Group Blog
 
All blogs
 

46. วัดหมอนไม้ จ.อุตรดิตถ์

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเป็นพระสกุลช่างสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวองค์พระเป็นเนื้อโลหะสำริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ วัดหมอนไม้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

เมื่อ พ.ศ. 2446 สมภารติ่ง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ในสมัยนั้น ได้พบหลวงพ่อสัมฤทธิ์ในวิหารเก่าในวัดร้างแห่งหนึ่งในอำเภอลับแล องค์พระเดิมมีความชำรุดมาก ท่านจึงได้นำชาวบ้านและพระสงฆ์มาอัญเชิญองค์พระกลับมายังวัดหมอนไม้เพื่อสักการะบูชา โดยท่านเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือสมภารหวิง ได้ลงไปศีกษาพระปริยัติธรรมยังวัดสระเกษ กรุงเทพมหานคร จึงได้ชักชวนชาวบ้านเรี่ยไรได้เงินและโลหะทองแดงจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปให้ช่างทำการบูรณะหลวงพ่อให้สมบูรณ์ โดยสมภารหวิงได้อัญเชิญหลวงพ่อไปซ่อมแซมยังบ้านช่างหล่อ ธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) ในปี พ.ศ. 2455 จึงอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดหมอนไม้จนปัจจุบัน





































 

Create Date : 18 กันยายน 2556    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 20:28:58 น.
Counter : 1130 Pageviews.  

47. วัดอรัญญิก จ.พิษณุโลก

เป็นวัดโบราณสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร บนถนนพญาเสือ

ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด เจดีย์องค์ประธานเป็นทรงลังกา ฐานกลม องค์ระฆังเหลือครึ่งซีกจนถึง บัลลังก์ พบร่องรอยการบูรณะจึงมีรูปแบบผสมผสาน พบซากอุโบสถ ซากใบเสมาหินศิลปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สุโขทัย และอยุธยา มีคูน้ำล้อมเนินดิน





 

Create Date : 18 กันยายน 2556    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 20:31:03 น.
Counter : 533 Pageviews.  

48. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก

ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
เป็นวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ริมถนนพุทธบูชา เป็นวัดหลวงชั้นเอก “วรมหาวิหาร”

ภายในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” หรือที่ชาวเมืองพิษณุโลกเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม และพระศรีศาสดาซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธลักษณะของพระพุทธชินราชนั้นสวยงามมาก เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมและสักการบูชาพระพุทธชินราชเป็นจำนวนมาก

ทุก ๆ ปี จะมีงานนมัสการพระพุทธชินราชในวันขึ้น 6 ค่ำ ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณปลายเดือนมกราคม) เรียกว่า “งานวัดใหญ่” ทางเข้าพระวิหารด้านหน้ามีบานประตูขนาดใหญ่ประดับมุกสวยงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ

บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช มีพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ.1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”

ด้านหลังพระอัฏฐารส เป็นพระปรางค์ประธาน สร้างแบบสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา

นอกจากนี้ยังมี “พระเหลือ” ซึ่งพระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ประดิษฐานในวิหารน้อย เรียกว่า “วิหารพระเหลือ”















 

Create Date : 18 กันยายน 2556    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 20:34:23 น.
Counter : 2019 Pageviews.  

49. วัดท่าหลวง จ.พิจิตร

ตั้งอยู่บนถนนบุษบา ตำบลในเมือง เดิมชื่อ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
วัดท่าหลวง ปัจจุบันชื่อ วัดราชดิตถาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

แต่เดิมมีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ในป่าพงละเมาะไม้ในเขตหมู่บ้านท่าหลวงอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตรซึ่งในขณะนั้นที่ตั้งตัวเมืองพิจิตรอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าห่างจากตัวเมืองพิจิตรใหม่ในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ๘ กิโลเมตรและได้ย้ายเมืองพิจิตรเก่ามาตั้งอยู่ที่เมืองพิจิตรเป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ใกล้ศาลากลางจังหวัด

พุทธศักราช 2388 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดท่าหลวง ชื่อของวัดตั้งขึ้นตามชื่อตำบลอันเป็นที่ตั้ง (ในสมัยนั้น) นอกจากนี้วัดท่าหลวงยังมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า วัดราชดิตถาราม แต่ไม่ได้รับความนิยมนำมาใช้เรียกขาน

วัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระประธานประจำวัด พื้นที่ของวัดมีลักษณะพิเศษคือ ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีถนนบุษบาคั่นระหว่างกลางในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ฝากตะวันออก เป็นเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญเป็นหลัก

ส่วนฝากตะวันตกนั้น ประกอบด้วยเขตสังฆาวาส โรงเรียนปริยัติธรรม เขตประกอบฌาปนกิจ และเขตปฏิบัติธรรมของฆราวาส เป็นหลัก โดยมีการอัญเชิญหลวงพ่อพัตร พระประธานองค์เดิม มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพื้นที่ ซึ่งเรียกตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่คำว่า

"ท่าหลวง" นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านท่าหลวง คลองท่าหลวง ตำบลท่าหลวง และเคยเป็นชื่อของอำเภอท่าหลวงมาก่อน ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑เปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบันทางราชการได้เคยใช้สถานที่วัดท่าหลวงในกาประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเป็นประจำ

ฝากตะวันตกวัดท่าหลวง มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปหลวงพ่อพัตร

องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงาม และทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย พระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกหล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร สังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปี เมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจ"หลวงพ่อเพชร"ให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่"หลวงพ่อเพชร"ที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ

ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชรในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทอง เมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจอมทอง แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หาพระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามแม่น้ำปิง และหลังจากนั้นได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรจนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.00 น.









 

Create Date : 18 กันยายน 2556    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 20:36:21 น.
Counter : 571 Pageviews.  

50. วิหารสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี จ.นครราชสีมา

ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ดำเนินการสร้างโดยสรพงศ์ ชาตรี นักแสดงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง

หลวงพ่อโต หรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระที่พุทธศาสนิกชนให้ความศรัทธา นับถือ บูชากันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเกี่ยวกับคาถาชินบัญชร ซึ่งถือกันว่าเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์

สิ่งที่ไม่ควรพลาด คือแวะไปกราบหลวงพ่อทันใจ และ พระพุทธชินราช













 

Create Date : 18 กันยายน 2556    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2560 20:38:40 น.
Counter : 506 Pageviews.  

1  2  

เหมียวสินธร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add เหมียวสินธร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.