Group Blog
 
All blogs
 

286. วัดกุโสดอร์ (Kuthodaw Pagoda) เมืองมัณฑเลย์ (Mandalay) ประเทศพม่า

เป็นวัดที่พระเจ้ามินดง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 และพระองค์ทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และได้นำมาประดิษฐานในมณฑป อยู่รอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน สูง 30 เมตร ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม























 

Create Date : 08 ตุลาคม 2556    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 20:58:15 น.
Counter : 1108 Pageviews.  

287. พระมหามัยมุนี (Mahamuni Buddha) เมืองมัณฑเลย์ (Mandalay) ประเทศพม่า

พระมหามัยมุนี 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสูงสุดของประเทศพม่า
ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของชาวยะไข่แห่งเมืองธัญญวดี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกของพม่าติดกับบังคลาเทศ) โปรดฯให้สร้างพระมหามัยมุนี ซึ่งแปลว่า “มหาปราชญ์” ขึ้นในปี พ.ศ.689 หรือเกือบสองพันปีมาแล้ว เหตุเพราะพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าพระสุบินประทานพรแก่พระเจ้าจันทสุริยะ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเชิดชูพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่จึงต้องหล่อแยกเป็นชิ้นแล้วจึงนำมาประสานกันได้สนิทจนไม่เห็นรอยต่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ เชื่อกันว่าเป็นด้วยพรของพระศาสดาประทานไว้

ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามุนีเลื่องลือไปไกล จึงเป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่านับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม บุเรงนองมหาราชแห่งหงสาวดี และอลองพญามหาราชแห่งรัตนปุระอังวะ ล้วนเพียรพยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นศิริมงคลแห่งดินแดนพม่าทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารของเส้นทางที่เต็มไปด้วยแม่น้ำและภูเขาสูง
จนกระทั่งประสบความสำเร็จในสมัยพระเจ้าปดุง ก็สามารถนำเอาพระมหามุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327 ในปัจจุบันชาวพม่ายังเรียกพระมหามุนีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระยะไข่”

วัดมหามัยมุนี มีธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับปูชนียสถานทุกแห่งในพม่าคือไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าใกล้องค์พระได้เท่าสุภาพบุรุษ ซึ่งสามารถขึ้นไปปิดทองที่องค์พระได้เลย โดยทางวัดกำหนดให้เขตสตรีกราบสักการะองค์พระได้ระยะใกล้สุดราว 10 เมตร แต่สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้

อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้สตรีสามารถสัมผัสองค์พระได้ โดยผ่านแป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี โดยทุกๆเช้า ทางวัดจึงจัดพื้นที่บริเวณลานด้านหน้าองค์พระ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิงช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคา เพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้ แล้วเอามาใส่ผอบรวมกันไว้มากๆ สำหรับนำไปผสมน้ำประพรมพระพักตร์องค์พระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น

ด้วยเหตุแห่งความศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระทุกๆรุ่งสาง เหมือนดั่งคนที่ต้องล้างหน้าแปรงฟันทุกเช้า โดยมีพระทำหน้าที่ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนีทุกวันตั้งแต่ราวตีสี่ครึ่ง โดยเริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำผสมเครื่องหอมทำจากเปลือกไม้ “ตะนะคา” ซึ่งชาวบ้านนำมาบริจาคให้วัดทุกวัน จากนั้น ก็ใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟันแล้วใช้ผ้าเปียกลูบไล้เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วทั้งพระพักตร์ จึงมาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้งและขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระพัตร์นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดพระมหามัยมุนีจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบเป็นประกายวาววามอย่างที่สุดองค์

อาคารด้านหลังของมณฑปครอบองค์พระมหามัยมุนี มีห้องจัดแสดงศิลปวัตถุประเภทเครื่องสัมฤทธิ์ 6 ชิ้น ซึ่งนักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่าเป็นเครื่องสัมฤทธิ์ศิลปะเขมรแบบ “บายน” หล่อขึ้นในแผ่นดินพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (อาณาจักรเขมรสมัยเมืองพระนคร)ประกอบด้วยรูปช้างเอราวัณ 1 ชิ้น รูปสิงห์ 3 ชิ้น รูปพระอิศวร 2 ชิ้น ซึ่งชาวพม่านิยมมาสักการะโดยใช้มือลูบคลำ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต บางคนลูบเฉพาะท้องของพระอิศวรเพื่อขอลูก บางคนลูบหัวสิงห์ด้วยเชื่อว่าจะได้รับพรให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม บางคนลูบเฉพาะจุดที่ตนเองเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ปวดหัวเรื้อรังก็ลูบเศียรพระศิวะหรือเศียรช้างเอราวัณ

ประวัติศาสตร์เครื่องสัมฤทธิ์ชุดนี้ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองทรงนำมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวยกทัพไปตีเมื่อ พ.ศ. 2112 หรือคราวเสียกรุงครั้งที่ 1 นำมาตั้งไว้ที่พระราชวังหงสาวดีเป็นเวลา 30 ปี ครั้นเมื่อยะไข่ตีกรุงหงสาวดีในสมัยพระเจ้าทันทบุเรงในปี พ.ศ. ก็นำเอาเครื่องสัมฤทธิ์ชุดนี้ไปไว้ที่วัดมหามัยมุนีที่เมืองยะไข่ นานถึง 180 ปี จนกระทั่งพระเจ้าปดุงยกทัพไปแย่งพระมหามัยมุนีมาจากชาวยะไข่ ก็ได้นำเอาเครื่องสัมฤทธิ์ชุดนี้พร้อมกับพระมหามัยมุนีมาไว้ที่ราชธานีอมรปุระ จากนั้นก็ย้ายพระราชวังมาที่เมืองมัณฑะเลย์

ศิลปวัตถุเครื่องสัมฤทธิ์ชุดนี้ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า เครื่องสัมฤทธิ์ชุดนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้มาจากเขมรเมื่อครั้งยกทัพไปตียโศธรปุระ(นครธม) พ.ศ. 1966 จึงเท่ากับมาตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 146 ปีแล้วจึงไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี

องค์จำลองของพระมหามัยมุนี
ความงามที่เป็นชื่อเลื่องลือของพระมหามัยมุนีทำให้มีพระพุทธรูปหล่อขึ้นโดยเลียนแบบปางมารวิชัยทรงเครื่องกษัตริย์องค์นี้มากมาย ในเมืองไทยคือพระเจ้าพาราละเข่ง ประดิษฐานที่วัดหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประวัติเล่าว่า เมื่อตอนหล่อพระพุทธรูปองค์นี้แยกหล่อเป็น 9 ส่วนแล้วนำลงเรืองล่องมาตามแม่น้ำสาละวินมาประกอบที่เมืองแม่ฮ่องสอน และ อีกองค์หนึ่งคือพระพุทธมหามัย ประดิษฐานที่วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำลองแบบมาจากพระมหามัยมุนีเมืองมัณฑะเลย์ โดยฝีมือช่างชาวไทใหญ่











 

Create Date : 08 ตุลาคม 2556    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 21:00:14 น.
Counter : 958 Pageviews.  

288. ถ้ำพินตายะ (Pindaya Natural Cave) เมืองตองยี (Taunggyi) รัฐฉาน (Shan State) ประเทศพม่า

ตำนานที่กล่าวขานกันมายาวนานของชาวเมือง พินดายา เล่าว่า ครั้งหนึ่งเคยมีนางฟ้า7 องค์ลงมาเล่นน้ำที่ทะเลสาบของเมืองสนุกสนานกันจนลืมเวลาที่จะต้องกลับขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นฟ้า ทำให้นางฟ้าทั้งเจ็ดกลับขึ้นไปไม่ทัน และแมงมุมยักษ์เกิดมาเห็นเข้า เลยจับเหล่านางฟ้ามาขังไว้ที่ถ้ำแห่งนี้ หลังจากนั้นก็กินนางฟ้าเป็นอาหารทีละองค์ พอมาถึงนางฟ้าองค์สุดท้าย ซึ่งกำลังจะถูกแมงมุมยักษ์จับกิน นางได้ส่งเสียงร้องออกมา บังเอิญเจ้าชายรูปงามเสด็จมาล่าสัตว์แล้วผ่านมาได้ยินเข้า เลยเข้าไปช่วยนางฟ้าโดยการยิงธนูใส่แมงมุมยักษ์จนตายอยู่ที่ปากถ้ำ เจ้าชายเลยขอแต่งงานกับนางฟ้าและปกครองเมืองพินดายาสืบมา ตำนานเล่าขานของชาวเมืองพินดายาเกี่ยวกับถ้ำแห่งนี้ อาจจะฟังดูเป็นนิทานสำหรับเด็ก แต่ชาวบ้านที่นี่ยังคงเชื่อถือและนิทานเรื่องนี้ก็ไม่เลือนหายไปกับกาลเวลา

ถ้ำพินดายา ถูกค้นพบในศตวรรษที่18 ภายในถ้ำเต็มไปด้วยพระพุทธรูปหลายพันองค์ สร้างจากหินอ่อน หยก ไม้สัก และกระเบื้องเคลือบ การที่ถ้ำแห่งนี้มีพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นมากมายก็เพราะว่า ในสมัยก่อนเมืองพินดายานี้ เป็นเส้นทางสำหรับขนถ่ายและลำเลียงสินค้า เพื่อที่จะนำไปขายยังเมืองต่างๆ พ่อค้าที่เดินทางผ่านจะแวะพักกันที่ถ้ำแห่งนี้ และกราบไหว้นมัสการขอพรพระพุทธรูปภายในถ้ำ เพื่อให้การค้าขายเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใดๆ หากสำเร็จประการใดก็ตามจะกลับมาสร้างพระพุทธรูปไว้ในถ้ำแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของพระพุทธรูปซึ่งเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันกว่า 8,000 องค์แล้ว

ในถ้ำแห่งนี้ มีพระพุทธรูปที่ชาวพม่านับถืออยู่หลายองค์ อย่างพระพุทธรูปสององค์ที่ชาวพม่าเรียกกันว่ากันว่า พระเหงื่อ คือพระพุทธรูปลงรักสีดำที่ปิดทองคำเปลวลงไปเท่าไรก็ลอกออกมาหมด สาเหตุเพราะองค์พระพุทธรูป มีน้ำซึมออกมาตลอดเวลาเหมือนเหงื่อ หรือพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ที่พระหัตถ์ขวาถือลูกกลมๆ คล้ายๆ ยาลูกกลอน คนพม่าถือว่าท่านประทานโอสถ หากใครเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ให้มาขอพรที่พระองค์นี้ รูปแบบของพระพุทธรูปภายในถ้ำแห่งนี้ ค่อนข้างมีความหลากหลาย บ่งบอกถึงศิลปะการปั้นพระพุทธรูปที่มาจากหลายสกุลช่าง ทำให้การเข้าชม พระพุทธรูปในถ้ำแห่งนี้เป็นไปอย่างไม่น่าเบื่อ เพราะพระพักตร์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์แตกต่างกัน ล้วนทำให้เราพิศวงและเพลิดเพลิน ด้านหน้าทางขึ้นถ้ำพินดายาจะมีต้นไทร ที่มีอายุหลายร้อยปี ยืนต้นอยู่ด้วยความสง่างาม ลำต้นนั้นสูงใหญ่ขนาดหลายคนโอบ และไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน



















src="//www.bloggang.com/data/a/aerides/picture/1501077913.jpg" />





 

Create Date : 08 ตุลาคม 2556    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 21:06:11 น.
Counter : 2216 Pageviews.  

289. วัดชเวยันเป (Shwe Yan Pyay) เมืองตองยี

Shwe Yaunghwe Kyaung Monastery is a beautiful wooden monastery near Inle Lake in Myanmar. Built almost entirely of wood, and intricately carved, the Shwe Yaunghwe Kyaung is famous for its oval-shaped windows, which is regarded one of the most famous windows in Myanmar. Shwe Yaunghwe Kyaung is built on stilts with cement stairs leading up to the wooden structure with tiered roofs. In the ordination hall is a big image of the Buddha.



























 

Create Date : 08 ตุลาคม 2556    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 21:10:59 น.
Counter : 1628 Pageviews.  

290. Alodaw Pauk Pagoda or Alotawpyay Pauk Pagoda ทะเลสาบอินเล (Inle Lake) เมืองตองยี (Taunggyi)

The Alodaw Pauk Pagoda is one of the 84,000 pagodas built by the famous king Thiri Dhamma Thawka. When King Anawrahta arrived in Inle Lake, he rebuilt the pagoda because the only thing that was left was the foot of the original. The pagoda was originally named the Innphaya Pagoda, but it was changed into Yadana Pagoda before assuming its current name. The Alodaw Pauk Pagoda is home to the gem-encrusted Shan-style Buddha stupa.

Location: Nampan Village, Nyaung Shwe Township.











 

Create Date : 08 ตุลาคม 2556    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 21:12:56 น.
Counter : 980 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.