ผู้พลิกชะตาชีวิตของเราคือตัวเรา รับปรึกษาดวงชะตาและแก้ไขดวงชะตาแบบไม่ยุ่งยากและส่งผลเร็ว ไหว้พระหรืออธิฐานจิตและ กรวดน้ำ ก่อนโทรเข้ามาปรึกษานะค่ะ
 
 

การอธิษฐานถอนพยาบาท

              การอธิษฐานถอนพยาบาทก็คือบุญที่ใหญ่มากนะคะ การให้อภัย เป็นทานที่ยิ่งใหญ่มากค่ะ จะทำให้เราเป็นสุข ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็ยังเป็นเรื่องที่ส่งผลจริงแท้แน่นอน อย่ากังวลใจ อย่าอาฆาต จะทำให้จิตเราเศร้าหมอง เสื่อม ปลงให้ได้นะค่ะ ถ้าเราให้อภัยเจ้ากรรมนายเวรศรัตรูหรือคนที่ทำร้ายเรา เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติ และปัจจุบันด้วยผลบุญก็อาจจะช่วยให้เจ้ากรรมนายเวรให้อภัยเราเช่นเดียวกันค่ะ
การอธิษฐานถอนพยาบาท



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



“ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

คุณบิดา-มารดา คุณครูบา-อาจารย์ ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าสร้าง ด้วย

อธิษฐานบารมี และด้วยสัจจะบารมี ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า.....

ความพยาบาททั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยผูกอาฆาตไว้กับผู้ใดก็ตาม

ทั้งในอดีตชาติ จนถึงชาติปัจจุบันวันนี้ ที่ผ่านมาทั้งหมด

บัดนี้ ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานถอนการพยาบาท ทั้งหมดที่เคยมีมา ทั้งในอดีตชาติ จนถึงชาติปัจจุบันวันนี้ ทั้งหมดให้สิ้นสุดลง ณ.กาลบัดนี้ และขอให้ได้รับผลอย่างเกินความคาดหมายด้วยเทอญ.....”


ที่มาจากหนังสือ ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า ของ อ.ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์
__________________
"ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม"

//www.siripong.net/download_2.php




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2555   
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2555 15:52:37 น.   
Counter : 1389 Pageviews.  


ศีลอุโบสถ


ศีลอุโบสถ

อุโปสถสูตร



สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาดาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่ นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา อุโบสถมี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ โคปาลกอุโบสถ ๑ นิคัณฐอุโบสถ ๑ อริยอุโบสถ ๑ ดูกรนางวิสาขา ก็โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนนายโคบาล เวลาเย็นมอบฝูงโคให้แก่เจ้าของแล้ว พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้โคเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ ดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ พรุ่งนี้โคจักเที่ยวไปในประเทศโน้นๆ จักดื่มน้ำในประเทศโน้นๆ แม้ฉันใด ดูกรนางวิสาขา ฉันนั้นเหมือนกัน คนรักษาอุโบสถบางคนในโลกนี้ พิจารณาดังนี้ว่า วันนี้เราเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ กินของชนิดนี้ๆ พรุ่งนี้เราจะเคี้ยวของเคี้ยวชนิดนี้ๆ จักกินของกินชนิดนี้ๆ เขามีใจประกอบด้วยความโลภอยากได้ของเขา ทำวันให้ล่วงไปด้วยความโลภนั้น ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา โคปาลกอุโบสถที่บุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก

ดูกรนางวิสาขา ก็นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขา มีสมณนิกายหนึ่ง มีนามว่านิครนถ์ นิครนฐ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณท่านจงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศบูรพา ในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศปัจจิมในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศอุดรในที่เลยร้อยโยชน์ไป จงวางทัณฑะในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศทักษิณในที่เลยร้อยโยชน์ไป นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกในวันอุโบสถเช่นนั้นอย่างนี้ว่า มาเถอะ พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าเสียทุกชิ้นแล้วพูดอย่างนี้ว่า เราไม่เป็นที่กังวลของใครๆ ในที่ไหนๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของใดๆ ในที่ไหนๆ ดังนี้ แต่ว่ามารดาและบิดาของเขารู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของเรา แม้เขาก็รู้ว่า ท่านเหล่านี้เป็นมารดาบิดาของเรา อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบิดาสามีของเรา แม้เขาก็รู้อยู่ว่า ผู้นี้เป็นบุตรภรรยาของเรา พวกทาสและคนงานของเขารู้อยู่ว่า ท่านผู้นี้เป็นนายของเรา ถึงตัวเขาก็รู้ว่า คนเหล่านี้เป็นทาสและคนงานของเรา เขาชักชวนในการพูดเท็จ ในสมัยที่ควรชักชวนในคำสัตย์ ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้นเพราะมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาย่อมบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมของผู้นั้นเพราะอทินนาทาน ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นเช่นนี้แล ดูกรนางวิสาขา นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมากไม่แผ่ไพศาลมาก

ดูกรนางวิสาขา ก็อริยอุโบสถเป็นอย่างไร ดูกรนางวิสาขาจิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมเมื่อเธอหมั่นนึกถึงพระตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนศีรษะที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ศีรษะที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไรจะทำให้สะอาดได้เพราะอาศัยขี้ตะกรัน ดินเหนียว น้ำ และความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ศีรษะที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรฉันนั้นเหมือนกัน จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำพรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภพรหม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน เมื่อเธอหมั่นนึกถึงธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนกายที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ดูกรนางวิสาขา ก็กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้เพราะอาศัยเชือก จุรณสำหรับอาบน้ำและความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กายที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำธรรมอุโบสถอยู่ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ หมั่นระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียร ก็ผ้าที่เปื้อนจะทำให้สะอาดได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สะอาดได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ กับความเพียร อันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ผ้าที่เปื้อนย่อมทำให้สะอาดด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่า เข้าจำสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์ เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองย่อมทำให้ผ่องแผ้วด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทยแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา ทิฐิลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขาเปรียบเหมือนกระจกเงาที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียร ก็กระจกเงาที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้ใสได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปลงกับความพยายามอันเกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา กระจกที่มัวจะทำให้ใสได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ก็ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงศีลของตน ...ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกนี้เรียกว่าเข้าจำศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมอง ย่อมทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาพวกชั้นจาตุมหาราชิกามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาพวกชั้นยามามีอยู่ เทวดาพวกชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาพวกชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาพวกชั้นปรินิมมิตวสวัตตีมีอยู่ เทวดาพวกที่นับเนื่องเข้าในหมู่พรหมมีอยู่ เทวดาพวกที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศีลเช่นนั้น แม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนทองที่หมองจะทำให้สุกได้ก็ด้วยความเพียร ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สุกได้เพราะอาศัยเบ้าหลอมทอง เกลือ ยางไม้ คีม กับความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ ดูกรนางวิสาขา ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ... ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกเช่นนี้เรียกว่า เข้าจำเทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใสเพราะ

ปรารภเทวดา เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล

ดูกรนางวิสาขา พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นคนขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้านจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลกจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แม้จนตลอดชีวิต แม้เราก็ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาลจนตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคหนเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดจากการบริโภคในเวลาวิกาล ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถจักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับและตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัวจนตลอดชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล จากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งนี้ในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือ บนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าจนตลอดชีวิต แม้เราก็ได้ละการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ คือบนเตียงหรือบนเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้า ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยองค์อันนี้ เราก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย ทั้งอุโบสถก็จักเป็นอันเราเข้าจำแล้ว ดูกรนางวิสาขา อริยอุโบสถเป็นเช่นนี้แล อริยอุโบสถอันบุคคลเข้าจำแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก

อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนผู้ใดพึงครองราชย์เป็นอิศราธิบดีแห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นเหล่านี้ อันสมบูรณ์ ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตีวังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของผู้นั้นยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขที่เป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๕๐ ปีซึ่งเป็นของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีอันเป็นทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติที่เป็นของมนุษย์ เมื่อจะนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๑๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น พันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ดูกรนางวิสาขา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้

เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แลจึงกล่าวว่า ราชสมบัติของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๒๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น สองพันปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นมายา ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๔๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๔,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต ดูกรนางวิสาขาเราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๘๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๘,๐๐๐ ปี อันเป็นทิพย์ เป็นประมาณของอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายเอาความข้อนี้แล จึงกล่าวว่าราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ดูกรนางวิสาขา ๑,๖๐๐ ปี อันเป็นของมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับ

วันหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นหนึ่งเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี โดยปีนั้น ๑๖,๐๐๐ ปีอันเป็นทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ดูกรนางวิสาขา ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ดูกรนางวิสาขา เราหมายความเอาข้อนี้แล จึงกล่าวว่า ราชสมบัติอันเป็นของมนุษย์ เมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ เป็นของเล็กน้อย ฯ

บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นเมถุน อันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาล ในกลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ซึ่งเขาปูลาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลว่า อันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทั้งสองที่น่าดู ส่องแสง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด และพระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น กำจัดความมืด ไปในอากาศทำให้ทิศรุ่งโรจน์ ส่องแสงอยู่ในนภากาศ ทั่วสถานที่มีประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทองสิงคี และทองคำ ตลอดถึงทองชนิดที่เรียกว่าหฏกะ เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น ยังไม่ถึงแม้ซึ่งเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ และทั้งหมดยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของแสงจันทร์และหมู่ดาว เพราะฉะนั้นแหละ สตรีบุรุษผู้มีศีล เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ทำบุญซึ่งมีสุขเป็นกำไร เป็นผู้ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสัคคสถาน ฯ

(จากพระไตรปิฏกออนไลน์ //www.84000.org เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)เอกุโปสถิกาเถรีอปทานที่ ๑

ผลของการรักษาอุโบสถศีล



ในพระนครพันธุมดี มีพระบรมกษัตริย์ทรงพระนามว่า พันธุมา ในวันเพ็ญท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถศีล สมัยนั้น ดิฉันเป็นนางกุมภทาสี ในพระนครพันธุมดีนั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระมหากษัตริย์ จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า แม้พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงละราชกิจมารักษาอุโบสถศีล กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่มหาชนจึงพากันเบิกบานใจ ดิฉันพิจารณาเห็นทุคติและความเป็นคนอยากไร้โดยแยบคาย ทำให้จิตใจร่าเริงแล้ว รักษาอุโบสถศีล

ดิฉันรักษาอุโบสถศีล ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น ดิฉันได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวยงามในดาวดึงส์นั้น สูงโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วยเรือนยอดมีที่นั่งใหญ่โต ประดับแล้วอย่างดี นางอัปสรแสนนางต่างบำรุงบำเรอดิฉันอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันงามเกินนางเทพอัปสรอื่นๆ ในกาลทั้งปวง

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสักรินทเทวราช ๖๔ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์ ดิฉันเป็นผู้มีผิวพรรณปานดังทองคำ ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งหลาย ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถาน นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

ดิฉันย่อมได้ยานช้าง ยานม้า และยานรถ แม้ทุกอย่างมากมาย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล ภาชนะสำเร็จด้วยทอง เงิน แก้วผลึก และแก้วปทุมราช ดิฉันได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย และผ้าที่มีราคาสูงๆ ดิฉันก็ได้ทุกสิ่ง ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ ดิฉันได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ จุรณสำหรับลูบไล้ ดิฉันก็ได้ทุกประการ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล เรือนยอดปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำ ดิฉันก็ได้ถ้วนทุกสิ่ง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

พอดิฉันอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ได้บรรลุอรหัตเมื่อยังไม่ทันจะถึงครึ่งเดือน ดิฉันมีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า...ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.



(จากพระไตรปิฏกฉบับราชวิทยาลัย เล่มที่ ๗๒ หน้าที่ ๕๒๕-๕๒๗)





คำสมาทานศีลอุโบสถ

ศีลอุโบสถต้องกล่าวอธิษฐานรับมา

ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์

(เบญจางคประดิษฐ์)

ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา : พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์,

บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้า-

หมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว.

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม : พระธรรมคือศาสนา, อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า, แสดงไว้ดีแล้ว.

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, พระธรรมเจ้านั้น, ด้วย เครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ : หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระ ภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว.

อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ : ข้าพเจ้าบูชา, หมู่พระสงฆเจ้านั้น, ด้วย

เครื่องสักการะเหล่านี้. ( กราบ )

ขั้นตอนที่ ๓ อาราธนาศีลอุโบสถ

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ

( กรณีว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ )

ขั้นตอนที่ ๔ นมัสการพระพุทธเจ้า ( นั่งพับเพียบ )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



ขั้นตอนที่ ๕ ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ขั้นตอนที่ ๖ สมาทานศีลอุโบสถ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะพรหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

นัจจะคี ตะวาทิ ตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ทาระณะ-

มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ

รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ

( ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ ดังได้สมาทานมาแล้วนี้ จะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้

ทำลาย ตลอดวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้ )

ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีลอุโบสถ

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะวะเสนะ

สาธุกัง รักขิตัพพานิ

รับ อามะภันเต รับ สาธุ

ขั้นตอนที่ ๙ กราบลาพระ

กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์



ที่มาจากหนังสือ ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า ของ อ.ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์
__________________
"ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม"

//www.siripong.net/download_2.php






 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2555   
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2555 15:45:12 น.   
Counter : 700 Pageviews.  


วิธีสร้างบุญด้วยการรักษาศีล 5

วิธีสร้างบุญด้วยการรักษาศีล 5

วิธีสร้างบุญด้วยการรักษาศีล 5

คำสมาทานศีล 5

ขั้นตอนที่ 1 กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ขั้นตอนที่ 2 บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

ขั้นตอนที่ 3 อาราธนาศีล 5

อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ

ขั้นตอนที่ 4 นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขั้นตอนที่ 5 ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิสังฆังสะระณังคัจฉามิ

ขั้นตอนที่ 6 สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ขั้นตอนที่ 7 อธิษฐานรักษาศีล 5

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม

ขั้นตอนที่ 8 สรุปศีล 5

อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ

ขั้นตอนที่ 9 กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

*การทำทาน 100 ครั้ง บุญไม่เท่ารักษาศีลห้า 1 ครั้ง*





ความหมายของศีล 5

1. ปาณาติปาตา (การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต)
ส่วนประกอบแห่งการทำความผิด 5 ประการ คือ

สัตว์มีชีวิต
รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
จิตคิดจะฆ่า
พยายาม
สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของคนรักษาศีลข้อนี้
คนรักษาศีลข้อนี้ได้ เป็นผู้มีร่างกายไม่บกพร่อง เป็นคนสวยงาม เชาว์ไว เป็นที่รักของผู้อื่น ไม่ตายโหง มีโรคน้อย ไม่พลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก และมีอายุยืน

2. อทินนาทานา (การลักทรัพย์)
ส่วนประกอบแห่งการทำความผิด 5 ประการ คือ

ของมีเจ้าของหวงแหน
รู้ว่าของมีเจ้าของหวงแหน
มีจิตคิดจะลัก
พยายามลัก
ลักของมาได้ด้วยความพยายามนั้น
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของคนรักษาศีลข้อนี้
คนที่เว้นจากการลักทรัพย์ ได้รับผลเป็นคนมั่งคั่ง ได้ทรัพย์สมบัติที่ปรารถนาโดยง่าย ทรัพย์ที่มีแล้วไม่ประสบภัยพิบัติทั้งราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือแม้แต่การวิวาทกันในหมู่ทายาท รวมตลอดไปจนในที่สุดคือ ได้โลกุตรทรัพย์ (คือรู้แจ้งในโลกุตรธรรม เป็นอริยบุคคล)

3. กาเมสุมิจฉาจารา (การประพฤติผิดในกาม การล่วงประเวณี)
ส่วนประกอบแห่งการทำความผิด 4 ประการ คือ

หญิงหรือชายต้องห้าม
จิตคิดจะเสพ
พยายามเพื่อเสพ
มีเพศสัมพันธ์ (ทุกทวาร)
หญิงต้องห้ามสำหรับชาย ชายใดล่วงละเมิดมีเพศสัมพันธ์ด้วย ชายนั้นผิดศีล

หญิงมีสามี
หญิงมีญาติปกครอง
หญิงมีจารีตรักษา
ชายต้องห้ามสำหรับหญิง หญิงใดล่วงละเมิด หญิงนั้นผิดศีล

(สำหรับหญิงมีสามี) ชายอื่นนอกจากสามีตน เป็นชายต้องห้าม
(สำหรับหญิงไม่มีสามี) ชายที่มีจารีตห้าม เช่น ภิกษุ สามเณร นักบวช ที่ถือพรหมจรรย์
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของคนรักษาศีลข้อนี้
คนมีศีล เป็นคนไม่มีศัตรู เป็นที่รักของคนทุกคน มีชีวิตครอบครัวที่มีความสุข มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เกิดเป็นคนไม่มีเพศ และบุรุษไม่มาเกิดเป็นสตรี (ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงทุกคนคือคนที่ในอดีตเคยผิดศีลข้อนี้) ไม่พลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก เป็นต้น

4. มุสาวาทา (พูดเท็จ)
ส่วนประกอบแห่งการทำความผิด 4 ประการ คือ

เรื่องไม่จริง
จิตคิดจะมุสา (คือตั้งใจ)
พยายาม (ด้วยกาย หรือด้วยวาจา ที่ตรงกับจิตที่คิดจะมุสานั้น)
พูดเท็จต่อคนอื่น เขารู้เรื่อง และเชื่อเนื้อความที่มุสานั้น
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของคนรักษาศีลข้อนี้
คนที่ชอบกล่าวเท็จ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ถ้าเศษกรรมยังเหลืออยู่ จะส่งผลให้ถูกใส่ความ ถูกนินทาว่าร้าย หรือได้ฟังแต่เรื่องที่ไม่จริง
คนมีศีล เป็นคนฟันสวย รูปร่างไม่ผิดปกติ คือ ไม่อ้วนไป ไม่ผอมไป ไม่เตี้ยไป กลิ่นปากหอม วาจาไพเราะนุ่มนวล คนใกล้ชิดเชื่อฟัง ตนเองมีวาจาเชื่อถือได้ เป็นคนไม่ฟุ้งซ่าน
* พูดโกหก พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ล้วนผิดศีลข้อนี้ทั้งสิ้น *

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา (การดื่มสุราเมรัย)
ส่วนประกอบแห่งการทำความผิด 4 ประการ คือ

ของมึนเมา มีสุราเป็นต้น
จิตคิดอยากดื่มของมึนเมา
ทำความพยายาม
ดื่มล่วงลำคอ
ในเบญจศีลเจตนางดเว้นการดื่มสุราและของดองของมึนเมาต่างๆ เป็นศีลข้อสุดท้าย ใช้คุมศีลข้ออื่นๆ คือถ้าดื่มสุรายาเมาจนครองสติไม่อยู่ จะเป็นเหตุให้กระทำทุจริตทางกายและวาจา (คือ ล่วงศีลข้ออื่นๆ หรือล่วงกรรมบถ) ได้ง่าย

ที่มา : หนังสือ "ดีด้วยศีล" จากผู้เขียน คุณประเสริฐ บุญตา



ความรู้เรื่องการทำบุญ

บุญ ประกอบไปด้วย 1. ทานมัย 2. ศีลมัย 3. ภาวนามัย ซึ่งบุญ 3 ประเภทนี้รวมเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ

1. บุญขั้นต่ำทานมัย คือ บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน มี 3 ชนิดคือ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน

อามิสทาน คือ การให้อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และการให้อื่นๆ

ธรรมทาน คือ การให้ธรรมะเป็นทาน เช่น ขั้นต้นแนะนำให้รู้จักการให้ทาน รักษาศีล นั่งสมาธิ ส่วนขั้นสูงแนะนำให้รักษาศีล นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนา ละกิเลสด้วยปัญญา

อภัยทาน คือ การให้อภัยแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ผูกพยาบาทและมีเมตตา

* การทำทานทั้ง 3 ชนิดนี้ จะนำมาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง ความร่ำรวย มีกินมีใช้ มีที่อยู่อาศัย มีเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม *

"ในเรื่องการทำทาน คนทั่วไปไม่เข้าใจว่าทำทานไปทำไม ทำทานแ้ล้วได้อะไร ในเมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจ หลายคนจึงทำทานไปโดยไม่ได้หวังอะไร ทำไปโดยไม่ตั้งใจ หรือทำไปโดยเสียมิได้ จึงเป็นเหตุให้ทำทานได้น้อย และหลายคนก็ได้ยินคำสั่งสอนมาแบบผิดๆ คือ ทำบุญต้องทำโดยไม่หวังอะไร ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง คือถ้าไม่หวังอะไรแล้วจะทำไปทำไม เพราะฉะนั้น การทำบุญให้หวังได้ที่บุญ หวังได้ แต่อย่าไปอยาก อยากได้จะไม่ได้ ถึงเวลาเมื่อไรก็ได้เอง"

อานิสงส์ของการให้ทานตั้งแต่ขั้นต่ำถึงขั้นสูง

ทำทานกับสัตว์เดรัจฉานได้บุญ 100 เท่า
ทำทานกับมนุษย์ไม่มีศีลได้บุญ 1,000 เท่า
ทำทานกับมนุษย์ที่รักษาศีล 5 ศีล 8 ได้บุญ 10,000 เท่า
ทำทานกับมนุษย์ที่รักษาศีลอุโบสถได้บุญ 100,000 เท่า
ให้ทานแก่สมมุติสงฆ์ (พระสงฆ์ที่มีศีลครบ 227 ข้อ) จะได้บุญนับไม่ถ้วน (เปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่าย ประมาณอย่างน้อย 1 ล้านเท่า) แต่ยังไม่เท่าให้แก่พระโสดาบัน
ให้ทานแก่พระโสดาบัน (ประมาณอย่างน้อย 100 ล้านเท่า) บุญไม่เท่าให้แก่พระสกทาคามี
ให้ทานแก่พระสกทาคามี (ประมาณอย่างน้อย 1,000 ล้านเท่า) บุญไม่เท่าให้แก่พระอรหันต์
ให้ทานแ่ก่พระอรหันต์ (ประมาณอย่างน้อย 10,000 ล้านเท่า) บุญไม่เท่าให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า (ประมาณอย่างน้อย 100,000 ล้านเท่า) บุญไม่เท่าให้แก่พระพุทธเจ้า
ให้ทานแก่พระพุทธเจ้า (ประมาณอย่างน้อย 1,000,000 ล้านเท่า) บุญไม่เท่าถวายสังฆทานให้พระอริยสงฆ์สองฝ่าย คือ พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน ซึ่งถือเป็นการทำทานสูงสุดในโลก
2. บุญขั้นกลางศีลมัย

การรักษาศีลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบของปุถุชน บุญของศีลที่จะส่งผลในชาตินี้คือ จะทำให้ผู้รักษาศีลเป็นผู้โชคดี ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จเร็ว หน้าที่การงานและยศถาบรรดาศักดิ์จะได้รับเลื่อนขั้นที่เร็ว เป็นที่เมตตารักใคร่ของผู้ที่พบเห็น บางครั้งอยากจะให้การช่วยเหลือโดยไม่มีเหตุผล เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง เพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนน้อย และถ้าเป็นผู้ที่ได้ทำทานอย่างสม่ำเสมอแล้วรักษาศีลด้วย จะทำให้ผู้นั้นได้รับผลบุญจากการทำทานเร็วกว่าปกติ คือจะทำให้ทรัพย์สินเงินทองหลั่งไหลมาหาเราเร็วขึ้นนั่นเอง

3. บุญขั้นสูงภาวนามัย

บุญสูงสุดนั้นคือการภาวนาหรือรูปฌาน 4 สามารถดูได้ดังภาพ



ภาพแสดง - แผนผังการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

"การทำทาน 100 ครั้ง บุญไม่เท่ารักษาศีลห้า 1 ครั้ง และการรักษาศีลห้า 100 ครั้ง บุญไม่เท่าภาวนา 1 ครั้ง เพราะฉะนั้นการนั่งภาวนา 1 ครั้ง จะได้บุญมากกว่าผู้ที่ตักบาตรตอนเช้าทุกวันเป็นเวลา 27 ปี 8 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นบุญที่มากมายมหาศาลเลยทีเดียว"

ที่มา : หนังสือ "ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า" จากผู้เขียน อ.ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์ ( //www.siripong.net )



การอธิษฐานถอนพยาบาท

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ

ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูอาจารย์ ด้วยบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างและด้วยอธิษฐานบารมี ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า

"ความพยาบาททั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยผูกอาฆาตไว้กับผู้ใดก็ตาม ทั้งในชาติปัจจุบัน และในอดีตชาติ ที่ผ่านมาทั้งหมด บัดนี้ข้าพเจ้าขออธิษฐาน ถอนการพยาบาททั้งหมดที่เคยมีมาทั้งชาติปัจจุบัน และในอดีตชาติทั้งหมดให้สิ้นสุดลง ณ กาลบัดนี้ และขอให้ได้รับผลอย่างเกินความคาดหมายด้วยเทอญ"



การอธิษฐาน 5 ประการ

การเกิดเป็นมนุษย์นั้น ควรจะอธิษฐาน 5 อย่างนี้ เพื่อความเจริญในชาติต่อๆไป ของมนุษย์ผู้นั้น

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ

ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูอาจารย์ ด้วยบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างและด้วยอธิษฐานบารมี ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า

"เมื่อข้าพเจ้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกนี้อีก ขอให้ข้าพเจ้าจงได้สมปรารถนาดังนี้

1. ขอให้ข้าพเจ้า จงได้เกิดมาในประเทศที่ดีที่สมควร
2. ขอให้ข้าพเจ้า เมื่อเกิดมาจงได้เจอพระพุทธศาสนา
3. ขอให้ข้าพเจ้า เมื่อเกิดมาจงตั้งอยู่ในศีลในธรรม
4. ขอให้ข้าพเจ้า เมื่อเกิดมาจงเป็นผู้ที่ทำบุญได้มาก
5. ขอให้ข้าพเจ้า เมื่อเกิดมาจงเป็นผู้ได้สดับตรับฟังธรรมะมาก และขอให้ข้าพเจ้า จงได้รับความสำเร็จอย่างเกินความคาดหมาย ในการอธิษฐานครั้งนี้ด้วยเทอญ"


ที่มาจากหนังสือ ความสำเร็จที่มาจากพระพุทธเจ้า ของ
อ.ศิริพงษ์ อัครศรียุกต์
__________________
"ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม"

//www.siripong.net/download_2.php




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2555   
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2555 15:18:13 น.   
Counter : 5066 Pageviews.  


การทำบุญ ที่ดีที่สุด

การทำบุญ ที่ดีที่สุด

                                 วันนี้เป็นวันสำคัญ  วันเข้าพรรษา เป็นวันพระใหญ่

    มีหลายคนรวมทั้งตัวเองก็รีบตื่นไปใส่บาตรทำบุญ ไปวัด เร่งทำความดีในหลายๆด้าน ก็ขออนุโมทนาบุญกันนะจ๊ะ

              แต่อยู่ ก็คิดอย่างหนึ่ง ซึ่งอยากจะบอกเล่าให้ทั้งตัวเองและหลายๆคนได้คิดว่า จริงๆแล้วทุกๆวัน สำคัญเหมือนกันหมดนะจ๊ะ อย่าทำบุญกันแต่วันสำคัญหรือวันพิเศษ อยากให้ทุกคนมีสติทุกวัน คิดดีทำดีพูดดี มีสติ จิตใจให้ผ่องใส พระพุทธเจ้าท่านคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทุกๆวินาที ทุกวัน ท่านได้ทำสมาธิ เพื่อให้เกิดสติ รู้เท่าทันอารมณ์ และเหตุปัจจัยในทุกๆด้าน ชีวิตของคนเราไม่มีใคร ที่มีแต่ความสุข ทุกคนล้วนต้องเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การรัก โลภ โกรธ หลง  ได้ในสิ่งที่พอใจก็เป็นสุข ไม่ได้ในสิ่งที่พอใจก็เป็นทุก ซึ่งถ้าเรารู้ไม่เท่าทันอารมณ์ เราก็โดนครอบงำด้วยสถานะการต่างๆตามแต่เหตุหรือปัจจัย เรื่องราวในช่วงนั้น ซึ่งใครมีปัญญา รู้เท่าทันก็จะสามารถตั่งสติได้ทัน ว่าทุกเรื่อง ล้วนแต่เป็นเรื่อง ธรรมดา เกิดกับทุกคน หาใช่เราคนเดียวไม่

  หลายคนที่เข้ามาดูดวง มักถามว่า เมื่อไหร่จะดี เมื่อไหร่ดวงจะเปลี่ยน ก็บอกได้เลยจ๊ะ

ว่าเราเรื่มมีสติรู้เท่าทันเมื่อไหร่ คิดดี คิดบวก ให้สติกับตัวเอง มีมืดก็มีสว่าง ทุกอย่างถ้ามันแย่ได้ มันก็ดีได้ ทำดี สู้กับปัญหาอย่างใจเย็นๆนะจ๊ะ อย่าใจร้อน ทำทุกอย่างให้ดีให้รอบคอบและไม่วู่วาม พูดดีหาคำแนะนำที่ดี ให้กำลังใจตัวเองและผู้อื่นอย่างถูกต้องตามกาละเทศะ ตามสถานะการ ในสิ่งที่มองไม่ห็นก็หมั่นถือศิล ทาน ภาวนา เท่าที่ทำได้ นี่ก็เป็นบุญใหญ่ อย่างหนึ่งนะจ๊ะสามารถอธิฐานจิตและกรวดน้ำได้เช่นกันและได้บุญไม่แพ้การไปวัด หรือทำบุญในด้านอื่นๆนะจ๊ะ 

   ก็ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่ดีที่ชอบกันนะจ๊ะ

นี่ก็เป็นประวัติการเข้าพรรษา ศึกษาไว้เป็นความรู้ก็จะได้เข้าใจเพิ่มมากขึ้นนะจ๊ะ อนุโมทนาบุญจ๊ะ  aetarot รับดูดวง ดูฮวงจุ้ย mail รายละเอียดและเบอร์โทรมาได้จ๊ะ ที่

tarotthailand999@gmail.com  หรือโทร เบอร์ tru083-7548836ยินดีให้คำแนะนำ จ๊ะ

 วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 

          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา... 

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 
นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว  

ที่มา//hilight.kapook.com/view/13698/

                    




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2555   
Last Update : 5 สิงหาคม 2555 17:20:49 น.   
Counter : 1192 Pageviews.  



aetarot
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add aetarot's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com