Group Blog
 
 
มิถุนายน 2560
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 มิถุนายน 2560
 
All Blogs
 
ทำไมภาษาจีนมาหลายภาษา



หลายๆคนอาจสงสัยว่าทำไมภาษาจีนมีหลายภาษาจัง ไม่ว่าจะเป็นภาษาแต้จิ๋ว ภาษาฮกเกี้ยน ภาษาแคะ ภาษากวางตุ้ง และอื่นๆอีกมากมาย โดยที่ภาษาเหล่านั้นไม่สามารถคุยกันรู้เรื่อง!! (mutually intelligible) เรามาดูวิวัฒนาการของภาษาจีนกันดีกว่า

สัทวิทยาภาษาจีน (ระบบการออกเสียงในภาษาจีน) เชิงประวัติ

สัทวิทยาภาษาจีนเชิงประวัติว่าด้วยการสร้างระบบเสียงของภาษาจีนที่พูดกันในอดีตขึ้นใหม่ (reconstruct)  เนื่องจากภาษาจีนถูกเขียนโดยใช้อักขระเชิงสัญลักษณ์ (logographic characters) ไม่ใช่อัขระที่เป็นตัวอักษร (alphabetic characters ) หรือใช้รูปแบบการสะกดคำ วิธีที่ใช้ในสัทวิทยาภาษาจีนเชิงประวัติจึงแตกต่างกับวิธีที่ใช้ในภาษาอย่างเช่นตระกูลอินโดยูโรเปียน (เช่นภาษาอังกฤษ) เป็นอย่างมาก

ภาษาจีนถูกบันทึกไว้เป็นระยะเวลานานมาแล้ว โดยงานเขียนบนกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดนั้นย้อนไปเมื่อราว 1250 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานเขียนโดยมากจะใช้อักขระเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงระบบการออกเสียงโดยตรง การสร้างระบบเสียงในอดีตขึ้นใหม่จึงทำได้ค่อนข้างลำบาก และต้องอาศัยแหล่งข้อมูลต่างๆที่บันทึกระบบการออกเสียงเอาไว้ เมื่ออิงจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ภาษาจีนในอดีตจะแบ่งได้เป็นสมัยต่างๆโดยสังเขปดังต่อไปนี้

ภาษาจีนสมัยเก่า อย่างกว้างๆจะนับตั้งแต่ 1300 ปีก่อนคริตกาลถึงศรรตวรรษที่ 1 หรืออย่างแคบลงมาคือ 1000 – 700 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งภาษาจีนสมัยเก่านั้นถูกสร้างระบบเสียงขึ้นใหม่โดยอิงจากสัมผัสของบทกวียุคเก่าอย่างชี่จิง (Shijing) และองค์ประกอบที่เกี่ยวกับระบบเสียงที่ปรากฏในตัวอัขระจีน

ภาษาจีนสมัยกลาง อย่างกว่างๆจะนับตั้งแต่ศรรตวรรษที่ 6 ถึงศรรตวรรษที่ 12 แคบลงมาคือศรรตวรรษที่ 6 ซึ่งภาษาจีนสมัยกลางนั้นถูกสร้างระบบเสียงขึ้นใหม่โดยอิงจากระบบการออกเสียงแบบละเอียดทีปรากฏในพจนานุกรมของเฉยยุน (Qieyun rime dictionary)

ภาษาจีนสมัยใหม่ ตั้งแต่ศรรตวรรษที่ 13 จนถึงปัจจุบัน ภาษาจีนสมัยใหม่กลุ่มต่างๆนั้นส่วนมากปรากฏว่าแตกแขนงออกมาจากภาษาจีนสมัยกลางตอนท้ายราวๆปี 1000 (แต่ก็พบว่ามีบางกลุ่มที่แตกแขนงออกมาก่อนหน้านั้นเช่นกัน)

โครงสร้างของภาษาจีนสมัยกลางนั้นคล้ายอย่างมากกับภาษาจีนสมัยใหม่กลุ่มต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่อนุรักษ์นิยมอย่างภาษากวางตุ้ง – Cantonese ) ซึ่งใช้คำพยางก์เดียวเป็นส่วนใหญ่ มีการเชื่อมคำ (สมาส/ สนธิ) น้อยมากหรือไม่มีเลย มี 4 ระดับเสียง แต่ละพยางก์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น ตัวควบกล้ำ สระหลัก และตัวสะกด โดยมีพยัญชนะต้นมากมาย แต่มีตัวสะกดค่อนข้างน้อย ไม่มีอักษรควบ (cluster)ไม่ว่าจะพยัญชนะต้นหรือตัวสะกด (ยกเว้นควบกล้ำ)

ในทางตรงกันข้าม ภาษาจีนสมัยเก่านั้นมีโครงสร้างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่มีระดับเสียง และมีความสมดุลระหว่างจำนวนพยัญชนะต้นกับตัวสะกดมากกว่า และมีอักษรควบมากมาย มีระบบการผันคำและการเชื่อมคำที่ถูกพัฒนามาอย่างดี เช่นใช้พยัญชนะเพิ่มไปหน้าหรือหลังพยางก์หนึ่งๆ ระบบนี้คล้ายๆกับภาษาตระกูลโปรโตซิโนทิเบตัน (Proto-Sino-Tibetan) ที่ถูกสร้างระบบเสียงขึ้นใหม่ และยังปรากฏให้เห็นในภาษาเขียนของทิเบตอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงหลักๆที่นำไปสู่ภาษาจีนสมัยใหม่กลุ่มต่างๆคือการลดจำนวนพยัญชนะและสระลงพร้อมๆกันการเพิ่มระดับเสียง นี่นำไปสู่การค่อยๆลดจำนวนลงของพยางก์ที่เป็นไปได้ ในภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ดำเนินไปไกลกว่าที่ไหนๆนั้น มีพยางก์ที่เป็นไปได้อยู่เพียงราว 1200 แบบเท่านั้น ผลที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) จึงปรากฏคำสองพยางก์ให้เห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งแทนที่คำพยางก์เดียวที่ใช้ในอดีต ในขนาดที่ว่าคำส่วนใหญ่ของภาษาจีนกลางในปัจจุบันเป็นคำสองพยางก์

ภาษาจีนที่บ้านเรารู้จักกันดี เช่นภาษาฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จัดอยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่นใต้ (MIn Nan) นักภาษาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่าแตกออกมากจากภาษาจีนสมัยเก่าเมื่อราวๆ ปี 200 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ภาษากลุ่มหมิ่นใต้นี้ จึงเป็นภาษาในปัจจุบันที่ใกล้เคียงกับภาษาจีนสมัยเก่ามากที่สุด ดังนั้นเมื่อนำบทกวีในที่แต่งในสมัยรางวงศ์ฮั่นมาอ่านด้วยภาษาหมิ่นใต้ (ภาษาจีนทุกกลุ่มใช้ตัวภาษาเขียนแบบเดียวกัน) จะพบสัมผัสต่างๆที่จะไม่พบเมื่ออ่านด้วยภาษากลาง 

ภาษาจีนกลุ่มอื่นๆไม่ว่าจะเป็นภาษากวางตุ้งที่ใช้ในฮ่องกง ภาษาแคะ (Hakka) ภาษาอู๋ที่เคยใช้แถวเซี่ยงไฮ้ แม้กระทั่งภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) นั้น ได้เริ่มแตกแขนงออกมาจากภาษาจีนสมัยกลางในสมัยราชวงศ์ถังเมื่อราวๆปี 600 - 900 อย่างไรก็ตามในบรรดาภาษาต่างๆที่แตกแขนงออกมาจากภาษาจีนสมัยกลาง ภาษากวางตุ้งนั้นเป็นหนึ่งในภาษาที่ยังคงเก็บเก็บรักษาและหลงเหลือร่องรอยภาษาจีนสมัยกลางไว้มากที่สุด 

เนื่องจากความหลากหลายทางภาษาในประเทศจีน ทางรัฐบาลจึงต้องเลือกภาษากลางขึ้นมาภาษาหนึ่ง ปรากฏว่าภาษากลางในปัจจุบัน (แมนดาริน) มีคนในใช้มากที่สุด ณ ตอนนั้น แม้แต่ประชาชนที่ไม่ได้ใช้ภาษาแมนดารินอย่างประชาชนแถบเซี่ยงไฮ้ (ภาษาอู๋) ก็ยังสามารถเข้าใจภาษาแมนดารินได้ในระดับหนึ่ง รัฐบางจึงประกาศให้แมนดารินเป็นภาษากลางนั่นเอง

*ภาษาในที่นี้หมายถึงภาษาพูด

https://en.wikipedia.org/wiki/Historical_Chinese_phonology





Create Date : 21 มิถุนายน 2560
Last Update : 21 มิถุนายน 2560 21:48:19 น. 1 comments
Counter : 1483 Pageviews.

 
(สะกิดๆ) ภาษาอังกฤษอยู่ในตระกูล Germanic ค่ะ พวกอินโดยูโรเปียนคือจำพวกละติน สันสกฤต เทือกๆ นั้น

พยางก์ --> พยางค์



โดย: peiNing วันที่: 22 มิถุนายน 2560 เวลา:21:53:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tar-Minyatur
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Tar-Minyatur's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.