ธันวาคม 2560

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
20
23
27
29
30
31
 
 
15 ธันวาคม 2560
All Blog
ISO14001:2015 ข้อยาก 4.2


เป็นอย่างไรบ้างคะ  คราวที่แล้วได้แบ่งปันประสบการณ์ของข้อกำหนด4.1 ไป  ต่อไปเป็นข้อ 4.2 ค่ะ  ยังถือว่าเป็นข้อยาก-ยากที่สุด อีกข้อค่ะ

4. บริบทขององค์กร  (Contextof the Organization)


4.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Understanding the needs andexpectations of interested parties)

องค์กรต้องพิจารณา กำหนดตามหัวข้อต่อไปนี้

a) ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย  ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

b) ความจำเป็น  และความคาดหวัง ที่เกี่ยวข้อง  (เช่น ข้อกำหนด)  ของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย

  c) โดยความจำเป็น  และความคาดหวังนั้น  จะแปลเปลี่ยนเป็นพันธสัญญาที่ต้องทำให้สอดคล้อง

สิ่งที่ต้ององค์กรต้องทำคือ

1. กำหนดว่า ใครคือผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียขององค์กร  เช่น

     1) พนักงานฝ่ายนายจ้าง

     2) พนักงานฝ่ายลูกจ้าง

     3) พนักงาน หรือ หน่วยงานภายนอก ที่ทำงานเพื่อองค์กร ทั้งภายใน และ ภายนอก สถานที่ขององค์กร

     4) ผู้รับเหมา  ผู้จำหน่ายปัจจัย (Suppliers)

5) ลูกค้า

     6) บริษัทข้างเคียง  และ ชุมชนที่อยู่รอบๆองค์กร                                                                  

     7) หน่วยงานราชการ และ/หรือ หน่วยงานเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ, เทศบาลสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรมโรงงานกรมพลังงาน  เป็นต้น

     8) ผู้ถือหุ้น

     9) บริษัทแม่

10) อื่นๆ เช่น แขกที่เข้ามาเยี่ยมชมโรงงาน

2. ประเมิน  ความจำเป็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย ซึ่งจะประกอบไปด้วย ความต้องการ  ความคาดหวัง  กฎระเบียบ ข้อกำหนด สิ่งที่เป็นสามัญสำนึกปฏิบัติของท้องถิ่นนั้น  ของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียในข้อ1

       2.1) ดำเนินการประเมินด้วยตนเอง

2.2) ส่งแบบสอบถาม ความต้องการและความคาดหวังให้ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียตอบให้

การประเมินนั้น  สามารถทำได้ทั้ง 2แบบ  บางผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย  องค์กรอาจจะประเมินเองได้   แต่บางผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียควรให้เขาแจ้งเรามาจะดีกว่า

ตัวอย่าง แบบสอบถามความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย


ชื่อหน่วยงาน ........................................................................................................................

ตั้งอยู่เลขที่ ..........................   หมู่บ้าน.............................    ตำบล/แขวง ...............................  อำเภอ/เขต....................... ..... จังหวัด...............................   โทรศัพท์.....................................

ชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม..........................................................................................................

ความต้องการด้านสิ่งแวดล้อม .............................................................................................

...........................................................................................................................................

ความคาดหวังด้านสิ่งแวดล้อม..............................................................................................

ข้อเสนอแนะอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม...........................................................................................


     บางผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียเข้าถึงได้ยาก  ดังนั้น  ถ้าประเมินผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียได้ครบก็ดีมาก 

แต่หากไม่สามารถทำได้ ก็ขอให้เลือกผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียหลักๆ ให้มีการประเมิน 

 เมื่อได้ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียแล้ว  นำมาประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

     กรณีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็พิจารณาดำเนินการลดผลกระทบนั้น 

     กรณีไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ก็ขีดละไว้ในฐานที่เข้าใจ  ไม่ต้องมีการดำเนินการใดๆ

ผลการประเมินความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย  ให้มีการนำเข้าที่ประชุมเพื่อรายงานผู้บริหาร  ในการประชุมทบทวนโดยผู้บริหารด้วย (Managementreview)

ตัวอย่าง

การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากข้อกำหนดความต้องการ และความคาดหวัง จากผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย

(ติดต่อขอตัวอย่างได้ที่  witwala.santajitto@gmail.com)


3.จัดทำทะเบียนข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการประเมินความสอดคล้อง

3.1) จัดทำทะเบียนข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 

                 ซึ่งต้องมีทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เป็นผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย  และนำความต้องการ  ความคาดหวัง ข้อกำหนดของลูกค้า รวมเข้าไปในทะเบียนข้อกำหนดดังกล่าว

     3.2) ดำเนินการประเมินความสอดคล้อง ตามรายการข้อกำหนดในข้อ 3.1

หากพบว่า  มีรายการที่องค์กรยังปฏิบัติได้ไม่ครบตามข้อกำหนดในข้อ3.1 ให้มีการดำเนินการแก้ไข

ความถี่  ในการประเมินความสอดคล้องนั้น  ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร  จะเป็นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  หรือ ปีละ 2 ครั้ง  ก็แล้วแต่ ให้กำหนดไว้ในระเบียบการปฏิบัติงานเรื่องการประเมินความสอดคล้อง (Standard Procedure : SP)  และ/หรือคู่มือการปฏิบัติงานเรื่องการประเมินความสอดคล้อง (Work Instruction : WI)

            พักเหนื่อยไว้เท่านี้ก่อนนะคะ  แล้วพบกันใหม่ในตอนถัดไป  สวัสดีค่ะ





Create Date : 15 ธันวาคม 2560
Last Update : 15 ธันวาคม 2560 22:52:06 น.
Counter : 5011 Pageviews.

1 comments
  
tipos de cialis tadalafilise.cyou/#
โดย: Kevinjoync IP: 37.139.53.22 วันที่: 21 สิงหาคม 2566 เวลา:20:11:57 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4261473
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สาว (เหลือ) น้อย ทีีอยากแบ่งความรู้ที่มี พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ต่างๆ และชอบทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย