ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของคนต้นไม้ที่ชอบเที่ยวจ้ะ!!!
Group Blog
 
All Blogs
 
การปลูกเลี้ยงและดูแลโฮย่า : ธาตุอาหารและปุ๋ย

ธาตุอาหารและปุ๋ยสำหรับโฮย่า

การปลูกเลี้ยงต้นไม้ทุกชนิดจะได้งดงามสมบูรณ์ก็ต้องมีปุ๋ยมีอาหารบำรุงกันสักหน่อย มิฉะนั้นก็จะโตแบบแกนๆ ไม่มีดอกมีผล (ใครจะกินผลโฮย่า?) ให้เชยชม

ธาตุอาหารพืชสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักดังนี้ (โอ้ ไม่อยากเลคเชอร์เลย เดี๋ยวหลับกันหมด)

1. ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุที่จำเป็นและพืชต้องการในปริมาณมาก รู้จักกันโดยทั่วไปว่า N-P-K แปลว่า ไนโตรเจน - ฟอสฟอรัส - โปตัสเซียม ที่ทำหน้าที่บำรุงใบ - บำรุงและสร้างดอก - บำรุงผลและเพิ่มความหวาน ตามลำดับ ธาตุเหล่านี้มีในปุ๋ยครอบจักรวาลจำพวก 15-15-15 ที่ใช้กันกว้างขวางนั่นแหละค่ะ

2. ธาตุอาหารรอง พืชต้องการในปริมาณมากพอสมควรแต่น้อยกว่ากลุ่มแรก ได้แก่ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน

3. ธาตุอาหารปลีกย่อยหรือจุลธาตุ กลุ่มนี้พืชต้องการปริมาณน้อยมากๆ น้อยกว่ากลุ่มแรกเป็นพันเป็นหมื่นเท่า แต่ถึงต้องการน้อยแต่ก็จำเป็น เมื่อขาดธาตุกลุ่มนี้ต้นไม้ก็แสดงอาหารผิดปกติได้
อ่านรายละเอียดต่อได้ในนี้ค่ะ อ้างอิงสารานุกรมเยาวชน


Photobucket



ชนิดของปุ๋ยที่ใส่ให้แก่โฮย่า

1. ปุ๋ยอินทรีย์ อิฉันไม่ค่อยแนะนำปุ๋ยกลุ่มนี้ เพราะมักทำให้เครื่องปลูกเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติมาก มีแนวโน้มทำให้รากเน่าได้ง่ายด้วย ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (ปุ๋ยอีเอ็ม) ปุ๋ยปลาน้ำ ที่ทำให้เครื่องปลูกเสื่อมเพราะในปุ๋ยมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุ เครื่อปงลูกเราก็อินทรียวัตถุล้วนๆ จุลินทรีย์เลยกินซะหมดเกลี้ยง ส่วนปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) ไม่นิยมใส่ หรือใครใช้แล้วได้ผลช่วยบอกด้วยค่ะ สำหรับปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ ที่อาจะนำมาใช้ได้แก่ ปุ๋ยปลาอัดเม็ด (แห้ง) ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยฉี่ไส้เดือนปัจจุบันก็มีจำหน่ายน้ำมาใช้ฉีดพ่นใบได้

Photobucket

(ภาพบน) - ปุ๋ยมูลค้างคาวและปุ๋ยปลาอัดเม็ด


2. ปุ๋ยเคมี

2.1 ปุ๋ยละลายช้า (ออสโมโค้ท) นิยมใช้กันแพร่หลายเพราะไม่มีอันตรายต่อพืช เนื่องจากเคลือบสารโพลิเมอร์ไว้ ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอหารออกมาทีละน้อย ทำให้ไม่ต้องใส่บ่อยและไม่สูญเสียจากการไหลไปกับน้ำที่รด ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูงกว่าปุ๋ยเคมีธรรมดา มีทั้งสูตร 15-15-15 (หรือ14-14-14 หรือ 16-16-16 เรียกว่า "สูตรเสมอ" คือมีธาตุอาหารหลัก N-P-K ครบ) ยังมีอีกสูตรหนึ่งที่เพิ่มแมกนีเซียมด้วย เป็นสูตร 13-26-7+1.5% แมกนีเซียม (มีฟอสฟอรัสสูงสำหรับเร่งดอก) ความถี่ในการใส่ปุ๋ยละลายช้าอาจมีทั้งทุก 3 เดือนและทุก 6 เดือนแล้วแต่จะเลือกใช้

Photobucket
ภาพบน - ปุ๋ยละลายช้าสูตร 14-14-14


...ใส่ปุ๋ยปริมาณมากน้อยเท่าไรต่อต้น....อันนี้เป็น FAQ ถูกถามบ่อยๆ ใส่แยะก็ได้อาหารแยะค่ะ แต่มันแพงสิ (กก. ละเกือบ 200 หรือ 200 กว่าแล้ว) อิฉันใช้หลักใส่ครั้งละ 1 ช้อนชาต่อกระถาง 4 นิ้ว...ก็พอค่ะ

เทคนิควิธีในการใส่ปุ๋ยละลายช้า

ถ้าใส่แบบไม่มีเทคนิคก็คือตักปุ๋ยวางไว้บนผิวเครื่องปลูก เวลารดน้ำแรงๆ ก็จะเป่าเม็ดปุ๋ยหลุดหายไปได้ง่าย ต้องมีเทคนิควิธีนิดหน่อย พอจะแบ่งปันได้ดังนี้ค่ะ บางวิธีที่อิฉันปฏิบัติเอง บางวิธีเพื่อนที่ PlantLovers ปฏิบัติขอนำมาแบ่งปันไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

1. วิธีของแม่ค้าแนะนำมา เธอบอกให้ผ่าเครื่องปลูก (ไม่เจาะนะคะ เลือกหาชิ้นมะพร้าวใหญ่ๆ หน่อย ผ่า แล้วยัดเม็ดปุ๋ยลงไป ถ้าเจาะมันร่วงลงทางก้นกระถางได้)
เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุดแต่อาจจะใส่ปุ๋ยได้ปริมาณน้อยหน่อย ตามภาพข้างล่าง

Photobucket


2. ใส่ตะกร้าปุ๋ย อันนี้ต้องลงทุนซื้อตะกร้าปุ๋ยมา ตกใบละราวๆ 1 บาท (ขายทีละ 10 ใบขึ้น) ข้อดีคือสะดวก ข้อเสียคือต้องไปซื้อมาและปุ๋ยเม็ดเล็กๆ จะหลุดร่วงหายไปง่าย ตามภาพข้างล่าง มีทั้งแบบใบใหญ่ (เท่ากระเช้านิ้วใส่กล้วยไม้) และใบเล็กจิ๋วเท่านิ้วชี้ (ภาพจากคุณดอกปีป) ดังภาพข้างล่าง

Photobucket

Photobucket



3. ห่อด้วยเศษผ้าดิบหรือตาข่ายไนล่อน วิธีนี้ได้ไอเดียจากคุณฉกาจ (เย็บตะเข็บสวยกว่าอิฉันอีกเนี่ย) และเจ้นก ตามภาพข้างล่าง เครดิตในภาพค่ะ

Photobucket

Photobucket

Photobucket


4. ห่อกระดาษ ใช้กระดาษเนื้อหยาบเช่นหนังสือพิมพ์หรือกระดาษฟาง ห่อปุ๋ยแล้วซุกๆ ไว้ในหลืบเครื่องปลูก วิธีนี้ง่ายดายมากแต่มองดูไม่ค่อยสวยงามเท่าไร ตามภาพข้างล่าง ไอเดียอิฉันเองค่ะ เพราะความชุ่ยไม่อยากนั่งเย็บ !!! อิ๊ๆๆๆๆ

Photobucket




Photobucket


2.2 ปุ๋ยเคมีธรรมดา

เป็นปุ๋ยเม็ดสำหรับบำรุงไม้ดอก มีแบ่งขายย่อยทีละ 1 กก. ตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป เม็ดสีฟ้าหรือสารพัดสี (ฟ้า ขาว น้ำตาล ชมพู ปะปนกัน) ใช้สูตรตัวกลางสูง (ฟอสฟอรัสสูง) เช่น สูตร 8-24-24, สูตร 18-46-0 เป็นต้น ให้ใส่ทีละน้อย(5-10 เม็ด) และอย่าให้สัมผัสรากและโคนต้นโดยตรง มิฉะนั้นปุ๋ยจะกัดเนื้อเยื่อรากและโคนต้นอาจถึงตายได้ ความถี่ในการใส่แล้วแต่วิจารณญาณ 10-15 วันครั้ง แต่อย่าถี่มาก เมื่อออกดอกแล้วก็ปล่อยให้พักตัวบ้าง


2.3 ปุ๋ยสำหรับฉีดพ่นทางใบ (ปุ๋ยกล้วยไม้)

มีให้เลือกหลายสูตร ทั้งสูตรเสมอและสูตรตัวกลางสูง เลือกใช้ตามความเหมาะสมของอายุโฮย่า อย่าฉีดพ่นเวลามีแดดจัด เลือกฉีดพ่นเวลาเช้า (ก่อน 10 โมง) หรือเย็น (หลังบ่าย 3) ควรผสมสารจับใบลงไปด้วย (1-2 หยดต่อลิตร) เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลือบผิวใบให้ปุ๋ยอยู่บนใบได้นานขึ้น

Photobucket

ภาพบน - ปุ๋ยกล้วยไม้สำหรับฉีดพ่นทางใบ ฉลากหอยแทะหน่อยไม่ว่ากันนะคะ แสดงว่าผ่านศึกสงครามมาแยะ ประสบการณ์สูง แบบเดียวกับเจ้าของบล็อกเลยค่ะ




Photobucket









Create Date : 03 มิถุนายน 2554
Last Update : 5 มิถุนายน 2554 9:18:34 น. 3 comments
Counter : 7152 Pageviews.

 
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยครับ
หวังว่าจะมีรายละเอียดในเรื่องอื่นๆอีกนะครับ



โดย: nulaw.m วันที่: 4 มิถุนายน 2554 เวลา:8:54:32 น.  

 
ขอบคุณค่ะคุณ nulaw.m


โดย: ศูนย์สองหก วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:9:16:35 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค๊าบบบ ตาสว่างขึ้นเยอะทีนี้ ^^


โดย: tontaan IP: 124.121.102.138 วันที่: 7 กรกฎาคม 2554 เวลา:10:41:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่แป้น 026
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




"แม่แป้น" เป็นนิคเนมล่าสุดที่เพื่อนชาวเน็ทตั้งให้อันเป็นภาคย่อของ "พังแป้น" ชื่อตัวละครที่เป็นช้างของชัยพฤกษ์การ์ตูน (ถ้าจำไม่ผิด) สงสัยเพราะเขาได้แรงบันดาลใจจากรูปร่างสะโอดสะองของแม่แป้นเป็นแน่
ชื่ออื่นๆ ของแม่แป้นอาจจะพบได้ในที่อื่นคือป้าบี (be_bee_th หรือ pa_bee หาตัวได้ที่ yahoo.com) เพื่อนตัวเป็นๆ เรียก "อ." ...ที่บ้านเรียก "น." เพื่อนที่พันทิปเรียกจู๋น, จู๋นๆ, จานจู๋น (มาจากชื่อ ๐๒๖ น่ะเองค่ะ) บางทียกหูโทรศัพท์ขึ้นมาก็งงตัวเองว่า ควรจะรายงานตัวว่าใครกำลังพูด !!!

Friends' blogs
[Add แม่แป้น 026's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.