ดั้นด้นค้นหาคุณธรรม

The Photo Library

5OgvJS.jpg


JnyXEV.jpg


กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้เดินไปย่านเก่าแห่งหนึ่งและนึกไม่ถึงว่าจะได้ภาพเหล่านี้มาซึ่งในยุคนั้นบ้านเมืองยังสงบไม่มี Covid - 19 - Omicron อะไรทั้งนั้นคิดไปคิดมายุคก่อนนี้ดีกว่ายุคที่มีโรคระบาดหรือที่เรียกให้โก้ ๆ ว่า New normal life มากมาย

ความบางตอนจากหนังสือ วิมุติรัตนมาลี

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่ พึ่งแห่งสัตวโลกทั้งหลายในอดีตชาติล่วงแล้วแต่หนหลัง ครั้งศาสนาสมเด็จพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นพระองค์ผู้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชฎิลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ มหาศาลแม้พิมพาข้าพระบาทนี้ก็ได้เป็นภรรยาของเศรษฐีนั้นนามว่า อนิมิต ตาเศรษฐีนี ครองฆราวาสสมบัติเป็นสุขอยู่ทุกทิวาราตรีกาลวันหนึ่ง ชฎิลเศรษฐีสามีเกิดปัญญาพิจารณาเห็นว่าความสุขในฆราวาสวิสัยเป็นความสุข ไม่เที่ยงแท้แน่นอนปรารถนาความ

สุขชั่วนิรันดร์ จึงออกไปบวชเป็นดาบสประพฤติพรตพรหมจรรย์บำเพ็ญสมถกรรมฐานอยู่ในอรัญ นางอนิมิตตาภรรยาอุตส่าห์เดินทางติดตามไปครั้นได้เห็นสามีบวช เป็นดาบสแล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วโสมนัสอนุโมทนาตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ก็อุตส่าห์ปฏิบัติรับใช้ นำเอาอาหารทูนเหนือศีรษะออกไปถวายแก่พระดาบสผู้สามีมิให้ต้องลำบากด้วยปัจจัย 4 แต่ประการใดโดยตั้งใจจะสนับสนุนเกื้อกูลให้ท่านดาบส รีบเร่งบำเพ็ญให้สำเร็จโดยไวสมัยนั้น ยังมีนางกินรีตนหนึ่ง เกิดความเลื่อมใสในองค์ดาบสจึงมาสู่อาศรมเพื่อประสงค์จะถวายนมัสการซึ่ง บาท

แห่งดาบสผู้ทรงพรตพรหมจรรย์ ก็บังเอิญเป็นเวลาที่นางอนิมิตตาเศรษฐีนีซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากนำเอา อาหารทูนเหนือศีรษะมา เห็นนางกินรีนั่งอยู่ในกุฎี จึงเกิดความเข้าใจผิดกล่าวต่อว่าดาบสด้วยความโกรธและน้อยใจว่าข้าแต่ท่านดาบส แต่เดิมทีสิ ท่านเห็นโทษในฆราวาสวิสัยจึงได้หนีออกจากเคหา ทิ้งข้ามาบวชอยู่ในป่า ข้านี่หรือก็มาสำคัญว่า ท่านบวชจริงจึงอุตส่าห์นำอาหารออกมาถวาย ต้องเดินทางไกลด้วยความลำบากหนักหนาเออบัดนี้ท่านมาผูกปฏิพัทธ์เสน่หากับด้วยนางกินรีรูปงามอยู่ในป่านี้อย่างมีความ สุขในโลกีย์โอหนอ ! ไม่

ควรเลยที่ท่านจะมาล่อลวงเราให้เป็นบาปช้าลามกอนิมิตตาเจ้ากล่าวด้วยความ เข้าใจผิดฉะนี้แล้ว ก็รีบออกมาจากป่าแม้ท่านดาบสจะพยายามชี้แจงแสดงความจริงอย่างใด ก็ไม่เชื่อฟังทั้งสิ้นตั้งแต่ วันนั้นมา นางก็ละเลยมิได้นำพาว่าจักเป็นเช่นไรปล่อยให้ดาบสผู้สามีอด ๆ อยาก ๆ ด้วยขาดปัจจัยสี่ข้าแต่พระองค์ผู้เคยทรงเป็นสวามีโทษผิด แห่งพิมพาข้าพระบาทนี้หากจักพึงมีในชาตินั้น โดยความเข้าใจผิดตัดพ้อต่อว่าแล้วปล่อยให้อดอยากซึ่งเป็นการแกล้งให้พระองค์ลำบากแล้วไซร้ ขอองค์สมเด็จพระจอมไตรโลกนาถจงทรงพระกรุณาอดโทษให้แก่ข้าพระบาทชื่อว่า พิมพา ซึ่งจักขอถวายบังคมลาเข้าสู่นิพพานในวันนี้เสียเถิดพระเจ้าข้า

หมายเหตุ...หนังสือ วิมุติรัตนมาลีเป็นหนังสือที่ยาวมาก รจนาโดย พระพรหมโมลี วิลาศ ญาณวโร ป.ธ 9 ตัว
ตัวเราเองมีอยู่เล่มหนึ่ง ยังอ่านไม่จบเลย เล่มหนาปึ๊กเลย ต้องค่อย ๆ อ่านวันละนิด - ละนิด แฮะ...แฮะ...แฮะ แต่ว่ายิ่งอ่านก็ยิ่งสนุกน่ะ ถ้าจะให้พิมพ์ลง(เนท)สงสัยต้องใช้เวลาตลอดชีวิตเลยเชียวแหละ

 




 

Create Date : 15 มกราคม 2565   
Last Update : 13 มกราคม 2566 16:55:16 น.   
Counter : 799 Pageviews.  

เดินสะพายกล้องเสาะหาสถานที่สัปปายะ














เดินทางแบบ Free Style ถ่ายภาพแบบ Panorama




 

Create Date : 04 มกราคม 2565   
Last Update : 4 มกราคม 2565 20:58:07 น.   
Counter : 496 Pageviews.  

ความเป็นมาของคำว่าสาธุ






28 ตุลาคม 2564 เข้าหน้าหนาวแล้ว Covid - 19 ยังไม่คลี่คลายเลยน้ำก็ท่วมอีก เฮ้อ ! เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริง ๆ ยอดผู้เสียชีวิตแม้จะมีแนวโน้มว่าลดลงแต่ก็ประมาทไม่ได้มาอ่านเรื่องราวน่ารู้และสาระธรรมดีกว่าสำหรับวันนี้ลองมาอ่านความเป็นมาเรื่องของคำว่า สาธุ

หมายเหตุ...ลมหนาวโชยมาอย่างแผ่วเบาแล้ว

ความเป็นมาของคำว่า สาธุ นั้นมีประวัติความเป็นมา ดังมีเรื่องย่อว่าชายคนหนึ่ง

อยู่ในเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ได้ฟังพระแสดงธรรมเทศนาแล้วเห็นโทษในการครองเรือน มีความปรารถนาจะขอบวช เพื่อแสวงหาความสงบในสมณธรรม จึงลาจากภรรยาไปบวช ได้ตั้งใจพากเพียรในสมณธรรมตามที่ปรารถนาไว้ตลอดมา ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงพบหญิงผู้เป็นภรรยาของชายคนนั้น และเมื่อทรงได้ทราบเหตุความเป็นมาทั้งหมด จึงเกิดสมเพชในนางผู้เป็นภรรยา รับสั่งให้นำหญิงนั้นมาเลียงไว้ในพระราชวัง ตั้งเป็นท้าวนางกำนัล อยู่มาวันหนึ่ง

ราชบุรุษนำดอกนิลุบลบัวเขียวมาถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล กำมือหนึ่ง พระองค์จึงประทานแก่ท้าวนางคนละดอก ฝ่ายสตรีที่เป็นภรรยาของชายที่ไปบวชนั้น เมื่อไปรับพระราชทานก็ยิ้มแสดงความยินดีดุจนางอื่น ๆ แต่พอดมกลิ่นนิลุบลแล้ว นางกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่จึงร้องไห้พระเจ้าปเสนทิโกศลสงสัยพระทัย จึงตรัสถามว่า เหตุใดนางจึงยิ้ม แล้วร้องไห้ นางจึงกราบทูลว่า ที่นางยิ้มเพราะดีใจที่ทรงพระกรุณาพระราชทานอดกบัวให้ แต่พอดมดอกบัวแล้วหอมเหมือนกลิ่นปากสามีที่ไปบวช นางคิดถึงความหลัง จึงร้องไห้ พระเจ้าปเสนทิโกศล ต้องการพิสูจน์วาจาของนาง จึงโปรดให้ประดับวังด้วยของหอมทั้งปวง เว้นแต่

บัวนิลุบล แล้วอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าภิกษุสงฆ์ ให้มาฉันภัตตราหารในพระราชฐาน แล้วมีพระราชดำรัสถามหญิงนั้นว่า พระมหาเถระองค์ไหนที่นางอ้างว่าเป็นสามี หญิงนั้นก็ชี้ไปที่พระมหาเถระ เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศล อาราธนาให้พระพุทธเจ้าและภิกษุองค์อื่น ๆ กลับวัดไปก่อน เว้นพระมหาเถระ ขอให้อยู่เพื่อกล่าวอนุโมทนา เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกับ ไปแล้วพระมหาเถระองค์จึงกล่าวอนุโมทนาด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ และมีกลิ่นหอมฟุ้งออกจากปากพระเถระรูปนั้นอย่างน่าอัศจรรย์ กลบเสียซึ่งกลิ่นการบูร และพิมเสน ผสมกฤษณา หอมยิ่งกว่าดอกบัวนิลุบล ปรากฏการณ์นี้ปรากฏแก่ชนทั้งทั้งหลายในพระราชวัง ส่วนองค์มหากษัตริย์ เมื่อเห็นจริงดัง

หญิงนั้นกราบทูลก็ทรงโสมนัสน้อมนมัสการ ฝ่ายพระมหาเถระเสร็จสิ้นการอนุโมทนาแล้ว ก็กลับไปสู่วิหาร ครั้นพอ รุ่งเช้า พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จไปสู่พระวหาร ถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลถามว่า เหตุใดปากของพระมหา เถระจึงหอมนักหนา ท่านได้สร้างกุศลใดมาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัส บุพพกรรมของภิกษุนั้นว่า เพราะบุพชาติปางก่อน ภิกษุรูปนี้ได้ฟังพระสัทธรรมไพเราะจับใจ เต็มตื้นด้วยปีติยินดี จึงออกวาจาว่า สาธุ เท่านั้น อานิสงส์แห่งการฟังพระสัทธรรมให้ผล จึงได้มีกลิ่นปากหอมดังนี้

ถ่ายภาพประกอบเนื้อหาโดย สุชู

มัชฌิมประภาสปุญสถาน


ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ







 

Create Date : 28 ตุลาคม 2564   
Last Update : 28 ตุลาคม 2564 16:57:10 น.   
Counter : 545 Pageviews.  

พุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะ






Buddhism is characterized by an emphasis on the possibility of inner transformation—a process of bringing forth our full human potential. There is a common perception that the discipline and focus necessary for such a process requires a set of ideal circumstances not available to most. Nichiren Buddhism, however, teaches that it is only by squarely facing the challenges that confront us amidst the harsh contradictions of society that we can carry out the task of changing our own lives and the world for the better.

พุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะโดยเน้นที่ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำศักยภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ออกมา มีการรับรู้ทั่วไปว่าระเบียบวินัยและการมุ่งเน้นที่จำเป็นสำหรับกระบวนการดังกล่าวต้องใช้ชุดของสถานการณ์ในอุดมคติซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีให้ อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนานิชิเร็นสอนว่าการเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เผชิญหน้าเราอย่างตรงไปตรงมาท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงของสังคมเท่านั้นที่เราจะสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเองและโลกให้ดีขึ้นได้

Human revolution is the term used by second Soka Gakkai President Josei Toda to describe a fundamental process of inner transformation whereby we break through the shackles of our lesser self bound by self-concern and the ego growing in altruism toward a greater self capable of caring and taking action for the sake of othersultimately all humanity. As Daisaku Ikeda explains There are all sorts of revolutions: political revolutions economic revolutions industrial revolutions scientific revolutions artistic revolutions but no matter what one changes the world will never get any better as long as people themselves remain selfish and lacking in compassion. In that respect human revolution is the most fundamental of all revolutions and at the same time the most necessary revolution for humankind.

การปฏิวัติมนุษย์ เป็นคำที่ใช้โดยประธานโซกะ กักไคคนที่สอง โจเซ โทดะ เพื่ออธิบายกระบวนการพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงภายใน โดยที่เราฝ่าฟันห่วงของ ตัวตนที่น้อยกว่า ของเราซึ่งผูกติดอยู่กับความกังวลในตนเองและอัตตา เติบโตในความเห็นแก่ประโยชน์แก่ ตัวตนที่ยิ่งใหญ่กว่า ที่สามารถดูแลและดำเนินการเพื่อผู้อื่นท้ายที่สุดแล้วคือมนุษยชาติทั้งหมด ดังที่ อาจารย์ ไดซาคุ อิเคดะ อธิบายว่า การปฏิวัติมีทุกประเภท การปฏิวัติทางการเมือง การปฏิวัติทางเศรษฐกิจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติทางศิลปะ แต่ไม่ว่าสิ่งใดจะเปลี่ยนไป โลกจะไม่มีวันดีขึ้น ตราบใดที่ตัวผู้คนเอง ยังคงเห็นแก่ตัวและขาดความเมตตา ในแง่นั้น การปฏิวัติของมนุษย์เป็นพื้นฐานที่สุดของการปฏิวัติทั้งหมด และในขณะเดียวกัน การปฏิวัติที่จำเป็นที่สุดสำหรับมนุษยชาติ






Post_0000000009_2010.jpg




 

Create Date : 13 กันยายน 2564   
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2564 15:46:23 น.   
Counter : 613 Pageviews.  

Nichiren Buddism









ผมเป็นคนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรมในนิกายมหายาน คือ นิกายนิชิเร็นโชชิวในด้านกิจกรรมก็มีการเรียนธรรมะการเผยแผ่ธรรม(ฆราวาส)ก็มีการทำวัตรเช้า- วัตรเย็นเหมือนเถรวาทและการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างใรการสวดมนต์เพื่อให้ชีวิตเราสอดคล้องกับสกลจักรวาล คือ จังหวะชีวิตเราสอดคลองกลับสกลจักรวาลเทพธรรมบาลคุ้มครองเราอธิษฐานสิ่งใด้ก็จะสมปรารถณาแต่ไม่ใช่การงมงายขอให้ถูก[หวย]อันนี้

ไม่ถูกต้องการอธิษฐานก็ คือ อธิษฐานแล้วลงมือกระทำด้วยตนเองยกตัวอย่างเช่นบ้านของเราอยู่มานานแล้วมันเก่าชำรุดทรุดโทรมแต่เรายังไม่พร้อมคือปัจจัยในการซ่อมแซมบ้านยังไม่พอเราก็อธิษฐานขอต่อ โงะฮนซน ว่าให้ข้าพเจ้า(...)ได้มีโอกาสซ่อมแซมบ้านแล้วเราก็ทำการงานอาชีพไปตามปกติจนกระทั่งถึงจุด ๆ หนึงผลบุญที่เราทำวัตรเช้าเย็นก็จะอำนวยผลหนุนนำให้เราสามารถซ่อมแซมบ้านได้ไม่ใช่อธิษฐานแล้วนั่งเฉย ๆ โดยไม่ทำงาน
ไว้จะมาเล่ารายละเอียดอีกครั้ง

ความสามัคคีแห่งต่างกายใจเดียวใน พุทธธรรม หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มที่รวมกันอย่างกลมเกลียวบนพื้นฐานของธรรมะ.....SGI

ไม่ว่าในยามไหนชีวิตก็มีค่ารักษา
ชีวิตไว้ในยามที่โรคระบาดคุกคาม
บ้านเมืองระส่ำระสายประชาชนไร้
ที่พึ่งเราต้องช่วยตัวเองใช้ชีวิตให้
คุ้มค่าสมกับที่ได้เกิดมา

It Begin Never Ending

ขอให้ปลูกเมล็ดแห่งมิตรภาพและสันติภาพหล่อเลี้ยงผืนดินแห่งจิตใจของประชาชนเพื่ออนาคตอีก 50 ปี 100 ปี นับจากนี้...SGI


เรื่องเล็ก ๆ นั้นมีความสำคัญ

ขอให้ตั้งเป้าหมายพิเศษเพื่อฤดูร้อนนี้(สงกรานต์)

และทำอย่างดีที่สุดเพื่อไปสู่ชัยชนะในแต่ละวัน

จงสวดมนต์เช้าเย็นและสวด ไดโมขุ คือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว อย่างก้องกังวาน

และรักษาจังหวะที่ดีในชีวิตประจำวันด้วยการใช้"ปัญญา"ของเรา

นี่คือวิธีที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ขอให้ท้าทายกับตนเองเพื่อ พัฒนามิตรภาพ กับคนจำนวนมาก

ซึ่งทำให้เรามีฤดูร้อนที่ยิ่งใหญ่แห่ง(การปฏิวัติมนุษย์)
 
ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้ดูกายดูใจ ดูจิต ตามดูตามรู้Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren BuddhismNichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism Nichiren Buddhism




 

Create Date : 12 กันยายน 2564   
Last Update : 12 กันยายน 2564 20:08:37 น.   
Counter : 592 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

suchu
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เงียบ ๆ และชอบสันโดษ ไม่พูดมาก ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่ชอบคุย



https://leemupai.tumblr.com/post/167978216820/in-bangkok-1900


IMG0813 L

[Add suchu's blog to your web]