<<
พฤษภาคม 2548
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
6 พฤษภาคม 2548

ฮิตเล่อร์...และเหล่าขุนพลแห่งอาณาจักร์ที่ไรค์ซที่สาม ตอนสิบสาม



ฮิตเล่อร์ก็ทำการอบรมหน่วย SS ในชุดดำของเขาให้ตระหนักว่า พวกเขาเป็นทหารที่ต้องรับใช้ตามความประสงค์ของพระเจ้าเช่นกัน ในการที่จะต้องขจัดมารร้ายให้พ้นออกไป.
เหล่า SS มีการกระทำพิธีสาบานตนต่อพระเจ้าและฮิตเล่อร์..(มีการลงรายละเอียดในข่าวของหนังสือพิมพ์แห่งพรรคนาซี)
ถ้าใครไม่เข้าพิธีก็จะถือว่า มีบาป บาปติดตัวไปจนตลอดชีวิต เพราะ "นาซี" ถือได้เสมอกับศาสนาประจำตัวเฉกเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์
และ "เลือด"เท่านั้น เป็นสิ่งเดียวที่จะใช้ในพิธีแห่งการล้างบาป

เขาได้ใช้วันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อที่จะกระทำการประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์กับกลุ่ม SS ทั้งหมด ต่อหน้าผืนธงที่เปื้อนเลือด
ที่นำมาจากวันกบฏโรงเบียร์ (9 พ.ย. 1923) ซึ่งเขาคือประธานในพิธี และเป็นคนเดียวเท่านั้นที่จะจับต้องธงผืนนี้ได้
วันนี้ถือว่าเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งของพรรคนาซี.
อีกทั้งเขาได้เปลี่ยนวันสำคัญทางศาสนา(สำหรับนาซี) คือวันที่ 30 มกราคม (คือวันที่เขาก้าวขึ้นมาครองเมือง 30 มกราคม 1933 )
และวันเกิดของเขาคือ 20 เมษายนนั้น คือวันแห่งการก่อตั้งเยาวชนฮิตเล่อร์ ซึ่งก็ถือว่าสำคัญอีกวันหนึ่ง
เขาได้ให้ทุกครัวเรือนทั้งประเทศอ่านหนังสือ Mein Kampf แทนการอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ล



ฮิตเล่อร์ได้พยายามบอกกับเหล่าขุนพลให้เตรียมตัวในช่วงของฤดูฝน 1940-41
ว่า เขาจะเปิดศึกทางด้านตะวันออกแน่นอนถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเห็นด้วยกับศึกสองด้านก็เถอะ แต่เขาได้สั่งการไปยัง
นายพล เบราชิตช์ ให้เพิ่มกำลังพลในหน่วยขึ้นมาอีกเท่าตัว เขาบอกว่า ทหารบกว่างงานมานานแล้ว กองทัพก็สร้างอาวุธขึ้นมาพะเนินเทินทึก
แล้วจะรอให้มันขึ้นสนิมรึไง?
(เพราะแผนที่ว่าจะบุกขึ้นบกไปขยี้อังกฤษก็แห้วไปแล้ว..ฉะนั้น ต้องหางานให้ทำซะให้คุ้ม)
เผอิญว่าสถานะการณ์ในโรมาเนียที่ไม่สงบ เนื่องจากการรุกรานของรัสเซียที่ต้องการเข้าไปครองแหล่งน้ำมัน
เยอรมันจึงรีบยื่นมือ ส่งทหารไปทั้งกองทัพเพื่อเข้าไปให้ความคุ้มครองให้ความคุ้มกันในวันที่ 8 ตุลาคม 1940
ต่อมา ฮิตเล่อร์ ได้ล่วงรู้ว่าสหายรักมุสโสลินี กำลังเตรียมวางแผนจะบุกประเทศกรีซ เขาถึงกับส่ายหน้า เพราะ
เขารู้ดีว่า กรีซนั้นไม่หมู เนื่องจากภูมิประเทศรวมไปถึงดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนจากเลวไปจนถึงเลวที่สุดได้ทุกเมื่อ
แถมที่สำคัญคือ ทหารอิตาเลี่ยนภายใต้การบังคับบัญชาของมุสโสลินี นั้น ยังจัดว่า ฝีมือไม่ถึง..
และในที่สุด ก็อย่างที่เล่ามาแล้ว นั่นก็คือ กองทัพของอิตาเลี่ยนต้องวิ่งโร่มาขอความช่วยเหลือจากเยอรมันจนได้
มาถึงตอนนี้ .. โรมาเนีย ฮังการี ได้เข้ามาร่วมกับฝ่ายอักษะ ที่มีแกนนำอันประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น..

(อ้ะ..พูดถึงญี่ปุ่น มาเข้าร่วมตอนไหนนั้น ต้องรอให้เมธาวดี**มาเล่าตอนที่ นายพลซูคอฟ ไล่ขยี้ญี่ปุ่นที่แมนจูเรีย..แล้วจึงจะเข้าใจ)

และก็จริงๆอย่างที่ฮิตเล่อร์ได้คาดการณ์ นั่นคือ อิตาลี โดนกองทัพกรีกไล่ล่าเสียจนหมดรูป เพียงไม่กี่วัน กองทัพกรีกสามารถ
กวาดต้อนเชลยศึกอิตาเลียนไปได้ร่วมสามหมื่นคน จากการรบที่ Port Edda
จนถึงในเดือนธันวาคม อัลบาเนียเกือบทั้งหมดก็ตกอยู่ในอุ้งมือของกรีก มุสโสลินี อยู่ในภาวะที่คับขันยิ่ง..กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
เพราะกร่างเอาไว้เยอะ..โชคดีที่เข้าสู่ฤดูหนาวที่ต่างฝ่ายต่างก็หยุดพักรบ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ฮิตเล่อร์กำลังจะช่วยรักษาหน้าของฝ่ายอักษะ
โดยการล้มช้าง นั่นคือ บุกเข้าตีรัสเซียอย่างจู่โจม แผนได้กำหนดวางไว้คือ เดือน พฤษภาคม 1941

**คุณเมธาวดี คือผู้ร่วมกระทู้ที่มีส่วนช่วยดิฉันได้มากในเรื่องการทุ่นแรงในการเขียน เพราะเธอมีข้อมูลเยอะในมือ และมีลูกอึด และ ลูกบ้าคล้ายๆกับดิฉัน...ขอปรบมือให้คุณเมธาวดี ณ.ที่นี้..รออ่านได้ในกระทู้นี้ละค่ะ

ฮิตเล่อร์ได้ประชุมนายทหารอีกครั้งด้วยข่าวกรองมาว่า รัสเซียได้ทำเร่งผลิตอาวุธเป็นการใหญ่ เชื่อว่า คงหมายจะบุกเยอรมันเป็นแน่แท้
อีกทั้ง เขาหวั่นใจว่า สหรัฐอเมริกาต้องลงมาร่วมกับอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันในไม่ช้าเช่นกัน เพราะทำลับๆล่อๆอยู่นานแล้ว
ถ้า..เขาสามารถบุกตีรัสเซีย ในข้อหาที่ใครต่อใครต้องหลงรัก นั่นคือ ต้องการถอนรากถอนโคนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้สิ้นไปจากโลก
(นั่นคือสิ่งที่ทุกคนต้องการไม่ใช่หรือ?) นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น..นั่นก็คือ เขาต้องการขยายอาณาเขตดินแดนไปสู่แหล่งทรัพยากร
ธรรมชาติที่สมบูรณ์ อย่าง คอเคซัส ที่เต็มไปด้วยน้ำมันดิบ แร่ธาตุอื่นๆ อีกทั้ง..การล้มล้างเผ่าพันธ์ยิวให้สิ้นซาก..
เรียกว่า กระสุนนัดเดียวได้นกมาเป็นฝูง..
และการที่กระทำสิ่งที่กล่าวมาได้นั้น นั่นหมายถึง กองทัพเยอรมัน ต้องเข้มแข็ง ดุร้าย ไม่ไว้ชีวิตศัตรูคนใด
ไม่มีศาลทหาร ไม่มีค่ายกักกันเชลยศึก ไม่มีการลำเลียงเชลยไปไว้ในที่ใดๆ..
เหล่าขุนพลถึงกับตกตะลึงอ้าปากหวอ..อ้าว..แล้วจะให้ทำอย่างไรเล่า?
ฮิตเล่อร์ตอบด้วยเสียงเยียบเย็นว่า..นั่นมันก็เรื่องของท่าน !!
เขาพูดต่อไปว่า.."ผมไม่ต้องการให้ท่านมาเข้าใจในตัวผม..เพียงแต่ขอให้ปฏิบัติตามที่ผมสั่งเท่านั้นเป็นพอ"
และฮิตเล่อร์รู้ดีว่า..ทหารในสายเลือดอัศวินเต็มตัวอย่างพวกขุนพลของเขา คงจะทำใจยากในเรื่องของการเชือดเชลย(อันไม่ใช่ธรรมเนียม)
เขาจึงได้สั่งการขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง โดยการแต่งตั้ง นาย Heinrich Himmler ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสงครามฝ่ายตะวันออก
นั่นเท่ากับว่า นายฮิมม์เล่อร์ได้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดกว่านายพลคนใด
ไกเทล..คัดค้านแบบหัวชนฝา..
แต่ฮิตเล่อร์ได้บอกว่า..ถ้าจะปราบ"ยิว" ต้องใช้ฝีมือของฮิมม์เล่อร์เท่านั้น หรือพวกท่านจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า หา..หา..???
ซึ่งทุกคนต่างพากันเงียบกริบ...!!

Heinrich Himmler


ในเดือนมีนาคม 1941 กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ ชายแดนของฮังการี, โรมาเนีย ภายใต้การนำของนายพล List
ซึ่งเขาได้เตรียมแผนการเดินทัพข้ามฝั่งของแม่น้ำดานูปไปยังบุลเกเรีย

ในยามนั้น เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวียได้เซ็นสัญญาเข้าร่วมพันธทิตรกับฝ่ายอักษะเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 25 มีนาคม
แต่สัญญาฉบับนั้นมีอายุยืนแค่วันเดียวเพราะ เกิดการกบฏขึ้นภายใน เจ้าชายพอลถูกดึงลงมาจากบัลลังค์
เจ้าชายปีเตอร์ขึ้นมานั่งแทน
และไม่สนใจในเรื่องสัญญิงสัญญาอะไรทั้งนั้น..ประกาศ ว่า ยูโกสลาเวียจะเป็นกลาง..ไม่ขึ้นกับผู้ใด

ฮิตเล่อร์ได้ยินก็เต้นผางอีกตามเคย เรียกนายพลไกเทล และ โจดล์ มาด่วน ประกาศว่า ยกทัพออกไปสยบมันเดี๋ยวนี้ บังอาจจจจจ !!!
โดยให้ ทัพใหม่ที่จะไปนี่...ตีเข้าทางด้านเหนือ และ ไปประสานกับทัพทางด้านใต้ของนายพล ลิสต์ ที่คอยอยู่ที่บุลเกเรีย..
ไกเทลก็ย้อนให้ว่า..จะบ้าเรอะ..นี่ตูกำลังจะยกทัพไปตีรัสเซียนะว้อย ไม่มีเวลาที่จะสยบอะไรให้ใครทั้งนั้น
ฮิตเล่อร์ก็สะบัดหน้าพรืดดด..บอกว่า..
"ไม่รุละ ยังไงก็ต้องไป เพราะ ทัพของนายพล ลิสต์นั่นคงไม่แข็งพอที่จะต้านได้..!!"
นั่นหมายความว่า..ยังไงๆ นายพลไกเทลก็ต้องยกทัพไป ตามคำบัญชา ส่วนฮิตเล่อร์ได้จัดขบวนรถไฟด่วนพิเศษไปตั้งอยู่ในแนวชายแดนใกล้ๆ เพื่อทำบัญชาการรบ
12 วันเท่านั้น ที่ ยูโกสลาเวียได้สยบลงได้อย่างราบคาบ.. ฮิตเล่อร์ได้ถือเป็นโอกาสส่งกองทัพเข้าไปช่วยสหายรักมุสโสลินีที่กรีซเป็นอันดับต่อไป
โดยส่งนายพล Jodl เข้าไปเป็นผู้บัญชาการรบ..เพื่อที่จะผลักดันอังกฤษให้ออกไปให้พ้นๆ(ที่เข้ามาเพราะตีมุสโสลินีแตกไปตั้งแต่ต้นเดือนมีนา)

วันที่ 23 เมษายน อังกฤษก็พ่ายทัพให้แก่เยอรมันที่ Thermopylae สูญเสียทหารหมื่นสองพันคน อีกทั้งต้องถอยหนีโดยการที่ต้องทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เยอรมันไว้ดูต่างหน้า
แบบเดียวกับการพ่ายทัพที่ดังเคิร์คเปี๊ยบเชียว !!



เดี๋ยวจะงง..ถ้าไม่เล่าเรื่องของการบุกกรีซ
เรื่องของเรื่องคือว่า อิตาลี ภายใต้การนำของมุสโสลินีที่ต้องการแสดงแสนยานุภาพ
กะเขามั่ง เห็นว่า จะปล่อยให้ฮิตเล่อร์ดังคนเดียวก็จะกระไรอยู่ เมียงๆมองๆ ก็เห็นประเทศเพื่อนบ้านข้ามฝั่งทะเลทำตัวเป็นกลาง
ก็เลย นึกครึ้มขึ้นมา รีบพาตัวเองเข้าไปจัดการซะก่อน ที่ฮิตเล่อร์จะเข้าไปเพราะยังไงๆเสีย ฮิตเล่อร์ก็ต้องมาเอาแน่ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
เพราะผลประโยชน์เพียบบบ..เขาจึงจัดการขู่ฟ่อๆไปยังประธานาธิบดี Metaxas ว่า..จงรีบมาเป็นเมืองขึ้นซะดีๆ
ไม่งั้น..มีเรื่อง !!

ทั่นประธานาธิบดี Metaxas ท่านก็ว่า..ฝันไปเหอะ..ชาติหน้าบ่ายๆแน่ะ !!
ท่าวน้านแหละ..ไม่ฟังอีร้าอีรมอะไรแล้ว..มุสโสลินียกทัพไปตีกรีซทันที ผลคือหน้าแหกอย่างที่เล่าๆมา ถูกทัพอังกฤษและกรีกยันกลับจนแทบตกทะเล..
จนต้องวิ่งโร่ไปฟ้องฮิตเล่อร์แทบไม่ทัน..

Ioannis Metaxas

ฮิตเล่อร์ก็นึกในใจว่า กรูว่าแล้ววว..ว่า..อย่าสะเออะ แต่เนื่องจากเข้าฤดูหนาว ทั้งสองฝ่ายจึงได้แต่ชะลอการสู้รบ
จนกระทั่งมาในตอนต้นปี 1941 ที่ เป็นโชคร้ายของชาวกรีก ที่ประธานาธิบดี เมทาซัส ได้เสียชีวิตลง..
ทำให้ทัพอังกฤษที่คอยช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอยู่นั้น เจอกับกระแสของการเมืองที่ไม่ได้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ในการช่วยส่งกำลังบำรุงทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน..
ฮิตเล่อร์จึงถือเป็นโอกาสเข้ามาบุกในช่วงของฤดูใบไม้ผลิ 1941
เพราะทัพของนายพล ลิสต์ ก็มาจ่อคอยอยู่ที่
บุลเกเรีย แล้ว ไหนๆก็ไหนๆ..เอาซะเลย
เพื่อที่จะได้เก็บไว้เป็นทุนทรัพย์ต่อการเข้าตีรัสเซียในกาลต่อไปด้วย
ยุทธการ Blitzkrieg นั้นใช้ได้ผลเสมอ เพียงไม่กี่วันทัพอังกฤษก็แตกพ่ายจนต้องไปตั้งตัวอยู่ที่เกาะ Crete รวมทั้งพระเจ้ายอร์จที่สอง..


เยอรมัน เข้ายึดครองกรุงเอเธนส์ และตามไล่ล่าอังกฤษไปจนเกาะ Crete ในเดือนต่อมา ซึ่งก็ต้องมีการหนีกระเจิงอีก
พระเจ้ายอร์จ ที่สอง ได้ไปตั้งรัฐบาลลี้ภัยที่ประเทศอียิปต์
พอถึงเดือนมิถุนายน..บรรดามหาโจรทั้งสาม คือ เยอรมัน อิตาลี บุลเกเรีย ต่างก็แบ่งเค้กกรีซอันอย่างสนุกสนาน
โดยแบ่งออกเป็นสามส่วน ใครใกล้ตรงไหนก็เอาไป แต่เยอรมัน ขอเข้ากวาดทรัพย์..อย่างเดี๊ยวว..
กวาดเอาทั้งเงินทอง และทรัพยากรไปหมด ประชาชนก็พบแต่ความอดอยาก มิหนำซ้ำ อังกฤษ ไปคอยตั้งป้อมปิดอ่าวอยู่ภายนอก
ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนทั้งอาหารและยารักษาโรค ประชาชน ตายราวใบไม้ร่วงนับแสนๆคน..
ในปี 1942 มีการเรียกแรงงานจากพวกยิวในเขต Salonika โดยเยอรมันได้เเต่งตั้งให้นาย Max Merten เป็นผู้ดูแลโครงการ
นาย Max ได้ใช้อำนาจหน้าที่กดขี่รีดไถ ทุกอย่างจากชาวยิวแบบเหี้ยมโหดทารุณ เขารวบรวมเงินได้ร่วม 1.9 พันล้าน ดรามัส(เงินกรีก)
ไม่นับเครื่องเพชรเครื่องทอง และทรัพย์สินอื่นๆอีกมากมาย ที่เขาขนบรรทุกขึ้นเรือ แต่ความที่ไม่เฮง..เรือลำนั้นได้เกิดจมลง
ในช่วงนี้เอง ที่มีการส่งยิวจากกรีกไปยังค่ายนรกที่ ออสวิทซ์ (หลังจากที่ปลดทรัพย์จนหมดเนื้อหมดตัวแล้ว)
ส่งไปนับแสนๆคน มีเหลือรอดมาไม่ถึงสองพันคน..
หลังจากสงคราม..ในปี 1958 นาย Max Merten กะว่าเรื่องเงียบหายไปแล้วเพราะกาลเวลา และด้วยความงก จึงย้อนกลับมาหมายใจจะกู้เรือสมบัติที่จม
แต่..ถูกหนึ่งในผู้รอดตายจากค่ายนรกนั่น..จำได้ จึงแจ้งความแก่ตำรวจ เขาถูกจับ และถูกดำเนินคดีตัดสินจำคุก 25 ปี
แต่เขาถูกจองจำไว้แค่แปดเดือน และถูกส่งตัวกลับไปยังเยอรมัน ซึ่งนายนี่ได้มาเสียชีวิตในปี 2000
หน่วยประดาน้ำกรีก ได้พยายามที่จะกู้เรือลำนั้นขึ้นมา หากแต่ว่า..ค่าใช้จ่ายอาจถึง $2.4 พันล้าน
ซึ่ง..มูลค่า "เท่ากับ" ทรัพย์สินที่จมอยู่ใต้ท้องทะเลนั่นเอง



สำหรับยูโกสลาเวีย..หลังจากที่ดื้อดึงกับเยอรมันได้ไม่นาน ก็พ่ายลงไปเช่นกัน พระเจ้าปีเตอร์ต้องเสด็จไปลี้ภัยที่อังกฤษ
แต่เนื่องจากเยอรมันอยู่ในภาวะที่รีบเร่งเพราะต้องเดินทางไปบุกรัสเซีย...ชนะแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้ตั้งรัฐบาลควบคุมดูแลอย่างเอาจริงเอาจัง

จึงเป็นสาเหตุให้เกิดขบวนการต่อต้านอย่างรุนแรง..ที่แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ หนึ่งคือ
นายพล Mihajlovic ผู้ภักดีต่อราชบัลลังค์ และ ขบวนการใฝ่คอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ ติโต้ ซึ่งมีรัสเซียคอยสนับสนุนอยู่
การศึกครั้งนี้..นับว่าประเทศชาติเป็นเดิมพัน ฉะนั้นจะมัวมาทะเลาะกันเองอยู่ใย ฉะนั้น พระเจ้าปีเตอร์ จึงทรงมีพระบัญชาให้นายพล
มิอาโลวิค ส่งกำลังทหารในบังคับบัญชาทั้งหมดเข้าร่วมกับติโต้ เพื่อต่อต้านเยอรมัน (คอมมิวนิสต์ คอมมิวหน่อย ค่อยว่ากันทีหลัง..)
และการต่อต้านเป็นไปอย่างเข้มข้น ภายใน เดือนตุลาคม 1944 เยอรมันก็ถูกขจัดออกไปจากยูโกสลาเวียจนหมดสิ้น
(เรื่องรายละเอียด กรุณาไปหาอ่านเอาจาก นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ พระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าล้นกระหม่อมฯ)

  Josip Broz Tito

(อันนี้ คุณเมธาวดีมาร่วมแจม)
v

v


เอาล่ะครับ ทางยุโรปตะวันตกเขาก็รบกันทั้งทางทะเลทางบกทางอากาศแล้ว ทางฝั่งตะวันออก ใช่ว่าจะคุกรุ่นน้อยกว่าที่ไหน หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะกันที่สะพานมาร์โคโปโลในเมืองจีนแล้ว ทางญี่ปุ่นก็ได้แผ่อำนาจเข้าไปยังประเทศจีนตอนบน จนถึงแผ่นดินแมนจูเรีย ซึ่งตรงนี้เองครับ ที่ซามูไรญี่ปุ่นสะดุดตอใหญ่เข้า ณ แผ่นดินนี้เอง เป็นเวทีเกิดของวีรบุรุษรัสเซีย ผู้ที่สร้างรอยความสงสัยเอาไว้ในประวัติศาสตร์แห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตลอดกาลว่า......หากเขาผู้นี้ไม่เกิดมาแล้วไซร้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรหรือไม่ บุคคลผู้นั้นคือ.......

จอร์จี้ คอนสแตนติโนวิช ซูคอฟ ( Zhukov สมัยหนุ่ม)
Georgi Konstantinovich Zhukov   

(ถึงตรงนี้แล้ว ขอช่วยๆกันปรบมือให้หน่อยครับ เพราะคนนี้ผมรัก เท่าๆกับเฮดินเบอร์กของเยอรมันทีเดียว)

ในเหล่ายอดขุนพลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะรู้จักทหารของฝ่ายโลกเสรี โดยเฉพาะฝ่ายอเมริกา แต่คนดังบางครั้งก็อาจจะไม่ใช่วีรบุรุษที่แท้จริงไม่ หลายๆครั้ง วีรบุรุษที่แท้จริงก็ถูกเงาของการเมืองระหว่างประเทศบดบังรัศมีความดีครับ หนึ่งในนั้นคือ ท่านนายพล ซูคอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ผู้ที่เอาหายนะไปวางไว้บนตักฮิตเลอร์นี่แหละครับ

ซูคอฟ เกิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ปี ๑๘๙๖ ซึ่งในตอนนั้นรัสเซียยังปกครองด้วยระบบพระเจ้าซาร์อยู่ เกิดมาตามแบบอุดมคติของวีรบุรุษโลกคอมมิวนิสต์ครับ คือซูคอฟเกิดมาในครอบครัวช่างทำรองเท้าอันจนแสนจนในชนบทของรัสเซีย ด้วยความจนอันสาหัสและการกดขี่ของพระเจ้าซาร์ ซูคอฟจึงต้องดิ้นรนหาทางทำมาหากินด้วยการไปเป็นเด็กฝึกงานในโรงงานขนสัตว์ในมอสโคว์ ซึ่งก็ปรากฏว่าชีวิตในช่วงนี้ของซูคอฟก็ไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่เลย คือ ก็ยังแสนสาหัสอย่างเดิมนั่นเอง

จนกระทั่ง โอกาสของซูคอฟก็เข้ามาถึงครับ นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ดึงซูคอฟเข้าร่วมสงคราม และในสงครามครั้งนี้เองที่ซูคอฟได้แสดงผลงานทางการสู้รบโดดเด่นจนเข้าตาผู้บังคับบัญชา และได้ถูกส่งตัวเข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบของรัสเซีย แต่กระนั้นจนกระทั่งสงครามจบ ซูคอฟก็ไม่เคยได้ดิบดีในกองทัพพระเจ้าซาร์เกินไปกว่าตำแหน่งสิบโทเลย

อย่างไรก็ตาม จังหวะชีวิตของซูคอฟก็เข้ามาถึง เมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียขึ้น ซูคอฟ เข้าร่วมในกองทัพแดงและได้พิสูจน์ถึงคุณค่าในตัวเองให้ผู้บังคับบัญชาได้เห็นถึงความกล้าหาญและความสามารถทางการบัญชาการรบ หลังจากนั้นชีวิตทางการทหารของซูคอฟก็รุ่งโรจน์ และเหนือกว่านั้น เสมือนโชคชะตาเลือก
ซูคอฟให้เป็นผู้ปกป้องแผ่นดินรัสเซีย ซูคอฟรอดพ้นจากการกวาดล้างของสตาลินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างน่าประหลาดใจ

ในปี ๑๙๓๗ ปีแห่งการกวาดล้างของสตาลิน นายทหารระดับชั้นประทวนมากมาย ถูกจับกุม จองจำ และประหารชีวิตถึง ๔๐,๐๐๐ คน ชีวิตของซูคอฟในช่วงนั้นนับว่าเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ตัวซูคอฟและภรรยา ต้องเตรียมกระเป๋าเดินทางไว้ในห้องนอนไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน หากมี“เสียงเคาะประตู” จากตำรวจลับของสตาลินในยามวิกาล

จนกระทั่งปี ๑๙๓๙ ชีวิตแห่งความหวาดระแวงก็สุดสิ้นลง เมื่อซูคอฟฝากผลงานให้สตาลินเห็นคุณค่าของชีวิตนายทหารผู้นี้ และ ส่งความหายนะทางทหารให้กับฮิโรฮิโต ที่ทำให้เหล่านักรบซามูไร ต้องจำชื่อ ซูคอฟ ไปนานเท่านาน ณ ที่ลุ่มแม่น้ำ คาลคินกอล ครับผม!


ตามธรรมเนียมการเล่าประวัติศาสตร์ หากไม่เล่าเรื่องย้อนหลัง ก็เหมือนลิเกไม่ไหว้ครู สมรภูมิคาลคินกอลนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายอาณาจักรของฮิโรฮิโต ในหนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มนั้น
เช่นของคึกฤทธิ์ นั้น ได้บอกว่าฮิโรฮิโตเป็นเพียงหุ่นเชิด
แต่.....ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ดิ้นได้ครับ ตามแต่ภววิสัยของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และอัตวิสัยของแต่ละท่านที่ศึกษาวิชานี้ เพราะที่คาลคินกอลนี่เอง ฮิโรฮิโตนี่แหละ ที่อนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นแห่งมณฑลกวางตุ้ง "รุกคืบอีกครั้ง" หลังจากการบุกโดยไม่ฟังคำสั่งของกองทัพกวางตุ้ง และโดนซูคอฟ สั่งสอนให้รู้จักพลานุภาพแห่งกองทัพแดง

ก่อนสมรภูมินี้เกิดขึ้น จากผลงานชัยชนะอันต่อเนื่องของกองทัพกวางตุ้ง ส่งผลให้เกิดคำถามขึ้นในสภาขุนนางทหารแห่งอาณาจักรญี่ปุ่นว่า.....จะตีเหนือ (รัสเซีย) หรือ รุกใต้ (เอเชียบูรพา) ตัวฮิโรฮิโตเองนั้น
โดยส่วนตัวแล้วเลือกที่จะรุกใต้ กระนั้น ด้วยความจองหองของผู้บัญชาการแห่งกองทัพกวางตุ้ง ก็กลับรุกคืบเหนือไปโดยไม่รอคำสั่งจากองค์จักรพรรดิ จนไปถึงที่ มองโกเลียใน และเมื่อนั้นเอง ฮิโรฮิโต ก็กลับใจ หันมาลองให้โอกาส รุกอีกครั้ง.......

Battle of Khalkhin Gol  

สมรภูมิ คาลคินกอลนี้ เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๑๙๓๙ ทหารม้าชาวมองโกเลียใน ภายใต้การบัญชาการของที่ปรึกษาทางทหารญี่ปุ่น ประมาณสองสามร้อยคน ได้ข้ามพรมแดนแบ่งเขตมองโกเลียนอก - ใน แต่ในวันเดียวนั้นเอง ทหารม้ารักษาพรมแดนท้องถิ่น ชาวมองโกเลียนอก (ในปกครองของโซเวียต) ก็สามารถตีโต้กลับไปจากพรมแดนตัวเองได้

แต่ฝ่ายรัสเซียดีใจไม่นานครับ วันต่อมาอีกวันเดียวนั้น คราวนี้ชาวมองโกเลียใน กลับมาพร้อมกับทหารม้าของกองพันทหารราบที่ ๒๓ ของกองทัพกวางตุ้งจำนวน ๓๐๐ คน ไม่กี่ชั่วโมง ด้วยอาวุธของกำลังเสริมญี่ปุ่นที่ทันสมัยกว่า ก็ได้ตีรุกชาวมองโกเลียเหนือถอยกลับไปได้ ถึงตอนนี้ พันตรีบายคอฟ (Bykov) ได้ระดมกำลังพลหน่วยทหารม้ามองโกเลียที่ ๖ และเหล่ากองทัพแดงเท่าที่หาได้ในตอนนั้นทั้งหมด มาตีโต้หวังจะรุกคืบคืน

แต่ด้วยความพร้อมเพรียงกว่าของฝ่ายญี่ปุ่น สงครามย่อยครั้งนี้จึงเหมือนหนูกับแมวตีกัน ฝ่ายรัสเซียโดนฝ่ายญี่ปุ่นตีกลับจนถอยร่นมาอยู่ที่แม่น้ำคาลคินกอล และการรบก็ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม เมื่อนั้นพันตรีบายคอฟก็ตระหนักได้ว่า สงครามแห่งมหาอำนาจของโลกได้ปะทุขึ้นเต็มตัวแล้ว

ข่าวการแตกพ่ายของกองทัพมองโกเลียส่งไปถึงมอสโคว์ สตาลินในตอนนั้นกำลังอยู่ในภาวะคับขัน ด้วยไม่ต้องการให้เกิดสงครามกับทางฝ่ายเยอรมัน ในสถานการณ์ที่กองทัพแดงกำลังร่วงโรยด้วยฝีมือการกวาดล้างของตัวเอง เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ในเวลาอันมีค่าแห่งการเตรียมตัวนี้ ทางด้านตะวันออก กลับมีสงครามที่กำลังจะเกิดกับมหาอำนาจแห่งเอเชีย ซึ่งสตาลินรู้ดีว่า หากปล่อยให้ทางญี่ปุ่นรุกคืบเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดินรัสเซียของเขา ฮิตเลอร์ย่อมเห็นถึงความอ่อนแอของกองทัพแดงและส่งทหารเข้ามาตีกระหนาบอีกด้านเป็นแน่
และเมื่อนั้น ศึกสองด้านที่ไม่มีผู้นำชาติไหนๆต้องการก็ต้องเกิดกับแผ่นดินรัสเซียอย่างแน่นอน

ทันทีที่ได้รับทราบข่าวการบุกของกองทัพญี่ปุ่น สตาลินสั่งทหารในเขตใกล้เคียงทั้งหมด เคลื่อนไปยังสมรภูมิคาลคินกอล และการบ้านต่อไปของบุรุษเหล็กผู้นี้คือ แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งการรบครั้งนี้ ผู้ที่ไม่ใช่เพียงแค่สร้างชัยชนะให้แด่กองทัพแดงเท่านั้น ยังต้องสร้างความวอดวายให้กับกองทัพศัตรูอย่างหมดจด เพื่อที่ว่า สตาลินจะได้มีหน้าไปเจรจากับเยอรมัน ว่า กองทัพแดงของตู ไม่หมูนะเฟ้ย!


จากคุณ : เมธาวดี - [ 19 พ.ค. 47 23:17:05 ]


อย่างที่ผมเกริ่น ตัวเลือกของบุรุษเหล็กสตาลินคือซูคอฟ ที่ในขณะนั้นมีอายุ ๔๓ ปี ซูคอฟเดินทางมายังมองโกเลียพร้อมด้วยทหารคู่ใจอีกหยิบมือ และกระดาษ ๑ แผ่นในกระเป๋า ที่แต่งตั้งซูคอฟเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองพันพิเศษที่ ๕๗ กำลังหลักของสหภาพโซเวียตที่อยู่ใกล้สมรภูมิคาลคินกอลที่สุด

  General  Zhukov


ซูคอฟเดินทางถึงศูนย์บัญชาการใหญ่ที่เต็มไปด้วยความสิ้นหวัง ด้วยสตาลินก่อนสงครามนั้นถือเอาการกวาดล้างศัตรูในชาติเป็นเอก เสาโทรเลขอันเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารในยุคนั้นก็ถูกสร้างขึ้นมาอย่างน้อยนิด การติดต่อกับแนวหน้าจึงต้องพึ่งทหารม้าแบบโบราณเท่านั้น เปรียบเทียบกับฝ่ายญี่ปุ่น ที่ได้ตระเตรียมสร้างระบบเครือข่ายโทรเลขอย่างพร้อมเพรียง ทำให้ญี่ปุ่นรับรู้ข่าวสารและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเข้าร่วมวงสงครามอย่างเต็มตัวของกองทัพญี่ปุ่นแห่งมณฑลกวางตุ้ง ที่ได้ส่งทหารราบกว่า ๓๘,๐๐๐ นาย รถถัง ๑๓๕ คัน และเครื่องบินอึก ๒๒๕ ลำ เพื่อหมายถล่มกองทัพแดงของสตาลินให้สิ้นซาก.............



(ฮิโรฮิโต นั่นคือ จักรพรรดิ์องค์จริง เสียงจริงค่าาาา
ที่ทรงอยู่เบื้องหลังสงครามทั้งหมด
เปรียบได้ประมาณว่า ฮิตเล่อร์แห่งเอเซีย
....วิวันดา)

Emperor Hirohito 


ระหว่างคอยเมธาวดีนะ..จะมาเล่าถึงสถานะการณ์ในบ้านเมืองเบอร์ลินมั่งละกัน
ในช่วงของปีแห่งสงคราม คือ 1939-1940 นั่นคือภาวะขาดแคลนไปหมด นับตั้งแต่ สบู่ถูตัว ที่แจกให้คนละ
ห้าก้อน ก้อนละ 50 กรัม ต่อสี่เดือน ซึ่งสบู่ที่ว่านี่จัดว่าคุณภาพต่ำสุดๆ เข้าข่ายสบู่กรดดีๆนี่เอง
กระดาษชำระ เป็นเหมือนกระดาษสีน้ำตาลสำหรับห่อของ หนาและสากพอๆกับกระดาษทราย เรื่องนี้คือเรื่องขำ(ในยามสงคราม) กล่าวคือ ในระหว่างการศึกสงคราม อังกฤษมักโปรยใบปลิวเพื่อเดิสเครดิตกันมาเป็นระยะๆ หากแต่ เป็นกระดาษบางอย่างดี
ผู้คนในเยอรมันนั้น ต่างตั้งหน้าตั้งตาคอยใบปลิวนี่เหลือเกิ๊นน เพราะ มันใช้งานในห้องน้ำได้เหมาะมากกกก..
หนักๆเข้า..กระดาษหนังสือพิมพ์เสียงเยอรมัน(Volkischer Beobachter) ของทั่นฮิตเล่อร์เขาแหละ
ที่เอามาใช้แทนกันได้ในยามยาก...
น้ำมัน แทบไม่ต้องพูดถึง รถราประกาศขายกันแบบให้ฟรีๆ เพราะ วิ่งไม่ได้ ไม่มีน้ำมัน หลายคันต้องแปลงสภาพแบบใช้ฟืนเผาใหม้เพื่อเป็นพลังงาน
ในยามนั้น ผู้คนก็เดือดร้อนกันไปหมด ถึงกับมีการแอบนินทาเหลียวหน้าแลหลังให้ดีก่อนพูด(ที่มีศัพท์เฉพาะว่า Berliner Blick หรือ Berlin glance)
ว่า..ความแตกต่างระหว่างอินเดียและเยอรมันนี คือ..
อินเดีย..คนเพียงคนเดียว..ยอมอดอาหารเพื่อประชาชนทั้งประเทศ (หมายถึงท่านคานธี)
เยอรมันนี ประชาชนทั้งประเทศต้องมายอมอดเพื่อคนเพียงคนเดียว (คงไม่ต้องบอกว่าใครนะ)


ก่อนจะเล่าสงครามครั้งนี้ ขอเล่าเกี่ยวกับซูคอฟนิดหนึ่ง ด้วยว่าเหตุที่ข้าพเจ้ารักนายพลผู้นี้นัก ด้วยเพราะรักในความจองหองของนักรบผู้นี้อย่างแบบจับใจ ในแผ่นดินรัสเซียยามยุคนั้น ใครต่อใครก็พากันกลัวสหายผู้นำสตาลินกันทั้งแผ่นดิน เพราะเลื่องชื่อกันทั้งรัสเซียว่า มันผู้ใดที่รู้มากไป เก่งมากไป อำนาจมากไป หรือเป็นที่ระคายตาของสหายผู้นำท่านนี้มากไป ล้วนถูกพาตัวไปที่กัลลักทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ซูคอฟนี่แหละครับ ที่กล้าหือกับสตาลินอย่างชนิดที่ว่า เคยฉีกหน้าสตาลินต่อหน้าที่ประชุมขุนนางทหารมาแล้ว

ในยามนั้น ยามที่เหล่าทหารแห่งเยอรมันรอท่าจะเหยียบมอสโคว์ที่นอกเมืองแค่ร้อยกว่าไมล์นั้น เมื่อใดที่ซูคอฟเสนอแผนการทางทหารให้สตาลิน ตัว
สตาลินด้วยทิฐิมานะก็หาว่าแผนการของซูคอฟนั้นไม่ได้ความบ้าง ไม่ได้เรื่องบ้าง จนซูคอฟทนไม่ไหว ตบโต๊ะผางลั่นเสียงกลางที่ประชุมว่า.........

"ถ้าท่านสหายผู้นำเห็นว่าความคิดของผู้บัญชากองทัพสูงสุดผู้นี้คิดได้แต่เรื่องไม่ได้ความแล้วล่ะก็.....ก็ปลดข้าพเจ้าไปเป็นพลทหารธรรมดาซะ ข้าพเจ้าจะได้ปกป้องรัฐของข้าด้วยสองมือและดาบปลายปืน!"

. . . . . . . . . . . .

กลับมาที่สงครามครั้งนี้ต่อ ตัวซูคอฟเองนั้นหันไปดูทางด้านตัวเองก็ได้แต่ถอนใจ ด้วยว่ากองทัพของตนเสียเปรียบญี่ปุ่นในชั้นต้นแบบเต็มประตู ทั้งด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่ขาดแคลน ซ้ำกำลังรบที่หาได้ในตอนนั้นก็มีเพียง ๑๒,๕๐๐ นาย ทัพอากาศก็หาได้มีกับเขาไม่ พอจะหวังพึ่งพิงได้ก็มีแต่รถถังที่สมรรถนะดีกว่าญี่ปุ่น ๑๘๖ คัน กับยานยนต์หุ้มเกราะอีก ๒๒๖ คัน

และในวันที่ ๒ กันยายน ทางญี่ปุ่นได้เปิดฉากการบุกอีกครั้ง ครั้งนี้ นายพลมัตสึบ่าร่าได้เลือกจุดที่อ่อนแอที่สุดของกองทัพแดง ส่งกำลังเข้าตีในส่วนริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก ซึ่งมีฝ่ายทหารม้ามองโกเลียติดอาวุธล้าสมัยประจำการอยู่นั้น แต่กระนั้น นายพลซูคอฟก็หาได้ส่งกำลังเสริมไม่ ด้วยเพราะตระหนักดีในกำลังพลของตนที่ด้อยกว่า เก็บกำลังไว้และเลือกเสียที่มั่นทางทหาร ทหารม้ามองโกลแตกยับหนีการรุกของญี่ปุ่นในวันนั้นเอง

ฝ่ายซูคอฟนั้น ให้เวลาขุนพลมัตสึบาร่ายิ้มได้ไม่นาน วันต่อมาซูคอฟได้เปิดสงครามในรูปแบบที่ตัวเองเชี่ยวชาญขึ้น นั่นคือ ส่งหน่วยยานยนต์ในกองทัพสำรองของตนเองทั้งหมดเข้าปะทะ หน่วยรถถังที่ ๑๑ แห่งกองทัพแดงเข้าตีโต้ยึดฐานที่มั่นของตนคืนจากทางเหนือ กระหนาบใต้ด้วยหน่วยจักรกลรบที่ ๗ และหน่วยยานยนต์หุ้มเกราะที่ ๒๔ เข้ารบทางตะวันตกเฉียงเหนือ

ในเวลาเช้าเจ็ดนาฬิกา ซูคอฟสั่งปืนใหญ่ทุกกระบอกเล็งไปยังที่มั่นของทหารญี่ปุ่น ทำลายกำลังใจด้วยเสียงคำรามของลูกระเบิดนับร้อยๆที่หล่นใส่ใจกลางกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาอีกสองชั่วโมง เสียงเดินเครื่องสายพานของเหล่ารถถังแห่งกองทัพแดงก็กังวานไปทั่วทั้งกองทัพ บดขยี้เหล่าทหารญี่ปุ่นที่เพิ่งย่อยยับจากห่ากระสุนปืนใหญ่ของซูคอฟ และในเวลาสิบนาฬิกาหน่วยรบยานยนต์หุ้มเกราะก็เข้าสับประยุทธ์จากทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างเต็มรูปแบบ

ตอนนี้เอง ที่มัตสึบาร่า ผบ. กองพันทหารราบที่ ๒๓ แห่งกองทัพญี่ปุ่นประจำมณฑลกวางตุ้ง รู้ซึ้งถึง อัจฉริยะภาพ ในการใช้อาวุธหนักและยานยนต์รบของซูคอฟ



จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 16:48:49 ]

General Komatsubara 



แผนการรบครั้งนี้ของซูคอฟคือ ซูคอฟได้ "ผ่า" โครงสร้างของกองทัพใหม่ทั้งหมด แบ่งทหารออกเป็นสามหน่วย คือหน่วยเหนือ หน่วยใต้ และ หน่วยกลาง มีกองพันรถถังเป็นปีกทั้งสองข้าง เอาไว้คอยรุกเร็วช่วยเหลือการรบทั้งหมด และก่อนวันที่ ๒๐ สิงหาคม ซูคอฟก็จัดเตรียมกองทัพของตนเองอย่างสมบูรณ์ ร้ายกว่านั้น ตามแบบขุนพลผู้ชาญศึก ซูคอฟได้แต่งกลศึกหลอกลวงกองทัพของโคมัตสึบาร่าว่า....ซูคอฟจะคอยตั้งรับ ให้ทหารสื่อสารวิทยุติดต่อกันแบบหลอกๆ โดยมีเสียงแว่วของเหล่าทหารที่กำลังขุดสนามเพลาะลอดเข้าเสียงวิทยุขณะที่กำลังสื่อสาร ให้กองทัพรถถังของตนเคลื่อนที่ในเวลากลางคืน กลบเสียงด้วยเสียงระเบิดและไอควันจากลูกปืนใหญ่ที่ตนส่งไปยังกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่รถถังของตัวเองกำลังเคลื่อนทัพ และพิเศษยิ่งกว่านั้น ซูคอฟได้เขียนหนังสือคู่มือทหารรัสเซียชื่อว่า "ทหารโซเวียตต้องรู้อะไรบ้างในการปกป้องแผ่นดินตนเอง"

และหนึ่งคืนก่อนวันที่ ๒๐ สิงหาคมนั่นเอง ทหารญี่ปุ่นก็หลับสบายในกองทัพตนเอง โดยหารู้ไม่ว่า มีเงื้อมมือจากมัจจุราชของกองทัพแดง ที่ประกอบไปด้วยทหาร ๓๕ กองพัน ทหารม้า ๒๗ กองพล รถถัง ๔๙๘ คัน ๓๔๖ ยานยนต์หุ้มเกราะ และปืนใหญ่ทุกชนิดอีกกว่า ๕๐๒ กระบอกล้อมรอบรังนอนของเหล่าทหารจักรพรรดิฮิโรฮิโตอย่างไม่รู้ตัวเลย!



เมื่อเวลาตีห้าสี่สิบห้านาทีของวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ทหารญี่ปุ่นถูกปลุกในตอนเช้าตรู่ด้วยเสียงระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของซูคอฟ ๑๕๐ ลำที่สตาลินส่งมา พร้อมกับเครื่องบินขับไล่ที่บินมาคุ้มครองอีก ๑๐๐ ลำ ไม่ทันที่เหล่าทหารอาทิตย์อุทัยจะได้ประจำการปืนต่อสู้อากาศยานนั้น ปืนใหญ่ทั้งครึ่งหนึ่งของกองทัพแดง ที่หันกระบอกปืนรอท่าไว้ตั้งแต่ข้ามคืน ก็ส่งลูกปืนใหญ่เข้าสู่รังกองทัพญี่ปุ่นอย่างพร้อมเพรียงตลอดสามชั่วโมง เมื่อถึงเวลาเกือบเก้าโมงเช้า เสียงกู่ร้องของเหล่าทหารคอมมิวนิสต์ก็ดังขึ้นพร้อมกับการบุกเข้าตะลุมบอน โดยมีรถถังนับร้อยๆคันเข้าร่วมสงคราม

สงครามครั้งตัดสินปะทุขึ้น คลื่นมนุษย์ของกองทัพแดงถาโถมเข้าใส่กองทัพพระจักรพรรดิ ทหารญี่ปุ่นสู้อย่างลนลานและขวัญหนีดีฝ่อ แต่อย่างไรก็ตามนั้น ขึ้นชื่อว่านักรบอาทิตย์อุทัย ทหารกองทัพแดงก็หาได้ขยี้กองทัพญี่ปุ่นง่ายๆไม่

เขตการสับประยุทธ์ที่นับว่า "แข็ง" ที่สุดของกองทัพแดงก็คือการเข้าจู่โจมของกองพันทหารราบที่ ๘๒ จากเทือกเขาอูราล ทหารของกองพันนี้ถูกห่ากระสุนญี่ปุ่นยิงกดไว้แบบโงหัวไม่ขึ้น นายทหารแนวหน้าวิทยุแจ้งถึงสถานการณ์วิกฤตให้ซูคอฟทราบ และด้วยนิสัยอันเด็ดขาดและไร้ปราณีของซูคอฟ ตอบไปสั้นๆว่า ให้รบต่อไป นายทหารผู้นั้นถามกลับด้วยความสงสัยถึงความเป็นไปได้ ว่า สถานการณ์แบบนี้ยังจะรักษาขบวนบุกได้อย่างนั้นหรือ?

พูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ...

"KU ปลด MUNG ออก แล้วไปเรียกหัวหน้า MUNG มาคุยกะ KU"

คราวนี้ผู้บังคับบัญชาของกองพันที่ ๘๒ มารับคำสั่งจากนายใหญ่อย่างลุกลน พร้อมกดดันให้ทหารของตนรุกคืบต่อไป แต่อึดใจไม่นาน ผู้บัญชาการกองพันวิทยุมาบอกถึงความไม่สำเร็จของตน และขอร้องให้ยกเลิกคำสั่งบุกเสีย

"Ku ปลด Mung ออก แล้วรออยู่นั่น Ku จะส่งนายทหารของ Ku ไปแทน" ซูคอฟคำราม

และอย่างทุลักทุเล กองพัน ๘๒ ภายใต้การนำของนายทหารของซูคอฟ ก็สามารถบรรลุเป้าหมาย แม้จะสูญเสียทหารของตัวเองไปอย่างมากมายก็ตาม


จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 18:27:32 ]


ในส่วนกองพันที่ ๒๓ ของนายพลโคมัตสึบาร่านั้น เรียกว่าอยู่ในฐานะวิกฤติที่สุด ด้วยโดนหน่วยใต้ของซูคอฟตีโอบหลังเข้ามา ที่มาพร้อมกับรถถังพ่นไฟกับหน่วยปืนกลมาบดขยี้ทหารของโคมัตสึบาร่า ทหารญี่ปุ่นโดนเปลวไฟวิ่งตามสนามเพลาะครอกตายมากมาย เท่านั้นไม่พอ ความหวังที่จะถอยก็จบสิ้นเมื่อโดนกองทัพหน่วยเหนือตีกระหนาบเข้าทางด้านหน้า ทหารของโคมัตสึบาร่าติดหนึบในกับดักตามแผนของนายพลซูคอฟเรียบร้อย

เมื่อโดนทหารฝ่ายตรงข้ามโอบล้อม ทหารญี่ปุ่นหน่วยอื่นพยายามตีวงล้อมของกองทัพแดงเพื่อเข้าช่วยเหล่าสหายร่วมรบ แต่กระนั้น นายพลซูคอฟได้ใช้ความได้เปรียบทางด้านกองทัพอากาศที่ผู้นำสตาลินทุ่มมาให้กับสงครามครั้งนี้ โปรยระเบิดกว่า ๔๗๔ เที่ยว รวมแล้วกว่า ๑๙๐ ตัน หยุดยั้งการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่นที่พยายามเข้ามาช่วยกองพันที่ ๒๓


ณ จนถึงเวลานี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ากองทัพแดงเป็นผู้กำชัยสมรภูมิคาคินกอล แต่ตัวสตาลินก็หาได้พอใจกับผลของสงคราม ที่ยังไม่สาแก่ใจกับความวอดวายของกองทหารพระจักรพรรดิ และยิ่งกว่านั้น ตัวซูคอฟเองก็รู้ดีว่า อนาคตในอาชีพทหารตัวเองนั้น ขึ้นอยู่กับความฉิบหายของกองทัพศัตรูที่กำลังอยู่ในกำมือตัวเอง.....

และสุดท้าย ด้วยคำสั่งจากมอสโควและความทะเยอทะยานของซูคอฟ ได้สั่งให้ทหารแห่งกองทัพแดงทุ่มกำลังทั้งหมดเข้าบดขยี้ทหารญี่ปุ่นในกำมือ ผลของสงครามคาลคินกอลครั้งที่สองนี้ ทหารญี่ปุ่นล้มตายไปกว่า ๕๐,๐๐๐ คน ส่วนทหารทั้งกองพันที่ ๒๓ ของโคมัตสึบาร่านั้น รอดตายจากห่ากระสุนปืนของกองทัพแดงเพียงแค่ ๑% เท่านั้น

ความหยิ่งในเกียรติภูมินักรบของเหล่าซามูไรแห่งกองทัพญี่ปุ่นประจำมณฑลกวางตุ้งโดนซูคอฟบดขยี้เสียแหลกเหลว เพราะไม่เพียงแค่พ่ายแพ้แก่รัสเซียที่พวกตนเคยดูหมิ่นเท่านั้น ยังวอดวายเสียทหารเจนศึกไปรวมแล้วกว่า ๖๐,๐๐๐ คน เหล่านายทหารเสนาบดีที่เคยโน้มน้าวองค์จักรพรรดิฮิโรฮิโตให้ “ตีเหนือ” ก็ล้วนอัปยศแก่องค์พระจักรพรรดิของตนเองนัก นายพลโคมัตสึบาร่าต้องเรียกเกียรตินักรบของตนคืนด้วยการฮาราคีรี เท่านั้นไม่พอ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในตอนนั้นต้องขอลาออกจากตำแหน่งด้วยความอับอาย

ยังไม่สาแก่ใจซูคอฟ ด้วยกำลังใจของเหล่าทหารที่ฮึกเหิม ซูคอฟสั่งทหารของตนเองเรียงรายตามแนวชายแดนมองโกเลียนอก-ใน รอคำสั่งจากสตาลิน ให้กองทัพแดงได้มีโอกาส “รุกใต้” หมายตีกองทัพญี่ปุ่นในมองโกเลียในและแมนจูกัวให้แหลกลาญ

และในฤดูใบไม้ผลิในปี ๑๙๓๙ นั่นเอง โลกทั้งโลกก็รับทราบข่าวการเข้าร่วมภาคี สงบศึกระหว่างประเทศรัสเซียและเยอรมัน ซึ่งถึงตรงนี้ ฮิโรฮิโตอับอายชาวโลกยิ่งนัก เพราะเป็นที่รู้กันทั่วว่าเยอรมันกับญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกัน การทำสัญญาสงบศึกของสหายเยอรมันกับศัตรูรัสเซียก็เสมือนกับญี่ปุ่นของตนไม่ถูกไว้หน้า มาถึงตรงนี้ ฮิโรฮิโตตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า จะให้กำลังทหารของตนเองมุ่งไปที่ “รุกใต้” หมายครองน่านน้ำอินเดียและแปซิฟิก ยึดครองดินแดนอาณานิคมและทำลายอำนาจทางทหารของเหล่าพันธมิตรตะวันตกในเอเชียบูรพา คือ อเมริกาและอังกฤษ

แต่เหนือสิ่งอื่นใด ฮิโรฮิโต ไม่ต้องการเปิดศึกสองด้าน

อย่างเสียเกียรติ กองทัพแห่งพระจักรพรรดิญี่ปุ่นต้องขอทำสัญญาสงบศึกระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในเดือนเมษายน ๑๙๔๑

และเมื่อนั้น ทหารขององค์พระจักรพรรดิ ก็ทุ่มกำลังเข้าสู่เอเชียบูรพาอย่างเต็มที่ พร้อมกับการปลุกยักษ์หลับอเมริกาที่อ่าวฮาเบอร์ในปีเดียวนั้นเอง........




จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 23:25:12 ]



รายละเอียดในเรื่องนี้  จะอยู่ในบทความเรื่อง ซูคอฟ ผู้ดับฝันของฮิตเล่อร์ ค่ะ...วิวันดา




Vyachelav  Molotov 


ในเดือน พฤศจิกายน 1940 นั่น อังกฤษยังส่งเครื่องบินมาบอมบ์เบอร์ลินอยู่อย่างไม่ขาดสาย แต่เยอรมันก็ได้ต้อนรับบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่มาเยือน
ถึงถิ่น เขาคนนั้นคือ รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย นาย Vyachelav Molotov ในวันที่ 12 พ.ย. ในเนื้อความที่ต้องมาหารือกับท่านรมต. ริบเบนทรอป
และ ท่านผู้นำฮิตเล่อร์ ถึงสัญญาการจับมือกันในคราวที่บุกโปแลนด์น่ะ ว่าจะเอายังไง..
เพราะข้อสัญญาที่ให้รัสเซีย ส่งน้ำมัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร อีกทั้งแร่ธาตุ เพื่อแลกกับอาวุธของเยอรมันนั้น รัสเซียก็ส่งให้ตามที่ต้องการ แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนนั้น
มันช่างห่างไกลความจริงเสียเหลือเกิน ตกลงจะว่าอย่างไร?
ฮิตเล่อร์พยายามเลี่ยงที่จะไม่ให้พบ และ ให้ข้อตกลงใดๆ เพราะ ในใจนั้น รู้ดีอยู่แล้วว่า จะบุกรัสเซียแน่นอน (กะเบี้ยวนั่นแหละ)
แต่ในการประชุมสามชั่วโมงผ่านไป ฮิตเล่อร์รีบสรุปใจความ โดยอ้างสาเหตุว่า รีบๆไปเถอะ เดี๋ยวก็จะโดนบุกทางอากาศอีก
แต่ในคืนนั้น ไม่มีเสียงเตือนภัยทางอากาศแต่อย่างใด..และในคืนนั้น คือ งานเลี้ยงรับรองแขกที่จัดอย่างอลังการโดยรมต.ริบเบนทรอป
ดังนั้น ในคืนวันรุ่งขึ้น คือการเลี้ยงตอบแทนโดยรัสเซียเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นในสถานทูตรัสเซีย บนถนน Wilhelmstrasse ซึ่งอยู่ห่างไปจากกระทรวงการต่างประเทศไปไม่เท่าใด ระหว่างที่เลี้ยงกันชื่นมื่น RAF ก็บินว่อนมาโรยระเบิดอีก
ทีนี้ยุ่งละซิเพราะ สถานทูตไม่มีหลุมหลบภัย..ทุกคนจึงแห่กันไปที่บ้านของนายริบเบนทรอป ที่อยู่ไม่ห่างจากตรงนั้นเท่าไหร่ เพื่อไปใช้หลุมหลบภัยที่นั่น
หลังจากที่ชั่วโมงวิกฤตได้ผ่านไป ริบเบนทรอปจึงสานต่อในการเจรจา โดยการพยายามชี้แนะให้รัสเซียมองเห็นคุณค่าในการที่จะเข้าไปบุกแทรกแซง
ทางด้านเอเซียบูรพา หรือ ทางดินแดนแห่งมหาสมุทรอินเดีย (หวังว่ารัสเซียคงจะหลงกล.. ไม่ทันระวังหลังว่าเยอรมันกำลังจะยกไปตีท้ายบ้าน)
ไม่ต้องมาห่วงฝ่ายตะวันตก เพราะทางนี้ เยอรมันคุมเกมส์อยู่ อย่าง..อังกฤษน่ะเร้อ..หมดฤทธิ์ไปนานแล้วววว !!
ท่านรมต. โมโลตอฟ เลยย้อนกลับให้จนหน้าหงายว่า..
"อ๋อ..เหรอ อังกฤษหมดฤทธิ์ไปแล้วเหรอ... งั้นที่เรากำลังหลบกันหัวหดอยู่เนี่ยยย..มันเป็นลูกระเบิดของใครกันล่ะ?"


**หมายเหตุ..ในยามนั้น รัสเซียไม่ได้เฉลียวใจแม้แต่นิดว่าเยอรมันคิดจะหักหลัง ยังคงเอากระดาษสนธิสัญญาที่เป็นเสี่ยวกันนั้นขึ้นหิ้งบูชาอยู่...เฝ้าแต่คอยว่า เมื่อไหร่เยอรมันจะปันส่วนแบ่งให้มั่งเท่านั้น..


เรื่องเหล่าขุนพลของฮิตเล่อร์ เป็นธรรมดาที่ต้องมีการขัดใจ และ ขัดขวางกันเป็นธรรมดา เพราะ ท่านผู้นำ
ได้วางนโยบายการเมืองแบบเสี้ยมเขาวัว เพื่อสดวกต่อการได้ข้อมูลทั้งหมด ยามที่ใครต่อใครมาฟ้องกันเอง
และเรื่องการแทรกแซงนั้น จัดว่ายุ่งเหยิงไปหมด
เพราะ เอาหน่วย SS เข้ามาทำงานร่วมกับทหารอาชีพ
นายคนละคน..ของใครของมัน
นี่คือสาเหตุหนึ่ง ของความล่มสลายด้วยค่ะ..
อย่าว่าแต่ ในพรรคนาซีเลย แม้แต่ สัมพันธมิตร
ตั้งแต่ ไอเซนฮาวร์,แพตตัน,เดอ โกลล์,
มอนต์คอมเมอรี่, มีเรื่องจิกกัดกันเป็นพัลวัน เชือดเฉือนกันอย่างถึงพริกถึงขิงทีเดียวเจียว


เล่าถึงไหนแล้วล่ะ..อ้อ..ถึงอังกฤษหนีกระเจิงจากเกาะครีต ใช่ป่ะ..
แต่ไปได้เดี๋ยวเดียวแหละ ต้องรีบกลับมารักษาขุมทรัพย์ของตัวเองต่อ
อังกฤษมีความจำเป็นต้องคุมพื้นที่ในดินแดนเมติเตอเรเนี่ยน
อันเปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ และเส้นเลือดใหญ่ของการส่งกำลังบำรุง
อีกทั้งต้องปกปักรักษาแหล่งน้ำมันในอาฟริกาเหนืออีกด้วย..
อังกฤษเริ่มกลับมาประจำตามเกาะเล็กเกาะน้อย อย่าง Isthmus of Corinth และ Aegean
เพราะเยอรมันก็เริ่มลุกไล่มาทางอาฟริกาเหนือดังคาด..
กองทัพอังกฤษจึงได้พบกับศึกปันเซอร์ที่หนักหนาสาหัสอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมา
ก่อนในประวัติศาตร์ นั่นคือ ต้องมาเจอกับขุนศึกเยอรมัน ที่ชื่อว่า Erwin Rommel
อังกฤษมีความจำเป็นที่จะต้องหันมาสนใจป้องกันดินแดนส่วนอาณานิคมนี้ ด้วยการเสริมกำลังทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือ อย่างเต็มที่..

ฮิตเล่อร์ ไม่เชื่อน้ำยาของมุสโสลินี ตั้งแต่ครั้งสงครามที่กรีซ จึงพยายามเข้าช่วยเหลือให้การสนับสนุนพร้อมคำแนะนำ เช่น..
สั่งให้โละทิ้งเรือพิฆาตขนาดใหญ่เปลี่ยนให้เป็นเรือส่งลำเลียงแบบเคลื่อนที่เร็ว และสารพัดข้อมูลที่จะให้
แต่..ในที่สุด เขาก็สรุปได้ว่า
มัวแต่เหนื่อยพูด เห็นท่าจะไม่ได้การ..เล่นเองซะเลยดีกว่า..
ผบ.รอมเมล ได้ประสบความสำเร็จมีชัยเหนือ อังกฤษที่ ทริโปลี ฮิตเล่อร์ถึงกับฮึกเหิม..รีบสั่งงานลุยหน้าต่อไป..
คราวนี้ กะลุยฐานทัพอังกฤษให้มันเห็นดีเห็นชั่วกันไปเลย..ฐานที่สำคัญคือ ฐานที่มอลตา (Malta) และฐานย่อยคือ ที่เกาะครีต
ในการประชุม นายพลไกเทล และ
นายพลโจด์ล เห็นพ้องต้องกันว่า ควรที่บุกให้แตกหักที่ฐานมอลตาไปเลย

แต่นั่นหมายถึงการที่ต้องเสี่ยงกันด้วยไพ่ใบเดียว คือไม่ชนะก็จะย่อยยับกลับมา..ซึ่งหน่วยที่จะต้องรับภาระในงานนี้คือ
ลุฟท์วัฟฟ์ และ หน่วยอากาศโยธินของท่านแม่ทัพเกอริงล้วนๆ
เกอริงที่เพิ่งหน้าแตกย่อยยับกับแบตเติลออฟบริเตนนั้น..มีความจำเป็นต้องแก้หน้าให้กลับมาดีดังเดิมด้วยอัตราการทำงานที่เสี่ยงน้อยที่สุด...จึงเสนอให้โจมตีฐานย่อย คือเกาะครีต..
ซึ่ง ไกเทล และขุนพลอื่นๆได้มองหน้ากันพร้อมทั้งส่ายหัว อย่างอิดหนาระอาใจ..เพราะนี่มันงานเด่ะๆ..
เพราะถ้าลองเยอรมันได้ยอมเสี่ยงเข้าตีที่ฐานมอลตาจริงๆแล้ว..ถ้าชนะหมายถึงอังกฤษต้องแพ้ในสงครามฝั่งเมดิฯไปอย่างถอนรากถอนโคน..กว่าจะตั้งตัวกลับมาได้ก็ต้องใช้เวลานานนับปี
แต่..ฐานครีต มันเป็นศูนย์ย่อยๆ พังไปก็ไม่ได้สะเทือนซางอังกฤษอะไรมากมาย..แต่..เกอริงก็สามารถกล่อมท่านผู้นำฮิตเล่อร์
ให้ประกาศโจมตีฐานครีต จนได้...

   Kurt Student

งานนี้เรียกได้ว่าขี่ช้างจับตั๊กแตนก็ไม่ผิดนัก..เพราะเกอริงจัดกำลังเข้าถล่มแบบเต็มพิกัด โดยให้ผู้พัน Kurt Student (หัวหน้าหน่วยอากาศโยธินคนที่ใช้เครื่องร่อนบุกเข้าตีเบลเยี่ยมจนสำเร็จ) ใช้กำลังรบแบบใหม่เข้าปฏิบัติการ นั่นคือหน่วยพลร่มกล้าตาย และ เพียงเก้าวัน อังกฤษก็ต้องเสียฐานไปอย่างหมดรูป และ
ถอนทหารหนีออกไปจากเกาะในวันที่ 31 พฤษภาคม
นับว่าเป็นชัยชนะอย่างสวยงามของเกอริง..แต่..หน่วยอากาศโยธิน หรือ ผู้พัน เคิร์ท กลับไม่ได้รับความดีความชอบอะไรในครั้งนี้
ฮิตเล่อร์มองเห็นการรบแบบพลร่มเป็นเรื่องเหลวไหล รังแต่จะเสียงบประมาณ นับจากวันนั้น หน่วยของผู้พันเคิร์ทไม่ได้ถูกเรียกเข้าใช้งานอีกเลยตลอดระยะเวลาของสงคราม
(ถ้าฮิตเล่อร์จัดเจน และ ศึกษาวิธีรบแบบนี้อย่างละเอียดละออละก้อ..ในวันบุกดีเดย์ ที่สพม.ใช้พลร่มนับแสนเห็นทีจะเจอตอ
ไม่ได้ผ่านเข้ามาง่ายๆแบบที่เห็นแน่นอน)
หลังจากที่ได้เกาะครีตแล้ว..ฮิตเล่อร์ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมายกับสงครามฝั่งนี้นัก เพราะเขาได้ใช้เวลาทั้งหมดหมกมุ่นอยู่แต่กับ
สงครามที่จะเปิดกับรัสเซียมากกว่า เพราะมาถึงตอนนี้ เยอรมันได้ล่าช้าต่อการบุกรัสเซียถึงห้าอาทิตย์ เพราะ กบฏที่ยูโกสลาเวีย
ตอนนี้ต้องมาเซ็ทใหม่ ว่า..กำหนดควรเป็นกลางเดือนมิถุนายน(1941) ช้ากว่านั้นไม่ได้แล้ว..

Erwin Rommel 

มิถุนายน..1941 อังกฤษที่ถอยทัพออกจากกรีซ ก็ไปรวมตัวกันอยู่ที่อียิปต์เพื่อเตรียมพร้อมรับศึกอาฟริกาเหนือประจันหน้า กับ ผบ. รอมเมลผู้เกรียงไกร
งานนี้อังกฤษเตรียมพร้อมก่อนฤดูฝนจะมาถึง รอมเมลได้ขอกำลังเสริมไปยังฮิตเล่อร์ เพื่อการเตรียมพร้อมเช่นกัน
แต่..ฮิตเล่อร์ไม่ได้สนใจในสงครามฝั่งนี้แต่อย่างใด..เพราะอย่างที่บอกมาว่าเขาสนใจแต่เรื่องการบุกและการที่จะมีชัยชนะเหนือรัสเซียเท่านั้น..
อันเป็นที่รู้กันว่า...ฮิตเล่อร์โดยปรกตินั้น ชอบที่จะใช้เวลาอาหารกลางวันเป็นการประชุมในเหล่าบรรดาขุนพลคู่ใจ ที่มาร่วมโต๊ะคราวละ
สามสิบสี่สิบนายขึ้นไปจนถึงหกสิบก็ยังเคย..และ อาหารมื้อนี้มักยาวไปจนถึงบ่ายสี่โมงแทบทุกวัน
แต่ตั้งแต่ เมษาจนถึงพฤษภา ทหารเหล่านั้น แทบไม่มีใครมีโอกาสได้เจอะเจอท่านผู้นำบนโต๊ะอีกเลย..
คนเดียวที่อยู่กับฮิตเล่อร์ตลอดเวลานั่นก็คือ Rudolf Hess ทส.คนสนิท ซึ่งภายหลังจากที่นายเฮสส์ได้บินเดี่ยวไปอังกฤษนั่น
จึงทำให้เชื่อได้ยากว่า..เขาทำลงไปด้วยตัวเอง โดยไม่มีใครสั่ง !!
ฮิตเล่อร์จึงต้องออกข่าวแก้เกี้ยวทั่วโลกว่า..เพราะ นายเฮสส์มีอาการทางประสาทพูดจาเลอะเทอะ ด้วยเกรงว่า อาจถูกอังกฤษสอบสวน
จนต้องคายเรื่องแผนบุกรัสเซียออกมา !!

(จากเมธาวดี)

อันว่าเรื่องกล่อง Enigma นั้น หลายๆท่านที่พอทราบเรื่องราวตรงนี้ ก็คงสับสนว่า นักประวัติศาสตร์บางท่านก็บอกว่าเรื่องนี้มะค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่บางท่าน ก็บอกว่าสำคัญนักสำคัญหนา มิเช่นนั้นแล้ว ยุทธนาวีแห่งทะเลแอตแลนติก ก็หาจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่

ไม่รู้จะเชื่อใครดีครับ อ่านประวัติศาสตร์ก็แบบนี้แหละคุ้น มันตีความไปได้หลายๆแบบ

เอาเป็นว่า มาดูเรื่องราวนี้ก่อนดีกว่าครับ

เรื่องกล่องอีนิกม่านี้ เรื่องทั้งเรื่องมันเริ่มเมื่อปี ๑๙๔๑ เมื่ออังกฤษกับเยอรมันเข้าต่อสู้ในสงครามแบบเต็มรูปแบบ ทางเยอรมัน อย่างที่เคยกล่าวไว้ ต้องการที่จะปิดล้อมอังกฤษทั้งประเทศ เพื่อที่จะให้ประเทศอังกฤษยอมสยบแทบเท้าท่านฟูห์เร่อในที่สุด หมู่เรือสินค้าที่นำทั้งยุทธปัจจัยและอาหารมาหล่อเลี้ยงอังกฤษในยามสงครามเป็นเป้าหมายหลักของเหล่าเรืออู ที่จะปิดชาวอังกฤษทั้งประเทศให้อดตาย!     

เชอร์ชิลล์ซึ่งในตอนนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ดี รายงานจากกองทัพเรือชี้ให้เห็นว่า พิษสงของเรืออูที่จมเรือสินค้าอังกฤษเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างน่ากลัว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี ๑๙๔๑ เหล่าเรือเยอรมันจมเรีอสินค้าไป ๑๒๖,๐๐๐ ตัน พอถึงเดือนเมษายนในปีเดียวกันนั้น ปริมาณเรือสินค้าที่ถูกจมในเดือนเดียวเพิ่มไปเป็น ๒๔๙,๐๐๐ ตัน ซึ่งอังกฤษสูญเสียเรือสินค้าไปมากกว่ากำลังการผลิตของตัวเองด้วยซ้ำ

กองทัพเรืออังกฤษแม้จะเป็นเจ้าทะเลแอตแลนติก แม้จะสามารถจมเรือรบเยอรมันได้หลายครั้ง แต่ปัญหาก็คือเหล่าเรืออูที่เยอรมันส่งไปจมเรือสินค้าอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นศัตรูใต้น้ำที่อังกฤษติดตามไม่ได้เหมือนกับเหล่าเรือรบเยอรมันที่อังกฤษเคยจม ดังนั้นทางเดียวที่จะติดตามเหล่าเรืออูเยอรมันได้ คือการถอดรหัสที่กองทัพเรือเยอรมันใช้ในการสื่อสาร ที่เหล่านักถอดรหัสอังกฤษไม่เคยถอดได้นับตั้งแต่เริ่มสงครามเลย

รหัสลับที่กองทัพเยอรมันใช้ในการสื่อสารนี้ นับว่า เป็นสุดยอดเทคโนโลยีรหัสลับในสมัยนั้น เนื่องด้วยการสื่อสารเหล่านี้ข้อมูลถูกแปลงเป็นรหัสด้วยกล่องอีนิกม่า ตัวอักษรแต่ละตัวที่ส่งไป ถูกแปลงเป็นรหัสด้วยกลไกอันซับซ้อนของกล่องอีนิกม่า ซ้ำร้ายกว่านั้น รหัสของเครื่องอีนิกม่าถูกเปลี่ยนไปวันต่อวัน เพื่อป้องกันการถอดรหัสของฝ่ายศัตรู

ด้วยความพยายามมานานนับปี ยิ่งทุ่มกำลังเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ แม้แต่แชมป์หมากรุก ในการทุ่มกำลังทางปัญญาเพื่อถอดรหัสกล่องอีนิกม่านี้ กองทัพอังกฤษก็ตระหนักได้ว่า......เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่ ไม่มีกล่องอีนิกม่าและเอกสารรหัสไว้ในครอบครอง


ปฏิบัติการชิงกล่องอีนิกม่านี้ ทางอังกฤษมีความพยายามมาตลอด แม้กระทั่งยอมลงทุนส่งสายลับเสี่ยงตายปลอมเป็นทหารเยอรมัน แต่เหมือนกับสวรรค์ไม่เป็นใจ

จนกระทั่งในเดือนมีนาคม ๑๙๓๗ กองทัพเรือหน่วย Home Fleet ที่ Scapa Flow ส่งเรือพิฆาต ๕ ลำ เพื่อไปทำลายโรงงานผลิตน้ำมันที่ชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ในครอบครองของเยอรมัน นำโดยนายพล George Warmington

ทางกองทัพหน่วย Home Fleet ที่ส่งกองทัพเรือไปครั้งนี้ ไม่ได้มีความหวังเลยว่า จะได้กล่องเจ้าปัญหานี้มาไว้ในครอบครอง เพราะครั้งใดที่ทหารเรือเยอรมันรู้ว่าจะต้องสูญเสียเรือ ก็ล้วนเผาทำลายกล่องอีนิกม่าพร้อมทั้งเอกสารรหัสก่อนที่ศัตรูจะพบทั้งสิ้น

แต่บอกแล้วไงครับ ว่าตอนนี้ อังกฤษน่ะดวงดี(อีกแล้ว)

ทันทีที่เรือรบทั้งห้าลำของอังกฤษไปถึงชายฝั่งฟยอร์ดของนอร์เวย์ กว่าทางเยอรมันจะรู้ถึงการมาเยือนของกองเรืออังกฤษ ก็สายเกินกว่าแก้ เพราะทางเยอรมัน ทิ้งเรือลำเล็กๆ ที่ดัดแปลงจากเรือหากุ้ง ติดปืนใหญ่ขนาดจิ๋วไว้ไม่กี่กระบอก กับปืนกลหนักอีกหนึ่งอัน ทำการบริเวณนั้นพอดี และเรือลำนี้นี่แหละครับ ที่ติดตั้งกล่องอีนิกม่าไว้

ฝ่ายเยอรมันครั้นส่งสัญญาณเรียกหน่วยลุฟวัฟท์มาช่วย ก็กระชั้นชิดเกินแก้แล้ว

แม้ว่าร้อยตรี Hans Kapfinger จะหันเรือเข้าสู้อย่างชาติอัศวินเยอรมัน สาดกระสุนปืนไปยังเรือรบอังกฤษอย่างกล้าหาญ เรือรบห้าลำกับเรือตรวจการที่ดัดแปลงมาจากเรือหากุ้งลำเดียวจะเหลืออะไรครับ ทันที่ทัพเรืออังกฤษส่งลูกปืนไปทักทายเรือ Krebs เพียงสามนัด เรือทั้งลำก็ลุกเป็นไฟ ลูกเรือ Krebs ก็กระโดดลงน้ำกันเป็นแถว

เรือรบทั้งห้าของอังกฤษเมื่อเห็นว่าเรือเยอรมันไร้ทางสู้แล้ว ก็บังคับเรือเข้าหาทหารเยอรมันที่ลอยตุ้บป่องอยู่กลางทะเล หวังจะหยิบเอาเชลยสงครามไปเป็นของฝากที่บ้านอย่างเคย

นายพล Warmington ผู้การใหญ่ของงานนี้ พอเห็นเรือ Krebs ที่จะจมแหล่มิจมแหล่ ก็เอะใจขึ้นมาว่า เอ๊ะ ไหนลองเข้าไปดูข้างในเรือหน่อยซิ เผื่อฟลุ้กเจอของดีๆ

ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าโอกาสที่จะเจอ “ของลับ” เยอรมันในเรือเล็กๆแบบนี้ โอกาสมีน้อยแสนน้อยยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่ แถมทางทหารเยอรมันก็คงไม่โง่พอที่จะทิ้ง “ของลับ” ให้ทางชาติศัตรูเอาไปปู้ยี่ปู้ยำ.....

แต่.......พระเจ้าช่วยอังกฤษอีกครั้ง ทั้งๆที่ไฟลุกโชนเต็มลำเรือ นายพล Warmington ก็กล้าหาญกระโดดเข้าเรือ Krebs เดินค้นหาของโน่น ของนี่ เจอเอกสารวางไว้ก็เก็บๆมา เผื่อฟลุ้กว่าจะเป็นของสำคัญ

แต่......(อีกแระ) บังเอิ๊ญ บังเอิญ คุณวอร์มิงตันของเราเหลือบไปเห็นลิ้นชักเอกสารเรียงรายเป็นชั้นๆ มือก็ดึงๆ ลิ้นชักออกมา และก็เจอแจ๊กพ็อต มีอยู่ลิ้นชักนึง ดึงออกมาไม่ได้ มันล็อกอยู่ครับ (ไม่บอกตรงนี้ก็ได้มั้ง)

อย่างที่เห็นในหนัง นายพลวอร์มิงตันเอาปืนพกยิงไปที่แม่กุญแจลิ้นชัก สิ้นเสียงลูกปืน ดึงลิ้นชักออกมา พบกล่องไม้ข้างในบรรจุลูกเหล็กทรงกระบอกเอาไว้สองอัน มีรอยบากรอบๆคล้านฟันเฟืองและตัวอักษรโรมันอยู่ตลอดลูกเหล็กอันนี้ ตอนนี้นัยน์ตาของนายวอร์มิงตันคงโตด้วยความตื่นใจ ที่ได้เห็น “ของลับเยอรมัน” เอาครั้งแรกกะจะตาก็วันนี้ แม้ว่านายพลวอร์มิงตันไม่รู้มาก่อนเลยว่าทางเยอรมันมีเครื่องอีนิกม่า เพราะทางรัฐบาลอังกฤษในยุคนั้นเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับสุดยอด ด้วยว่าเกรงทางฝ่ายเยอรมันจะรู้ว่าทางอังกฤษพยายามจะแกะรหัสอีนิกม่าของตน

แต่ด้วยสามัญสำนึก นานพลวอร์มิงตันก็รู้.....ว่าเจ้าสองลูกนี้ มันต้องเป็นเครื่องแปรรหัสเยอรมันแหงมๆ

ใช่ครับ สิ่งที่นายพลวอร์มิงตันพบมันก็คือ Rotor ส่วนประกอบสำคัญของเครื่อง Enigma ที่ทำหน้าที่แปลงอักษรภาษาเยอรมันไปเป็นรหัสลับอีนิกม่า ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์อังกฤษแก้กันไม่ออกซักทีนั่นเอง!

และเหล่าลูกเหล็กสำคัญอันนี้ก็ถูกส่งไปยัง Bletchy Park ที่ประเทศอังกฤษ อันเป็นสำนักงานใหญ่ที่ทำหน้าที่แกะรหัสของกองทัพเยอรมัน


แต่ครับแต่......การที่กองทัพอังกฤษได้เจ้า Rotor นี้มา ก็หาได้แปรรหัสอีนิกม่าได้ทันทีไม่ อันที่จริงเรื่องการแปลงรหัสอีนิกม่านี้ ไม่ได้แปลงรหัสได้ทันทีทันใด เพราะการแปลงรหัสอีนิกม่านี้ ต้องอาศัยเอกสารรหัสมาช่วยกำกับ ซึ่งต่อมาก็มีการยึดเอกสารรหัสเหล่านี้มาได้เป็นระยะๆ จากทั้งเรืออู และเรือตรวจอากาศเยอรมัน ที่ทั้งทางอังกฤษและอเมริกาต่างก็ช่วยกันเติมจิ๊กซอว์อีนิกม่านี้มาได้ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถแกะรอยเหล่าเรืออูได้ แม้ว่าทางเยอรมันจะล่วงรู้ถึงความสามารถแกะรหัสอีนิกม่าของทางฝ่ายอังกฤษ และเพิ่มความซับซ้อนของเครื่องอีนิกม่า ก็หาได้พ้นความพยายามของเหล่านักแปรรหัสไม่ จวบจนกระทั่ง วันที่เหล่าสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ปฎิบัติการแกะรหัสอีนิกม่าภายใต้ชื่อรหัส ULTRA ก็สิ้นสุดหน้าที่ลง

ท้ายที่สุดแล้ว สงครามในทะเลแอตแลนติกก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร



แต่ครับ......ปฏิบัติการถอดรหัสอีนิกม่านี้ ช่วยชีวิตนับล้านๆ ช่วยให้พ่อในแนวหน้าได้กลับมาพบลูกเมียที่บ้านได้เร็วขึ้นเป็นปี ช่วยให้เหล่าชาวอังกฤษมีอาหารพออยู่กิน ไม่ประสบภัยพิบัติเหมือนอย่างชาวรัสเซียในเลนินกราด (คนรัสเซียทุกข์เข็ญยังไง อีกไม่นานก็จะทราบเมื่อสงครามที่เลนินกราดครับ) หากไร้ซึ่งความพยายามในการถอดรหัสแล้ว เรือสินค้านับล้านตันต้องถูกเหล่าเรืออูจมลงในแอตแลนติก นั่นก็หมายความว่า ปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษต้องเป็นอัมพาตไปด้วยขาดยุทธปัจจัย และนั่นหมายความว่า การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรอาจต้องถูกเลื่อนไปเป็นเดือนหรือปี

ปฏิบัติการชิงกล่องและการแปลงรหัสอีนิกม่า แม้ไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดในสงครามแห่งทะเลแอตแลนติก แต่ความพยายามของเหล่าทหารหาญและนักแปลงรหัส ก็ได้ช่วยชีวิตนับล้านๆครับกระผม


จากคุณ : l (เมธาวดี) - [ 28 พ.ค. 47 00:09:16 ]

เอ้า เข้ามาดูอีกทีรู้สึกว่าตัวเองพิมพ์น้อยไปหน่อยแฮะ ไหนๆก็ไหนๆ มาเพิ่มให้อีกอย่าง ก็คือตัวเอกของยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก ผู้สร้างฝูงเรืออูแห่งทัพน้ำเยอรมัน ทั่นผู้นี้คือ จอมพลเรือ Karl Donitz ขอรับ

Karl Doenitz 

คาร์ล โดนิทซ์ผู้นี้ สร้างกองเรืออูแห่งกองทัพเรือเยอรมัน ท่านผู้อ่านที่เคารพทั้งหลาย หากติดตามเรื่องราวมาตั้งแต่ Battle of Britain คงจำได้ว่า ปัญหาที่ฮิตเลอร์กลุ้มใจมาตลอด คือกองทัพเยอรมันขาดแคลนแสนยานุภาพของกองทัพเรือ เมื่อเริ่มต้นสงครามนั้น ทัพเรือเยอรมันแทบจะเรียกได้ว่า มีเพียงแค่หยิบมือเดียว ทั้งเรือรบ เรือพิฆาต และเรือดำน้ำ แถมเมื่อสงครามแห่งอังกฤษเกิดขึ้นเต็มรูปแบบ เรือรบเยอรมันที่สู้อุตส่าห์สร้างมาไม่กี่ปี ยังถูกเหล่าทหารเรืออังกฤษเล่นงานจนล่มจมตกก้นทะเลไป

แต่โดนิตซ์นี่แหละครับ ผู้สร้างกองเรืออู จากกองทัพเรือเยอรมันที่พิกลพิการ มาเป็นฝูงหมาป่าที่ขยายแสนยานุภาพไปจนชายฝั่งอเมริกา

โดนิตซ์เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ปี ๑๘๙๑ เมื่อยามวัยเด็ก โดนิตซ์ก็ใฝ่ฝันที่จะใส่เครื่องแบบทหารเยอรมันตามประสาเด็กน้อยทั่วไป และพออายุ ๑๙ ปี ก็เข้าเรียนในโรงเรียนนายเรือเยอรมัน จวบจนกระทั่งปี ๑๙๑๓ โดนิตซ์ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ในเรืออู-๖๘ ซึ่งในระหว่างปฏิบัติหน้าที่นี้เอง เรืออูของโดนิตซ์ก็พลาดท่าอังกฤษ ระหว่างปฏิบัติการทำลายเรือสินค้าในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ถูกจับเป็นเชลยสงครามจวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติ

เหมือนกับโชคชะตาเล่นตลก เพราะการถูกอังกฤษจับโดนิตซ์เป็นเชลยสงครามทำให้โดนิตซ์มีโอกาสรอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ เพื่อกลับมาทำลายเรือสินค้าของอังกฤษในสงครามโลกครั้งต่อมา

จวบจนกระทั่งมาถึงยุคการเสวยอำนาจของฮิตเลอร์ ที่ต้องการขยายแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมัน และกองทัพเรือเยอรมันก็อยู่ภายใต้แผนการการขยายกำลังทางทหารนี้ด้วย ภายใต้ชื่อแผน Z (Z-Plan) โดนิตซ์ก็ได้รับการมอบหมายจากจอมพลเรือ Erich Reader ให้ดำเนินการสร้างกองทัพเรืออูแห่งกองทัพเยอรมันในปี ๑๙๓๕

ตรงนี้แหละครับ ที่โดนิตซ์ แสดงอัจฉริยภาพของตัวเองให้ทั้งโลกเห็น ถึงความสามารถในการจัดการและการสร้างสรรค์ทัพเรือเยอรมัน เพราะตอนที่โดนิตซ์ได้รับมอบหมายหน้าที่นี้นั้น เยอรมันไม่มีเรืออูแม้แต่ลำเดียว ไม่มีแม้แต่กลาสีเรือ และ กองทัพเรือดำน้ำอะไรเลย จากผลของสนธิสัญญาแวร์ซายน์

เมื่อถึงตอนนี้ หน้าที่ที่โดนิตซ์ได้รับนับว่าแสนสาหัสมาก เพราะโดนิตซ์ต้องสร้างฝูงเรืออูจากศูนย์ สิ่งที่โดนิตซ์มีคือประสบการณ์ของตนเองในเรืออูสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดนิตซ์ต้องสร้างตำราพิชัยสงครามแห่งการรบใต้น้ำขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับทัพเรืออูอันใหม่ของตนเอง รวมทั้งคู่มือกลาสีเรือให้กับกองทัพเรืออูอีกด้วย

ซึ่งตำราพิชัยสงครามใต้น้ำที่โดนิตซ์เขียนใหม่ขึ้นนี้ นับว่าเป็นการปฏิวัติแนวคิดการรบในสมัยนั้นพอๆกับ Blitzkierg ของทัพบกและอากาศของเยอรมันทีเดียว เพราะโดนิตซ์นี่แหละครับ ที่เสนอแนวคิดให้ทัพเรืออูมีหน้าที่หลักคือโจมตีเรือสินค้าอย่างเดียว และสร้างสรรค์ขบวนพยุหะใต้น้ำของเรืออู ที่เรียกกันว่า "ฝูงหมาป่า (Wolf Packs)"

ซึ่งภายหลัง โลกทั้งโลกก็ได้เห็นอัจฉริยภาพของโดนิตซ์ ว่าฝูงหมาป่าของเขา สร้างความฉิบหายวอดวายให้กับกองเรือสินค้าของอังกฤษและอเมริกายังไง

ปัญหาของโดนิตซ์ไม่ใช่แค่ตนเองต้องสร้างทัพเรืออูจากศูนย์เท่านั้น โดนิตซ์ยังเจอปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรแร่โลหะของเยอรมัน ที่ทำให้โดนิตซ์สร้างเรืออูของตัวเองได้อย่างจำกัดจำเขี่ย ซ้ำยังต้องแบ่งไปให้ทัพเรือสร้างเรือรบแบบต่างๆอีก ซึ่งพอถึงเมื่อตอนเริ่มสงคราม เดือนกันยายนปี ๑๙๓๙ ปรากฏว่าโดนิตซ์สร้างเรืออูได้แค่ ๕๖ ลำเท่านั้น ห่างจากเป้าหมายในใจโดนิตซ์ราวฟ้ากับดิน เพราะโดนิตซ์หมายมั่นปั้นมือว่า จะสร้างฝูงเรืออูให้ได้สามร้อยลำนั่นเอง

ถอนหายใจเป็นครั้งที่ร้อย....ฝูงเรืออูอันกระจ้อยร้อยห้าสิบกว่าลำของตนเองนั้น เพียงยี่สิบกว่าลำเท่านั้น ที่พร้อมออกรบในทะเลแอตแลนติก

ในตอนนั้นเอง ฮิตเลอร์กำลังผยองพองขน ด้วยพลังอำนาจของทัพบกและทัพอากาศของตนเอง ทั้งยังมีเกอริ่ง ที่มายืดอกอวบๆ โม้กับฮิตเล่อร์ไปว่า...ลุฟท์วัฟท์(ทัพอากาศ) ของตนเอง จัดการกับอังกฤษได้อยู่หมัด

ตอนนี้ทัพเรืออูของโดนิตซ์ที่เหมือนลูกเมียน้อยอยู่แล้ว กลายเป็นเจ้าตูบหัวเน่าไปอีกในสายตาของฮิตเลอร์ เพราะฮิตเล่อร์ก็หลงลมเกอริ่ง ไม่ได้มาขยายกองทัพเรืออูตามแบบที่โดนิตซ์แสนอแนวความคิดไว้แต่อย่างใด

จนกระทั่งภายหลัง ปี๑๙๔๐ เดือนสิงหาคม เมื่อสงครามแห่งอังกฤษผ่านไปสองเดือน ก็ไม่มีทีท่าว่าอังกฤษจะสยบง่ายๆเหมือนอย่างที่เกอริ่งขี้โม้บอก เมื่อนั้น ฮิตเล่อร์ก็เริ่มมองไปถึงการปิดล้อมเกาะอังกฤษ ที่ต้องใช้ฝูงหมาป่าของโดนิตซ์ในการไล่ล่าเรือสินค้า

ตอนนี้เอง ที่เรืออูเริ่มถอยออกจากอู่เยอรมันเรื่อยๆ และภายในไม่กี่เดือน โดนิตซ์ก็รังสรรค์ผลงานสร้างความวอดวายให้กับอังกฤษ โดยฝูงหมาป่าของโดนิตซ์นั้น ขย้ำเอาเรือสินค้าอังกฤษจมถึง ๒๘๕ ลำ รวมระวางขับน้ำแล้ว เชอร์ชิลล์นอนด่ายหน้าผากด้วยว่าอังกฤษของตนเองสูญเสียเรือสินค้าไปรวมๆล้านกว่าตันภายในระยะเวลา ๔ เดือนเท่านั้นเอง

พอปลายปี ๑๙๔๑ รูสต์เวลล์ตบบ่าเชอร์ชิลล์บอกว่า ไม่ต้องกลั๊ว พวกอั๊วเข้าร่วมสงครามเรียบร้อยแล้ว ทัพเรือของอั๊วจาส่งเรือรบคุ้มกันไปให้ ดูซิพวกไส้กรอกเยอรมันจะมีปัญญาได้แค่ไหนเชียว

เพียงแค่ ๖ เดือนแรกของปี ๑๙๔๒ ฝูงหมาป่าเรืออูของโดนิตซ์ ก็สั่งสอนให้ทัพน้ำมะกันได้รู้พิษสงว่า เฉพาะเรือสินค้าของอเมริกันที่ส่งไปช่วยอังกฤษนั้น โดนเหล่าเรืออูสอยลงก้นทะเลไป ๕๘๕ ลำ และที่น่าอายกว่านั้น....เรือสินค้าอเมริกันมากมายถูกเรืออูจมเอานอกชายฝั่งอเมริกันแค่ ๒-๓ ไมล์ก็มี


นี่แหละครับ โดนิตซ์ ผู้เป็นยอดนักวิชาการทางทหาร นักบริหารจัดการ และนักปฏิบัติในคนๆเดียวกัน ผู้ที่สรรค์สร้างฝูงหมาป่า เรืออู ให้ขยายแสนยานุภาพไปทั่วแอตแลนติกเหนือ จวบจนชายฝั่งอเมริกา ทั้งๆที่โดนิตซ์เริ่มสร้างกองทัพเรืออูจากความว่างเปล่า แต่ยอดนักการทหารผู้นี้กลับสามารถสร้างกองทัพเรืออูให้เกรียงไกรได้ภายในไม่กี่ปี

ประวัติชีวิตการเดินทางของทหารเรือคนนี้ยังอีกไกลในสงครามโลกครั้งที่สองครับ แต่ผมคงไม่เล่าต่อ อยากให้ท่านผู้อ่านได้ดูละครชีวิตของนายพลเรือผู้นี้พร้อมๆกับเรื่องราวของเหล่าขุนพลอาณาจักรไรค์ครับผม


จากคุณ : เมธาวดี - [ 28 พ.ค. 47 23:32:37 ]




 (นี่ละค่ะ ที่เป็นบุญของดิฉัน ที่มีคุณเมธาวดีมาช่วยแบ่งเบาภาระ ตามประสาคนคอเดียวกัน..
ไม่งั้นกว่าจะจบกว่ายี่สิบตอน คงต้องใช้เวลาเป็นปี......วิวันดา)







Create Date : 06 พฤษภาคม 2548
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 6:01:03 น. 36 comments
Counter : 2924 Pageviews.  

 


ยิ่งตอนที่เขารอดตายจากการถูกลอบวางระเบิด ทั้งสองครั้ง (1939 และ 1944) นั่นเล่า..ยิ่งทำให้เขาได้ใช้เครดิตของความเฮง
ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า
เพราะว่าพระเจ้าได้ทรง"เลือก" เขามาแล้ว..ฉะนั้นชีวิตของเขาได้อยู่ในอุ้งพระหัตถ์ที่ไม่มีใครสามารถจะทำอันตรายแก่เขาได้

เขาได้เล่านิทานกล่อมประชาชนต่อไปว่า..
เมื่อครั้งกระโน้น ในสวนแห่งอีเดน (ของพระเจ้า) ผู้คนที่อยู่ที่นั่นล้วนแล้วแต่เป็นสายเลือดที่บริสุทธิ์ของชาวอารยันทั้งนั้น
จนกระทั่งได้มีภูติผีปีศาจที่มาในรูปร่างของชาวยิว เข้ามาเจือปน เพื่อที่จะเป็นมารทำลายล้างพระเจ้า
ฉะนั้น มันเป็นหน้าที่ของเขา และกลุ่มชาวอารยัน ที่ต้องช่วยกันกำจัดมารออกไปให้พ้นจากโลกอันบริสุทธิ์
พวกมาร..สมควรจะต้องถูกส่งลงไปยัง นรก อันเป็นที่เหมาะสมและภูมิลำเนาดั้งเดิม.

เพราะความเชื่อที่เขามีว่า เขาคือผู้นำคนใหม่ของศาสนา นั่นคือสาเหตุที่เขาได้สั่งให้
อัลเบิร์ต สเปียร์ สถาปนิกคู่ใจได้ออกแบบวิหารใหม่กลางใจเมือง ให้เป็นรูปสัญญลักษณ์โดมเลียนแบบพระวิหารแห่งเซนต์ ปีเตอร์
หากแต่ให้ใหญ่กว่าถึงเจ็ดเท่า ขนาดสเปียร์เองยังออกปาก(และบันทึกไว้ด้วย)ว่า
"นี่มันใหญ่โตมโหระทึก ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะตวามต้องการเฉพาะกิจของท่านผู้นำแล้ว นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่เข้าท่าอย่างที่สุด"

และฮิตเล่อร์ก็ทำการอบรมหน่วย SS ในชุดดำของเขาให้ตระหนักว่า พวกเขาเป็นทหารที่ต้องรับใช้ตามความประสงค์ของพระเจ้าเช่นกัน ในการที่จะต้องขจัดมารร้ายให้พ้นออกไป.
เหล่า SS มีการกระทำพิธีสาบานตนต่อพระเจ้าและฮิตเล่อร์..(มีการลงรายละเอียดในข่าวของหนังสือพิมพ์แห่งพรรคนาซี)
ถ้าใครไม่เข้าพิธีก็จะถือว่า มีบาป บาปติดตัวไปจนตลอดชีวิต เพราะ "นาซี" ถือได้เสมอกับศาสนาประจำตัวเฉกเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์
และ "เลือด"เท่านั้น เป็นสิ่งเดียวที่จะใช้ในพิธีแห่งการล้างบาป

เขาได้ใช้วันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อที่จะกระทำการประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์กับกลุ่ม SS ทั้งหมด ต่อหน้าผืนธงที่เปื้อนเลือด
ที่นำมาจากวันกบฏโรงเบียร์ (9 พ.ย. 1923) ซึ่งเขาคือประธานในพิธี และเป็นคนเดียวเท่านั้นที่จะจับต้องธงผืนนี้ได้
วันนี้ถือว่าเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งของพรรคนาซี.
อีกทั้งเขาได้เปลี่ยนวันสำคัญทางศาสนา(สำหรับนาซี) คือวันที่ 30 มกราคม (คือวันที่เขาก้าวขึ้นมาครองเมือง 30 มกราคม 1933 )
และวันเกิดของเขาคือ 20 เมษายนนั้น คือวันแห่งการก่อตั้งเยาวชนฮิตเล่อร์ ซึ่งก็ถือว่าสำคัญอีกวันหนึ่ง
เขาได้ให้ทุกครัวเรือนทั้งประเทศอ่านหนังสือ Mein Kampf แทนการอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ล


รู้สึกว่าฮิตเล่อร์จะเปลี่ยนเนื้อร้องในเพลง Silent night! Holy Night! ด้วยนะ มีส่วนสรรเสริญตัวเขาเองนั่นแหละ..







โดย: wiwanda (WIWANDA ) วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:55:52 น.  

 
ว๊า..ทำไมใส่สีไม่ได้ล่ะ ในช่อง comment เนี่ยย..

ช่วยด้วย..ช่วยด้วยจ้า..!!!


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:57:01 น.  

 
ฮิตเล่อร์ได้พยายามบอกกับเหล่าขุนพลให้เตรียมตัวในช่วงของฤดูฝน 1940-41
ว่า เขาจะเปิดศึกทางด้านตะวันออกแน่นอนถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเห็นด้วยกับศึกสองด้านก็เถอะ แต่เขาได้สั่งการไปยัง
นายพล เบราชิตช์ ให้เพิ่มกำลังพลในหน่วยขึ้นมาอีกเท่าตัว เขาบอกว่า ทหารบกว่างงานมานานแล้ว กองทัพก็สร้างอาวุธขึ้นมาพะเนินเทินทึก
แล้วจะรอให้มันขึ้นสนิมรึไง?
(เพราะแผนที่ว่าจะบุกขึ้นบกไปขยี้อังกฤษก็แห้วไปแล้ว..ฉะนั้น ต้องหางานให้ทำซะให้คุ้ม)
เผอิญว่าสถานะการณ์ในโรมาเนียที่ไม่สงบ เนื่องจากการรุกรานของรัสเซียที่ต้องการเข้าไปครองแหล่งน้ำมัน
เยอรมันจึงรีบยื่นมือ ส่งทหารไปทั้งกองทัพเพื่อเข้าไปให้ความคุ้มครองให้ความคุ้มกันในวันที่ 8 ตุลาคม 1940
ต่อมา ฮิตเล่อร์ ได้ล่วงรู้ว่าสหายรักมุสโสลินี กำลังเตรียมวางแผนจะบุกประเทศกรีซ เขาถึงกับส่ายหน้า เพราะ
เขารู้ดีว่า กรีซนั้นไม่หมู เนื่องจากภูมิประเทศรวมไปถึงดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนจากเลวไปจนถึงเลวที่สุดได้ทุกเมื่อ
แถมที่สำคัญคือ ทหารอิตาเลี่ยนภายใต้การบังคับบัญชาของมุสโสลินี นั้น ยังจัดว่า ฝีมือไม่ถึง..
และในที่สุด ก็อย่างที่เล่ามาแล้ว นั่นก็คือ กองทัพของอิตาเลี่ยนต้องวิ่งโร่มาขอความช่วยเหลือจากเยอรมันจนได้
มาถึงตอนนี้ .. โรมาเนีย ฮังการี ได้เข้ามาร่วมกับฝ่ายอักษะ ที่มีแกนนำอันประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น..

(อ้ะ..พูดถึงญี่ปุ่น มาเข้าร่วมตอนไหนนั้น ต้องรอให้เมธาวดีมาเล่าตอนที่ นายพลซูคอฟ ไล่ขยี้ญี่ปุ่นที่แมนจูเรีย..แล้วจึงจะเข้าใจ)

และก็จริงๆอย่างที่ฮิตเล่อร์ได้คาดการณ์ นั่นคือ อิตาลี โดนกองทัพกรีกไล่ล่าเสียจนหมดรูป เพียงไม่กี่วัน กองทัพกรีกสามารถ
กวาดต้อนเชลยศึกอิตาเลียนไปได้ร่วมสามหมื่นคน จากการรบที่ Port Edda
จนถึงในเดือนธันวาคม อัลบาเนียเกือบทั้งหมดก็ตกอยู่ในอุ้งมือของกรีก มุสโสลินี อยู่ในภาวะที่คับขันยิ่ง..กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
เพราะกร่างเอาไว้เยอะ..โชคดีที่เข้าสู่ฤดูหนาวที่ต่างฝ่ายต่างก็หยุดพักรบ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ฮิตเล่อร์กำลังจะช่วยรักษาหน้าของฝ่ายอักษะ
โดยการล้มช้าง นั่นคือ บุกเข้าตีรัสเซียอย่างจู่โจม แผนได้กำหนดวางไว้คือ เดือน พฤษภาคม 1941



โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:58:47 น.  

 
ฮิตเล่อร์ได้ประชุมนายทหารอีกครั้งด้วยข่าวกรองมาว่า รัสเซียได้ทำเร่งผลิตอาวุธเป็นการใหญ่ เชื่อว่า คงหมายจะบุกเยอรมันเป็นแน่แท้
อีกทั้ง เขาหวั่นใจว่า สหรัฐอเมริกาต้องลงมาร่วมกับอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันในไม่ช้าเช่นกัน เพราะทำลับๆล่อๆอยู่นานแล้ว
ถ้า..เขาสามารถบุกตีรัสเซีย ในข้อหาที่ใครต่อใครต้องหลงรัก นั่นคือ ต้องการถอนรากถอนโคนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้สิ้นไปจากโลก
(นั่นคือสิ่งที่ทุกคนต้องการไม่ใช่หรือ?) นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น..นั่นก็คือ เขาต้องการขยายอาณาเขตดินแดนไปสู่แหล่งทรัพยากร
ธรรมชาติที่สมบูรณ์ อย่าง คอเคซัส ที่เต็มไปด้วยน้ำมันดิบ แร่ธาตุอื่นๆ อีกทั้ง..การล้มล้างเผ่าพันธ์ยิวให้สิ้นซาก..
เรียกว่า กระสุนนัดเดียวได้นกมาเป็นฝูง..
และการที่กระทำสิ่งที่กล่าวมาได้นั้น นั่นหมายถึง กองทัพเยอรมัน ต้องเข้มแข็ง ดุร้าย ไม่ไว้ชีวิตศัตรูคนใด
ไม่มีศาลทหาร ไม่มีค่ายกักกันเชลยศึก ไม่มีการลำเลียงเชลยไปไว้ในที่ใดๆ..
เหล่าขุนพลถึงกับตกตะลึงอ้าปากหวอ..อ้าว..แล้วจะให้ทำอย่างไรเล่า?
ฮิตเล่อร์ตอบด้วยเสียงเยียบเย็นว่า..นั่นมันก็เรื่องของท่าน !!
เขาพูดต่อไปว่า.."ผมไม่ต้องการให้ท่านมาเข้าใจในตัวผม..เพียงแต่ขอให้ปฏิบัติตามที่ผมสั่งเท่านั้นเป็นพอ"
และฮิตเล่อร์รู้ดีว่า..ทหารในสายเลือดอัศวินเต็มตัวอย่างพวกขุนพลของเขา คงจะทำใจยากในเรื่องของการเชือดเชลย(อันไม่ใช่ธรรมเนียม)
เขาจึงได้สั่งการขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง โดยการแต่งตั้ง นาย Heinrich Himmler ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสงครามฝ่ายตะวันออก
นั่นเท่ากับว่า นายฮิมม์เล่อร์ได้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดกว่านายพลคนใด
ไกเทล..คัดค้านแบบหัวชนฝา..
แต่ฮิตเล่อร์ได้บอกว่า..ถ้าจะปราบ"ยิว" ต้องใช้ฝีมือของฮิมม์เล่อร์เท่านั้น หรือพวกท่านจะทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า หา..หา..???
ซึ่งทุกคนต่างพากันเงียบกริบ...!!




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:59:26 น.  

 
ในเดือนมีนาคม 1941 กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ ชายแดนของฮังการี, โรมาเนีย ภายใต้การนำของนายพล List
ซึ่งเขาได้เตรียมแผนการเดินทัพข้ามฝั่งของแม่น้ำดานูปไปยังบุลเกเรีย

ในยามนั้น เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวียได้เซ็นสัญญาเข้าร่วมพันธทิตรกับฝ่ายอักษะเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 25 มีนาคม
แต่สัญญาฉบับนั้นมีอายุยืนแค่วันเดียวเพราะ เกิดการกบฏขึ้นภายใน เจ้าชายพอลถูกดึงลงมาจากบัลลังค์
เจ้าชายปีเตอร์ขึ้นมานั่งแทน
และไม่สนใจในเรื่องสัญญิงสัญญาอะไรทั้งนั้น..ประกาศ ว่า ยูโกสลาเวียจะเป็นกลาง..ไม่ขึ้นกับผู้ใด

ฮิตเล่อร์ได้ยินก็เต้นผางอีกตามเคย เรียกนายพลไกเทล และ โจดล์ มาด่วน ประกาศว่า ยกทัพออกไปสยบมันเดี๋ยวนี้ บังอาจจจจจ !!!
โดยให้ ทัพใหม่ที่จะไปนี่...ตีเข้าทางด้านเหนือ และ ไปประสานกับทัพทางด้านใต้ของนายพล ลิสต์ ที่คอยอยู่ที่บุลเกเรีย..
ไกเทลก็ย้อนให้ว่า..จะบ้าเรอะ..นี่ตูกำลังจะยกทัพไปตีรัสเซียนะว้อย ไม่มีเวลาที่จะสยบอะไรให้ใครทั้งนั้น
ฮิตเล่อร์ก็สะบัดหน้าพรืดดด..บอกว่า..
"ไม่รุละ ยังไงก็ต้องไป เพราะ ทัพของนายพล ลิสต์นั่นคงไม่แข็งพอที่จะต้านได้..!!"
นั่นหมายความว่า..ยังไงๆ นายพลไกเทลก็ต้องยกทัพไป ตามคำบัญชา ส่วนฮิตเล่อร์ได้จัดขบวนรถไฟด่วนพิเศษไปตั้งอยู่ในแนวชายแดนใกล้ๆ เพื่อทำบัญชาการรบ
12 วันเท่านั้น ที่ ยูโกสลาเวียได้สยบลงได้อย่างราบคาบ.. ฮิตเล่อร์ได้ถือเป็นโอกาสส่งกองทัพเข้าไปช่วยสหายรักมุสโสลินีที่กรีซเป็นอันดับต่อไป
โดยส่งนายพล Jodl เข้าไปเป็นผู้บัญชาการรบ..เพื่อที่จะผลักดันอังกฤษให้ออกไปให้พ้นๆ(ที่เข้ามาเพราะตีมุสโสลินีแตกไปตั้งแต่ต้นเดือนมีนา)

วันที่ 23 เมษายน อังกฤษก็พ่ายทัพให้แก่เยอรมันที่ Thermopylae สูญเสียทหารหมื่นสองพันคน อีกทั้งต้องถอยหนีโดยการที่ต้องทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เยอรมันไว้ดูต่างหน้า
แบบเดียวกับการพ่ายทัพที่ดังเคิร์คเปี๊ยบเชียว !!



โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:01:11 น.  

 
เดี๋ยวจะงง..ถ้าไม่เล่าเรื่องของการบุกกรีซ
เรื่องของเรื่องคือว่า อิตาลี ภายใต้การนำของมุสโสลินีที่ต้องการแสดงแสนยานุภาพ
กะเขามั่ง เห็นว่า จะปล่อยให้ฮิตเล่อร์ดังคนเดียวก็จะกระไรอยู่ เมียงๆมองๆ ก็เห็นประเทศเพื่อนบ้านข้ามฝั่งทะเลทำตัวเป็นกลาง
ก็เลย นึกครึ้มขึ้นมา รีบพาตัวเองเข้าไปจัดการซะก่อน ที่ฮิตเล่อร์จะเข้าไปเพราะยังไงๆเสีย ฮิตเล่อร์ก็ต้องมาเอาแน่ จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
เพราะผลประโยชน์เพียบบบ..เขาจึงจัดการขู่ฟ่อๆไปยังประธานาธิบดี Metaxas ว่า..จงรีบมาเป็นเมืองขึ้นซะดีๆ
ไม่งั้น..มีเรื่อง !!

ทั่นประธานาธิบดี Metaxas ท่านก็ว่า..ฝันไปเหอะ..ชาติหน้าบ่ายๆแน่ะ !!
ท่าวน้านแหละ..ไม่ฟังอีร้าอีรมอะไรแล้ว..มุสโสลินียกทัพไปตีกรีซทันที ผลคือหน้าแหกอย่างที่เล่าๆมา ถูกทัพอังกฤษและกรีกยันกลับจนแทบตกทะเล..
จนต้องวิ่งโร่ไปฟ้องฮิตเล่อร์แทบไม่ทัน..

ฮิตเล่อร์ก็นึกในใจว่า กรูว่าแล้ววว..ว่า..อย่าสะเออะ แต่เนื่องจากเข้าฤดูหนาว ทั้งสองฝ่ายจึงได้แต่ชะลอการสู้รบ
จนกระทั่งมาในตอนต้นปี 1941 ที่ เป็นโชคร้ายของชาวกรีก ที่ประธานาธิบดี เมทาซัส ได้เสียชีวิตลง..
ทำให้ทัพอังกฤษที่คอยช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอยู่นั้น เจอกับกระแสของการเมืองที่ไม่ได้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ในการช่วยส่งกำลังบำรุงทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน..
ฮิตเล่อร์จึงถือเป็นโอกาสเข้ามาบุกในช่วงของฤดูใบไม้ผลิ 1941
เพราะทัพของนายพล ลิสต์ ก็มาจ่อคอยอยู่ที่
บุลเกเรีย แล้ว ไหนๆก็ไหนๆ..เอาซะเลย
เพื่อที่จะได้เก็บไว้เป็นทุนทรัพย์ต่อการเข้าตีรัสเซียในกาลต่อไปด้วย
ยุทธการ Blitzkrieg นั้นใช้ได้ผลเสมอ เพียงไม่กี่วันทัพอังกฤษก็แตกพ่ายจนต้องไปตั้งตัวอยู่ที่เกาะ Crete รวมทั้งพระเจ้ายอร์จที่สอง..


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:02:54 น.  

 
เยอรมัน เข้ายึดครองกรุงเอเธนส์ และตามไล่ล่าอังกฤษไปจนเกาะ Crete ในเดือนต่อมา ซึ่งก็ต้องมีการหนีกระเจิงอีก
พระเจ้ายอร์จ ที่สอง ได้ไปตั้งรัฐบาลลี้ภัยที่ประเทศอียิปต์
พอถึงเดือนมิถุนายน..บรรดามหาโจรทั้งสาม คือ เยอรมัน อิตาลี บุลเกเรีย ต่างก็แบ่งเค้กกรีซอันอย่างสนุกสนาน
โดยแบ่งออกเป็นสามส่วน ใครใกล้ตรงไหนก็เอาไป แต่เยอรมัน ขอเข้ากวาดทรัพย์..อย่างเดี๊ยวว..
กวาดเอาทั้งเงินทอง และทรัพยากรไปหมด ประชาชนก็พบแต่ความอดอยาก มิหนำซ้ำ อังกฤษ ไปคอยตั้งป้อมปิดอ่าวอยู่ภายนอก
ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนทั้งอาหารและยารักษาโรค ประชาชน ตายราวใบไม้ร่วงนับแสนๆคน..
ในปี 1942 มีการเรียกแรงงานจากพวกยิวในเขต Salonika โดยเยอรมันได้เเต่งตั้งให้นาย Max Merten เป็นผู้ดูแลโครงการ
นาย Max ได้ใช้อำนาจหน้าที่กดขี่รีดไถ ทุกอย่างจากชาวยิวแบบเหี้ยมโหดทารุณ เขารวบรวมเงินได้ร่วม 1.9 พันล้าน ดรามัส(เงินกรีก)
ไม่นับเครื่องเพชรเครื่องทอง และทรัพย์สินอื่นๆอีกมากมาย ที่เขาขนบรรทุกขึ้นเรือ แต่ความที่ไม่เฮง..เรือลำนั้นได้เกิดจมลง
ในช่วงนี้เอง ที่มีการส่งยิวจากกรีกไปยังค่ายนรกที่ ออสวิทซ์ (หลังจากที่ปลดทรัพย์จนหมดเนื้อหมดตัวแล้ว)
ส่งไปนับแสนๆคน มีเหลือรอดมาไม่ถึงสองพันคน..
หลังจากสงคราม..ในปี 1958 นาย Max Merten กะว่าเรื่องเงียบหายไปแล้วเพราะกาลเวลา และด้วยความงก จึงย้อนกลับมาหมายใจจะกู้เรือสมบัติที่จม
แต่..ถูกหนึ่งในผู้รอดตายจากค่ายนรกนั่น..จำได้ จึงแจ้งความแก่ตำรวจ เขาถูกจับ และถูกดำเนินคดีตัดสินจำคุก 25 ปี
แต่เขาถูกจองจำไว้แค่แปดเดือน และถูกส่งตัวกลับไปยังเยอรมัน ซึ่งนายนี่ได้มาเสียชีวิตในปี 2000
หน่วยประดาน้ำกรีก ได้พยายามที่จะกู้เรือลำนั้นขึ้นมา หากแต่ว่า..ค่าใช้จ่ายอาจถึง $2.4 พันล้าน
ซึ่ง..มูลค่า "เท่ากับ" ทรัพย์สินที่จมอยู่ใต้ท้องทะเลนั่นเอง





โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:03:38 น.  

 
สำหรับยูโกสลาเวีย..หลังจากที่ดื้อดึงกับเยอรมันได้ไม่นาน ก็พ่ายลงไปเช่นกัน พระเจ้าปีเตอร์ต้องเสด็จไปลี้ภัยที่อังกฤษ
แต่เนื่องจากเยอรมันอยู่ในภาวะที่รีบเร่งเพราะต้องเดินทางไปบุกรัสเซีย...ชนะแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้ตั้งรัฐบาลควบคุมดูแลอย่างเอาจริงเอาจัง

จึงเป็นสาเหตุให้เกิดขบวนการต่อต้านอย่างรุนแรง..ที่แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ หนึ่งคือ
นายพล Mihajlovic ผู้ภักดีต่อราชบัลลังค์ และ ขบวนการใฝ่คอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของ ติโต้ ซึ่งมีรัสเซียคอยสนับสนุนอยู่
การศึกครั้งนี้..นับว่าประเทศชาติเป็นเดิมพัน ฉะนั้นจะมัวมาทะเลาะกันเองอยู่ใย ฉะนั้น พระเจ้าปีเตอร์ จึงทรงมีพระบัญชาให้นายพล
มิอาโลวิค ส่งกำลังทหารในบังคับบัญชาทั้งหมดเข้าร่วมกับติโต้ เพื่อต่อต้านเยอรมัน (คอมมิวนิสต์ คอมมิวหน่อย ค่อยว่ากันทีหลัง..)
และการต่อต้านเป็นไปอย่างเข้มข้น ภายใน เดือนตุลาคม 1944 เยอรมันก็ถูกขจัดออกไปจากยูโกสลาเวียจนหมดสิ้น
(เรื่องรายละเอียด กรุณาไปหาอ่านเอาจาก นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ พระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าล้นกระหม่อมฯ)


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:04:50 น.  

 
(อันนี้ คุณเมธาวดีมาร่วมแจม)

อ่า ตอนแรกก็นึกว่าคุณวิวันดาจะเล่าสมรภูมิที่เกาะครีตให้จบก่อนนี่ครับ แต่ลืมไปว่า ตอนปี ๑๙๔๑ สุดยุ่งนี่ สถานการณ์ในโลกมันอีรุงตุงนังไปหมด เพราะถึงตอนปีนี้ เด๋วก็มีเพิร์ลฮาเบอร์ แอตแลนติก สิงคโปร์ เกาะครีต ฯลฯ เพราะทั้งอเมริกาและญี่ปุ่นก็มากระโดดร่วมวงไพบูลย์ฉิบหายนี่กันหมด ไหนๆ เราก็เล่าเรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้วนะครับ ผมว่าจบงานนี้เรามาต่อด้วย “เรียน...ท่านที่สนใจเรื่องราวของจักรพรรดิ ฮิโรฮิโต และเหล่าขุนพลซามูไรของอาณาจักรอาทิตย์อุทัย” กันไหม???? เรียกว่า พิมพ์กันจนได้โล่ห์เลย ๕๕๕๕๕๕

เอาล่ะครับ ทางยุโรปตะวันตกเขาก็รบกันทั้งทางทะเลทางบกทางอากาศแล้ว ทางฝั่งตะวันออก ใช่ว่าจะคุกรุ่นน้อยกว่าที่ไหน หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะกันที่สะพานมาร์โคโปโลในเมืองจีนแล้ว ทางญี่ปุ่นก็ได้แผ่อำนาจเข้าไปยังประเทศจีนตอนบน จนถึงแผ่นดินแมนจูเรีย ซึ่งตรงนี้เองครับ ที่ซามูไรญี่ปุ่นสะดุดตอใหญ่เข้า ณ แผ่นดินนี้เอง เป็นเวทีเกิดของวีรบุรุษรัสเซีย ผู้ที่สร้างรอยความสงสัยเอาไว้ในประวัติศาสตร์แห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตลอดกาลว่า......หากเขาผู้นี้ไม่เกิดมาแล้วไซร้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรหรือไม่ บุคคลผู้นั้นคือ.......

จอร์จี้ คอนสแตนติโนวิช ซูคอฟ
Georgi Konstantinovich Zhukov

(ถึงตรงนี้แล้ว ขอช่วยๆกันปรบมือให้หน่อยครับ เพราะคนนี้ผมรัก เท่าๆกับเฮดินเบอร์กของเยอรมันทีเดียว)

ในเหล่ายอดขุนพลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะรู้จักทหารของฝ่ายโลกเสรี โดยเฉพาะฝ่ายอเมริกา แต่คนดังบางครั้งก็อาจจะไม่ใช่วีรบุรุษที่แท้จริงไม่ หลายๆครั้ง วีรบุรุษที่แท้จริงก็ถูกเงาของการเมืองระหว่างประเทศบดบังรัศมีความดีครับ หนึ่งในนั้นคือ ท่านนายพล ซูคอฟ แห่งสหภาพโซเวียต ผู้ที่เอาหายนะไปวางไว้บนตักฮิตเลอร์นี่แหละครับ

ซูคอฟ เกิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ปี ๑๘๙๖ ซึ่งในตอนนั้นรัสเซียยังปกครองด้วยระบบพระเจ้าซาร์อยู่ เกิดมาตามแบบอุดมคติของวีรบุรุษโลกคอมมิวนิสต์ครับ คือซูคอฟเกิดมาในครอบครัวช่างทำรองเท้าอันจนแสนจนในชนบทของรัสเซีย ด้วยความจนอันสาหัสและการกดขี่ของพระเจ้าซาร์ ซูคอฟจึงต้องดิ้นรนหาทางทำมาหากินด้วยการไปเป็นเด็กฝึกงานในโรงงานขนสัตว์ในมอสโคว์ ซึ่งก็ปรากฏว่าชีวิตในช่วงนี้ของซูคอฟก็ไม่ได้ดีกว่าเดิมเท่าไหร่เลย คือ ก็ยังแสนสาหัสอย่างเดิมนั่นเอง

จนกระทั่ง โอกาสของซูคอฟก็เข้ามาถึงครับ นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ดึงซูคอฟเข้าร่วมสงคราม และในสงครามครั้งนี้เองที่ซูคอฟได้แสดงผลงานทางการสู้รบโดดเด่นจนเข้าตาผู้บังคับบัญชา และได้ถูกส่งตัวเข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบของรัสเซีย แต่กระนั้นจนกระทั่งสงครามจบ ซูคอฟก็ไม่เคยได้ดิบดีในกองทัพพระเจ้าซาร์เกินไปกว่าตำแหน่งสิบโทเลย

อย่างไรก็ตาม จังหวะชีวิตของซูคอฟก็เข้ามาถึง เมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียขึ้น ซูคอฟ เข้าร่วมในกองทัพแดงและได้พิสูจน์ถึงคุณค่าในตัวเองให้ผู้บังคับบัญชาได้เห็นถึงความกล้าหาญและความสามารถทางการบัญชาการรบ หลังจากนั้นชีวิตทางการทหารของซูคอฟก็รุ่งโรจน์ และเหนือกว่านั้น เสมือนโชคชะตาเลือก
ซูคอฟให้เป็นผู้ปกป้องแผ่นดินรัสเซีย ซูคอฟรอดพ้นจากการกวาดล้างของสตาลินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างน่าประหลาดใจ

ในปี ๑๙๓๗ ปีแห่งการกวาดล้างของสตาลิน นายทหารระดับชั้นประทวนมากมาย ถูกจับกุม จองจำ และประหารชีวิตถึง ๔๐,๐๐๐ คน ชีวิตของซูคอฟในช่วงนั้นนับว่าเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ตัวซูคอฟและภรรยา ต้องเตรียมกระเป๋าเดินทางไว้ในห้องนอนไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน หากมี“เสียงเคาะประตู” จากตำรวจลับของสตาลินในยามวิกาล

จนกระทั่งปี ๑๙๓๙ ชีวิตแห่งความหวาดระแวงก็สุดสิ้นลง เมื่อซูคอฟฝากผลงานให้สตาลินเห็นคุณค่าของชีวิตนายทหารผู้นี้ และ ส่งความหายนะทางทหารให้กับฮิโรฮิโต ที่ทำให้เหล่านักรบซามูไร ต้องจำชื่อ ซูคอฟ ไปนานเท่านาน ณ ที่ลุ่มแม่น้ำ คาลคินกอล ครับผม!




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:06:26 น.  

 
ตามธรรมเนียมการเล่าประวัติศาสตร์ หากไม่เล่าเรื่องย้อนหลัง ก็เหมือนลิเกไม่ไหว้ครู สมรภูมิคาลคินกอลนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายอาณาจักรของฮิโรฮิโต ในหนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มนั้น
เช่นของคึกฤทธิ์ นั้น ได้บอกว่าฮิโรฮิโตเป็นเพียงหุ่นเชิด
แต่.....ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ดิ้นได้ครับ ตามแต่ภววิสัยของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และอัตวิสัยของแต่ละท่านที่ศึกษาวิชานี้ เพราะที่คาลคินกอลนี่เอง ฮิโรฮิโตนี่แหละ ที่อนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นแห่งมณฑลกวางตุ้ง "รุกคืบอีกครั้ง" หลังจากการบุกโดยไม่ฟังคำสั่งของกองทัพกวางตุ้ง และโดนซูคอฟ สั่งสอนให้รู้จักพลานุภาพแห่งกองทัพแดง

ก่อนสมรภูมินี้เกิดขึ้น จากผลงานชัยชนะอันต่อเนื่องของกองทัพกวางตุ้ง ส่งผลให้เกิดคำถามขึ้นในสภาขุนนางทหารแห่งอาณาจักรญี่ปุ่นว่า.....จะตีเหนือ (รัสเซีย) หรือ รุกใต้ (เอเชียบูรพา) ตัวฮิโรฮิโตเองนั้น
โดยส่วนตัวแล้วเลือกที่จะรุกใต้ กระนั้น ด้วยความจองหองของผู้บัญชาการแห่งกองทัพกวางตุ้ง ก็กลับรุกคืบเหนือไปโดยไม่รอคำสั่งจากองค์จักรพรรดิ จนไปถึงที่ มองโกเลียใน และเมื่อนั้นเอง ฮิโรฮิโต ก็กลับใจ หันมาลองให้โอกาส รุกอีกครั้ง.......


จากคุณ : เมธาวดี - [ 19 พ.ค. 47 18:32:31 ]

ความคิดเห็นที่ 35

สมรภูมิ คาลคินกอลนี้ เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๑๙๓๙ ทหารม้าชาวมองโกเลียใน ภายใต้การบัญชาการของที่ปรึกษาทางทหารญี่ปุ่น ประมาณสองสามร้อยคน ได้ข้ามพรมแดนแบ่งเขตมองโกเลียนอก - ใน แต่ในวันเดียวนั้นเอง ทหารม้ารักษาพรมแดนท้องถิ่น ชาวมองโกเลียนอก (ในปกครองของโซเวียต) ก็สามารถตีโต้กลับไปจากพรมแดนตัวเองได้

แต่ฝ่ายรัสเซียดีใจไม่นานครับ วันต่อมาอีกวันเดียวนั้น คราวนี้ชาวมองโกเลียใน กลับมาพร้อมกับทหารม้าของกองพันทหารราบที่ ๒๓ ของกองทัพกวางตุ้งจำนวน ๓๐๐ คน ไม่กี่ชั่วโมง ด้วยอาวุธของกำลังเสริมญี่ปุ่นที่ทันสมัยกว่า ก็ได้ตีรุกชาวมองโกเลียเหนือถอยกลับไปได้ ถึงตอนนี้ พันตรีบายคอฟ (Bykov) ได้ระดมกำลังพลหน่วยทหารม้ามองโกเลียที่ ๖ และเหล่ากองทัพแดงเท่าที่หาได้ในตอนนั้นทั้งหมด มาตีโต้หวังจะรุกคืบคืน

แต่ด้วยความพร้อมเพรียงกว่าของฝ่ายญี่ปุ่น สงครามย่อยครั้งนี้จึงเหมือนหนูกับแมวตีกัน ฝ่ายรัสเซียโดนฝ่ายญี่ปุ่นตีกลับจนถอยร่นมาอยู่ที่แม่น้ำคาลคินกอล และการรบก็ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม เมื่อนั้นพันตรีบายคอฟก็ตระหนักได้ว่า สงครามแห่งมหาอำนาจของโลกได้ปะทุขึ้นเต็มตัวแล้ว

ข่าวการแตกพ่ายของกองทัพมองโกเลียส่งไปถึงมอสโคว์ สตาลินในตอนนั้นกำลังอยู่ในภาวะคับขัน ด้วยไม่ต้องการให้เกิดสงครามกับทางฝ่ายเยอรมัน ในสถานการณ์ที่กองทัพแดงกำลังร่วงโรยด้วยฝีมือการกวาดล้างของตัวเอง เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ในเวลาอันมีค่าแห่งการเตรียมตัวนี้ ทางด้านตะวันออก กลับมีสงครามที่กำลังจะเกิดกับมหาอำนาจแห่งเอเชีย ซึ่งสตาลินรู้ดีว่า หากปล่อยให้ทางญี่ปุ่นรุกคืบเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดินรัสเซียของเขา ฮิตเลอร์ย่อมเห็นถึงความอ่อนแอของกองทัพแดงและส่งทหารเข้ามาตีกระหนาบอีกด้านเป็นแน่
และเมื่อนั้น ศึกสองด้านที่ไม่มีผู้นำชาติไหนๆต้องการก็ต้องเกิดกับแผ่นดินรัสเซียอย่างแน่นอน

ทันทีที่ได้รับทราบข่าวการบุกของกองทัพญี่ปุ่น สตาลินสั่งทหารในเขตใกล้เคียงทั้งหมด เคลื่อนไปยังสมรภูมิคาลคินกอล และการบ้านต่อไปของบุรุษเหล็กผู้นี้คือ แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งการรบครั้งนี้ ผู้ที่ไม่ใช่เพียงแค่สร้างชัยชนะให้แด่กองทัพแดงเท่านั้น ยังต้องสร้างความวอดวายให้กับกองทัพศัตรูอย่างหมดจด เพื่อที่ว่า สตาลินจะได้มีหน้าไปเจรจากับเยอรมัน ว่า กองทัพแดงของตู ไม่หมูนะเฟ้ย!




จากคุณ : เมธาวดี - [ 19 พ.ค. 47 23:17:05 ]




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:08:11 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 36

อย่างที่ผมเกริ่น ตัวเลือกของบุรุษเหล็กสตาลินคือซูคอฟ ที่ในขณะนั้นมีอายุ ๔๓ ปี ซูคอฟเดินทางมายังมองโกเลียพร้อมด้วยทหารคู่ใจอีกหยิบมือ และกระดาษ ๑ แผ่นในกระเป๋า ที่แต่งตั้งซูคอฟเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองพันพิเศษที่ ๕๗ กำลังหลักของสหภาพโซเวียตที่อยู่ใกล้สมรภูมิคาลคินกอลที่สุด

ซูคอฟเดินทางถึงศูนย์บัญชาการใหญ่ที่เต็มไปด้วยความสิ้นหวัง ด้วยสตาลินก่อนสงครามนั้นถือเอาการกวาดล้างศัตรูในชาติเป็นเอก เสาโทรเลขอันเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารในยุคนั้นก็ถูกสร้างขึ้นมาอย่างน้อยนิด การติดต่อกับแนวหน้าจึงต้องพึ่งทหารม้าแบบโบราณเท่านั้น เปรียบเทียบกับฝ่ายญี่ปุ่น ที่ได้ตระเตรียมสร้างระบบเครือข่ายโทรเลขอย่างพร้อมเพรียง ทำให้ญี่ปุ่นรับรู้ข่าวสารและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเข้าร่วมวงสงครามอย่างเต็มตัวของกองทัพญี่ปุ่นแห่งมณฑลกวางตุ้ง ที่ได้ส่งทหารราบกว่า ๓๘,๐๐๐ นาย รถถัง ๑๓๕ คัน และเครื่องบินอึก ๒๒๕ ลำ เพื่อหมายถล่มกองทัพแดงของสตาลินให้สิ้นซาก.............




ต่อพรุ่งนี้ตอนบ่ายแล้วกันฮับ ง่วง ม่ายหวายยยยยยยยยยยยย



จากคุณ : เมธาวดี - [ 19 พ.ค. 47 23:45:54 ]






ความคิดเห็นที่ 37

ฮิโรฮิโต นั่นคือ จักรพรรดิ์องค์จริง เสียงจริงค่าาาา
ที่ทรงอยู่เบื้องหลังสงครามทั้งหมด
เปรียบได้ประมาณว่า ฮิตเล่อร์แห่งเอเซีย
ผู้บัญชาการที่ว่า นี่หมายถึงนายพล ฮิเดกิ โตโจ ใช่ป่ะ?
เพราะตั้งใจจะให้เขียนถึงเขาเป็นการบ้านต่อไปง่ะ..


จากคุณ : WIWANDA - [ 19 พ.ค. 47 23:46:03 ]








โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:09:05 น.  

 
ระหว่างคอยเมธาวดีนะ..จะมาเล่าถึงสถานะการณ์ในบ้านเมืองเบอร์ลินมั่งละกัน
ในช่วงของปีแห่งสงคราม คือ 1939-1940 นั่นคือภาวะขาดแคลนไปหมด นับตั้งแต่ สบู่ถูตัว ที่แจกให้คนละ
ห้าก้อน ก้อนละ 50 กรัม ต่อสี่เดือน ซึ่งสบู่ที่ว่านี่จัดว่าคุณภาพต่ำสุดๆ เข้าข่ายสบู่กรดดีๆนี่เอง
กระดาษชำระ เป็นเหมือนกระดาษสีน้ำตาลสำหรับห่อของ หนาและสากพอๆกับกระดาษทราย เรื่องนี้คือเรื่องขำ(ในยามสงคราม) กล่าวคือ ในระหว่างการศึกสงคราม อังกฤษมักโปรยใบปลิวเพื่อเดิสเครดิตกันมาเป็นระยะๆ หากแต่ เป็นกระดาษบางอย่างดี
ผู้คนในเยอรมันนั้น ต่างตั้งหน้าตั้งตาคอยใบปลิวนี่เหลือเกิ๊นน เพราะ มันใช้งานในห้องน้ำได้เหมาะมากกกก..
หนักๆเข้า..กระดาษหนังสือพิมพ์เสียงเยอรมัน(Volkischer Beobachter) ของทั่นฮิตเล่อร์เขาแหละ
ที่เอามาใช้แทนกันได้ในยามยาก...
น้ำมัน แทบไม่ต้องพูดถึง รถราประกาศขายกันแบบให้ฟรีๆ เพราะ วิ่งไม่ได้ ไม่มีน้ำมัน หลายคันต้องแปลงสภาพแบบใช้ฟืนเผาใหม้เพื่อเป็นพลังงาน
ในยามนั้น ผู้คนก็เดือดร้อนกันไปหมด ถึงกับมีการแอบนินทาเหลียวหน้าแลหลังให้ดีก่อนพูด(ที่มีศัพท์เฉพาะว่า Berliner Blick หรือ Berlin glance)
ว่า..ความแตกต่างระหว่างอินเดียและเยอรมันนี คือ..
อินเดีย..คนเพียงคนเดียว..ยอมอดอาหารเพื่อประชาชนทั้งประเทศ (หมายถึงท่านคานธี)
เยอรมันนี ประชาชนทั้งประเทศต้องมายอมอดเพื่อคนเพียงคนเดียว (คงไม่ต้องบอกว่าใครนะ)



โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:10:08 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 49

ก่อนอื่นต้องขออภัยคุณครูวิวันดาและเหล่าเพื่อนๆทุกท่าน ที่กว่าจะส่งต้นฉบับก็มาส่งเอาบัดนี้ เนื่องจากที่ทำงานข้าพเจ้านั้นมีคำสั่งด่วน ให้ไปปฏิบัติงานในช่วงเช้า ด้วยเพราะมี "บุ๊คพิเศษ" แล้วไปเตร็ดเตรกับรุ่นพี่ในที่ทำงาน นั่งดูดกาแฟดูหญิงริมถนนอีก สามชั่วโมง สิริรวมแล้วการบ้านฉบับนี้จึงส่งช้าไปแปดชั่วโมงครึ่ง

โออออออ ตาแฉะครับผม

อันต่อมาคือคำถามของคุณวิวันดา ว่าด้วยผู้บัญชาฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้คือโตโจใช่บ่ ขอเรียนกลับด้วยความสัตย์ว่าข้าพเจ้าไม่แน่ใจ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่น่าใช่ด้วยเพราะตำแหน่งใหญ่โตอย่างโตโจน่าจะเขียนนโยบายการรบที่โตเกียวโน่น เพราะว่าผบ.ใหญ่สุดของสงครามครั้งนี้คือผบ.แห่งกองทัพญี่ปุ่นประจำมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งก็มั่นใจว่าไม่ใช่โตโจแน่นอน เพราะจำได้ตอนอ่าน UNIT 731 ว่าผบ.คนนี้มีชื่อไม่ใกล้เคียงกับโตโจเลย ส่วนชื่ออะไรแน่นอนนั้นจำบ่ได้ครับ หนังสืออ้างอิงข้างกายก็ไม่ได้พูดชื่อผบ.คนนี้เลย แม้แต่ชื่อนายทหารญี่ปุ่นที่มาบัญชาการที่แนวหน้าในสงครามอันนี้ก็บอกแค่ชื่อแต่นามสกุลไม่เขียนไว้ว่า มัตสึบาร่า เท่านั้นเอง

ส่วนที่ว่าให้เขียนเรื่องโตโจในภาคนี้นั้น โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย เนื่องเพราะสงครามครั้งนี้ เราเน้นไปที่ภาคพื้นยุโรปเป็นหลัก หากจะกล่าวถึงนายพลผู้นี้แล้วขยายความเพิ่มเติมก็ไม่สะดวกใจด้วยเพราะจะกลัวไปว่าจะนอกหัวข้อกระทู้มากไปหรือไม่?

สู้เก็บเอาไว้เคี่ยวให้หนำใจทีหลังอีกภาคหนึ่งไม่ดีกว่าเหรอครับ???



จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 15:51:34 ]






ความคิดเห็นที่ 50

ก่อนจะเล่าสงครามครั้งนี้ ขอเล่าเกี่ยวกับซูคอฟนิดหนึ่ง ด้วยว่าเหตุที่ข้าพเจ้ารักนายพลผู้นี้นัก ด้วยเพราะรักในความจองหองของนักรบผู้นี้อย่างแบบจับใจ ในแผ่นดินรัสเซียยามยุคนั้น ใครต่อใครก็พากันกลัวสหายผู้นำสตาลินกันทั้งแผ่นดิน เพราะเลื่องชื่อกันทั้งรัสเซียว่า มันผู้ใดที่รู้มากไป เก่งมากไป อำนาจมากไป หรือเป็นที่ระคายตาของสหายผู้นำท่านนี้มากไป ล้วนถูกพาตัวไปที่กัลลักทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ซูคอฟนี่แหละครับ ที่กล้าหือกับสตาลินอย่างชนิดที่ว่า เคยฉีกหน้าสตาลินต่อหน้าที่ประชุมขุนนางทหารมาแล้ว

ในยามนั้น ยามที่เหล่าทหารแห่งเยอรมันรอท่าจะเหยียบมอสโคว์ที่นอกเมืองแค่ร้อยกว่าไมล์นั้น เมื่อใดที่ซูคอฟเสนอแผนการทางทหารให้สตาลิน ตัว
สตาลินด้วยทิฐิมานะก็หาว่าแผนการของซูคอฟนั้นไม่ได้ความบ้าง ไม่ได้เรื่องบ้าง จนซูคอฟทนไม่ไหว ตบโต๊ะผางลั่นเสียงกลางที่ประชุมว่า.........

"ถ้าท่านสหายผู้นำเห็นว่าความคิดของผู้บัญชากองทัพสูงสุดผู้นี้คิดได้แต่เรื่องไม่ได้ความแล้วล่ะก็.....ก็ปลดข้าพเจ้าไปเป็นพลทหารธรรมดาซะ ข้าพเจ้าจะได้ปกป้องรัฐของข้าด้วยสองมือและดาบปลายปืน!"

. . . . . . . . . . . .

กลับมาที่สงครามครั้งนี้ต่อ ตัวซูคอฟเองนั้นหันไปดูทางด้านตัวเองก็ได้แต่ถอนใจ ด้วยว่ากองทัพของตนเสียเปรียบญี่ปุ่นในชั้นต้นแบบเต็มประตู ทั้งด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารที่ขาดแคลน ซ้ำกำลังรบที่หาได้ในตอนนั้นก็มีเพียง ๑๒,๕๐๐ นาย ทัพอากาศก็หาได้มีกับเขาไม่ พอจะหวังพึ่งพิงได้ก็มีแต่รถถังที่สมรรถนะดีกว่าญี่ปุ่น ๑๘๖ คัน กับยานยนต์หุ้มเกราะอีก ๒๒๖ คัน

และในวันที่ ๒ กันยายน ทางญี่ปุ่นได้เปิดฉากการบุกอีกครั้ง ครั้งนี้ นายพลมัตสึบ่าร่าได้เลือกจุดที่อ่อนแอที่สุดของกองทัพแดง ส่งกำลังเข้าตีในส่วนริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก ซึ่งมีฝ่ายทหารม้ามองโกเลียติดอาวุธล้าสมัยประจำการอยู่นั้น แต่กระนั้น นายพลซูคอฟก็หาได้ส่งกำลังเสริมไม่ ด้วยเพราะตระหนักดีในกำลังพลของตนที่ด้อยกว่า เก็บกำลังไว้และเลือกเสียที่มั่นทางทหาร ทหารม้ามองโกลแตกยับหนีการรุกของญี่ปุ่นในวันนั้นเอง

ฝ่ายซูคอฟนั้น ให้เวลาขุนพลมัตสึบาร่ายิ้มได้ไม่นาน วันต่อมาซูคอฟได้เปิดสงครามในรูปแบบที่ตัวเองเชี่ยวชาญขึ้น นั่นคือ ส่งหน่วยยานยนต์ในกองทัพสำรองของตนเองทั้งหมดเข้าปะทะ หน่วยรถถังที่ ๑๑ แห่งกองทัพแดงเข้าตีโต้ยึดฐานที่มั่นของตนคืนจากทางเหนือ กระหนาบใต้ด้วยหน่วยจักรกลรบที่ ๗ และหน่วยยานยนต์หุ้มเกราะที่ ๒๔ เข้ารบทางตะวันตกเฉียงเหนือ

ในเวลาเช้าเจ็ดนาฬิกา ซูคอฟสั่งปืนใหญ่ทุกกระบอกเล็งไปยังที่มั่นของทหารญี่ปุ่น ทำลายกำลังใจด้วยเสียงคำรามของลูกระเบิดนับร้อยๆที่หล่นใส่ใจกลางกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาอีกสองชั่วโมง เสียงเดินเครื่องสายพานของเหล่ารถถังแห่งกองทัพแดงก็กังวานไปทั่วทั้งกองทัพ บดขยี้เหล่าทหารญี่ปุ่นที่เพิ่งย่อยยับจากห่ากระสุนปืนใหญ่ของซูคอฟ และในเวลาสิบนาฬิกาหน่วยรบยานยนต์หุ้มเกราะก็เข้าสับประยุทธ์จากทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างเต็มรูปแบบ

ตอนนี้เอง ที่มัตสึบาร่า ผบ. กองพันทหารราบที่ ๒๓ แห่งกองทัพญี่ปุ่นประจำมณฑลกวางตุ้ง รู้ซึ้งถึง อัจฉริยะภาพ ในการใช้อาวุธหนักและยานยนต์รบของ
ซูคอฟ



จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 16:48:49 ]




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:11:13 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 52

การชิงที่มั่นด้านริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของซูคอฟครั้งนี้ สร้างความฉิบหายให้กับเหล่าทหารอาทิตย์อุทัยอย่างไร้ที่ติ ไม่เพียงได้ที่มั่นคืน โคมัตสึบาร่า ต้องข้ามแม่น้ำหนีอย่างกระเซอะกระเซิง ร้ายกว่านั้น เรือข้ามฟากแม่น้ำคาลคินกอลที่โคมัตสึบาร่ามีทั้งหมดนั้น ย่อยยับไปเสียสิ้นจากลูกปืนใหญ่ของซูคอฟ ทหารนับร้อยๆจมน้ำตายระหว่างแตกหนี ส่วนทหารของตนเองอีกกว่าหมื่นคน ล้มเป็นศพคาสมรภูมินั่นเอง


อย่างไรก็ตาม ทหารญี่ปุ่นก็หาได้ละความตั้งใจจากศึกนี้ไม่ อีกหนึ่งเดือนต่อมา โคมัตสึบาร่า ทุ่มกองพันที่ ๒๓ ของตนเองทั้งหมดเข้ารบ ผนวกกับกองพันทหารราบที่ ๗ ที่มาพร้อมกับหน่วยกองพันแห่งประเทศแมนจูกัว เสริมด้วยเหล่าทหารม้า ๓ กองพล, หน่วยปืนใหญ่ ๓ กองพล รถถังใหม่อีก ๑๘๒ คัน ยานยนต์หุ้มเกราะ ๓๐๐ และเพิ่มอากาศยานรบไปเป็น ๔๕๐ ลำ


งานนี้โคมัตสึบาร่ากลับมาด้วยหมายจะล้างตาคืนเต็มที่ เพราะทหารทั้งหมดที่มาในกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้รวมแล้วถึง ๗๕,๐๐๐ นาย!

ศึกครั้งนี้ของซูคอฟหนักกว่าเดิมซะอีกครับ

แต่กระนั้น หนึ่งเดือนที่ว่างจากการรบนี้ ทางซูคอฟก็ได้ส่งสาส์นไปยังมอสโคว เรียกขอกำลังเสริม ทางสตาลิน อย่างที่กล่าวไว้ ต้องการให้กองทัพแดงของตนชนะศึกนี้แบบสมบูรณ์ เพราะมั่นใจดีว่า ตัวฮิตเลอร์ไม่มีความยำเกรงให้กับผู้อ่อนแอเป็นแน่ การรบในครั้งนี้ สตาลินจึงหมายมั่นปั้นมือว่า จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งของกองทัพแดงของตน เพื่อที่จะเอาไปเป็นน้ำหนักในการเจรจากับฮิตเลอร์

และเมื่อซูคอฟได้รับข้อความกลับจากมอสโคว์ ก็ได้ทราบว่า....
"เพื่อสหายสตาลิน ความสูญเสียเพียงใดนั้นไม่มีความสำคัญอันใดเลย"

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า.....สตาลินอนุญาตให้ซูคอฟทุ่มกำลังทางทหารได้เต็มที่เท่าที่ซูคอฟต้องการ และซูคอฟก็ได้รับกำลังเสริมจากสตาลินอย่างมากมาย


แต่กระนั้น การบ้านที่ซูคอฟหนักใจก็คือการส่งกำลังบำรุง ซึ่งทางฝ่ายญี่ปุ่นนั้น ได้เกณฑ์แรงงานทาสชาวจีนสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อจนมาถึงมองโกเลีย แต่ทางฝ่ายซูคอฟนั้นเล่า ไม่มีทางรถไฟลำเลียงเสบียง ๕๕,๐๐๐ ตันของตนได้อย่างญี่ปุ่นเลย การขนส่งกำลังบำรุงของซูคอฟจึงต้องใช้ยานยนต์ที่ตนมี ขนส่งกำลังบำรุงให้มาถึงแนวหน้าทั้งหมด ซึ่งซูคอฟต้องใช้แม้แต่ยานยนต์หุ้มเกราะของตนไปเป็นรถเสบียงในการขนส่งครั้งนี้

แต่ในที่สุด ทั้งกำลังเสริม อาวุธและเสบียง ซูคอฟก็ได้รับถึงแนวหน้าทั้งหมด และซูคอฟก็เริ่มแผนการสงครามของตัวเองต่อไป

จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 17:32:05 ]






ความคิดเห็นที่ 53

หะแม๋ หะแม๋.....
หมั่นไส้ใครบางคนแถวๆนี้
พอเราขอเลื่อนยศจาก SS-Unterscharfuhrer มาเป็น SS-Untersturmfuhrer พี่แกก็รีบดัก ไปสถาปนาตัวเองเป็น Reichsfuhrer-SS มันซะยังงั้นน่ะ ใจคอจะเป็นเจ้านายให้ได้เลยนิ เฮ้อ..... พูหญิง ยังไงก้อขออยู่สูงกว่าผู้ชายไว้ก่อนวันยังค่ำ.

EB : ไปเช็ค email ได้แล้ว ลุงตอบให้แล้วเน้อ.

จากคุณ : PRIVATE พีรนัทธ์ - [ 20 พ.ค. 47 17:58:53 A:203.170.129.83 X: ]






ความคิดเห็นที่ 54

แผนการรบครั้งนี้ของซูคอฟคือ ซูคอฟได้ "ผ่า" โครงสร้างของกองทัพใหม่ทั้งหมด แบ่งทหารออกเป็นสามหน่วย คือหน่วยเหนือ หน่วยใต้ และ หน่วยกลาง มีกองพันรถถังเป็นปีกทั้งสองข้าง เอาไว้คอยรุกเร็วช่วยเหลือการรบทั้งหมด และก่อนวันที่ ๒๐ สิงหาคม ซูคอฟก็จัดเตรียมกองทัพของตนเองอย่างสมบูรณ์ ร้ายกว่านั้น ตามแบบขุนพลผู้ชาญศึก ซูคอฟได้แต่งกลศึกหลอกลวงกองทัพของโคมัตสึบาร่าว่า....ซูคอฟจะคอยตั้งรับ ให้ทหารสื่อสารวิทยุติดต่อกันแบบหลอกๆ โดยมีเสียงแว่วของเหล่าทหารที่กำลังขุดสนามเพลาะลอดเข้าเสียงวิทยุขณะที่กำลังสื่อสาร ให้กองทัพรถถังของตนเคลื่อนที่ในเวลากลางคืน กลบเสียงด้วยเสียงระเบิดและไอควันจากลูกปืนใหญ่ที่ตนส่งไปยังกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่รถถังของตัวเองกำลังเคลื่อนทัพ และพิเศษยิ่งกว่านั้น ซูคอฟได้เขียนหนังสือคู่มือทหารรัสเซียชื่อว่า "ทหารโซเวียตต้องรู้อะไรบ้างในการปกป้องแผ่นดินตนเอง"

และหนึ่งคืนก่อนวันที่ ๒๐ สิงหาคมนั่นเอง ทหารญี่ปุ่นก็หลับสบายในกองทัพตนเอง โดยหารู้ไม่ว่า มีเงื้อมมือจากมัจจุราชของกองทัพแดง ที่ประกอบไปด้วยทหาร ๓๕ กองพัน ทหารม้า ๒๗ กองพล รถถัง ๔๙๘ คัน ๓๔๖ ยานยนต์หุ้มเกราะ และปืนใหญ่ทุกชนิดอีกกว่า ๕๐๒ กระบอกล้อมรอบรังนอนของเหล่าทหารจักรพรรดิฮิโรฮิโตอย่างไม่รู้ตัวเลย!



เมื่อเวลาตีห้าสี่สิบห้านาทีของวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ทหารญี่ปุ่นถูกปลุกในตอนเช้าตรู่ด้วยเสียงระเบิดจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของซูคอฟ ๑๕๐ ลำที่สตาลินส่งมา พร้อมกับเครื่องบินขับไล่ที่บินมาคุ้มครองอีก ๑๐๐ ลำ ไม่ทันที่เหล่าทหารอาทิตย์อุทัยจะได้ประจำการปืนต่อสู้อากาศยานนั้น ปืนใหญ่ทั้งครึ่งหนึ่งของกองทัพแดง ที่หันกระบอกปืนรอท่าไว้ตั้งแต่ข้ามคืน ก็ส่งลูกปืนใหญ่เข้าสู่รังกองทัพญี่ปุ่นอย่างพร้อมเพรียงตลอดสามชั่วโมง เมื่อถึงเวลาเกือบเก้าโมงเช้า เสียงกู่ร้องของเหล่าทหารคอมมิวนิสต์ก็ดังขึ้นพร้อมกับการบุกเข้าตะลุมบอน โดยมีรถถังนับร้อยๆคันเข้าร่วมสงคราม

สงครามครั้งตัดสินปะทุขึ้น คลื่นมนุษย์ของกองทัพแดงถาโถมเข้าใส่กองทัพพระจักรพรรดิ ทหารญี่ปุ่นสู้อย่างลนลานและขวัญหนีดีฝ่อ แต่อย่างไรก็ตามนั้น ขึ้นชื่อว่านักรบอาทิตย์อุทัย ทหารกองทัพแดงก็หาได้ขยี้กองทัพญี่ปุ่นง่ายๆไม่

เขตการสับประยุทธ์ที่นับว่า "แข็ง" ที่สุดของกองทัพแดงก็คือการเข้าจู่โจมของกองพันทหารราบที่ ๘๒ จากเทือกเขาอูราล ทหารของกองพันนี้ถูกห่ากระสุนญี่ปุ่นยิงกดไว้แบบโงหัวไม่ขึ้น นายทหารแนวหน้าวิทยุแจ้งถึงสถานการณ์วิกฤตให้ซูคอฟทราบ และด้วยนิสัยอันเด็ดขาดและไร้ปราณีของซูคอฟ ตอบไปสั้นๆว่า ให้รบต่อไป นายทหารผู้นั้นถามกลับด้วยความสงสัยถึงความเป็นไปได้ ว่า สถานการณ์แบบนี้ยังจะรักษาขบวนบุกได้อย่างนั้นหรือ?

พูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ...

"KU ปลด MUNG ออก แล้วไปเรียกหัวหน้า MUNG มาคุยกะ KU"

คราวนี้ผู้บังคับบัญชาของกองพันที่ ๘๒ มารับคำสั่งจากนายใหญ่อย่างลุกลน พร้อมกดดันให้ทหารของตนรุกคืบต่อไป แต่อึดใจไม่นาน ผู้บัญชาการกองพันวิทยุมาบอกถึงความไม่สำเร็จของตน และขอร้องให้ยกเลิกคำสั่งบุกเสีย

"Ku ปลด Mung ออก แล้วรออยู่นั่น Ku จะส่งนายทหารของ Ku ไปแทน" ซูคอฟคำราม

และอย่างทุลักทุเล กองพัน ๘๒ ภายใต้การนำของนายทหารของซูคอฟ ก็สามารถบรรลุเป้าหมาย แม้จะสูญเสียทหารของตัวเองไปอย่างมากมายก็ตาม


จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 18:27:32 ]




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:12:16 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 55

ในส่วนกองพันที่ ๒๓ ของนายพลโคมัตสึบาร่านั้น เรียกว่าอยู่ในฐานะวิกฤติที่สุด ด้วยโดนหน่วยใต้ของซูคอฟตีโอบหลังเข้ามา ที่มาพร้อมกับรถถังพ่นไฟกับหน่วยปืนกลมาบดขยี้ทหารของโคมัตสึบาร่า ทหารญี่ปุ่นโดนเปลวไฟวิ่งตามสนามเพลาะครอกตายมากมาย เท่านั้นไม่พอ ความหวังที่จะถอยก็จบสิ้นเมื่อโดนกองทัพหน่วยเหนือตีกระหนาบเข้าทางด้านหน้า ทหารของโคมัตสึบาร่าติดหนึบในกับดักตามแผนของนายพลซูคอฟเรียบร้อย

เมื่อโดนทหารฝ่ายตรงข้ามโอบล้อม ทหารญี่ปุ่นหน่วยอื่นพยายามตีวงล้อมของกองทัพแดงเพื่อเข้าช่วยเหล่าสหายร่วมรบ แต่กระนั้น นายพลซูคอฟได้ใช้ความได้เปรียบทางด้านกองทัพอากาศที่ผู้นำสตาลินทุ่มมาให้กับสงครามครั้งนี้ โปรยระเบิดกว่า ๔๗๔ เที่ยว รวมแล้วกว่า ๑๙๐ ตัน หยุดยั้งการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่นที่พยายามเข้ามาช่วยกองพันที่ ๒๓


ณ จนถึงเวลานี้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ากองทัพแดงเป็นผู้กำชัยสมรภูมิคาคินกอล แต่ตัวสตาลินก็หาได้พอใจกับผลของสงคราม ที่ยังไม่สาแก่ใจกับความวอดวายของกองทหารพระจักรพรรดิ และยิ่งกว่านั้น ตัวซูคอฟเองก็รู้ดีว่า อนาคตในอาชีพทหารตัวเองนั้น ขึ้นอยู่กับความฉิบหายของกองทัพศัตรูที่กำลังอยู่ในกำมือตัวเอง.....

และสุดท้าย ด้วยคำสั่งจากมอสโควและความทะเยอทะยานของซูคอฟ ได้สั่งให้ทหารแห่งกองทัพแดงทุ่มกำลังทั้งหมดเข้าบดขยี้ทหารญี่ปุ่นในกำมือ ผลของสงครามคาลคินกอลครั้งที่สองนี้ ทหารญี่ปุ่นล้มตายไปกว่า ๕๐,๐๐๐ คน ส่วนทหารทั้งกองพันที่ ๒๓ ของโคมัตสึบาร่านั้น รอดตายจากห่ากระสุนปืนของกองทัพแดงเพียงแค่ ๑% เท่านั้น

ความหยิ่งในเกียรติภูมินักรบของเหล่าซามูไรแห่งกองทัพญี่ปุ่นประจำมณฑลกวางตุ้งโดนซูคอฟบดขยี้เสียแหลกเหลว เพราะไม่เพียงแค่พ่ายแพ้แก่รัสเซียที่พวกตนเคยดูหมิ่นเท่านั้น ยังวอดวายเสียทหารเจนศึกไปรวมแล้วกว่า ๖๐,๐๐๐ คน เหล่านายทหารเสนาบดีที่เคยโน้มน้าวองค์จักรพรรดิฮิโรฮิโตให้ “ตีเหนือ” ก็ล้วนอัปยศแก่องค์พระจักรพรรดิของตนเองนัก นายพลโคมัตสึบาร่าต้องเรียกเกียรตินักรบของตนคืนด้วยการฮาราคีรี เท่านั้นไม่พอ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในตอนนั้นต้องขอลาออกจากตำแหน่งด้วยความอับอาย

ยังไม่สาแก่ใจซูคอฟ ด้วยกำลังใจของเหล่าทหารที่ฮึกเหิม ซูคอฟสั่งทหารของตนเองเรียงรายตามแนวชายแดนมองโกเลียนอก-ใน รอคำสั่งจากสตาลิน ให้กองทัพแดงได้มีโอกาส “รุกใต้” หมายตีกองทัพญี่ปุ่นในมองโกเลียในและแมนจูกัวให้แหลกลาญ

และในฤดูใบไม้ผลิในปี ๑๙๓๙ นั่นเอง โลกทั้งโลกก็รับทราบข่าวการเข้าร่วมภาคี สงบศึกระหว่างประเทศรัสเซียและเยอรมัน ซึ่งถึงตรงนี้ ฮิโรฮิโตอับอายชาวโลกยิ่งนัก เพราะเป็นที่รู้กันทั่วว่าเยอรมันกับญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกัน การทำสัญญาสงบศึกของสหายเยอรมันกับศัตรูรัสเซียก็เสมือนกับญี่ปุ่นของตนไม่ถูกไว้หน้า มาถึงตรงนี้ ฮิโรฮิโตตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า จะให้กำลังทหารของตนเองมุ่งไปที่ “รุกใต้” หมายครองน่านน้ำอินเดียและแปซิฟิก ยึดครองดินแดนอาณานิคมและทำลายอำนาจทางทหารของเหล่าพันธมิตรตะวันตกในเอเชียบูรพา คือ อเมริกาและอังกฤษ

แต่เหนือสิ่งอื่นใด ฮิโรฮิโต ไม่ต้องการเปิดศึกสองด้าน

อย่างเสียเกียรติ กองทัพแห่งพระจักรพรรดิญี่ปุ่นต้องขอทำสัญญาสงบศึกระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในเดือนเมษายน ๑๙๔๑

และเมื่อนั้น ทหารขององค์พระจักรพรรดิ ก็ทุ่มกำลังเข้าสู่เอเชียบูรพาอย่างเต็มที่ พร้อมกับการปลุกยักษ์หลับอเมริกาที่อ่าวฮาเบอร์ในปีเดียวนั้นเอง........




จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 23:25:12 ]






ความคิดเห็นที่ 56

.....การบ้านอันแรกจบลงแล้วอ่ะ คราวนี้ก็ขอตอบนอกรอบนะครับ.

อ่า เนี่ยอ่ะคับคุณแจน E-mail ข้าน้อย thelastlion_5@hotmail.com แต่หากเกี่ยวกับเรื่องสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผมแนะนำว่าให้ถามคุณวิวันดาดีกว่าครับ เพราะถ้าเทียบผมกับคุณวิวันดา ผมก็รู้แค่กระผีกเท่านั้นเองครับ ถามกับทางนั้นจะแจ่มแจ้งกว่าเยอะอ่ะ


และขอเรียนถึงคุณป้ากับคุณแม่ของคุณแจนด้วยนะครับ ว่าถ้าเห็นภาษาไทยที่ผมใช้ผิดตกยังไง ก็ช่วยกรุณาแนะนำผมด้วย เพราะความรู้ภาษาไทยผมมันแย่จริงๆอ่ะ อยากให้มีคนชี้แนะครับ เพราะเท่าที่อ่านดู ตัวเองใช้วรรคตอนผิดเยอะแยะเลยแฮะ


แล้วก็เรียนคุณ pheerawit ครับ

อ่า ผมอ่านตำราหลายเล่มอ่ะ ส่วนใหญ่กล่าวถึงซูคอฟแบบย่อๆทั้งนั้น เพราะไม่มีความขยันพอจะอ่านประวัติซูคอฟคนเดียวเป็นเล่มหนาๆ

ผมอ่านอันนี้ฮับ

The Great Commanders : Alexander, Caesar, Nelson, Napoleon, Grant, Zhukov ของ Phil Grabsky ครับ

แล้วก็
The Military 100 : A Ranking of the Most Influential Military Leaders of All Time โดย

LT. COL. (RET.) MICHEAL LEE LANNING

แร้วก็เล่มอื่นๆที่ผมเคยอ่านผ่านตาอ่ะคับ แต่ม่ายล่ายใช้อ้างอิงในการเขียนครั้งนี้

จากคุณ : เมธาวดี - [ 20 พ.ค. 47 23:45:09 ]




โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:13:18 น.  

 
คือเรื่องจริงแบบคร่าวๆให้พอเข้าใจน่ะค่ะ
เรื่องญี่ปุ่นบุกนี่ ถึงเวลารับรองว่ามีคนมาช่วยกันบรรเลงแบบมันส์หยดติ๋งเลยค่ะ
เพราะ ข้อมูลเพียบอยากให้เข้าใจแบบละเอียดไปเป็นตอนๆค่ะ เพราะทุกอย่างผูกพันเป็นลูกโซ่ไปหมด

อ่านที่เมธาวดีเขียนมาให้แล้วใช่ไหมคะ ว่า..
ญี่ปุ่นพยายามเข้าไปยึดครองแคว้นมองโกเลีย
เพราะต้องการทรัพยากรธรรมชาติอันสมบูรณ์ และเพื่อที่จะขยับขยายอาณาเขตของประเทศ และก็เกือบได้แล้วจริงๆ แต่มีก้างขวางคอชิ้นใหญ่ เลยคิดที่จะเบนแผนมาทางอินโด เอเซีย แต่ สหรัฐบอกว่า ลองดูดิ..รับรองว่า กองทัพเรือของสหรัฐ อังกฤษ และสัมพันธมิตรอื่นๆ จะปิดอ่าวให้สนิท ญี่ปุ่นก็คงต้องแห้งตายคาเกาะ..
นี่คือสาเหตุ ที่ญี่ปุ่นเกิดความแค้น หนอย..คิดว่าใหญ่นักหรือไง ทัพเรือของเอ็งที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์น่ะ..
ก็เคยถล่มซะ..แบบว่า เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู ใครที่คิดจะมาปิดทะเลขวางกั้นพี่ยุ่น จะต้องเจอแบบนี้..

จากคุณ : WIWANDA - [ 22 พ.ค. 47 04:24:40 ]






ความคิดเห็นที่ 69

จริงเหตุการณ์แบบเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ไม่ได้เกิดขึ้นกับอเมริกาอย่างเดียวครับ ประเทศอังกฤษทางแถบมาลายา แถวๆบ้านเรา ก็เจอแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวเหมือนกันครับ เพียงแต่สเกลจะเล็กกว่าเพิร์ล ฮาร์เบอร์ของมะกันเท่านั้นเอง ก็เลยไม่ดังเท่า ผมว่า พักเรื่องเหตุการณ์ทางเอเชียก่อนดีมั๊ยครับ เรามาร่ายทางยุโรปก่อนดีกว่า

จากคุณ : ดอนนี่ - [ 22 พ.ค. 47 04:41:52 ]






ความคิดเห็นที่ 70

ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาตอบนะคะ

ถ้าจะพักเรื่องทางเอเชียก่อน แล้วมาต่อทางด้าน ยุโรป ก้อได้นะคะ แล้วแต่ท่านผู้เขียนแต่ละท่านนะคะ

ว่างัยว่าตามกันค่ะ

นู๋ ผู้อ่านที่ดีค่ะ อิอิ ^_^

ปล. ปายดูมาแร้วนายหนุ่มนอก ขอบใจนะ

จากคุณ : นุ่มนิ่ม - [ 22 พ.ค. 47 05:21:40 A:141.157.73.181 X: ]






ความคิดเห็นที่ 71

ในเดือน พฤศจิกายน 1940 นั่น อังกฤษยังส่งเครื่องบินมาบอมบ์เบอร์ลินอยู่อย่างไม่ขาดสาย แต่เยอรมันก็ได้ต้อนรับบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่มาเยือน
ถึงถิ่น เขาคนนั้นคือ รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย นาย Vyachelav Molotov ในวันที่ 12 พ.ย. ในเนื้อความที่ต้องมาหารือกับท่านรมต. ริบเบนทรอป
และ ท่านผู้นำฮิตเล่อร์ ถึงสัญญาการจับมือกันในคราวที่บุกโปแลนด์น่ะ ว่าจะเอายังไง..
เพราะข้อสัญญาที่ให้รัสเซีย ส่งน้ำมัน พืชพันธุ์ธัญญาหาร อีกทั้งแร่ธาตุ เพื่อแลกกับอาวุธของเยอรมันนั้น รัสเซียก็ส่งให้ตามที่ต้องการ แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนนั้น
มันช่างห่างไกลความจริงเสียเหลือเกิน ตกลงจะว่าอย่างไร?
ฮิตเล่อร์พยายามเลี่ยงที่จะไม่ให้พบ และ ให้ข้อตกลงใดๆ เพราะ ในใจนั้น รู้ดีอยู่แล้วว่า จะบุกรัสเซียแน่นอน (กะเบี้ยวนั่นแหละ)
แต่ในการประชุมสามชั่วโมงผ่านไป ฮิตเล่อร์รีบสรุปใจความ โดยอ้างสาเหตุว่า รีบๆไปเถอะ เดี๋ยวก็จะโดนบุกทางอากาศอีก
แต่ในคืนนั้น ไม่มีเสียงเตือนภัยทางอากาศแต่อย่างใด..และในคืนนั้น คือ งานเลี้ยงรับรองแขกที่จัดอย่างอลังการโดยรมต.ริบเบนทรอป
ดังนั้น ในคืนวันรุ่งขึ้น คือการเลี้ยงตอบแทนโดยรัสเซียเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นในสถานทูตรัสเซีย บนถนน Wilhelmstrasse ซึ่งอยู่ห่างไปจาก
กระทรวงการต่างประเทศไปไม่เท่าใด ระหว่างที่เลี้ยงกันชื่นมื่น RAF ก็บินว่อนมาโรยระเบิดอีก
ทีนี้ยุ่งละซิเพราะ สถานทูตไม่มีหลุมหลบภัย..ทุกคนจึงแห่กันไปที่บ้านของนายริบเบนทรอป ที่อยู่ไม่ห่างจากตรงนั้นเท่าไหร่ เพื่อไปใช้หลุมหลบภัยที่นั่น
หลังจากที่ชั่วโมงวิกฤตได้ผ่านไป ริบเบนทรอปจึงสานต่อในการเจรจา โดยการพยายามชี้แนะให้รัสเซียมองเห็นคุณค่าในการที่จะเข้าไปบุกแทรกแซง
ทางด้านเอเซียบูรพา หรือ ทางดินแดนแห่งมหาสมุทรอินเดีย (หวังว่ารัสเซียคงจะหลงกล.. ไม่ทันระวังหลังว่าเยอรมันกำลังจะยกไปตีท้ายบ้าน)
ไม่ต้องมาห่วงฝ่ายตะวันตก เพราะทางนี้ เยอรมันคุมเกมส์อยู่ อย่าง..อังกฤษน่ะเร้อ..หมดฤทธิ์ไปนานแล้วววว !!
ท่านรมต. โมโลตอฟ เลยย้อนกลับให้จนหน้าหงายว่า..
"อ๋อ..เหรอ อังกฤษหมดฤทธิ์ไปแล้วเหรอ... งั้นที่เรากำลังหลบหัวหดอยู่เนี่ยยย..มันเป็นลูกระเบิดของใครกันล่ะ?"


**หมายเหตุ..ในยามนั้น รัสเซียไม่ได้เฉลียวใจแม้แต่นิดว่าเยอรมันคิดจะหักหลัง ยังคงเอากระดาษสนธิสัญญาที่เป็นเสี่ยวกันนั้นขึ้นหิ้งบูชาอยู่
เฝ้าแต่คอยว่า เมื่อไหร่เยอรมันจะปันส่วนแบ่งให้มั่งเท่านั้น..






โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:15:02 น.  

 
เรื่องเหล่าขุนพลของฮิตเล่อร์ เป็นธรรมดาที่ต้องมีการขัดใจ และ ขัดขวางกันเป็นธรรมดา เพราะ ท่านผู้นำ
ได้วางนโยบายการเมืองแบบเสี้ยมเขาวัว เพื่อสดวกต่อการได้ข้อมูลทั้งหมด ยามที่ใครต่อใครมาฟ้องกันเอง
และเรื่องการแทรกแซงนั้น จัดว่ายุ่งเหยิงไปหมด
เพราะ เอาหน่วย SS เข้ามาทำงานร่วมกับทหารอาชีพ
นายคนละคน..ของใครของมัน
นี่คือสาเหตุหนึ่ง ของความล่มสลายด้วยค่ะ..
อย่าว่าแต่ ในพรรคนาซีเลย แม้แต่ สัมพันธมิตร
ตั้งแต่ ไอเซนฮาวร์,แพตตัน,เดอ โกลล์,
มอนต์คอมเมอรี่, มีเรื่องจิกกัดกันเป็นพัลวัน เชือดเฉือนกันอย่างถึงพริกถึงขิงทีเดียวเจียว


เล่าถึงไหนแล้วล่ะ..อ้อ..ถึงอังกฤษหนีกระเจิงจากเกาะครีต ใช่ป่ะ..
แต่ไปได้เดี๋ยวเดียวแหละ ต้องรีบกลับมารักษาขุมทรัพย์ของตัวเองต่อ
อังกฤษมีความจำเป็นต้องคุมพื้นที่ในดินแดนเมติเตอเรเนี่ยน
อันเปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ และเส้นเลือดใหญ่ของการส่งกำลังบำรุง
อีกทั้งต้องปกปักรักษาแหล่งน้ำมันในอาฟริกาเหนืออีกด้วย..
อังกฤษเริ่มกลับมาประจำตามเกาะเล็กเกาะน้อย อย่าง Isthmus of Corinth และ Aegean
เพราะเยอรมันก็เริ่มลุกไล่มาทางอาฟริกาเหนือดังคาด..
กองทัพอังกฤษจึงได้พบกับศึกปันเซอร์ที่หนักหนาสาหัสอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมา
ก่อนในประวัติศาตร์ นั่นคือ ต้องมาเจอกับขุนศึกเยอรมัน ที่ชื่อว่า Erwin Rommel
อังกฤษมีความจำเป็นที่จะต้องหันมาสนใจป้องกันดินแดนส่วนอาณานิคมนี้ ด้วยการเสริมกำลังทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือ อย่างเต็มที่..

ฮิตเล่อร์ ไม่เชื่อน้ำยาของมุสโสลินี ตั้งแต่ครั้งสงครามที่กรีซ จึงพยายามเข้าช่วยเหลือให้การสนับสนุนพร้อมคำแนะนำ เช่น..
สั่งให้โละทิ้งเรือพิฆาตขนาดใหญ่เปลี่ยนให้เป็นเรือส่งลำเลียงแบบเคลื่อนที่เร็ว และสารพัดข้อมูลที่จะให้
แต่..ในที่สุด เขาก็สรุปได้ว่า
มัวแต่เหนื่อยพูด เห็นท่าจะไม่ได้การ..เล่นเองซะเลยดีกว่า..
ผบ.รอมเมล ได้ประสบความสำเร็จมีชัยเหนือ อังกฤษที่ ทริโปลี ฮิตเล่อร์ถึงกับฮึกเหิม..รีบสั่งงานลุยหน้าต่อไป..
คราวนี้ กะลุยฐานทัพอังกฤษให้มันเห็นดีเห็นชั่วกันไปเลย..ฐานที่สำคัญคือ ฐานที่มอลตา (Malta) และฐานย่อยคือ ที่เกาะครีต
ในการประชุม นายพลไกเทล และ
นายพลโจด์ล เห็นพ้องต้องกันว่า ควรที่บุกให้แตกหักที่ฐานมอลตาไปเลย

แต่นั่นหมายถึงการที่ต้องเสี่ยงกันด้วยไพ่ใบเดียว คือไม่ชนะก็จะย่อยยับกลับมา..ซึ่งหน่วยที่จะต้องรับภาระในงานนี้คือ
ลุฟท์วัฟฟ์ และ หน่วยอากาศโยธินของท่านแม่ทัพเกอริงล้วนๆ
เกอริงที่เพิ่งหน้าแตกย่อยยับกับ
แบตเติลออฟบริเตนนั้น..มีความจำเป็นต้องแก้หน้าให้กลับมาดีดังเดิมด้วยอัตราการทำงานที่เสี่ยงน้อยที่สุด
จึงเสนอให้โจมตีฐานย่อย คือเกาะครีต..
ซึ่ง ไกเทล และขุนพลอื่นๆได้มองหน้ากันพร้อมทั้งส่ายหัว อย่างอิดหนาระอาใจ..เพราะนี่มันงานเด่ะๆ..
เพราะถ้าลองเยอรมันได้ยอมเสี่ยงเข้าตีที่ฐานมอลตาจริงๆแล้ว..ถ้าชนะหมายถึงอังกฤษต้องแพ้ในสงครามฝั่งเมดิฯไปอย่างถอนรากถอนโคน..
กว่าจะตั้งตัวกลับมาได้ก็ต้องใช้เวลานานนับปี
แต่..ฐานครีต มันเป็นศูนย์ย่อยๆ พังไปก็ไม่ได้สะเทือนทรางอังกฤษอะไรมากมาย..แต่..เกอริงก็สามารถกล่อมท่านผู้นำฮิตเล่อร์
ให้ประกาศโจมตีฐานครีต จนได้...






โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:18:09 น.  

 
งานนี้เรียกได้ว่าขี่ช้างจับตั๊กแตนก็ไม่ผิดนัก..เพราะเกอริงจัดกำลังเข้าถล่มแบบเต็มพิกัด โดยให้ผู้พัน Kurt Student (หัวหน้าหน่วยอากาศโยธิน
คนที่ใช้เครื่องร่อนบุกเข้าตีเบลเยี่ยมจนสำเร็จ) ใช้กำลังรบแบบใหม่เข้าปฏิบัติการ นั่นคือหน่วยพลร่มกล้าตาย และ เพียงเก้าวัน อังกฤษก็ต้องเสียฐานไปอย่างหมดรูป และ
ถอนทหารหนีออกไปจากเกาะในวันที่ 31 พฤษภาคม
นับว่าเป็นชัยชนะอย่างสวยงามของเกอริง..แต่..หน่วยอากาศโยธิน หรือ ผู้พัน เคิร์ท กลับไม่ได้รับความดีความชอบอะไรในครั้งนี้
ฮิตเล่อร์มองเห็นการรบแบบพลร่มเป็นเรื่องเหลวไหล รังแต่จะเสียงบประมาณ นับจากวันนั้น หน่วยของผู้พันเคิร์ทไม่ได้ถูกเรียกเข้าใช้งานอีกเลย
ตลอดระยะเวลาของสงคราม
(ถ้าฮิตเล่อร์จัดเจน และ ศึกษาวิธีรบแบบนี้อย่างละเอียดละออละก้อ..ในวันบุกดีเดย์ ที่สพม.ใช้พลร่มนับแสนเห็นทีจะเจอตอ
ไม่ได้ผ่านเข้ามาง่ายๆแบบที่เห็นแน่นอน)
หลังจากที่ได้เกาะครีตแล้ว..ฮิตเล่อร์ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมายกับสงครามฝั่งนี้นัก เพราะเขาได้ใช้เวลาทั้งหมดหมกมุ่นอยู่แต่กับ
สงครามที่จะเปิดกับรัสเซียมากกว่า เพราะมาถึงตอนนี้ เยอรมันได้ล่าช้าต่อการบุกรัสเซียถึงห้าอาทิตย์ เพราะ กบฏที่ยูโกสลาเวีย
ตอนนี้ต้องมาเซ็ทใหม่ ว่า..กำหนดควรเป็นกลางเดือนมิถุนายน(1941) ช้ากว่านั้นไม่ได้แล้ว..
มิถุนายน..1941 อังกฤษที่ถอยทัพออกจากกรีซ ก็ไปรวมตัวกันอยู่ที่อียิปต์เพื่อเตรียมพร้อมรับศึกอาฟริกาเหนือประจันหน้า กับ ผบ. รอมเมลผู้เกรียงไกร
งานนี้อังกฤษเตรียมพร้อมก่อนฤดูฝนจะมาถึง รอมเมลได้ขอกำลังเสริมไปยังฮิตเล่อร์ เพื่อการเตรียมพร้อมเช่นกัน
แต่..ฮิตเล่อร์ไม่ได้สนใจในสงครามฝั่งนี้แต่อย่างใด..เพราะอย่างที่บอกมาว่าเขาสนใจแต่เรื่องการบุกและการที่จะมีชัยชนะเหนือรัสเซียเท่านั้น..
อันเป็นที่รู้กันว่า...ฮิตเล่อร์โดยปรกตินั้น ชอบที่จะใช้เวลาอาหารกลางวันเป็นการประชุมในเหล่าบรรดาขุนพลคู่ใจ ที่มาร่วมโต๊ะคราวละ
สามสิบสี่สิบนายขึ้นไปจนถึงหกสิบก็ยังเคย..และ อาหารมื้อนี้มักยาวไปจนถึงบ่ายสี่โมงแทบทุกวัน
แต่ตั้งแต่ เมษาจนถึงพฤษภา ทหารเหล่านั้น แทบไม่มีใครมีโอกาสได้เจอะเจอท่านผู้นำบนโต๊ะอีกเลย..
คนเดียวที่อยู่กับฮิตเล่อร์ตลอดเวลานั่นก็คือ Rudolf Hess ทส.คนสนิท ซึ่งภายหลังจากที่นายเฮสส์ได้บินเดี่ยวไปอังกฤษนั่น
จึงทำให้เชื่อได้ยากว่า..เขาทำลงไปด้วยตัวเอง โดยไม่มีใครสั่ง !!
ฮิตเล่อร์จึงต้องออกข่าวแก้เกี้ยวทั่วโลกว่า..เพราะ นายเฮสส์มีอาการทางประสาทพูดจาเลอะเทอะ ด้วยเกรงว่า อาจถูกอังกฤษสอบสวน
จนต้องคายเรื่องแผนบุกรัสเซียออกมา !!





โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:19:00 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 106

วันนี้เข้าเนตมา แว้บแรกเปิดไปที่ฮอตเมลล์ของตัวเอง เจอจดหมายฉบับหนึ่ง จ่าหน้ามาว่า My dear, เท่านั้นแหละครับ ออกอาการหน้าซีด ปากสั่น ไม่ต้องไปเปิดเมลล์ก็รู้ว่าจะมีเนื้อความอะไร ถึงต้องรีบมานั่งพิมพ์รายงานความคืบหน้า ณ บัดนี้

ก่อนอื่นต้องขอเรียนคุณพี่วิวันดาที่เคารพ......ที่ข้าเจ้าหายไปนั้น มีสาเหตุอยู่ นั่นคือ อู้ ครับ แหะๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขออภัยๆๆๆ เพราะความไร้ความรับผิดชอบของข้าพเจ้าแท้ๆ ทำให้เรื่องช้าไปนานนัก ก็ขอเริ่มซะตรงนี้เลยนะกรั๊บ

อันว่าเรื่องกล่อง Enigma นั้น หลายๆท่านที่พอทราบเรื่องราวตรงนี้ ก็คงสับสนว่า นักประวัติศาสตร์บางท่านก็บอกว่าเรื่องนี้มะค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่บางท่าน ก็บอกว่าสำคัญนักสำคัญหนา มิเช่นนั้นแล้ว ยุทธนาวีแห่งทะเลแอตแลนติก ก็หาจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรไม่

ไม่รู้จะเชื่อใครดีครับ อ่านประวัติศาสตร์ก็แบบนี้แหละคุ้น มันตีความไปได้หลายๆแบบ

เอาเป็นว่า มาดูเรื่องราวนี้ก่อนดีกว่าครับ

เรื่องกล่องอีนิกม่านี้ เรื่องทั้งเรื่องมันเริ่มเมื่อปี ๑๙๔๑ เมื่ออังกฤษกับเยอรมันเข้าต่อสู้ในสงครามแบบเต็มรูปแบบ ทางเยอรมัน อย่างที่เคยกล่าวไว้ ต้องการที่จะปิดล้อมอังกฤษทั้งประเทศ เพื่อที่จะให้ประเทศอังกฤษยอมสยบแทบเท้าท่านฟูห์เร่อในที่สุด หมู่เรือสินค้าที่นำทั้งยุทธปัจจัยและอาหารมาหล่อเลี้ยงอังกฤษในยามสงครามเป็นเป้าหมายหลักของเหล่าเรืออู ที่จะปิดชาวอังกฤษทั้งประเทศให้อดตาย!

เชอร์ชิลล์ซึ่งในตอนนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ดี รายงานจากกองทัพเรือชี้ให้เห็นว่า พิษสงของเรืออูที่จมเรือสินค้าอังกฤษเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างน่ากลัว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี ๑๙๔๑ เหล่าเรือเยอรมันจมเรีอสินค้าไป ๑๒๖,๐๐๐ ตัน พอถึงเดือนเมษายนในปีเดียวกันนั้น ปริมาณเรือสินค้าที่ถูกจมในเดือนเดียวเพิ่มไปเป็น ๒๔๙,๐๐๐ ตัน ซึ่งอังกฤษสูญเสียเรือสินค้าไปมากกว่ากำลังการผลิตของตัวเองด้วยซ้ำ

กองทัพเรืออังกฤษแม้จะเป็นเจ้าทะเลแอตแลนติก แม้จะสามารถจมเรือรบเยอรมันได้หลายครั้ง แต่ปัญหาก็คือเหล่าเรืออูที่เยอรมันส่งไปจมเรือสินค้าอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นศัตรูใต้น้ำที่อังกฤษติดตามไม่ได้เหมือนกับเหล่าเรือรบเยอรมันที่อังกฤษเคยจม ดังนั้นทางเดียวที่จะติดตามเหล่าเรืออูเยอรมันได้ คือการถอดรหัสที่กองทัพเรือเยอรมันใช้ในการสื่อสาร ที่เหล่านักถอดรหัสอังกฤษไม่เคยถอดได้นับตั้งแต่เริ่มสงครามเลย

รหัสลับที่กองทัพเยอรมันใช้ในการสื่อสารนี้ นับว่า เป็นสุดยอดเทคโนโลยีรหัสลับในสมัยนั้น เนื่องด้วยการสื่อสารเหล่านี้ข้อมูลถูกแปลงเป็นรหัสด้วยกล่องอีนิกม่า ตัวอักษรแต่ละตัวที่ส่งไป ถูกแปลงเป็นรหัสด้วยกลไกอันซับซ้อนของกล่องอีนิกม่า ซ้ำร้ายกว่านั้น รหัสของเครื่องอีนิกม่าถูกเปลี่ยนไปวันต่อวัน เพื่อป้องกันการถอดรหัสของฝ่ายศัตรู

ด้วยความพยายามมานานนับปี ยิ่งทุ่มกำลังเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ แม้แต่แชมป์หมากรุก ในการทุ่มกำลังทางปัญญาเพื่อถอดรหัสกล่องอีนิกม่านี้ กองทัพอังกฤษก็ตระหนักได้ว่า......เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่ ไม่มีกล่องอีนิกม่าและเอกสารรหัสไว้ในครอบครอง





จากคุณ : เมธาวดี - [ 27 พ.ค. 47 18:06:12 ]


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:20:38 น.  

 
ความคิดเห็นที่ 108

ปฏิบัติการชิงกล่องอีนิกม่านี้ ทางอังกฤษมีความพยายามมาตลอด แม้กระทั่งยอมลงทุนส่งสายลับเสี่ยงตายปลอมเป็นทหารเยอรมัน แต่เหมือนกับสวรรค์ไม่เป็นใจ แผนการที่สร้างจากมันสมองของเอียน เฟลมมิ่ง ผู้สร้างเจมส์ บอนด์ ๐๐๗ ก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย

จนกระทั่งในเดือนมีนาคม ๑๙๓๗ กองทัพเรือหน่วย Home Fleet ที่ Scapa Flow ส่งเรือพิฆาต ๕ ลำ เพื่อไปทำลายโรงงานผลิตน้ำมันที่ชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ ในครอบครองของเยอรมัน นำโดยนายพล George Warmington

ทางกองทัพหน่วย Home Fleet ที่ส่งกองทัพเรือไปครั้งนี้ ไม่ได้มีความหวังเลยว่า จะได้กล่องเจ้าปัญหานี้มาไว้ในครอบครอง เพราะครั้งใดที่ทหารเรือเยอรมันรู้ว่าจะต้องสูญเสียเรือ ก็ล้วนเผาทำลายกล่องอีนิกม่าพร้อมทั้งเอกสารรหัสก่อนที่ศัตรูจะพบทั้งสิ้น

แต่บอกแล้วไงครับ ว่าตอนนี้ อังกฤษน่ะดวงดี(อีกแล้ว)

ทันทีที่เรือรบทั้งห้าลำของอังกฤษไปถึงชายฝั่งฟยอร์ดของนอร์เวย์ กว่าทางเยอรมันจะรู้ถึงการมาเยือนของกองเรืออังกฤษ ก็สายเกินกว่าแก้ เพราะทางเยอรมัน ทิ้งเรือลำเล็กๆ ที่ดัดแปลงจากเรือหากุ้ง ติดปืนใหญ่ขนาดจิ๋วไว้ไม่กี่กระบอก กับปืนกลหนักอีกหนึ่งอัน ทำการบริเวณนั้นพอดี และเรือลำนี้นี่แหละครับ ที่ติดตั้งกล่องอีนิกม่าไว้

ฝ่ายเยอรมันครั้นส่งสัญญาณเรียกหน่วยลุฟวัฟท์มาช่วย ก็กระชั้นชิดเกินแก้แล้ว

แม้ว่าร้อยตรี Hans Kapfinger จะหันเรือเข้าสู้อย่างชาติอัศวินเยอรมัน สาดกระสุนปืนไปยังเรือรบอังกฤษอย่างกล้าหาญ เรือรบห้าลำกับเรือตรวจการที่ดัดแปลงมาจากเรือหากุ้งลำเดียวจะเหลืออะไรครับ ทันที่ทัพเรืออังกฤษส่งลูกปืนไปทักทายเรือ Krebs เพียงสามนัด เรือทั้งลำก็ลุกเป็นไฟ ลูกเรือ Krebs ก็กระโดดลงน้ำกันเป็นแถว

เรือรบทั้งห้าของอังกฤษเมื่อเห็นว่าเรือเยอรมันไร้ทางสู้แล้ว ก็บังคับเรือเข้าหาทหารเยอรมันที่ลอยตุ้บป่องอยู่กลางทะเล หวังจะหยิบเอาเชลยสงครามไปเป็นของฝากที่บ้านอย่างเคย

นายพล Warmington ผู้การใหญ่ของงานนี้ พอเห็นเรือ Krebs ที่จะจมแหล่มิจมแหล่ ก็เอะใจขึ้นมาว่า เอ๊ะ ไหนลองเข้าไปดูข้างในเรือหน่อยซิ เผื่อฟลุ้กเจอของดีๆ

ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าโอกาสที่จะเจอ “ของลับ” เยอรมันในเรือเล็กๆแบบนี้ โอกาสมีน้อยแสนน้อยยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่ แถมทางทหารเยอรมันก็คงไม่โง่พอที่จะทิ้ง “ของลับ” ให้ทางชาติศัตรูเอาไปปู้ยี่ปู้ยำ.....

แต่.......พระเจ้าช่วยอังกฤษอีกครั้ง ทั้งๆที่ไฟลุกโชนเต็มลำเรือ นายพล Warmington ก็กล้าหาญกระโดดเข้าเรือ Krebs เดินค้นหาของโน่น ของนี่ เจอเอกสารวางไว้ก็เก็บๆมา เผื่อฟลุ้กว่าจะเป็นของสำคัญ

แต่......(อีกแระ) บังเอิ๊ญ บังเอิญ คุณวอร์มิงตันของเราเหลือบไปเห็นลิ้นชักเอกสารเรียงรายเป็นชั้นๆ มือก็ดึงๆ ลิ้นชักออกมา และก็เจอแจ๊กพ็อต มีอยู่ลิ้นชักนึง ดึงออกมาไม่ได้ มันล็อกอยู่ครับ (ไม่บอกตรงนี้ก็ได้มั้ง)

อย่างที่เห็นในหนัง นายพลวอร์มิงตันเอาปืนพกยิงไปที่แม่กุญแจลิ้นชัก สิ้นเสียงลูกปืน ดึงลิ้นชักออกมา พบกล่องไม้ข้างในบรรจุลูกเหล็กทรงกระบอกเอาไว้สองอัน มีรอยบากรอบๆคล้านฟันเฟืองและตัวอักษรโรมันอยู่ตลอดลูกเหล็กอันนี้ ตอนนี้นัยน์ตาของนายวอร์มิงตันคงโตด้วยความตื่นใจ ที่ได้เห็น “ของลับเยอรมัน” เอาครั้งแรกกะจะตาก็วันนี้ แม้ว่านายพลวอร์มิงตันไม่รู้มาก่อนเลยว่าทางเยอรมันมีเครื่องอีนิกม่า เพราะทางรัฐบาลอังกฤษในยุคนั้นเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับสุดยอด ด้วยว่าเกรงทางฝ่ายเยอรมันจะรู้ว่าทางอังกฤษพยายามจะแกะรหัสอีนิกม่าของตน

แต่ด้วยสามัญสำนึก นานพลวอร์มิงตันก็รู้.....ว่าเจ้าสองลูกนี้ มันต้องเป็นเครื่องแปรรหัสเยอรมันแหงมๆ

ใช่ครับ สิ่งที่นายพลวอร์มิงตันพบมันก็คือ Rotor ส่วนประกอบสำคัญของเครื่อง Enigma ที่ทำหน้าที่แปลงอักษรภาษาเยอรมันไปเป็นรหัสลับอีนิกม่า ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์อังกฤษแก้กันไม่ออกซักทีนั่นเอง!

และเหล่าลูกเหล็กสำคัญอันนี้ก็ถูกส่งไปยัง Bletchy Park ที่ประเทศอังกฤษ อันเป็นสำนักงานใหญ่ที่ทำหน้าที่แกะรหัสของกองทัพเยอรมัน


แต่ครับแต่......การที่กองทัพอังกฤษได้เจ้า Rotor นี้มา (ศัพท์บัญญัติภาษาไทยว่าไงอ่า....เค้าม่ายยู้) ก็หาได้แปรรหัสอีนิกม่าได้ทันทีไม่ อันที่จริงเรื่องการแปลงรหัสอีนิกม่านี้ ไม่ได้แปลงรหัสได้ทันทีทันใด เพราะการแปลงรหัสอีนิกม่านี้ ต้องอาศัยเอกสารรหัสมาช่วยกำกับ ซึ่งต่อมาก็มีการยึดเอกสารรหัสเหล่านี้มาได้เป็นระยะๆ จากทั้งเรืออู และเรือตรวจอากาศเยอรมัน ที่ทั้งทางอังกฤษและอเมริกาต่างก็ช่วยกันเติมจิ๊กซอว์อีนิกม่านี้มาได้ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถแกะรอยเหล่าเรืออูได้ แม้ว่าทางเยอรมันจะล่วงรู้ถึงความสามารถแกะรหัสอีนิกม่าของทางฝ่ายอังกฤษ และเพิ่มความซับซ้อนของเครื่องอีนิกม่า ก็หาได้พ้นความพยายามของเหล่านักแปรรหัสไม่ จวบจนกระทั่ง วันที่เหล่าสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ปฎิบัติการแกะรหัสอีนิกม่าภายใต้ชื่อรหัส ULTRA ก็สิ้นสุดหน้าที่ลง

ท้ายที่สุดแล้ว สงครามในทะเลแอตแลนติกก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร


จบแล้วเหรอ.......ทั่นผู้อ่านทั้งหลายคงบ่นกันเป็นทิวแถวเพราะไม่เห็นตื่นเต้นเหมือนที่ดูในหนังเล้ยยยย แถมยังมีนักประวัติศาสตร์บางทั่นบอกว่า เรื่องการชิงกล่องและเอกสารรหัสอีนิกม่านี้ไม่ค่อยสำคัญต่อสงครามเท่าไหร่ ก็ตรงนี้ข้าพเจ้าขอให้ความเห็นนะครับ

อันที่จริงยุทธนาวีแห่งแอตแลนติกนี้ ถึงทางอังกฤษและอเมริกาแกะรหัสอีนิกม่าไม่ได้ ข้าพเจ้าก็เห็นว่าทางสัมพันธมิตรก็เอาชนะเยอรมันได้อยู่แล้ว เพราะด้วยทรัพยากรของทางฝ่ายพันธมิตรที่เหนือกว่า ที่รองรับกำลังการผลิตเรือสินค้าและยุทธปัจจัย และความพิการในความสามารถบริหารประเทศในยามสงครามของฮิตเลอร์เอง

สำคัญที่สุด หากสงครามยืดเยื้อไปจนถึงหน้าร้อนปี ๑๙๔๕ เยอรมันก็ล่มจมด้วยระเบิดปรมาณูของอเมริกาอยู่ดี

แต่ครับ......ปฏิบัติการถอดรหัสอีนิกม่านี้ ช่วยชีวิตนับล้านๆ ช่วยให้พ่อในแนวหน้าได้กลับมาพบลูกเมียที่บ้านได้เร็วขึ้นเป็นปี ช่วยให้เหล่าชาวอังกฤษมีอาหารพออยู่กิน ไม่ประสบภัยพิบัติเหมือนอย่างชาวรัสเซียในเลนินกราด (คนรัสเซียทุกข์เข็ญยังไง อีกไม่นานก็จะทราบเมื่อสงครามที่เลนินกราดครับ) หากไร้ซึ่งความพยายามในการถอดรหัสแล้ว เรือสินค้านับล้านตันต้องถูกเหล่าเรืออูจมลงในแอตแลนติก นั่นก็หมายความว่า ปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษต้องเป็นอัมพาตไปด้วยขาดยุทธปัจจัย และนั่นหมายความว่า การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรอาจต้องถูกเลื่อนไปเป็นเดือนหรือปี

ปฏิบัติการชิงกล่องและการแปลงรหัสอีนิกม่า แม้ไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดในสงครามแห่งทะเลแอตแลนติก แต่ความพยายามของเหล่าทหารหาญและนักแปลงรหัส ก็ได้ช่วยชีวิตนับล้านๆครับกระผม


จากคุณ : l (เมธาวดี) - [ 28 พ.ค. 47 00:09:16 ]






โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:21:27 น.  

 
เอ้า เข้ามาดูอีกทีรู้สึกว่าตัวเองพิมพ์น้อยไปหน่อยแฮะ ไหนๆก็ไหนๆ มาเพิ่มให้อีกอย่าง ก็คือตัวเอกของยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก ผู้สร้างฝูงเรืออูแห่งทัพน้ำเยอรมัน ทั่นผู้นี้คือ จอมพลเรือ Karl Donitz ขอรับ

คาร์ล โดนิทซ์ผู้นี้ สร้างกองเรืออูแห่งกองทัพเรือเยอรมัน ท่านผู้อ่านที่เคารพทั้งหลาย หากติดตามเรื่องราวมาตั้งแต่ Battle of Britain คงจำได้ว่า ปัญหาที่ฮิตเลอร์กลุ้มใจมาตลอด คือกองทัพเยอรมันขาดแคลนแสนยานุภาพของกองทัพเรือ เมื่อเริ่มต้นสงครามนั้น ทัพเรือเยอรมันแทบจะเรียกได้ว่า มีเพียงแค่หยิบมือเดียว ทั้งเรือรบ เรือพิฆาต และเรือดำน้ำ แถมเมื่อสงครามแห่งอังกฤษเกิดขึ้นเต็มรูปแบบ เรือรบเยอรมันที่สู้อุตส่าห์สร้างมาไม่กี่ปี ยังถูกเหล่าทหารเรืออังกฤษเล่นงานจนล่มจมตกก้นทะเลไป

แต่โดนิตซ์นี่แหละครับ ผู้สร้างกองเรืออู จากกองทัพเรือเยอรมันที่พิกลพิการ มาเป็นฝูงหมาป่าที่ขยายแสนยานุภาพไปจนชายฝั่งอเมริกา

โดนิตซ์เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ปี ๑๘๙๑ เมื่อยามวัยเด็ก โดนิตซ์ก็ใฝ่ฝันที่จะใส่เครื่องแบบทหารเยอรมันตามประสาเด็กน้อยทั่วไป และพออายุ ๑๙ ปี ก็เข้าเรียนในโรงเรียนนายเรือเยอรมัน จวบจนกระทั่งปี ๑๙๑๓ โดนิตซ์ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ในเรืออู-๖๘ ซึ่งในระหว่างปฏิบัติหน้าที่นี้เอง เรืออูของโดนิตซ์ก็พลาดท่าอังกฤษ ระหว่างปฏิบัติการทำลายเรือสินค้าในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ถูกจับเป็นเชลยสงครามจวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติ

เหมือนกับโชคชะตาเล่นตลก เพราะการถูกอังกฤษจับโดนิตซ์เป็นเชลยสงครามทำให้โดนิตซ์มีโอกาสรอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ เพื่อกลับมาทำลายเรือสินค้าของอังกฤษในสงครามโลกครั้งต่อมา

จวบจนกระทั่งมาถึงยุคการเสวยอำนาจของฮิตเลอร์ ที่ต้องการขยายแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมัน และกองทัพเรือเยอรมันก็อยู่ภายใต้แผนการการขยายกำลังทางทหารนี้ด้วย ภายใต้ชื่อแผน Z (Z-Plan) โดนิตซ์ก็ได้รับการมอบหมายจากจอมพลเรือ Erich Reader ให้ดำเนินการสร้างกองทัพเรืออูแห่งกองทัพเยอรมันในปี ๑๙๓๕

ตรงนี้แหละครับ ที่โดนิตซ์ แสดงอัจฉริยภาพของตัวเองให้ทั้งโลกเห็น ถึงความสามารถในการจัดการและการสร้างสรรค์ทัพเรือเยอรมัน เพราะตอนที่โดนิตซ์ได้รับมอบหมายหน้าที่นี้นั้น เยอรมันไม่มีเรืออูแม้แต่ลำเดียว ไม่มีแม้แต่กลาสีเรือ และ กองทัพเรือดำน้ำอะไรเลย จากผลของสนธิสัญญาแวร์ซายน์

เมื่อถึงตอนนี้ หน้าที่ที่โดนิตซ์ได้รับนับว่าแสนสาหัสมาก เพราะโดนิตซ์ต้องสร้างฝูงเรืออูจากศูนย์ สิ่งที่โดนิตซ์มีคือประสบการณ์ของตนเองในเรืออูสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดนิตซ์ต้องสร้างตำราพิชัยสงครามแห่งการรบใต้น้ำขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับทัพเรืออูอันใหม่ของตนเอง รวมทั้งคู่มือกลาสีเรือให้กับกองทัพเรืออูอีกด้วย

ซึ่งตำราพิชัยสงครามใต้น้ำที่โดนิตซ์เขียนใหม่ขึ้นนี้ นับว่าเป็นการปฏิวัติแนวคิดการรบในสมัยนั้นพอๆกับ Blitzkierg ของทัพบกและอากาศของเยอรมันทีเดียว เพราะโดนิตซ์นี่แหละครับ ที่เสนอแนวคิดให้ทัพเรืออูมีหน้าที่หลักคือโจมตีเรือสินค้าอย่างเดียว และสร้างสรรค์ขบวนพยุหะใต้น้ำของเรืออู ที่เรียกกันว่า "ฝูงหมาป่า (Wolf Packs)"

ซึ่งภายหลัง โลกทั้งโลกก็ได้เห็นอัจฉริยภาพของโดนิตซ์ ว่าฝูงหมาป่าของเขา สร้างความฉิบหายวอดวายให้กับกองเรือสินค้าของอังกฤษและอเมริกายังไง

ปัญหาของโดนิตซ์ไม่ใช่แค่ตนเองต้องสร้างทัพเรืออูจากศูนย์เท่านั้น โดนิตซ์ยังเจอปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรแร่โลหะของเยอรมัน ที่ทำให้โดนิตซ์สร้างเรืออูของตัวเองได้อย่างจำกัดจำเขี่ย ซ้ำยังต้องแบ่งไปให้ทัพเรือสร้างเรือรบแบบต่างๆอีก ซึ่งพอถึงเมื่อตอนเริ่มสงคราม เดือนกันยายนปี ๑๙๓๙ ปรากฏว่าโดนิตซ์สร้างเรืออูได้แค่ ๕๖ ลำเท่านั้น ห่างจากเป้าหมายในใจโดนิตซ์ราวฟ้ากับดิน เพราะโดนิตซ์หมายมั่นปั้นมือว่า จะสร้างฝูงเรืออูให้ได้สามร้อยลำนั่นเอง

ถอนหายใจเป็นครั้งที่ร้อย....ฝูงเรืออูอันกระจ้อยร้อยห้าสิบกว่าลำของตนเองนั้น เพียงยี่สิบกว่าลำเท่านั้น ที่พร้อมออกรบในทะเลแอตแลนติก

ในตอนนั้นเอง ฮิตเลอร์กำลังผยองพองขน ด้วยพลังอำนาจของทัพบกและทัพอากาศของตนเอง ทั้งยังมีเกอริ่ง ที่มายืดอกอวบๆ โม้กับฮิตเล่อร์ไปว่า...ลุฟท์วัฟท์(ทัพอากาศ) ของตนเอง จัดการกับอังกฤษได้อยู่หมัด

ตอนนี้ทัพเรืออูของโดนิตซ์ที่เหมือนลูกเมียน้อยอยู่แล้ว กลายเป็นเจ้าตูบหัวเน่าไปอีกในสายตาของฮิตเลอร์ เพราะฮิตเล่อร์ก็หลงลมเกอริ่ง ไม่ได้มาขยายกองทัพเรืออูตามแบบที่โดนิตซ์แสนอแนวความคิดไว้แต่อย่างใด

จนกระทั่งภายหลัง ปี๑๙๔๐ เดือนสิงหาคม เมื่อสงครามแห่งอังกฤษผ่านไปสองเดือน ก็ไม่มีทีท่าว่าอังกฤษจะสยบง่ายๆเหมือนอย่างที่เกอริ่งขี้โม้บอก เมื่อนั้น ฮิตเล่อร์ก็เริ่มมองไปถึงการปิดล้อมเกาะอังกฤษ ที่ต้องใช้ฝูงหมาป่าของโดนิตซ์ในการไล่ล่าเรือสินค้า

ตอนนี้เอง ที่เรืออูเริ่มถอยออกจากอู่เยอรมันเรื่อยๆ และภายในไม่กี่เดือน โดนิตซ์ก็รังสรรค์ผลงานสร้างความวอดวายให้กับอังกฤษ โดยฝูงหมาป่าของโดนิตซ์นั้น ขย้ำเอาเรือสินค้าอังกฤษจมถึง ๒๘๕ ลำ รวมระวางขับน้ำแล้ว เชอร์ชิลล์นอนด่ายหน้าผากด้วยว่าอังกฤษของตนเองสูญเสียเรือสินค้าไปรวมๆล้านกว่าตันภายในระยะเวลา ๔ เดือนเท่านั้นเอง

พอปลายปี ๑๙๔๑ รูสต์เวลล์ตบบ่าเชอร์ชิลล์บอกว่า ไม่ต้องกลั๊ว พวกอั๊วเข้าร่วมสงครามเรียบร้อยแล้ว ทัพเรือของอั๊วจาส่งเรือรบคุ้มกันไปให้ ดูซิพวกไส้กรอกเยอรมันจะมีปัญญาได้แค่ไหนเชียว

เพียงแค่ ๖ เดือนแรกของปี ๑๙๔๒ ฝูงหมาป่าเรืออูของโดนิตซ์ ก็สั่งสอนให้ทัพน้ำมะกันได้รู้พิษสงว่า เฉพาะเรือสินค้าของอเมริกันที่ส่งไปช่วยอังกฤษนั้น โดนเหล่าเรืออูสอยลงก้นทะเลไป ๕๘๕ ลำ และที่น่าอายกว่านั้น....เรือสินค้าอเมริกันมากมายถูกเรืออูจมเอานอกชายฝั่งอเมริกันแค่ ๒-๓ ไมล์ก็มี


นี่แหละครับ โดนิตซ์ ผู้เป็นยอดนักวิชาการทางทหาร นักบริหารจัดการ และนักปฏิบัติในคนๆเดียวกัน ผู้ที่สรรค์สร้างฝูงหมาป่า เรืออู ให้ขยายแสนยานุภาพไปทั่วแอตแลนติกเหนือ จวบจนชายฝั่งอเมริกา ทั้งๆที่โดนิตซ์เริ่มสร้างกองทัพเรืออูจากความว่างเปล่า แต่ยอดนักการทหารผู้นี้กลับสามารถสร้างกองทัพเรืออูให้เกรียงไกรได้ภายในไม่กี่ปี

ประวัติชีวิตการเดินทางของทหารเรือคนนี้ยังอีกไกลในสงครามโลกครั้งที่สองครับ แต่ผมคงไม่เล่าต่อ อยากให้ท่านผู้อ่านได้ดูละครชีวิตของนายพลเรือผู้นี้พร้อมๆกับเรื่องราวของเหล่าขุนพลอาณาจักรไรค์ครับผม


จากคุณ : เมธาวดี - [ 28 พ.ค. 47 23:32:37 ]


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:22:29 น.  

 
นี่ละค่ะ ที่เป็นบุญของฉัน ที่มีคุณเมธาวดีมาช่วยแบ่งเบาภาระ ตามประสาคนคอเดียวกัน..
ไม่งั้นกว่าจะจบยี่สิบห้าตอน คงต้องใช้เวลาเป็นปี..


โดย: WIWANDA วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:24:45 น.  

 
เย้ อ่านจบแระ เหมือนกะอ่านไบเบิ้ลเลย ยาวเจง พิมพ์กานได้งาย วันๆมะต้องทามรายกานเลย แต่ดีแระนู๋จะได้มีอารัยหัยมานกระตุ้นสมองนู๋หน่อย
ขอบคุงค๊า


โดย: never die IP: 203.151.140.111 วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:12:33:34 น.  

 
ตามมาจองที่ก่อนเมื่อกี้เห็นหัวทู้บอกว่าเปิดดู999 เอาว่าเป็นฤกษ์ดี...ทั้งนี้ต้องขอบคุณคนอ.เพราะอิฉันมะใช่คนแถวนี้...แต่ตามอ่านคุณเธอแล้วเลยหลงไหลไปอ่าน...คุณเล็ก...เลยติดป้าวิงอมแงมค่ะ...เห็นที่ไหนเราจะตามไปอ่าน...แต่ต้องค่อยๆอ่านนาคะ....ยาวซะเหลือเกิ้น


โดย: ดอกไม้สีฟ้า IP: 210.1.12.237 วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:17:57 น.  

 
มาลงชื่อว่าอ่านจบแล้วครับ :) ...


โดย: นายFee วันที่: 6 พฤษภาคม 2548 เวลา:17:12:31 น.  

 
ไม่มีใครมาสอนวิชาใส่สีเลย..รออยู่น๊า..!!


โดย: WIWANDA วันที่: 7 พฤษภาคม 2548 เวลา:2:22:27 น.  

 


ลองดูนะ


โดย: WIWANDA วันที่: 7 พฤษภาคม 2548 เวลา:2:46:01 น.  

 


โดย: wbj วันที่: 29 กรกฎาคม 2548 เวลา:18:41:05 น.  

 
ตอนต่อๆไปอยู่ไหนอ่ะครับ
กะลังมันเลย


โดย: บุน IP: 202.176.137.253 วันที่: 28 ธันวาคม 2548 เวลา:12:50:01 น.  

 
ตามมาอ่าน จาก AF ครับ คุณ Albedo จั่วหัวเรื่องมา แค่อ่านหน้าแรกก็มันส์จนไม่ได้หลับได้นอน สนุกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก




จิง ๆ ให้ดิ้นตาย


โดย: ghiren IP: 125.25.7.48 วันที่: 5 มีนาคม 2549 เวลา:0:40:27 น.  

 
ชอบมากครับ


โดย: Arm_KidS IP: 203.113.81.132 วันที่: 5 เมษายน 2549 เวลา:20:55:04 น.  

 
คุณป้าคร้าบบบ

ผมอยากอ่านไวๆคร้าบบบบบ


โดย: Arm_KidS IP: 203.113.81.132 วันที่: 6 เมษายน 2549 เวลา:1:39:32 น.  

 
เพิ่งตามหามาเจอ เหมือนได้ของขวัญชิ้นใหญ่ ปีนี้สดใสครับ ขอบคุณในสิ่งที่ทำครับ


โดย: GIJod IP: 124.121.183.87 วันที่: 14 เมษายน 2549 เวลา:22:42:03 น.  

 
danke schön,ich lese gern....
und sehr gut


โดย: chulee IP: 62.246.42.129 วันที่: 27 มกราคม 2550 เวลา:20:19:29 น.  

 
สุดยอดๆ โดยเฉพาะ ซูคอฟ กะโดนิซ

ฝ่ายเยอรมันนอกจากรอมเมลแล้ว ยังมี อิลิก วอน แมนเสตน กูเดอเรี่ยน และ วอนวุนเสต็ป

พวกตะวันตกมักบอกว่า รอมเมลเก่งสุด (เพราะประมือกันมาแล้ว) แต่คนเยอรมันนั้นคิดว่า วอนเมนสเตนเก่งที่สุด ตามมาด้วย กูเดอเรี่ยน และ วอนวุนสเต็ป ตามลำดับ จากความสำเร็จทางการทหาร

พวกโซเวียตคิดว่า ซูคอฟเก่งสุด ตามมาด้วย โรคอฟสกี้ และโคเนฟ

พวกอเมริกา ชอบแพทตั้น แต่ตัวไอเซนฮาร์วนั้นชอบ แบรดลี่ ส่วนพวกอังกฤษ นั้นชอบ มอนโกเมอรี่ ตามด้วย สลิม

ส่วนผมว่า ซูคอฟเก่งสุดแล้ว ตามมาด้วยแมนสเตน


โดย: nosta3824382 IP: 124.120.127.53 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:00:08 น.  

 
ชอบมาก


โดย: ภู IP: 124.121.31.224 วันที่: 31 พฤษภาคม 2550 เวลา:10:22:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

WIWANDA
Location :
กรุงเทพ United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 99 คน [?]




[Add WIWANDA's blog to your web]