ธันวาคม 2560

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
โปรตีนเกษตร...คุณค่าดี ๆ ที่ต้องแนะนำ 🙌 (โดย หยกตะวัน เจล)



โปรตีนเกษตร...คุณค่าดีๆ ที่ต้องแนะนำ 🙌


โปรตีนเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองมั่นใจว่าผู้บริโภคชาวไทยเกือบทุกเพศทุกวัยรู้จักและนิยมนำมาปรุงอาหารรับประทานในเมนูอาหารเจผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยโปรตีนอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งจะให้ดีเรามารู้ให้ลึกรู้ให้จริงในรายละเอียดของผลิตภัณ์เพิ่มขึ้นกันดีกว่า.....

โปรตีนเกษตร หรือ เนื้อเทียม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าTextured vegetable soy protein ที่เรียกย่อ ๆ ว่า Textured vegetable protein (TVP) ซึ่งปกติคำนี้เป็นที่ใช้เรียกผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมและโดยทั่วไปแบ่งเป็น4 ลักษณะคือ 1) Spun protein isolate ผลิตโดยการตกตะกอนโปรตีนแล้วปั่นแยกออกมาจัดเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและใช้ต้นทุนในการผลิตสูง 2) Formed meat analog ผลิตโดยนำโปรตีนจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ gluten, albumin และ extrusion cookedvegetable protein เป็นต้น 3) Extrusion cooked meat extender ผลิตโดยนำแป้งไปผ่านกระบวนการเอ็กซ์ทรูชันโดยจะมักจะปรับความชื้นให้อยู่ที่ประมาณ 60 – 65% แล้วนำไปผสมกับเนื้อหรืออิมัลชันของเนื้อ 4) Extrusion cooked meat analog ผลิตด้วยเครื่อง Extruder(เครื่องจักรที่ให้ความร้อนและความดันสูง) และผ่าน Extrusiondie ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือสามารถทำให้โปรตีนในแป้งเกิดการจัดเรียงตัวกันจนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะปรากฎ (appearance) และเนื้อสัมผัส(texture) คล้ายเนื้อสัตว์

         สำหรับโปรตีนเกษตรในประเทศไทยนั้นมีการผลิตขึ้นครั้งแรกโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อเทียมที่ผลิตด้วยโปรตีนจากพืชซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Extrusion cooked meat analog โดยทางสถาบันฯ ได้ศึกษาค้นคว้าทดลองผลิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งได้สูตรและกระบวนการผลิตที่เหมาะสมในปีพ.ศ. 2523 ซึ่งโปรตีนเกษตรนี้ผลิตจากแป้งถั่วเหลืองสกัดไขมัน(Defatted soy flour) ผสมกับดีแอลเมทไทโอนินร้อยละ 1.0(เมทไทโอนินจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid) คือ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จึงจำเป็นต้องได้รับจากการบริโภคอาหารอื่น ๆ เช่น เนื้อสัตว์ ซึ่งปกติเมทไทโอนิแทบจะไม่พบเลยในแป้งถั่วเหลือง(โปรตีนเกษตรจะมีกรดอะมิโนดังนี้คือ ลูซีน ไลซีน ฟีนิลอะลานิน วาลีน ทรีโอนิน ไอโซ-ลูซีน ไทโรซีน ทริปโตเฟน และซิสตีน) โดยการผลิตโปรตีนเกษตรนั้นมีวัตถุดิบหลักคือ แป้งถั่วเหลืองสกัดไขมัน(Defatted soy flour) โดยเริ่มต้นแป้งจะถูกปรับความชึ้นให้อยู่ที่ประมาณร้อยละ12 ก่อนนำไปอัดเข้าเครื่อง Extruder แล้วอบแห้งเพื่อลดความชื้นและบรรจุในบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์โปรตีนเกษตรที่ได้เมื่อคืนรูปด้วยการแช่น้ำจะมีลักษณะคล้ายกับเนื้อไก่และพร้อมสำหรับการนำไปปรุงหรือใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้

 

 


แหล่งที่มา: www.ifrpd.ku.ac.th

การนำโปรตีนเกษตรไปประกอบอาหารนั้นสามารถทำให้หลายหลายเมนูตามชอบ(อาจนำไปผสมกับเนื้อสัตว์ทำอาหารทั่วไปได้สำหรับคนที่ไม่ได้ทานเจ) ได้แก่ โปรตีนเกษตรทอดกรอบเจผัดกระเพราะเจโปรตีนเกษตร ราดหน้าเจ หมี่ผัดเจ แกงจืด แกงเขียวหวาน และ ต้มยำ เป็นต้นโดยการนำโปรตีนเกษตรไปประกอบอาหารนั้นโดยทั่วไปแนะนำให้แช่น้ำก่อนนำไปประกอบอาหาร (อาจแช่น้ำผสมเครื่องปรุง(marinade) เช่น ผงกระเทียมพริกไทย เป็นต้น เพื่อลดกลิ่นของถั่วเหลือง)

*นอกจากนี้การเลือกโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารนั้นแนะนำให้เลือกซื้อโปรตีนเกษตรที่ผลิตจากแป้งถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (Non - GMO Gernertically Modified Organism) เพราะถั่วเหลืองมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม ดังนั้นเราในฐานะผู้บริโภคควรอ่านฉลากบนบรรจุภัณฑ์ของแต่ละยี่ห้อให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ต่อสุขภาพของท่านและครอบครัว

ตัวอย่างเมนู โปรตีนเกษตรผัดพริกแกงเจ

โปรตีนเกษตรแห้ง (แบบสี่เหลี่ยมเล็ก)

เห็ดฟาง หรือ เห็ดนางฟ้า

เครื่องแกงเผ็ดเจ

ซีอิ๊วขาว

พริกชี้ฟ้า (หั่นซอย)

ใบมะกรูด (หั่นซอย)

ใบโหระพา


- นำโปรตีนเกษตรไปทอดในน้ำมันเดือดไฟปานกลาง (แนะนำน้ำมันสำหรับทอดเป็นน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันถั่วเหลือง หรือก่อนทอดอาจแช่น้ำที่ผสมเครื่องปรุง(marinade) เช่น ผงกระเทียมพริกไทย เป็นต้น เพื่อลดกลิ่นของถั่วเหลือง แต่ต้องสะเด็ดน้ำให้ดีก่อนนำไปทอด) ให้ทอดจนเหลืองกรอบพอดีแล้วตั้งขึ้นพักไว้


- จากนั้นตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อนตามด้วยใส่เครื่องแกง และซีอิ๊วขาว แล้วผัดให้เข้ากัน


- เติมโปรตีนเกษตรที่พักไว้และเห็ดแล้วผัดให้ทั่วจากนั้นใส่ใบมะกรูดและพริกชี้ฟ้าแล้วผัดต่อจนเข้าที่ และตักใส่จานเสร็จเรียบร้อย



แหล่งที่มา: -


           รูปแบบของโปรตีนเกษตรในปัจจุบันได้พัฒนาให้หลากหลายยิ่งขึ้นจากเดิมที่มีรูปร่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า(chunk) เล็กและใหญ่ โดยเพิ่มขึ้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดโตพอเหมาะกับบางอาหารบางอย่างหรือชิ้นกลมรีคล้ายรูปไข่ หรือเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ เป็นต้น และนอกจากรูปร่างแล้วโปรตีนเกษตรยังมีการพัฒนาด้านเช่น เนื้อสัมผัส (texture) ที่แปลกใหม่ และปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการเพื่อให้เหมาะสมกับเมนูอาหารใหม่ ๆ และตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค


ข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มเติม สนใจตามลิงค์นี้ค่ะ

https://web.facebook.com/199Foods/


 






Create Date : 01 ธันวาคม 2560
Last Update : 22 ธันวาคม 2560 22:12:50 น.
Counter : 1982 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จอมใจจอมมโน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เกิดมาแล้วทำชีวิตให้มีค่า
ลองเปิดตา 👀 หาความหมายในกายตน
และตั้งใจสร้างประโยชน์เพื่อมวลชน
อย่าได้จนไร้ความดีเมื่อจากลา
มุ่งดำเนินเดินก้าวย่างด้วยสติ
สมาธิประกอบกันเข้าเถิดหนา
ดำรงตนไม่ประมาทในเวลา ⏱
นำชีวา พาสู่ธรรม กระทำดี

จากใจ...
.....หยกตะวัน เจล 😎


https://web.facebook.com/yoktawan.gel



*งานเขียนใน blog นี้สำหรับอ่านค่ะ 😀😃 ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามนำไปพิมพ์ เผยแพร่ คัดลอก หรือกระทำการใด ๆ ทุกกรณี โดยไม่ได้รับอนุญาต