บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
4 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
การตรวจวัดงานประเภทคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม

การตรวจวัดงานประเภทคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)




งานประเภทคุณภาพ หรือ Quality อย่างงาน ศิลปะ กับ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ดูเหมือนว่ามันจะวัดไม่ได้ แต่มันก็ยังมีการวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงในการประเมินผลงานอยู่ อาจจะยุ่งยากซับซ้อนไปบ้างแต่ก็สามารถทำให้ระบบงานขององค์กรต่างๆ ได้ตรวจวัดอย่างเป็นรูปธรรมได้

ยกตัวอย่าง งานศิลปะ อย่างเช่นการออกแบบกราฟฟิค ซึ่งจะใช้เวลาในการคิดและออกแบบในแต่ละชิ้นงานแตกต่างกัน แต่ก็จะสามารถตรวจวัดได้ทั้ง ปริมาณ (Quantity) และ คุณภาพ (Quality) ในส่วนของ ปริมาณ (Quantity) ก็จะจับวัดเวลาของแต่ละคนในแต่ละชิ้นงาน ถ้างานใช้เวลาเฉลี่ยขึ้นมาเป็นวัน หรือ มากกว่า การตรวจวัดผลก็จะกลายเป็นผลรวมของสัปดาห์ หรือ ผลรวมของเดือนไป ซึ่งนำเอาผลงานในรอบการทำงาน มาคูณกับเวลาเฉลี่ยของการทำงานในทีม แล้วหารด้วย เวลาที่ใช้งานไปจริงๆ ก็จะสามารถตรวจวัดปริมาณงานที่ทำว่า มีสัดส่วนการทำงานได้ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

แต่โดยปกติ จะเห็นว่า องค์กรต่างๆ จะกำหนด KPI ไม่เป็น โดยกำหนดว่า ปีนี้ต้องได้ 10 ชิ้นงาน ซึ่งจริงๆ แล้ว การกำหนดเช่นนี้ ไม่ใช่การวัด Performance มันเป็นแค่การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งสื่อให้เห็นว่า องค์กรในไทย ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Performance กับ Target

งานในส่วน คุณภาพ (Quality) อย่างงานศิลปะ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ ในการตรวจวัด อาจจะต้องใช้ระดับของคุณภาพ โดยกำหนดระดับไว้เป็น 3 หรือ 5 ระดับ ซึ่งส่วนใหญ่ จะทำอยู่ 3 ระดับ คือ ด้อยพัฒนา ยอมรับได้ และ พัฒนาแล้ว ซึ่งแต่ละหัวข้อก็จะมี คะแนนของแต่ละหัวข้อ แล้วแต่องค์กรแต่ละองค์กรกำหนด เช่น ด้อยพัฒนา มีคะแนนเป็น 0 (ศูนย์) หรือ 1, ยอมรับ ได้มีคะแนนเป็น 3 และ พัฒนาแล้ว มีคะแนน เป็น 5 เป็นต้น

และ ถ้าจะทำจริงๆ ก็ต้อง List หัวข้อของงานออกมาอย่างละ 7-10 หัวข้อ แล้วให้มีการประเมินเลือกทั้ง 3 กลุ่มออกมาทั้งหมด 8 หัวข้อ ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของงานทางคุณภาพ ซึ่งผู้ถูกประเมิน ก็จะเห็นว่าตนต้องปรับปรุงอะไร และ ตนมีจุดแข็งทางด้านใด

ยกตัวอย่างของเรื่อง ความคิดสร้างสรรในการทำงาน ซึ่งเอามิติของความสามารถ การรับทำภาระกิจ และ ผลักดันความคิดริเริ่ม ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของงานในหน้าที่ๆกำหนดให้ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพของงาน โดยมีการกำหนดแต่ละกลุ่ม ไว้ยกตัวอย่างเช่น (อาจจะใช้มิติอื่นก็ได้ อันนี้แค่ยกตัวอย่างให้เห็น)

ด้อยพัฒนา (0)
  • - จำเป็นต้องได้รับการควบคุมดูแลหรือชี้แนะอย่างมาก

  • - จำเป็นต้องแสดง หรือ เตือนถึงงานมากกว่าหนึ่งครั้ง

  • - เมื่อทำงานหรือเป้าหมายหนึ่งสำเร็จลง ก็ไม่มองหางานเพิ่มเติมอีก

  • - มีทัศนะที่คับแคบมากต่อบทบาทของงาน หรือ ภาระกิจที่มอบหมาย

  • - ไม่มองหางานนอกขอบเขตของตนเอง

  • - ไม่แสวงหาคำตอบหากมีคำถามหรืออุปสรรคที่เผชิญในงานของตน

  • - ไม่ใช้หลักตรรกะหรือ สามัญสำนึก ในงานที่ทำ

  • - บั่นทอนไม่ให้ผู้อื่นทำงาน หรือ แสดงบทบาทของตนอย่างเต็มที่


ยอมรับได้ (3)
  • - มองหาสิ่งที่ต้องทำอยู่เสมอโดยไม่ต้องมีใครขอร้อง

  • - เมื่อได้รับมอบหมายงาน ก็แสดงความมั่นใจและความเต็มใจที่จะทำงานนั้น

  • - จัดการงานของตนเองจนเสร็จ ต้องการคำชี้แนะเมื่อแนวทาง แผนงาน และ เป้าหมายไม่ชัดเจน หรือ ไม่ครอบคลุมถึงสถานการณ์เฉพาะ

  • - พิจารณา แจ้ง หรือ ดึงให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม หากคนเหล่านั้นจะได้รับผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมจากความคิดริเริ่มของตน

  • - ใช้หลักตรรกะและสามัญสำนึกในการทำงนา

  • - มองหาหนทางเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หลังจากทำงานของตนได้เรียบร้อยแล้ว

  • - แสดงถึงหลักการตัดสินที่มีเหตุผล ว่าความคิดหรือข้อเสนอใดที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง


พัฒนาแล้ว (5)
  • - มุ่งเน้นพยายามไปในเรื่องที่เพิ่มมูลค่าสูงสุดแก่องค์กร

  • - รับทำงานที่มอบหมายให้ซึ่งอยู่เหนือขอบเขตงานของตนเอง และ แจ้งให้ผู้อื่นทราบถึงการกระทำ และ จุดมุ่งหมายของตน

  • - อาสาที่จะแก้ปัญหา แม้ว่างานนั้นจะถูกมอบหมายให้คนอื่น

  • - มีความสนใจและทุ่มเท ให้กับการมองถึงสาเหตุของปัญหา เห็นประเด็นสำคัญ และ ระบุถึงข้อเท็จจริง แนวโน้ม และ มีความสามารถแยกแยะ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ ไม่เกี่ยวข้อง

  • - ระบุได้ถึงช่องว่างของข้อมูลหรือ ความจำเป็นในการหาข้อมูลเพิ่มเติม และหาทางให้ได้รับข้อมูลที่จำเป็นนั้นกลับมา

  • - จัดระเบียบข้อมูลเพื่อระบุ หรือ อธิบายแนวโน้ม ปัญหา และ สาเหตุที่เกิดขึ้น

  • - แสวงหาโอกาสการอบรม และ พัฒนาอย่างแข็งขัน และ มีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพของตน


ทั้งนี้ การประเมินยังคงต้องใช้หัวหน้างานในการประเมิน และ ต้องคุยกับพนักงาน ว่ายอมรับในการประเมินนั้นหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่ายโดยใช้เหตุผลของแต่ละฝ่ายเป็นหลัก ไม่ใช้อำนาจหน้าที่และความเบี่ยงเบนในการตัดสิน

สมมุติว่า นาย ก. ประเมิณได้หัวข้อ ต้องปรับปรุง 1 หัวข้อ ยอมรับได้ 4 หัวข้อ และ พัฒนาแล้ว 3 หัวข้อ นาย ก. ก็จะได้คะแนนของความคิดสร้างสรรในการทำงานเป็น (1*0)+(4*3)+(3*5) = 27
ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ก็จะได้ 27/8 = 3.375

ทั้งนี้ ถ้าประเมินแบบปกติ ที่ประเมินเป็น คนนี้ก็อาจจะได้เพียง 3 หรือ 4 โดยไม่มีเหตุผลอย่างเป็นรูปธรรม และ อาจจะไม่มีแนวทางการปรับปรุงการทำงานของคนนี้ก็ได้ ซึ่งโดยองค์กรปกติ มักจะทำกันเช่นนี้ ประเมินเป็นจำนวนเต็ม 1-5 หรือ 0-5 ก็แล้วแต่

แต่หากเปลี่ยนแนวทางเพื่อเป็นไปอย่างยุติธรรม มีเหตุมีผลอย่างเช่นที่ยกตัวอย่าง การประเมิณงานทางด้านคุณภาพ ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถตรวจวัดได้ อย่างน้อยก็ยังมีแนวทางที่จะตรวจวัดได้อีกแนวหนึ่ง ที่ลดความเบี่ยงเบน ความโน้มเอียงของผู้ประเมินผลได้ อีกทั้ง ยังสามารถชี้แนะให้พนักงานได้ปรับปรุงตนเองได้ถูกต้องตามแนวทางขององค์กรอีกด้วย ถึงแม้นว่าการหาหัวข้อต่างๆในการประเมินจะยากเสียหน่อย แต่ถ้ามีจุดที่จะสังเกตแล้วมันก็จะไม่ยากอย่างที่คิดครับ



Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 9:49:32 น. 2 comments
Counter : 2652 Pageviews.

 
เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา. นักเรียน..ครูอาจารย์ และ ผู้ใฝ่เรียนรู้ และรักการพัฒนา เป็นอย่างยิ่งค่ะ


โดย: ฐิตา ฉายแสง IP: 125.25.104.117 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:20:49:52 น.  

 
ชอบมาอ่าน เก็บ ความรู้
ครับ ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยครับ

แต่ถ้าเราถูกโยนคำถามที่ว่า

ทำอย่างไง
กับพนักงานที่เงินถึง
เพดานดี

เราจะหาไรมาแก้โจทย์


โดย: day nida IP: 124.120.240.60 วันที่: 29 กันยายน 2552 เวลา:13:50:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.