tuk...tuk more than one or cannot run
<<
กุมภาพันธ์ 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
16 กุมภาพันธ์ 2564

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตอน 3 ... ตอนจบ


ตอนที่สาม วันนี้ จะพยายามเล่าเรื่องที่ได้ไปแอบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์

จากคลิปการสอนของท่านอาจารย์ รศ.พิชญา สุ่มจินดา เรื่องปราสาทพิมาย

ขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ







ศาสนาลัทธิมหายาน

มองพระพุทธเจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ดุจเทพเจ้า - คือคงอยู่เสมอเป็นนิรันดร์ - พระอมิตาภะพระผู้มีความสว่างอันประมาณมิได้

ส่งพระพุทธเจ้าหลาย ๆ องค์มาเกิด เพื่อสอนมนุษย์

โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นผู้คอนช่วยเหลือเพื่อให้มนุษย์บรรลุธรรมได้คราวละมาก ๆ


ตันตระ แปลว่า เส้นด้าย เปรียบเหมือนการยึดโยงจากคุรุ ไปยังศิษย์

คัมภีร์จะเป็นภาษาลับ มีเคล็ดลับในคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างกันไป

แต่ละสำนักจำกัดจำนวนศิษย์ ใช้วิถีทางของภาษาลับสอนเพื่อบรรลุโพธิจิตร


นำเอาวัชระ (อาวุธของพระอินทร์) มาเป็นสัญญลักษณ์ จึงเรียกอีกชื่อว่า วัชรยาน

ในการท่องมนต์ตามคัมภีร์ จะถือวัชระในมือขวา และ ฆัณฏา (ระฆัง) ในมือซ้าย


ในตันตรยาน หรือ วัชรยาน

มีพระพุทธเจ้าของตันตระ มี 5 พระองค์ รวมเรียกว่า พระปัญจชินะ

คือ ผู้ชนะทั้ง 5 ทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ศูนย์กลาง

หรือ ผู้ชนะธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ(สุญญตา)

(ได้แก่พระอโมฆสิทธิ- เหนือ พระอักโษภยะ-ตะวันออก พระรัตนสัมภวะ-ใต้ พระอมิตาภะ-ตะวันตก พระไวโรจนะ-กลาง)


มีพระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 พระอาทิพุทธะ หรือพระพุทธเจ้าพระองค์แรก เป็น จักรพรรดิของพระปัญจชินะ

ไม่มีใครสามารถเห็นได้ จึงสร้างตัวแทนทางสถาปัตยกรรมคือสถูปที่มีพระเนตร 4 ด้าน

สร้างตัวแทนทางปฏิมากรรมให้มองเห็นได้ คือรูปเคารพ ,

ทรงเครื่องแสดงถึงความเป็นจักรพรรดิ์ มี 4 พักตร์ , ปางโพธยาศรีมุทรา (ท่านินจาหายตัว)

อ่านถึงตรงนี้ก็คิดถึงปราสาทบายนในทันที






ปราสาทพิมายเป็นพุทธศาสนสถาน นิกายตันตระยาน หรือ วัชรยาน

ที่กรอบประตูทางเข้าด้านทิศใต้ พระวัชรสัตว์ - เป็นปฎิมากรรมอีกรูปแบบหนึ่งของพระอาทิพุทธะ

มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือวัชรฆัณฏา

วัชระเป็นสัญลักษณ์ของกรุณาและอุบายในการสอน มีเพศชายบุรุษ

ฆัณฏา เป็นสัญลักษณ์ของปราชญา มีเพศหญิง

ทรงยืนร่ายรำอยู่ยนซากศพ -อวิชญา






ประดิษฐาน พระกัมรเตชคตวิมาย เป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง

ปรากฎชื่อครั้งแรกในจารึกในสมัยพระเจ้าชัยวีรวรมัน - จารึกวัดจงกอ

ตามคัมภีร์กาลจักรตันตระ

ปฏิมากรรมของพระอาธิพุทธะคือ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ บนขนดนาค 3 ขนด 7 เศียร

ดั่งพระกัมรเตชคตวิมายคือ






ทับหลังภาพการแห่แหนพระกัมรเตชคตวิมาย

ในจารึกปราสาทพระขรรค์ บอกว่า

ทุกปีเมื่อถึงเทศการจะอัญเชิญพระกัมรเตชคตวิมายขึ้นคานหาม

แห่แหนจากพิมายไปเมืองพระนครแล้วแห่กลับ






ทับหลังรูปบุคคลทำอัษฎางคประดิษฐ์






เป็นการกราบโดยให้องคาพยพทั้ง 8 ของร่างกาย แตะพื้น

ได้แก่ หน้าผาก 1 หน้าอก (บางแห่งว่าหน้าท้อง) 1 ฝ่ามือทั้ง 2 เข่าทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2

มีเครื่องสูงบอกว่าผู้กราบเป็นกษัตริย์

มีหม้อน้ำมนต์ จากพระกัมรเตชคตวิมาย (วิมาย แปลว่าผู้ปราศจากมารยา)

กำลังเดารพพระกัมรเตชคตวิมาย

พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง -กุณฑล ประทับสมาธิราบบนขนดนาค 3 ชั้น บนตั่งที่มีหงส์รองอยู่ - ของสูง






ทับหลังด้านในเหนือประตูทางเข้า มุกกระสัน ของวิมาน รูปภาพมารผจญ

พระศรีศากยมุนี พระพุทธเจ้าประทับสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใต้ต้นโพธิ

(พระที่ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ คือพระโคดม , ตันตระเรียกว่าพระศรีศากยมุนี)

ขนาบด้วยนางโยดินีที่ร่ายรำ เป็น สัญญลักษณ์ของชัยชนะตัญหา

มี บุคคลกำลังไหว้ และเทวนารียืนอยู่หลายนาง

มารอยู่ด้านล่างเข้ามารบกวน






เมื่อผ่านมุกกระสันถึงประตูวิมานทางด้านทิศใต้

ทับหลังประตูชั้นในของวิมานด้านในทิศใต้

ภาพนมัสการพระกมรเตงคชตวิมาย - พระประธาน พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง

ขวาของพระประธานเป็นพราหมณ์ถวายสักการะ

ซ่ายของพระประธานเป็นกษัตริย์ถวายสักการะ

ด้านหลังเป็นหมู่ผู้คนนำเครื่องสักการะทูนหัวเพื่อมาสักการะ



ข้อสันนิษฐานของอาจารย์พิชญา เกี่ยวกับการที่ปรางค์หันหน้าไปทางทิศใต้ คือ

ทิศใต้ มีพระยมเป็นเทพประจำทิศ และยังหมายถึง ความตาย, พระยม, บรรพบุรุษ

ในคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ว่า ทิศใต้เป็นทิศของบรรพบุรุษ

เหนือเป็นทิศของสวรรค์ โดยผ่านสุริยทวาร

การทำประตูทางเข้าด้านทิศใต้

เพื่อให้ผู้ที่ตายไปเข้ามาบูชาพระกมรเตงคชตวิมาย เพื่อบรรลุขจัดอวิชชา

แล้วจะหลุดพ้นออกสู่สุริยทวารด้านทิศเหนือไปแล้วไม่กลับมาอีก






ทิศตะวันตก เป็นตอนเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระพุทธรูปทรงเครื่อง วิตรรกมุทรา - แสดงธรรม มีต้นไม้สองต้น

ขวาพราหมณ์ มีมวยผม มีเคราเป็นสามเหลี่ยม ถือฆัณฏารูปนาค ด้านหลังมีกษัตริย์ถือของบูชา

ขวาเป็นกษัตริย์ ดูจากจามร , มยุรฉัตร (ฉัตรนกยูง) คือ ทำท่าแสดงความอบน้อม

ด้านล่างมีดนตรี การร่ายรำ

เล่าว่า พระพุทธเจ้ารอที่อโศการาม แต่พวกศากยที่ไปเฝ้าไม่ยอมรับ

พระองค์จึงแสดงอภินิหาร จึงได่รับการยอมรับ






ทับหลังวิมานชั้นในด้านทิศเหนือ

พระ 3 เศียร 6 กร 5 องค์ มาจากคัมภีร์คุหยสมาชตันตระ

หมายถึงพระชินะทั้ง 5 ในพระคุหยสมาชอักโษภยวัชรมณฑล คือมณฑลที่พระอักโษภยะเป็นประธาน

พระปัญจชินะ จะมีรูป 3 เศียร 6 กร ทุกพระองค์

ประทับสมาธิ มือที่เหลือ ถือดอกบัว และฆัณฏา

ข้างล่างเป็นนนทิเกศวร และมหากาฬเฝ้าประตูมณฑลอยู่

มีโยคินียืนร่ายรำบนซากศพ


มุมบนภาพมีภาพบุคคลซ่อนอยู่ 2 คน ซ้ายขวาคือ

เทพทางทิศเหนือ ปัญจิกะ หรือ กุเวร กำลังลูบเครา

นางหารีตี - ชายยาของปัญจิกะ มีลูกเป็นร้อยดังในภาพมีลูกเคลีคลออยู่

นางชอบจับเด็กที่เป็นลูกคนอื่นมากิน พ่อแม่่ของลูกถูกกินจึงไปฟ้องพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงเอาลูกของนางหาริตีไปซ่อน นางหาริตีจึงไปโวยพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงยกมือห้าม - ปางอภัย - แล้วทรงสั่งสอน นางจึงเข้าใจ








ชั้นในทางตะวันออก เป็นจักรสัมวรมณฑล

ช่วงเวลาการสร้างปราสาทพิมายกำลังนิยมคัมภีร์จักรสัมวรตันตระ

บุคคล 4 พักตร์ 8 กร - พระสัมวร

ร่ายรำบนซากศพของพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ คือ

ซ้ายพระไภรวะ หรือ พระศิวะภาคดุร้าย สื่อเรื่องสังสารวัฏ คือการเวียนว่าตายเกิด

ขวานางกาลราตรี หรือ พระนางกาลี สื่อเรื่องไม่มาเกิดอีก

การเหยียบ คือ อย่าโอนเอนไปด้านใดด้านหนึ่ง ต้องทำใจเป็นกลาง

พระสัมวร ห่มหนังช้างสด เป็นอาภรณ์ สื่อถึง ทำลายอวิชญญา

แถวบนคือ พระตถาคต - พระพุทธเจ้า ไม่เจาะจงว่าเป็นใคร

ล่างเป็นพระวัชรสัตว์ และโยคินี ร่ายรำบนซากศพ








หน้าบันปรางค์ประธานทางทิศตะวันออก ภาพทศกันฐ์บุกยมโลก

บนสุดเป็นบุษบกของท้าวกุเวรที่ทศกัณฐ์รบชนะจึงใช้บุษกนี้ขี่ลงมายมโลก

ทศกัณฐ์ถูกยิงยานจึงเอายานลงมาจากบุษบก

พระยม มีพระมฤตยู (หรือพระกาฬ) เป็นลูกน้องมาด้วย ยุให้พระยมใช้ไม้ชี้ทศกัณฐ์ตาย

พระพรหมทรงหงส์มาห้าม เพราะ ทศกัณฐ์ได้พรของพระพรหมว่าไม่มีใครฆ่าได้นอกจากมนุษย์

ถ้าชี้แล้วตาย สิ่งที่พระพรหมสร้างจะเสียหมด

ถ้าชี้แล้วทศกัณฐ์แล้วไม่ตาย - พระยมเสีย

คือปล่อยให้สิ่งที่จะเกิดต่อไปให้เป็นไปตามกรรมที่ใครทำขึ้น






หนุมานอาสาเป็นยานให้พระลักษณ์ในการรบกับอินทรชิต

พระลักษณ์ใช้ศรของพระอินทร์และอธิษฐานว่าหากพระรามเป็นกษัตริย์ที่มีคุณธรรมขอให้สัมฤทธิ์ผล

เมื่อยิงอินทรชิต - อินทรชิตตาย - สอนให้ยึดมั่นในธรรม






ทับหลังรูปพระมานุษิตพุทธะ 7 พระองค์ ในลัทธิมหายานและลัทธิตันตรยาน

ทรงแสดงธรรม -วิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ที่นิยมในกลุ่มมอญ

เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องยุคแรกที่พบในไทย - แสดงถึงพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเครื่องได้หมด

ได้แก่

พระวิปศยี (พระวิปัสสี) พระศิขี (พระสิขี) พระวิศวภู (พระเวสสภู)
พระกรกุจฉันทะ (พระกกุสันทะ) พระกนกมุนิ (พระโกนาคมน) พระกาศยปะ(พระกัสสป) และพระศากยสิงห์ (พระศากยมุนี หรือ พระโคตม)






ภาพอื่นในพุทธศาสนา

พระพุทธรูป ประทับสมาธิราบปางสมาธิในรัตนปราสาท

ข้าง ๆ มีภาพบุคคลอยู่สองคน






พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

4 กร ถือดอกบัว ลูกปะคำ คัมภีร์ หม้อน้ำ






ภาพบุคคลชายถือดอกบัว - พระปัทมปาณิ พระโพธิสัตว์ผู้ถือดอกบัว - เราสันนิษฐาน แปลว่าเดา เองค่ะ

ภาพพระพุทธรูป 4 องค์ด้านบน - พระตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ได้

ด้านล่างนางโยคินีร่ายรำ






ตรงกลางภาพบุคคลมือซ้ายถือดอกบัวขาบในระดับบ่า มือขวาอยู่ในระดับต่ำ

นั่งท่ามหาราชลีลาบนหลังสิงห์ - เราสันนิษฐานหรือเดาว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ทีแรกคิดว่าเป็นพระศิวะ เพราะมีบุตรของพระศิวะ คือ พระคเณศทรงช้าง และ พระสกัณฑะทรงนกยูง

แต่พระศิวะไม่ถือบัวขาบ และทรงโคนนทิ






ด้านบนเป็นพระพุทธรูป 6 พระองค์ ประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ

องค์กลางพระพุทธรูปยืน อยู่ในเรือนแก้ว ทรงแสดงธรรม - เดาว่า พระศรีศากยมุนี

ด้านล่างเป็นบุคคล ชาย ร่ายรำ บางองค์ถือดอกบัว - เดาว่าพระโพธิสัตว์






ในปรางค์พรหมทัต และปรางค์แดง พบพระรูป หรือ รูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ซึ่งปกติในดินแดนนี้ไม่นิยมสร้างพระรูป

เป็นพระรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่งสมาธิ

ถ้าแขนมีครบจะอยู่ในท่านมัสการ - ไหว้

อาจารย์พิชญาสรุปว่าอาจสร้างเพื่อเป็นพระรูปแทนพระองค์ หันไปทางพระวิมาย เพื่อนมัสการพระวิมายตลอดกาล















Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2564 10:19:35 น. 22 comments
Counter : 2726 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณSleepless Sea, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณสองแผ่นดิน, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณตะลีกีปัส, คุณmultiple, คุณtoor36, คุณเริงฤดีนะ, คุณKavanich96, คุณmariabamboo, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณSai Eeuu, คุณRain_sk, คุณผู้ชายในสายลมหนาว


 
ขอเซฟไว้อ่านและหาข้อมูลเที่ยวพิมายนะคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:15:04:10 น.  

 
มีรายละเอียดมากจริงๆ ค่ะพี่ตุ๊ก
เที่ยวไปได้ความรู้รอบตัวไปนะคะ



โดย: หอมกร วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:16:31:32 น.  

 
สวัสดีครับ

มาเที่ยวด้วยได้ความรู้ไปด้วยครับ
ทับหลังแต่ละชิ้นลวดลายสวยมากครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:13:44 น.  

 
มีอะไรให้น่าค้นหาเยอะมากๆเวลาเที่ยวสถานที่โบราณตามวัดวา


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:18:33:27 น.  

 
เรามีอาจารย์คนเดียวกันครับ ชอบดูคลิปการสอนของอาจารย์เหมือนกัน


ปูลู อาจารย์เป็นรุ่นน้องที่คณะนิติ มธ ครับ อิอิอิ


ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจที่บล็อก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:19:56:20 น.  

 
สวัสดีค่ะ...

ชื่อคนแต่ละชื่อ

อ่านยาก เขียนยากนะคะ



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:21:36:51 น.  

 
ตามมาเที่ยวต่อครับ
ชอบดูภาพทับหลัง หน้าบัน ที่ปราสาทหินพิมายครับ ที่นี่น่าจะมีมากที่สุดใช่ไหมครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:23:23:56 น.  

 
มาเที่ยวกับพี่ตุ๊กได้ความรู้ด้วยค่ะ
คลิปวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์น่าสนใจค่ะพี่ตุ๊ก


โดย: Sweet_pills วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:0:10:55 น.  

 

มาชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ด้วยค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:1:35:22 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ตุ๊ก

ศิลปะขอม
มีความสวยงามและน่าเกรงขามไปพร้อมๆกันเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:6:09:56 น.  

 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ตามมาดูภาพและหาความรู้ไปด้วยค่ะ
ยังไม่เคยไปที่ปราสาทหินพิมายเลย
ดูภาพคุณตุ๊ก ละเอียด ดีค่ะ


โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:8:30:12 น.  

 
เก็บรายละเอียดไว้เต็มที่เลยนะครับ^^


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:16:52:06 น.  

 
ขอบคุณนะครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:08:18 น.  

 
โอ้ ข้อมูลเชิงลึกแบบนี้ หายากมากเลยนะครับ

ขนาด อ.เต๊ะ เรียนทางสถาปัตย์ ยังไม่เจาะลึกขนาดนี้เลย อันนี้ น่าจะระดับ นักโบราณคดี +ภัณฑารักษ์ +นักประวัติศาสตร์+อินเดียน่า โจนส์ ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า เลยทีเดียวเชียว555

อ.เต๊ะ ต้องคารวะให้เลยนะครับนี่



โดย: multiple วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:17:56 น.  

 
งดงามๆ
อ่านจุใจกับบล็อกทับหลังเลย
สุดยอดๆๆ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:19:28 น.  

 
สวัสดีตอนมืดๆครับ


ชวนไปชิมเค้กที่ร้าน ชนบทคาเฟ่ เขาใหญ่ครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:19:45:23 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:3:49:41 น.  

 
เซียนกระบี่ลุ่มแม่น้ำวัง 


สวัสดียามเช้าครับ คุณตุ๊ก


โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:6:40:40 น.  

 
เอนทรี่นี้อ่านยากมาก ศัพท์แสงมากมาย
อ่านแล้วบางอย่างก็นึกตามไม่ออกว่าทำยังงัย
เช่น อัษฎางคประดิษฐ์ เป็นการกราบโดยให้ 8 ส่วนของร่างกาย แตะพื้น
ดูจากภาพคล้ายๆนอนคว่ำไปกับพื้นนะคะ

ขอบคุณที่ไปเที่ยวเก็ยเรื่องราวดีๆมาฝากกันค่ะ



โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:8:59:53 น.  

 
คุณตุ๊ก เป็นคนที่เที่ยววัดวังได้ละเอียดถี่ถ้วนมากค่ะ ดูแบบคนมีความรู้ด้านนี้มากๆ เลย ดีจังค่ะ


โดย: Sai Eeuu วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:45:48 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่บล็อก - ชนบท เขาใหญ่ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:19:47:53 น.  

 
เข้าใจในฐานะคนเขียนบล็อก ที่เห็นนี่คงใช้เวลามากมาย ในการนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน ขอบคุณครับ

พระพุทธรูปนาคปรก ที่พระนามตามชื่อปราสาทนี่คุ้นๆ ว่าเจออยู่ กระทั่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พิมายหรือเปล่า ไม่ได้เจอแค่รูปสลักพระเจ้าชัยรวรมันที่ 7

ทุกคนที่ไปเที่ยวปราสาทนี้จะได้อ่านตรงผังข้อมูลในอาคารจัดแสดงว่า นี่คือต้นแบบของปราสาทนครวัด แปลว่าต้องสร้างก่อนสุริยวรมันที่ 2 แน่

หน้าบันสลักเรื่องพราหมณ์ฮินดูไม่น่าประหลาด เพราะเป็นความเชื่อมาก่อนหน้านั้น แต่ทำไมถึงอยู่ร่วมกับพุทธตันตระยานได้

แปลว่าสร้างในคราวเดียวกันจากคนที่เชื่อและผสมผสาน หรือเกิดจากการดัดแปลงโดยใช้วัสดุจากการสร้างหลังปราสาทหลังเก่า

จากสิ่งของที่ขุดค้นพบจำนวนมากเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมายผมว่าน่าจะบอกเล่าเรื่องราวที่นี่ได้มาก เรียกว่าเป็นระดับปราสาทศูนย์กลางในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว

ดังนั้นถ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่งคำสั่งมาให้ปรับปรุงที่นี่ให้เป็นพุทธมหายานในช่วงรัชกาลท่าน หน้าบันของฮินดูไม่รอดมาแน่


โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:11:34:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]




งานหลักคืองานอดิเรก

10 บล็อกล่าสุด


Oh, Pretty Woman - Roy Orbison ... ความหมาย


I Will Whisper Your Name - Michael Johnson ... ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 349


เชียงใหม่ - วัดสันทรายหลวง อำเภอสันทราย



In Dreams - Roy Orbison ... ความหมาย



ลำปาง - วัดพระธาตุหมื่นครื้น ... อย่างฉุกละหุก ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 348



For Lovin' Me - Gordon Lightfoot ... ความหมาย


เชียงใหม่ - วัดสันทรายมูล อำเภอสันทราย


When I Dream - Crystal Gayle ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 347 ติดเป็นนิสัย


เชียงใหม่ - Hikari Garden ตำบลป่าตัน เมือง เชียงใหม่


For All We Know - Carpenters ... ความหมาย















ของแต่งบล็อกจาก
ป้าเก๋า "ชมพร"
คุณญามี่
คุณ Rainfall in August
ขอบคุณค่ะ

[Add tuk-tuk@korat's blog to your web]