเกิดการชำรุดขึ้นมากะทันหัน เช่นรถยนต์ หรือในกรณีที่บ้านที่เราอาศัยอยู่ถึงคราวต้องซ่อมแซมหรือต่อเติมใหม่เพื่อให้เรายังคงอาศัยอยู่ได้อย่างสบาย เป็นต้น จึง ควรมีเงินสำหรับไว้ใช้ในส่วนนี้ด้วย




การเก็บเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นส่วนของเงินฉุกเฉินนั้น จำนวนขั้นต่ำที่ควรเก็บไว้คือประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน


เช่น หากในเดือนๆ หนึ่ง เรามีค่าใช้จ่ายรวม 8,000 บาท ก็ควรมีเงินในส่วนที่เป็นเงินฉุกเฉินไว้ไม่ต่ำกว่า 48,000 บาท โดยเก็บไว้ในเครื่องมือการลงทุนที่มีลักษณะสภาพคล่องสูง เช่น เก็บเป็นเงินสดไว้ติดบ้านบางส่วน บางส่วนก็นำฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ไว้ หรืออาจจะนำส่วนที่เป็นเงินฉุกเฉินเก็บในบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวก็ได้ เพราะจะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วเมื่อถึงคราวที่จำเป็นต้องใช้เงินในส่วนนี้


คุณผู้อ่านหละคะ มีเงินจำนวนนี้กันไว้แล้วหรือยังคะ ถ้ายังควรลงมือวันนี้กันเลยนะคะ เพื่อให้เรามีเงินฉุกเฉิน เอาไว้ รองรังค่ะ




 

Create Date : 26 เมษายน 2553    
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 14:38:07 น.
Counter : 370 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.