Update! • Kenny Keng Web• Activity • Article • Imagine • My ARTWORK • BackPack/Journey • Sketch • All Art • alphafo

alphafoBasic Sketch • • 333 STUDIO KENNY KENG Blog


ALPHA FO
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]








**อันนี้ก็สำคัญครับ กับเรื่องของสิทธิ
คือว่าถ้าหากเพื่อนๆท่านใด
ต้องการนำภาพหรือบทความไปเผยแพร่
กรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ

**ขอบคุณครับ**

alphafo

New Article : JAN 2015

Art trip : My Journey
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม"ฮานอย1 เวียดนาม:13/02/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา3 เวียดนาม:31/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา2 เวียดนาม:16/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ซาปา1 เวียดนาม:14/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" เดียนเบียนฟู เวียดนาม:09/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" หลวงพระบาง ลาว:07/01/15
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ไชยบุรี2 ลาว:26/12/14
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียนาม" ไชยบุรี1 ลาว:25/12/14
• "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม" ปาด แปด 8:23/12/14
• "เริ่มใหม่...ได้ทุกเมื่อ":25/02/14
• "ปั่นคิดที่กองโค":19/12/12
• "12 12 12":12/12/12

• "ลับแล ซะที" :06/08/12

• BEST OF THE BEST:05/03/12

alphafo

• กาแฟสดบ้านหมึกจีน coffee and china's art gallery:16/02/12

Update! • อุปกรณ์การวาด carbon powder
•เทคนิคการทำเฟรมเขียนสีน้ำมัน
•เทคนิคการทำเฟรมสีน้ำมัน
•ปลอกต่อดินสอ EE กรณีดินสอของท่านหดสั้นจุ๊ดจู๋
•การทำสมุดเสก็ตซ์อย่างง่ายและประหยัด
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 1
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 2
•ภาพตัวอย่างสีชอล์ก 3



Update!เทคนิค ขั้นตอน การวาดภาพการ์ตูน
• : เทคนิคการวาดภาพผงคาร์บอนพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาพิชัยดาบหัก
• การวาดการ์ตูนล้อเลียน
• พื้นฐานการวาดการ์ตูน
•เทคนิคการวาดภาพคนสีชอล์ก(หลวงปู่แดง)
•เทคนิคการวาดภาพคนเหมือนเต็มตัวสีน้ำมัน
•การวาดเส้นสีคนเหมือน แบบหญิง
•การวาดเส้นสีคนเหมือน แบบชาย
•เทคนิคการวาด carbon powder
•การวาดสีชอล์กแท่ง พระยาพิชัยดาบหัก
•การแก้ไขภาพสีน้ำมัน landscape
•เทคนิควาดภาพสีน้ำมัน Landscape
•พื้นฐานการวาดภาพสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่(Basic)
•เทคนิคการวาดเส้นหุ่นนิ่ง(Drawing)
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "ตา"
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "จมูก"
•เทคนิคการวาดเส้นภาพเหมือน(portrait) "ปาก"
•เทคนิคการวาดเส้นรูปคนเหมือนด้วยดินสอ EE(drawing portrait-woman)
•เทคนิคการวาดเส้นคนเหมือน (Drawing sketch)
•เทคนิคการวาดเส้นรูปคนเหมือนภาพสีด้วยสีชอล์กแท่ง(pastel portrait)
•เทคนิคการใช้สีชล์อกแบบ drawing
•เทคนิคการแกะสติ๊กเกอร์แบบปลอกล้วย(จริงๆ)

alphafo ART ARTICLE :
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 6(สุดท้าย): โบนัสพิเศษกับงานศิลปะ
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 5 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 2)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 4 : วิธีการวาดภาพให้ได้ (เอาจริงซะที 1)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 3 : ตามหามุมบันทึก(วาดเส้น)
• "เที่ยวไปกับถ่าน"ตอนที่ 2 : ทำไมต้องเป็นถ่าน?
• "เที่ยวไปกับถ่าน" ตอนที่ 1: เด็กน้อยกับฝาบ้าน
**ภาพสเก็ตซ์สีชอล์กน้ำมัน
**เทคนิคประสม...ใคร ??
ศิลป์(ป่ะ) “ต้องเป็นตัวของตัวเองดิ๊” ...

ภาพวาดที่ฉีก: ผมยืนมองภาพพร้อมกับฟังเสียงหล่น..
ANATTA: วันที่ความหดหู่ หดเหี่ยว หรือเหี่ยวจนหด...
alphafo
alphafo

alphafo
alphafo


Sketch crawl ร่วม Sketch กับเพื่อนๆทั่วโลก

alphafo ALPHA FOCUS หนังสือพิชัย เมืองเล็กฯ เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองหน้าด่านของสยามประเทศในอดีต.....
alphafo
โอกาสที่ท่านมุ้ยมอบให้ สิ่งที่ผมเฝ้าศึกษาและสังเกตุ จะมีเรื่องราวและข้อมูลไปพ้องกับใครบางท่านเข้าอย่างจัง...

New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ALPHA FO's blog to your web]
Links
 

 

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม / ตอนที่ 4 : หลวงพระบาง ลาว

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ : ไทย ลาว เวียดนาม
ตอนที่ 4 : หลวงพระบาง ลาว
เพียง 4 ชั่วโมงจากไชยบุรี จากถนนที่กำลังทำเป็นบางช่วงก็มาถึงที่หลวงพระบาง
อาทิตย์ดวงกลมที่ลอยเฉียงอยู่บริเวณด้านบนกกหู กระตุกให้ผมมองนาฬิกา ชี้เด่เข็มสั้นตรงไปที่เลข 2 พอดี



ส นิยม พาเรามาที่สถานีขนส่งของหลวงพระบาง
รูปร่างหน้าตายังคงอนุรักษ์ไว้ตามแบบดั่งเดิมที่เคยมีมาจากภาพยนต์ที่เคยฉายในไทยเมื่อหลายปีที่แล้ว
เมฆก้อนใหญ่สีขาว กับท้องฟ้าสีน้ำเงิน และอากาศเย็นแบบเบาบางสบาย
ทำให้มองเห็นสถานที่จอดรถแห่งนี้ชัดเจนไร้สิ่งบดบัง



ถัดจากตัวอาคารมีรถบัสท้องถิ่นที่มาจากไชยบุรีสู่เมืองหลวงพระบางอยู่จอดอยู่ไม่ไกล
กล่องเหล็กที่ซ้อนกันอยู่หลายคัน มีรถจากเวียงจันทน์ วังเวียง เรียงจอดคอยเวลาอยู่กลางลานแจ้งนั้น
ผมเองไม่รู้เหมือนกันว่าในอนาคตอันไกลนี้การเดินทางจะเป็นอย่างไร
และพร้อมรองรับผู้คนจากด่านต่างๆของไทยได้มากแค่ไหน

แต่ตลอดเส้นทางที่ผ่านมา เส้นทางถูกปรับให้สะอาดเรียบร้อยและสะดวก ง่ายดายมากขึ้น
การปรับเส้นทางเพื่อการสร้างเขื่อนและเพื่อการท่องเที่ยว

ที่นี่ ! กำลังจะมีพลังงานใช้กันอย่างกว้างขวางอีกไม่นานนี้แล้ว
เท่าที่ผมเห็นในแผนที่ของลาวเหนือ หากพวกเขากำลังจะเป็นศูนย์กลางแหล่งส่งพลังงาน
ที่รอบด้านมีทั้งจีน เมียนม่าร์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา
ที่นี่จะเป็นอย่างไรอีก 5 ปี ต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย



หลังจากที่สอบถาม เจ้าหน้าที่แนะนำให้เรามาจองตั๋วรถไปเดียนเบียนฟูที่ด้านตรงข้ามของสถานีขนส่งแห่งนี้
เมื่อมาถึงเจ้าหน้าถึงบอกตารางการเดินรถเข้าเดียนเบียนฟูที่จะออกตอนเช้าตรู่ตอน 6.30 am.
นอกนั้นไม่มีเพราะต้องใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน
และต้องมา Check in ที่นี่เวลา 6.00 am. ราคาตั๋ว 19,8000 K  (972 B)
โดยสมารถซื้อตั๋วเที่ยวเดียวไปซาปาได้เลยจากที่นี่
แต่สำหรับผมแล้วอยากแวะพักที่เดียนเบียนฟูก่อน แล้วต่อจากนั้นค่อยว่ากันใหม่

มาถึงตอนนี้ มีอยู่ 2 อารมณ์ คือ สบายใจที่สามารถมีช่องทางการเดินทางตามที่คิดไว้ได้
อารมณ์ที่ 2 คือ ต่อจากนี้เราจะไม่มีเพื่อนที่เคยรู้จักเหมือนตอนเริ่มทริปที่ น้ำปาด หรือที่ ไชยบุรี อีกแล้ว
กล่องของขวัญใบใหญ่กำลังให้เราลุ้นเปิดอยู่ข้างหน้า



ส นิยม ขับรถพาเราชมรอบเมืองหลวงพระบาง เมืองเก่าแก่ที่เป็นมรดกโลก
นั่นหมายความว่าเมืองนี้จะถูกรักษาไว้ในสภาพแบบนี้ตลอดไป ไม่มีตึกสูงบดบัง ไม่มีการรื้อเพื่อสร้างห้องแถว

สำหรับอาหารการกินของที่นี่ ก็คงเหมือนกับเมืองท่องเที่ยวทั่วไป คือ เข้าร้านให้ถูกที่
ไม่งั้นก็มีสิทธิ์กินอาหารราคาแบบจัดเต็ม ซึ่งเราอาจเจออาหารตั้งแต่เฝอราคา 40 บาท จนถึง 120 บาทได้

สำหรับผมในทุกการเดินทางคงไม่ใช่การฟุ่มเฟือย
ข้อจำกัดถูกวางไว้ตั้งแต่ราคาของที่พักโดยเฉลี่ยต่อคืน จนถึงราคาอาหารโดยเฉลี่ยต่อมื้อ



หลังจากที่ได้ที่พักซึ่งอยู่ด้านนอกของตลาดมืด หรือแล้วแต่จะเรียกกันว่า Night Market หรือ Street walk
ราคาอยู่ในงบประมาณ 400 บาท และ ราคาถูกลงเมื่อถูกหารด้วย 2 จาก Peter
เราก็ออกหารถสกายแลปเพื่อเข้าชมเขตเมืองเก่าในราคา 5000 K แต่ขอบอกก่อนว่ากว่าจะได้ราคานี้ต้องใช้เวลาพอสมควร
เพราะถ้ารีบร้อนขึ้นทันทีราคาจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว คือ 10,000 - 15,000 K หรือ 40-60 บาท

เมื่อเดินทางถึงเขตเมืองเก่า เราเริ่มต้นด้วยอาหารบุปเฟต์ เป็นมังสวิรัตแบบผัดและทอด
ราคา 10,000 K ตักได้ไม่อั้น ซึ่งตามงบประมาณที่ตั้งไว้หลังจากที่โดนร้านวิญญาณเฝอมื้อกลางวันที่เกินงบไปกว่าเท่าตัว





เมื่ออิ่มก็เริ่มมีแรงที่เดินสอดส่ายสายตาอีกครั้ง
ในเวลานี้กลุ่มนีกท่องเที่ยวยงคงเดินทางมาที่นี่ไม่มากนัก
จำนวนของร้านค้า มีมากมายกว่าคนซื้อ บรรดาพ่อค้าแม่ค้า ต่างส่งเสียงเรียกลูกค้าเพื่อขายของกัน
บางรายทำบางสิ่งเมื่อขายของได้เป็นชิ้นแรก สิ่งนั้นคือ พวกเขาจะเอาเงินตบตัวสินค้านั้น
กระดาษที่เรียกว่าเงินจำนวนหนึ่งที่รับจากมือของลูกค้าจะถูกตบกับตัวสินค้า
เป็นการประเดิมขายสินค้าชิ้นแรกในเวลา 9.30 pm. เพื่อให้ขายได้ดีตลอดค่ำคืนนี้

ความเชื่อแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ที่หลวงพระบาง หรือแต่ในประเทศไทยของเรา
ผมยังเคยเห็นที่ ดรารัมซารา ประเทศอินเดีย และหลายๆพื้นี่ี่ได้เดินทางไปมา
อาจเป็นการเรียกกำลังใจของตัวเองจากความเชื่อ ที่สำคัญคือ พวกเขา
ยังมีความหวังที่ยังเหลืออยู่



11 12 2015 / 05.00 am. พวกเราออกจากที่พักเพื่อเผื่อเวลาไว้สำหรับการเดินทางที่อาจเจอปัญหาระหว่างทาง
ไม่ว่าจะเป็นหารถ หรือการเดินเท้าที่ต้องใช้เวลากว่าจะถึง เรื่องของอาหารเช้า ห้องน้ำ
และเตรียมอาหารในกระเพาะให้พอดีเพื่อไม่ให้เกิดอาการเมารถหรือหิวระหว่างเดินทาง

เรื่องราวในความคิดที่ถูกสร้างขึ้น
แผนการณ์ย่อยๆถูกเรียบเรียงและเตรียมการรับมือกับปัญหาข้างหน้า
หลายๆครั้งเรามักไม่ได้ใช้ เมื่อทุกอย่างง่ายดายกว่านั้นมาก

เราเดินทางมาถึงก่อนเวลาเช็คอิน 45 นาทีและเป็น 2 คนแรกของสถานที่แห่งนั้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเข้าสำรวจตารางเวลาและข้อมูลต่างๆที่เราอาจไม่มีวันได้รู้เลย
หลังจากนั้นอีกไม่นานผู้คนก็ค่อยๆทะยอยกันเดินทางเข้ามา
ด้านฝั่งตรงข้ามบริเวณสวถานีขนส่งมีรถบัสจากเวียงจันทน์เพิ่งเข้ามา
ด้านอาคารที่ผมอยู่ มีชายหญิงคู่หนึ่งเดินเข้ามาด้วยท่าทางระมัดระวัง
และเดินเข้าไปนั่งรอในที่ที่ห่างจากเราพอสมควร

เมื่อถึงเวลาเช็คอินผมเข้าไปเช็คอินและได้หมายเลขที่นั่งเลข 8 และ 9
ก่อนที่จะขอเปลี่ยนหมายเลข เป็น 1 และ 2
หลังจากที่เห็นรถที่จะใช้สำหรับการเดินทางซึ่งเป็นรถตู้
ซึ่งแถวในระยะกลางและหลังนั้นค่อนข้างเสี่ยงต่อการเมารถเป็นอย่างมาก
และสุดท้ายเราได้นั่งหมายเลข1 และ 3 ซึ่งลงตัวที่สุดแล้วในเวลานั้น
เพราะด้วยเหตุผลสำคัญคือการต่อรองขอถ่ายภาพ



6.50 ยังไม่มีวี่แววของรถที่จะออกเดินทางตามตารางเวลาเดินทางในตั๋ว
พวกเราชาวต่างชาติบริเวณนั้นเริ่มกระวนกระวายโดยเฉพาะ Peter ที่ถามผมตลอดเวลา
พวกเรากลุ่มผู้โดยสารเริ่มหันมาสนทนากันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

สุดท้ายก็เป็นผมที่รับอาสาไปถามเจ้าหน้าที่ทั้งที่จองตั๋ว และบริเวณเช็คอิน
คือคำว่า "เดี๋ยวก็มา"
"เดี๋ยว" คือ ความหมายของการรอที่ไร้ขีดจำกัดซึ่งแปลว่าอีกไม่นาน
นั่นคือพวกเราต้องอยู่กันกับที่




จนในที่สุด 7.11 am ก็ได้เวลาที่รถตู้ทะเบียน 4899 เริ่มเคลื่อนตัวพร้อมการแจกอาหารบนรถไว้กันหิว
ผูคนบนรถที่ผมเห็นเวลานี้ จากสีหน้าของผู้คนที่อยู่ในความคิดของตัวเอง
อาจกำลังคิดว่า การข้ามแดนจากประเทศลาวสู่เดียนเบียนฟูครั้งนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ไม่มีใครรู้ ความสงสัยถูกอัดแน่นจากสถาณะการณ์ที่ผิดเวลามาเกือบชั่วโมง
หรือไม่ทุกคนก็อาจกำลังโล่งอกที่ได้ออกเดินทางเสียทีเหมือนผม
ที่พวกเราจะต้องใช้เวลาบนรถด้วยกันกว่า 12 ชั่วโมงกว่าจะถึงที่หมาย
บนรถตอนนี้ มีทั้งชาวเกาหลี นอร์เวย์ เยอรมัน ไทย ลาว เวียดนาม
แต่ละคนที่มาล้วนมีเหตุผลแตกต่างกันไป บางคนมาปั่นจักรยาน บางคนมาแบบงงๆแบบผม



เสียงอ๊วกที่ดังเป็นระยะ ทำให้ผมไม่ค่อยมีเวลาจะกดชัตเตอร์เท่าไหร่
เพราะต้องคอยส่งถุงอ๊วกและหยิบกระดาษทิชชูพร้อมเหยาะ"เซียงเพียวอิ๊ว"ให้พวกเขา
ยาแก้เมาที่ผมมีถูกส่งให้ผู้หญิงชาวบ้านคนหนึ่งที่อ๊วกตลอดเส้นทางบนที่นั่งหมายเลข 11

ถนนที่กำลังสร้างทำให้รถเดินทางได้ไม่เร็วเท่าไหร่นักเพราะติดเครื่องจักรและกองหิน
ตลอด 2 ข้างทางของหมู่บ้านที่เราเดินทางผ่านล้วยปกคลุมไปด้วยหมอกขาวและฝุ่นขาว
แต่อีกไม่นานเมื่อทุกอย่างที่นี่เสร็จสิ้น จะกลายเป็นความสะดวกและง่ายดาย
ทั้งการเดินทางข้ามประเทศจากประเทศไทยทางภาคเหนือสู่ลาวเหนือ จนถึงเวียดนามเหนือ

พลังงานจากเขื่อนที่กำลังเร่งสร้างกว่า 5 เขื่อนตลอดเส้นทางที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นว่าประเทศนี้กำลังมีสินค้าสำคัญที่จะขายให้กับประเทศโดยรอบของพวกเขา
นั่นคือ พลังงาน
และรถไฟหรือรถไฟฟ้าก็กำลังดำเนินการอยู่ในเขตลาวใต้
การเดินทางติดต่อสื่อสารที่ง่ายขึ้น ย่อมสร้างโอกาสให้ง่ายตามไปด้วย





ทางโค้งที่มีอยู่มากมายจนผมนับไม่ไหว
หากมาอีกครั้งผมว่านับทางตรงจะง่ายกว่า เพราะมีเพียงไม่กี่แห่ง
บ้านของชาวเขาพื้นเมืองถูงถนนตัดผ่าน
สองข้างทางอยู่ติดกับถนนแทบไม่มีระยะหน้าบ้านกับข้างทาง
อีกไม่นานพวกเขาอาจไม่ได้อยู่บริเวณนี้
การรุกล้ำของความเจริญจากกลุ่มทุน มักผลักดันให้คนพื้นที่ต้องถอยร่นเข้าไปในปลางป่า
และในที่สุดพวกเขาอาจใช้ชีวิตแบบเดิมหรือลำบากกว่าเดิม เพราะทุกอย่างต้องถูกเปลี่ยนด้วยค่าของเงิน


เด็กๆ เยาวชนที่เห็นตลอดเส้นทางมีทั้งจูงและปั่นจักรยานขึ้นเขา
พวกเขากำลังกลับจากโรงเรียน
ความมุ่งมั่นที่ผมเห็นกับการแลกด้วยความรู้ที่พวกเขาจะได้รับ
เมื่อพวกเขาเห็นคุณค่าของการเรียน พวกเขาจะใส่ใจและไม่ทิ้งมันไป
มนุษย์มักให้คุณค่าและใช้เวลากับสิ่งที่ตนหามาด้วยความยากลำบากเสมอ
และเช่นเดียวกันหลายๆครั้งมนุษย์เองมักมองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มาอย่างง่ายดาย
โดยเฉพาะโอกาสในการเรียนรู้



02.19 pm. เราก็มาถึงทางแยกเข้าด่าน Phogsaly Laos 
และอีกไม่กี่นาทีเราจะออกจากประเทศลาวเพื่อเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
การเดินทางผ่านไปแล้ว 7 ชั่วโมง
ระหว่างสองข้างทางมีเรื่องราวเกิดขึ้นในความคิดมากมายจนไล่คว้าไว้ไม่หมด
การเริ่มต้นความสัมพันธุ์เล็กๆเกิดขึ้นในกลุ่ม Backpacker ด้วยกัน ระหว่างพักทานอาหารกลางวันที่อุดมไชย
การสอบถามเส้นทาง ทริปการเดินทาง ตอลดจนถึงโรงแรมที่พักเกิดขึ้น
เมื่อทุกคนต่างคิดเหมือนกันคือ ไปหาเอาข้างหน้า
ไม่มีการจองที่พักล่วงหน้า เพราะเราต่างรู้ดีว่า มีสถานที่ดีรอพวกเราอยู่เสมอ
ชีวิตที่เดินตามแผนหลัก โดยปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆนั้นเดินทางไปตามเวลาที่ถูกกำหนด
ผมเชื่อแบบนั้น เพราะเดียนเบียนฟูก็มีชื่อเสียงระดับหนึ่ง เป็นเมืองท่องเที่ยว
เพราะฉะนั้นที่พักย่อมมีอยู่ดาษดื่นในเราเลือกตามงบประมาณที่เราได้ตั้งเอาไว้

ปัญหาคือ เวลานี้ทั้งผมและPeter มีแต่เงินบาทกับเงินกีบบางส่วน
เราไม่ได้แลกดอลล่าร์ไว้ แต่เชื่อว่าที่เวียดนามจะสามารถใช้เงินบาทไทยได้
เหมือนกับที่ผมเคยเดินทางเข้าเวียดนามกลางเมื่อหลายปีก่อน
และอีกไม่กีชั่วโมงข้างหน้า บทเรียนบทใหม่กำลังจะเกิดขึ้นที่...
เดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม








ตอนที่ผ่านมาและต่อไป "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ; ไทย ลาว เวียดนาม" 
ตอนที่ 4 : หลวงพระบาง ลาว <<<< Now! here
ตอนที่ 5 : เดียนเบียนฟู เวียดนาม
ตอนที่ 7 : ซาปา2 เวียดนาม
ตอนที่ 8 : ซาปา3 เวียดนาม
ตอนที่ 9 : ฮานอย 1 เวียดนาม
ตอนที่ 10: ฮานอย 2 เวียดนาม
ตอนที่ 11 : เหว้ เวียดนาม
ตอนที่ 12 : เหว้-สวรรณเขตสู่ไทย




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2557    
Last Update : 14 มกราคม 2558 12:04:43 น.
Counter : 2936 Pageviews.  

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม / ตอนที่ 3 : ไชยบุรี2 ลาว

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ : ไทย ลาว เวียดนาม
ตอนที่ 3 : ไชยบุรี 2 ลาว



ทางเลือกหลากหลายที่ถูกสร้างขึ้นยังคงเต็มอยู่ในหัวผม
การสำรองทางเลือกไว้กรณีฉุกเฉินยังคงจำเป็นเพราะหนทางที่จะเดินต่อไปข้างหน้านั้นยังไม่ชัดเจน
การเดินทางเพื่อให้ถึงจุดหมายในเส้นทางที่เราคิดว่าเป็นไปได้
และในที่สุดเราจะแสวงหาวิธีเพื่อกระทำสิ่งนั้นให้ถึงเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้

คุณปีเตอร์บอกว่า การเริ่มนับหนึ่งนั่นแสนสาหัสนัก
แต่หลังจากนั้นทุกอย่างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวแทบไม่ทัน
ผมเองก็คิดว่ามันเป็นแบบนั้น




การทบทวนสอบถามเส้นทางจากผู้รู้คร้งแล้วครั้งเล่า
จากในอินเตอร์เนตบ้าง จากคนพื้นที่บ้าง จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ก่อนตัดสินใจ

เมื่อมีสัญญาณส่งว่าเคยได้ยิน หรือเคยเห็น นั่นแปลว่ามันต้องเป็นไปได้
สำหรับผมเองก็ยังคงคิดและยังคงเดินตามเส้นทางนั้น
เส้นทางที่ผมได้เลือกไว้




วันนี้ 10 .12.2014 ส.นิยม จะพาผมเข้าไปเวียงจันทร์ด้วยการขับรถไปส่ง
ในขณะที่ผมพยายามมองหารถบัสประจำทางที่เคยเห็นแล่นผ่านตา
จากไชยบุรีสู่หลวงพระบาง

สำหรับข้อมูลที่ผมมีอยู่ตอนนี้ ซึ่งดูสับสนและแวะพักหลายแห่งมาก
กว่าจะถึงเป้าหมายที่ซาปา แล้วย้อนกลับลงมาทางฮานอย สู่เหว้ เข้าดาหนัง ฮอยอัน 
กลับมาที่เหว้และจากนั้นก็ออกที่ด่านลาวบาว สวรรณเขต และเข้าไทยที่มุกดาหาร
นกสีน้ำเงินกำลังเดินทาง(ไม่มีอะไรแค่ชอบสีน้ำเงิน)



05.55 ส.นิยมมารับผมที่โรงแรมที่พักซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายแห่งในราคาประมาณ 12 -30 USD
สำหรับผม กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้นทริปในราคา 8 - 15 USD 

ไม่นานนักเราก็มาถึงบริเวณหน้าโรงเรียน
ภาพในเมื่อ 6 ปีก่อนหายไปหมดแล้ว
เมื่อก่อนผมเห็นภาพเด้กที่มอมแมมเดินทางมาโรงเรียนด้วยผมที่กระเซิง
มาเดี๋ยวนี้ทุกคนใช้จักรยานเป็นพาหนะ ปั่นเรียงรายกันมาเป็นแถวเพื่อให้ถึงโรงเรียน
เรียนกันจนถึง 11.00 am. เข้าเรียนอีกรอบ 02.00 pm. จนถึง 03.00 หรือ 04.00 pm.
เวลาที่เป็นไปตามวิถีแห่งฝรั่งเศสที่เคยกำหนดไว้




เก็บภาพพร้อมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้เมื่อมีสิ่งเปรียบเทียบ
ในประเทศไทยเองเด็กคงหอบกระเป๋าที่อัดไปด้วยหนังสือและการบ้านกันหลังแอ่น
สมองคงถูกอัดเต็มไปด้วยการบ้าน รายงาน เรียนเสริม เรียนพิเศษ
ความคิดคงวนเวียนอยู่กับการท่องจำในหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมาเป็นสิบปี



หากแต่การเรียนรู้ของผมแล้ว มันคือชีวิตและความเป็นอิสระภาพ
วิชา คงเป้นการฝึกฝนทักษะ ความชำนาญให้ดีขึ้นในทุกวัน
มันคงไม่ใช่การทำการบ้านหรือรายงานสิ่งเดิมๆที่ลอกต่อกันมาส่งครู 
ที่บางครั้งไม่เคยเปิดอ่านด้วยซ้ำไป

ไม่นานนักผมก็มาถึงตลาดของไชยบุรี
ที่นี่ก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกันพื้นขรุขระ ในสภาพตลาดไม้เก่า ไม่มีอีกแล้ว
แต่สำหรับสภาพความเป็นอยู่ของที่นี่ยังคงเหมือนเดิม




ขนมบางอย่าง อย่างขนมไข่หงษ์ก็เหมือนบ้านเรา ทุกอย่างเหมือนกัน
จะมีแปลกตาเพียงไม่กี่อย่าง
เช่น ก้อนขนมปังแท่งยาว วัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ตกค้าง
พ่อค้าแม่ค้ามากมายที่นี่ บ่งบอกถึงการจับจ่ายที่มากมายของที่นี่เหมือนกัน
บางร้านของยังกองอยู่เต็ม บางร้านเตรียมตัวกลับบ้าน โดยเฉพาะอาหารเช้าอย่างเฝอ



เราแวะกิกาแฟในตลาดของแม่ค้าหน้าตาหน้ารักที่ชื่อ ลินดา
ที่ร้านของเธอมีกาแฟโบราณอย่างที่ขายกันในบ้านเรา
เครื่องปรุงต่างๆที่วางอยู่บนโต๊ะมีไว้ปรุงรสเพิ่มเติมจากเฝอที่เธอขายอยู่ด้วย
ของหลายๆอย่างล้วนมาจากประเทศไทย
คงเพราะพวกเขาต่างยอมรับในคุณภาพของสินค้าไทยที่มีอยู่




เมื่อเดินรอบตลาดไปเรื่อยๆ จะเริ่มเห็นสินค้าบางอย่างที่แตกต่างไป
หรือคล้ายคลึงกับบางพื้นที่ของประเทศไทย
ผมเห็นเป็นเส้นหนาๆ ยาววางเรียงรายกัน บางสวนถูกนำบรรจุลงในถุงพลาสติกใสเป็นกอง

มันคือหนังควาย



ความสงสัยมีอยู่ไม่นาน เพราะเมื่อสมัยวัยเด็ก ภาพที่เลือนลางของผมจำได้ว่าที่บ้านยาย
เคยเอามาย่างกินกันรอบกองไฟยามหน้าหนาว

เมื่อความสงสัยเกิดขึ้นเกี่ยวกับรสชาติและวิธีการกิน
ดาวแม่ก็เริ่มส่งแม่ค้าผู้หนึ่งเดินเข้ามาทักทายพร้อมกับส่งตัวอย่างเพื่อทดลองชิม
เส้นยาวๆที่ผมเห็นวางอยู่ ถูกหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแบบลูกเต๋า พร้อมส่งกินหอมที่รันจวนใจ
นี่ไม่ใช่การส่งเสริมการขาย
แต่พวกเธอกำลังจะกินข้าวกัน ความเป็นมิตรเกิดขึ้นเมื่อเธอพยายามชวนผมกินด้วยกัน
และหยิบส่งก้อนสี่เหลี่ยมนั้นมาให้ผมเพื่อทดลองชิม

"เค็มนิดๆ ไม่เหนียวอย่างที่คิด กรอบเหมือนเคี้ยวกระดูกอ่อน กินกับข้าวเหนียวกำลังดี"
นี่คือความรู้สึกที่ผมได้รับ แต่ที่มากกว่านั้น คือรอยยิ้ม
ผมกล่าวขอบคุณและเดินต่อไป



ร้านทองที่ตั้งวางตั้งแต่ด้านหน้าหรือในซอกซอยเล็กๆในตลาด
เป็นอีกส่วนที่ผมอดแปลกใจไม่ได้
หากประเทศไทยเปิดร้นทองแบบนี้ผมไม่อยากจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร้านทองเหล่านี้
พวกเขาตั้งวางขายทองคำกันเหมือนขนมทองม้วน

ส.นิยมบอกว่า ชาวบ้านที่นี่หากมีเงินจะนิยมซื้อทองกันเก็บไว้
ภาพที่เห็น คงไม่ต้องพูดกันถึงเรื่อง อาชญากรรม การปล้น ฉกชิงวิ่งราว หรือสารพัด
แปลกที่พื้นที่ที่แตกเพียงมีเขตแดนที่ถูกมุดปักกั้นไว้
ความเป็นอยู่เหมือนกัน วัฒนธรรมใกล้เคียงกัน
แต่สภาพจิตใจและความไว้วางใจกลับต่างกัน

หรือว่าเราเองต่างหากที่ตกอยู่ในกับดักของความโลภจนมองไม่เห็นความเป็นไปของชีวิต




ส.นิยม พาผมตระเวนดูรอบเมืองที่มีประตูเมืองต้อนรับอยู่
ที่นี่ยังคงให้ความสำคัญของช้าง
พวกเขาจะมีพิธีอาบน้ำช้างกันทุกปีเหมือนกับทางน้ำปาดในอดีต
แต่ตอนนี้ที่ไชยบุรีแห่งนี้ยังคงมีอยู่
ในทุกปีช่วงเดือนเมษายนจะมีงานที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาที่นี่
พร้อมผู้สนับสนุนประเพณีเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นและต่างทำธุรกิจกันที่นี่
รวมถึง ท้าวส.นิยม เพื่อนผมด้วย



เมื่อเราวนกลับกันมาถึงที่ซุ้มหน้าโรงเรียน คุณอ้อยได้จัดข้าวต้มปลา ขนมปังบาเต๊ะ(บาเก็ต) ที่ไส้ในทำเป็นพิเศษ
ด้วยหมูยอ ผักดองที่ไม่ทิ้งไว้นาน สูตรนี้ดองเพียงข้ามคืน หมูหยอง ผักสด เท่าที่ผมเห็น
พร้อมกาแฟดำที่ถูกจัดวางคู่กันทำให้ผมอดหลงใหลอาหารมื้อเช้า(อีกรอบ)มื้อนี้จริงๆ

ซึ่งหลังจากนี้พวกเราจะเดินทางกันไปต่อที่ หลวงพระบาง
10.55 เป็นเวลาที่พวกเราต้องออกจากไชยบุรี



11.55 เพียง 1 ชั่วโมงเราก็มาถึงที่นี่



สะพานข้ามแม่น้ำโขงไปสู่เขตหลวงพระบาง สะพานท่าเดื่อ - ปากขอน
แม่น้ำโขงที่กั้นอยู่ทำให้การเดินทางจากไชยบุรีสู่หลวงพระบางเป็นเรื่องยาก
เพราะต้องขึ้นโป๊ะข้ามแม่น้ำ แต่ตอนนี้สะพานถูกสร้างขึ้นจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว
จะเหลือเพียงถนนที่กำลังเร่งสร้างกันไปตลอดเส้นทาง



12.00 ความงามของที่นี่ ทำให้ผมอดที่จะลงเข้าชื่นชมไม่ได้
แม่น้ำที่กว้างใหญ่ที่หลายๆครั้งได้แบ่งแยกผู้คนออกจากความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยตัวของมนุษย์เอง
ส.นิยมบอกว่า น้ำโขงด้านไชยบุรีนี้ถูกเรียกว่าลาวฝั่งไทย อีกด้านหนึ่งคือลาวฝั่งลาว

สำหรับแม่น้ำเองยังคงไหลต่อไปเพื่อให้ทุกสิ่งที่มีชีวิตบนดาวดวงนี้ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงอยู่กันอย่างเต็มที่
ความอ่อนน้อมของสายน้ำที่ไหลลงต่ำ ช่างงดงามจริงๆ
สิ่งที่มีคุณค่าและมากด้วยประโยชน์มักอ่อนน้อมและนุ่มนวลเสมอ





เมื่อข้ามสะพานมา จะเห็นช่องเขาที่ถูกเจาะเป็นร่องเพื่อให้รถผ่าน 
และเมื่อมองลอดออกไปเราก็จะพบกับที่ราบแห่งใหม่
ผมยังเห็นเด็กนักเรียนเดินออกจากโรงเรียนอยู่ บ้างเดิน บ้างปั่นจักรยาน
จักรยานแสนธรรมดาที่พวกเขาปั่นกันขึ้นเนินสูง

ไม่มีเกียร์จักยานราคาเป็นหมื่น ไม่มีจักรยานราคาเป็นแสน
ไม่มีรถรับนักเรียนส่งหรูหรา ไม่มีสถาบันกวดวิชาที่ใช้เพียงเพื่อสอบแล้วลืมมันไป
มีเพียงความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่พวกเขาในทุกพื้นที่ตอนนี้ ต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยไม่ย่อท้อ





01.26 เรามาถึงทางแยกแล้ว อีกเพียง 24 กม.เราจะถึงหลวงพระบาง
มาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆอย่างง่ายกว่าที่คิดไว้มาก
แผนสำรองหลายๆแผนถูกวางพับเก็บไว้

ความจริงในตอนนี้คือ ไม่มีสิ่งไหนอยู่ในแผนเลย นอกจากจุดหมาย 
อีกเพียงไม่กี่อึดใจเราจะถึงจุดหมายเล็กๆน้นที่วางไว้แล้ว
การเดินทางถึงจุดหมายแต่ละจุดที่แยกย่อยวางไว้
สร้างความชุ่มชื่นใจได้ดีทีเดียว

ถึงแม้ตอนนี้เรายังไม่มีใครรู้ถึงวิธีการที่จะข้ามไปยังเวียดนาม
ยังไม่รู้เหตุการณ์ข้างหน้าที่เดียนเบียนฟู ก่อนถึงซาปา

หลังจากนี้ ผมจะไม่มีใครที่รู้จักอีกแล้ว
เหมือนเพื่อนๆจากน้ำปาด หรือส.นิยมจากฝั่งลาว
การเดินทางที่มุ่งไปข้างหน้า ยังคงมีเรื่องราวใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

คุณปีเตอร์เคยถามผมว่ามีเพื่อนอยู่ที่เวียดนามหรือเปล่า
ผมตอบว่าตอนนี้ยังไม่มีที่เวียดนามเหนือ
แต่ผมเชื่อว่า เพื่อนใหม่ของผมจะรออยู่ที่นั่น ผมเชื่อแบบนั้น

กล่องของขวัญใบใหม่ถูกวางไว้อยู่ที่นั่น
รอเพียงเราเดินเข้าไปเปิดมันเท่านั้นเอง



อีกไม่กี่นาทีจะถึงหลวงพระบางแล้ว



ตอนที่ผ่านมาและต่อไป "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ; ไทย ลาว เวียดนาม" 
ตอนที่ 3 : ไชยบุรี2 ลาว <<<< Now! here
ตอนที่ 5 : เดียนเบียนฟู เวียดนาม
ตอนที่ 7 : ซาปา2 เวียดนาม
ตอนที่ 8 : ซาปา3 เวียดนาม
ตอนที่ 9 : ฮานอย 1 เวียดนาม
ตอนที่ 10: ฮานอย 2 เวียดนาม
ตอนที่ 11 : เหว้ เวียดนาม
ตอนที่ 12 : เหว้-สวรรณเขตสู่ไทย





 

Create Date : 25 ธันวาคม 2557    
Last Update : 14 มกราคม 2558 12:04:16 น.
Counter : 2061 Pageviews.  

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม / ตอนที่ 2 : ไชยบุรี1 ลาว

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ : ไทย ลาว เวียดนาม
ตอนที่ 2 : ไชยบุรี 1 ลาว



เมื่อการขยับตัวเริ่มขึ้น กล่องของขวัญที่มีอยู่มากมายถูกทะยอยเปิดออกในแต่ละวัน

ในขณะที่เลข 8 จากน้ำปาดยังคงติดตามผมมาเรื่อยๆให้ได้สงสัยเล่นๆ
เราก็เดินทางมาถึงด่านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามเวลาที่กำหนดไว้และถูกขยับไปมาจนถึง 12.00 pm.
ยังมีเวลาเหลือพอที่จะแวะชมความงามของเนินเขาลูกเล็กๆระหว่างเส้นทาง

ก่อนที่จะเข้ากรอกบัตรขาออกจากประเทศไทย
พิธีการไม่มอะไรมากมาย เพียงไม่กี่นาทีก็เสร็จเรียบร้อยอย่างง่ายดาย
เราใช้พลาสปอร์ตไทยที่สามารถอยู่ลาวได้ 30 วัน เวียดนามได้อีก 30 วัน
น่าเสียดายที่ต่างชาติยังไม่สามรถข้ามแดนที่นี่ได้
ดีที่คุณปีเตอร์มี 3 สัญชาติ จึงใช้พลาสปอร์ตไทยได้โดยไม่ต้องเสียค่าวีซ่าและข้ามด่านนี้ได้

เรายังเหลือเวลามากพอที่จะรอเพื่อนที่จะมารับจากไชยบุรี ซึ่งไกลจากชายแดนประมาณ 190 กม.
เพื่อนชาวลาวที่พร้อมรับเพื่อนชาวไทยด้วยใจ เขาขับรถกว่า 190 กม.เพื่อมารับผมที่หน้าด่าน
จริงๆแล้วหากเราจะเดินทางเข้าไปยังปากลายในตอนเช้าที่มีรถเข้ามากมาย
หรือไม่หากเหมาเข้าไปก็ได้ในราคา 300-500 บาท 
จากภูดู่ถึงปากลายด้วยระยะทางเพียง 36 กม. ก็สามารถหารถประจำทางไปที่ไชยบุรีได้เลย
หากจะเหมารถจากด่านภูดู่ข้ามไปไชยบุรีเลยก็ได้ด้วยค่าใช่จ่ายประมาณ 2,000 บาท

หรือหากใครมีรถที่ไม่ติดไฟแนนท์ก็ขับข้ามไปได้ถึงหลวงพระบางเลยทีเดียว



ด่านภูดู่เพิ่งเปิดเป็นด่านถาวรเมื่อวันที่ 19.11.2013 นี่เอง
ก่อนหน้าที่ผมเคยมาที่นี่ยังเป็นด่านชั่วคราวการเดินทางไปไชยบุรีต้องใช้ความสามารถพอสมควร
เพราะเส้นทางนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นที่หนาอยู่หลายนิ้ว เส้นทางถูกน้ำป่าพังซัดเป็นช่วงๆ
ปากลายทางเป็นลูกรังและฝุ่นละเอียดสีขาวที่เกาะอยู่ริมขอบถนน บ้านที่อยู่ข้างทางล้วนขาวโพลนจากฝุ่น

การขอข้ามแดนต้องขออนุมัติจากทางอำเภอเพื่อทำหนังสือแจ้งไปทางจ้าวแขวงของลาว
โดยยังไม่สามารถใช้พลาสปอร์ตได้ ซึ่งนั่นเป็นเวลากว่า 5 ปีมาแล้ว
ตอนนี้ที่ด่านแห่งนี้ในทุกวันเสาร์จะมีการค้าขายระหว่างชาวลาวกับไทยที่นี่




เสียงเพลงปลุกใจ เมื่อครั้งที่ผมเคยฟังตั้งแต่เด็กๆแว่วดังขึ้นเรื่อยๆ
หลายครั้งการที่เรามัวเหม่อลอยคิดถึงเรื่องราวในอดีตหรืออนาคตทำให้เราลืมว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน
ณ วันที่ผมนั่งรอเพื่อนที่ด่านอยู่ตอนนี้ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยไปหมดแล้ว
AEC เริ่มสะกิดหลังผมมานิดๆว่า หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ระหว่างเขตแดนของเราที่ถูกตีรั้วกั้นไว้จากฝรั่งเศสเมื่อในอดีต

ในที่สุดรถนิสันกระบะตอนเดียวก็ขับเข้ามาจอดบริเวณด่านขาเข้าพร้อมเพลงปลุกใจที่เริ่มเบาเสียงลง
ท้าวส.นิยม เดินเข้ามาทักทายพร้อมกับรอยยิ้มที่ผมเห็นผ่านใบหน้าของเขามาตลอดทุกครั้งที่เจอกัน
การทักทายกันเป็นไปอย่างสั้นๆรวบรัด เพราะมีเวลาอีกมากมายที่จะคุยกันบนรถและอีกไม่รู้กี่วันที่ผมจะอยู่ที่นี่
พวกเราโยนเป้ไว้ที่กระบะท้าย เริ่มเดินทางเข้าสู่ปากลายเพื่อหาอาหารกลางวันกินกันที่นั่น

ในตอนนี้ไม่มีฝุ่นให้เห็นอีกแล้ว
ถนนดินอัดหายไป ซอกเขาที่ถูกหินหล่นกองทับในอดีตไร้วี่แววของหินก้อนใหญ่ที่เคยเห็น
ระหว่าทางนั้นถูกปาดให้ราบเรียบลื่นไหล ในขณะที่ท้องฟ้าก็ยังใสไร้การบดบังจากสิ่งปลูกสร้างของมมนุษย์
ไม่นานนักเราก็สลับเลนส์เข้าขับเลนส์ขวา ก่อนถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านผาแก้วของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว




เพียงไม่กี่ปีจากจุดผ่านแดนที่ด่านผาแก้วของทางลาวยังเป็นที่ทำการ 4 เหลี่ยมเล็กๆ กั้นถนนเข้าเขตด้วยท่อนไม้
เจ้าหน้าที่ต้องพักอยู่ในบ้านพักที่เป็นกระต๊อบมุงหลังคาด้วยหญ้าคา
ในครั้งนั้นผมต้องรีบเก็บกล้องเพราะไม่รู้ว่าเขาจะกำหนดหรือตั้งกฏเกณฑ์อะไรไว้บ้าง

มาถึงตอนนี้กลายเป็นอาคารใหญ่ ที่ถึงแม้ยังไม่มีผู้คนเดินทางผ่านกันคึกคัก
แต่ในอนาคตคงแตกต่างไปจากที่เราเห็นในตอนนี้แน่นอน



เราจอดรถไว้ด้านหน้าที่จอดรถอาคารตรวจคนเข้าเมืองของลาว หลังจากผ่านการฉีดน้ำไปที่ล้อด้วยราคา 20,000 กีบ
ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 240-250 k/1B
พิธีการไม่มีอะไรมาก แค่ขอบัตรขาเข้ามากรอก จากนั้นก็ยื่นพลาสปอร์ต
ที่สำคัญบัตรขาออกที่ถูกฉีกแบ่งครึ่งไว้อย่าให้หายเป็นอันขาด



ชั่วโมงครึ่งกับทิวทัศน์สองข้างทางจนถึงปากลาย
เนินเขาไม่ใหญ่มาซ้อนสลับกันไปมาทำให้ผมลืมหลายๆเรื่องราวในอดีตไปสนิท
ส.นิยมพาแวะกินอาหารกลางวันซึ่งเป็นมื้อแรกของลาวที่นี่

ตอนนี้ปากลายเปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีถนนฝุ่นสีแดง ไม่มีรั้วกั้นไม้ไผ่
บ้านไม้ทะยอยหายหน้าไปจากสองข้างทาง
ที่ปากลายแห่งนี้เราสามารถนั่งรถโดยสารต่อไปได้ที่ไชยบุรี หลวงพระบาง วังเวียง หรือเวียงจันทร์ก็ได้

หลังจากที่มีชาวต่างขาติเดินทำกน้างงๆอยู่หน้าร้านที่ผมกำลังกินข้าวอยู่
เขากำลังเผชิญสับสนและหาทางออกให้กับอาหารและการเดินทางของเขาด้วยภาษามือและภาษาอังกฤษซึ่งที่นี่ยังไม่มีใครเข้าใจ
ในที่สุดพวกเราต้องช่วยกันสื่อสารถึงการกินมังสวิรัตของชายผู้นี้ที่ชื่อ Roland 
ไม่นานนักเราก็นั่งกินข้าวร่วมกัน Roland ได้ข้าวผัดผักตามใจปรารถณา
สำหรับพวกเรานั่งจิ้มข้าวเหนียวกับซุปและหมูย่าง

บ่ายสามกว่า ตอนนี้รถโดยสารที่จะไปเวียงจันทร์หมดไปแล้ว
พวกเราคุยกันถึงเรื่องที่พักของ Roland ซึ่งราคาที่เหมาะเจาะ ก็คงอยู่ที่ 8-10 US ไม่เกินกว่านั้นสำหรับ BackPacker อย่างเรา
ที่สำคัญเขาทำงานศิลปะเหมือนกัน ตอนนี้ Roland กลายเป็นพวกเราไปแล้ว
ผมนั่งคุยกับ Roland ในกระบะหลัง ในขณะที่สอบถามเจ้าของร้านข้าวจนได้ที่พักในราคาที่พอใจ
เมื่อถึงที่พักในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก สภาพห้องหลอนพอดูแต่ก็พักเพื่อรอเดินทางได้อย่างสบาย
Roland ได้ห้องพักหมายเลย 11 ในเกรสเฮาส์บริเวณนั้น 1 กม.
และในตอนนี้เลข 11 กลับมาหาผมอีกครั้งหลังจากที่ออกจากบ้านเพื่อนเริ่มต้นทริปตอน 11:11 am.

Roland ชอบที่ไทยมากเขามาฝึกสมาธิที่จังหวัดเลย ไม่มีวัด ไม่มีพระ มีเพียงธรรมชาติและสมาธิที่เขาจะทำความรู้จักกับตัวเอง
เขาเป็นคน switzerland ที่ดั้นด้นมาเมืองไทยเพื่อสร้างงานศิลปะ 
เราโชว์ผลงานแลกกันดูในสมาร์โฟนที่เน่าพอๆกัน และวันหนึ่งคงมีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน

ความบังเอิญที่สวยงาม กล่องของขวัญที่ถูกตั้งไว้ เพียงก้าวข้ามเขตแดนมาแค่ 2 ชั่วโมง
อย่างน้อยก็เจอคนที่มีความคิดใกล้เคียงกัน
เพื่อพิสูจน์บางสิ่งว่า เราไม่ได้จมอยู่กับความคิดของเราเพียงลำพัง



เพื่อนร่วมทางที่พบโดยบังเอิญผ่านไปแล้ว เขายังคงมุ่งหน้าสู่เป้าหมายของเขาต่อไป
ผมเองก็กำลังมุ่งสู่เป้าหมายของผม
จุดตัดระหว่างเส้นทางทำให้เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
ทำให้การพิสูจน์ความเชื่อที่ไม่ได้เป็นอุปทานหมู่ของเราชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ



ระหว่างทางเข้าไชยบุรี มีของป่าวางขายอยู่ข้างทาง ทั้งกระรอก พืชพักต่างๆ
ตลอดจนถึงแมลงที่อยู่ในไม้ไผ่ ส.นิยมบอกว่า เขากันกันเป็นๆแบบนี้แหละกลิ่นของมันจะหอมหวลเพราะความสดนี่แหละ
สำหรับผมตอนนี้เป็นมังสวิรัตขั่วคราวไปกับ Roland เมื่อกี้ไปแล้ว



ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึง ไชยบุรี พรอมกับดวงอาทิตย์ที่มุดตัวหลบหายไป
กว่า 5 ชั่วโมง ที่เราเดินทางมาถึงที่นี่ ซึ่งจริงๆแล้วคงใช้เวลาไม่มากหรอก 
หากหักเวลาบริเวณด่าน พักกินข้าว และพักดูของป่า คงใช้เวลาประมาณ3 ชั่วโมง
ส.นิยมแวะพามาที่ร้านของแฟนที่หน้าโรงเรียน พร้อมต้อนรับด้วยส้มตำแสนอร่อย น้ำโยเกริต์ปั่น ขนมปังปาเต๊ะ(หรือบาร์เก็ต)
ด้านหน้าซุ้มผมสังเกตุเห็นโต๊ะเล็กๆมีโคมไฟไว้บนนั้นมาตลอดเส้นทาง

มันคือโต๊ะขายหวยนี่เอง
ผมไม่รอช้าเพราะมีเลขประจำใจอยู่แล้ว 
จัดไปเต็มๆ 888 สำหรับคุณปีเตอร์จัดไปด้วยเลข 48
อีกไม่นานเราคงรู้กันด้วยเงินไทย 80 บาท

บางทีเราอาจจะโชคดีได้เงินจากทางการของลาวมาใช้กันในทริปนี้ก็ได้
ความหวังของมนุษย์เกิดได้ทุกสถานที่บนจักรวาลนี้จริงๆ



7.00 pm. พวกเรานั่งรอลุ้นที่โทรศัพท์ของ ท้าวส.นิยม
ไม่นานนักข้อความก็ถูกส่งมา



เลขที่ออก
706
อดแหลกกก...



คืนแรกของที่นี่

หลังจากอาหารเย็นกันเรียบร้อย เรานั่งที่ร้านคล้ายๆกับร้านเพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทย
ผมจบ Order ด้วยน้ำหนึ่งขวด หลังชื่นชมบรรยากาศที่แทบแยกกันไม่ออกระหว่างลาวกับไทย
ไม่นานนักก็พามีอีกจุดที่เรียกว่า ตลาดมืด แห่งไชยบุรีซึ่งเป็นที่นิยมของคนที่นี้สำหรับนั่งดื่มกินกันริมแม่น้ำ

บรรยากาศที่โต๊ะเก้าอี้ และร้านค้าตั้งเรียงรายกันเป็นแถวเหมือนนั่งริมชายหาด
หนุ่มสาวมักพากันมาหาอะไรกินกันยามดึกที่นี่ นั่นดิ๊! อะไร?
เมือนั่งสัมผัสกับอากาศที่เย็นได้ที่ พร้อมชมบรรยากาศที่ทั้งดีและชวนเสียวไปพร้อมๆกันสักพัก 

เราเริ่มวางแผนกันคร่าวๆสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยม ตลาด และบริเวณรอบๆเมืองของไชยบุรี
พร้อมร้านกาแฟผู้สาวลาว สดสวย แสนอร่อย ในตลาดสดที่ ส.นิยม ภูมิใจนำเสนอ




สำหรับผมในเวลานี้ ภาพของไชยบุรีเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วหายไปแล้ว
ความเงียบงันและมีเพียงร้านค้าในตลาดเพียงไม่กี่ร้านหายไป
ตลาดที่ผมเคยเดินในตอนนี้ไม่รู้จะเปลี่ยนไปอย่างไร? การกินอยู่เขาเป็นแบบไหน?
ถนนขุรขระในตลาดจะยังมีอยู่มั้ย? ผู้คนจะจ้องมอง หรือทักทายกันอยู่เหมือนในตอนนั้นหรือเปล่า?
สารพัดคำถามถูกสร้างขึ้นเพื่อรอการค้นหา

อากาศที่เย็นถูกลมพัดโชยเข้ามาหาพร้อมน้ำค้างที่ลงหนักขึ้น
ผมเข้าพักโรงแรมที่กำลังสร้างใหม่ในเวลานั้นซึ่งผมยังไม่มีโอกาสเข้าพักเพราะยังไม่เสร็จ
มาถึงวันนี้โรงแรมนี้กลายเป็นโรงแรมหลังเก่าของที่นี่ไปแล้ว
แต่ด้วยราคา 400 บาททำให้ผมและคุณปีเตอร์เลือกพักที่นี่ 
เพราะสำหรับงบประมาณต่อคนแล้วมันคือ 200 บาท

เอาไว้พรุ่งนี้ตอนเช้าทุกคำถามท่ถูกตั้งไว้คงได้สะสางจนเสร็จ บางคำถามถูกสะสมค้างมาจากน้ำปาด
แม้ไม่รู้ว่าคำตอบจะสมบูรณ์หรือไม่ แต่นั้นคือการเปิดโลกเรียนรู้สู่มุมมองใหม่ สำหรับพื้นที่ ที่ในครั้งหนึ่งของช่วงเวลาเคยมีเรื่องราวเกี่ยวของกัน
วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภาษาของคนที่นี่ ผมคุ้นชินเหมือนที่น้ำปาดที่เพิ่งผ่านมาเมื่อคืน
บางคนอาจเห็นจนชินตา บางเรื่องราวถูกกล่าวขานเล่าต่อกันมา  บางเรื่องราวอาจกำลังถูกคนพบขึ้นใหม่

ผมเชื่อว่าว่า เราทุกคนมองเห็นไม่เหมือนกันทั้งหมดในภาพเดียวกันหรอก
เพราะเราต่างมีพื้นฐานความคิด ประสบการณ์และจินตนาการที่ต่างกัน
แต่เมื่อเราเปิดกว้างนำเอาทุกมุมมองมาประกอบกันเราจะได้สิ่งที่งดงามเกิดขึ้นในทุกมุมมอง

อีกไม่นานคงได้รู้กัน





ตอนที่ผ่านมาและต่อไป "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ; ไทย ลาว เวียดนาม" 
ตอนที่ 7 : ซาปา2 เวียดนาม
ตอนที่ 8 : ซาปา3 เวียดนาม
ตอนที่ 9 : ฮานอย 1 เวียดนาม
ตอนที่ 10: ฮานอย 2 เวียดนาม
ตอนที่ 11 : เหว้ เวียดนาม
ตอนที่ 12 : เหว้-สวรรณเขตสู่ไทย
















 

Create Date : 25 ธันวาคม 2557    
Last Update : 14 มกราคม 2558 12:03:22 น.
Counter : 3148 Pageviews.  

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม / ตอนที่ 1 ปาด แปด 8

แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ ; ไทย ลาว เวียดนาม
ตอนที่ 1 ปาด แปด 8



อยากไปให้ครบทุกสี อย่างน้อยก็ทำให้เต็มที่เท่ากับเวลาที่มี
ผมคิดแบบนั้น !!

คามคิดขยับตัวเริ่มขึ้น เมื่อผมอยากลองเข้าด่านชายแดนใหม่ที่ยังไม่เปิดเป็นด่านสากล
ด่านภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์
เมื่อการตัดสินใจพิสูนจน์เส้นทางใหม่ในรอยหยักของสมองผมก่อตัว
การวางแผนขีดเส้นทางเดินแห่งการเดินทางก็เริ่มขึ้น


เส้นทางคร่าวๆถูกกำหนดขึ้นก่อนการเดินทางประมาณ 3 เดือน
งบประมาณที่มีถูกจำกัดไว้ เพื่อการใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เป้ใบขนาดกลางกับระยะเวลา 15- 20 วันถูกตั้งไว้แบบหลวมๆ
ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
จริงๆแล้วในทุกๆวันใหม่เราเองก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นการกำหนดทุกอย่างไว้ในมือ
คงเหมือนกับการถือรีโมตไว้บังคับทุกอย่างให้ตามใจตน
บังคับลม บังคับคน บังคับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว

หากการเดินทางเหมือนกับการเดินเรือ
คงเพียงแค่ปรับใบเรือ ให้ลมช่วยส่งแรงดัน
คงไม่ใช่บังคับลมให้เป่าใบเรือให้เรือแล่นไปยังทิศทางที่เราต้องการ



06/12/2014 11:11 am. 
คือเวลาที่ออกมารอรถโดยสารคันแรก
การเดินทางของผมเกิดขึ้นพร้อมๆกับการเดินทางขยับตำแหน่งของดาวเสาร์
ที่สารพัดหมอดูบอกให้คนกราบไหว้ สำหรับผมคงไม่เกี่ยวกันเพราะผมมีแผนที่การเดินทาง
สำหรับเส้นทางในชีวิตของผม

นั่นคือการเริ่มต้นของการออกเดินทางครั้งนี้
ซึ่งตามเส้นทางแล้วผมต้องเริ่มต้นที่อุตรดิตถ์

ผมนัดกับผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้ไว้อีกคน คือ คุณปีเตอร์
ผู้ซึ่งเป็นอดีตนักกีฬา 3 สัญชาติ ไทย ออสเตเรีย และอเมริกาไว้
กับการแบกเป้ตะลุยในทริปนี้
เราคุยกันก่อนหน้านี้มาครึ่งปีสำหรับการเดินทางไปไหนสักที่
เพื่อเพิ่มความรู้สึกที่ใหม่สำหรับมุมมองและความคิด

อาจเป็นที่ที่เคยไป เคยได้ยิน เคยผ่านตา
ที่ไหนก็ได้บนดาวดวงนี้

การตกลงล่วงหน้าโดยที่เราไม่อาจรู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น
ทำให้ "ต้นทุนของการรักษาคำพูดนั้นสูง
แต่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและทรงพลัง"
การบริหารจัดการทุกปัญหาที่รุมรอบตัวเพื่อรักษาข้อตกลงนั้นไว้ คงต้องใช้ความตั้งใจจริงสำหรับการจัดการ
ไม่อย่างนั้น สารพัดสาเหตุของความผิดพลาด หรือข้อแก้ตัวต่างๆจะเกิดขึ้นเพียงเพราะเราทำไม่ได้


การเดินทางจึงเกิดและเริ่มต้นขึ้น 
เราต่างรู้ดีว่าเราต่างต้องแลกเวลาที่เตรียมกันไว้นี้มาด้วยอะไรบ้าง
การเดินทาง 2 คนทำให้ค่าใช้จ่ายเราลดลงครึ่งหนึ่ง
ทั้งค่าที่พัก ค่าทริปที่จำเป็นต้องใช้รถ ปรึกษาแก้ไขปัญหาและโอกาสที่เกิดขึ้นข้างหน้า

สำหรับผม บอกกับตัวเองที่ทุกคนรอบข้างว่า
"ชีวิตตอนนี้เหมือนรอแกะห่อของขวัญ
ทึ่เราไม่รู้ว่่ในนั้นมีอะไรอยู่บ้าง
..ลุ้นๆไปกับทุกวัน สำหรับการเดินทางที่มีเป้าหมาย
สิ่งสำคัญคือผมได้เริ่มแล้ว
เรื่องราว ระหว่างเส้นทางทึ่กำลังจะเดินย่องเข้ามา
คือของขวัญชิันพิเศษที่ผมต้องเปิดมันด้วยตัวเอง"

"แวะน้ำปาดก่อนดิ๊!"
เสียงของเพื่อนผมที่อยู่ที่นั่นบอกตามคลื่นสัญาณของโทรศัพท์
หลังจากที่ผมโทรไปปรึกษาเรื่องการข้ามแดนที่ด่านภูดู่

ความลงตัวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ 
ทำให้ผมกับปีเตอร์ได้ติดรถของเพื่อนผมมาที่น้ำปาดก่อนข้ามแดน
เราคุยกันมาตลอดเส้นทางล้อที่หมุนขับเคลื่อนตัวเราผ่านเส้นทางอุตรดิตถ์-น้ำพี้ 
ซึ่งเป็นบ่อเหล็กกล้าที่ใช้สำหรับกษัตริย์และนักรบในอดีตขนาดใหญ่

เขยิบเข้าใกล้มาอีกหน่อยแล้ว
ทึ่นี่น่าสนใจมากเลข8ที่คอยสะกิดอยู่ในหัวและผ่านตามาตลอดเส้นทาง
หลังจากพักห้อง1208 เมื่อคืน ผมเห็นป้ายแว๊ปๆว่า อีก 80 กม.จะถึง น้ำปาด
พบข้อมูลทึ่น่าสนใจว่าต้นสักนี้มึอายุ1,518ปี
ซึ่งเมืองน้ำปาดเองก็จะมึอายุครบ118ปึ
เลขแปดที่แอบสะกดรอยตามมาเรื่อยๆกำลังจะบอกถึงอะไรกันแน่?


น้ำปาดเมืองที่มีเรื่องน่าสนใจมากมาย
โดยเฉพาะของดี 8 อย่างที่นั่น
จุดแวะพักก่อนข้ามด่านน่าสนใจจนผมตัองหยุดแวะพักที่นี่เพิ่มขึ้นอีกคืน
เราตัดสินใจเลื่อนทริปข้ามแดนในวันที่ 8 เพื่อพักน้ำปาด
และเปลี่ยนข้ามแดนเข้าลาวในวันที่ 9 ในตอนเช้าเมื่อด่านเปิด

เมื่อเข้าถึงน้ำปาด ปลัดด่อน ปลัดหนุ่มไฟแรงแห่งเมืองน้ำปาดเตรียมอาหารพื้นเมืองของที่นั่นไว้ให้เราลองชิม
พร้อมขับรถพาดูเรื่องราวของที่น้ำปาดแห่งนี้ พร้อมหาที่พักที่มีให้เลือกอยู่มากมาย ราคา ตั้งแต่ 350-400 บาท
ระหว่างเส้นทางในหมู่บ้าน 
ผมเห็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ติดไว้หน้าบ้านแทบทุกหลัง
ติดไว้เพื่อชื่นชมพระบารมี


และใช้ชีวิตกันตามพระราชดำรัส พวกเขาอยู่อย่างพอเพียง
โดยที่มีบ้านบางหลังได้ใช้ชีวิตแบบนี้ด้วยการปลูกผัก เลี้ยงปลา
พอกิน พอขาย อยู่อย่างง่ายดาย
ที่ผมเห็น ไม่ได้เป็นความหรูหราที่หลายๆคนเรียกว่าความสุข
แต่มันคือรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และชีวิตครอบครัวที่เต็มไปด้วยความสุขของคนที่นี่


ปลัดด่อนกับคุณหนุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์รักน้ำปาดขับรถพาพวกผมวนไปรอบๆหมู่บ้าน
ผ่านวัด ผ่านทุ่งนาที่มองเห็นเนินเขาสลับกันไปมา บางแห่งทำเป็นขั้นบันได
แต่ผืนนาตอนนี้บางส่วนเป็นสีดำเพราะเกิดจากการเผาฟางข้าว สลับกับแสงอาทิตย์ที่ค่อยๆมุดก้อนกลมๆนั้นลง
ทำให้ผมนึกถึงจักรยานที่จอดคาอยู่ที่บ้าน อยากหาโอกาสมาปั่นเล่นที่นี่จัง
แต่คงฝากไว้ก่อนกับทริปที่ยังต้องเดินทางไปอีกหลายแห่งครั้งนี้
ก่อนที่พรุ่งนี้จะออกตะลุยสำรวจมหัศจรรย์แห่งเลข8ที่นึ่



อาหารพื้นเมืองถูกจัดไว้เต็มที่ ทั้งขาวจี่ ผักเสี้ยน 
ปลาย่าง เนื้อย่างจากในตลาด พวกเราช่วยกันก่อไฟจัดการกับวัตถุดิบทั้งหมดที่มีอยู่
เพื่อทดลองชิมในคืนนี้

พระจัทร์ดวงกลมลอยเด่นอยู่กลางฟ้าที่ใสไร้หมอกควัน
ดวงดาวลอยเกลื่อนที่นี่ พร้อมๆกับเสียงพูดคุยถึงดินแดนแห่งนี้ เมืองน้ำปาด
เรื่องราวประวัติศาตร์ เรื่องเล่า ตำนาน ความเชื่อ
ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาของชาวล้านช้างสำเนียงหลวงพระบาง
บรรยากาศ จักรยาน ธรรมชาติอย่างภูสอยดาวที่อยู่ใกล้เพียง 80 กม.
เราคุยกันถึง"แปด"ที่เป็นตัวอักษร
"แปด"ถ้าเป็นกริยาของภาษาถิ่นที่นี่ หมายถึงการสัมผัส การปาดให้เรียบ เกลี่ยให้เสมอ

การสนทนาเลื่อนไหลผ่านไปพร้อมๆกับสายลมและกาลเวลาไปอย่างรวดเร็ว
ตลาดตอนเช้าวันจันทร์ซึ่งพวกเรารอคอยที่จะเห็นของพื้นเมืองในเช้ารุ่งขึ้นกำลังรอเราอยู่
 10.40 pm - ผมขอตัวกลับที่พักเพราะพลังงานในตัวเริ่มใกล้หมด
การนอนหลับเพื่อชาร์ตพลังงานให้เต็มที่จะทำให้เรามองเห็นมุมมองต่างๆได้หลายมุมมากขึ้น




8-12-2014 / 05.55 -  ผมขับรถจิ๊ปที่ปลัดด่อนให้ไว้ขับมาถึงที่นัดหมาย
เช้านี้พวกเราจะไปดูตลาดที่นี่กันว่าคนน้ำปาดเขาอยู่กันอย่างไร
ในตลาดมีสินค้าพื้นบ้าน ผักป่า ของป่า
บางอย่างที่เห็นวางขายเหมือนของที่ระลึกอย่างปอกมีดที่ทำจากไม้ไผ่ก็ถูกนำไปใช้จริง
มีพริก ปลาร้า ปลาเขื่อน กระเทียม เครื่องจักสาน ณ ตลาดถนนหน้าที่ว่าการอำเภอน้ำปาด

ผู้คนมากมายพูดภาษาน้ำปาดในบรรยากาศที่เป็นกันเอง
พวกเขาดูเหมือนรู้จักกันดีทั้งคนขายและคนซื้อที่ดูเหมือนเป็นการนัดพบกันประจำสัปดาห์
ทราบภายหลังคือคนที่มาซื้อบ้านจะอยู่ไกลเข้าไปในป่า
พวกเขาต้องออกมาซื้อสินค้าที่นี่เพื่อสำรองประจำสัปดาห์เมื่อเข้าไปอยู่พื้นที่ภายนนั้น
บางรายก็ใช้เป็นเสบียงสำหรับการเดินทางเข้าป่าเพื่อหาของป่ามาขาย

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีลูกชิ้นที่ทำเองจากคนในพื้นที่ เพราะปกติจะเห็นตามแหล่งผลิตที่เมืองใหญ่ 
ต่อจากนั้นแม่ค้า พ่อค้าก็รับมาขายกันตามระบบโรงงาน
จากการสอบถาม คุณ เล็ก บอกว่าไม่อยากกินลูกชิ้นที่อื่นเพราะไม่รู้ว่าผสมอะไรบ้าง
แต่ของที่เขาทำเองเขารู้ว่าของเขามาจากเนื้อ มาจากหมู แบบกัดได้เต็มๆคำ
พร้อมยื่นมาให้ผมชิมพร้อมกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษที่อุ่นอยู่ตลอดเวลา

หลังจากกัดไปหนึ่งคำ ผมรับรู้ถึงรสชาติได้ตั้งแต่ปลายลิ้น "ลูกชิ้นป้ายแดง" ของนายเล็ก



ในช่วงสายผมได้มีโอกาสขับรถไปรอบๆตัวหมู่บ้าน
เรื่องราวของความเป็นอยู่แบบเก่า ความเป็นไปในแบบสมัยใหม่ 
การพัฒนาการตามการขับเคลื่อนของสังคม
จนถึงความเชื่อและความศรัทธาที่มีมานานของผู้คนที่นี่



พระยาปาด หรือ พญาปาด
เป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามขึ้นมาว่ามีที่มาหรือความเป็นมาอย่างไร?
ความคิดถูกแยกไปหลายส่วนตามความเชื่อทางตำนานเรื่องเล่า พงศาวดาร
การเกี่ยวเนื่องกันระหว่างเหตุการณ์ครั้งกรุงธนบุรี ระหว่างพระเจ้าตากสิน พระยาพิชัยดาบหัก 
เรื่องของ"พระยา"ที่เป็นยศตำแหน่ง ไปจนถึง"พญา"หมายถึงผู้เป็นใหญ่หรือผู้เป็นหัวหน้า
จนถึงความศรัทธาต่อผู้นำทางชนเผ่าสู่การอพยพเข้ามาถึงเขตแดนที่ครั้งหนึ่งยังไม่ถูกเรียกว่าประเทศไทยแห่งนี้

ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา วิถีความเป็นอยู่ที่นี่ ใกล้เคียงกับ ลาวที่ผมกำลังจะเดินทางเข้าไปพรุ่งนี้
มาที่นี่เหมือนซ้อมหูซ้อมมุมมองก่อนผ่านแดนไปยังไชยบุรี ประเทศลาว
ซึ่งเพื่อนชาวลาวคนหนึ่งของผมอยู่ที่นั่น



หลังอาหารกลางวัน ปลัดด่อนและคุณหนุ่มก็พาพวกเราไปที่วัดศรีสะอาดโพธิ์
รูปร่างทางสถาปัตยกรรมทั้งพระประธานและโบสถ์เหมือนทางล้านช้าง ทางเชียงแสน
ว่ากันว่าเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่มีเมืองน้ำปาดมาเลยทีเดยว
หลายๆอย่างที่นี่ทรุดโทรม ขาดการดูแลเท่าที่ควร 
อาจคงเป็นเหมือนกับหลายๆแห่งบนดาวดวงนี้ก็ได้ที่คนภายในพื้นที่
ที่มองเห็นและรับรู้กันมาจนชินตา ไมให้ความสำคัญ

พระเก่าแก่ถูกขโมยหายไปมากมาย
แต่สิ่งที่ยังมีอยู่ หากช่วยกันรักษาจะทำให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลา



 02.30 pm มาถึงที่หลักเขตเก่าชายแดนของไทย-ลาว ในสมัยที่ยังเป็นหลักไม้อยู่
หลักเขตนี้ต้้งอยู่ที่กองร้อยตพรวจตระเวนชายแดนที่ 316
พร้อมกับหลักเขตทางบกจำลองมที่สูงที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์

ในอดีตที่นีเคยสำรวจและจัดทำหลักเขตร่วมกันระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศส
หากจะว่าไปแล้วก่อนหน้านั้นสยามของเรามีการปกครองดูแลอณาจักรล้านช้างไปจนถึงหลวงพระบาง
แต่เมื่อตอนหลังตามสถาณะการณ์โลกทำให้เราต้องเริ่มแบ่งเขตผู้คนที่มีเรื่องราววัฒนธรรม ภาษาเดียวกัน
เรากลายเป็นอยู่คนละประเทศ เมื่อมีเขตแดนมีขีดกั้น

หลักเขตจำลองเหล่านี้เป็นหลักเขตไม้ที่ถูกจำลองขึ้นจากของจริงท้ง 10 หลัก
มีการนำพระจำนวน 109 องค์และไม้มงคล 9 ชนิด บรรจุไว้ในหลักเขตจำลองใหญ่นี้ ตามความเชื่อที่ว่า
หากใครได้ลอดย่อมเป็นมงคลแก่ชีวิตและการเดินทาง ซึ่งในกองร้อยแห่งนี้ก็มีศาลของพระยาปาดตั้งไว้อยู่ด้วย





ผมและคุณปีเตอร์เดินดูสำรวจพร้อมลอดหลักเขตนี้ ก่อนที่พรุ่งนี้ตอนเช้า ในวันที่ 9 
จะเดินทางข้ามไปยังเขตแดนประเทศลาว เพื่อให้ถึงเมืองไชยบุรีกว่า 190 กม.
ซึ่งระยะการพักก่อนข้ามแดนไปยังประเทศลาวที่เมืองน้ำปาดแห่งนี้กำลังพอดี
เพราะที่นี่ห่างจากด่านภูดู่ 90 กม.




วันจันทร์ที่ 8 .12.2014 ผ่านไปกับหลายเรื่องราวในน้ำปาด
ที่ผมไม่อาจสรุปทั้งหมดได้ภายในเวลาเพียงวันเดียว
ที่นี่มีสิ่งที่น่าสนใจมากมายกว่าที่ผมคิด เรื่องราวของเลข 8 ยังเป็นปริศนาของผมอยู่
ว่า 8 สิ่งในน้ำปาดนี้ คือ อะไร มีอะไรบ้าง ?
8 ที่ว่านี้ มีการแบ่งตัวไปทางไหน? กระจายตัวไปอย่างไร?
10.46 pm. กลับห้องพัก พร้อมกับคำถามที่เกิดขึ้นซึ่งผมจะมาค้นหาคำตอบนั้นด้วยตัวเองอีกครั้งที่นี่
น้ำปาด
"ปาดแปด 8"


9.12.2014  มองจากกระจกรถที่คุณจักรขับมาส่งผมเห็นซุ้มประตูด้านหน้าของด่านภูดู่แล้ว
ผมเดินทางมาถึงที่นี่หลังจากเลื่อนนัด จากการข้ามแดนวันที่ 8 
โชคดีที่เพื่อนจากทางฝั่งลาวนั้นเข้าใจ คงเพราะรีบโทรไปบอกก่อนล่วงหน้าสำหรับการเลื่อนนัดครั้งนี้

เพราะ"ต้นทุนของการรักษาคำพูดนั้นสูงจริงๆ"
เพื่อนผมบอกว่า "ไม่เป็นไร เราเพื่อนกัน ยังไงก็ได้"
ซึ่งครั้งแรกผมยืนยันว่าจะหารถหรือเกาะรถที่เข้าปากลายแล้วนั่งรถโดยสารเข้า ไชยบุรี
แต่เพื่อนผมที่นั่นยืนยันจะมารับ

หากในอนาคตมีรถที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ง่ายก็คงดี การเดินทางข้ามไปมาจะสะดวกขึ้น
การเดินทางไปหลวงพระบางจากเส้นทางนี้ คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ซึ่งตอนนี้หากใครมีรถส่วนตัวสามารถขับไปยังหลวงพระบางกันได้เลยทีเดียว





สำหรับทริปนี้ การได้เริ่มต้นมาจนถึงตรงนี้ได้เปิดกล่องของขวัญชุดแรกแล้ว
ของขวัญชุดต่อไปกำลังรอการเปิดของเราอยู่ในวันต่อไป

แล้วพบกัน "ไชยบุรี" ประเทศลาว

ขอบคุณชาวน้ำปาด
ปลัดเทศบาลด่อน สัมพันธุ์ ขวานา
คุณหนุ่ม,คุณติ่ง,คุณเซเว่น,คุณบ๊อบบี้,คุณจักร
และพี่น้องทุกท่านที่ต้อนรับครับ

ตอนที่ผ่านมาและต่อไป "แบ่งเขต ไม่แบ่งใจ; ไทย ลาว เวียดนาม" 
ตอนที่ 7 : ซาปา2 เวียดนาม
ตอนที่ 8 : ซาปา3 เวียดนาม
ตอนที่ 9 : ฮานอย 1 เวียดนาม
ตอนที่ 10: ฮานอย 2 เวียดนาม
ตอนที่ 11 : เหว้ เวียดนาม
ตอนที่ 12 : เหว้-สวรรณเขตสู่ไทย




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2557    
Last Update : 14 มกราคม 2558 12:01:23 น.
Counter : 2027 Pageviews.  

ปั่นคิดที่กองโค



วันนี้ 18 12 2555 เวลา 14:30 น.
ถ้าเป็นปีสากลที่นับเอาเวลาที่พระบุตรยอมรับโทษแทนเผ่าพันธ์มนุษย์
ก็เป็นปี 2012 ปีที่หลายๆคนเชื่อว่าโลกจะเปลี่ยน ไปจนถึงโลกจะแตก
ซึ่งก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วันสำหรับวันที่ 21 12 2012 ตัวเลขสวยๆสำหรับใครหลายๆคน

สำหรับผมไม่มีอะไรมากนักนอกจากรับใช้อารมณ์พื่อหาสุขใส่ตัวแบบง่ายๆ
ง่ายๆกับสิ่งรอบตัวที่พอมีและหาได้ อย่างการวาดภาพ

อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่นักเพราะถูกเตรียมไว้เหมือนกับมีตู้ยาสามัญประจำบ้าน
ซึ่งเมื่อเกิดเหตุก็ใช้ได้ทันที เป็นยาง่ายๆรักษาอาการเบื้องต้น

อาการอยากวาด
อารมณ์อยากวาดภาพ อะไรก็ได้
เกิดขึ้นประจำสำหรับผม

บางทีอยากเสก็ตซ์หน้าคน บางครั้งก็อยากวาดธรรมชาติ
วาดลม ดิน น้ำ ต้นไม้ ไปเรื่อยๆตามใจอยากจะวาด

เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมพร้อมแบบด่วนของผมก็ต้องเตรียมไว้เสมอเหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ สี และพาหนะ ที่จะพาไป
ที่ไหนก็ได้ที่ๆผมอยู่ มันคงเป็นความสุขเล็กๆที่ผมสามารถหาได้ง่ายๆ
กับการปลดปล่อยอารมณ์และความคิดไปตามภาพที่วาด
จนถึงสีที่ละเลงลงไป

โชคดีของผมที่อยู่ที่พิชัยครับ
การเดินทางไม่ว่าจะไปที่ไหนจีงเป็นเรื่องง่ายๆ
โดยไม่ต้องคิดถึงการเสียเวลาและค่าน้ำมัน

ที่อื่นๆ ก็คงคล้ายๆกัน 
แต่เพราะความหลากหลายของเมืองเล็กๆที่พิชัยแห่งนี้
ทำให้คนขี้เบื่ออย่างผม ไม่จำเจกับการกระทำที่ซ้ำๆกันประจำวันเท่าไหร่นัก



กองโคเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ผมชอบปั่นจักรยานไปเป็นประจำ
ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหรือวิถีชีวิตของชุมชน
เป็นเส้นทางที่สงบเป็นอย่างยิ่งสำหรับผม
ที่นี่ เป็นอีกเส้นทางที่ผมหลงรัก



อุปกรณ์ที่เห็นก็ไม่มีอะไรมากครับ
แค่กระดาษ สี และอะไรสักอย่างที่จะรองกระดาษเวลาวาด
เป็นไปได้ทั้ง กระดาษแข็ง ปกสมุด แฟ้มเก็เอกสาร หรือกระดานเสก็ตซ์
รวมถึงเป้ใส่อุปกรณ์ที่จำเป็น จนถึงกล้อง และสมุดบันทึก

บางทีแบกไปแต่ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะเพลิน
แต่ก็ยังดีกว่าเมื่ออยากทำอยากเก็บอารมณ์ความรู้สึก ณ ช่วงเวลานั้นแล้วไม่ได้ทำ

มีพี่คนหนึ่งบอกผมว่า 
เวลาที่เรามีความสุขอยู่กับสิ่งที่ตนรักนั้น...
......เร็วเหลือเกิน

ผมเองก็คิดแบบนั้น
แต่ความจริง เราก็สามารถอยู่กับมันได้ทุกวัน
 และสามารถเก็บมันไว้ทุกซอกของอารมณ์ได้เช่นกัน
เก็บสิ่งนี้ไว้เป็นพลัง เพื่อให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและปลอดภัย

ปลอดภัยจากความอยากของตัวเอง
โดย สุขจากสิ่งที่ตนมีอยู่รอบข้าง
ไม่ต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ไม่มีวันถึง เหมือนกับการวิ่งตามหาเส้นขอบฟ้า
หากไม่รู้จักพอ ไม่เข้าใจความพอดี ไม่เข้าถึงความจำเป็น



ภาพที่ผมวาดคงใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่นัก
อาจเป็นด้วยหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของเวลาที่ต้องแข่งกับแสงที่ใกล้หมด
และส่วนของอารมณ์ที่กระเด็นกระดอนไปไหนต่อไหนไกลแสนไกล

หลายๆครั้งการวาดภาพดึงเราไม่ให้จิตกระเจิดกระเจิงไปไหนไกลมากนัก
เพราะเราต้องเฝ้ามอง ต้องพูดคุย สังเกตุ และตั้งคำถามกับแบบข้างหน้าเรา
ว่าเขาเป็นอย่างไรและรู้สึกอย่างไรในตอนนี้




เมื่อครั้งหนึ่งผมเคยวาดภาพที่เอาแค่เหมือนอย่างที่ตาเห็น
แต่ไม่เคยเหมือนอย่างที่ใจคิด

งานศิลปะยังคงมีหลายๆรูปแบบออกไป
ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า เวลานั้นเราต้องการอะไรจากศิลปะ
ต้องการสื่อสาร แสดงอารมณ์ แสดงทักษะหรือนอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ไป




การวาดภาพยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ สลับกับความคิด
และคำถามว่า เราทุกคนต่างเคลื่อนไหว
เราเคลื่อนไหวเพราะมีชีวิต

อากาศเคลื่อนไหวตลอดเวลา ใบไม้สั่นไหวตามแรงลม
สายน้ำเคลื่อนที่ไปอย่างราบเรียบตามแรงโน้มถ่วงของโลก
ปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่ในโลกใต้น้ำต่างก็เคลื่อนไหว

เราเองก็เช่นเดียวกันเราก็เคลื่อนไหวและเก็บบันทึกพวกเขาเหล่านั้น
ให้เป็นมากกว่าภาพถ่าย ที่เป็นมากกว่าที่ตาเห็น
แต่ใช้ใจเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติ

มีกี่เผ่าพันธ์บนโลกที่ใช้บางอย่างเพื่อสัมผัสและสื่อสารถึงกัน
น่าเห็นใจที่บางส่วนกลับติดความสัมพันธ์อยู่แค่เผ่าพันธ์
และสังคมที่ถูกสร้างขึ้นจากพวกพ้องเผ่าพันธ์เดียวกัน



อารมณ์ของต้นไม้ ใบหญ้า สายน้ำ จนถึงธรรมชาติต่างๆ
เผ่าพันธ์ที่ผู้คนในอดีตให้ความเคารพที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ทนุถนอมดูแลซึ่งกันและกัน

เหมือนที่นี่ หมู่บ้านกองโคแห่งนี้
ผมสัมผัสได้ถึงความสมบูรณ์ทางใจของกลุ่มคนที่นี่
แม้กระทั่งธรรมชาติจากต้นไม้ใบหญ้า
ความอบอุ่น สดใส เยือกเย็น โอบอ้อม อารีย์ ที่ปกคลุมลงมา





ลมหายใจของธรรมชาติ ยังคงปนเปกับลมหายใจของเรา

ก็จริงอย่างที่หลายๆคนเคยมีประสบการณ์ว่า
เราจะไม่มีทางได้เห็นหากเราไม่ยอมสังเกตุ

เราไม่มีโอกาสได้เห็นคนใส่เสื้อสีเดียวกับเรามากมาย
ถ้าวันนั้นเราไม่สังเกตุถึงเสื้อตัวใหม่ของเราที่เรากำลังใส่อยู่
และพบว่า มีหลายๆคนใส่อยู่เหมือนกัน

เราจะไม่รับรู้การมีชีวิตของสิ่งอื่นทั้งเผ่าพันธ์เดียวกันหรือคนละเผ่าพันธ์
หากเราไม่รับรู้และสังเกตุการมีชีวิตของตัวเอง
หลายๆคนลืมแม้กระทั่งเรากำลังหายใจอยู่
เพื่อมีชีวิต




(สถานที่ บ้านกองโค อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์)


ติดตามอีกหลายบทความน่าสนใจ หลากหลายสถานที่ ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 
ในหน้า เที่ยวไป วาดไป เลยครับ คลิ๊ก !





 

Create Date : 19 ธันวาคม 2555    
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 10:15:14 น.
Counter : 2935 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.