"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธรูปปาง : ทรงภัตตกิจ





ทรงประทานเอหิภิกขุ


เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงแสดง พระธรรมจักรกัปวัตนสูตร แก่เบญจวัคคียแล้ว พระองค์ก็แสดงอริยสัจ ๔ ประการต่อ ในบรรดาเบญจวัคคีย์นั้น โกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ ได้รู้ถึงธรรมก่อน เรียกว่าเกิดดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน มีปัญญาเห็นแจ้งว่า “สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุเป็นธรรมดา แล้วสิ่งที่เกิดทั้งหมดทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา” ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสักกายทิฏฐิ ในมิจฉาทิฐิ ในศีลปรามาส สิ้นความสงสัย (วิจิกิจฉา)ในธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ" เพราะคำอุทานว่า "อัญญาสิๆ" ที่เป็นภาษามคธ แปลว่า"ได้รู้แล้วๆ" นี้เอง คำว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" จึงได้เป็นชื่อของท่าน ตั้งแต่กาลนั้นมา








โกณฑัญญะจึงขออุปสมบท พระองค์ทรงอนุญาตให้ท่านโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยด้วยพระวาจาว่า จงเป็นภิกษุเถิด (เมื่อเริ่มต้น การบวชเป็นแต่เพียงทรงอนุญาตแก่ผู้ใดด้วยพระวาจาเช่นนั้น ผู้นั้นก็เป็นภิกษุในพระธรรมวินัย) อุปสมบทอย่างนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระภิกษุองค์แรกของพระพุทธองค์ และเป็นครั้งแรกในพระพุทธกาล ทำให้วันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์ เป็นครั้งแรก



พระบรมศาสดามีพระพุทธประสงค์จะทรงโปรดพระเบญจวัคคีย์ให้สำเร็จพระอรหันต์ เพื่อเป็นกำลังในการประกาศพระศาสนาต่อไป จึงเสด็จจำพรรษา ณ ป่าอิสิปปตนมิคทายวัน ทรงสั่งสอนบรรพชิตทั้ง ๔ รูปที่เหลืออยู่นั้น ด้วยพระธรรมเทศนา แสดงอนัตตลักขณสูตร จนเมื่อท่านวัปปะและท่านภัททิยะ ได้ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรมอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะแล้ว ทูลขออุปสมบท พระศาสดาก็ทรงประทานอุปสมบทแก่ท่านทั้ง ๒ นั้น เหมือนอย่างประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ ภายหลังท่านมหานามะและท่านอัสสชิได้ธรรมจักษุแล้วทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงประทานเหมือนอย่างประทานแก่สาวกทั้ง ๓ หลังจากนั้นเบญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ได้บวชเป็นพระภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกษุ (พระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้ ด้วยในขณะนั้น เป็นการเริ่มต้น แห่งการเผยแพร่ธรรมะ และยังมิได้ส่งเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลาย ออกเผยแพร่พระศาสนา จึงยังไม่ได้ทรงอนุญาตพิธีอุปสมบทอย่างอื่น หรือให้ภิกษุสาวก ทำการอุปสมบทได้) จึงปรากฏมี พระอรหันต์ปรากฏขึ้นในโลก 5 องค์ เป็นลำดับแรก





ทรงโปรดพระยสะ

ยสะกุลบุตรหน่ายสมบัติเดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ
พบพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวกทั้ง ๕ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือ สถานที่ทรงแสดงธรรม ซึ่งนับเป็นพรรษาที่หนึ่ง ในตอนนี้ยังมิได้เสด็จไปโปรดใครเลย เพราะย่างเข้าหน้าฝน แต่มีกุลบุตรผู้หนึ่งนามว่า "ยสะ" มาเฝ้า

ยสะ เป็นบุตรชายของเศรษฐีในเมืองพาราณสีกับนางสุชาดา เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ทะนุถนอมอย่างแก้วตา มีชีวิตการเป็นอยู่คล้ายคลึงกับที่พระสิทธัตถโคตมะ คือพ่อแม่ได้ปลูกเรือนให้ ๓ ฤดู มีความสุขสบายที่สุด เช่น ได้รับการบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแล้วแต่สตรีประโคม ค่ำวันหนึ่ง ยสะกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่บริวารหลับภายหลัง แสงไฟยังสว่างไสวอยู่ เมื่อยสะกุลบุตรตื่นขึ้นกลางดึก เห็นบริวารกำลังนอนหลับไหล มีอากัปกิริยาพิกลต่างๆ ไม่น่ายินดีเหมือนเมื่อก่อน คือบางนางมีพิณตกอยู่รักแร้ บางนางมีตะโพนวางอยู่ที่คอ บางนางสยายผม บางนางมีเขฬะไหล บางนางบ่นละเมอต่างๆ บริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสะกุลบุตรดุจซากศพทิ้งอยู่ในป่าช้า









ครั้นยสะกุลบุตรได้เห็นแล้วก็เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่ายมาก ถึงกับออกอุทานว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ทนดูอากัปกิริยาพิกลต่างๆนั้นไม่ได้ จึงสวมรองเท้าเดินออกจากประตูเมือง ตรงไปทางที่จะไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่ก็รู้สึกว่าสบายใจ ก็เดินเรื่อยไปไม่หยุด ขณะนั้นเป็นเวลาจวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสะกุลบุตรออกอุทานเช่นนั้น เดินเข้ามาใกล้ จึงตรัสเรียกยสะกุลบุตรว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมให้ฟัง” ยสะกุลบุตรได้ยินว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง”(โน อุปัททูตัง โน อุปสัคคัง) มีความพอใจ จึงถอดรองเท้าเข้าใกล้ ถวายบังคมแล้วนั่งลง


พระบรมศาสดาทรงตรัสอนุปุพพิกถาเทศนา คือ ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ ได้แก่ การพรรณนาทานกถา คือการให้ก่อน แล้วพรรณนาศีล ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นลำดับแห่งทาน พรรณนาสวรรค์ พรรณนาโทษของกามคุณ ที่บุคคลใคร่ ซึ่งความสุข ไม่ยั่งยืน และพรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม อันเป็นลำดับแห่งโทษของกาม เรียกว่าเนกขัมมะ ฟอกจิตของยสะกุลบุตรให้ปราศจากมลทิน ให้เป็นจิตสมควรรับธรรมเทศนา ให้เกิดดวงตาเห็นธรรมเหมือนผ้าที่ปราศจากมลทิน ควรแก่การได้รับน้ำย้อมฉะนั้น แล้วทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสะกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมพิเศษเป็นโสดาบุคคล


ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนในเวลาเช้า ไม่เห็นลูกชายจึงบอกแก่ท่านเศรษฐีผู้สามีให้ทราบ ท่านเศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวหาด้วยบังเอิญไปในทางที่จะไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวัน





พระพุทธรูปปาง : ทรงภัตตกิจ

ทรงภัตตกิจ ณ บ้านเศรษฐี บิดาพระยสะ

เมื่อพระยสะบวชโดยที่ไม่มีใครทราบ ฝ่ายมารดาของยสะกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนในเวลาเช้า ไม่เห็นลูกชายจึงบอกแก่ท่านเศรษฐีผู้สามีให้ทราบ ท่านเศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวหาด้วย บังเอิญไปในทางที่จะไปยังป่าอิสปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกชายตั้งอยู่ ณ ที่นั้น จึงตามเข้าไปใกล้ ครั้นเศรษฐีเข้าไปถึงได้พบพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอนุปุพพิกถา เทศนาอริยสัจ ๔ ให้เศรษฐีได้เห็นธรรมแล้ว เศรษฐีทูลสรรเสริญธรรมเทศนา แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกว่า “ข้าพเจ้าถึงพระองค์กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ที่พึงระลึก ที่นับถือ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” เศรษฐีเมืองพาราณสีนั้น จึงได้เป็นอุบาสก อ้างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ สรณะ ก่อนใคร










ขณะนั้น ยสะกุลบุตรได้พิจารณาภูมิธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสสอนเศรษฐีผู้เป็นบิดาอีกวาระหนึ่ง จิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน แต่ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสะกุลบุตร ได้สิ้นอาสวะแล้ว จึงกล่าวว่า “พ่อยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศก พิไรรำพัน เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด” ยสะกุลบุตรแลดูพระบรมศาสดา พระบรมศาสดาจึงตรัสแก่เศรษฐีให้ทราบว่า “ยสะกุลบุตร ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ใช่ผู้ควรจะกลับไปครองเรืองอีก” เศรษฐีทูลสรรเสริญว่า “เป็นลาภของยสะกุลบุตรแล้ว” จึงได้ทูลอาราธนาพระบรมศาสดา กับยสะกุลบุตร เป็นผู้ตามเสด็จ เพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น ครั้นเศรษฐีทราบว่า พระบรมศาสดาทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพแล้ว ก็ลุกจากที่นั่งแล้วถวายอภิวาท ทำประทักษิณ (คือเดินเวียนขวา) ๓ รอบ แล้วหลีกกลับไปยังเรือนของตน และแจ้งเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาและสะใภ้ได้ทราบ พร้อมกับให้จัดอาหาร บิณฑบาตเช้า เพื่อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย


เมื่อเศรษฐีผู้บิดาทูลลาพระบรมศาสดากลับไปไม่นาน ยสะกุลบุตรจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้อุปสมบทด้วยพระวาจาว่า ”เอหิภิกขุ ท่านจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” เช่นเดียวกับที่ทรงประทานแก่เบญจวัคคีย์ แต่ในที่นี้ไม่ตรัสว่า ”เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ” เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว คือเป็นพระอรหันต์เสียก่อนแล้ว ขณะนั้น จึงได้มีพระอรหันต์ขึ้นในโลกเพิ่มขึ้นเป็น ๖ รวมทั้งพระยสะ


ในเช้าวันต่อมา พระบรมศาสดากับพระยสะตามเสด็จ เสด็จไปถึงเรือนเศรษฐีนั้นแล้ว ทรงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ โปรดให้สตรีทั้ง ๒ นั้น บรรลุพระโสดาปัตติผลได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วแสดงตนเป็นอุบาสิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตลอดชีวิต สตรีทั้ง ๒ นั้น จึงได้เป็นอุบาสิกาคู่แรกในโลก คือเป็นอุบาสิกาก่อนกว่าหญิงอื่นในโลกพร้อมกันทั้ง 2 คน (โดยนัยหนหลัง ต่างกันแต่เป็นผู้ชายเรียกว่า “อุบาสก” เป็นผู้หญิงเรียกว่า ”อุบาสิกา” เท่านั้น)









พระพุทธรูปปาง : ทรงภัตตกิจ




จากนั้น มารดา บิดา และภรรยาเก่าของพระยสะ ได้น้อมนำเอาอาหารอันประณีต เข้าไปอังคาสพระบรมศาสดา และพระยสะ (คือถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยเคารพ ด้วยมือของตน) พระบรมศาสดาทรงรับอาหารบิณฑบาตด้วยบาตร และทรงทำภัตตกิจ คือฉันอาหารบิณฑบาต แล้วตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓ ให้เห็น ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงในธรรม แล้วเสด็จกลับไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

พระพุทธจริยาที่ทรงรับภัตตกิจฉันอาหารบิณฑบาตครั้งนี้ เป็นภัตตกิจที่ทรงทำครั้งแรกในบ้าน เป็นนิมิตมงคลอันดี สำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา ที่มีความพอใจในการทำบุญบำเพ็ญกุศลทานทั่วไป ทั้งเป็นแบบอย่างให้มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ในบ้านสืบมาจนทุกวันนี้




Create Date : 25 มีนาคม 2552
Last Update : 2 เมษายน 2552 0:29:26 น. 0 comments
Counter : 2767 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.