บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น - ฝึกให้เข้าสังคม และ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

บทที่ 8 ทักษะสังคม


ทักษะการเล่น


การเล่นของเด็กสมาธิสั้นมักรุนแรง บางทีเป็นอันตราย เด็กทั่วๆไปไม่อยากเล่นด้วยเนื่องจากความรุนแรงนี้ และจากการที่เด็กสมาธิสั้นมักเอาแต่ใจตัว ไม่ค่อยรอคอย ไม่เคารพกติกา พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักการเล่นกับเด็กอื่นๆให้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก พยายามฝึกเกมง่ายๆ ที่เล่นได้แบบนุ่มนวล ไม่กระตุ้นให้เด็กโกรธ หรือหงุดหงิด ฝึกให้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กๆได้ด้วย ไม่ควรเอาจริงเอาจังกับผลแพ้ชนะในเกมมากเกินไป ควรสอนให้เด็กเห็นความสนุกจากการเล่น แพ้แล้วรู้จักการกลับมาคิดทบทวน ว่าแพ้เพราะอะไร แล้วมีกำลังใจเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น

เด็กสมาธิสั้นจำนวนมากไม่มีเทคนิควิธีการเล่นกับเพื่อน ไม่มีวิธีทำดีทำให้ผู้อื่นพอใจ ใช้วิธีสนุกๆแผลงๆ แกล้งคนอื่น ทำให้ตัวเองสนุกสนานพอใจ แต่คนอื่นเดือดร้อน บางครั้งเด็กเรียนรู้การแกล้งคนอื่นจากพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดเอง ตัวอย่างพฤติกรรมเหล่านี้ได้แก่ การล้อเลียน ยั่วเย้า หยอกล้อ แซว กลั่นแกล้งเล็กๆน้อยๆ ซึ่งพ่อแม่มักทำต่อเด็ก โดยผู้ใหญ่สนุกแต่เด็กหงุดหงิด และเรียนรู้การเล่นกับคนอื่นๆโดยเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้จากพ่อแม่นั่นเอง

การฝึกให้เด็กเล่นกับเด็กอื่นได้ดีนั้น นอกจากการฝึกทักษะเบื้องต้นของควบคุมตนเองแล้ว บางทีต้องอาศัยผู้ใหญ่ที่อยู่ด้วยในขณะเด็กเล่นกัน แล้วคอยกำกับให้เด็กเล่นกันดีๆ อยู่ในกติกาได้ บางครั้งอาจสอนเด็กให้มีเกมไปเล่นกับเพื่อนสนุกๆ ฝึกให้เด็กรู้จักการให้และการรับ มีการพูดจาไพเราะ มีการช่วยเหลือเพื่อนตามสมควร ควรฝึกให้เด็กเล่นกับเพื่อนในเกมง่ายๆ ที่เขาชอบ สนุก และไม่ต้องรอคอยนาน คุณครูที่โรงเรียนอาจช่วยเสริมในเรื่องนี้

เมื่อมีน้อง พ่อแม่ควรฝึกให้พี่ช่วยน้อง เล่นกับน้องดีๆ เล่นเบาๆก็ได้ ไม่ควรบังคับให้น้องยอมพี่ในเรื่องที่ไม่เหมาะสม เช่น ให้พี่ยกของเล่นที่กำลังเล่นให้น้อง แบบนี้จะทำให้เด็กอิจฉาน้อง การกระตุ้นให้เขามีการแบ่งปันกัน เช่น
“ตอนนี้พี่เขายังเล่นอยู่ เอาไว้พี่เขาหยุดแล้วลูกค่อยขอนะจ๊ะ”

“แม่รู้ว่าเดี๋ยวพี่เขาหายเห่อของเล่นนี้ แล้วเขาไม่หวงของดอก”

“ขอบใจนะที่แบ่งปันให้น้อง”

“พ่อเชื่อว่าเดี๋ยวพี่เขาก็จะแบ่งให้เล่น”

ถ้าเล่นแล้วทะเลาะกัน ขอให้ติดต่อเพื่อการให้คำปรึกษา

ฝึกให้เล่นเป็น ทั้งกับเพื่อนและพี่น้อง




การฝึกให้ช่วยเหลือผู้อื่น


เด็กสมาธิสั้นมักมีพลังงานเหลือเฟือ การไม่อยู่นิ่งของเขาสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นกิจกรรมที่ดีเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น ความอยู่ไม่นิ่งเป็นข้อดี คือเขาช่วยคนอื่นได้มาก ทำอย่างไม่รู้จักเหนื่อย และสนุกกับการช่วยผู้อื่นด้วย แต่ในระยะแรกจำเป็นต้องฝึกให้เด็กมีใจรักในการช่วยเหลือผู้อื่นก่อน ด้วยการให้เด็กช่วยงาน และได้รับการชื่นชมจากผู้ใหญ่ก่อน คำชมเป็นแรงเสริมทางบวก ทำให้เด็กอยากทำดีอีก

การฝึกทักษะนี้ สามารถเริ่มต้นที่บ้าน


พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กมีงานรับผิดชอบต่อส่วนรวม ได้แก่ งานบ้านต่างๆนั่นเอง โดยเริ่มจากงานขนาดเล็ก เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน งานเหล่านี้ควรกำหนดให้เป็นประจำ มีตารางการทำงานแน่นอน เช่น กวาดบ้านตอนเย็น ราว 6 โมงเย็นทุกวัน ล้างจานหลังอาหารทุกมื้อทันที ในระยะแรก อาจต้องเขียนกำกับตัวโตๆให้เห็นชัดเจน พี่น้องควรมีอย่างเหมาะสมกับวัยทุกคน หรือมีการกำหนดคิวให้ชัดเจน พ่อแม่ช่วยกำกับให้ทำสม่ำเสมอในตอนต้น และควรชมเชยที่ได้ทำทุกคน ไม่ควรสนใจผลงานมากในระยะแรก เพราะเด็กอาจทำไม่สะอาดบ้าง ตรงไหนที่ไม่สะอาดเรียบร้อย ค่อยๆชี้แนะกันดีๆ อย่าไปตำหนิดุด่ากันมาก ขอให้เริ่มทำให้ได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอก่อน

เมื่อเด็กเข้าโรงเรียน พ่อแม่ควรขอร้องครูให้ช่วยใช้งานเด็กบ่อยๆตามโอกาส เช่น เมื่อเด็กเริ่มขาดสมาธิก็อาจให้เด็กช่วยงานของห้อง เช่น ช่วยลบกระดานดำ ช่วยครูยกสมุดหนังสือไปเก็บ เมื่อทำดีแล้วครูชม เพื่อนชื่นชมที่ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง และเพื่อนๆมีทัศนคติที่ดีด้วย การให้เพื่อนช่วยเสริมจุดเด่นในการช่วยเหลือส่วนรวม ช่วยให้เด็กสมาธิสั้นเป็นที่ยอมรับของเด็กอื่นๆได้ง่าย

เวลาไปที่ไหน กระตุ้นให้เด็กช่วยเหลือคนอื่น อย่าลืมชมเชยลูกด้วยเมื่อเขาทำดี เมื่อเด็กมีนิสัยช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ต่อไปเด็กจะไปช่วยเหลือคนอื่นด้วยความเต็มใจในสถานการณ์อื่น เช่นช่วยงานโรงเรียน หรือ ที่บ้านญาติ บ้านเพื่อน ทำให้ได้คำชมจากที่ต่างๆ จะทำให้เด็กมีนิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่น

เปลี่ยนความซนเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น




การฝึกพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อื่นพอใจ(พฤติกรรมสังคมด้านบวก)


เมื่อเด็กเริ่มเข้าสังคมมากขึ้น พฤติกรรมที่ช่วยให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี คือ พฤติกรรมสังคมด้านบวก ได้แก่
  • . การทำให้ผู้อื่นพอใจ ได้แก่การยิ้มให้แก่กัน การพูดจากันดีๆ การสร้างไมตรี การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ การไม่ขัดขวางความสุขของผู้อื่น การรู้จักเกรงอกเกรงใจ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน การทำตัวเป็นมิตร การปฏิบัติตัวดีเสมอต้นเสมอปลาย ซื่อสัตย์ต่อกัน


  • . การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข การช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนพอใจ


  • . การอยู่ในกติกาสังคมอย่างเสมอภาค ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น


  • . การช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นอันตรายหรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ


  • . การเล่นกันดีๆ พูดคุยกันในเรื่องที่พอใจและสนใจร่วมกัน


เด็กสมาธิสั้นมักมีพฤติกรรมตรงกันข้ามกับพฤติกรรมสังคมด้านบวก ด้วยการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วตนเองพอใจ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นต้องการสิ่งเร้าที่ตื่นเต้นมากกว่าปกติ จึงกระตุ้นให้ระบบประสาทเกิดการตื่นตัวจึงจะพอใจ พฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นจึงมักแผลงๆ โลดโผน หวาดเสียว เช่นการแหย่เด็กอื่น ล้อเลียนหรือแกล้งให้คนอื่นร้องไห้เจ็บกายเจ็บใจ หรือมีการใช้กำลังที่รุนแรง ซึ่งก็ทำให้มีการตอบโต้แก้แค้นกันไปมา ทำให้เด็กสมาธิสั้นมีความพึงพอใจจากการทำให้คนอื่นมีปฏิกิริยาตอบโต้

วิธีแก้ไขควรทำดังนี้
  • . ไม่เปิดโอกาสให้เด็กละเมิดคนอื่น ไม่ว่าเป็นด้วยคำพูดหรือการกระทำ


  • . ถ้าเด็กเผลอละเมิดคนอื่น ให้ใช้เทคนิค “ขอเวลานอก” ให้เด็กสงบสติอารมณ์สั้นๆ แล้วบอกเด็กตรงๆสั้นๆว่า พฤติกรรมใดที่ไม่ถูกต้อง และควรทำอย่างไร


  • . สอนพฤติกรรมใหม่ทันที ฝึกให้เด็กทำ ให้คำชมเมื่อเด็กพยายามทำ หรือทำได้ดี


  • . ช่วยจัดกลุ่มหรือเพื่อนที่ฝึกพฤติกรรม ใช้กิจกรรมกลุ่มให้เด็กลองมีพฤติกรรมใหม่


  • . ให้เพื่อนช่วยชื่นชมพฤติกรรมใหม่


  • . สอนเกม หรือการเล่นที่เด็กนำไปเล่นกับเพื่อนๆ ควรเป็นการเล่นง่ายๆที่เด็กชอบ ไม่เน้นการแพ้ชนะ


  • . ฝึกให้เด็กเล่นกีฬา ให้เด็กอยู่ในกติกา เลือกชนิดกีฬาที่เคลื่อนไหวมาก เหมาะกับนิสัยของเด็ก ไม่เน้นการเอาแพ้ชนะ แต่ให้สนุกกับการเล่น เป็นการฝึกให้เด็กควบคุมตัวเอง เกมที่มีแพ้ชนะอาจช่วยฝึกให้เด็กรู้จักแพ้ ชื่นชมผู้ชนะ และหัดคิด “แก้ตัวใหม่” เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต มีการมองย้อนอดีต


ฝึกให้เด็กทำตัวให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น




การบำเพ็ญประโยชน์


พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กสมาธิสั้นทำตัวให้เป็นประโยชน์ ด้วยการส่งเสริมให้วัยรุ่นทำงานบ้าน ให้ช่วยเหลือคนอื่นที่กำลังเดือดร้อน ควรฝึกตั้งแต่เด็ก เด็กที่ทำดีเกิดความรู้สึกภูมิใจตนเอง อิ่มเอิบ มีความสุข ซึ่งติดตัวไปตลอดชีวิต แม้เผชิญกับปัญหาหนักๆ ก็ยังมีสติยั้งคิด รู้จักการหาความสุขจากการช่วยเหลือผู้อื่น

นอกจากนี้พ่อแม่ยังเป็นตัวอย่างที่ดี ในการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย เด็กจะประทับใจและทำตามโดยอัตโนมัติ

ฝึกให้เด็กใช้พลังที่มีมากทำดีเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น พอใจที่ได้ช่วยคนอื่น



Create Date : 11 มกราคม 2551
Last Update : 27 ธันวาคม 2551 21:42:23 น. 0 comments
Counter : 1166 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.