บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 
=> เครดิตบูโรแนะจับตาหนี้บุคคลเพิ่ม

เครดิตบูโรแนะจับตาหนี้บุคคลเพิ่ม

ตามที่ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) หรือ "สำนักปากท้อง" สังกัดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ภายใต้การประสานความร่วมมือกับ 3 ธนาคารเฉพาะกิจคือ

ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) กำหนดสรุปเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ย และวงเงินที่จะรับโอนหนี้บัตรเครดิตในวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 นั้น

ล่าสุดบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(เอ็นซีบี)หรือ เครดิตบูโร เปิดบัญชีสินเชื่อในระบบที่เป็นฐานข้อมูลของเอ็นซีบีมีจำนวนลูกหนี้ประมาณ 20 ล้านราย คิดเป็นจำนวนบัญชีสินเชื่อทั้งสิ้น 62.5 ล้านบัญชี แบ่งเป็นบัญชีที่เคลื่อนไหวจำนวน 37.5 ล้านบัญชี ที่เหลืออีก 21.5 ล้านบัญชีเป็นบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว และสถาบันการเงินหยุดนำส่งข้อมูลหรือรายงาน อย่างไรก็ตามในจำนวนดังกล่าวสถาบันการเงินนำส่งรายงานเฉพาะที่เป็นบัญชีค้างชำระมากกว่า 90 วันขึ้นไป( ค้างชำระเกิน 91 วันถึง 210 วัน)ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลจำนวน 5.4 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.9 ล้านคน

ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินได้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลเครดิตของลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 4.4 ล้านรายการ คิดเป็นเฉลี่ย 1.46 ล้านรายการต่อเดือนสูงกว่าไตรมาสที่ 4 ปีก่อนที่อยู่ในระดับ 1 ล้านรายการต่อเดือนหรือเพิ่มขึ้น 40 % โดยพบว่ามีประชาชน บริษัท และเอสเอ็มอี ที่เป็นเจ้าของข้อมูลให้ความสนใจมาตรวจเครดิตบูโรของตนเองเป็นจำนวน เฉลี่ย 2.5 หมื่นรายการต่อเดือน

"นายสุรพล โอภาสเสถียร" ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรหรือเอ็นซีบียังส่งสัญญาณถึงช่วงที่เหลือของปีนี้ว่า ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ หรือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น หรือภัยธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้ง หากปัจจัยดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายจะทำให้ภาระการชำระหนี้ต้องอยู่ในระดับ 50-60% ของรายได้ต่อเดือน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาหนี้เอ็นพีแอลสำหรับสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่เพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน(มากว่า 90 วันถึง 210 วัน)จำนวน 5.4 ล้านบัญชี คิดเป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านราย จากบัญชีที่มีการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น 37.5 ล้านบัญชี(ดูตารางประกอบ)

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน แบ่งเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลค้างชำระสูงสุด 2.4 ล้านบัญชี จากทั้งสิ้น 10 ล้านบัญชีคิดเป็นสัดส่วนสินเชื่อ 27% ของสินเชื่อบุคคลธรรมดา ซึ่งคงต้องจับตาดูเป็นพิเศษเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ รองลงมาคือ สินเชื่อบัตรเครดิต1.4 ล้านบัญชี จากทั้งสิ้น 13.7 ล้านบัญชี สัดส่วน 37%

นอกจากนี้ ยังมีลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน90 วัน อยู่ในระดับเฝ้าระวังทั้งสิ้น 1.5 ล้านบัญชี แบ่งเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต 1 แสนบัญชี สินเชื่อบุคคล 2 แสนบัญชีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 7 แสนบัญชี สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 3 แสนบัญชี และอื่นๆ 2 แสนบัญชี ขณะที่มีลูกหนี้มีประวัติดีชำระหนี้ภายใน 30 วัน 30.6 ล้านบัญชี

ต่อข้อประเด็น "โครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของรัฐบาล"นั้น นายสุรพลประเมินว่าจะมีบัญชีที่เข้าโครงการประมาณ 11.6 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดคงค้างสินเชื่อ 152,110 ล้านบาท ซึ่งวงเงินที่รัฐบาลตั้งไว้ 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.57% ของยอดคงค้างสินเชื่อเท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,637 22-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ที่มา: //www.thannews.th.com/



Create Date : 24 พฤษภาคม 2554
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 17:35:09 น. 0 comments
Counter : 364 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.