บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
26 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ความแตกต่างในการแก้ปัญหาของนักวิชาการ กับ ที่ปรึกษาฯ

ความแตกต่างในการแก้ปัญหาของนักวิชาการ กับ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ


วิบูลย์ จุง




ชีวิตของผมที่เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจมานานแต่กลับต้องเข้ามายังระบบการศึกษากลายมาเป็นนักวิชาการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นเหตุทำให้ผมต้องปรับตัวและปรับแนวความคิดอย่างมาก หลังจากที่เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมทางด้านการศึกษามากขึ้น ทำให้ผมตัดสินใจทางเดินชีวิตของผมเองที่จะคงแนวคิดของการเป็นที่ปรึกษา ถึงแม้นว่า ผมเข้ามาอยู่ในสายวิชาการก็ตาม

ผมได้มีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องเข้าร่วมกับนักวิชาการหลายๆท่าน จริงๆในใจผมก็ยังมีความเชื่อว่า นักวิชาการน่าจะมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดีกว่าที่ปรึกษาธุรกิจอย่าง ผม วิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่าง ทำให้ผลที่ได้รับมีความแตกต่างกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครนั้นก็ขึ้นกับมุมมองของผู้ประเมิน และ ความต้องการ ณ เวลานั้นมากกว่า ซึ่งผมจะอธิบายแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มให้เห็นละกันครับว่า มันดีกันในคนละมุมมองจริงๆ

นักวิชาการ



การ แก้ไขปัญหาของนักวิชาการเท่าที่ผมสัมผัสได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมาพบ ว่า นักวิชาการจะเจาะลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เวลาเกือบ 80% เป็นเวลาของการเจาะอยู่กับปัญหาไม่ให้หลุดรอดไปเลยแม้นสักมุมมองหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อดีในการแจกแจงปัญหาออกมาว่า ปัญหาเกิดจากอะไร มีหลักฐานของแนวความคิด มีสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ และ ที่สำคัญนักวิชาการก็จะเน้นทางด้านการโน้มน้าวคนรอบข้างให้เชื่อในสิ่งที่ เขากำลังดำเนินการ ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในตนเอง รวมไปถึงตำแหน่งที่ได้รับมันค้ำคออยู่ ทำให้แนวความคิดที่แตกต่างจากของเขาถูกละเลยไป ข้อเสนอ แนวคิด หรือ วิธีการต่างๆที่ไม่ได้มีการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือไปทั้งๆที่บางสิ่งเหล่านั้น สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม

และ เมื่อใช้เวลา 80% ในการเจาะประเด็นของปัญหา จึงเหลือเวลาเพียง 20% ในการหาแนวทางการแก้ไขของปัญหานั้นๆ การตัดสินใจแนวทางแก้ไขปัญหาจึงมุ่งไปยังประเด็นที่ศึกษาเพียงอย่างเดียว มีข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจเท่านั้น จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะตัดสินใจลงมือ ทั้งนี้ ปัญหาต่างๆ จึงได้ถูกวางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะสิ่งที่วิเคราะห์ได้ และ แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงแก้ไขปัญหาเฉพาะในกรอบที่ได้วางและวิเคราะห์เอาไว้ หากผู้บริหารชอบการแก้ไขในเชิงเช่นนี้ หรือ เชื่อมั่นในแนวคิดที่ต้องมีการสนับสนุนจากข้อมูลวิชาการแล้ว ก็จะเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาเช่นนี้

ที่ปรึกษาธุรกิจ



ใน ทางกลับกัน ที่ปรึกษาทางธุรกิจ จะใช้เวลาเพียง 20% ในการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เจาะประเด็นในเรื่องต่างๆมากนัก แค่ให้ทราบว่าปัญหาเกิดจากที่ใดโดยไม่ต้องมีข้อมูลในการยืนยันถึงปัญหาเหล่า นั้น

ส่วนอีก 80% ที่เหลือนั้นจะมุ่งประเด็นไปยังแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งในช่วงนี้จะนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่มี นำมาหาหนทางในการแก้ไขปัญหา วางระบบ วางขั้นตอนการแก้ไขปัญหา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และแน่นอนว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้เพียงข้อมูลที่มี แต่ต้องค้นหาข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่ม รวมไปถึงความต้องการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมทั้งภายใน ภายนอก ในการตัดสินใจในการวางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ทั้งนี้ อาจจะไม่มีข้อมูลทางด้านวิชาการมาสนับสนุนแนวทางการตัดสินใจ แต่แนวทางต่างๆที่คิดออกมาทั้งหมด จะเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เท่านั้น


ใน การทำงานร่วมกันบ่อยครั้งขึ้น ทำให้ผมเห็นว่า จุดบกพร่องของผมอยู่ที่การไม่โน้มน้าวผู้ตัดสินใจให้เชื่อในสิ่งที่ผมคิดและ วางแผน เนื่องจากประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาธุรกิจทำให้รู้ว่า แนวทางการตัดสินใจของที่ปรึกษาธุรกิจไม่ได้ถูกต้องเสมอไป บางครั้งเราก็อาจจะไม่เข้าใจบริบทที่เจ้าของกิจการเหล่านั้นเผชิญอยู่ จึงได้แต่เสนอแนวทางการดำเนินงานและปล่อยให้เจ้าของกิจการเป็นคนเลือกที่จะ ดำเนินการตามที่เห็นสมควร ซึ่งการทำเช่นนี้อาจจะดีในวงการที่เจ้าของกิจการมีความเชื่อมั่น และ มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาขององค์กรอย่างแท้จริงด้วยตัวของตัวเอง

แต่หากนำไปเสนอกับเจ้าของกิจการที่ไม่มีความเชื่อมั่น หรือ ผู้บริหารงานที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรแต่ต้องการความมั่นใจในการ ตัดสินใจใดๆแล้ว อาจจะเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง เพราะคนที่ไม่มุ่งมั่นและต้องการความมั่นใจสูงๆก็ต้องการ การยืนยันอย่างหนักแน่น มีเหตุผล มีหลักการณ์ ซึ่งต้องโน้มน้าวให้คนเหล่านั้นเห็นถึงแนวทางให้มากกว่าที่ผมดำเนินการมา แนวทางการแก้ปัญหาจึงถูกนำไปใช้ แต่ผลที่ได้ก็จะเป็นความคิดของผม สร้างความเชื่อมั่นแบบผิดๆในตัวผมขึ้นมา และ อาจจะทำให้องค์กรเกิดความย่ำแย่จากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผมก็ได้

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ ที่ปรึกษาธุรกิจ ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดๆก็ตาม ดังนั้น ณ วันนี้ที่ได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการ จึงเป็นเหมือนกระจกที่ส่องให้เห็นความเป็นตัวตนของผมมากขึ้น และ ชี้ให้เห็นว่า ผมจะยังคงเป็นที่ปรึกษาที่ไม่โน้มน้าวและปล่อยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เลือกแนวทางที่คิดไว้ โดยไม่ยอมกลายมาเป็นคนเชิดหุ่นผู้บริหารขององค์กรใดๆ และนี่เป็นปณิธานที่ผมตั้งไว้ในใจจากประสบการณ์ในครั้งนี้....



Create Date : 26 มิถุนายน 2552
Last Update : 3 กรกฎาคม 2552 2:43:01 น. 2 comments
Counter : 2431 Pageviews.

 
แล้วมันจะเป็นไปได้ไหมที่เราให้เวลาระหว่างแนวคิดแบบนักวิชาการ 50 และที่ปรึกษาอีก 50
เพราะที่ผ่านมา เค๊าบอกว่า คนในองค์กรมักยอมทำตามที่ปรึกษา แต่ในความเป็นจริง คือ..... ที่ปรึกษาก็เอาปัญหาที่นักวิชาการไม่กล้านำเสนอมาเป็นไอเดียในการนำเสนอนายในระดับบริหาร พูดง่าย ๆ คือ ที่ปรึกษาก็สอบถามปัญหาต่าง ๆ จากนักวิชาการนั่นแหละ
สิ่งที่อยากเห็น มันจะดีมากกว่านั้นไหมที่นักวิชาการ ควรที่จะสามารถเป็นที่ปรึกษาได้ด้วย จริงอยู่ที่ว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่คนที่พูดความจริงมักจะตายเสมอ (ถ้านายไม่ยอมรับ) หรือคุณว่าไง?


โดย: natsu IP: 58.8.177.25 วันที่: 8 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:13:37 น.  

 
เนื่องจาก นักวิชาการมุ่งเน้นเจาะประเด็นปัญหาเชิงลึกแล้วหาทางแก้ไขปัญหา แต่ที่ปรึกษาเจาะปัญหาคร่าวๆแล้วหาทางแก้ไขปัญหาเลย ถ้าใช้หลัก 80:20 ก็จะพบว่า

นักวิชาการ ใช้เวลา 80% ไปกับการหาปัญหาที่เกิดขึ้น และ ใช้เวลาอีก 20% ในการหาทางแก้ปัญหา

แต่ที่ปรึกษา ใช้เวลา 20% ในการหาปัญหาที่เกิดขึ้น และ ใช้เวลาอีก 80% ในการแก้ไขปัญหา

ดังนั้น เมื่อมีเวลาในการใช้แก้ไขปัญหามากขึ้น แนวทางที่คิดออกมาเลยครอบคลุมได้มากกว่า การใช้เวลาเพียงน้อยนิด และ กรอบความคิดก็ถูกบีบจากการเจาะลึกเข้าไปยังปัญหาด้วย จึงคิดว่า ผลที่ได้เลยแตกต่างกัน

ถ้าเอาแนวคิดนักวิชาการ 50 มาผสมกับที่ปรึกษาอีก 50 แสดงว่า ไม่ได้มุ่งเน้นเรืองใดเลย นักวิชาการเจาะปัญหาได้ครึ่งหนึ่งแล้วให้วางมือ ก็ยากที่จะทำเช่นนั้น ที่ปรึกษาจะให้เจาะปัญหาให้ลึกๆก็เบื่ออีกก็รู้อยู่แล้วว่า สรุปผลของปัญหาเป็นอย่างไร จึงไม่คิดว่าจะเกิดคนลักษณะนี้ขึ้น

ปัญหาของนักวิชาการก็คือไม่กล้านำเสนอจริงๆ เพราะกลัวว่าจะเสียชื่อเสียงของนักวิชาการ ไม่มีข้อมูลสนับสนุนบ้าง ทำให้เกิดกรอบทางความคิดขึ้นว่า ทุกอย่างที่จะพูด จะยกประเด็นขึ้นมา ต้องการข้อมูลสนับสนุนทั้งสิ้น ซึ่งต่างจาก ที่ปรึกษาที่มีอิสระทางด้านความคิด ยิ่งที่ปรึกษาที่คิดอย่างเป็นระบบแล้ว ก็ยิ่งที่จะทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

การประยุกต์ไปใช้จึงต้องให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น บางองค์กรที่ต้องการคำยีนยันทางด้านวิชาการ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของไม่ได้เรียนรู้มามากนักแต่ก็เชื่อมั่นว่านักวิชาการจะมีแนวทางที่ดีนำมาให้เสมอ องค์กรเหล่านี้ก็จะใช้นักวิชาการเพราะดูจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า แต่ผลที่ได้ตอบรับกลับมาจากพนักงานปฏิบัติงาน ก็คือ ให้ทำงานอะไรก็ไม่รู้ ไม่เห็นได้เรื่องเลย กว่านักวิชาการ จะทดสอบ ทดลอง จนหาหนทางแก้ไขปัญหาได้จริง ก็คงต้องเสียเวลา เสียเงินทอง ค่อนข้างมากกว่าจะได้ข้อสรุปนั้นๆ ซึ่งก็มีหลายองค์กรโดนมาแล้ว...

สรุปแล้วคิดว่า ใครจะใช้งานใครอย่างไรก็ต้องดูกันให้ลึกซึ้งอีกทีหนึ่ง...


โดย: ทีปรึกษาเหมือนกัน... IP: 61.90.165.65 วันที่: 21 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:15:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.