Group Blog
 
All blogs
 

176. วัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

อยู่ในตำบลรั้วใหญ่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ถนนสมภารคงแยกจากถนนมาลัยแมน ไปประมาณ 300 เมตร

ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้ และพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหายากนักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

พระผงสุพรรณ มีแหล่งกำเนิดจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อเป็นเนื้อ ดินเผาละเอียด ปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ พิมพ์หน้าแก่ , พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระ ชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่ง ปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์ ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน ลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู) องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่าง แห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม

พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า “..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธี เป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตรคือ เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม



















 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:26:43 น.
Counter : 905 Pageviews.  

177. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม

ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรมหาวิหาร

เป็นที่ประดิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ซึ่งถือว่าเป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด
พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจตีย์องค์เดิม ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 เนื่องจากรูปร่างของเจดีย์แบบโอคว่ำ มีลักษณะคล้ายกับสาญจีเจดีย์ในอินเดียซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์ใหม่เสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2413 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี พระเจดีย์องค์ใหม่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม รูประฆังคว่ำแบบลังกา มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ 3 เส้น 1 คืบ 6 นิ้ว (หรือประมาณ 120.45 เมตร) ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 16 วา 3 ศอก (หรือประมาณ 233.50 เมตร) ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามมากขึ้น และถือว่า วัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และภายในวัดพระปฐมเจดีย์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆให้ชม เช่น

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท มาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2456 แล้วอัญเชิญ ไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านทิศเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” และที่ ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้าม พระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆในนครปฐมทั้ง สมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป หินบดยา ลูกประคำดินเผา กำไลข้อมือ เงินโบราณ ฯลฯ และยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลและโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้ในพิธีศพของ ย่าเหลซึ่งเป็นสุนัขที่รัชกาลที่6 ทรงโปรดปรานมากและ ถูกคนลอบยิงตาย พระองค์ทรงเสียพระทัยมากได้โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้

บริการทุกวันยกเว้น วันจันทร์ อังคาร ระหว่างเวลา 09.00-16.30 น.



























 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:37:05 น.
Counter : 698 Pageviews.  

178. วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพฯ

ตั้งอยู่ ถนนพระราม ๓ ซอย ๓๐ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพฯ 10120

วัดปริวาศ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เดิมชื่อวัดเขียนว่า "วัดปริวาสราชสงคราม" ต่อมามีการเขียนผิดเพี้ยนไปเป็นวัดปริวาศ โดยไม่มีคำว่า “ราชสงคราม”ซึ่งในขณะนี้ทางวัดได้มีการขออนุญาตกลับไปใช้ชื่อเดิมคือ “วัดปริวาสราชสงคราม”

วัดปริวาศ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลักฐานการสร้างวัดนั้นไม่ปรากฏคงทราบแต่เพียงว่าเป็นข้อสันนิษฐานจากถาวรวัตถุภายในวัดเช่น โบสถ์ วิหาร และเจดีย์ เป็นต้น เพราะสถาปัตยกรรมเหล่านั้นสามารถบ่งบอกถึงความเก่าแก่และอายุได้ว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยใด ในสมัยที่หลวงพ่อวงษ์ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านพระอาจารย์สมชาย(ท่านเจ้าอาวาสในปัจจุบัน) ในเวลานั้นท่านบังเป็นลูกวัดอยู่ ได้รับความไว้วางใจจากท่านหลวงพ่อวงษ์ ให้เป็นผู้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์หน้าโบสถ์ ได้พบแผ่นทองจารึกชื่อผู้สร้างเจดีย์จากช่วงบนของคอระฆังว่า “ยายเมืองเป็นผู้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2421” เมื่อพบแผ่นทองจารึกชื่อผู้สร้างเจดีย์ จึงทำให้ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสามารถอ้างอิงได้ว่าวัดปริวาศเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณรัชกาลที่ 2หรือรัชกาลที่ 3 เพราะมีหลักฐานจากวัดข้างเคียงว่า กรมหมื่นศักดิ์พงเสพได้สร้างวัดขึ้นที่ริมคลองลัดหลวงฝั่งตะวันตกโดยมีพระยาเพชรพิชัย (เกตุ) ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของพระองค์เป็นแม่กอง พระยาเพชรพิชัยนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ โดยเป็นนายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (อำเภอพระประแดง)จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เมื่อสร้างวัดเสร็จจึงพระราชทานนามวัดว่า “วัดไพชยนต์พลเสพ” พระยาเพชรพิชัยเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อยากจะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ จึงได้ทูลขออนุญาตสร้างวัดอีกวัดหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า “วัดโปรดเกศเชษฐาราม”โดยวัดทั้งสองเป็นวัดหลวง ในการสร้างวัดทั้งสองนั้นมีนายกองที่สำคัญอีกท่านหนึ่งคือ “พระยาราชสงคราม” เป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก เมื่อร่วมสร้างวัดทั้งสองเสร็จแล้วเห็นว่าฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตรงข้ามกับวัดโปรดเกศฯ มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ “วัดสุนทริการาม” ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม จึงได้ขอวัสดุที่เหลือนำมาซ่อมสร้าง วัดสุนทริการามจนสวยงามแล้วตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “วัดปริวาสราชสงคราม”ตามยศของท่าน แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดปริวาศ

วัดปริวาศ เป็นวัดราษฎร์ที่สมบูรณ์วัดหนึ่งประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร และกำแพงรอบโบสถ์ เรียกว่า“คต”ด้านนอกเป็นเจดีย์ มีพระประธานชื่อ “หลวงพ่อสุโขทัย” ซึ่งย้ายมาจากวัดร้างชื่อ วัดพระยาไกร ซึ่งตอนนั้นวัดร้างนี้มีพระพุทธรูปอยู่ 3 องค์ คือ หลวงพ่อทองคำ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตร หลวงพ่อสำริดอยู่ที่วัดไผ่เงิน และหลวงพ่อสุโขทัยที่อยู่ที่วัดปริวาศแห่งนี้ ส่วนตามแนวกุฏิสงฆ์ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ศิลปกรรมภายในวัดปริวาศเป็นศิลปกรรมร่วมสมัย อาทิ เจดีย์และศาลาการเปรียญ

สำหรับเจดีย์เป็นศิลปะผสมผสานหลายยุคหลายสมัย ส่วนศาลาการเปรียญเป็นศาลาที่มีขนาดกว้างมีรูปปั้นงดงาม ฐานรูปปั้นปั้นเป็นศิลปสมัยเก่าผสมศิลปสมัยใหม่ อาทิกลุ่มอินทร์ พรหม ยม ยักษ์และช่างปั้น นอกจากนี้ยังได้นำบุคคลร่วมสมัยมาจัดทำเป็นรูปปั้นเช่น ปั้นรูปนักฟุตบอล"เดวิด แบคแฮม" รูปปั้น จิวแป๊ะทง รูปปั้นคนสวมสูท กำลังชี่คอคน ซึ่งช่างปั้นนั้นปั้นตาม









src="//www.bloggang.com/data/a/aerides/picture/1499877526.jpg" />











 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:40:42 น.
Counter : 3587 Pageviews.  

179. วัดศรีพรมประสิทธิ์ จ.สิงห์บุรี

อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
มีหลวงพ่อศรีเพชญ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ











 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:42:53 น.
Counter : 957 Pageviews.  

180. วัดเสถียรวัฒนดิษฐ์ จ.สิงห์บุรี

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ถนนสังฆราช ตำบลบางพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ เดิมมีชื่อว่า “วัดท่ากระบือ” หรือชาวบ้านรู้จักในนาม “วัดท่าควาย”

จุดเด่นอยู่ที่ "พระพุทธรูปทองคำงดงามแห่งสุโขทัย"

พระพุทธรูปสุโขทัยองค์นี้ได้ร่วมประกวดสมัยกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้รับรางวัลที่ ๑ ประเภทสวยงามจากการประกวดครั้งนั้นจึงทราบว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหล่อขึ้นด้วยวัสดุโลหะสัมฤทธิ์ผสมทองคำ แต่แรกพระพุทธรูปองค์นี้ห่อหุ้มด้วยปูน ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหารร้างกลางป่าช้าด้านหลังวัด (ทิศตะวันตก) มากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว ครั้นเมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เกือบสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ชาวบ้านได้ร่วมแรงกันย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ออกจากวิหารร้าง ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ จนเป็นเหตุให้เกิดรอยร้าวของปูนและเห็นเนื้อแท้บางส่วนของพระพุทธรูป ซึ่งพบว่าทำด้วยโลหะ พระภิกษุและชาวบ้าน จึงช่วยกันกระเทาะปูนที่หุ้มภายนอกออกทั้งหมด สร้างความปลื้มปิติและประหลาดใจเป็นอันมาก เพราะเป็นพระเนื้อโลหะที่ค่อนข้างสมบูรณ์และสวยงามมาก พระพุทธรูปองค์นี้ คือ มีความสวยงามอ่อนช้อย พระพักตร์อิ่มเอิบ ดังคำอุปมาอุปมัยถึงพระศิลปะสุโขทัยรุ่นนี้ว่า “หน้านางคางหยิก” ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาสูงสุดในสมัยนั้นเพื่อป้องกันการสูญหายจนสุดท้ายได้นำมาเก็บรักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันโดยไม่มีผู้ใดทราบว่า ณ วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์แห่งนี้มีของศักดิ์สิทธ์ล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองถูกเก็บรักษาไว้อย่างมิดชิดเป็นระยะเวลานาน

สักการะบูชา พระพุทธรูปทองคำ ลักษณะเดียวกับพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร ที่กรุงเทพฯ เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า ของที่นิยมบนก็คือดอกบัว เก้าสิบเก้าดอก











 

Create Date : 28 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กรกฎาคม 2560 23:44:39 น.
Counter : 2237 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.