บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 
=> ออมเงินด้วยระบบการหักเงินจากเงินเดือนก่อนจะใช้จ่าย

วันเงินเดือนออกเป็นวันที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนรอคอย เพราะเป็นวันที่เราคิดไว้ล่วงหน้าไว้แล้วว่า เงินจะได้เอาไปใช้จ่ายเป็นค่าบ้าน ค่ารถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ให้พ่อ แม่ หรือลูก ๆ ฯลฯ น้อยคนนักที่จะเผื่อใช้สำหรับการคิดว่าเงินเดือนออกแล้ว จะเก็บเงินหรือออมเงินสำหรับตัวเองเมื่อยามเกษียณอายุ เพราะภาระต่าง ๆ ที่มีเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือนนั้น เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่เร่งด่วน ที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือจ่ายหนี้คืนไปโดยเร็ว เนื่องจากเป็นความรับผิดชอบและไม่อยากผิดสัญญาที่ทำไว้นั่นเอง


ดังนั้น ในเมื่อปัจจุบันโครงสร้างครอบครัว และ โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วเกือบจะสิ้นเชิง คนสูงอายุมีจำนวนมากขึ้นอายุยืนยาว และไม่ได้อยู่แบบครอบครัวขยายที่มี ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน อยู่ด้วยกันแบบเดิมอีกแล้ว จึงมีความจำเป็นที่คนที่อายุ 30 ขึ้นไปน่าจะเริ่มคิดถึงการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุให้มากขึ้น


โดยต้องคิดว่าการออมเงินให้ตัวเองเช่นนี้เป็นค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับค่าน้ำ ค่าไฟฯลฯ ที่เราจะต้องจ่ายทุกวันเงินเดือนออกเช่นกัน ต้องปลูกฝังความคิดแบบนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ ไม่เช่นนั้นคงลำบากเมื่อแก่แน่นอน เพราะหากเราไม่คิดเก็บออมตั้งแต่วันเงินเดือนออก เราก็จะไม่มีเงินเหลืออย่างแน่นอน




วิธีการที่ดีที่สุดคือ เมื่อเงินเดือนออกควรจะกำหนดให้ธนาคารที่เราฝากเงินนั้นให้ตัดเงินเราออกจากบัญชีเพื่อไปเก็บออมไว้ในอีกบัญชีเพื่อการเกษียณของเรา


หรือหากเราเป็นพนักงานบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หน่วยงานต้นสังกัดของเรา ก็จะเป็นผู้ทำหน้าที่หักเงินของเราไปออมไว้ระยะยาว เพื่อให้เราได้มีเงินก้อนจำนวนหนึ่งไว้สำรองไว้เลี้ยงชีพได้อย่างเหมาะสม มั่นคง ในยามเกษียณเราก็ควรเต็มใจ และหากเราเห็นว่าได้มีหักเงินไปจำนวนไม่มากพอสำหรับเราจะไว้ใช้จ่ายในอนาคต เช่นวันนี้หักไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ เราก็ควรเพิ่มจำนวนให้สูงขึ้น หรือหากทำไม่ได้ตัวเราเองก็ควรจะติดต่อกับธนาคารโดยตรงเพื่อดำเนินการเรื่องหักเงินจากบัญชีเงินเดือนของเราทันทีที่เงินเดือนเข้า เพื่อเป็นการออมเพิ่มเติมของเรานั่นเอง เนื่องจากปัจจบันธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ก็มีบริการให้แก่ลูกค้าตามความต้องการได้หลากหลายประเภทอยู่แล้ว


ประเด็นสำคัญคือ "เริ่มต้นแต่น้อย" สำหรับการหักบ้ญชีเพื่อการออมให้ได้ ทีละเล็ก ทีละน้อย ดีกว่าที่จะไม่ออมเลย อีกทั้งการเริ่มแต่น้อยเราเองอาจจะไม่ทันได้สนใจกับเงินจำนวนมากนี้ เช่นเดือนละ 300 หรือ 500 บาท ตั้งแต่อายุ 30 ปี กว่าจะเกษียณอายุก็อีก 30 ปี ออมไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งก็จะพบว่าเงินจำนวนนี้ที่เราเก็บออมไว้มีจำนวนที่เราพึงพอใจทีเดียว


หากเมื่อเราออมเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว ประกอบกับหาความรู้ ทำความเข้าใจกับเครื่องมือการลงทุนและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนประเภทต่าง ๆ เราก็อาจเอาเงินออมไปออมไว้กับกองทุนรวมหรือไปซื้อพันธบัตร แม้กระทั่งไปลงทุนในหุ้นก็เป็นไปได้ โดยขึ้นอยู่กับความรู้ในเรื่องการเงิน การลงทุนของแต่ละคนนั่นเอง หรือหากไม่ลงทุนเลย ก็สามารถมีเงินออมไว้ในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารไว้ให้เราอุ่นใจว่าอย่างน้อย เราก็มีหลักประกันของชีวิตแล้วนั่นเอง


การเริ่มต้นความคิดให้ได้ว่า การออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่อง บ้าน เรื่องรถ เรื่องน้ำ เรื่องไฟ ฯลฯ เนื่องจากเป็นการทำให้ตัวเราเอง ดังนั้น หากเห็นด้วยว่าโครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงแล้ว เราจะอายุยืนขึ้นอีกนาน "การเก็บออมเงินเพื่อการเกษียณจึงจำเป็นต้องทำ โดยโปรดคิดถึงให้ระบบทำการหักเงินไปก่อนที่เราจะใช้อย่างอื่นโดยเริ่มต้นแต่น้อยให้ได้ แล้วเราจะมีความสุขในที่สุด"


ขอให้ท่านลงมือตั้งแต่เดือนนี้ เพื่อวันที่ดีในอนาคตให้ได้นะคะ แต่ต้องไม่ลืมว่า "ต้องเดินสายกลางในทุกเรื่อง" เพราะสำคัญของชีวิตคือสมดุล ถ้าเสียสมดุลไปไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เราก็จะเสียศูนย์และหลักลอยในที่สุดค่ะ


ยิ้มรับกับวันใหม่อย่างมีความสุขทุกวันทุกคนเลยนะคะ





Create Date : 17 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 กันยายน 2553 15:39:21 น. 3 comments
Counter : 1012 Pageviews.

 
ขอบคุณมากๆนะคะ


โดย: auau_py วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:11:35:03 น.  

 

ปัจจุบันก็ใช้วิธีนี้แหล่ะค่ะ แต่ให้สหกรณ์หักให้
สิ้นปียังได้เงินปันผลคืนและยอดเงินเก็บก็สูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว

เป็นวิธีที่ดีเลยค่ะ


โดย: sunny-low วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:16:27:44 น.  

 
นำวิธี ของ จขบ.ไปปฏิบัติ แล้วโอเคเลยคับ มีเงินเป็นไม่ได้ ต้องเอาไปฝากตลอด


โดย: The Kop Civil วันที่: 17 มิถุนายน 2553 เวลา:16:55:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.