บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น - ฝึกทักษะสำคัญพื้นฐานให้กับเด็ก

บทที่ 2 ทักษะสำคัญพื้นฐาน


การช่วยเหลือตนเอง


ทักษะในการช่วยตัวเอง พึ่งตนเอง ทำอะไรได้ด้วยตนเองนั้น เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทักษะอื่นๆ เช่น การควบคุมตนเอง ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้วุฒิภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เด็กปกติจะเริ่มต้นช่วยตัวเองได้ตั้งแต่อายุ1 ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้นกว่าเดิม เริ่มเดินได้ พูดได้ สื่อสารได้ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

การฝึกให้ช่วยตัวเองได้ตามวัย


เริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัยเตอะแตะ(1-2 ขวบ)ไปจนถึงวัยอนุบาล(3-6 ขวบ) เด็กควรจะถูกฝึกให้ช่วยตัวเองเรื่องส่วนตัวง่ายๆ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า ใส่รองเท้าถุงเท้า รับประทานอาหาร จัดเก็บเสื้อผ้า รองเท้า ข้าวของส่วนตัว ของเล่น ให้เป็นที่เป็นทาง เด็กที่ช่วยตัวเองได้จะมีทักษะในการควบคุมกล้ามเนื้อ การใช้มือกับสายตาที่ประสานกันคล่องแคล่ว เริ่มมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถควบคุมตัวเองได้ และสามารถฝึกให้มีทักษะอื่นๆได้ง่าย

ในวัยประถมศึกษา เด็กควรช่วยตัวเองได้มากขึ้น สามารถตื่นนอนเองได้ จัดตารางเวลาเองได้เป็นส่วนใหญ่ จัดตารางสอนและเตรียมของใช้ส่วนตัวเอง จัดเตรียมเสื้อผ้าสำหรับวันรุ่งขึ้น เวลาใกล้สอบมีการวางแผนเตรียมตัวดูหนังสือได้ด้วยตัวเอง เวลาจะไปไหนมีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้าได้

เมื่อถึงวัยรุ่น เด็กควรจะวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับตัวเองได้ รับผิดชอบตัวเองได้เกือบเหมือนผู้ใหญ่ ไม่ต้องคอยบอกให้ทำในเรื่องกิจวัตรประจำวัน วัยรุ่นสามารถรับผิดชอบข้าวของส่วนตัว มีการจัดเก็บข้าวของเงินทองอย่างมีระเบียบ วางแผนการใช้เวลา แผนการใช้เงินได้อย่างดี และสามารถควบคุมตัวเองให้ทำตามแผนการได้ มีเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของตัวเอง มีแนวทางการเรียนต่อและ อาชีพของตนเอง และกำกับตัวเองให้ทำได้สำเร็จตามที่วางแผนไว้

การฝึกเรื่องช่วยตัวเองนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะขาดทักษะเรื่องนี้ และฝึกได้ยากกว่าเด็กทั่วไป การฝึกต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผล และควรฝึกตั้งแต่อายุน้อย ถ้าขาดทักษะพื้นฐานนี้ พ่อแม่จะฝึกทักษะอื่นๆต่อไปได้ยาก ปัญหาที่พบบ่อยๆคือ พ่อแม่คิดว่าไม่จำเป็นต้องฝึก บางคนคิดว่าเอาไว้ฝึกทีหลัง บางคนสงสารเด็กไม่อยากให้ลำบาก บางคนไม่เห็นความสำคัญเลย ทำให้เมื่อโตขึ้นฝึกได้ยากมากกว่า การที่เด็กไม่ได้ฝึกให้ช่วยตัวเองนั้น สภาพจิตใจอารมณ์ก็จะยังเหมือนเด็กที่ยังไม่โต ความคิดและอารมณ์จะมีลักษณะเหมือนเด็กคือเอาแต่ใจตัวเอง ไม่รู้จักการอดทนฝืนใจตัวเองบังคับใจตนเอง ไม่รู้จักต่อสู้เอาชนะความลำบาก แก้ปัญหาในชีวิตด้วยตัวเองไม่ได้ โตขึ้นจึงมีแนวโน้มที่จะแก้ไขปัญหาด้วยอารมณ์เหมือนเด็กๆ เวลาถูกขัดใจอาจแสดงอารมณ์มาก หรือแสดงความก้าวร้าวโดยขาดการควบคุม ทำให้เกิดพฤติกรรมเกเร ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ถ้าพ่อแม่ฝึกทักษะนี้ได้ให้ลูกได้ ทักษะอื่นๆจะสามารถฝึกได้ง่ายเช่นกัน การฝึกทักษะนี้จึงเปรียบเหมือนบันไดก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการฝึกทักษะอื่นๆต่อไป

พ่อแม่ควรมีความรู้ว่าวัยใดควรช่วยตัวเองได้แค่ไหน และฝึกให้ทำได้ตามนั้น
วัยขวบปีแรก ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่เมื่ออายุ 6-12 เดือนสามารถฝึกให้รอคอยช่วงสั้นๆ เช่น เมื่อหิว เมื่ออุจจาระหรือปัสสาวะ เมื่อร้องและต้องการให้ช่วยเหลือ

วัยก่อนอนุบาล บอกความต้องการตนเองง่ายๆ ฝึกให้กลั้นอุจจาระปัสสาวะ และถ่ายให้เป็นที่ทาง

วัยอนุบาล อาบน้ำแปรงฟัน แต่งตัว สวมเสื้อกางเกง สวมร้องเท้า ผูกเชือกร้องเท้า รับประทานอาหารด้วยตนเอง นอนเองคนเดียว ช่วยเหลืองานบ้านง่ายๆ

วัยประถม ตื่นนอนเอง ทำการบ้านด้วยตนเอง ใช้เงินเป็น เก็บเงินได้ จัดเสื้อผ้ากระเป๋า ช่วยงานบ้านสม่ำเสมอ

วัยมัธยม วางแผนเวลา การเรียน กิจกรรม การคบเพื่อน งานรับผิดชอบ ด้วยตัวเอง


เลี้ยงลูกให้ช่วยตัวเองตามวัย ควรปรึกษาแพทย์ถ้าไม่แน่ใจว่าควรฝึกลูกอย่างไร




การสื่อสาร


การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการฝึกทักษะอื่นๆ เด็กสมาธิสั้นหลายคนที่ขาดทักษะนี้ จากลักษณะของโรคสมาธิสั้นของตัวเด็กเอง หรือจากการเลี้ยงดูที่ผ่านมามีปัญหากันมาก เนื่องจากอาการของโรคสมาธิสั้นที่เด็กมักทำผิดจนถูกดุถูกว่าถูกตำหนิถูกลงโทษ เสมอๆ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กไม่ดี เนื่องจากเด็กมักกลัวว่าจะถูกดุถูกว่า เลยไม่กล้าพูดกล้าบอกพ่อแม่ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีปัญหาในการสื่อสาร มักจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่น พ่อแม่ไม่สามารถติดตามความเป็นไปของเหตุการณ์ เมื่อเกิดปัญหาเล็กๆไม่ได้แก้ไขกลายเป็นปัญหาใหญ่ เด็กไม่สามารถระบายความทุกข์ใจได้ ปิดบังความผิดไว้ อาจกลายเป็นการโกหกเพื่อปิดบังความผิด หรือหลบเลี่ยงปัญหา เป็นต้น

จุดอ่อนของเด็กสมาธิสั้นอีกประการ คือ เด็กสมาธิสั้นไม่สมารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถเรียบเรียงเหตุการณ์ได้ จึงไม่สามารถสื่อสารให้คนเข้าใจเรื่องราวได้นั่นเอง

นอกจากนี้ในการฝึกทักษะอื่นๆ การสื่อสารจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพ่อแม่และเด็ก ให้ทราบถึง ความคิด ความคาดหวัง ความต้องการ ความรู้สึก ของกันและกัน ทำให้เกิดความเข้าใจกัน มองกันในแง่ดี ประนีประนอมโอนอ่อนเข้าหากัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาในตัวเด็ก
  • . การฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี เริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิด ถึงเด็กจะยังพูดไม่ได้ แต่เด็กเรียนรู้คำพูดที่พ่อแม่พูดกับเขาได้


  • . เด็กเรียนรู้ภาษากายของพ่อแม่ เช่นการอุ้ม การกอด การกล่อมนอน แสดงถึงความรักความเอาใจใส่ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และจะทำให้มีสื่อสารที่ดีตามมาด้วย


  • . เมื่อเด็กเริ่มหัดพูด ควรพยายามฟังและทำความเข้าใจ


  • . เมื่อเด็กเริ่มเล่น ควรเล่นกับเด็ก การสนุกสนานกับเด็ก เป็นการสื่อสารทางอารมณ์ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี


  • . เมื่อเด็กเริ่มพูดเป็นประโยคยาวๆ ควรฟังอย่างตั้งใจ และคอยให้เด็กพูดจบก่อน ถ้ามีการพูดผิด ทำให้ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด พ่อแม่ควรสอนการเรียบเรียงคำพูดให้ฟังรู้เรื่อง แสดงแบบอย่างสั้นๆให้สื่อสารได้ตรงจุด เด็กจะเลียนแบบการพูดของพ่อแม่


  • . เมื่อเด็กถาม พ่อแม่ควรสนใจและตอบให้เพียงพอต่อความสามารถในการรับรู้ของเด็ก ในเด็กเล็กตอบสั้นๆง่ายๆ และถามกลับไปบ้างเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด เมื่อเด็กตอบได้ดี ควรชื่นชม


  • . พ่อแม่ควรพยายามชวนคุย ให้เด็กเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไป เช่น

  • “เมื่อตะกี้นี้ ลูกเล่นอะไรกับเพื่อน”

    “เมื่อกี้นี้ ลูกเห็นอะไรเกิดขึ้น บนถนนที่ผ่านมา”

  • . ในการสนทนา ใช้เทคนิคการสำรวจ “ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม” เช่น

  • “วันนี้มีอะไรเกิดขึ้น ที่ประทับใจลูก(ความคิด) .......”

    “ลูกรู้สึกอย่างไร(ความรู้สึก)................”

    “แล้วลูกทำอะไร(พฤติกรรม).............................”

  • . เมื่อเด็กไปโรงเรียนกลับมา ควรชวนให้เล่าเรื่องสนุกๆที่เกิดขึ้น (อย่าพยายามถามถึงเรื่องร้ายๆ ที่ทำให้เขาถูกดุก่อน)


  • . ก่อนเด็กอ่านหนังสือได้เอง พ่อแม่ควรอ่านให้เด็กฟัง ทำให้เด็กสนุกกับการฟัง และมีความอยากอ่านด้วยตัวเอง


  • . เมื่อเด็กอ่านได้ ให้เด็กลองเล่าสิ่งที่เขาอ่าน หรือลองเล่าต่อให้น้อง หรือคนอื่นๆ


  • . ชมเชยการสื่อสารที่ดี ช่วยแก้ไขการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง


  • . ฝึกคำพูดสื่อสารที่เป็นพฤติกรรมสังคมทางบวก ได้แก่ “ขอโทษ ขอบคุณ สวัสดี ขออนุญาต ฯลฯ” ให้ติดตัวจนเป็นนิสัย พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เมื่อพ่อแม่ทำผิดเอง การขอโทษไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่จะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เมื่อทำผิดแล้ว มีการยอมรับความผิดได้ และมีความพยายามจะป้องกันแก้ไขมิให้เกิดขึ้นอีก


  • . ในบ้านควรใช้คำพูดที่สุภาพ อ่อนโยน จริงใจ


  • . พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง การสื่อสารที่รุนแรงกัน เช่นการทะเลาะด้วยอารมณ์ การเหน็บแนมประชดประชัน เสียดสี


  • . หลีกเลี่ยงการบ่น พูดมาก ท้าวความหลังความผิดเก่าๆ เมื่อเกิดปัญหารีบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขโดยเร็ว


  • . พ่อแม่เป็นตัวอย่างของการสื่อสารที่ดีต่อลูก มีการรับฟังกัน บอกความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจน ใช้คำพูดที่ง่าย สื่อความหมายตรง ไม่เป็นอารมณ์กัน


การฝึกทักษะการสื่อสารนี้ ควรทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่พูดน้อย ไม่ค่อยกล้าแสดงออก พ่อแม่ไม่ควรหงุดหงิดหรือโกรธที่เด็กไม่กล้าในระยะแรก ท่าทีพ่อแม่ที่ใจเย็นและเปิดโอกาสเสมอจะช่วยให้เด็กกล้าขึ้น พ่อแม่อย่าลืมชื่นชมเมื่อเด็กกล้าแสดงออก แม้ว่าจะยังไม่ดีนักในระยะแรก

การสื่อสาร ทำให้เกิดความเข้าใจกัน มีพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์




ความมีระเบียบวินัย


ระเบียบวินัยคือทักษะส่วนตัวที่จะควบคุมตนเอง ให้อยู่ในกรอบกติกาของสังคมสิ่งแวดล้อม พ่อแม่สามารถเริ่มต้นฝึกได้ตั้งแต่เด็กอายุย่างเข้าขวบปีที่ 2 เป็นต้นไป เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีอาการชัดเจนตั้งแต่วัยนี้ เนื่องจากตามพัฒนาการของเด็กวัยนี้มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เด็กเริ่มเดินได้เคลื่อนไหวได้มาก จะมีพฤติกรรมซน เคลื่อนไหวมาก ไม่ค่อยหยุดนิ่ง เหมือนเครื่องยนต์ที่ติดแล้วจะเดินตลอดเวลา อยากรู้อยากเห็นอยากสำรวจ อยากทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ค่อยชอบอยู่ในกฎเกณฑ์กติกา พอเริ่มขวบที่2 เด็กจะเริ่มมีความสามารถในการควบคุมตนเองมากขึ้น สังเกตได้จากการที่เด็กควบคุมการขับถ่ายได้ วัยนี้จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ดื้อ อยากทำอยากลอง ไม่ค่อยเชื่อฟัง แต่พ่อแม่จำเป็นต้องฝึกให้มีการควบคุมตนเอง ให้เด็กอยู่ในกฎเกณฑ์กติกา ให้เด็กรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การฝึกให้มีระเบียบวินัยเริ่มจากการกำหนดให้กิจกรรมทุกอย่างอยู่ในกติกาง่ายๆ 3 ข้อให้ได้ คือ
  1. ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น


  2. ไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง และ


  3. ไม่ทำข้าวของเสียหาย

เด็กสมาธิสั้นที่สติปัญญาเป็นปกติ จะเรียนรู้หลักเกณฑ์สามข้อนี้ได้เร็วเหมือนเด็กทั่วไป แต่อาจจะยังไม่สามารถยับยั้งใจตัวเองได้ จึงมักจะมีพฤติกรรมไปตามแรงจูงใจจากภายในโดยมีการกระตุ้นจากภายนอก โดยขาดการยั้งคิด ขาดการไตร่ตรอง การฝึกเด็กสมาธิสั้นในเรื่องนี้ต้องใช้เวลา ความสม่ำเสมอและเอาจริงให้มาก พ่อแม่ต้องมีเวลาติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จัดสิ่งแวดล้อมให้ดีไม่เปิดโอกาสให้เด็กทำผิด ปัญหาอาจจะเกิดเนื่องจากจากพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลา การให้พี่เลี้ยงหรือญาติผู้ใหญ่เช่นปู่ย่าตายายดูแลก็มักจะตามใจเด็ก ไม่กล้าขัดใจเด็ก และเวลาเด็กโวยวายเมื่อถูกขัดใจ ผู้ใหญ่มักจะกลัว หรือตัดรำคาญยอมตามใจให้เด็กละเมิดกฎได้ เด็กจะเรียนรู้เร็วมากถึงท่าทีและปฏิกิริยาของผู้ใหญ่เช่นนี้ ในที่สุดกติกาที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจัง หลังจากนั้นการฝึกเด็กในเรื่องอื่นๆมักจะทำได้ยากด้วยเช่นกัน

วิธีฝึกเรื่องระเบียบวินัยให้ได้ผลดีนั้น ทำได้ดังนี้
ขั้นแรก เริ่มจากการสื่อสารให้เด็กรู้ว่ากฎเกณฑ์กติกาคืออะไร ด้วยภาษาง่ายๆเหมาะกับวัยของเด็ก ให้เด็กรู้ว่าผู้ใหญ่คาดหวังพฤติกรรมอะไรจากเด็ก ในเด็กเล็กพ่อแม่อาจกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไปเลย ในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการกำหนดพฤติกรรมพึงประสงค์หรือกติกานี้ได้

ขั้นที่สอง หลังจากที่เด็กรับทราบกติกาดีแล้ว ผู้ใหญ่ต้องมีการกำกับให้ทำทันที อย่างนุ่มนวล แต่เอาจริง สม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้เด็กหลบเลี่ยง ไม่มีการต่อรองกันบ่อยๆ การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดได้ แต่ต้องทดลองปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจตั้งเป้ากันไว้ล่วงหน้าเลยว่า เรา(พ่อแม่ลูก)จะทดลองทำตามที่วางแผนกันไประยะแรกนานเท่าใด หลังจากนั้นจะมีการประเมินผล ถ้ามีปัญหา อุปสรรค ก็จะนำกลับมาพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ ตั้งเป็นกฎหรือกติกาใหม่ก็ได้ แต่ทุกอย่างจะต้องมีการวางแผนร่วมกันล่วงหน้า การเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการตั้งกติกา จะใช้ได้เป็นประโยชน์มากในกรณีเด็กโต เพราะเด็กจะร่วมมือมากขึ้น ในเด็กเล็กๆส่วนใหญ่อาจต้องกำกับหรือสั่งตรงๆบ้าง ในการตกลงกันเรื่องกติกานั้น บางทีสามารถตกลงกันล่วงหน้าได้ว่า ถ้ามีการละเมิดกติกา จะให้พ่อแม่จัดการอย่างไร

ขั้นตอนที่สาม คือการติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด จริงจัง ถ้าเด็กทำได้ตามที่ตกลงกันไว้ ให้ชมเด็กเพื่อให้เด็กมีแรงจูงใจจะทำพฤติกรรมนั้นอีก แต่ถ้าไม่ทำตามกติกา ให้พ่อแม่กำกับให้ทำทันที เด็กอาจมีปฏิกิริยา โวยวาย ร้องไห้บ้าง ให้วางเฉยโดยไม่โต้ตอบ แต่เมื่ออารมณ์เด็กสงบให้พูดดีด้วย พ่อแม่อาจสอนหรือเตือนเด็กได้สั้นๆเมื่อมีทีท่ารับได้ไม่โวยวายไปตามอารมณ์ ถ้าเด็กยอมรับในความผิดของตนเอง ให้พ่อแม่ชื่นชมในส่วนที่คิดดีนี้ด้วยเช่นกัน

ขั้นที่สี่ เมื่อเด็กทำได้ตามกติกาแล้ว ให้ชื่นชมเด็ก และส่งเสริมให้เด็กชื่นชมตนเอง ให้คนอื่นได้ชื่นชมด้วย เช่น พี่น้อง ญาติ เพื่อน ในที่สุดระยะยาวเด็กไม่จำเป็นต้องรอคอยการชื่นชมจากผู้อื่น ในช่วงแรกนี้ พ่อแม่คอยสังเกตดูเป็นระยะๆว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ดีสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้ายังขึ้นๆลงๆขาดหายไปหรือลืมไปบ้าง พ่อแม่ต้องกลับมาคอยกำกับให้ทำสม่ำเสมอใหม่ จนพฤติกรรมที่ดีนั้นติดเป็นความเคยชิน และเป็นนิสัยในที่สุด

ขั้นตอนที่ห้า เมื่อเด็กทำได้สม่ำเสมอดี ให้เด็กเป็นตัวอย่างของน้อง ชี้ให้น้องเห็นว่าพี่เป็นที่ชื่นชมจากพ่อแม่จากการมีระเบียบวินัยนี้ ให้พี่ช่วยกำกับน้องให้มีพฤติกรรมสอดคล้องกัน การจัดระเบียบภายในบ้ายควรครอบคลุมถึงเด็กๆทุกคนอย่างทั่วถึง และเป็นไปตามหลักการเดียวกันด้วย เด็กๆจะทำตามได้ง่าย


ตัวอย่างของกฎเกณฑ์กติกาพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องมีในบ้าน
  • . ตารางเวลากิจกรรมประจำวัน มีเวลาทำกิจกรรมชัดเจน ให้ทำตามเวลาที่กำหนดโดยวางแผนล่วงหน้า ทำกิจกรรมและ เลิกตามเวลา เริ่มจากกิจวัตรประจำวัน การตื่นนอน อาบน้ำแปรงฟัน แต่งตัว กินข้าว ไปโรงเรียน ออกกำลังกาย การเล่น ทำการบ้าน ทบทวนบทเรียน ดูโทรทัศน์ เข้านอน


  • . การเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นที่เป็นทาง ของเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องเก็บของเล่นเข้าที่เดิม พ่อแม่ไม่ควรเก็บให้ลูก ถ้ายังเก็บไม่เสร็จไม่อนุญาตให้เล่นอย่างอื่น เสื้อผ้าใช้แล้วให้ใส่ตะกร้าผ้าซัก รองเท้าจัดวางให้เป็นที่ ฯลฯ


  • . การทำกิจกรรมให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ไม่เล่นในห้องน้ำ เวลากินข้าว เวลาทำการบ้าน หรือเวลานอน การวาดรูปขีดเขียนให้ทำลงบนกระดาษ ไม่ใช่บนฝาบ้าน เป็นต้น


  • . การเล่นต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เล่นกันดีๆ มีการแบ่งปันกัน ถ้าทะเลาะกันให้จับแยกกันสักครู่


  • . ไม่ทำข้าวของเสียหาย


  • . ไม่เกิดอันตรายกับตนเอง


  • . ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น


กฎกติกาในบ้าน เป็นพื้นฐานของการสร้างระเบียบวินัย




การป้องกันความเสี่ยง


ลักษณะหุนหันพลันแล่นของเด็กสมาธิสั้น ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่นที่เป็นอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พฤติกรรมก้าวร้าวเกเร เนื่องจากการขาดการยั้งคิด นึกอยากจะทำอะไรก็ทำทันที โดยไม่ได้นึกถึงผลที่จะติดตามมา พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าก่อนจะทำอะไรลงไป ควรมีการยั้งคิดให้ดี คิดก่อนทำ คิดให้รอบคอบ คิดถึงผลดีผลเสีย และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อคิดถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นถี่ถ้วนแล้ว ควรฝึกให้เด็กรู้จักการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การฝึกทำได้ตลอดเวลา โดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันเป็นตัวอย่างการประเมินและหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

หัดให้เด็กคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น
“ถ้าไม่ล้างมือก่อนกินข้าว จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง”

“จะเกิดอันตรายอะไรได้บ้าง เมื่อเล่นกลางฝน”

“การขี่จักรยานในถนน อาจจะเกิดอันตรายอะไรบ้าง”

“ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรบ้าง ถ้าขึ้นลิฟต์คนเดียว”

“เวลาข้ามถนน ต้องระวังอะไรบ้าง”

“ลูกควรจะทำอย่างไรดี เมื่อถูกเพื่อนล้อเลียน”

“ถ้าเพื่อนล้อลูก แล้วลูกชกเขา จะเกิดอะไรตามมา”

หัดให้เด็กเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น
“ลูกคิดว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมา เกิดขึ้นได้อย่างไร”

“ถ้าลูกสามารถกลับไปแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วได้ ลูกจะทำใหม่อย่างไร”

“ลูกคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้น่าจะป้องกันได้อย่างไร”

“ถ้าจะไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก ควรจะทำอย่างไร”

เมื่อเด็กคิดได้ดี พ่อแม่ควรชม และชี้แนะสั้นๆเมื่อลูกยังคิดเองไม่ได้ กระตุ้นให้คิดเองบ้างบางจังหวะ เชื่อมโยงเหตุการณ์กับประสบการณ์เดิมในอดีตที่เด็กจำได้ เด็กจะเรียนรู้จากการทบทวนตนเอง ได้แนวคิด วิธีคิดมาจากภายในตนเอง

กระตุ้นให้เด็กคิดเรื่องความเสี่ยงที่อาจขึ้น การป้องกันและแก้ไข



Create Date : 11 มกราคม 2551
Last Update : 27 ธันวาคม 2551 21:31:55 น. 1 comments
Counter : 1335 Pageviews.

 
เป็นข้อแนะนำที่ดีมากๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ



โดย: PoNdLaR IP: 58.8.80.138 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:10:41:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.