|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | |
|
|
|
|
|
|
|
อุตุแจ้งเตือน ปรากฏการณ์ "ลานิญา" อาจทำไทยท่วมซ้ำ
หลายคนคงขวัญผวากันเป็นแถว หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาเตือนว่าปรากฏการณ์ "ลานิญา" ยังคงมีอิทธิพลกับประเทศไทย ต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีคือประมาณเดือนมิถุนายน ส่งผลให้มีฝนตกมากกว่าปกติ บางคนที่บ้านถูกน้ำท่วมมาแล้ว ถึงขั้นประกาศว่าจะไม่ทำอะไรกับบ้านตัวเองมากนัก นอกจากทำความสะอาดให้พออยู่ได้ อุปกรณ์ ข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ อะไร ที่ขนหนีน้ำไปอยู่ชั้นบน ก็ยังไม่ขนลง และไม่ยอมทาสีบ้านใหม่
หรือบางรายก็ประกาศขายบ้านไปเลยก็มี
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เมื่อปี 2554 อากาศคล้ายๆ แบบนี้ ฝนตกแบบนี้ ตกสะสม อยู่ที่บริเวณเหนือเขื่อนในพื้นที่ภาคเหนือ และยังตกหนักในภาคใต้จนเกิดน้ำท่วมใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
แม้ว่า ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) จะยืนยันว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้ไม่รุนแรงเท่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า ปีนี้น้ำจะไม่ท่วมอีก
"ลานิญา" เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันออกมีค่าต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ เนื่องจาก "ลมค้า" ตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่เป็นประจำในแปซิฟิกเขตร้อนทางซีกโลกใต้ มีกำลังแรงกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก หรือบริเวณฝั่งเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ ไปสะสมอยู่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตก หรือบริเวณชายฝั่งอินโดนีเซียและออสเตรเลียมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกซึ่งแต่เดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกอยู่แล้ว กลับยิ่งมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมากยิ่งขึ้นไปอีก มีผลทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกมีปริมาณฝนมากขึ้น ขณะที่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกจะมีความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน
ปรากฏการณ์ "ลานิญา" จะเกิดโดยเฉลี่ย 5-6 ปี ต่อครั้ง และแต่ละครั้งกินเวลานานประมาณ 1 ปี
ประเทศไทยมีอิทธิพลของปรากฏการณ์ "ลานิญา" ครอบคลุมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และยังต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้
เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "ลานิญา" บริเวณที่มีผลกระทบทำให้มีปริมาณฝนมากกว่าปกติ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลียตอนเหนือ ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนบริเวณที่มีผลกระทบแต่ทำให้มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ ได้แก่ ประเทศชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา บราซิลตอนใต้ ถึงตอนกลางของประเทศอาร์เจนตินา
สำหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบขนาดรุนแรงที่มีต่อฝนและอุณหภูมิใน 3 ฤดู ฝ่ายวิชาการภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า สำหรับฤดูฝนปีที่เกิด "ลานิญา" หรือราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมนั้น ฝนจะสูงกว่าปกติเว้นแต่ทางบริเวณของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ
ฤดูหนาวปลายปีที่เกิด-ต้นปีหลังเกิด "ลานิญา" พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์นั้น ทั่วประเทศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ สำหรับฝนในฤดูหนาวของประเทศตอนบนมีอุณหภูมิในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ เว้นแต่ตามบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกที่จะมีฝนสูงกว่าปกติ และฝนในภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งในครึ่งแรกของฤดู พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ จะมีฝนสูงกว่าปกติ แต่ฝนจะลดลงในครึ่งหลังของฤดูหรือมกราคมถึงกุมภาพันธ์โดยอาจจะมีฝนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ
ฤดูร้อนปีหลังเกิด "ลานิญา" หรือมีนาคมถึงพฤษภาคม ทั่วประเทศจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทั่วประเทศ และจะมีฝนตกลงมาบ้าง อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติทั่วประเทศซึ่งจะทำให้อากาศไม่ร้อนมาก
ใครจะทะเลาะ ก็ทะเลาะกันไป ใครจะลาออก ก็ลาออกไป แต่ใครที่มีหน้าที่ ที่ต้องทำ ต้องเตรียมการ ต้องแก้ไข ก็อย่าได้ละเลยหน้าที่ของตัวเองเลย เรื่องของน้ำ (ท่วม) มันไม่เข้าใครออกใคร...
Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2555 |
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2555 4:06:28 น. |
|
0 comments
|
Counter : 680 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|