|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ข้อเข่าเสื่อม / กระดูกพรุน / นอนไม่หลับ
ข้อเข่าเสื่อม / กระดูกพรุน / นอนไม่หลับ จากเมล์ที่ได้รับ
ข้อเข่าเสื่อม อาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อเข่า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มักเกิดจาก การเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ของกระดูก และ กระดูกอ่อนผิวข้อ
อาการสำคัญ ของโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่น่องและข้อพับเข่า รู้สึกว่าข้อเข่าขัด ๆ เคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ มีเสียงดังในข้อ เวลาขยับเคลื่อนไหวข้อเข่า ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อ เข่าคดผิดรูปร่าง หรือ เข่าโก่ง
ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะพบบางข้อหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรก อาการเหล่านี้มักจะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ และ เป็น ๆ หาย ๆ
เมื่อโรคเป็นมากขึ้นก็จะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น เป็นบ่อยขึ้น และอาจจะมีอาการตลอดเวลา
การเอ๊กซเรย์ ข้อเข่าก็จะพบว่ามี ช่องของข้อเข่าแคบลง มีกระดูกงอกตามขอบของกระดูกเข่าและกระดูกสะบ้า ข้อเข่าคดงอ ผิดรูป เข่าโก่ง ซึ่งลักษณะที่พบนี้ ก็อาจพบได้ในข้อเข่าของผู้สูงอายุปกติทั่วไป โดยที่ไม่มีอาการเลยก็ได้
ดังนั้นการจะบอกว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์สามารถบอกได้ จากประวัติของความเจ็บป่วย อาการ อาการแสดงที่เป็นอยู่ และ การตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์
การเอ๊กซเรย์จะทำก็ต่อเมื่อแพทย์สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคอื่น สงสัยว่าอาจจะมีภาวะแทรกซ้อน หรือ ในกรณีที่ต้องทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
แนวทางรักษา มีอยู่หลายวิธี เช่น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทำกายภาพบำบัด การกินยาแก้ปวดลดการอักเสบ การผ่าตัด เพื่อจัดแนวกระดูกใหม่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีก็คือ ลดอาการปวด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปร่างของข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันหรือทำงานได้เป็นปกติ
การกินยาแก้ปวด หรือ การผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ถ้าผู้ป่วยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ ไม่บริหารข้อเข่า ผลการรักษาก็จะไม่ดีเท่าที่ควร
วิธีการรักษา ที่ได้ผลดี เสียค่าใช้จ่ายน้อย ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง คือ
การลดน้ำหนัก การบริหารข้อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ข้อแนะนำในการรักษาด้วยตนเอง ดังนี้
1 ลดน้ำหนักตัว เพราะเมื่อเดินจะมีน้ำหนักลงที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่ง น้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ ก็จะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของเข่าก็จะช้าลงด้วย
2 ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งดังกล่าวจะทำให้ ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมากขึ้น ข้อเข่าก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
3 เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มีรูต้องกลาง วางไว้เหนือ คอห่าน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถูกกดทับ เลือดจะไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี ทำให้ขาชา และมีอาการอ่อนแรงได้ ควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่งหรือใช้เชือก ห้อยจากเพดานเหนือโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัว เวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
4 นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
5 หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
6 หลีกเลี่ยงการยืนหรือ นั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่าหรือขยับเหยียด-งอข้อเข่า เป็นช่วง ๆ
7 การยืน ควรยืนตรง ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้าง-หนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวด และข้อเข่าโก่งผิดรูปได้
8 การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย(สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ แบบที่ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกันเช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
9 ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนข้อเข่าและช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม แต่ก็มีผู้ป่วยที่ไม่ยอมใช้ไม้เท้า โดยบอกว่า รู้สึกอายที่ต้องถือไม้เท้า และไม่สะดวก ทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น และ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุหกล้ม
สำหรับวิธีการถือไม้เท้านั้น ถ้าปวดเข่ามาก ข้างเดียวให้ถือไม้เท้าในมือด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดเข่าทั้งสองข้างให้ถือในมือข้างที่ถนัด
10 บริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่า ให้แข็งแรง เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีขึ้นเวลายืน หรือ เดิน การออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่ามากนัก เช่น การเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น
โรคข้อเข่าเสื่อมรักษาไม่หายขาด แต่ก็มีวิธีที่ทำให้อาการดีขึ้นและชะลอความเสื่อม ให้ช้าลง ทำให้ท่านสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ความตั้งใจของท่านเองเป็นสำคัญ
โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis คือภาวะที่เนื้อกระดูกของร่างกายลดลงอย่างมาก และเป็นผลให้โครงสร้างของกระดูกไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม โรคกระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายเราจะมีกระบวนสร้างและสลายกระดูก เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิน 40 ปี กระบวนสร้างจะ ไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมของทางเดินอาหาร จะเสื่อมลงทำให้ร่างกายต้องดึง สารแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น
ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
หญิงวัยหมดประจำเดือน -- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น ผู้สูงอายุ ชาวเอเซียและคนผิวขาว -- โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า สองชนชาตินี้ มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ รูปร่างเล็ก ผอม รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ ออกกำลังน้อยไป สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์ เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไป รับประทานอาหารเค็มจัด
อาการของโรคกระดูกพรุน
ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมากๆจะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ
โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้
การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เลี่ยงอาหารเค็มจัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้ หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่างๆ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่าความหนาแน่น ของกระดูกบริเวณต่างๆเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทานยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี
โรคนอนไม่หลับ อาการ
อาการนอนไม่หลับ แบ่งได้เป็น 3 แบบคือ 1. เมื่อเข้านอนแล้วต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะนอนหลับได้ พบมากในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวล เครียดหรือกำลังมีปัญหาที่คิดไม่ตก 2. เมื่อเข้านอนแล้ว หลับได้ทันที แต่จะตื่นเร็วกว่าที่ควร เช่น ตื่นตอนตี 2 ตี 3แล้วนอนไม่หลับอีก ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม พบมากในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหรือผู้ที่มีประวัติดื่มเหล้า เป็นต้น 3. เมื่อเข้านอนแล้ว นอนหลับได้ตามปกติ แต่จะตื่นบ่อยๆ เป็นระยะๆเช่น ตื่นทุกสองสามชั่วโมง ทั้งคืนพบได้ในผู้ที่มีโรคทางกาย
สาเหตุ 1. จิตใจที่มีความวิตก กังวล ซึมเศร้า เครียด 2. อาการขาไม่อยู่นิ่งขณะหลับเนื่องจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก 3. เป็นโรคกระดูกเสื่อม ทำให้ปวดตามตัว ปวดขา ท้องเฟ้อ โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น 4. ก่อนนอนรับประทานอาหารมากเกินไปอาหารไม่ย่อย จุกเสียด ท้องอืด
คำแนะนำ 1. เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เพื่อให้เกิดสุขนิสัยที่ดีในการนอน 2. จัดกิจกรรมในตอนกลางวัน ให้มีการออกกำลังกาย การทำงานอดิเรก และไม่ควรนอนตอนกลางวัน 3. ก่อนนอน หนึ่งชั่วโมงครึ่ง ควรงดน้ำ เพื่อป้องกันการตื่นมาปัสสาวะในตอนดึก 4. จัดสถานที่ห้องนอนให้สะอาด เงียบ และอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรทำงานในห้องนอน ไม่ควรเอาโทรทัศน์ และโทรศัพท์ไว้ในห้องนอน 5. เมื่อหลับแล้ว ไม่ควรปลุก ถ้าไม่จำเป็นมาก 6. ถ้ามีโรคทางกาย ควรกินยาให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายปกติ ก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง 7. ดื่มนมอุ่นๆ หรือเครื่องดื่มผสมน้ำผึ้งอุ่นๆ ก่อนนอนจะช่วยให้ประสาทผ่อนคลาย 8. รับประทานอาหารมื้อเย็น ประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เผือก มัน นอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยให้ประสาทผ่อนคลาย 9. งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ขนม ช็อกโกแลต 10. งดอาหารมื้อดึกที่มีโปรตีน มัน รสจัด
Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551 |
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2551 18:34:35 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1585 Pageviews. |
|
|
|
โดย: maemagic วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:20:43:20 น. |
|
|
|
โดย: ยิ้มสู้ IP: 67.159.44.44 วันที่: 11 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:13:57 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]
|
ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544
วิทยากรเชิงกิจกรรม วิทยากรกระบวนการ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนกลยุทธ์ วิจัยธุรกิจIT Dashboard
ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
ดวงถาวร
ดวงตามวันเกิด
ดวงตามปีเกิด
;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'
|
|
ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong
ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ
การตลาดและการประชาสัมพันธ์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
และ การวางแผนกลยุทธ์
วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ
นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ
Executive & Management Coach
ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
|
|
|
|
| |
|
|
|