|
 |
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
|
 |
6 กุมภาพันธ์ 2568
|
|
|
|
เที่ยวแม่ฮ่องสอนแบบ tuk-tuk@korat
ปลายเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นึกอยากไปแม่ฮ่องสอน
สถานที่ที่ยังไม่ได้ไปและอยากไปคือสะพานกิ่วกุ้ง อำเภอขุนยวม
พอดีได้รู้จักรถตู้ที่ถูกใจ เป็นคนแม่ฮ่องสอน จึงติดต่อให้พาไป
และถ้าอยากพาเราแวะที่ไหนก็แนะนำได้
จึงเกิดทัวร์ วนจากอำเภอฮอดทิศใต้ของเชียงใหม่ ค้างแม่ฮ่องสอน
วนไปลงที่แม่แตงทิศเหนือของเชียงใหม่
และได้ผนวก การเดินทางไปแม่ฮ่องสอน 3 ครั้ง ที่ได้ไปในบล็อกนี้ด้วย
และที่สำคัญที่สุด
กรุณาอย่านำเรื่องที่เล่ามานี้ ไปเป็นเอกสารอ้างอิงไม่ว่าที่ใดก็ตาม
แค่ได้ไปเที่ยวมา ฟังมา อ่านมา ค้นมา เพื่อเอามาเม้าท์แบบ tuk-tuk@korat
เล่าสู่กันฟังแบบไกด์ที่ไม่ได้สอบบัตรไกด์เองนะคะ
@ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน @

เดิมชาวไทใหญ่ลุ่มแม่น้ำสาละวินในรัฐฉาน ได้เข้ามาทำไร่ปลูกพืชตามฤดูกาล
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็กลับ
ต่อมาได้อพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านปางหมู - โป่งหมู มีหมูมากินดินโป่ง
ในภาพน้ำปายไหลผ่านบ้านปางหมู อำเภอเมือง - ฝรั่งล่องแพมาจากปายหรือเปล่าเนอะ

แม่น้ำปายมีต้นน้ำอยู่ที่ ดอยผีลู - ตามจากแผนที่ขึ้นไปทางต้นน้ำ ชื่อน้ำของ
ไหลผ่านอำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง
ไหลลงไปสู่แม่น้ำสาละวิน ในรัฐกะยา (พม่า)
แม่น้ำสาละวิน มีต้นน้ำจากธิเบต เรียกแม่น้ำ naqu (แปลว่าน้ำสีดำ)
ผ่านจีนยูนาน เรียก nu jiang
เข้าพม่าเรียก สาละวิน หรือ น้ำคง
ในพ.ศ.2393 สมัยเจ้าหลวงพุทธวงส์ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 4
ได้ส่งเจ้าแก้วเมืองมาให้มาจับช้างป่าฝึกสอนไปเพื่อใช้งาน
พบทำเลที่มีร่องน้ำผ่าน มีที่ราบกว้าง เหมาะที่จะเป็นที่สำหรับฝึกสอนช้างป่าไว้ใช้งาน
เรียกร่องน้ำนั้นว่าแม่ฮ่องสอน
โดย แม่ - แม่น้ำ, ฮ่อง- ร่อง, สอน -สอน

เมื่อตั้งขึ้นเป็นเมือง เรียกเมืองนั้นว่าแม่ฮ่องสอน

ตั้งให้ชาวไทใหญ่ ชื่อชานกะเล เป็นเจ้าเมืองคนแรก
มีบรรดาศักดิ์เป็นพญาสิงหนาทราชา

คนในแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่จึงเป็นคนไทยใหญ่ ซึ่งมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมจาก
อาหารเช่นในตลาดเช้า
ข้าวต้มมัดโรยน้ำตาลมะพร้าวขูด ข้าวนุกงา ข่างปองหรือกระบอง ข้าวแรมฟืน

ศาสนาพุทธ
*วัดจองคำพระอารามหลวง*
จอง = วัด, คำ - ทอง
วิหาร - ที่อยู่ของพระพุทธ และกุฎิซึ่งเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์อยู่ในอาคารเดียวกัน
หลังคาแบบปราสาทยอดซ้อนชั้น
เชิงชายตอกลวดลายบนแผ่นสังกะสี หรือแผ่นเงินฉลุลวดลาย

*วัดพระธาตุดอยกองมู*
เดิมชื่อวัดปลายดอย - คิดว่ากำเมืองน่าจะเรียกวัดป๋ายดอย - สุดปลายดอยปู้น
กองมูแปลว่าพระเจดีย์
มีพระธาตุเจดีย์ 2 องค์
พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2403 โดย จองต่องสู่ ช่างจากคนมอญเมืองมะละแหม่ง
จึงเป็นเจดีย์ระฆังกลม ฐานแปดเหลี่ยมแบบมอญ
ฐานปัทม์เป็นบัวคว่ำ ชั้นล่างทั้งแปดด้านมีซุ้มแก้วประดิษฐานพระพุทธรูป
ถัดจากองค์ระฆังเป็น
บัวคอเสื้อ, ปล้องไฉน, ปัทมบาท, ปลียาว, ฉัตร, ธงใบพัด และลูกแก้ว

พระธาตุเจดีย์องค์เล็ก
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พญาสิงหนาทราชา โดยช่างพม่า
จึงเป็นเจดีย์ระฆังกลมแบบพม่า ฐานสี่เหลี่ยม
ฐานปัทม์ บัวคว่ำและบัวหงาย สี่เหลี่ยมยกเก็จ
มุมประดับ สถูปิกะ(สถูป) หม้อดอก(ปูรณฆฏะ) และนรสิงห์
ฐานชั้นล่างมีซุ้มแก้วแยกออกจากเจดีย์
มุมด้านนอกมีสิงห์เฝ้าอยู่

พระพุทธรูปแบบพม่าจะองค์สีขาว พระโอษฐ์แดง ไรพระศกใหญ่สีทอง

วิหารของวัด เมื่อเดือนธันวาที่ผ่านมาถูกรื้อเพื่อสร้างใหม่
มีภาพเก่า เมื่อ พ.ศ. 2555

วิวเมืองแม่ฮ่องสอน

ไปค้างแม่ฮ่องสอน 2 ครั้ง ร้านอาหาร 2 ร้านที่ไปคือ
*ร้านใบเฟิร์น* เป็นร้านใหญ่ที่รับแขกบ้านแขกเมือง อาหารอร่อย มาตรฐาน

*ร้านลาบเป็ดอุบล*
ไปเพราะแถวเชียงใหม่ร้านอาหารอิสานไม่ค่อยถูกใจ ลองที่แม่ฮ่องสอนดู
แต่ไปถึงก็สั่งแค่ ลาบหมูทอดกะยำหมูย่างที่ได้มาเป็นแบบฟิวชั่น

*ถ้าปลา*
อยู่ในวนอุทยานถ้าปลา-น้ำตกผาเสื่อ
เป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีธารน้ำไหลออกมาตลอดปี มีวังกว้างบริเวณปากถ้ำ
มีฝูงปลา มีเกล็ดขนาดใหญ่ สีเทาอมฟ้าอยู่เป็นจำนวนมาก
เรียก ปลามุงหรือพลวง

*ภูโคลน*
เราไปปี 2555 ยังเป็นแบบลูกทุ่งอยู่

*พระตำหนักปางตอง*
เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ
ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงปางตอง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523
เพื่อทดลอง ค้นคว้าวิจัย และส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เมืองหนาวแก่ชาวไทยภูเขา
ศาลมหาราช ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพเมื่อ พ.ศ. 2555


*ปางอุ๋ง*
ปาง แปลว่า ที่พักแรมในป่า
อุ๋ง หมายถึงที่ลุ่มต่ำเป็นแอ่งกระทะที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขา

* บ้านรักไทย*
เป็นหมู่บ้านที่มีที่มาจากคนจีนยูนานที่เป็นทหารฝ่ายของเจียงไคเช็คในกองพล 93
กองพล 93 เป็นกองพลที่ระวังหลังขณะที่เจียงไคเช็คหนีไปไต้หวัน
ซึ่งจัดตั้งได้ 5 กองทัพคือ กองทัพที่ 1 2 3 4 5
ต่อมาถูกกวาดล้างโดยพม่า กองทัพที่ 1 2 4 ถูกส่งไปไต้หวัน
เหลือกองทัพที่ 3 นายพลลี - ฐานอยู่ที่ถ้ำง๊อบ เชียงดาว
และกองทัพที่ 5 นายพลต๊วน - ฐานอยู่ที่ดอยแม่สลอง
ภายหลังได้ช่วยไทยรบ ผ.ก.ค. จึงได้รับอนุญาตให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณในชายแดนในภาคเหนือ
หมู่บ้านนี้จากเดิมเป็นไร่ชา ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมไป

@ อำเภอปางมะผ้า @
ปาง แปลว่า ที่พักแรมในป่า
มะผ้า หรือ หมากผ้า แปลว่า มะนาว ที่นี่น่าจะมีมะนาวเยอะ
*ถ้ำน้ำลอด - ถ้าผีแมน*
ล่องเรือไปในถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม

ไปยังปากถ้ำอีกด้าน ซึ่งพบโลงศพไม้ที่มีโครงกระดูกมนุษย์
เป็นหนึ่งในถ้ำที่เรียกว่าถ้ำผีแมน
ผี - ผี, แมน - กำเมืองน่าจะแปลว่าโผล่แบบแพลม ๆ แอบแลบออกมา ไม่ได้โผล่จะจะแบบจ๊ะเอ๋
บอกว่าแถบนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่มา 1600-2100 ปีแล้ว

*จุดชมวิวปางมะผ้า*
พักรถ พักคน

* จุดชมวิวดอยกิ่วลม*
พักรถ พักคน


@ อำเภอปาย @
บรรยากาศเมืองปายที่คิดถึง

ปายในยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ยังไม่มีการบันทึก
จากการขุดค้นของนักโบราณคดี
พบ เศษซากเครื่องมือเครื่องใช้ , โลงศพ ... ถ้ำผีแมน
บอกได้ว่า มีมนุษย์อาศัยอยู่แล้ว
ปายในยุคประวัติศาสตร์ - มีการบันทึก
เป็นชุมชนโบราณของเผ่าลว ลัวะ หรือ ละว้า หรือละเวียะ
ที่เก่าแก่กว่าชนกลุ่มอื่น ที่อยู่ในภาคเหนือตอนบน
มีชุมชนโบราณเมืองน้อย - มีการกล่าวถึงในสมัยพระเจ้าติโลกราชว่า
ท้าวบุญเรืองโอรสพระเจ้าติโลก ถูกแม่ท้าวหอมุกใส่ความว่าคิดการก่อกบฏ
พระเจ้าติโลกจึงให้ท้าวบุญเรืองไปครองเมืองน้อย และต่อมาถูกฆ่าตาย
เมื่อพระเจ้าติโลกสวรรคต ท้าวยอดขึ้นครองล้านนา - พญายอดเชียงราย
พญายอดเชียงราย สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป
สร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนาง ถูกขุนนางปลดออก ให้ไปครองเมืองน้อย
พญายอดเชียงรายประทับอยู่เมืองน้อยได้ 10 ปี ก็เสด็จสวรรคต
พญาเมืองแก้ว (ราชโอรสของพญายอดเชียงรายและพระนางโป่งน้อย)
ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระศพของพญายอดเชียงรายที่เมืองน้อย
และสร้างอุโบสถครอบ - วัดเจดีย์หลวง ในโบราณสถานเมืองน้อย

มีชุมชนโบราณบ้านเวียงเหนือ
จากปั๊บสา โดยส่างหม่องมิ้น เมืองปั่น ปัจจุบันอยู่ในเขตสหภาพพม่า
เล่าถึงการอพยพหนีภัยสงครามของ ชาวไตจากเมืองไทยใหญ่ ในรัฐฉาน
สู่พื้นที่บ้านดอนหรือบริเวณเมืองเก่าเวียงเหนือ ภายใต้การนำของ พะก่าซอ พะก่า
ได้ตั้งเมืองที่บริเวณมีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย (ปัจจุบันคือแม่น้ำปาย และ แม่น้ำเจ้าเมือง
ได้ขุดคูเมืองคันดินโดยรอบ 4 ทิศ
ในตัวเมืองถูกยกระดับให้สูงจากพื้นที่ข้างเคียง
โดยรอบด้านนอกเป็นที่นา
ในช่วงพญาไชยสงครามครองล้านนา - เชียงรายเป็นเมืองหลวง
ต่อมาพญาแสนพูครองล้านนา - เชียงใหม่เป็นเมืองหลวง
ได้ส่งเจ้ามหาชัยยกทัพมาเพื่อยึดเอาบ้านดอน แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช - เชียงใหม่เมืองหลวง
ได้ส่งให้เจ้ามหาศรีไจยา หรือเจ้าศรีไจย์
ได้นำช้างพลายเผือก 2 เชือก พร้อมเหล่าเสนาทหารยกทัพมาตีเมืองดอนสำเร็จ
พะก่ากั่นนะและพะก่าส่างกงที่ปกครองชาวไทยใหญ่ขณะนั้นจะแพ้ศึก จึงเผาเมือง
ทำให้ช้างหลุดหนีไป ตามช้างได้ที่ห้วยในป่า จึงตั้งชื่อห้วยตามจ๊างปาย (ช้างพลาย) นั้นว่าปาย
สร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อบ้านเวียงใหม่ - ต่อมาคือชุมชนโบราณเวียงเหนือ
พระเจ้าติโลกราช ได้สถาปนาพระนามใหม่ให้เจ้าศรีใจยาว่าเจ้าชัยสงคราม
ให้ดูแลปกครองเมืองปายสืบต่อไป
พ.ศ. 2021 ได้สร้างวัด
อาราธนาพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) จากเชียงใหม่มาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้
ได้อาราธนาพระวชิรปัญญามหาเถร วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) เชียงใหม่
และพระมหาเถระจากเมืองพะเยา เชียงราย อีก 5 รูป มาจำพรรษา
ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดศรีดอนชัย - ถ้าขยายดูในแผนที่ วัดอยู่มุมขวาบนของเวียง

*วัดน้ำฮู*
ฮู ก็คือ รู
วิหารและเจดีย์ได้รับการบูรณะโดยครูบาศรีวิชัย - วัดที่ครูบาบูรณะมักจะมีรูปทรงเจดีย์แบบที่เห็น
วิหารเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่ออุ่นเมือง
พระบูชาศิลปะล้านนา แบบเชียงแสนสิงห์สาม
มีพระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ในรู อันเป็นที่มาของชื่อวัดน้ำฮู
เจดีย์หลังวิหาร เชื่อว่า บรรจุพระเกษา และ พระอัฐิ ของพระสุพรรณกัลยา
พระองค์มีคนสนิทคนหนึ่ง มีนามว่า พระองค์จันทร์
ภายหลังพระอุปราชาสิ้นพระชนม์จากการทำยุทธหัตถี
พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัย และแค้นใจมาก
อ่านได้ที่ https://www.silpa-mag.com/history/article_12984
พระสุพรรณกัลยา จึงได้ตัดปอยพระเกศาใส่ผอบเครื่องหอมประทานแก่พระองค์จันทร์
เพื่อนำไปถวายสมเด็จพระนเรศ ที่กรุงศรีอยุธยา
หากพระองค์จะไม่มีพระชนม์ชีพต่อไป
เมื่อพระสุพรรณกัลยาถูกพระเจ้านันทบุเรงฟันด้วยพระแสงดาบ
พระองค์จันทร์จึงนำผอบพระเกศาลักลอบออกจากวัง ไปกับนายทหารมอญ
ทำทีเป็นสามีภรรยากันตลอดเป็นเวลาสามเดือนเศษจนถึงกรุงศรีอยุธยา
(เรื่องนี้คล้ายกับตำนานวัดท่าใหม่อิ ที่ป้าขายดอกไม้ที่วัดเล่าให้ฟัง
วัดท่าใหม่อิอยู่ที่ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่)
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยกทัพไปตีหงสาวดีและตองอูแต่ไม่สำเร็จ
ในช่วงที่พระองค์ประทับ ณ เมืองปาย
ได้รับพระอัฐิ พระสุพรรณกัลยาจากมอญผู้หนึ่ง
ทรงพระสุบินถึงพระสุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบและตรัสว่า
พระนางเปรียบเสมือนคนสองแผ่นดิน มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า
จึงมีพระประสงค์ที่จะพำนักเมืองปาย
สมเด็จพระนเรศวรจึงหยุดทัพไว้ที่เมืองปาย
ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระอัฐิไว้ ณ เมืองปาย
และโปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง
เชื่อกันว่าอยู่ที่วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

*วัดพระธาตุแม่เย็น*
เป็นวัดที่ใคร ๆ จะขึ้นมาชมวิวเมือง และอาทิตย์ตกดิน

*กองแลน*
ข้างกาดหลวง มีถนนข่วงเมรุ ที่คนพื้นที่เรียกว่า กองเล่าโจ๊ว
กอง แปลว่า ตรอก , แลน แปลว่า ตะกวด คือ ทางเดินแคบ ๆ ของตะกวด
เกิดจากการสึกกร่อนของเนินดิน ที่ถูกเซาะจนทรุดตัวเป็นหุบลึกกว่า 20 เมตร

*น้ำพุร้อนท่าปาย*
ตั้งอยู่ที่ https://maps.app.goo.gl/D1nTTMKHuQbtBSb46

*สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย*
สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทหารประเทศญี่ปุ่น
เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงและอาวุธเข้าไปยังตองอู
โดยกองทหารญี่ปุ่นเกณฑ์และจ้างชาวไทยจากหมู่บ้านต่างๆ
ให้ขุดถางเส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน
และอีกฝั่งหนึ่งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนขุดถางเส้นทางมุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่
โดยมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย
แล้วสร้างสะพานเชื่อมสองฝั่งเข้าด้วยกัน
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง กองทหารญี่ปุ่นได้ถอยทัพกลับ ได้เผาสะพานไม้ทิ้ง
ชาวบ้านได้ร่วมแรงกันสร้างสะพานไม้ขึ้นมา แต่พ.ศ. 2516 น้ำป่าได้พัดสะพานไม้ขาด
ทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของเชียงใหม่ที่ถูกรื้อ เมื่อพ.ศ. 2510
นำมาสร้างแทนสะพานไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดทำลายไป ได้ใช้เมื่อ พ.ศ. 2519

*หมู่บ้านสันติชน*
เป็นหมู่บ้านของ อดีตทหารในกองพล 93 เช่นเดียวกับบ้านรักไทยที่อำเภอเมือง
ภาพเก่าที่เคยแวะเมื่อปี 2550

อำเภอขุนยวม
ขุน - ภูเขา ยวม - ไม้ยม
ขุนยวม เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยวม ไหลผ่านอำเภอแม่ลาน้อย แม่สะเรียง
บรรจบกับแม่น้ำเงา ที่บ้านสบเงา (สบเงาคือน้ำเงาไหลลงยวม) ตำบลแม่สอด อำเภอสบเมย
บรรจบกับแม่น้ำเมย ที่บ้านสบยวม (สบยวมคือน้ำยวมไหลลงน้ำเมย) ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย
ก่อนน้ำเมยจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน มี่บ้านสบเมย ( เมยไหลลง สาละวิน ) อำเภอสบเมย
*ดอยแม่อูคอ*
แม่อูคอ มาจากภาษาของปกาเกอะญอซึ่งเป็นคนในพื้นที่ว่า อูคอโกล๊ะ
โกล๊ะ แปลว่าห้วย - แม่
อูคอ สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของคนสำคัญของพวกเขาคนหนึ่ง
บนดอยแม่อูคอมีทุ่งดอกบัวตอง โน่น ที่เห็นไกล ๆ เกือบถึงยอดเขา




*สะพานเซอะเดาะเดกิ่วกุ้ง*
อยุ่ในอำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน
บนเส้นทางจากขุนยวมไปอำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่


*อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย ญี่ปุ่น*

เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ของพื้นแต่อดีตกาลมา
เน้นหนักในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นคิดในการสร้างเส้นทางส่งกำลังบำรุง
จากเชียงใหม่ ไปเมืองตองอูในพม่าซึ่งมีเส้นทางสั้นที่สุด


@ อำเภอแม่สะเรียง @
ชื่อในประวัติศาสตร์ว่า เมืองยวมใต้ หรือ เมืองยวม มีแม่น้ำยวมไหลผ่าน
เป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนา
เพราะอำเภอเมืองยวม พ้องกับอำเภอขุนยวม ในจังหวัดเดียวกัน
จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแม่สะเรียง
ตามชื่อของลำน้ำแม่สะเรียง ที่ไหลผ่านอำเภออีกสายหนึ่งแทน
เจ้าลก โอรสองค์ที่ 6 ในพญาสามฝั่งแกน
ถูกลงพระอาญาเนรเทศให้ไปครอง ยวมใต้เพราะ
ตอนที่ครองเมืองพร้าววังหิน เกิดสงคราม
ทัพของเจ้าลก ยกไปสมทบพระราชบิดาช้า
อำมาตย์ของพญาสามฝั่งแกนชื่อ เจ้าแสนขาน
ได้ซ่องสุมกำลัง และลอบไปรับเจ้าลกจากเมืองยวมใต้มาซ่อนตัวที่เชียงใหม่
ในขณะที่พญาสามฝั่งแกนประทับแปรพระราชฐานอยู่ที่เวียงเจ็ดลิน
ได้ทำโดยการเผาเวียงเชียงใหม่ แล้วบังคับให้พญาสามฝั่งแกนสละราชสมบัติให้เจ้าลก

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดสี่จอมของแม่สะเรียงว่า
มีพระฤาษีสี่ตนเป็นพี่น้องกัน
ได้ศึกษาเล่าเรียนเพียรปฏิบัติจากพระฤาษีอีกองค์หนึ่งซึ่งมี ฤทธิ์มากและมีอายุมากแล้ว
ที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำเหง้า ทางเหนือของเมืองยวม
เมื่อฤาษีทั้งสี่ตนพี่น้องเรียนจบจึงกราบลาอาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีต่อ
และได้สร้างพระธาตุทั้งสี่จอมขึ้นมา ในสี่มุมเมือง
ฤาษีตนแรกเก่งในทางรักษาโรค
สามารถปรุงยาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพได้
ตั้งสำนักอยู่ ณ ดอยจอมกิตติ
พระฤาษีตนที่สองลงมาเก่งในทางเล่นแร่แปรธาตุ
สามารถแปรเปลี่ยนธาตุหรือซัดตะกั่วให้เป็นทองก็ทำได้
ตั้งสำนัก ณ ดอยจอมทอง
พระฤาษีตนที่สามเก่งในทางอาคม ไสยศาสตร์
พำนักอยู่ ณ ดอยจอมแจ้ง
พระฤาษีผู้น้องท้ายสุด เก่งในทางเรียกฝนเรียกลม
สามารถเดินเหินบนน้ำหรือเหาะขึ้นไปบนอากาศได้
พำนักอยู่ ณ ดอยจอมมอญ
*วัดจอมแจ้ง*
อยู่สามแยกเข้าเมืองแม่สะเรียง

*วัดพระธาตุจอมมอญ*
ไม่ปรากฏสร้างขึ้นเมื่อใด
แต่หลักฐานค้นพบที่กู่คำ ที่ตั้งอยู่บริเวณอุโบสถปัจจุบัน
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญาแสนเมืองมากษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ราชวงศ์มังราย
เพื่อบรรจุอัฐิ อุปราช เจ้าแสนคำเมื่อประมาณ พ.ศ. 1935
พ.ศ.2143 กษัตริย์มอญได้นุ่งห่มขาวลี้ภัยจากพม่ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้
จึงได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุจอมมอญขึ้น
ในพ.ศ. 2453 โดยการนำของตระกูลกะเหรี่ยง
พ่อเฒ่าหม่อนจอนุ แม่หม่อนโยแฮ พิกุล ได้สร้างเจดีย์ครอบองค์เก่า
ปี พ.ศ. 2540 ทางวัดจึงได้สร้างครอบองค์เดิม
ที่บรรจุพระบรมธาตุพระหนุ (ส่วนคาง) และพระอูรุงคธาตุ (โคนขา) ให้สูงใหญ่ขึ้น

*มดดำคอฟฟี่แอนด์รีสอร์ท และครัวกันเอง*
สถานที่ทั้งสองอยู่ใกล้กัน ไม่ต้องไปเสาะอาหารเย็นที่ไหนอีก
ตอนที่ไปพัก ปี 2555 ประทับใจมากกับบรรยากาศอาหารเช้าริมน้ำยวม
ปัจจุบัน 13 ปีผ่านไป เข้าไปหาในกูเกิลแมป
เปลี่ยนแปลงเป็น พีแอนด์พี คอฟฟี่แอนด์รีสอร์ท แม่สะเรียง

ครัวกันเองข้างที่พักก็ยังอยู่มาอย่างยาวนาน

ปิดท้ายด้วยสวนสนบ่อแก้ว อำเภอฮอด เชียงใหม่
ทางผ่านก่อนถึงแม่สะเรียง


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2568 |
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2568 14:47:17 น. |
|
15 comments
|
Counter : 396 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณtoor36, คุณปัญญา Dh, คุณกะริโตะคุง, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณดอยสะเก็ด, คุณThe Kop Civil, คุณกะว่าก๋า, คุณtanjira, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณkae+aoe |
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:20:42:04 น. |
|
|
|
โดย: กะริโตะคุง วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:22:18:15 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:22:31:35 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:4:50:00 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:5:36:48 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:10:22:16 น. |
|
|
|
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:10:51:45 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:11:12:10 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:14:35:28 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:20:10:28 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:6:10:13 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:9:45:10 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:6:12:33 น. |
|
|
|
| |
|
 |
tuk-tuk@korat |
|
 |
|
 |
|