เรื่องเล่าจากดาวโลก
Group Blog
เรื่องเล่าจากดาวโลก
<<
ตุลาคม 2550
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
26 ตุลาคม 2550
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยสนใจบุกชม"ซิมส์ โรงงาน"
นศ.ป.เอกไทยเจ๋งพัฒนา "ซิมส์โรงงาน" IBM ทุ่ม350ล้าน
กลอนจากเรื่อง Lord of the Ring
All Blogs
Top 10 สัตว์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก (ฉบับแก้ไขใหม่)
ทิ้ลท์ชิฟท์...จากภาพความจริงสู่ภาพของเล่น
Top 10 สิ่งที่ไม่ควรค่าแก่การกราบไหว้บูชาในประเทศไทย
ซิมมูเลเตอร์เพื่อเรียนรู้ในอุตสาหกรรมการผลิต
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยสนใจบุกชม"ซิมส์ โรงงาน"
นศ.ป.เอกไทยเจ๋งพัฒนา "ซิมส์โรงงาน" IBM ทุ่ม350ล้าน
กลอนจากเรื่อง Lord of the Ring
ประสปการณ์เดินสายบ้านผีที่อังกฤษ 3:ตอน อาคารร้างแห่งชอพไชร์
ประสปการณ์เดินสายบ้านผีที่อังกฤษ 2: ตอน หวนคืนสู่เทนเบอรี่เวลส์
ประสปการณ์เดินสายบ้านผีที่อังกฤษ: ตอน วิญญาณแห่งเทนเบอรี่เวลส์
ฝนโบกขรพรรษและเซลสิ่งมีชีวิตต่างดาว
เชิญมาอร่อยกับกุ้งบกที่แม้ช้อยนางรำยังต้องวิ่งหนี
ในคืนที่ผมถูกผีอำ
หลักการทำงานโต๊ะพูลกับลูกขาว
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยสนใจบุกชม"ซิมส์ โรงงาน"
ข่าวผมเองจาก นสพ. ผู้จัดการ
//www.manager.co.th/Game/ViewNews.aspx?NewsID=9500000125667
“เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน” ฝีมือ“ธันยวัต สมใจทวีพร”ได้รับความสนใจจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเดินไปชมกันถึงอังกฤษ คาดนำเกมนี้ไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยในอนาคต ด้านผู้พัฒนามั่นใจระบบนี้ช่วยลดต้นทุนมหาศาลและยังช่วยกระตุ้นความสนใจ เพิ่มด้วย
หลังจากข่าว “เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน” ที่พัฒนาขึ้นโดย “นายธันยวัต สมใจทวีพร” ว่าที่ด็อกเตอร์ชาวไทยจากมหาวิทยาลัย “แอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี” (Aston University)ประเทศอังกฤษ ได้ถูกนำเสนอไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในสังกัดกระทรวงแรงงานนำโดย “นายแพทย์ สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์” อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและคณะจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่สามารถนำมาประยุกต์จริงๆได้ จึงเดินทางไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกันถึงประเทศอังกฤษเลยทีเดียว
ปัจจุบันทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้วางโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อ เพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาค การอุตสาหกรรมและการขนส่งแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้น จึงเดินทางไปแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการพัฒนาบุคลากร และเพื่อทำการสำรวจการปฏิบัติการในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในบริษัทต่าง ๆ โดยเน้นงานด้านการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นหลัก
ประยุกต์การเรียนแนวใหม่
ในโอกาสนี้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย "แอสตัน ยูนิเวอร์ซิตี"และ"นายธันยวัต สมใจทวีพร" จึงได้นำเสนอแนวคิดและการทำงานของเกมแนว “เดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน”เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญให้ทาง คณะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ฟังว่า ในการที่จะประสบความสำเร็จทางด้านการจัดการภายใต้สภาวะโลกไร้พรมแดน ผู้ดำเนินธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีทักษะและความสามารถในการจัดการหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถในการพัฒนาการเรียนรู้ภายในองค์กร ,ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ,ความสามารถเชิงเทคนิคต่างๆ ,ความสามารถในการทำงานแบบกลุ่ม และความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม ซึ่งสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องออกแบบกระบวนการและขั้นตอนการเรียนการ สอนเพื่อสร้างนักเรียนผู้ที่จะเป็นนักธุรกิจในอนาคตให้มีความสามารถดัง กล่าวนี้
นายธันยวัต กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายวิชาความรู้นั้น ไม่สามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควร จะเป็น เนื่องจากการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าวนั้น เน้นที่จะให้นักเรียนจำตัวนิยามหรือศัพท์ทางด้านเทคนิค หากนักเรียนไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อนก็จะไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้ในที่ทำงาน นอกจากนี้แล้วการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะสร้างภาพว่าการจัดการนั้นเป็นอะไร ที่ง่ายไม่ซับซ้อน แต่ในการทำงานจริงๆแล้ว การจัดการมันจะมีความซับซ้อนสูงมาก การแก้ปัญหาจะไม่ตรงไปตรงมาเหมือนที่เรียนในห้องเรียน
ผู้สอนควรผันตัวเองเป็นโค้ช
ผู้พัฒนาเดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงาน ชี้ให้เห็นว่า วิธีทำให้การศึกษาทางด้านนี้สัมฤทธิ์ผลนั้น การเรียนการสอนในสาขาวิชาดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างออก ไปจากรูปแบบเดิม คือจะต้องเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ และมีโอกาสนำเอาสิ่งที่รู้นั้นไปใช้จริง ได้ทดลองตัดสินใจและดูผล รวมทั้งการเรียนรู้นั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบของการเรียนเป็นกลุ่ม เนื่องจากโลกธุรกิจในปัจจุบันนั้นจะทำงานกันเป็นทีม
“เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่าเดิม อาจารย์ผู้สอนนั้นจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายกลายเป็นโค้ช หรือผู้ดูแล เพื่อช่วยดูแลตรวจสอบกระบวนการคิดและตัดสินใจและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น สุดท้ายเนื้อหาข้อมูลจะต้องถูกถ่ายทอดผ่านทางภาพเพื่อให้ง่ายต่อการสร้าง ความเข้าใจ”นายธันยวัตแนะ
"เวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้"ช่วยลดต้นทุน
นายธันยวัตระบุว่า วิธีดังกล่าวนี้ไม่สามารถเป็นไปได้ หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะแพงมหาศาลมาก แต่หากเรานำเอาเทคโนโลยีซิมูเลชันมาใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ให้ นักศึกษาได้ทดลองตัดสินใจหรือวางนโยบายต่างๆ และดูผลของการตัดสินใจนั้นก็จะช่วยให้เห็นผลง่ายขึ้น ส่วนการเรียนเป็นกลุ่มก็สามารถทำได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สมาชิกของกลุ่มอาจอยู่กระจายตามประเทศต่างๆได้ ขณะที่โค้ชนั้นก็สามารถถูกสร้างได้บนเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Intelligent Agent” (IA)ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์รูปแบบหนึ่งที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์และตอบสนอง ต่อคำสั่งได้ และสุดท้ายเนื้อหาข้อมูลก็สามารถ่ายออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ผ่านทางเทคโนโลยี “เวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้” (Virtual Reality)ได้
หลังจากนั้น นายธันยวัตได้โชว์ตัวเกม “เวอร์ชัวล์ เวิลด์” (Virtual World) หรือเดอะ ซิมส์ เวอร์ชันโรงงานให้ทางคณะจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ชมกัน โดยเขาสาธิตให้เห็นตั้งแต่ขึ้นตอนการ “ล็อก อิน” เข้าไปที่หน้าแรกของ “เวอร์ชัวล์ เวิลด์” ผู้เล่นสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเข้าไปยังโรงงานที่มีอยู่ 4 แห่ง ประกอบด้วยเบอร์มิงแฮม 2 แห่ง ตามด้วยโรงงานที่กรุงเทพ และเซี่ยงไฮ้ ผู้เล่นสามารถเข้าไปยังระบบได้โดยการพิมพ์ชื่อเข้าไป จากนั้นตัวระบบก็จะสร้างตัวละคร 3 มิติ ขึ้นมาแทนตัวผู้เล่น
รูปแบบเกมดึงดูดใจกว่า
ทั้งนี้ ผู้เล่นสามารถที่จะเดินไปยังตำแหน่งต่างๆ ในโรงงาน ซึ่งการใช้ตัวละคร 3 มิตินี้เป็นกลไกทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกว่าตัวเองนั้นอยู่ในโรงงานแห่งนี้จริงๆ และทำให้การเรียนรู้นั้นดีขึ้นได้ พร้อมกันนี้ตัวโรงงานจำลองที่ถูกสร้างบนเทคโนโลยีเวอร์ชัวล์ รีอัลริตี้ จะทำให้ผู้เล่นสามารถกำหนดมุมมองได้อย่างที่ต้องการ
เมื่อนักเรียนหรือผู้ที่เข้ารับการอบรมคนอื่นๆ เข้าไปในตัวโรงงานจำลอง เราก็จะทราบว่าใครบ้างที่อยู่ในโรงงานแห่งนี้ อาจเป็นคนในทีมเดียวกันหรือทีมอื่น และแม้กระทั่งจากประเทศอื่น สำหรับผู้ที่เข้าแวะเข้ามาเยี่ยมชมจะสามารถเรียนรู้ความแตกต่างของการ บริหารงานและวัฒนธรรมขององค์กรในแต่ละแห่ง อย่างที่ประเทศจีนอาจจะใช้คนมาก เมื่อเราเข้าไปในโรงงานแล้วก็จะเห็นคนจำนวนมากทำงานอยู่ หรือในประเทศอังกฤษที่มีค่าแรงแพง เราก็อาจจะเห็นคนน้อยกว่า
ข้อดีระบบแชต
ภายในซิมส์ เวอร์ชันโรงงานนี้ผู้เล่นยังสามารถสื่อสารกันได้ผ่านตัวอักษรหรือการแชต โดยการสื่อสารวิธีนี้มีข้อดีอยู่หลายข้อ อาทิ มันสามารถบันทึกเก็บไว้ได้ ,สามารถย้อนกลับไปตรวจสอบได้โดยง่าย และไม่ค่อยเครียดอีกด้วยเมื่อเราต้องการสื่อสารกับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติ
โลกของ“เวอร์ชัวล์ เวิลด์” นี้ ธันยวัตระบุ ได้สร้าง IA ไว้ 7 ตัวด้วยกัน แต่ละตัวนี้ก็จะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะมีผู้จัดการโรงงาน,ผู้จัดการการเงิน,ผู้จัดการฝ่ายการตลาด,ผู้ จัดการฝ่ายบัญชี และอื่นๆ สำหรับการสื่อสารกับผู้จัดการสามารถทำได้ง่ายๆเหมือนกับการสื่อสารระหว่าง มนุษย์ด้วยกัน โดยพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไป หากเราต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยก เราสามารถขอความร่วมมือผู้จัดการโรงงานที่ชื่อ “Barry”ให้ช่วยบอกข้อมูลเพิ่มเติมส่วนในส่วนนี้เพิ่มให้หน่อย จากนั้นนาย Barry จะตอบกลับมาอยู่สองข้อ ข้อแรกเกี่ยวกับการขนส่งภายในโรงงาน ส่วนอีกข้อหนึ่งจะเป็นเป็นเรื่องอุปกรณ์การขนย้ายวัตถุดิบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นที่จะเลือกเข้าไปดูรายละเอียดที่เห็นว่าเกี่ยว ข้อง
นายธันยวัตเปิดเผยหลังได้พูดคุยกับคณะจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่า ทางคณะค่อนข้างประทับใจในระบบดังกล่าวมาก และคาดว่าจะนำไปใช้ในการอบรมหรือการฝึกสอนต่อไปในอนาคต
Create Date : 26 ตุลาคม 2550
Last Update : 25 ธันวาคม 2550 0:56:54 น.
0 comments
Counter : 1105 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
=Por=
Location :
London United Kingdom
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
Friends' blogs
oakemon
Webmaster - BlogGang
[Add =Por='s blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.