ธันวาคม 2560

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
20
23
27
29
30
31
 
 
All Blog
ISO14001:2015 การประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม ข้อ 6.1.2



สวัสดีค่ะ เข้าสู่โหมดการประเมินลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อนี้ยังมีอยู่และทำเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่เพิ่มมุมมองให้ครอบคลุม จากเดิมที่เคยประเมินเฉพาะกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรของเราเท่านั้น แต่เวอร์ชั่นใหม่นี้ ให้มองอย่างครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งข้อกำหนดใช้คำว่า “พิจารณามุมมองวัฏจักรชีวิต”

...โอ้..ว้าว...แค่อ่านแล้วก็รู้สึกหนาว ใครจะไปรู้ว่าวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ของเรามันเกิดมาจากไหน แล้วใช้เสร็จมันจะไปไหนต่อ ... อันนี้ อาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ และ/หรือ สอบถาม Supplier และ/หรือ ลูกค้าของเรา

6.1 การดำเนินการจัดการความเสี่ยงและโอกาส(Actions to address risks and opportunities)


6.1.2 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmentalaspects)

ภายในขอบข่ายที่ระบุไว้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์กร ต้องพิจารณากำหนดประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ ที่สามารถควบคุม และสามารถมีอิทธิพล และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณามุมมองวัฏจักรชีวิต

เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม  องค์กรต้อง คำนึงถึง

a) การเปลี่ยนแปลง รวมถึงแผน หรือ การพัฒนาใหม่ หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการ

b) สภาวะผิดปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่แลเห็นล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล

องค์กรต้อง พิจารณากำหนดประเด็นปัญหา ที่มี หรือ สามารถมีผลกระทบสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ เช่นประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ โดยใช้เกณฑ์ที่จัดทำ

องค์กร ต้อง สื่อสารประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ระหว่างระดับ และฟังก์ชั่นขององค์กร ตามความเหมาะสม

องค์กร ต้อง ธำรงรักษา เอกสารสารสนเทศสำหรับ

- ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

- เกณฑ์ที่ใช้เพื่อการพิจารณา ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ

- ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ

หมายเหตุ ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ อาจส่งผลต่อความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้อง

- ไม่ว่ามีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม(ภัยคุกคาม) หรือ

- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประโยชน์(โอกาส)

หัวข้อนี้ กล่าวถึงการประเมินลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อย่างครอบคลุมวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (วัฏจักรชีวิต Life cycle) โดยพิจารณาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดอายุ

กระบวนการ ภายในองค์กร

=> ก็ให้องค์กรเป็นผู้ประเมินลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเอง

กระบวนการ ภายนอก องค์กร

=> จะให้องค์กรเป็นผู้ประเมินลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเอง หรือ จะให้หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินก็ได้

องค์กรต้องจัดทำแบบประเมินลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย

1. กำหนดหัวข้อที่จะใช้ในการประเมิน

โดยส่วนใหญ่จะประเมิน 2หัวข้อ คือ การใช้ทรัพยากร และการก่อให้เกิดมลพิษ

2. กำหนดวิธีการประเมิน

โดยส่วนใหญ่จะเอากระบวนการปฏิบัติเป็นหัวข้อหลัก แล้วพิจารณา

-Input (ทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการนั้น)

-Output(มลพิษที่ออกมาหลังจากปฏิบัติกระบวนการนั้น)

3. กำหนดเกณฑ์การประเมิน

กำหนดเกณฑ์ให้สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลข เพื่อที่จะได้เห็นปริมาณการใช้ทรัพยากรและผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมสามารถนำไปสู่การตัดสินว่าเป็นเรื่องสำคัญ (มีนัยสำคัญ Significant) ว่าควรจะหยิบยกหัวข้อนี้นำไปปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร

3.1 กำหนดเกณฑ์ของ Input ว่า มีการใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงใด ทรัพยากรนั้นสามารถหามาทดแทนได้หรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น

-ความถี่ในการใช้ ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี

ถ้าใช้บ่อยก็คะแนนมาก ถ้านานๆใช้ก็คะแนนน้อย

-ระยะเวลาที่จะหาทรัพยากรนั้นมาทดแทนของเดิม

ถ้าใช้เวลามาก ก็ให้คะแนนมาก ถ้าใช้เวลาน้อยก็ให้คะแนนน้อย ตามลำดับ

      3.2กำหนดเกณฑ์ของ Output  ซึ่งเป็นมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.2.1 สิ่งแวดล้อมที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่

- มนุษย์ -ดิน

- น้ำ -อากาศ

- ขยะ

3.2.2  สิ่งแวดล้อมตามข้อ 3.2.1ได้รับผลกระทบขนาดไหน

- ได้รับผลกระทบมาก ให้คะแนนมาก

- ได้รับผลกระทบน้อย ให้คะแนนน้อย


4. ประเมิน 3 สถานะ

การประเมิน ต้องประเมิน 3 สถานะ คือ สถานะปกติ,สถานะผิดปกติ, สถานะฉุกเฉิน

องค์กรต้องกำหนดสภาพของทั้ง 3 สภาวะ

ยกตัวอย่าง

สภาวะปกติ

คือสภาพการปฏิบัติงานที่เป็นปกติประจำวัน

สภาวะผิดปกติ

คือ สภาพการปฏิบัติเมื่อเกิด ไฟดับ เครื่องจักรเสีย

สภาวะฉุกเฉิน

คือสภาพที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ได้แก่ ไฟไหม้ ระเบิด สารเคมีหกรั่วไหลจำนวนมาก

ถ้ากำหนดไว้ชัดอย่างนี้ หัวข้อในการประเมินก็จะชัดเจน การระบุ Input และ Output ก็จะชัดเจน

5. กำหนดค่านัยสำคัญ (Significant)

การกำหนดค่านัยสำคัญ คือการกำหนดค่าตัวเลข ที่ได้จากการประเมินตามข้อ3 ให้ค่าตัวเลขตั้งแต่เท่าใดขึ้นไปจึงจะหยิบหัวข้อนั้นมาแก้ไข


ยกตัวอย่าง

การใช้ทรัพยากร  คะแนนเต็ม 20 คะแนน  ถ้าได้คะแนน 17 คะแนนขึ้นไป ถือว่ามีค่านัยสำคัญต้องนำไปจัดทำเป็นโครงการลดการใช้ทรัพยากรนั้น

มลพิษผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คะแนนเต็ม 60 คะแนน

ถ้าได้คะแนน 50 คะแนนขึ้นไป ถือว่ามีค่านัยสำคัญ ต้องนำไปจัดทำเป็นโครงการลดผลกระทบของมลพิษนั้น


ส่วนนี้ ต้องจัดทำเป็นเอกสาร ลายลักษณ์อักษร


ขอตัวอย่างแต่ละข้อได้ที่  witwala.santajitto@gmail.com

 


เอาล่ะค่ะ  ผู้เขียนคิดว่าคนอ่านคงจะพอมองภาพออก  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้นะคะ  แล้วพบกันในตอนต่อไปค่ะ  สวัสดีค่ะ






Create Date : 22 ธันวาคม 2560
Last Update : 22 ธันวาคม 2560 21:44:12 น.
Counter : 5046 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4261473
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สาว (เหลือ) น้อย ทีีอยากแบ่งความรู้ที่มี พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ต่างๆ และชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย